ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง การวิจัยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบให้สูงขึ้น เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงแสง (Efficacy) ของหลอดไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีหลอด LED โคมสะท้อนแสงและบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง รวมถึงเทคโนโลยีการควบคุมและปรับหรี่แสงความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบแสงสว่างที่ลดลง ช่วยให้ภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศลดลง การใช้แสงธรรมชาติเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งและมีศักยภาพสูงในการลดการใช้พลังงานของระบบแสงสว่างและของทั้งอาคารการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารได้อย่างถูกวิธีจะทำให้ภาระความร้อนของระบบปรับอากาศต่ำลงด้วยระบบและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานอื่นๆ เช่น การวิจัยครอบคลุมการผลิตความเย็นและน้ำร้อนโดยใช้ฮีตปั๊ม (Heat pump) ระบบผลิตน้ำร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar water heater) และการพัฒนาระบบแผงผลิตน้ำร้อนจากพลังงานรังสีอาทิตย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของผนัง (Building integrated solar water heater)สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาให้มีการใช้พลังงานน้อยลง การพัฒนาเทคโนโลยี 1W Power standby เป็นต้นระบบผลิตไฟฟ้า นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน เทคโนโลยีเพื่อผลิตพลังงานขึ้นใช้ในอาคารมีการพัฒนาด้วยเช่นกัน โดยเทคโนโลยีหลักเป็นระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (PVcell)การผลิตพลังงานใช้เองในอาคารเป็นแนวทางที่จะทำให้อาคารมีความยั่งยืนทั้งในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมระบบผลิตพลังงานจะเสริมกับเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานต่ำ ทำให้อาคารมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net zeroenergy building)27

เทคโนโลยีด้านกรอบอาคารเทคโนโลยีด้านกรอบอาคารมุ่งลดภาระของอาคาร (Building load) ผนังและหน้าต่างหากวัสดุที่เลือกใช้เหมาะสมและได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้งานอาคารแล้ว กรอบอาคารจะมีสมรรถนะพลังงานสูง สามารถลดภาระของระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่างได้มาก กล่าวได้ว่ากรอบอาคารมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการกำหนดระดับของการใช้พลังงานของอาคารการวิจัยด้านกรอบอาคารเกี่ยวข้องทั้งกับพัฒนาและใช้วัสดุ เช่น ฉนวนและกระจก และการออกแบบผนังอย่างเหมาะสม เช่น การใช้อุปกรณ์บังแดด การกำหนดสัดส่วนหน้าต่างและผนัง เป็นต้นฉนวนฉนวนสามารถติดตั้งกับผนังทึบเพื่อลดการถ่ายโอนความร้อนระหว่างตัวอาคารกับสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศในเขตหนาว ฉนวนถูกใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนผ่านผนังอาคารขณะที่ประเทศในเขตร้อนฉนวนลดการถ่ายโอนความร้อนจากภายนอกจึงช่วยลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศในปัจจุบันการศึกษาการใช้ฉนวนกับผนังอาคารของประเทศเขตร้อนยังมีอยู่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นโดยปกติ การลดความร้อนผ่านผนังให้ต่ำลงจำเป็นต้องเพิ่มความหนาของฉนวน แต่ฉนวนที่หนาทำให้พื้นที่ใช้สอยของอาคารลดลง ไม่เป็นที่นิยม รวมถึงไม่สะดวกต่อการขนส่ง งานวิจัยฉนวนส่วนหนึ่งได้มุ่งพัฒนาวัสดุใหม่ที่ทำให้ฉนวนมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (U-value) ต่ำลงและเพิ่มความสะดวกต่อการใช้งานเทคโนโลยีฉนวนอาจจัดเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มที่ใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน (Traditional insulation) ฉนวนที่มีความล้ำสมัย (State-of-the-art insulation) และกลุ่มที่อยู่ระหว่างการวิจัยเพื่ออนาคต (Possible futureinsulation)กลุ่มของฉนวนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายชนิด งานวิจัยของฉนวนในกลุ่มนี้เน้นการประยุกต์ใช้งานกับผนังอาคารอย่างไรให้เหมาะสม การวิเคราะห์ศักยภาพของการลดการใช้พลังงานของอาคารและความคุ้มค่าเชิงต้นทุน ผลการศึกษาในประเด็นเหล่านี้แตกต่างกันไปตามสภาพอากาศและบริบทของท้องถิ่นหรือสถานที่รวมถึงการใช้งานอาคาร งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ฉนวนด้วยความเข้าใจที่ผิดท ำให้อาคารใช้พลังงานสูงขึ้น ฉนวนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ใยแก้ว (Fiber glass) ซึ่งผลิตออกมาเป็นผืนและแผ่น มีน้ ำหนักเบา สามารถตัดและติดตั้งกับผนังทึบหรือหลังคา มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 30-40 mW/(m.K) ใยแก้วสามารถนอมความชื้นซึ่งจะทำให้เสียคุณสมบัติของการต้านทานความร้อน (ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนสูงขึ้น)โพลีสไตรีน (Expanded polystyrene and extruded polystyrene) ม ี ค ่ า ส ั ม ป ร ะ ส ิ ท ธ ิ ์การนำความร้อนในช่วงเดียวกับใยแก้วโพลียูรีเทน (Polyurethane: PUR) มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 20-30 mW/(m.K)ต่ำกว่าใยแก้ว โพลียูรีเทนมีการปล่อยก๊าซพิษเมื่อติดไฟ28

