ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

ภายใต้สภาพแวดล้อมเหมือนกันหรือเดียวกัน ความรู้สึกร้อนหนาวของคนมีความแตกต่างกันไป และไม่เหมือนกับกรณีของการประเมินจากเครื่องมือวัด การศึกษาความสบายเชิงอุณหภาพจึงจำเป็นต้องอาศัยคนจริงในการวิเคราะห์เหตุปัจจัยหรือตัวแปรที่มีผลต่อความสบายเชิงอุณหภาพการศึกษาในอดีตแสดงให้เห็นว่ามี 4ตัวแปรทางกายภาพที่มีผลต่อความสบายประกอบด้วย อุณหภูมิอากาศ (Air temperature) ความชื้นอากาศ (Air humidity) ความเร็วอากาศ (Air velocity) และอุณหภูมิแผ่รังสีเฉลี่ย (Mean radianttemperature) โดยอีกสองตัวแปรเกี่ยวข้องกับบุคคล ได้แก่ การใส่เสื้อผ้า และการทำกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารจำเป็นต้องรักษาความสบายเชิงอุณหภาพของคนในอาคารไว้ให้ได้โดยในอดีตที่ผ่านมา การวิจัยความสบายเชิงอุณหภาพครอบคลุมการพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ดัชนีการทดลองในห้องที่มีการควบคุมสภาวะและพื้นที่จริง รวมไปถึงการพัฒนามาตรฐานความสบายเชิงอุณหภาพและวิธีการประเมินการส่องสว่างในอาคารงานวิจัยทีเกี่ยวข้องกับการส่องสว่างในอาคาร จะเน้นการศึกษาระบบไฟฟ้าแสงสว่างทำหน้าที่ส่องสว่างภายในอาคารให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยทั่วไปพบว่าระบบไฟฟ้าแสงสว่างใช้พลังงานในสัดส่วนร้อยละ 20-40ของการใช้ไฟฟ้ารวมจากทั้งอาคารการเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและการออกแบบที่เหมาะสมสามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบแสงสว่างได้มากกว่าร้อยละ 50นอกจากงานวิจัยเรื่องการส่องสว่างโดยไฟฟ้าแล้ว การใช้แสงธรรมชาติยังเป็นการศึกษาอีกหนึ่งหัวข้อที่พบว่าเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการใช้แสงธรรมชาติสามารถลดการใช้ไฟฟ้าจากหลอดประดิษฐ์ได้ถึงร้อยละ 75 โดยที่ยังคงรักษามาตรฐานการส่องสว่างไว้ได้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างในปัจจุบันอุปกรณ์ส่องสว่างที่มีประสิทธิภาพมีจำหน่ายในท้องตลาด เมื่อพิจารณาในแง่ของต้นทุนตลอดอายุวัฏจักร (Life cycle cost) อุปกรณ์หรือระบบแสงสว่างที่มีประสิทธิภาพมีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับระบบและวิธีการให้แสงในอาคารในปัจจุบันอุปกรณ์แสงสว่างวิธีการให้แสงสว่างภายในอาคารในปัจจุบันยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นได้อีกมาก อายุใช้งานของอุปกรณ์ส่องสว่างจะสั้นกว่าอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศและวัสดุกรอบอาคาร ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงกว่า35

ปัจจุบัน อาคารเกือบทั้งหมดใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิด T8 ทำงานร่วมกับบัลลาสต์แกนเหล็กแม้ในท้องตลาดจะมีหลอดชนิด T5 และอิเล็กทรอนิกส์บัลลาสต์ซึ่งมีใช้พลังไฟฟ้าต่ำกว่าถึงร้อยละ 40จำหน่ายแล้วก็ตามหลอด LED เป็นหลอดไฟฟ้าที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว มีรายงานว่าหลอด LEDมีค่าประสิทธิภาพเชิงแสง (Efficacy)หรือสัดส่วนของฟลักซ์ของแสงต่อพลังงานสูงถึง 100lm/W และเป็นที่คาดว่าในปี 2035 หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้งานจะเป็นหลอด LEDบัลลาสต์เป็นอุปกรณ์ต่อร่วมกับหลอดไฟฟ้าซึ่งใช้พลังงานร้อยละ 10-20 ของระบบแสงสว่างปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรป อ้างอิงตาม Ballast Directive 2000/55/EC บัลลาสต์ที่มีประสิทธิภาพต่ำไม่สามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ปลายปี 2005 โดยในท้องตลาดจะมีบัลลาสต์ชนิดสูญเสียต่ำและบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จำหน่ายเท่านั้นโคมแสงสว่างเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเชิงแสงของระบบแสงสว่างได้โดยโคมจะทำหน้าที่นำแสงไปยังพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้โคมที่มีประสิทธิภาพร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟฟ้าลดการใช้พลังงานของระบบแสงสว่างลงได้อีกร้อยละ 40ในระบบไฟฟ้าแสงสว่างยังมีอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ที่ช่วยให้ระบบใช้พลังงานน้อยลง ในปัจจุบันหลอดไฟฟ้าถูกเปิดทิ้งตลอดเวลาแม้จะไม่มีผู้ใช้งานอยู่ในบริเวณนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเปิดและปิดหลอดไฟฟ้ามีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ขึ้นกับลักษณะและโอกาสในการนำไปใช้ อุปกรณ์ตั้งเวลาเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อนใช้งานง่าย อุปกรณ์ที่มีความชาญฉลาดขึ้น ซับซ้อนขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวทำให้การเปิดปิดหลอดไฟฟ้าทำได้โดยอัตโนมัติ อุปกรณ์ปรับหรี่แสงซึ่งช่วยให้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีการใช้แสงธรรมชาติ อุปกรณ์ทั้งหมดนี้มีจำหน่ายในท้องตลาดการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมการออกแบบระบบแสงสว่างโดยใช้ Task/ambient lighting เป็นวิธีที่จะแยกการให้แสงสว่างเพื่อการใช้งานจากการให้แสงสว่างทั่วไปหรือเพื่อความสวยงาม วิธีการนี้เริ่มใช้ในศตวรรษ 20 เมื่อพลังงานขาดแคลนการออกแบบลักษณะนี้ให้แสงในระดับ 50-200lux สำหรับการใช้งานทั่วไป และให้แสงที่ระดับ 500luxเฉพาะตำแหน่งที่มีการใช้งาน การใช้แสงธรรมชาติสำหรับการให้แสงทั่วไป ทำให้ระบบแสงสว่างใช้ไฟฟ้าลดลงไปอีกมาก การศึกษาควรต้องครอบคลุมในประเด็นคุณภาพของแสงด้วยการใช้แสงธรรมชาติ (Daylighting)แสงธรรมชาติมีประสิทธิภาพเชิงแสง (Light efficacy) หรือสัดส่วนของฟลักซ์ของแสงต่อพลังงานสูงกว่าแสงจากหลอดไฟฟ้าประดิษฐ์ ดังนั้น หากสามารถนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารจะช่วยให้การใช้พลังงานของทั้งระบบแสงสว่างและระบบปรับอากาศลดลง36

