25th Anniversary Download - มหาวิทยาลัยรังสิต

25th Anniversary Download - มหาวิทยาลัยรังสิต 25th Anniversary Download - มหาวิทยาลัยรังสิต

11.07.2015 Views

อาเศียรวาท(อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑)ขวัญชีพประทีปชาติ ปิยราชการุญบัวบาทพิบูลบุญสิริย้อมสยามเย็นเทิดทูนพระทรงธรรม์ สุริยันและจันทร์เพ็ญโลกแจ้งประจักษ์เห็นณ ทิวาและราตรีรอยองค์พระทรงครุฑ ปริสุทธิปรานีเคียงลักษมีศรีอวตารประทานชัยกอปรราชกิจนำาทศธรรมพิทักษ์ไทยเกริกก่องพระคุณไกรกิติก้อง ณ สากลร่มโพธิสมภารอภิบาลมหาชนเสริมสรรพมงคลสุวิเศษพระเมตตาสรวมพรพิสิฐศรีสดุดีพระปรีชาสืบราชสวรรยา ศตพรรษสวัสดิ์เทอญด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า มหาวิทยาลัยรังสิตนางรพีพรรณ เพชรอนันต์กุลอาจารย์ประจำาภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ร้อยกรองศิลปิน : สมาน คลังจตุรัส4 5


อาเศียรวาทเจ้าฟ้านักการศึกษางามเอยงามอ่อนไท้ เทพินทร์งามพระกิจหลากริน รื่นหล้างามสรรพศึกษาสิน สรรค์สู่ พสกแฮงามพิทย์พระเพาะกล้า เกิดแจ้งวิญญูพระกรุณพรูพร่างเพี้ยง พรหมพรวางรากหลักเรียนสอน สฤษฏ์สร้างผองดรุณสิกขาบวร แววสวัสดิ์แตกยอดต่อใบสล้าง เลิศรู้เนาเสถียรบำาเพ็ญเพียรพระพ้น อุปมาเกิดก่อปวงวิทยาแหล่งไร้ผิวพันธุ์เผ่าภาษา แผกต่างหยดทิพย์หยาดจากไท้ โลกร้างมลายสูญจำารูญวิโรจน์เรื้อง เรืองรัฐเก็จก่องปัญญาภัสร์ เพริศแพร้ววิวิธศาสตร์สืบวิวัฒน์ วาวรุ่งวิจัยก่อวิจักขณ์แก้ว กอบกู้ขวัญสยามเทิดนามพระมิ่งเกล้า มณีกรุงเทิดปิ่นอวยอำารุง ราษฎร์ซ้องเทิดเกียรติเกริกผดุง เผด็จราพณ์เทิดศิระเพราะพระป้อง ปกฟ้าห่มดินด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า มหาวิทยาลัยรังสิตนายนรุตม์ คุปต์ธนโรจน์อาจารย์ประจำาภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ร้อยกรอง6 7ศิลปิน : จักรพันธุ์ โปษยกฤต


เฉลิมพระเกียรติ ฯ ๕๐ พรรษาศูนย์กลางแห่งความเป็นนานาชาติเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘มหาวิทยาลัยรังสิตสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณในด้านต่างๆ ของพระองค์ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและด้านการต่างประเทศ จึงก่อสร้างอาคารเรียนรวมอเนกประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสดังกล่าว ทั้งยังทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯพระราชทานนามอาคารแห่งนี้ว่า “อาคารรัตนคุณากร” ซึ่งมีความหมายอันเป็นมงคลว่า อาคารซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความดีอันทรงค่าศูนย์รวมความเป็นนานาชาติอาคารรัตนคุณากร คือความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ตระหนักถึงความสำาคัญของการก้าวสู่สถาบันการศึกษานานาชาติ เพื่อสนองต่อนโยบายสานฝันสู่อนาคตในโครงการอาณาจักรการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัยรังสิต (FutureExpansion Project of Rangsit University) อาคารแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางรองรับการขยายตัวของนักศึกษานานาชาติที่สมบูรณ์แบบศูนย์รวมแนวคิดการออกแบบอาคารรัตนคุณากร เป็นโครงการที่อาจารย์และนักศึกษาทุกชั้นปีในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทำาร่วมกัน โดยมีการแบ่งงานกันเป็นทีม รับผิดชอบออกแบบและตกแต่งอาคารในส่วนต่างๆ ตามความรู้ความถนัดของนักศึกษาแต่ละคนแต่ละชั้นปี เช่น ทีมออกแบบ ทีมพัฒนาแบบ ทีมตกแต่งภายใน ทีมเก็บรายละเอียดงาน เป็นต้นโดยที่แต่ละทีมจะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ คอยดูแลให้คำาปรึกษาอย่างใกล้ชิด แบบอาคารที่ผ่านคณะกรรมการพิจารณาจึงเป็นการดึงจุดเด่นของแต่ละผลงานมาประกอบกัน• RSU Sky Cyber Lounge (ชั้น ๑๔)• ภายในอาคารรัตนคุณากร (ชั้น ๕)ศูนย์รวมยุคสมัยแห่งการออกแบบอาคารรัตนคุณากรเป็นอาคารที่เรียกว่า International Design คือ เน้นในเรื่องของความเรียบง่าย แต่สามารถคงอยู่ได้นาน ไม่ล้าสมัย เน้นในเรื่องของเทคโนโลยีของ• ภายในอาคารรัตนคุณากร (ชั้น ๑)วัสดุ ส่วนการตกแต่งภายในจะเน้นถึงการแสดงออกด้านกิจกรรมของนักศึกษาที่ทันสมัยห้องเรียนจะเน้นบรรยากาศที่กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเรียนการสอน หรือกิจกรรมระหว่างเรียนมากขึ้นนอกจากนี้ อาคารรัตนคุณากรเป็นอาคารที่ออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะคำานึงถึงเรื่องการประหยัดพลังงาน เนื่องจากอาคารดังกล่าวเป็นอาคารขนาดใหญ่ ดังนั้น การคัดเลือกวัสดุในการก่อสร้างหรือตกแต่งอาคารแต่ละส่วนได้นำามาผสมผสานกัน เพื่อคำานวณหาค่าการลดการใช้พลังงาน โดยการเลือกใช้วัสดุป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าภายในอาคาร แต่สามารถให้แสงจากภายนอกเข้าสู่ตัวอาคารได้ เพื่อลดการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า และลดการทำางานของเครื่องปรับอากาศ เป็นต้นในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำาเนินมายังมหาวิทยาลัย เพื่อทรงเปิดอาคารรัตนคุณากร จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตอย่าง10 หาที่สุดมิได้11


คำกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ “อาคารรัตนคุณากร”เพื่อใช้ในกิจการการศึกษานานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยรังสิตโดย นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาทข้าพระพุทธเจ้า ในนามของกรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต อีกทั้งท่านผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธี ณ ที่นี้ รู้สึกปลื้มปิติและสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่ใต้ฝ่าละอองพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำาเนินมาทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอันเป็นมหามงคลยิ่งว่า “รัตนคุณากร” เป็นอาคารเรียนรวม เพื่อใช้ในกิจการการศึกษานานาชาติ พร้อมทั้งทอดพระเนตรกิจการทางวิชาการด้านต่างๆ ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและปิติปราโมทย์เป็นล้นพ้น หาที่สุดมิได้แก่ปวงข้าพระพุทธเจ้าด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม นับตั้งแต่วันที่ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำาเนินในพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายนพุทธศักราช ๒๕๓๓ และแรกก่อตั้งอีก ๕ ปี นับเป็นเวลารวม ๒๕ ปี ที่มหาวิทยาลัยรังสิตได้มุ่งมั่นพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพ คุณภาพทางวิชาการ และการปฏิบัติภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งทางด้านการจัดการเรียนการสอนคุณภาพ การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการให้บริการแก่สังคม การทำานุบำารุงศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการเปิดการสอนเริ่มแรกเพียง ๒ คณะในปีการศึกษา ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยรังสิตมีการจัดการเรียนการสอน ๔๔ หลักสูตร ๑๒๑ สาขาวิชา นับตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกใน ๒๘ คณะ ซึ่งรวมทั้งวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ อีกทั้งมีการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตทวิภาษาแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อให้ครอบคลุมการศึกษาสำาหรับเยาวชนในระดับต่างๆ ทั้งระบบในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรังสิตมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๙๕ ไร่ มีอาคารรวมทั้งสิ้น ๑๕ อาคาร ในจำานวนอาคารที่สร้างใหม่นอกจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ รัตนคุณากรแห่งนี้ คือ อาคารเรียนคณะทันตแพทยศาสตร์และวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อาคารศูนย์เทคโนโลยี Digital Multimedia Complex ที่เพียบพร้อมด้วยห้องปฏิบัติการระบบ Non-Linear ที่ทันสมัย มีห้องถ่ายทำารายการและส่งสัญญาณโทรทัศน์ หรือ ทีวีสตูดิโอเสมือนจริง ห้องฉายภาพยนตร์และเวทีการแสดง ซึ่งจะใช้ประโยชน์โดยคณะนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศิลปะและการออกแบบ ซึ่งการใช้ประโยชน์ร่วมกันจะเน้นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในองค์รวมในการขยายโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยรังสิตมิได้เน้นหนักการเติบโตทางปริมาณ แต่มีการเฝ้าระวังด้านคุณภาพการศึกษา และคุณภาพของนักศึกษาอย่างเข้มแข็งเสมอมา และกำาหนดให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นนโยบายหลักของสถาบันที่ทุกคณะ ทุกวิทยาลัย รวมทั้งคณาจารย์ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำาหรับวิสัยทัศน์การพัฒนาล่าสุดคือการสรรค์สร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ให้ก่อกำาเนิดขึ้นตั้งแต่ในรั้วมหาวิทยาลัย บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า สถาบันการศึกษาจะต้องเป็น “ขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ” มิใช่ทำาหน้าที่เพียงแค่การสอนหนังสือแต่จะต้องมุ่งสร้างปัญญาและองค์ความรู้แก่สังคม ให้กำาลังคนของประเทศได้มีมโนสำานึกแต่ต้นว่าสังคมที่เป็นธรรมคือสังคมที่ถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย สังคมที่ยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมเป็นบรรทัดฐานของการตัดสินใจสำาหรับอาคารเฉลิมพระเกียรติ “รัตนคุณากร” แห่งนี้ เป็นก้าวใหม่ของมหาวิทยาลัยรังสิตในการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติอย่างสมบูรณ์แบบ โดยตัวอาคารออกแบบในรูปของอาคารอเนกประสงค์ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและบูรณาการกิจกรรมเชิงปฏิบัติการต่างๆ ของหลักสูตรนานาชาติของสถาบันและคณะต่างๆ ได้แก่วิทยาลัยนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันภาษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ สถาบันการทูตและการต่างประเทศ Stenden Rangsit University, Chinese Business Schoolสถาบันการบิน และสำานักงานวิเทศสัมพันธ์ ช่วยให้นักศึกษาต่างหลักสูตรมีโอกาสปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด โดยมีห้อง Auditorium เพื่อรองรับกิจกรรมการแสดงที่จัดขึ้น และ RSUSky Cyber Lounge เป็นสโมสรให้นักศึกษาได้เข้าไปสร้างเสริมไมตรีจิตมิตรภาพ สัมผัสวิถีชีวิตแนวสร้างสรรค์ของปัญญาชนคนรุ่นใหม่ในโลกกว้างไกลแห่งอนาคตเพื่ออนุวัตรให้เป็นไปตามมงคลนาม “รัตนคุณากร” ซึ่งหมายถึง “อาคารซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งความดีอันทรงค่า” นอกจากการพัฒนาการศึกษานานาชาติในหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อสากลโลกแล้ว โดยตระหนักถึงพระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจทางด้านการศึกษา ที่ใต้ฝ่าละอองพระบาททรงบำาเพ็ญเพียร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเยาวชนไทยในพื้นที่กันดารและห่างไกล และกลุ่มด้อยโอกาสต่างๆ อีกทั้งโครงการตามพระราชดำาริที่พระราชทานให้ประเทศเพื่อนบ้าน อาคาร “รัตนคุณากร” นี้ จึงมีนิทรรศการถาวรซึ่งแสดงพระราชกรณียกิจทางด้านการศึกษาสำาหรับชุมชนวิชาการ นักศึกษานานาชาติ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ตลอดจนใช้อาคารนี้เป็นสถานที่จัดการแสดงทางวัฒนธรรม และเทศกาลต่างๆ ที่น่าสนใจของนานาชาติ โดยเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางวิชาการและประชาสังคมโดยรวมเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรระดับนานาชาติเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ แลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษา โดยการทำาข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์เยอรมนี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม จีน อินเดีย รวมทั้งได้เข้าร่วมโครงการ UniversityStudies Abroad Consortium หรือ USAC ซึ่งมีมหาวิทยาลัยชั้นนำาทั่วโลกร่วมโครงการถึงกว่า ๔๐๐ ประเทศโดยในระยะยาวมุ่งหวังที่จะสร้างความเข้าใจอันดีงามระหว่างคนต่างเชื้อชาติและวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์สุขและสันติภาพของประชาคมโลกโดยรวมบัดนี้ได้เวลาอันเป็นสิริมงคลอุดมฤกษ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระราชานุญาต กราบบังคมทูลเชิญใต้ฝ่าละอองพระบาท เสด็จพระราชดำาเนินทรงเปิดอาคาร “รัตนคุณากร”เฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ในกิจการการศึกษานานาชาติ เป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่สถาบันแห่งนี้ และแก่มหาวิทยาลัยรังสิตโดยรวมสืบไปด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม12 13


