12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เทคโนโลยีระบบเซลล์แสงอาทิตย์ระบบเซลล์แสงอาทิตย์นั้นมีการใช้งานหลายรูปแบบในประเทศไทย ได้แก่ ระบบสูบน้ำระบบประจุแบตเตอรี่แบบรวมศูนย์ (Solar Battery Charging station, SBSC) ระบบผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้กับระบบโทรคมนาคมระบบผลิตไฟฟ้าแบบอิสระ (Stand alone PV systems) ระบบผลิตไฟฟ้าในระดับครัวเรือนในชนบท(Solar Home Systems, SHS) ระบบผลิตไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (PV grid connected systems)ทั้งแบบ rooftop building integrated (BIPV) และโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ (PV power plant)ซึ่งในรายงานของ IEA-PVPS จำแนกได้เป็น 4 รูปแบบคือแบบ Off-grid ประกอบด้วย Off-grid domesticและ Off-grid non-domestic และแบบ On-grid ประกอบด้วย On-grid distributed systems และOn-grid centralized systemsเมื่อพิจารณาเทคโนโลยีของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยีแบบไม่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย ซึ่งอุปกรณ์หลักในระบบ (นอกเหนือจาก PV) ประกอบด้วยชุดควบคุมการประจุแบตเตอรี่และชุดควบคุมกำลังไฟฟ้าสูงสุด (MPPT) และอินเวอร์เตอร์แบบอิสระ(Stand-alone inverter) ซึ่งต่อมาก็พัฒนาเป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างแหล่งพลังงาน(Hybrid systems) และพัฒนาระบบ Mini grid และการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบได้โดยที่ยังคงใช้กับระบบPV ในพื้นที่ห่างไกลสำหรับในปัจจุบัน เมื่อมีความชัดเจนเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์มากขึ้น ก็มีการพัฒนาและใช้งานอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า (grid-connected inverters)ซึ่งมีทั้งระบบขนาดเล็ก ติดตั้งแบบกระจายตัว (Distributed generation, DG) ขนาดต่ำกว่า 5 kVA จนถึงไม่เกิน 30 kVA และอินเวอร์เตอร์สำหรับโรงไฟฟ้า (Centralized systems หรือ PV power plants) ซึ่งมีขนาดในระดับ 100 kVA จนถึงระดับ MVA โดยผู้ประกอบการของไทยสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งยังคงมีความจำเป็นต้องพัฒนาประสิทธิภาพ ขนาดอุปกรณ์และอายุการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดจนการพัฒนาระบบป้องกันผลกระทบระบบจำหน่าย และการศึกษาเพื่อลดผลกระทบกับเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบจำหน่ายไฟฟ้า นอกจากนั้นยังควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีระบบสะสมพลังงานเพื่อระบบผลิตไฟฟ้า ทั้งสำหรับโรงไฟฟ้าและการทำ PV DSM ด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทยด้วยศักยภาพอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรมที่ดีและความสามารถในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ประกอบระบบ (Balance of Systems) ทั้งแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่ายและแบบไม่เชื่อมต่อระบบจำหน่าย เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำนวนน้อยที่สนใจและมีความต่อเนื่องทางธุรกิจระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ดังนั้นผู้ประกอบการรายใหม่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีและการสร้างความเชื่อมั่นผลิตภัณฑ์อยู่บ้าง แต่ผู้ประกอบการบางรายที่มีความต่อเนื่องจะสามารถ58

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!