12.07.2015 Views

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

ฉบับ สมบูรณ์ - Thailand Energy Network for Educators หน้าแรก

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ในภาคขนส่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามหลักการ “ASIF” ได้แก่ (1) การลดกิจกรรมการเดินทาง(Avoid or reduce traveling) เช่น การประชุมผ่านวิดีโอ การใช้เทคโนโลยีแสดงข้อมูลการจราจรผ่านทางอินเตอร์เน็ต (2) การเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง (Shift mode) เช่น การพัฒนาระบบ Bus Rapid Transit (BRT)และส่งเสริมการใช้ระบบ Non-motorized transport (3) การเพิ่มประสิทธิภาพยานยนต์ (Improve vehicleefficiency) เช่น ส่งเสริมการใช้รถอีโคคาร์ รถโฮบริด รถไฟฟ้า และ (4) การใช้เชื้อเพลิงทางเลือก (Fuel choice)ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับในภาพรวมของการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา งานวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนของประเทศไทยประกอบด้วย 5 เทคโนโลยีหลักได้แก่ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงเอทานอล เชื้อเพลิงไบโอดีเซล ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ โดย 1 ใน 3 ของงานวิจัยและพัฒนาทั้งหมดเป็นเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ รองลงมาคือเชื้อเพลิงเอทานอลและไบโอดีเซลเทคโนโลยีละประมาณร้อยละ 20 พลังงานชีวมวลร้อยละ 12 และก๊าซชีวภาพประมาณร้อยละ 10 ตามลำดับงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเชื้อเพลิงเอทานอลและไบโอดีเซลมีลักษณะเหมือนกันคือโดยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในส่วนต้นน้ำและกลางน้ำ กล่าวคือการศึกษาหาศักยภาพของวัตถุดิบชนิดต่างๆ ในการผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลและการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพนี้จากวัตถุดิบชนิดต่างๆ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้เป็นพืชอาหาร ในขณะที่งานวิจัยในระดับปลายน้ำและงานวิจัยเชิงนโยบายมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรการผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลจากวัตถุดิบชนิดต่างๆ หน่วยงานหลักที่ทำงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเอทานอลมี 3 หน่วยงานหลักคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองลงมาคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตามลำดับ ในขณะที่หน่วยงานที่ทำงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงไบโอดีเซลมี 3 หน่วยงานหลักคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตร (มก.) ตามลำดับ ซึ่งแนวทางในการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาส ำหรับการผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลในอนาคตแบ่งได้เป็น 5 ด้านคือ การพัฒนาพันธุ์พืชและเขตกรรมพืชที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การพัฒนา Logistics ของการเก็บรวบรวมและขนส่งวัตถุดิบ การพัฒนากระบวนการผลิตและโรงงานต้นแบบเพื่อให้มีการใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การพัฒนางานวิจัยพื้นฐานเพื่อผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนางานวิจัยพื้นฐานเพื่อผลิตไบโอดีเซลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพและการวิจัยเชิงนโยบายโดยเฉพาะการศึกษาต้นทุนและแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตเอทานอลและไบโอดีเซล รวมทั้งมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มมากขึ้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการเตรียมชีวมวลก่อนการแปรรูปเป็นพลังงาน กระบวนการแปรรูปชีวมวลเป็นพลังงาน และกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือความร้อน ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำงานวิจัยในด้านนี้ 4 หน่วยงานหลักคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า99

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!