14 15อาคารรังสิตประยูรศักดิ์• ภาพ : บดินทร์ โพธิ์วิฑูรย์


์์เทิดพระนามน้อมบูชิตพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเทิดพระเกียรติพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิกรมพระยาชัยนาทนเรนทร(กาพย์ยานี ๑๑)ข้าน้อยขอน้อมเกล้าบูชิต เทิดพระนามรังสิตประยูรศักดิ์ขอเมตตาบารมี ธ พิทักษ์ แจ้งประจักษ์พระคุณูปการด้านศึกษาสาธารณสุข ขจัดทุกข์สุขสราญลํ้าเลิศพระปรีชาญาณ แผ่ไพศาลคุ้มบ้านเมืองพระกรุณาธิคุณนั้น ทรงรังสรรค์และลือเลื่องรังสิตนามประเทือง คืออู่ข้าวอู่นํ้าไทยเพาะพลังแห่งแผ่นดิน มิรู้สิ้นเขียวไสวเยาวชนได้ก้าวไกล อิงอาศัยเนื้อนาบุญตามรอยพระบาทไท้ ใช้ปัญญามาเนื่องหนุนขันติธรรมมาคํ้าจุน น้อมจงรักภักดีนิรันดร์“รังสิต” มงคลนามในดวงใจแห่งผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรก ในบริเวณที่เป็นทุ่งนาเขียวไสวสุดสายตา บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินที่หล่อเลี้ยงต้นกล้าให้เติบใหญ่ เป็นคุณูปการต่อแผ่นดิน แรงบันดาลใจให้ใช้ชื่อนี้มีที่มาจากอดีตกาล เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์ ผู้ทรงร่วมก่อตั้งบริษัท คลองคูนาสยาม ซึ่งเป็นบริษัทบุกเบิกพัฒนาที่ดินแห่งแรกของประเทศไทยทรงเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พระนัดดาผู้ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาประกอบพิธีปฐมฤกษ์ในการขุดคลอง แล้วขนานชื่อคลองนั้นว่า “คลองรังสิต” ตามพระนามพระนัดดา มงคลนามนี้จึงเกิดมีขึ้นทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย หรือการปฐมนิเทศนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิตไม่ลืมที่จะกล่าวถึงรากเหง้าของมงคลนามนี้ และความมุ่งมาดปรารถนาที่จะใช้ผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ของท้องทุ่งรังสิตในการอบรมบ่มเพาะกำาลังคนคุณภาพ ให้ลงหลักปักฐานเพื่อชาติบ้านเมือง ปูชนียบุคคลที่ลูกรังสิตพึงเทิดทูนและน้อมบูชิตเป็นแบบอย่างการดำาเนินชีวิตที่เพียบพร้อมด้วย คุณธรรม ขันติธรรม สติปัญญา ปรีชาญาณความกล้าหาญที่จะยืนหยัดบนพื้นฐานของความถูกต้องชอบธรรมอย่างเต็มภาคภูมิ และพลังสร้างสรรค์ในการบุกเบิกงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและชาติบ้านเมือง คือพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรตามพระประวัติที่หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิตสมาชิกวุฒิสภาเรียบเรียงไว้ ดังปรากฏในหนังสือที่ระลึกเล่มนี้ เสด็จในกรมทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงทางด้านการศึกษาและการสาธารณสุข ชีวิตราชการของพระองค์เริ่มด้วยการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองของกระทรวงธรรมการ ทรงมีหน้าที่พิเศษเป็นผู้ตรวจการโรงเรียนราชแพทยาลัยและโรงเรียนฝึกหัดครู ต่อมาภายหลังที่มีพระบรมราชโองการสถาปนาให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามจาฤก (ตัวสะกดแบบเดิม) ในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย ผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง ทรงสนับสนุนการศึกษาพยาบาลและคิดเครื่องแบบพยาบาลขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ นอกจากนี้ ทรงวางรากฐานด้านเภสัชศาสตร์โดยจัดตั้ง “โรงเรียนปรุงยา”ทรงดำารงตำาแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยคนแรก และอธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรกแห่งสยาม ที่ทรงริเริ่มงานการศึกษาและฝึกอบรม การควบคุมป้องกันโรค ทรงจัดให้มีกองกำากับโรคระบาด กักกันผู้เป็นโรคและต้องสงสัยว่าเป็นโรคเมื่อเดินทางเข้าประเทศ จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ตลอดจนการควบคุมโรคติดต่อเช่น โรคเรื้อน อหิวาตกโรค มาลาเรีย อีกทั้งทรงริเริ่มให้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการสาธารณสุขเป็นครั้งแรก ได้แก่พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดในเขตสุขาภิบาล16 17


