ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

12.07.2015 Views

เทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานสำหรับเครื่องจักรอุปกรณ์พื้นฐาน (Cross-cuttingtechnologies)อุปกรณ์ที่ใช้กันในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมมีหลากหลายประเภท แต่ที่เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ประกอบอุปกรณ์อื่นๆได้อย่างหลากหลายก็คือ มอเตอร์ ซึ่งสามารถนำไปขับปั๊มเพื่อการขนถ่ายของเหลวนำไปขับเคลื่อนสายพานเพื่อขนถ่ายวัสดุ รวมทั้งประกอบเข้ากับรถหรือล้อเลื่อนเพื่อขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ขนาดใหญ่ หม้อไอน้ำก็เป็นอุปกรณ์หลักอีกประเภทหนึ่งที่จำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ที่ต้องการความร้อน โดยเฉพาะ Process industry หม้อไอน้ำทำหน้าที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานความร้อนที่ต้องการในกระบวนการผลิต นับตั้งแต่การอบแห้งที่ต้องการความร้อนอุณหภูมิไม่สูงมาก ไปจนถึงกังหันไอน้ำที่ต้องการไอน้ำอุณหภูมิสูงมากเพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น มอเตอร์และหม้อไอน้ ำประสิทธิภาพพลังงานสูงนั้นจะมีศักยภาพด้านการประหยัดพลังงานและโอกาสความเป็นไปได้ในการออกแบบและในการผลิตอุปกรณ์ในประเทศได้มากกว่าอุปกรณ์อีกหลายๆประเภท[3]มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor)มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีการติดตั้งใช้งานในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากมอเตอร์ที่จำหน่ายทั่วไปมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Motor) ประมาณร้อยละ2-7 ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์ โดยทั่วไปค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์จะลดลงร้อยละ1-5 ต่อปี มอเตอร์ที่มีอายุการใช้งานกว่า 15 ปีนั้นค่าประสิทธิภาพจะลดลงถึงร้อยละ20 มอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ตามโรงงานทั่วประเทศประมาณร้อยละ 95 เป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพต่ำหรือที่เรียกว่ามอเตอร์ธรรมดา (Standard Motor) มีเพียงร้อยละ 5เท่านั้นที่เป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงขึ้นประมาณร้อยละ30-50 ในภาพรวมของประเทศหากมีการเปลี่ยนมอเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะประหยัดพลังงานได้ประมาณร้อยละ3 เมื่อเทียบกับมอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ภายในปี 2030 พลังงานที่ประหยัดได้สะสมจะมากถึง 1,157 ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)สำหรับประเทศไทย ในปัจจุบันมอเตอร์เหนี่ยวนำทั้งแบบ 1-เฟส และ 3-เฟส ถูกใช้อย่างมากในการขับโหลดปั๊ม พัดลม คอมเพรสเซอร์ อย่างไรก็ตาม สำหรับในต่างประเทศ (เช่น ญี่ปุ่น และ อเมริกา เป็นต้น)ได้เปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ดีซีแบบไร้แปรงถ่าน มาขับคอมเพรสเซอร์ และใช้มอเตอร์ซิงโครนัสที่ใช้แม่เหล็กถาวรมาขับปั๊ม พัดลมหรือตัวเป่า (Blower) กันอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานหลายปีแล้ว เพราะมอเตอร์ทั้งสองนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำ และมีข้อดีอื่นๆ อีกหลายประการ เช่น ขนาดเล็กและเบากว่า เป็นต้นทั้งนี้เทคนิคในการขับมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีหลายวิธีการในมอเตอร์แต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น วิธีการปรับความถี่(Variable frequency method) เป็นวิธีที่นิยมที่ใช้เปลี่ยนความเร็ว (Variable-speed control) มอเตอร์11

