12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

รูปที่ 9 แสดงสัดส่วนจำนวนงานวิจัยแยกตามเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน จากการวิเคราะห์พบว่าแต่ละเทคโนโลยีมีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อพิจารณาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่มีผลการวิจัยเป็นจำนวน 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ เอทานอล ไบโอดีเซล ชีวมวล และก๊าซชีวภาพแล้ว สามารถสรุปหน่วยงานที่มีสัดส่วนของจำนวนงานวิจัยของแต่ละเทคโนโลยีแยกสูงสุดสองอันดับแรกได้ดังนี้พลังงานแสงอาทิตย์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ มหาวิทยาลัยนเรศวร(มน.) มีสัดส่วนงานวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์สูงกว่าหน่วยงานอื่นๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีห้องปฏิบัติการสำหรับดำเนินงานวิจัยในด้านนี้โดยตรงและมีนักวิจัยที่เชียวชาญที่ทำงานวิจัยมาเป็นเวลานานโดยทั้ง 2 หน่วยงานมีสัดส่วนงานวิจัยรวมกันเท่ากับ 268 งานวิจัย (มจธ. 144 และ มน. 124 งานวิจัยตามลำดับ) หรือประมาณร้อยละ 67 ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ)เป็นหน่วยงานที่มีจำนวนงานวิจัยเป็นอันดับที่ 3 ประมาณร้อยละ 11 ของงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดเอทานอล : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่มีความเด่นชัดในการทำวิจัยเกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงเอทานอล ในช่วงรยะเวลาที่ผ่านมามีงานวิจัยรวมแล้วประมาณ 119 งานวิจัย คิดเป็นร้อยละ 39ของงานวิจัยในด้านนี้ รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ซี่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงานสำหรับผลิตเอทานอลทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง โดยมีสัดส่วนงานวิจัยประมาณร้อยละ 24(74 งานวิจัย) และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนงานวิจัยทั้งหมด (46 งานวิจัย)ไบโอดีเซล : เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยอยู่ทางภาคใต้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จึงเป็นหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับไบโอดีเซล จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า มอ. มีงานวิจัยรวมทั้งหมด 81 งานวิจัยหรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของจำนวนงานวิจัยทั้งหมด รองลงมาคือ จุฬาฯ และ มหาวิทยาลัยเกษตร (มก.)มีงานวิจัยทั้งหมด 53 และ 34 งานวิจัย หรือคิดเป็นร้อยละ 19 และ 12 ของงานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวกับไบโอดีเซล ตามลำดับชีวมวล : จากข้อมูลที่รวบรวมได้ พบว่างานวิจัยในเทคโนโลยีชีวมวลมีการดำเนินการกระจายไปในแต่ละหน่วยงานตามแต่ละภูมิภาค โดยไม่มีหน่วยงานใดมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม มี 4 หน่วยงานที่มีจำนวนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวมวลใกล้เคียงกันประมาณ 30-32 งานวิจัย คือ มจธ. มน. มก. และจุฬาฯก๊าซชีวภาพ : มช. เป็นหน่วยงานที่มีจำนวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพมากที่สุดเนื่องจากมีหน่วยงานวิจัยด้านก๊าซชีวภาพโดยเฉพาะตั้งอยู่ในหน่วยงาน ปัจจุบันมีงานวิจัยในด้านนี้จำนวน39 งานวิจัยจากจำนวนทั้งหมด 134 งานวิจัย (ประมานร้อยละ 29 ของงานวิจัยทั้งหมด) รองลงมาคือ มก.ที่มีจำนวนงานวิจัย 21 งานวิจัย และ มจธ. จำนวน 17 งานวิจัย ตามลำดับ51

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!