12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

งานวิจัยเชิงเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในภาคอาคารธุรกิจและบ้านอยู่อาศัยภาคอาคารพาณิชย์และบ้านอยู่อาศัยใช้พลังงานร้อยละ 8 และร้อยละ15 ของพลังงานสุดท้ายที่ใช้ทั้งหมดตามลำดับ หรือรวมกันประมาณร้อยละ 23[2]แต่เนื่องจากการใช้พลังงานในภาคนี้ ส่วนใหญ่เป็นพลังงานไฟฟ้าเมื่อคำนวณย้อนกลับเป็นพลังงานขั้นต้น (Primary <strong>Energy</strong>) จะพบว่าการใช้พลังงานในภาคนี้สูงถึงร้อยละ 30ของพลังงานขั้นต้นทั้งหมด[1,3] การใช้ไฟฟ้าในอาคารส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60 เป็นการใช้เพื่อปรับอากาศและอีกร้อยละ 20 ใช้สำหรับไฟส่องสว่าง นอกจากนี้เป็นการใช้เพื่อขับเคลื่อนอุปกรณ์ เครื่องใช้ ไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อธุรกิจ เช่น ตู้เย็น พัดลม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งกำลังมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ที่มีความแพร่หลายมากขึ้นมาตรการสำคัญที่จะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานในอาคาร คือ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานพลังงานขั้นต่ำของอาคาร (Building <strong>Energy</strong> Code) ที่สร้างใหม่หรืออาคารเก่าที่ถึงกำหนดการปรับปรุงตามกฎหมายและการส่งเสริมการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานอาคารที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงขึ้น (Higher <strong>Energy</strong>Per<strong>for</strong>mance Standards หรือ HEPS) เกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวมีข้อกำหนดที่ครอบคลุมด้านกรอบอาคารที่ลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศ ด้านประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศเอง และระบบไฟส่องสว่าง ในกรณีของประเทศไทย การใช้พลังงานต่อหน่วยพื้นที่โดยเฉลี่ยของอาคารขนาดใหญ่สูงถึงประมาณ 220 หน่วยไฟฟ้าต่อตารางเมตรต่อปี (kWh/m2-y) แต่อาคารประหยัดพลังงานตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ และอาคารประสิทธิภาพพลังงานสูงใช้พลังงานเพียง 175 และ 55 หน่วยไฟฟ้าต่อตารางเมตรต่อปีตามลำดับ ดังนั้น จึงมีช่องว่างสำหรับการประหยัดพลังงานอีกมาก โดยข้อเท็จจริง หากมีการออกแบบอาคารด้วยแนวคิดการประหยัดพลังงานที่ก้าวหน้าตั้งแต่ต้น และใช้เทคโนโลยีอาคารและระบบอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงจะสามารถลดการใช้พลังงานสุทธิเหลือเกือบเท่ากับศูนย์ (Near Net-zero <strong>Energy</strong> Building)หรือประมาณ 25-50 หน่วยไฟฟ้าต่อตารางเมตรต่อปีเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ ได้มีการสร้างอาคารสาธิตแล้วหลายแห่ง รวมทั้งในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่ต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่อลดต้นทุนในส่วนของอาคารธุรกิจขนาดเล็ก และบ้านอยู่อาศัยนั้น ศักยภาพในการประหยัดพลังงานอยู่ที่การใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ และเตาหุงต้มที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นหลัก ส่วนการออกแบบตัวอาคารที่ลดภาระการปรับอากาศ จะมีศักยภาพในระยะยาว และต้องออกแบบให้เหมาะสมกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นทั้งนี้ จากการประเมินในการศึกษาเพื่อจัดทำแผนอนุรักษ์พลังงานระยะ 20 ปี [6] พบว่า อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และบ้านอยู่อาศัยมีศักยภาพที่จะประหยัดพลังงานได้ประมาณร้อยละ 20–25 ของพลังงานที่คาดว่าจะใช้ในปี 2030 ภายใต้สภาวะปกติ [5]ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ควรจะมีการพัฒนาและนำมาใช้ในอาคารประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้24

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!