เทคโนโลยีด้านกรอบอาคารเทคโนโลยีด้านกรอบอาคารมุ่งลดภาระของอาคาร (Building load) ผนังและหน้าต่างหากวัสดุที่เลือกใช้เหมาะสมและได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้งานอาคารแล้ว กรอบอาคารจะมีสมรรถนะพลังงานสูง สามารถลดภาระของระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่างได้มาก กล่าวได้ว่ากรอบอาคารมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการกำหนดระดับของการใช้พลังงานของอาคารการวิจัยด้านกรอบอาคารเกี่ยวข้องทั้งกับพัฒนาและใช้วัสดุ เช่น ฉนวนและกระจก และการออกแบบผนังอย่างเหมาะสม เช่น การใช้อุปกรณ์บังแดด การกำหนดสัดส่วนหน้าต่างและผนัง เป็นต้นฉนวนฉนวนสามารถติดตั้งกับผนังทึบเพื่อลดการถ่ายโอนความร้อนระหว่างตัวอาคารกับสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศในเขตหนาว ฉนวนถูกใช้เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนผ่านผนังอาคารขณะที่ประเทศในเขตร้อนฉนวนลดการถ่ายโอนความร้อนจากภายนอกจึงช่วยลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศในปัจจุบันการศึกษาการใช้ฉนวนกับผนังอาคารของประเทศเขตร้อนยังมีอยู่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นโดยปกติ การลดความร้อนผ่านผนังให้ต่ำลงจำเป็นต้องเพิ่มความหนาของฉนวน แต่ฉนวนที่หนาทำให้พื้นที่ใช้สอยของอาคารลดลง ไม่เป็นที่นิยม รวมถึงไม่สะดวกต่อการขนส่ง งานวิจัยฉนวนส่วนหนึ่งได้มุ่งพัฒนาวัสดุใหม่ที่ทำให้ฉนวนมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (U-value) ต่ำลงและเพิ่มความสะดวกต่อการใช้งานเทคโนโลยีฉนวนอาจจัดเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มที่ใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน (Traditional insulation) ฉนวนที่มีความล้ำสมัย (State-of-the-art insulation) และกลุ่มที่อยู่ระหว่างการวิจัยเพื่ออนาคต (Possible futureinsulation)กลุ่มของฉนวนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลายชนิด งานวิจัยของฉนวนในกลุ่มนี้เน้นการประยุกต์ใช้งานกับผนังอาคารอย่างไรให้เหมาะสม การวิเคราะห์ศักยภาพของการลดการใช้พลังงานของอาคารและความคุ้มค่าเชิงต้นทุน ผลการศึกษาในประเด็นเหล่านี้แตกต่างกันไปตามสภาพอากาศและบริบทของท้องถิ่นหรือสถานที่รวมถึงการใช้งานอาคาร งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ฉนวนด้วยความเข้าใจที่ผิดท ำให้อาคารใช้พลังงานสูงขึ้น ฉนวนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ใยแก้ว (Fiber glass) ซึ่งผลิตออกมาเป็นผืนและแผ่น มีน้ ำหนักเบา สามารถตัดและติดตั้งกับผนังทึบหรือหลังคา มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 30-40 mW/(m.K) ใยแก้วสามารถนอมความชื้นซึ่งจะทำให้เสียคุณสมบัติของการต้านทานความร้อน (ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนสูงขึ้น)โพลีสไตรีน (Expanded polystyrene and extruded polystyrene) ม ี ค ่ า ส ั ม ป ร ะ ส ิ ท ธ ิ ์การนำความร้อนในช่วงเดียวกับใยแก้วโพลียูรีเทน (Polyurethane: PUR) มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 20-30 mW/(m.K)ต่ำกว่าใยแก้ว โพลียูรีเทนมีการปล่อยก๊าซพิษเมื่อติดไฟ28

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!