ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

งานวิจัยเชิงเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งภาคขนส่งใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 37 ของการใช้พลังงานทั้งหมด [2]เนื่องจากการพึ่งพิงการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ซึ่งใช้พลังงานถึงร้อยละ 95 ของภาคขนส่งทั้งหมดจากการประเมินศักยภาพการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง พบว่า ด้วยเทคโนโลยีและมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของยานยนต์และระบบขนส่ง รวมถึงการปรับพฤติกรรมการขับขี่อาจประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 40 ของพลังงานที่คาดว่าจะใช้ของภาคขนส่งในปี 2030 ภายใต้สภาวะปกติ[6] เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพที่สำคัญสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคขนส่ง1. เทคโนโลยียานยนต์2. เทคโนโลยีการขนส่งระบบราง3. เทคโนโลยีการขนส่งทางน้ำ4. เทคโนโลยีการจัดการระบบขนส่งและจราจร1.1 เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลประสิทธิภาพสูงสำหรับรถยนต์1.2 รถยนต์ไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด (plug-in hybrid) และรถไฟฟ้า1.3 รถจักรยานยนต์ประสิทธิภาพสูง และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า1.4 เทคโนโลยีสนับสนุนการขับขี่อย่างประหยัดพลังงาน (eco-driving)2.1 ถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชน2.2 รถไฟไฟฟ้าความเร็วสูง3.1 เรือยนต์ประสิทธิภาพสูง และเรือไฟฟ้าสำหรับแม่น้ำลำคลอง4.1 เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการจราจรและขนส่ง โดยเฉพาะIntelligent Transport System (ITS)4.2 เทคโนโลยีสนับสนุนการขนส่งคนและสินค้า (fleet management)ตารางที่ 3 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่ง [3]39

แนวคิด “A-S-I-F”ได้ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อศึกษาปัจจัยและแนวทางในการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง[10] แนวทางในการประหยัดพลังงาน (และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก)ในภาคขนส่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แนวทางคือ การลดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางและขนส่ง (Avoid: A)การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift: S) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Improve: I) และการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิง (Fuel Switching: F) ดังแสดงในรูปที่ 5การลดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางและขนส่ง (Avoid: A) หมายถึงการลดการเดินทางและขนส่งหรือการหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ (Motorized mode) มาตรการที่จะช่วยให้เกิดการลดการเดินทางและขนส่งโดยทั่วไปเรียกว่าการจัดการอุปสงค์การเดินทาง (Travel Demand Management:TDM) ซึ่งได้แก่ การเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้ถนน (Road pricing) มาตรการการห้ามขับรถในวันคู่หรือวันคี่(Odd/even driving bans) การจัดตารางการทำงานให้แน่นขึ้น (Compressed work schedules) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมในการติดต่อสื่อสาร (Encouraging telecommunication) และการทำงานที่บ้าน (Working at home) เป็นต้นการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift: S) หมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางและการขนส่งไปสู่รูปแบบที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่สูงกว่า เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากยานพาหนะส่วนบุคคล (Private transport mode) ไปเป็นการเดินทางแบบไร้เครื่องยนต์ (Non-motorizedmode) หรือการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (Public transport mode) การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากการขนส่งโดยรถบรรทุกไปสู่การขนส่งด้วยระบบรางหรือการขนส่งทางน้ำ เป็นต้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Improve: I) หมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเทคโนโลยีที่ใช้ในการเดินทางและขนส่ง ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงยานยนต์ที่ใช้ในการขนส่งทางถนนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของยานยนต์หมายรวมถึงการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ส ำหรับยานยนต์ เช่น เทคโนโลยีรถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicles: HEV) และการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การขับขี่อย่างประหยัดพลังงาน (Eco-driving) สำหรับรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าที่มีอยู่ในระบบการขนส่งด้วยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิง (Fuel Switching: F) หมายถึงการเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษน้อย เช่น ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น โดยการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้โดยทั่วไป (น้ำมันเบนซินและดีเซล) หรือผสมเชื้อเพลิงดังกล่าวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลในสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนั้น ยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานที่ใช้ในการขนส่งจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลวไปสู่การใช้ไฟฟ้าเช่น การใช้เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า (Electricvehicle: EV)40

งานวิจัยเชิงเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งภาคขนส่งใช้พลังงานสูงถึงร้อยละ 37 ของการใช้พลังงานทั้งหมด [2]เนื่องจากการพึ่งพิงการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ซึ่งใช้พลังงานถึงร้อยละ 95 ของภาคขนส่งทั้งหมดจากการประเมินศักยภาพการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง พบว่า ด้วยเทคโนโลยีและมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของยานยนต์และระบบขนส่ง รวมถึงการปรับพฤติกรรมการขับขี่อาจประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 40 ของพลังงานที่คาดว่าจะใช้ของภาคขนส่งในปี 2030 ภายใต้สภาวะปกติ[6] เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพที่สำคัญสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคขนส่ง1. เทคโนโลยียานยนต์2. เทคโนโลยีการขนส่งระบบราง3. เทคโนโลยีการขนส่งทางน้ำ4. เทคโนโลยีการจัดการระบบขนส่งและจราจร1.1 เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลประสิทธิภาพสูงสำหรับรถยนต์1.2 รถยนต์ไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด (plug-in hybrid) และรถไฟฟ้า1.3 รถจักรยานยนต์ประสิทธิภาพสูง และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า1.4 เทคโนโลยีสนับสนุนการขับขี่อย่างประหยัดพลังงาน (eco-driving)2.1 ถรางไฟฟ้าขนส่งมวลชน2.2 รถไฟไฟฟ้าความเร็วสูง3.1 เรือยนต์ประสิทธิภาพสูง และเรือไฟฟ้าสำหรับแม่น้ำลำคลอง4.1 เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการจราจรและขนส่ง โดยเฉพาะIntelligent Transport System (ITS)4.2 เทคโนโลยีสนับสนุนการขนส่งคนและสินค้า (fleet management)ตารางที่ 3 เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่ง [3]39

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!