12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางและขนส่งระบบการขนส่งสาธารณะ (Public Transport) เป็นระบบการขนส่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบการขนส่งผู้โดยสารในเขตเมือง (Passenger Urban Transport) ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง ลดต้นทุนในการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน และแน่นอนที่สุดย่อมลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างมาก รูปแบบของระบบขนส่งสาธารณะมีมากมายหลากหลายระบบ เช่น รถโดยสารประจำทาง(Busway) รถเมล์ด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit, BRT) รถไฟฟ้าขนาดเบา (Light-rail Transit) และรถไฟฟ้าทั้งแบบยกระดับ (Elevated) และใต้ดิน (Subway) ซึ่งแต่ละระบบก็มีศักยภาพในการขนส่งผู้โดยสารและมูลค่าในการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีของยานยนต์ที่แตกต่างกัน ระบบขนส่งมวลชนทางรางเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการขนส่งสูงเมื่อเทียบกับระบบขนส่งประเภทอื่นๆระบบขนส่งนี้จะเป็นระบบขนส่งหลักในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ๆ ในทุกประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงเนื่องจากเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าและมีอัตราในการขนส่งผู้โดยสารต่อเที่ยวสูง (High Capacity)อย่างไรก็ตาม การสร้างเพียงโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถท ำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้ มาตรการ TDM ที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้มากขึ้นเช่น มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน (Road Pricing) ในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นมาตรการจำกัดพื้นที่จอดรถหรือจัดเก็บค่าจอดรถในราคาสูงสำหรับพื้นที่ในเมือง การจัดทำพื้นที่จอดแล้วจร (Parkand Ride) และการให้ข้อมูลตารางการเดินรถของระบบขนส่งสาธารณะผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตหรือมือถือจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี [6] พบว่า หากมีการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในเขตเมืองตามแผนต่างๆ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)กระทรวงคมนาคมได้แก่ โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และโครงการแผนบูรณาการโครงข่ายเส้นทางระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(Bus Rapid Transit, BRT) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งการสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองระดับภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ตามโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่ จากแผนแม่บทที่ได้วางแผนไว้แล้ว ภายในปี 2573 จะมีสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีไม่มีการสร้างระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้ประมาณ 342 ktoeการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี [6] ได้วิเคราะห์ศักยภาพการลดการใช้พลังงานจากการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าระหว่างเมือง โดยอ้างอิงจากแผนของ สนข. ได้แก่ รายงานโครงการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยและผลกระทบเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างเหมาะสมต่อการเดินทางสัญจรและการขนส่งทางถนนไปสู่การขนส่งระบบรางและการขนส่งทาง และรายงานโครงการพัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการจัดการต่อเนื่องระบบโลจิสติกส์เพื่อการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ พบว่าหากมีการดำเนินตามแผนดังกล่าว43

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!