พระราชบัญญัติควบคุมอาหารและยา พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมและวางระเบียบจรรยาบรรณการประกอบการแพทย์เป็นต้น นอกจากนี้ ทรงวางระเบียบการบริหารงานที่ครอบคลุมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค• พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ฯ มี ก า ร จั ด ตั้ ง แ พ ท ย์ประจำาจังหวัด (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสาธารณสุขจังหวัด) อีกด้วยจากความมานะบากบั่นและความสำาเร็จในการบุกเบิกงานอย่างมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยยศเสด็จในกรมให้เป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และต่อจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช ก็ได้เฉลิมพระนามเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๘หลังจากทรงเกษียณจากราชการแล้ว ทรงดำาเนินชีวิตส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ทรงงานศิลปะ ออกแบบตกแต่งภายในจากผลงานศิลปะและโบราณวัตถุที่ทรงสะสมทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ อันเป็นที่ชื่นชมกันว่าทรงมี “ตาดี” ในเรื่องของงานศิลปะ ที่ทรงสืบทอดมาจากสมเด็จพระราชบิดา ทรงงานอดิเรกถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์ โดยทรงเป็นกรรมการผู้ร่วมก่อตั้ง “สมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยาม” นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้พัฒนาและบุกเบิกการพัฒนาที่ดินรุ่นแรกๆ ของสยามอีกด้วยเสด็จในกรมยังทรงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ เสด็จงานพระราชพิธีต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี ถวายคำาปรึกษาแด่สมเด็จพระพันวัสสาฯ เรื่องพระราชนัดดา ๓ พระองค์ ฯลฯ เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เสด็จในกรมมิได้ทรงวิตกโดยส่วนพระองค์ว่าจะทรงเป็นอันตรายอย่างใดเนื่องจากมิได้ทรงดำารงตำาแหน่งทางการเมือง อย่างไรก็ดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำาเนินไปรักษาพระองค์ที่สหรัฐอเมริกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงดำารงตำาแหน่งผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงแต่งตั้งเสด็จในกรมเป็นที่ปรึกษาของผู้สำาเร็จราชการ ในช่วงเวลานี้จึงทรงมีพระภารกิจเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมืองอีกครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม๒๔๘๑ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมอบหมายให้เสด็จในกรมเป็นพระอภิบาลพระราชนัดดาทั้ง ๓ พระองค์ด้วย แต่ใครเลยจะคิดว่าอีกเพียง ๒ เดือนที่ทั้ง ๔ พระองค์เสด็จกลับ เสด็จในกรมจะทรงได้รับเคราะห์กรรมอย่างมหันต์ถึงเกือบ ๕ ปีในช่วงที่การเมืองไทยแปรปรวนเกิดการเปลี่ยนแปลงฐานอำานาจโดย “คณะราษฎร์” ทำาการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังการเลือกตั้งครั้งที่ ๓ เมื่อปลายปี ๒๔๘๑ ซึ่ง พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาปฏิเสธที่จะรับตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี พันเอก หลวงพิบูลสงครามจึงได้รับการแต่งตั้งแทนและยังดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต่อไปด้วย โดยมีข่าวตามมาว่านายกรัฐมนตรีและเพื่อนถูกวางยาพิษ จึงเกิดขบวนการกวาดล้างจับกุมผู้ต้องสงสัย ซึ่งส่งผลให้พระองค์ถูกจับกุมและถูกคุมขังถึง ๔ ปี ๙ เดือน และ ๒๗ วัน ในข้อหา“กระทำาความผิดฐานกบฏเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วยใช้กำาลังบังคับ”อย่างไม่เป็นธรรม และไม่มีมูลความจริง หากทรงยืนหยัดรับสภาวะนี้ด้วยพระทัยมั่นคงไม่สะทกสะท้านเมื่อถูกคุมพระองค์ในระหว่างเสด็จไปเยี่ยม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ปราโมช เป็นการส่วนพระองค์ที่ลำาปาง ด้วย “ขัตติยมานะของจริง” ที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช สาธกไว้ อีกทั้งทรงเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรม แต่ปรากฏว่ามีการใช้พยานเท็จ ใส่ร้ายป้ายสี และการพิจารณาคดีแบบมีการตัดสินไว้ก่อนล่วงหน้า ทำาให้พระองค์ต้องทุกข์ทรมานจากการคุมขังโดยมิชอบธรรมถึงกว่า ๕ ปี แต่ทรงใช้ธรรมะเป็นหลักหล่อเลี้ยงพระทัย และยังทรงใช้เวลาในคุกสร้างสรรค์งานนิพนธ์ “ไปเมืองนอกครั้งแรก ร.ศ.๑๑๘”ที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์แต่ในที่สุด ธรรมะก็มีชัยชนะเหนืออธรรม การพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น ทำาให้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามสิ้นอำานาจ ทำาให้เขาต้องปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อเอาตัวรอด จากหนังสือของหม่อมเจ้าปิยะรังสิต เรื่อง “หม่อมเอลิซาเบธ” นโยบายภายในประเทศประเด็น “การจับกุมพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินมาขังนั้น นับว่าเป็นกรรมโทษที่อุกอาจที่สุดของจอมพลเผด็จการในครั้งนั้น” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จอมพล ป. จึงถือโอกาสขอพระราชทานอภัยโทษให้เสด็จในกรม จึงทรงพ้นข้อกล่าวหาและเสด็จกลับวังวิทยุเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๘๖หลังจากนั้น เสด็จในกรมก็ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี อีกทั้งพระราชทานยศพลเอก นายทหารพิเศษประจำากองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล นพรัตน์ราชวราภรณ์ เสด็จในกรมสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๙๔ ทรงมีพระชันษา ๖๕ ปี ๔ เดือนก่อนพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๕ ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จกรมพระยาไม่มีปูชนียบุคคลใดอันเปี่ยมด้วยบุญญาบารมี ที่ประสูติมาเป็นพระราชโอรสที่สนิทเสน่หาของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ หากประสบกับการสูญเสียเจ้าจอมมารดาเมื่อพระชนมายุได้เพียง ๑๒ วัน โดยสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (ในรัชกาลที่ ๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถรวบยอด ทั้งทางด้านการศึกษา การสาธารณสุข ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำารงตำาแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยคนแรก อธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรกแห่งกรุงสยาม ทรงวางรากฐานทางด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการแพทย์การสาธารณสุข พระคุโณปการยังประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ชาติบ้านเมือง ทรงสนองพระบรมราชโองการอย่างเป็นผลดียิ่งและได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ปรึกษาของผู้สำาเร็จราชการ เป็นพระอภิบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่กลับต้องทนทุกข์ทรมานกับการแปรปรวนของการเมืองไทยถึงกับต้องถูกคุมขังโดยเผด็จการที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทรงยืนหยัดรับสภาวะด้วย“ขัตติยมานะของจริง” ด้วยความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรม จนกระทั่งธรรมะมีชัยชนะเหนืออธรรม ทรงกลับมาถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรีองคมนตรี สมบูรณ์ด้วยชื่อเสียงเกียรติภูมิตลอดพระชนม์ชีพ18 19


ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยตราสัญลักษณ์เดิม (๒๕๒๘-๒๕๕๓)• กลุ่มสามเหลี่ยม หมายถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่รวมกันเป็นสังคม• ฟันเฟือง หมายถึง พลังแห่งวิทยาการและเทคโนโลยีทุกแขนง• ดวงอาทิตย์ส่องแสง หมายถึง อำานาจ ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง• ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง พลังแห่งคุณธรรมและสามัคคีธรรม• ปิ่น หมายถึง เป้าหมายอันดีงาม สูงสุดของสังคมตราสัญลักษณ์ในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปี (๒๕๕๓)• ตัวอักษร มาจากคำาว่า คุณภาพ (Quality) แสดงถึง คุณภาพ มาตรฐานทางการศึกษาซึ่งมาตรฐาน ในที่นี้ยังแสดงถึงศักยภาพของอาจารย์ผู้สอนที่มีมาตรฐานและรวมถึงมาตรฐานของผู้ที่สำาเร็จการศึกษา นอกจากนี้เส้นโค้งที่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวยังแสดงถึง การพัฒนาวิทยาการ เทคโนโลยีทางการศึกษา• เครื่องหมายอินฟินิตี้ (Infinity) แสดงถึง การพัฒนาการดำาเนินงานอย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืนรวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการดำาเนินงานที่รองรับต่อกลไกในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพตราสัญลักษณ์ในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปี จึงหมายถึง ความไม่มีที่สิ้นสุดแห่งคุณภาพการศึกษาตราสัญลักษณ์ใหม่ (๒๕๕๓ เป็นต้นไป)โลกุตระหมายถึง จุดมุ่งหมายอันสูงส่งของมวลมนุษย์ คือการบรรลุสภาวะความรู้แจ้งในธรรมโดยมีปัญญาเป็นแสงส่องทางสู่การบรรลุธรรมขั้นสูงสุดดวงอาทิตย์หมายถึง พรายแสงแห่งปัญญา ที่ให้แสงสว่างส่องมายังโลกสร้างภูมิพลังหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ สรรพสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และสิ่งมีชีวิตทั้งมวลปรัชญาของมหาวิทยาลัยรังสิตภายใต้สัญลักษณ์ใหม่เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการสร้างสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการส่งเสริมการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ความใส่ใจในการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตผนวกกับจิตสำานึกที่ดีงามและคุณธรรม เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยรังสิตจึงเปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่สาดส่องพรายแสงแห่งปัญญานำามรรคาเยาวชนสู่สภาวะความรู้แจ้งในธรรม เพื่อเป็นพลังสรรค์สร้างสังคมธรรมาธิปไตยที่ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกต้องเป็นหลัก20


พะยอมไม้ประจำมหาวิทยาลัย“พะยอม” ถือว่าเป็นไม้ประจำามหาวิทยาลัย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Shorea roxburghii G.donวงศ์ Dipterocarpaceae ชื่อสามัญ White Meranti ส่วนชื่อพื้นเมืองเรียกว่า กะยอม ขะยอม ขะยอมดงพะยอมทอง ภูริง แคน เซียง เชี่ยว พะยอม พะยอมทอง หรือยางหยวก เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๕–๓๐ เมตร ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแคบๆ เรียงสลับ ขนาดกว้างประมาณ ๓.๕-๔เซนติเมตร ยาว ๘-๑๐ เซนติเมตร ปลายมนหรือหยักเป็นติ่งสั้นๆ เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเล็กๆ เป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจัด ผลเป็นรูปกระสวย มีปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น๒ ปีก ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม–กุมภาพันธ์ เป็นผลประมาณเดือนมกราคม–มีนาคม ผลแก่ประมาณเดือนมีนาคม–เมษายน ขยายพันธุ์โดยเมล็ด เด็ดปีกออกก่อนนำาไปเพาะ พะยอมเป็นไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำาจังหวัดพัทลุงด้วยประโยชน์ของพะยอมมีหลากหลาย นับตั้งแต่เนื้อไม้มีลักษณะคล้ายไม้ตะเคียนทอง ใช้ในการก่อสร้างหรือทำาเครื่องเรือน เปลือกมีรสฝาด ในตำารายาไทยใช้เปลือกเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและลำาไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือแทนนิน ดอกเข้ายาหอมบำารุงหัวใจและลดไข้ นอกจากนี้ยังใช้เปลือกเป็นสารกันบูดใช้ในการฟอกหนัง เป็นต้น เป็นไม้ที่มีความยั่งยืน มีดอกดก หอมหวนทวนลม มีประโยชน์ตั้งแต่เปลือกนอกเนื้อไม้และผล ผลผลิตของมหาวิทยาลัยรังสิตจึงเสมือนดอกพะยอมที่ทั้งหอมหวนและทรงคุณค่า เมื่อบานเต็มที่จะเกิดผลที่มีปีกพร้อมโบยบินเพื่อสืบสานพืชพันธุ์แห่งภูมิปัญญามหาวิทยาลัยรังสิตปลูกต้นพะยอมไว้ที่หน้าลานพะยอม สถานที่ประกอบกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมของนักศึกษา และที่หน้าคณะศิลปศาสตร์ โดยอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ดำาริให้ทยอยปลูกเพิ่มเติมเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่มีประโยชน์และหายากไว้ประจำามหาวิทยาลัยพะยอม หอมหวน ทวนลม ผลิดอกออกผลพร้อมโบยบิน สืบสานพืชพันธ์ ุ...แห่งภูมิปัญญา26 27• เอื้อเฟื้อภาพประกอบ : รองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา


มหาวิทยาลัยรังสิตมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการประเมินจากสำานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ“ดีมาก” ในกลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิต จัดการเรียนการสอนโดยแบ่งกลุ่มคณะวิชาออกเป็น ๕ กลุ่มได้แก่๑. กลุ่มคณะวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ : วิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะกายภาพบำาบัด คณะวิทยาศาสตร์คณะทัศนศาสตร์ และคณะการแพทย์แผนตะวันออก๒. กลุ่มคณะวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี : วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศคณะเทคโนโลยีชีวภาพ และสถาบันการบิน๓. กลุ่มคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันการทูตและการต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย๔. กลุ่มคณะวิชาศิลปะและการออกแบบ : วิทยาลัยดนตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปะและการออกแบบ และคณะ Digital Art๕. กลุ่มคณะวิชาเศรษฐกิจและธุรกิจ : วิทยาลัยบริหารธุรกิจและรัฐกิจ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชีคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ และคณะเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ๗๘ หลักสูตร ระดับปริญญาโท ๓๖ หลักสูตร และระดับปริญญาเอก ๗ หลักสูตร รวม ๑๒๑ หลักสูตร28 29• ภาพ : คิมหันต์ ระวังนาม


โรงเรียนนานาชาติ บริติช ภูเก็ตโรงเรียนนานาชาติ บริติช ภูเก็ต (British International School, Phuket)เป็นโรงเรียนในเครือของมหาวิทยาลัยรังสิต มีศูนย์การศึกษาตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เปิดสอนในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ด้วยจุดมุ่งหมายการจัดตั้งที่ต้องการให้นักเรียนชาวไทยและต่างชาติทุกคนเกิดการพัฒนาการด้านการเรียนรู้ มีทักษะความเข้าใจที่ดีในการใช้ภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำาในระดับนานาชาติ36 37


RSU Health Care / RSU Tower• อาคาร RSU Tower สุขุมวิท ๓๑กลุ่มบริษัท อาร์ เอส ยู เฮลท์แคร์ เป็นการต่อยอดความเชี่ยวชาญจากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิต พัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการสู่การปฏิบัติจริง วางตำาแหน่งเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ การบริการเทคโนโลยีทางการรักษาพยาบาล ประกอบด้วยศูนย์บริการต่างๆ อาทิ ศูนย์อาร์เอสยู เมดิคอลเซ็นเตอร์ (RSU Medical Center) ศูนย์จักษุ อาร์ เอส ยู (RSU EyeCenter) และศูนย์สายตา อาร์ เอส ยู (RSU Vision Center) ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคาร RSU Tower สุขุมวิท ๓๑ และศูนย์ทันตกรรม อาร์ เอส ยู(RSU Dental Center) ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารวานิช ๒38 39


40 • ภาพ : คันธ์ชิต 41 สิทธิผล


รังสิตรังสรรค์42 43• ขอขอบคุณ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์เอื้อเฟื้อประพันธ์คำากลอน “รังสิตรังสรรค์” ให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิต ในโอกาสครบ ๒๕ ปี


ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๘๒๕๒๖ - ๒๕๒๘สร้างความคิด เนรมิตความฝัน ให้เป็นรูปธรรมดั ่งแสงทองของตะวันรุ ่ง มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อกำาเนิดเกิดขึ ้นจากความคิดความฝัน ความหวัง และความมุ ่งมั ่นที ่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ของคณะผู ้ริเริ ่มก่อตั ้งมหาวิทยาลัยคือ คุณประสิทธิ ์ อุไรรัตน์ และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์มาเป็นเวลายาวนานแล้ว เพื ่อสร้างกำลังคนที ่ดี มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของสังคม ในยามที ่ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรในการพัฒนาประเทศอย่างหนักในทุกสาขาอาชีพท่านประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เคยกล่าวถึงปณิธานในการทำางานและที่มาของมหาวิทยาลัยรังสิตว่า งานที่ผมดำาริริเริ่มขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นงานใดหนึ่ง จะต้องแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและที่คาดประมาณว่าอาจเกิดขึ้นในอนาคต สอง ถ้าใช้วิจารณญาณพบว่าอะไรดี อะไรชอบ กอปรกับมีต้นทุนและพันธมิตรมาร่วมคิด ร่วมมือร่วมใจ ร่วมลงทุนลงแรง ก็ให้ลงมือทำาไปเลย มีปัญหาค่อยแก้ไขไปเป็นเปลาะๆ ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาความเป็นไปได้44 45


• ท่านประสิทธิ์ และดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ วางศิลาฤกษ์ถ้าดูจากประวัติการงานที่ผมเริ่ม ใครๆ คงคิดว่าในใจผม โรงพยาบาลเอกชนนั้นมาก่อน แต่ขอเรียนไว้ ณ ที่นี้ว่า จากการที่ผมมีโอกาสทำางานเป็นผู้ว่าราชการในจังหวัดต่างๆ ผมให้ความสนใจอย่างยิ่งต่องานวางผังเมืองการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษาเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาจะอยู่ในใจผมมาโดยตลอด ผมพูดเสมอว่า “ผมเองได้รับราชการมาในตำาแหน่งหน้าที่หลายตำาแหน่ง แต่ไม่เคยภูมิใจในตำาแหน่งใดยิ่งกว่าตำาแหน่งครู เมื่อมีคนมาเรียกว่าครูก็ชื่นใจ”ราวปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านประสิทธิ์ได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในเรื่องของการศึกษาจึงพบว่า การเรียนการสอนที่เน้นเชื่อมโยงสามมิติจะทำาให้เด็กเกิดปัญญา คือไม่ยึดติดแต่ในสิ่งที่ล่วงมาแล้ว ไม่ยึดติดในปัจจุบัน ไม่ยึดติดกับภาพลักษณ์ของอนาคต แนวคิดดังกล่าวอยู่ในใจของท่านประสิทธิ์ตลอดมา พาให้ครุ่นคิดว่า วันหนึ่งเราจะทำาอย่างไรให้เด็กไทยของเรามองเห็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้จักระมัดระวังทุกย่างก้าว และมีจิตสำานึกในการรับผิดชอบต่อประเทศและมนุษยชาติเมื่อเติบโตขึ้น ทำาอย่างไรเราจะช่วยกันอุ้มแกลงจากหลังควายตัวเดิมได้ ไม่ใช่มาเรียน๔ ปี ๗ ปี แล้วกลับไปอยู่บ้าน ไปอยู่บนหลังควายตัวเดิมเมื่อสบโอกาสคือมีประสบการณ์จากการจัดตั้งโรงพยาบาลเอกชนด้วยสมองและสองมือจนเป็นผลสำาเร็จ ประกอบกับรัฐเปิดไฟเขียว กำาหนดไว้ในแผนพัฒนาว่าให้เอกชน โดยสถาบันการศึกษาเอกชนช่วยด้านการศึกษาโดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน ความคิดที่อยู่ในใจของท่านประสิทธิ์จึงถ่ายทอดออกมาเป็นความจริง เป็นรูปธรรมออกมาได้ความคิดและความหวังของท่านประสิทธิ์ สอดผสานอย่างลงตัวกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๘ นั้น ดร.อาทิตย์อุไรรัตน์ ได้ดำารงตำาแหน่งหัวหน้าฝ่ายอัตรากำาลังและฝึกอบรม จากนั้นจึงได้เลื่อนเป็นหัวหน้ากองวิชาการ สำานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเรายังขาดแคลน โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทิศทางและปรัชญาของการจัดการทางด้านการศึกษาขั ้นอุดมศึกษาที ่ผ่านมายังขาดความสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศทั ้งระยะสั ้นและระยะยาว(ก.พ.) ตามลำาดับ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานการวางระบบกำาลังพลแบบที่ครอบคลุมในสาขาวิชาที่กำาลังขาดแคลนอยู่ในประเทศ ทำาให้ทราบว่า แท้จริงแล้วประเทศไทยนั้นขาดแคลนบุคลากรในทุกด้าน ทุกสาขาอาชีพ ไม่เฉพาะแพทย์และพยาบาลเท่านั้นเมื่อพิจารณาแล้วพบว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษาของเรายังขาดแคลน โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทิศทางและปรัชญาของการจัดการทางด้านการศึกษาขั้นอุดมศึกษาที่ผ่านมา ยังขาดความสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาวปัญหาบัณฑิตว่างงานและปัญหาบัณฑิตได้งานทำาที่ตํ่ากว่าระดับการศึกษามีอยู่จำานวนมาก บัณฑิตในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อความต้องการและการขยายตัวของกิจการต่างๆในขณะที่ระดับมัธยมศึกษาสามารถผลิตบุคลากรในทางวิชาชีพได้จำานวนมาก แต่ระดับอุดมศึกษาของรัฐไม่มีงบประมาณที่จะรองรับการศึกษาต่อของบุคคลเหล่านี้ โอกาสที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญา จึงมีเพียงการศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์ เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเท่ากับการลงทุนที่ผ่านมาในระดับมัธยมศึกษาหรือวิชาชีพกลายเป็นความสูญเปล่า“ในขณะนั้นเราต่างมีแค่การพูดกันว่าอะไรขาดแคลน แต่ไม่มีคนคิด ไม่มีโครงการ ไม่มีการเสนอ เราก็คิดแล้วก็เข้าใจ และตั้งใจว่า “เราต้องทำาเอง” จึงเกิดแรงผลักดันในตอนนั้น และพยายามใช้ทุนเท่าที่จำาเป็นไปก่อน” ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กล่าวจากนั้นปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ความตั้งใจที่จะสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศได้เอ่อล้นออกจากใจของดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และได้กล่าวกับคณะทำางานของท่านว่า“พี่ปู๊ดปรึกษากับคุณพ่อแล้ว ตกลงจะสร้างมหาวิทยาลัย”ดั่งแสงทองของตะวันรุ่งได้ส่องประกายในใจคณะผู้ริเริ่มโครงการให้ดำาเนินงานซึ่งเป็นความหวังทางการศึกษาของประเทศต่อไปในอนาคต ดังปณิธานของท่านประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้กล่าวไว้ว่า“เราจะสร้างเยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้เป็นบัณฑิตที่เพียบพร้อมด้วยวิทยาการและเพียบพร้อมด้วยจริยธรรม” และแล้วภารกิจอันยิ่งใหญ่ของคณะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิตภายใต้ “โครงการมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ” ก็เริ่มต้นขึ้น46 47


