12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

และความร้อนจากชีวมวล รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพลังงานจากชีวมวล รองลงมาเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาศักยภาพของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตพลังงานและการแสวงหาวัตถุดิบชีวมวลชนิดใหม่ที่จะสามารถนำมาผลิตพลังงานได้ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการเพิ่มคุณสมบัติของวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิตพลังงานเพื่อให้กระบวนการผลิตพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตพลังงานจากชีวมวลมีอยู่ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเด็นอื่นๆ งานวิจัยในกลุ่มนี้จะเน้นวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพลังงานและแนวทางในการลดต้นทุนดังกล่าว ในอนาคตแนวทางการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวมวลที่ควรส่งเสริมแบ่งตามลักษณะของงานวิจัยและพัฒนาได้เป็น 4 ด้าน คือ ทรัพยากรชีวมวล ด้านการวิจัยและพัฒนาการเตรียมเชื้อเพลิงให้เหมาะสม ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานที่เหมาะสมและด้านการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในด้านบุคลากรและอุปกรณ์ภายในประเทศปัจจุบันงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การPre-treatment วัตถุดิบ การผลิตก๊าซชีวภาพจากวัตถุดิบชนิดต่างๆ และการนำก๊าซชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในกรณีต่างๆ เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนและใช้ในยานยนต์ หน่วยงานหลักที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานก๊าซชีวภาพมี 4 หน่วยงานหลักคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ตามลำดับ งานวิจัยโดยส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในกลุ่มการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยเป็นการศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพใหม่ๆ และการปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพลังงานจากชีวมวล รองลงมาเป็นงานวิจัยในกลุ่มการวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพวัตถุดิบคือการศึกษาศักยภาพและการแสวงหาวัตถุดิบชนิดใหม่เพื่อใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ส่วนการศึกษาในกลุ่มการศึกษากระบวนการเตรียมวัตถุดิบก่อนการแปรรูปเป็นก๊าซชีวภาพ กลุ่มการศึกษาแนวทางการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ และกลุ่มการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชีวมวลมีอยู ่ในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเด็นอื่นๆ แนวทางการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาควรมุ่งเน้นในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น เช่น การวิจัยและพัฒนาในระดับต้นแบบและสาธิต รวมทั้งการฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการและบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสามารถสร้างและผลิตอุปกรณ์ เครื่องจักร และเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพได้เองภายในประเทศเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สามารถพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์และเทคโนโลยีระบบเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์นั้น เทคโนโลยีผลึกซิลิกอนยังคงมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีฟิล์มบาง โดยจำแนกได้เป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยีคือ กลุ่มผลึกซิลิกอน (c-Si หรือwafer based c-Si) กลุ่มฟิล์มบาง (Thin films) กลุ่ม Emerging technologies กลุ่ม Concentratortechnologies (CPV) และกลุ่มที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูง (Novel PV concepts) แนวโน้มส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกนั้น เทคโนโลยีชนิดผลึกซิลิกอนยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นส่วนใหญ่ แต่เทคโนโลยีกลุ่มฟิล์มบางก็จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปเร็วมากและจะเพิ่มสัดส่วนการตลาดมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในอายุการใช้งาน ราคาและประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นประกอบกันในประเทศไทย เทคโนโลยีกลุ่มผลึกซิลิกอนเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานเชิงพาณิชย์มานานมีความเชื่อมั่นในการใช้งานได้ดีอยู่แล้ว ทำให้ช่องว่างในการพัฒนาในประเทศมีน้อย อาจพัฒนาในเรื่องของการลดต้นทุน100

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!