12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การผลิตความร้อนของระบบอาจเป็นแบบไฮบริด (Hybrid system) ที่ใช้แหล่งความร้อน 2 แหล่ง เช่นใช้รังสีอาทิตย์ร่วมกับก๊าซซึ่งต้องมีการติดตั้งหม้อน้ำร้อน (Boiler) เพิ่มเติมหรือการใช้รังสีอาทิตย์ร่วมกับชีวมวลการปรับอากาศโดยสารดูดความชื้น (Desiccant air-conditioning)การปรับอากาศโดยสารดูดความชื้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งของการใช้รังสีอาทิตย์เพื่อการปรับอากาศในหลายประเทศโดยเฉพาะในเขตหนาว มีการวิจัยระบบที่ใช้สารดูดความชื้นสำหรับปรับอากาศภายในอาคารระบบนี้ใช้น้ำในอากาศเสมือนสารทำความเย็น โดยมีสารดูดความชื้น (Desiccant) ซึ่งอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนสัมผัสกับความร้อนแฝง (Sensible heat and latent heat)ระหว่างอากาศสองเส้นทางการไหล (Air stream) โดยเส้นทางแรกอากาศจากภายนอกอาคารจะถูกลดความชื้นลง(Dehumidification) ด้วยสารดูดความชื้น และจะผ่านอีกหลายขั้นตอนเพื่อลดอุณหภูมิก่อนที่จะจ่ายเข้าสู่อาคารขณะที่อากาศอีกทางหนึ่ง (อากาศทิ้งจากอาคารหรืออากาศภายนอก) จะถูกทำให้ร้อนขึ้นโดยรังสีอาทิตย์เพื่อไล่ความชื้นที่กักเก็บอยู่ในสารดูดความชื้น การปรับอากาศที่กล่าวนี้เหมาะกับประเทศที่มีอากาศเย็นและความชื้นไม่สูงนักสำหรับประเทศในเขตร้อนชื้น อากาศจะมีความชื้นสูง การใช้พลังงานเพื่อลดความชื้นจึงมีสัดส่วนที่สูงด้วย สารดูดความชื้นสามารถใช้เพื่อลดความชื้นของอากาศจากภายนอกก่อนที่จะป้อนเข้าสู่ตัวอาคารการใช้ระบบสารดูดความชื้นสำหรับประเทศในเขตร้อนชื้นคาดว่าจะมีศักยภาพเนื่องจากในเขตนี้รังสีอาทิตย์มีปริมาณสูงการทำความเย็นโดยการแผ่รังสีความเย็น (Radiant cooling)การทำความร้อนโดยการแผ่รังสี (Radiant heating) เป็นวิธีการทำความร้อนของอากาศในประเทศเขตหนาวที่สามารถพบได้โดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ระบบท ำความเย็นโดยการแผ่รังสี (Radiant cooling) เป็นระบบที่ได้รับความสนใจมากขึ้นโดยลำดับระบบนี้คาดว่าจะสามารถทำให้เกิดสภาวะสบายและประสิทธิภาพของการปรับอากาศภายในอาคารดีขึ้น ระบบนี้อาศัยการถ่ายโอนความร้อนเกินกว่าร้อยละ 50 โดยกระบวนการแผ่รังสีระบบทำความเย็นโดยการแผ่รังสียังอยู่ในขั้นของการวิจัยพัฒนาซึ่งต้องการความเข้าใจในการออกแบบและควบคุมการทำงานของระบบเนื่องจากแนวคิดของการปรับอากาศต่างไปจากวิธีการปกติ การศึกษาระบบนี้จึงเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ความสบายเชิงอุณหภาพความสบายเชิงอุณหภาพ (Thermal com<strong>for</strong>t)การใช้พลังงานในอาคารส่วนหนึ่งเพื่อทำให้ผู้ที่อาศัยในอาคารเกิดความรู้สึกสบาย สำหรับการศึกษาวิจัยด้านอาคาร ความสบายเชิงอุณหภาพ หมายถึง สภาวะที่ร่างกายมีสมดุลและไม่ต้องปรับพฤติกรรมของตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรืออาจหมายถึง สภาวะที่คนรู้สึกพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบในเชิงอุณหภาพไม่รู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป ความสบายเชิงอุณหภาพยังเกี่ยวข้องกับสภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้น ความสบายเชิงอุณหภาพจึงเป็นคำที่กว้าง และไม่ได้หมายถึงสภาวะใดสภาวะหนึ่ง หรือความรู้สึกใดความรู้สึกหนึ่ง34

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!