เปิดทำาการได้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยมีปัญหามากที่สุดเพราะในช่วงนั้นพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชนปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เข้มงวดมาก เป็นพระราชบัญญัติที่ไม่ไว้ใจมหาวิทยาลัยเอกชนเลย เพราะฉะนั้นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนจึงต้องฟันฝ่าอุปสรรค ทั้งกฎระเบียบ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจของทางราชการ ซึ่งเราต้องต่อสู้หนักมากเวลาที่จะเสนอหลักสูตรทั้งนี้ กฎเกณฑ์ต่างๆ ได้แก้ไขไปมากตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบันเพราะช่วงนั้นมหาวิทยาลัยเอกชนมีไม่มากนักแต่ต้องแข่งกับมหาวิทยาลัยรัฐบาล เพราะสมัยนั้นนักเรียนที่จบมัธยมศึกษามีน้อย เรื่องคุณภาพการศึกษาเราต้องมีความพร้อม”กระทั่งวันเสาร์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ นายกสภาวิทยาลัยอธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้ก่อตั้ง ร่วมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหลังแรกของโครงการ ชื่อ “อาคารประสิทธิรัตน์” ซึ่งแรกเริ่มใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ เป็นทั้งห้องเรียน ห้องสมุด ห้องทำางาน และสำานักงานของคณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ รวมทั้งเป็นสำานักงานของหน่วยบริการทุกสายงานในช่วงเวลาต่อเนื่องกันกับการก่อสร้างอาคารหลังแรก ก็เริ่มก่อสร้างอาคารประสิทธิ์พัฒนา ซึ่งเป็นอาคารหอพักสูง ๑๒ ชั้น จำานวน ๒ หลัง และโรงอาหารรูปดอกเห็ด เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาจากที่ต่างๆ ได้มีโอกาสใช้ชีวิตการศึกษาร่วมกัน และดำาเนินกิจกรรมต่างๆ ตามความถนัดและความสนใจการก่อสร้างดำาเนินต่อมาโดยไม่หยุดยั้ง ควบคู่ไปกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและอาณาบริเวณ ประดับประดาด้วยไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้เมื ่อวันที ่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ โครงการมหาวิทยาลัยส ม บู ร ณ์ แ บ บ ภ า ย ใ ต้ ชื ่ อสถาบันการศึกษา “วิทยาลัยรังสิต” จึงได้รับอนุมัติจัดตั ้งจากทบวงมหาวิทยาลัย และเปิดดำาเนินการสอนในปีการศึกษา ๒๕๒๙ประดับ การปรับแต่งสนามหญ้า ตลอดจนสร้างสนามกีฬากลางแจ้ง เช่นสนามฟุตบอล สนามเทนนิส และสนามบาสเกตบอล ทุกสิ่งทุกอย่างดำาเนินไปภายใต้เป้าหมายหลักของการสรรค์สร้าง “โครงการมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ” แต่เป้าหมายเบื้องต้นคือการเปิดการเรียนการสอนให้ได้ภายในปีพ.ศ. ๒๕๒๙ขณะนั้นผู้รู้ นักวิชาการ นักวิชาชีพ ผู้ชำานาญการ นักวางแผนการศึกษา นักคิดจากหลายสำานักและหลากสาขา มารวมพลังกันที่นี่ ทุกคนมีส่วนสำาคัญในการบุกเบิกสร้างสรรค์หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุน ไม่เพียงแต่เพื่อบรรลุมาตรฐานตามกฎเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติที่กำาหนดไว้ หากยังต้องอาศัยความพากเพียรพยายามและความกล้าที่จะริเริ่มแนวความคิดและทรรศนะใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมการศึกษาเพื่อคนรุ่นใหม่ ก่อเป็นรูปเป็นร่างและพัฒนาต่อยอดโดยไม่หยุดยั้ง ตามแนวคิดและปณิธานการทำางานของท่านประสิทธิ์ อุไรรัตน์ คือ“ถ้าอะไรคิดว่าดี มีประโยชน์ต่อส่วนรวมแล้ว จะยาก จะเสี่ยงแค่ไหนก็กัดฟันก้าวไป ทำาไปปรับปรุงไป ไม่ต้องรอให้พร้อมแล้วจึงเริ่ม เพราะจุดที่เรียกว่าพร้อม ถ้ารีๆ รอๆ ก็จะไปไม่ถึง ถ้าก้าวไปแล้วเกิดมีปัญหาอุปสรรคก็ลงมือแก้ไปทีละเปลาะ เป็นประสบการณ์ทำางานสะสมที่หาที่ไหนไม่ได้”การใดที่เริ่มต้นด้วยเจตนารมณ์ดี ด้วยการปฏิบัติชอบ ย่อมก่อให้เกิดผลดีเป็นที่น่าภาคภูมิใจเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โครงการมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ภายใต้ชื่อสถาบันการศึกษา “วิทยาลัยรังสิต” จึงได้รับอนุมัติจัดตั้งจากทบวงมหาวิทยาลัย และเปิดดำาเนินการสอนในปีการศึกษา ๒๕๒๙ จำานวน๒ คณะ ๕ สาขาวิชา คือ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์“ความภูมิใจของคณะผู้ก่อตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเอง อยู่ที่การเห็นเยาวชนของชาติได้มีที่เรียนระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ไม่ต้องเสียอกเสียใจซํ้าซากกับการสอบไม่ติด มหาวิทยาลัยของรัฐไม่มีที่ให้แทรกเข้าไปเรียน ได้ร่วมระดมสรรพกำาลังจากครูอาจารย์ภาครัฐให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุด และช่วยให้ครูอาจารย์เป็นจำานวนมากที่มีการผลิตเกินความต้องการได้ใช้ศักยภาพของตนในการจัดการเรียนการสอน ได้พัฒนาตนเองทางวิชาการและมีวิชาชีพที่มั่นคง เป็นหลักเป็นฐานสำาหรับครอบครัว”ท่านประสิทธิ์ อุไรรัตน์ กล่าวในที่สุด ความฝันและความมุ่งมั่นที่จะผลิตต้นกล้าวิชาการน้อยใหญ่ก็สามารถเปลี่ยนผันกลายเป็นรูปธรรมอันน่าภูมิใจ นับแต่นั้นเป็นต้นมา50 51


ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๒๒๕๒๙-๒๕๓๒พลิกฟื ้นผืนนา ปลูกต้นกล้าแห่งการศึกษาต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ใครเลยจะคิดว่าทุ่งนาที่รกร้างห่างไกล จะเปลี่ยนสภาพไปโดยสิ้นเชิง จากถนนพหลโยธินมองตรงไปทางทิศตะวันตก ก็ได้เห็นธงไตรรงค์และธงประจำวิทยาลัยรังสิต สีฟ้าบานเย็นโบกสะบัดเหนือแรงลมบนพื้นที่อันกว้างใหญ่ เป็นสัญญาณแห่งเมล็ดพันธุ์แห่งการศึกษา ได้หยั่งราก ฝังดินลงบนพื้นที่นี้แล้วปีการศึกษา ๒๕๒๙ ชื่อของวิทยาลัยรังสิตได้ปรากฏขึ้นในแวดวงสถาบันอุดมศึกษา ด้วยเงินลงทุนจากคณะผู้ก่อตั้งกว่า ๑๕๐ ล้านบาท ที่มุ่งหวังและเชื่อมั่นว่าวิทยาลัยรังสิตจะเป็นสถาบันที่สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลนของชาติโดยเฉพาะในสายวิทยาศาสตร์ได้ขณะนั้นวิทยาลัยรังสิตเปิดการเรียนการสอนได้ ๒ คณะ จำานวน ๕สาขาวิชา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม สาขาวิชาบัญชี สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ โดยสามารถรองรับนักศึกษารุ่นแรกได้เพียง ๓๑๙ คนมีจำานวนอาจารย์และบุคลากรไม่มากนักในรุ่นบุกเบิกเพียง ๙๙ คน พร้อมด้วยอาคารเรียนเพียง ๑ หลัง คือ อาคารประสิทธิรัตน์ และอาคารประสิทธิ์พัฒนา ซึ่งใช้เป็นหอพักนักศึกษา และซุ้มดอกเห็ดใจกลางวิทยาลัย ซึ่งใช้เป็นโรงอาหารกลาง52 53


จากสภาการพยาบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๒ และได้พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องมาตลอด กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล ในการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง ทำาให้นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ได้กลายเป็นผู้ที่ควรค่าแก่หมวกสีขาว ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเข้าสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพโดยสมบูรณ์ มีความตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นพยาบาลที่ดีตามความคาดหวังของสังคมอย่างแท้จริงนอกจากนั้นสิ่งหนึ่งที่เป็นที่ภูมิใจยิ่งของบรรดาคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาทุกคน จนหาที่เปรียบมิได้ คือ ในการประชุมครั้งที่๒/๒๕๓๓ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ สภามหาวิทยาลัยรังสิตได้มีมติเอกฉันท์ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายปริญญาพยาบาลดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยรังสิต สืบไปชั่วกาลนานจากนั้นวิทยาลัยรังสิตก็ได้ดำาเนินการตามแผน ๕ ปีแรก (พ.ศ. ๒๕๒๙- ๒๕๓๓) โดยการเปิดคณะต่างๆ ขึ้นมาอีกจำานวน ๑๒ คณะ เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ประเทศชาติต้องการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์คณะนิเทศศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะศิลปกรรม คณะกายภาพบำาบัดนั บ เ ป็ น ก า ร ห ยั ่ ง ร า ก ข อ งเหล่านานาเมล็ดพันธุ ์ที ่ได้ริ เ ริ ่ ม ป ลู ก อ ย่ า ง ร ว ด เ ร็ วภายในระยะเวลาเพียง ๕ ปีแรก สามารถเปิดการเรียนการสอนได้มากถึง ๑๖ คณะคณะเทคนิคการแพทย์ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยครั้นเมื่อถามถึงแนวคิดการวางรากฐานแต่ละคณะของวิทยาลัยรังสิตในขณะนั้น ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้กล่าวว่า ในอดีตประเทศไทยเราคิดว่าจุดแข็งของเราคือ ส่งออกข้าวเป็นอันดับ ๑ ของโลก คนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มากที่สุด ก็คือเกษตรกร คนยากจน ถึงตอนนี้เราก็ยังคิดว่าเป็นจุดแข็งของชาติอีกแต่เรากลับไม่คิดว่ามันจะเป็นจุดแข็งได้อีกสักเท่าไหร่ ต่อมาเราก็บอกว่าเรามีจุดแข็งด้านอุตสาหกรรม เป็นเสือตัวที่ ๕ ของเอเชีย เริ่มตั้งแต่ทอผ้า จักรกลแต่ก็พบว่าไม่ใช่แนวทางของต้นตอความเป็นไทยอีก จากนั้นไม่นาน เราบอกว่าด้านการท่องเที่ยวของเรายิ่งใหญ่ แต่สุดท้ายเราก็มองไม่เห็นความสำาคัญด้านกำาลังคนหรือบุคลากรอีกตามเคยนับเป็นการหยั่งรากของเหล่านานาเมล็ดพันธุ์ที่ได้ริเริ่มปลูกอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาเพียง ๕ ปีแรก สามารถเปิดการเรียนการสอนได้มากถึง ๑๖ คณะ ซึ่งหลายคณะที่ก่อตั้งขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากประสบการณ์การทำางานรวมถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของท่านประสิทธิ์ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และคณะผู้บริหาร ถึงแม้การเปิดการเรียนการสอนในคณะที่หลายๆ คนอาจไม่คาดฝันว่าสถาบันการศึกษาเอกชนจะเปิดได้ ดังเช่น คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม58 59