เหนี่ยวนำที่ต่อโหลดประเภท Variable torque เช่น พัดลม หรือ ปั๊ม ซึ่งในทางอุตสาหกรรมมักจะเรียกชุดขับประเภทนี้ว่า Variable Frequency Drive (VFD) อย่างไรก็ตาม VFD นี้ไม่สามารถใช้ขับมอเตอร์ชนิดอื่นๆ ได้การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยเฉพาะโหลดของมอเตอร์ไฟฟ้าประเภทปั๊ม พัดลม คอมเพรสเซอร์ สามารถทำได้เป็น 2 แนวทางหลักๆ ดังนี้(1) เลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น วงจรแปลงกำลังไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าปั๊มพัดลม หรือคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกเน้นวิจัยพัฒนาในเรื่องวัสดุที่ใช้ในอุปกรณ์หรือเทคนิคภายในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น(2) ปรับวิธีการทำงานของ ปั๊ม พัดลม หรือ คอมเพรสเซอร์ ในกระบวนการ (Process) โดยส่วนใหญ่ในโรงงานภาคอุตสาหกรรมไทย การทำงานของปั๊ม พัดลม หรือ คอมเพรสเซอร์ จะใช้การเปิด (On) มอเตอร์ตลอดเวลา หรือการทำงานแบบวิธีเปิดและปิด (On-Off control) ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกใช้อย่างเต็มที่ตลอดเวลาขณะที่ทำการเปิดมอเตอร์ ส่วนใหญ่การทำงานแบบนี้ทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินความจำเป็นเกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การทำงานของ ปั๊ม พัดลม หรือคอมเพรสเซอร์ ควรที่จะมีการปรับได้โดยใช้วิธีการเปลี่ยนความเร็ว (Variable-speed control) เพื่อให้มีความสามารถในการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงได้ ซึ่งสามารถควบคุมตัวแปรที่ต้องการในกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะตามทฤษฎีแล้วสำหรับ Affinity law ของ พัดลมและปั๊ม กำลังไฟฟ้าของมอเตอร์จะแปรผันตามความเร็วมอเตอร์ยกกำลังสาม ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าสามารถจะลดได้เมื่อความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถถูกปรับให้ลดลงได้อย่างเหมาะสมในกระบวนการ นอกจากนี้กระแสที่สูงตอนสตารท์มอเตอร์ (Inrush current) ตอนเปิด (On) มอเตอร์โดยตรง (Direct start) มีค่าประมาณ 4-6 เท่าของกระแสที่พิกัด ซึ่งกระแส Inrush current นี้ก็สามารถกำจัดได้ด้วยการใช้ VFDมอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction motor) เป็นมอเตอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน มีทั้งแบบ 1-เฟสและ 3-เฟส และมีขนาดพิกัดกำลังแทบทุกขนาด ยกเว้นขนาดใหญ่มาก สาเหตุที่นิยมเนื่องจาก มอเตอร์สามารถต่อเข้ากับไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยตรง หาซื้อง่ายราคาไม่แพง และมีวิธีปรับความเร็วมอเตอร์แบบง่ายๆอยู่หลายวิธี เป็นต้น ประสิทธิภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำพิกัด 1-4 แรงม้ามีค่าโดยประมาณร้อยละ 80 และจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นที่พิกัดแรงม้าสูงขึ้น จนถึงประมาณร้อยละ 93 ที่พิกัดแรงม้ามากกว่า 125 ดังนั้นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Motors หรือ HEMs) จึงเป็นมอเตอร์ที่ได้รับการส่งเสริมให้ติดตั้งใช้งาน มอเตอร์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำร้อยละ 3 (โดยเฉลี่ย ในบางช่วงของพิกัดแรงม้า)ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากการลดการสูญเสียจากการพันขดลวด การใช้เหล็กที่มีคุณภาพในการทำแม่เหล็ก การปรับปรุงด้านพลศาสตร์ของมอเตอร์ และการปรับปรุงความคลาดเคลื่อนในชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบเป็นมอเตอร์ มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะมีราคาสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำราวร้อยละ 20 เทคโนโลยีมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน มอเตอร์เหล่านี้ยังมีการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์12