ปัจจุบัน อาคารเกือบทั้งหมดใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิด T8 ทำงานร่วมกับบัลลาสต์แกนเหล็กแม้ในท้องตลาดจะมีหลอดชนิด T5 และอิเล็กทรอนิกส์บัลลาสต์ซึ่งมีใช้พลังไฟฟ้าต่ำกว่าถึงร้อยละ 40จำหน่ายแล้วก็ตามหลอด LED เป็นหลอดไฟฟ้าที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว มีรายงานว่าหลอด LEDมีค่าประสิทธิภาพเชิงแสง (Efficacy)หรือสัดส่วนของฟลักซ์ของแสงต่อพลังงานสูงถึง 100lm/W และเป็นที่คาดว่าในปี 2035 หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ใช้งานจะเป็นหลอด LEDบัลลาสต์เป็นอุปกรณ์ต่อร่วมกับหลอดไฟฟ้าซึ่งใช้พลังงานร้อยละ 10-20 ของระบบแสงสว่างปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรป อ้างอิงตาม Ballast Directive 2000/55/EC บัลลาสต์ที่มีประสิทธิภาพต่ำไม่สามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ปลายปี 2005 โดยในท้องตลาดจะมีบัลลาสต์ชนิดสูญเสียต่ำและบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จำหน่ายเท่านั้นโคมแสงสว่างเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเชิงแสงของระบบแสงสว่างได้โดยโคมจะทำหน้าที่นำแสงไปยังพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้โคมที่มีประสิทธิภาพร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟฟ้าลดการใช้พลังงานของระบบแสงสว่างลงได้อีกร้อยละ 40ในระบบไฟฟ้าแสงสว่างยังมีอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ที่ช่วยให้ระบบใช้พลังงานน้อยลง ในปัจจุบันหลอดไฟฟ้าถูกเปิดทิ้งตลอดเวลาแม้จะไม่มีผู้ใช้งานอยู่ในบริเวณนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเปิดและปิดหลอดไฟฟ้ามีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ขึ้นกับลักษณะและโอกาสในการนำไปใช้ อุปกรณ์ตั้งเวลาเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อนใช้งานง่าย อุปกรณ์ที่มีความชาญฉลาดขึ้น ซับซ้อนขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวทำให้การเปิดปิดหลอดไฟฟ้าทำได้โดยอัตโนมัติ อุปกรณ์ปรับหรี่แสงซึ่งช่วยให้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีการใช้แสงธรรมชาติ อุปกรณ์ทั้งหมดนี้มีจำหน่ายในท้องตลาดการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมการออกแบบระบบแสงสว่างโดยใช้ Task/ambient lighting เป็นวิธีที่จะแยกการให้แสงสว่างเพื่อการใช้งานจากการให้แสงสว่างทั่วไปหรือเพื่อความสวยงาม วิธีการนี้เริ่มใช้ในศตวรรษ 20 เมื่อพลังงานขาดแคลนการออกแบบลักษณะนี้ให้แสงในระดับ 50-200lux สำหรับการใช้งานทั่วไป และให้แสงที่ระดับ 500luxเฉพาะตำแหน่งที่มีการใช้งาน การใช้แสงธรรมชาติสำหรับการให้แสงทั่วไป ทำให้ระบบแสงสว่างใช้ไฟฟ้าลดลงไปอีกมาก การศึกษาควรต้องครอบคลุมในประเด็นคุณภาพของแสงด้วยการใช้แสงธรรมชาติ (Daylighting)แสงธรรมชาติมีประสิทธิภาพเชิงแสง (Light efficacy) หรือสัดส่วนของฟลักซ์ของแสงต่อพลังงานสูงกว่าแสงจากหลอดไฟฟ้าประดิษฐ์ ดังนั้น หากสามารถนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารจะช่วยให้การใช้พลังงานของทั้งระบบแสงสว่างและระบบปรับอากาศลดลง36

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!