ด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่นี้เอง การก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์จึงได้รับการสนับสนุนจากผู้มีคุณูปการจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการแพทย์ขณะนั้นอีกหลายท่าน ตั้งแต่ นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว อธิบดีกรมการแพทย์ และศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล• คณาจารย์ และนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ขณะออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ “รักษาฟรี” ในโครงการสุขภาพชุมชน เพื่อถวายความดีเป็นพระราชกุศลมหากาพย์แพทย์รังสิตคณะแพทยศาสตร์ ของวิทยาลัยรังสิตในขณะนั้น เป็นคณะแพทยศาสตร์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนเพียงแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒และได้รับรองมาตรฐานจากทบวงมหาวิทยาลัยและแพทยสภาในปี พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแพทย์ซึ่งเป็นบุคลากรที่ถือว่ามีความสำาคัญในการดูแลอย่างไรก็ตาม จำานวนบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรทั่วประเทศ นับเป็นความมุ่งมั่นตามเจตนารมณ์ที่ต้องการช่วยเหลือให้ประเทศลดการขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์และพยาบาลของท่านประสิทธิ์ และ ดร.อาทิตย์อุไรรัตน์ ตั้งแต่ตัดสินใจก่อตั้งโครงการมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ“ผมอยากจะพิสูจน์ให้เห็นว่า กำาลังคนที่ดีของไทยที่นับเป็นจุดแข็ง คือ การแพทย์และพยาบาล ผมเชื่อว่าการแพทย์ในกรุงเทพฯ นั้นไม่ได้เป็นสองรองใครทั้งสิ้นในโลก เรามีดีและค่าบริการถูกกว่านิวยอร์ก และปารีสด้วยซํ้า เราก็สามารถเป็น Hub of the World ได้ ไม่ใช่เฉพาะ Hub ofAsia ถึงแม้การวิจัยเราจะยังไม่ก้าวหน้าเท่าประเทศทางยุโรปก็ตาม แต่เรามีจุดแข็งด้านการบริการ ถ้าเราพัฒนาให้เป็นระดับโลกได้ เราก็จะเข้มแข็งมาก”ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กล่าว• ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดา เข้ามาเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ในปี ๒๕๓๓ และผลักดันให้มหาวิทยาลัยรังสิตสามารถผลิตบุคลากรด้านการแพทย์ออกมาเป็นผลสำาเร็จกำาลังคนที ่ดีของไทยที ่นับเป็นจุดแข็ง คือ การแพทย์ และพยาบาล ผมเชื ่อว่าการแพทย์ในกรุงเทพฯ นั ้นไม่ได้เป็นสองรองใครทั ้งสิ ้นในโลก เรามีดีและค่าบริการถูกกว่านิวยอร์ก และปารีสด้วยซํ ้า เราก็สามารถเป็น Hub of the World ได้ไม่ใช่เฉพาะ Hub of Asiaเล่าปี่เชิญขงเบ้งมาช่วยรบแรกเริ่มก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ รวมถึงหลักสูตรต่างๆ ทางสายวิทยาศาสตร์นั้น ผู้มีบทบาทสำาคัญอีกท่านหนึ่งคือศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ ซึ่งปัจจุบันดำารงตำาแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต ได้เล่าถึงช่วงก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ว่า“ตอนที่จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ รู้ว่าต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวที่จะมีคณะแพทยศาสตร์ จึงต้องหาปรมาจารย์มาเป็นผู้เริ่มต้นให้ก่อน ผมจึงได้พาดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ไปพบกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดาซึ่งตอนนั้นท่านเพิ่งเกษียณอายุราชการจากมหาวิทยาลัยมหิดล มาช่วยจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ให้”กรุงโรมไม่สามารถสร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด คณะแพทยศาสตร์ก็ไม่สามารถก่อร่างสร้างได้ภายในวันเดียวฉันนั้น เปรียบเหมือนการเชิญปรมาจารย์ด้านการแพทย์ของเมืองไทยให้มาช่วยก่อตั้งก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายดายอย่างที่คาดหวังดร.อาทิตย์ ย้อนอดีตให้ฟังว่า ตอนก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์อาจารย์พรชัย ก็ได้ชวนผมไปขอให้คุณหมอประสงค์ มาร่วมช่วยกันก่อตั้งแต่ว่าต้องใช้เวลาถึง ๓ ครั้งกว่าจะสำาเร็จ เหมือนเล่าปี่ไปเชิญขงเบ้งมาช่วยรบถึงสามครั้ง ขงเบ้งจึงยอม เช่นเดียวกับคุณหมอประสงค์ที่ได้เห็นถึงความตั้งใจจริงของคณะผู้บริหารที่ต้องการผลิตแพทย์ที่กำาลังขาดแคลนให้แก่ประเทศชาติอย่างแท้จริง และนับเป็นจุดสำาคัญอีกจุดหนึ่งที่ทำาให้คณะแพทยศาสตร์ของเราได้รับการยอมรับมากขึ้นขณะเดียวกันลมพายุและอุปสรรคที่เข้ามาท้าทายความมุ่งมั่นที่จะเปิดคณะแพทยศาสตร์ ก็เริ่มก่อตัวขึ้นมาช่วงเวลานั้น ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ยังดำารงตำาแหน่งทางการเมือง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย โดยสมัยแรกสังกัดพรรคเสรีธรรม ช่วงระหว่างปี พ.ศ ๒๕๒๖ - ๒๕๓๘ ทำาให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงถึงเจตนารมณ์ของการก่อตั้งวิทยาลัยรังสิต60 61


สิ่งหนึ่งที่คิดว่าเป็นข้อจำากัดของแพทย์ คือ การที่คนไทยมักจะมองเป็นเรื่องค่านิยมว่า แพทย์ที่ดีต้องมาจากมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้น โดยเฉพาะแพทย์ที่จบจากศิริราช และจุฬาฯ แต่หากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนจะเปิดสอนก็เกิดกระแสคัดค้าน ไม่เห็นด้วย แต่เราก็พยายามฟันฝ่าอุปสรรคมา ถึงแม้จะถูกทุกคนมองว่าเป็นอาชญากร โกงชาติ หวังผลกำาไร เป็นแพทย์เชิงพาณิชย์ แต่หากดูให้ลึกซึ้งแล้ว ผู้ที่มาสร้างหลักสูตรและดำาเนินการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ คือผู้ที่มาจากรัฐทั้งสิ้น“การก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ไม่ใช่เป็นการทำาเพื่อธุรกิจ ผมไม่เคยคิดอย่างนั้น และไม่สมควรคิดอย่างนั้นความจริงแล้วเราควรมาช่วยกันพัฒนาประเทศ และไม่ควรแบ่งแยกชนชั้นว่าเป็นรัฐหรือเอกชน” ดร.อาทิตย์ กล่าวหมอที ่ดี ไม่ใช่หมอที ่เก่งแล้วจองหอง Harvard ก็ไม่ได้เลือกหมอที ่เก่งทุกด้าน แต่เลือกหมอที ่มีจิตใจโอบอ้อมอารีไม่เห็นแก่เงินเพียงอย่างเดียวคนที ่เป็นหมอต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นเทวดา แต่เกิดมาเพื ่อช่วยเหลือประชาชนรวมถึงการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ว่า ดร.อาทิตย์ ใช้ตำาแหน่งทางการเมืองของท่านบังคับให้โรงพยาบาลราชวิถีกับโรงพยาบาลเด็ก (ปัจจุบันคือ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี) รับนักศึกษาแพทย์ของวิทยาลัยรังสิตไปฝึกงานดร.อาทิตย์ เล่าถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ช่วงนั้นว่า ความจริงแล้วความคิดที่จะก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์มีมาก่อนที่จะเข้าไปดำารงตำาแหน่งทางการเมือง คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตอนนั้นคุณมนตรีพงษ์พานิช กล่าวหาผมในสภาว่า ผมเอาเปรียบชาติ เพื่อหาประโยชน์เข้าวิทยาลัยรังสิต ผมบอกว่า ผมคิดมาก่อนหน้านั้น เนื่องจากผมเคยเป็นหัวหน้ากองวิชาการ สำานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงทราบและตระหนักดีว่า ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์มากแค่ไหนแต่ไม่มีคนทำา ผมจึงตัดสินใจทำาเองกระแสพายุถาโถมในขณะนั้นครอบครัวอุไรรัตน์ ยังได้ดำาเนินธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่เรารู้จักกันดีในนาม “โรงพยาบาลพญาไท” แต่ถึงแม้จะมีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง แต่การรองรับนักศึกษาแพทย์เข้าฝึกงานในยุคนั้นก็ไม่สามารถกระทำาได้ เนื่องจากการเปิดคณะแพทยศาสตร์ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือจากโรงพยาบาลของรัฐ ดังนั้น ดร.อาทิตย์ จึงได้ประสานกับโรงพยาบาลราชวิถี• สถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิตพลอากาศเอกกำาธน สินธวานนท์ นายกสภามหาวิทยาลัยรังสิตในปัจจุบัน กล่าวถึงสภาพปัญหาในอดีตที่สะท้อนมุมมองจากภายนอกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ว่า แรกๆ ก็อาจมีปัญหาในเรื่องที่คนยังไม่รู้จัก ไม่รู้ความตั้งใจของมหาวิทยาลัยว่าเป็นอย่างไร จึงไม่รู้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร อาจทำาให้ไม่แน่ใจว่า เมื่อส่งบุตรหลานมาเรียนที่นี่แล้ว จะได้ความรู้และคุณภาพเท่าที่อื่นหรือไม่ แม้แต่คณะแพทยศาสตร์เอง กว่าที่ทางการจะยอมรับคุณภาพของแพทย์ที่นี่ก็ต้องต่อสู้กันอยู่นาน“สมัยก่อนคนภายนอกจะมองว่า มาเรียนแพทย์ที่นี่ อยากเป็นหมอ แต่จะฉีดยาได้หรือเปล่า แต่เอาเถอะ เข้าที่ไหนไม่ได้ ก็ลองมาเรียนที่นี่ดูแล้วกัน”ปัญหามากมายถาโถมเข้าใส่คณะแพทยศาสตร์ ประการแรกคือเรื่องการยอมรับจากสถาบันรัฐ อีกทั้งต้องต่อสู้กับการยอมรับของบรรดานักศึกษาเอง ตลอดจนผู้ปกครอง ซึ่งต้องใช้เวลาหลายปีมาก แต่คณะแพทยศาสตร์ก็สามารถผ่านมาได้ การเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว เป็นที่รู้กันว่าย่อมมิอาจหากำาไรได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตเองก็ขาดทุนอยู่เป็นเวลานานนับ ๑๐ ปี ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลที่จะเป็น TrainingSchool นั้นก็หายากมากเมื่อโรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลเด็ก ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อผลิตแพทย์ให้ ขณะนั้นก็โดนเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก “ถูกด่าแต่ก็ต้องทำาต่อไป” เนื่องจากเล็งเห็นแล้วว่าจะต้องมีปัญหาแน่นอน แต่โรงพยาบาลราชวิถีก็เข้าใจดีว่า เราไม่ได้เข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตัว และไม่เคยคิดร้ายต่อประเทศชาติแต่อย่างใด ในเมื่อแพทย์ขาดแคลนเราก็จำาเป็นต้องสร้างขึ้นมา ถึงแม้ว่าเราจะมีนโยบายทางการแพทย์ที่ดีเพียงใด แต่ไม่มี62 63


