ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

พัฒนาผลิตภัณฑ์และได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ โดยมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้แนวโน้มระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อระบบจำหน่ายประเภทโรงไฟฟ้าระดับเมกะวัตต์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อระบบจ ำหน่ายขนาดหลายร้อย kVA มีการพัฒนาใช้งานมากขึ้น และต้องผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐานที่เป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายด้วยนอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์ประกอบระบบแล้ว นักวิจัยของไทยยังมีศักยภาพและความต่อเนื่องในการศึกษาเทคโนโลยีระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ ผลกระทบของการเชื่อมต่อระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับระบบจำหน่าย การออกแบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์เชิงวิศวกรรม การทดสอบมาตรฐานทั้งผลิตภัณฑ์และระบบ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังแสดงสถานภาพของเทคโนโลยีในรูปที่ 12รูปที่ 12 สถานภาพของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ [15]59

เทคโนโลยีการผลิตนำ้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ แผงรับความร้อนแสงอาทิตย์และถังเก็บน้ำร้อน การออกแบบเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ความต้องการของผู้ใช้และข้อกำหนด จะเป็นประเภทระบบ Thermo-siphon (ที่เรียกว่าแบบ Passive System)ซึ่งเครื่องทำน้ำร้อนรับความร้อนโดยตรงจากแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ที่เป็นแบบการไหลเวียนของน้ำร้อนอย่างอิสระ จึงไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำช่วยในการไหลเวียนทำให้เหมาะกับบ้านพักอาศัย ส่วนเครื่องทำน้ำร้อนแบบทางอ้อม (Indirect) เป็นแบบใช้ของเหลว บางชนิดรับความร้อนจากแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์แล้วมีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนทำให้น้ำร้อนขึ้น เครื่องทำน้ำร้อนระบบนี้มีข้อดีหลายประการ แต่จะมีราคาแพงกว่าแบบแรก ในบางกรณีอาจจะต้องใช้ปั๊มน้ำช่วยในการไหลเวียนของน้ำ เรียกว่าแบบ Active System ที่ใช้งานได้แก่เครื่องทำน้ำร้อนระบบใหญ่ที่ใช้กับโรงแรมหรือโรงพยาบาล กระทรวงพลังงานได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับความร้อนทิ้งในปี พ.ศ. 2551 มีการติดตั้งประมาณ3,972 ตารางเมตรคิดเป็นมูลค่า 21.64 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2552 มีการติดตั้งประมาณ 3,000 ตารางเมตรคิดเป็นมูลค่า 14.14 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ติดตั้งในโรงพยาบาล โรงแรม โรงงาน และสถานศึกษาอุปสรรคเบื้องต้นที่สำคัญ คือ ยังไม่มีมาตรฐานขนาดแผง โดยทั่วไปสามารถแบ่งขนาดแผงออกเป็น2 ประเภทคือ ขนาดแผงที่เล็กกว่า 6 ตารางเมตรและขนาดแผงที่ใหญ่กว่า 6 ตารางเมตรปัจจุบันมีผู้ผลิตนำเข้าทั้งหมดและบางส่วน และจำหน่ายเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์กว่าสิบบริษัทในประเทศไทย โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่จำหน่ายและผลิตจากวัสดุในประเทศ สำหรับศักยภาพตลาดของเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์ในอาคารรวมถึงอาคารโรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล/คลินิก ร้านตัดผมห้างสรรพสินค้า ร้านซักรีด อาคารของรัฐ และทัณฑสถาน พบว่าการทำน้ำร้อนในครัวเรือนและอาคารในประเทศไทยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ยังเป็นเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า ดังนั้นหากมีการส่งเสริมกันอย่างจริงจัง สัดส่วนการใช้เครื่องทำทำน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์จะสูงกว่า 50%แผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar collector) เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ใช้หลักการดูดกลืนความร้อนและส่งผ่านให้น้ำหรือของเหลวนำความร้อน (Heat transfer fluids) ชนิดอื่น ในปัจจุบัน เทคโนโลยีแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด สถานภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar collector) แสดงในตารางที่ 4 และสถานภาพของเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อุณหภูมิต่ำแสดงในรูปที่ 1360

เทคโนโลยีการผลิตนำ้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ แผงรับความร้อนแสงอาทิตย์และถังเก็บน้ำร้อน การออกแบบเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ความต้องการของผู้ใช้และข้อกำหนด จะเป็นประเภทระบบ Thermo-siphon (ที่เรียกว่าแบบ Passive System)ซึ่งเครื่องทำน้ำร้อนรับความร้อนโดยตรงจากแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ที่เป็นแบบการไหลเวียนของน้ำร้อนอย่างอิสระ จึงไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำช่วยในการไหลเวียนทำให้เหมาะกับบ้านพักอาศัย ส่วนเครื่องทำน้ำร้อนแบบทางอ้อม (Indirect) เป็นแบบใช้ของเหลว บางชนิดรับความร้อนจากแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์แล้วมีระบบแลกเปลี่ยนความร้อนทำให้น้ำร้อนขึ้น เครื่องทำน้ำร้อนระบบนี้มีข้อดีหลายประการ แต่จะมีราคาแพงกว่าแบบแรก ในบางกรณีอาจจะต้องใช้ปั๊มน้ำช่วยในการไหลเวียนของน้ำ เรียกว่าแบบ Active System ที่ใช้งานได้แก่เครื่องทำน้ำร้อนระบบใหญ่ที่ใช้กับโรงแรมหรือโรงพยาบาล กระทรวงพลังงานได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์แบบผสมผสานกับความร้อนทิ้งในปี พ.ศ. 2551 มีการติดตั้งประมาณ3,972 ตารางเมตรคิดเป็นมูลค่า 21.64 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2552 มีการติดตั้งประมาณ 3,000 ตารางเมตรคิดเป็นมูลค่า 14.14 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ติดตั้งในโรงพยาบาล โรงแรม โรงงาน และสถานศึกษาอุปสรรคเบื้องต้นที่สำคัญ คือ ยังไม่มีมาตรฐานขนาดแผง โดยทั่วไปสามารถแบ่งขนาดแผงออกเป็น2 ประเภทคือ ขนาดแผงที่เล็กกว่า 6 ตารางเมตรและขนาดแผงที่ใหญ่กว่า 6 ตารางเมตรปัจจุบันมีผู้ผลิตนำเข้าทั้งหมดและบางส่วน และจำหน่ายเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์กว่าสิบบริษัทในประเทศไทย โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่จำหน่ายและผลิตจากวัสดุในประเทศ สำหรับศักยภาพตลาดของเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์ในอาคารรวมถึงอาคารโรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล/คลินิก ร้านตัดผมห้างสรรพสินค้า ร้านซักรีด อาคารของรัฐ และทัณฑสถาน พบว่าการทำน้ำร้อนในครัวเรือนและอาคารในประเทศไทยส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 ยังเป็นเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า ดังนั้นหากมีการส่งเสริมกันอย่างจริงจัง สัดส่วนการใช้เครื่องทำทำน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์จะสูงกว่า 50%แผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar collector) เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ใช้หลักการดูดกลืนความร้อนและส่งผ่านให้น้ำหรือของเหลวนำความร้อน (Heat transfer fluids) ชนิดอื่น ในปัจจุบัน เทคโนโลยีแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด สถานภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีแผงรับความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar collector) แสดงในตารางที่ 4 และสถานภาพของเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อุณหภูมิต่ำแสดงในรูปที่ 1360

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!