เหนี่ยวนำที่ต่อโหลดประเภท Variable torque เช่น พัดลม หรือ ปั๊ม ซึ่งในทางอุตสาหกรรมมักจะเรียกชุดขับประเภทนี้ว่า Variable Frequency Drive (VFD) อย่างไรก็ตาม VFD นี้ไม่สามารถใช้ขับมอเตอร์ชนิดอื่นๆ ได้การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยเฉพาะโหลดของมอเตอร์ไฟฟ้าประเภทปั๊ม พัดลม คอมเพรสเซอร์ สามารถทำได้เป็น 2 แนวทางหลักๆ ดังนี้(1) เลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น วงจรแปลงกำลังไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าปั๊มพัดลม หรือคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกเน้นวิจัยพัฒนาในเรื่องวัสดุที่ใช้ในอุปกรณ์หรือเทคนิคภายในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น(2) ปรับวิธีการทำงานของ ปั๊ม พัดลม หรือ คอมเพรสเซอร์ ในกระบวนการ (Process) โดยส่วนใหญ่ในโรงงานภาคอุตสาหกรรมไทย การทำงานของปั๊ม พัดลม หรือ คอมเพรสเซอร์ จะใช้การเปิด (On) มอเตอร์ตลอดเวลา หรือการทำงานแบบวิธีเปิดและปิด (On-Off control) ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกใช้อย่างเต็มที่ตลอดเวลาขณะที่ทำการเปิดมอเตอร์ ส่วนใหญ่การทำงานแบบนี้ทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินความจำเป็นเกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การทำงานของ ปั๊ม พัดลม หรือคอมเพรสเซอร์ ควรที่จะมีการปรับได้โดยใช้วิธีการเปลี่ยนความเร็ว (Variable-speed control) เพื่อให้มีความสามารถในการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงได้ ซึ่งสามารถควบคุมตัวแปรที่ต้องการในกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะตามทฤษฎีแล้วสำหรับ Affinity law ของ พัดลมและปั๊ม กำลังไฟฟ้าของมอเตอร์จะแปรผันตามความเร็วมอเตอร์ยกกำลังสาม ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าสามารถจะลดได้เมื่อความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถถูกปรับให้ลดลงได้อย่างเหมาะสมในกระบวนการ นอกจากนี้กระแสที่สูงตอนสตารท์มอเตอร์ (Inrush current) ตอนเปิด (On) มอเตอร์โดยตรง (Direct start) มีค่าประมาณ 4-6 เท่าของกระแสที่พิกัด ซึ่งกระแส Inrush current นี้ก็สามารถกำจัดได้ด้วยการใช้ VFDมอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction motor) เป็นมอเตอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน มีทั้งแบบ 1-เฟสและ 3-เฟส และมีขนาดพิกัดกำลังแทบทุกขนาด ยกเว้นขนาดใหญ่มาก สาเหตุที่นิยมเนื่องจาก มอเตอร์สามารถต่อเข้ากับไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยตรง หาซื้อง่ายราคาไม่แพง และมีวิธีปรับความเร็วมอเตอร์แบบง่ายๆอยู่หลายวิธี เป็นต้น ประสิทธิภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำพิกัด 1-4 แรงม้ามีค่าโดยประมาณร้อยละ 80 และจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นที่พิกัดแรงม้าสูงขึ้น จนถึงประมาณร้อยละ 93 ที่พิกัดแรงม้ามากกว่า 125 ดังนั้นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Motors หรือ HEMs) จึงเป็นมอเตอร์ที่ได้รับการส่งเสริมให้ติดตั้งใช้งาน มอเตอร์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำร้อยละ 3 (โดยเฉลี่ย ในบางช่วงของพิกัดแรงม้า)ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากการลดการสูญเสียจากการพันขดลวด การใช้เหล็กที่มีคุณภาพในการทำแม่เหล็ก การปรับปรุงด้านพลศาสตร์ของมอเตอร์ และการปรับปรุงความคลาดเคลื่อนในชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบเป็นมอเตอร์ มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจะมีราคาสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำราวร้อยละ 20 เทคโนโลยีมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน มอเตอร์เหล่านี้ยังมีการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์12

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!