่แพทย์ ก็คงไม่เกิดประโยชน์ แต่กว่าทางโรงพยาบาลราชวิถีจะยอมรับ ก็ถือว่าเหนื่อยมาก ตอนนั้นผมเลยบอกไปว่า“ค่าหน่วยกิตของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตในชั้นปีที่ ๔ ๕ และ ๖ นั้น ผมยกให้มูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์เอาไปบริหารจัดการซึ่งเท่ากับว่าผมไม่ได้อะไรเลย” ดร.อาทิตย์ กล่าวในเวลานั้นมหาวิทยาลัยรังสิตขาดทุนประมาณ ๕๐ - ๖๐ ล้านบาททั้งๆ ที่หลายคนคิดว่าได้กำาไร แต่ความจริงแล้วค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตรแพทยศาสตร์ ๖ ปี ประมาณ ๑ ล้านบาทนั้น มากกว่าร้อยละ ๕๐ หรือประมาณ ๖ - ๗ แสนบาท ล้วนอยู่ที่หลักสูตรชั้นปีที่ ๔ ๕ และ ๖ ทั้งสิ้นนอกจากนั้นยังมีการเสนอให้ตำาแหน่งทางวิชาการแก่อาจารย์ที่เข้ามาสอนและช่วยผลิตแพทย์ แต่ขณะนั้นติดปัญหาเรื่อง “กฎทบวง” จึงไม่สามารถดำาเนินการได้ในทันที แต่ปัญหาดังกล่าวก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีปรากฏว่าจากการรับสมัครนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก มีผู้สมัครจำานวนมากถึง ๓๘๔ คน แต่ตามหลักสูตรจะสามารถรับได้เพียง ๔๘ คนเท่านั้น โดยจะต้องสอบคัดเลือก สอบสัมภาษณ์ และสอบความถนัดทางวิชาแพทย์ โดยผู้ปกครองประกาศร่วมมือกับวิทยาลัยรังสิตเพื่อผลิตนักศึกษารุ่นแรก ด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธาในวิทยาลัย และเต็มใจที่จะสนับสนุนให้เกิดนักศึกษาแพทย์เพื่อเป็นความหวังของชาติต่อไป• พิธีลงนามการบริจาคอาคารและจัดตั้งสถาบันร่วมผลิตแพทย์ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๘เราไม่ได้เข้ามาเพื ่อหาผลประโยชน์ส่วนตัว และไม่เคยคิดร้ายต่อประเทศชาติแต่อย่างใด แต่ในเมื ่อแพทย์ขาดแคลนเราก็จำาเป็นต้องสร้างขึ ้นมา ถึงแม้ว่าเราจะมีนโยบายทางการแพทย์ที ่ดีเพียงใด แต่ไม่มีแพทย์ ก็คงไม่เกิดประโยชน์จากนั้นทางแพทยสภาจึงกำาหนดให้นิสิต นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ทุกคน ทุกมหาวิทยาลัยต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วย นับได้ว่าเป็นการจุดประกายให้เกิดมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ในประเทศไทย และในที่สุดก็สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า ไม่เป็นความจริงตามที่กล่าวหา มหาวิทยาลัยรังสิตต้องการเป็นแบบอย่างให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ แล้วมาช่วยกันสร้างบุคลากรทางการแพทย์ให้สังคมไทยมากขึ้นแพทย์ผู้แบกความหวังของประเทศในการเป็นแพทย์เพื่อสังคม ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งอย่างท่านประสิทธิ์ และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ นั้น ไม่ได้หวังให้มุ่งสู่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงสามารถรับใช้สังคมเมืองเท่านั้น ยังต้องคำานึงถึงชนบทด้วย โดยท่านได้ปลูกฝังการเป็นแพทย์ที่ดี และความสำาเร็จในชีวิตของแพทย์เสมอว่า“หมอที่ดี ไม่ใช่หมอที่เก่งแล้วจองหอง Harvard ก็ไม่ได้เลือกหมอที่เก่งทุกด้าน แต่เลือกหมอที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี ไม่เห็นแก่เงินเพียงอย่างเดียว คนที่เป็นหมอต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นเทวดา แต่เกิดมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน”ลมพายุเริ่มสงบในปี ๒๕๓๒ เมื่อทุกอย่างเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ขณะนั้นคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่บรรดานักศึกษาแพทย์ ยังรวมอยู่กับคณะศิลปศาสตร์ ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงชวนเราให้ไปร่วมผลิตแพทย์กับทางมหิดล แต่นักศึกษาแพทย์ที่จบการศึกษานั้นจะต้องจบในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ยอมรับในมาตรฐานการสอน แต่ทางท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่านแนะนำาว่า ควรปฏิเสธไป เพราะเราควรยืนได้ด้วยขาของตัวเอง“ตอนนั้นก็คิดว่า เราต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะ เพื่อให้ได้มาตรฐาน และยืนด้วยขาของตัวเองให้ได้ จะเสียเลือดเสียเนื้อเราก็ยอม ถึงแม้มหาวิทยาลัยรังสิตจะต้องเป็นสถาบันเดียวที่ต้องสอบก็ไม่เป็นไร ปรากฏว่า นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกของเราสอบได้ถึง ๓๐% ในขณะที่ต่างประเทศก็ยังสอบตกอยู่เป็นจำานวนมาก เราเลยคิดได้ว่า งั้นเราก็ขอท้าชิง ทุกมหาวิทยาลัยต้องสอบหมด” ดร.อาทิตย์ กล่าว“เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้อยู่ใย เชิญเสด็จมาทำายุทธหัตถีกันเถิด”แรกๆ ก็อาจมีปัญหาในเรื ่องที ่คนยังไม่รู ้จัก ไม่รู ้ความตั ้งใจของมหาวิทยาลัยว่าเป็นอย่างไร จึงไม่รู ้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร อาจทำาให้ไม่แน่ใจว่าเมื ่อส่งบุตรหลานมาเรียนที ่นีแล้ว จะได้ความรู ้และคุณภาพเท่าที ่อื ่นหรือไม่ แม้แต่คณะแพทยศาสตร์เอง กว่าที ่ทางการจะยอมรับคุณภาพของแพทย์ที ่นี ่ก็ต้องต่อสู ้กันอยู ่นาน• เอกสารประชาสัมพันธ์ “ผู้ปกครองประกาศร่วมมือกับวิทยาลัยผลิตนักศึกษาแพทย์รุ่นแรก” ๒๖ มิถุนายน๒๕๓๒ถึงแม้จะเป็นสถาบันการศึกษาเอกชน และไม่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลเลยก็ตาม ดร.อาทิตย์ ได้แนะนำานักศึกษาแพทย์รุ่นที่ ๑ ๒ และ๓ ให้ไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์ในต่างจังหวัด รวมทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ในขณะที่หลายๆ คนซึ่งเป็นนักศึกษาแพทย์ของรัฐกลับพยายามวิ่งเต้นเพื่อไม่ให้ตัวเองต้องไปใช้ทุนในพื้นที่เสี่ยงภัยเหล่านี้ดร.อาทิตย์ ได้เล่าถึงบุคลิกและนิสัยส่วนลึกของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิตว่า “นักศึกษารู้ตัวดีว่าตัวเองด้อย ถูกดูถูก และถูกแบ่งชนชั้น เพราะคนไทยชอบคิดแบบนี้ ทั้งๆ ที่แพทย์ก็ยังขาดแคลนอยู่มาก แต่การที่ขณะนั้นเราเป็นโรงเรียนแพทย์ที่อยู่อันดับสุดท้าย หรืออันดับที่ ๘ จากโรงเรียนแพทย์ทั้งหมด ความกดดันเหล่านั้น ความเจียมตัว การต่อสู้ ความอดทนและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทำาให้มีคำาพูดหนึ่งที่พูดถึงแพทย์รังสิตว่า ‘ความรู้ก็ดี แต่ไม่จองหอง’ ทำาให้ผมภาคภูมิใจมากที่ได้ยินประโยคนี้”ผมภูมิใจที่นักศึกษาแพทย์ของเราได้ทำาอะไรเพื่อสังคม สมกับความมุ่งมั่นตั้งใจที่ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นมา วันนี้เราได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นแล้วว่า เราสามารถแข่งกับมหาวิทยาลัยแพทย์อื่นได้แล้วจริงๆ64 65


ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๙๒๕๓๓-๒๕๓๙แผ่กิ ่งก้านสาขาวิชา บรรเทาปัญหาความขาดแคลนของชาติการเดินทางของดวงประทีปบนถนนสายการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตไม่เคยหยุดยั้ง แต่ได้พัฒนาตนเองตลอดระยะเวลา แม้ผ่านมรสุมจากการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนน้องใหม่ ที่ต้องผ่านอุปสรรค การยอมรับในภาพลักษณ์ และมาตรฐานการเรียนการสอน แต่ดวงประทีปนี้ก็ไม่เคยย่อท้อหรือหมดแรง กลับยังคงสว่างไสวนำทางให้ผู้ก่อตั้ง คณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้บรรลุถึงความภูมิใจในความเพียรพยายามตลอดการเดินทางในยุคแรกเริ่มของการเปิดเป็นวิทยาลัยรังสิต เป็นเวลากว่า ๕ ปี จากจุดเริ่มต้นเพียง ๒ คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจและคณะพยาบาลศาสตร์ จนสามารถพัฒนาทั้งทางด้านวิชาการ ซึ่งเปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น ๑๔ คณะ ๓๓ หลักสูตร ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะศิลปกรรม คณะกายภาพบำาบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยและด้านการบริหาร คณาจารย์และบุคลากร อาคารสถานที่และอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัยมากมาย ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ นั้นมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำามหาวิทยาลัยรวม ๗๙๗ คน และมีนักศึกษาทั้งสิ้น ๖,๕๑๐ คน66 67


นับเป็นก้าวแรกที่สำาคัญและนับเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่เกิดจากการกระทำาที่สุจริตของการก้าวขึ้นสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยรังสิต” อย่างเต็มตัว เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรองสถานภาพให้วิทยาลัยรังสิตเปลี่ยนเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างสมบูรณ์หากย้อนกลับไปถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นตั้งใจของท่านประสิทธิ์ และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เป็นความฝันและเป็นปณิธานอันยิ่งใหญ่ส่งผลคุณูปการต่อวงการการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไทยดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้เคยกล่าวไว้ในเรื่องของการปฏิรูปมหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งหนึ่งว่า“รังสิตไม่ได้ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อจะหาสตางค์ รังสิตไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อหากินให้รํ่ารวย แต่รังสิตเกิดขึ้นมาเพราะสิ่งซึ่งเป็นความฝัน เป็นปณิธาน เป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นว่าเป็นความจำาเป็นของชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตไม่ได้เริ่มต้นจากความพร้อม เราไม่พร้อม ถ้าจะเรียกความพร้อมนั้นว่า ทุนทรัพย์พร้อม รังสิตไม่มีเลยแม้กระทั่งคนทำาโรงแรมม่านรูดเคยบอกผมว่า ทำาม่านรูดดีกว่า เงินเข้าทุกคืน ทำาสถานศึกษา เทอมหนึ่งเงินถึงจะมาหนหนึ่ง เผลอๆ ถึงเทอมแล้วเงินยังไม่เข้ามาเลยก็มี”อาจพูดได้ว่า มหาวิทยาลัยรังสิตเกิดจากความไม่พร้อม แต่อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยรังสิตได้เกิดจากการกระทำาและเจตนาที่สุจริต และสิ่งหนึ่งที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์และสิ่งที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยรังสิตซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่ง คือ มหาวิทยาลัยรังสิตมีความพร้อมของคนดี คนดีที่มีอุดมการณ์ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ ท พ รั ต น ร า ชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำาเนินในพิธีสถาปนา “มหาวิทยาลัยรังสิต” เมื ่อวันพฤหัสบดีที ่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๓ ยังความยินดี ปิติปราโมทย์อย่างหาที ่สุดมิได้มงคลอันยิ่งใหญ่ชั่วนิจนิรันดร์เมื่อการเดินทางมาถึงจุดความพร้อม ท้องทุ่งรังสิตแห่งนี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าที่สำาคัญ ที่เลี้ยงดูผู้คนนับแสนนับล้าน บัดนี้ได้กลับฟื้นคืนความฝัน ความหวังทางการศึกษาให้แก่มวลชนอีกมากมาย และพร้อมที่จะเดินทางบนถนนสายการศึกษาที่จะทอดยาวไปไม่รู้จบ มงคลอันยิ่งใหญ่ก็ปรากฏแก่มหาวิทยาลัยรังสิตดั่งสายฝนบนนภาหลั่งรินมาโปรดเพื่อรดนํ้าในดวงใจของเหล่าบรรดาต้นกล้าน้อยใหญ่ให้เติบโตขึ้นในสถานศึกษาบนท้องทุ่งแห่งนี้ เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำาเนินในพิธีสถาปนา “มหาวิทยาลัยรังสิต”เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ยังความยินดี ปีติปราโมทย์อย่างหาที่สุดมิได้แก่คณะผู้บริหาร กรรมการสภามหาวิทยาลัย คณาจารย์เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ที่ได้เฝ้าทูลละอองพระบาทชื่นชมพระบารมีอย่างล้นหลามทุกชีวิตทุกจิตใจได้มีโอกาสเป็นประจักษ์พยานอยู่ ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เวลา ๑๕.๐๐ น. เสียงบรรเลงเพลงมหาชัยของวงดุริยางค์ ทำาให้หลายคนถึงกับนํ้าตาเอ่อล้นด้วยความปีติโสมนัส เชื่อว่ายังคงติดตรึงอยู่ในใจของทุกคนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลายจากนั้นเวลา ๑๖.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังอาคารหอสมุด ซึ่งนับเป็นอาคารหอสมุดที่แยกเป็นเอกเทศจากอาคารเรียนของมหาวิทยาลัยรังสิต สามารถรองรับนักอ่านได้มากกว่า ๒,๐๐๐ คน และขณะนั้นมีหนังสือประมาณ๔,๐๐๐,๐๐๐ เล่ม พร้อมด้วยระบบสารนิเทศครบครัน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนการสอนและงานวิจัย68 69


• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำาเนินในพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยรังสิต70 71


แตกกิ่งก้านปัญญาในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรแรกของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขณะที่การขยายตัวของหลักสูตรในระดับปริญญาตรีก็ยังคงดำาเนินต่อไป โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เปิดสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และคณะนิเทศศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ขณะเดียวกัน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ยังคงคลุกคลีอยู่ในวงการการเมืองไทย สมัยรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ ๑๕ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ท่านดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จนถึงต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จากนั้นจึงดำารงตำาแหน่งรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในสมัยที่มีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕ นั้น อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตคือ นายอาทร ชนเห็นชอบ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๓๗ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ เป็นรักษาการอธิการบดี เนื่องจากขณะนั้น ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ดำารงตำาแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” และท่านได้นำาพาประเทศไทยรอดพ้นจากความวุ่นวาย โดยการเสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีรักษาการ ขึ้นทูลเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย แทนชื่อ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงส์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายทหาร และหากขึ้นดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายต่อเนื่องจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ ส่งผลให้ ดร.อาทิตย์ ได้รับฉายาว่า “วีรบุรุษประชาธิปไตย”มหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญของห้องสมุด และอนุมัติให้มีการสร้างอาคารหอสมุดขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ก่อสร้างเสร็จเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยงบประมาณกว่า ๓๗ ล้านบาท และได้เชิญ ดร.อุทัย ทุติยโพธิ ซึ่งเกษียณอายุราชการในตำาแหน่งผู้อำานวยการกองห้องสมุด สำานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นผู้อำานวยการสำานักหอสมุดคนแรก เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งท่านได้ทุ่มเท และเสียสละในการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างยิ่งและยังได้สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการอุดมศึกษาอีกนานัปการพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนี้ย่อมเป็นสวัสดิมงคลแก่มหาวิทยาลัยรังสิตชั่วนิจนิรันดร์ เป็นวันแห่งความปีติปราโมทย์แก่มวลสมาชิกแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตตลอดไปชั่วกาลนาน• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำาเนินในพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยรังสิต7273


• ภาพ : รุ่งเรือง เยี่ยมชื่นจากนั้นได้ดำารงตำาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย สมัยแรกในโควต้าพรรคเสรีธรรมแม้ว่าช่วงปีแห่งความวุ่นวายทางการเมืองของไทย มหาวิทยาลัยรังสิตไม่ได้มีการจัดตั้งคณะใหม่ก็ตาม แต่การแตกกิ่งก้านทางปัญญาก็ยังคงดำาเนินอย่างต่อเนื่อง โดยคณะเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ-อุตสาหกรรมเกษตร คณะศิลปกรรม เปิดสาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะนิเทศศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการโฆษณาและสาขาวิชาวารสารศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยรังสิต ยังได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการส่วนคณะต่างๆ ก็มีการเปิดสาขาวิชาใหม่ เช่น คณะนิเทศศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์วิกฤตคืบคลานจากการที่มีคณะและสาขาวิชาเปิดดำาเนินการเป็นจำานวนมากดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตในขณะนั้น จึงให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารคณะและสาขาวิชาต่างๆ โดยแบ่งเป็น ๔ กลุ่มคณะวิชา คือ กลุ่มคณะวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มคณะวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกลุ่มคณะวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบเมื่อคำาสั่งมหาวิทยาลัย ที่ ว๑๕๒/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน๒๕๔๐ เรื่องการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานคณะและภาควิชา ได้อาจพูดได้ว่ามหาวิทยาลัยรังสิต เกิดจากความไม่พร้อมแต่อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยรังสิตได้เกิดจากการกระทำาและเจตนาที ่สุจริต และสิ ่งหนึ ่งที ่นับว่าเป็นเอกลักษณ์และสิ ่งที ่ดีที ่สุดของมหาวิทยาลัยรังสิตซึ ่งมีคุณค่าอย่างยิ ่ง คือมหาวิทยาลัยรังสิตมีความพ ร้ อ ม ข อ ง ค น ดี ค น ดี ที ่ มีอุดมการณ์• ข่าวนักศึกษาประท้วงมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับกรณีการย้ายสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยวและการยุบคณะเทคโนโลยีชีวภาพที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันเสาร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ประกาศออกมานั้น เค้าลางแห่งความวุ่นวายก็เกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีรายชื่อคณะเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว อยู่ในกลุ่มคณะวิชาใดๆ นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวการยุบคณะและสาขาวิชาดังกล่าว เนื่องจากมีจำานวนนักศึกษาน้อย ทำาให้นักศึกษารวมตัวกันประท้วงอธิการบดีฤๅนี่จะเป็นลางบอกเหตุ ให้เตรียมรับมือกับพายุใหญ่ที่กำาลังจะกระหนํ่าในอีกไม่ช้า74 75


ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓๒๕๔๐ - ๒๕๔๓วิกฤตเศรษฐกิจประเทศ สะเทือนถึงมหาวิทยาลัยหลังกระแสความไม่เข้าใจพัดผ่านไปได้ไม่นาน ขณะที่มหาวิทยาลัยรังสิต กำลังฟื้นตัว เพื่อพัฒนา สร้างสรรค์แหล่งความรู้และปัญญาต่อไปนั้น ในวันที่๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐ คณะรัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วประเทศ และแน่นอน มหาวิทยาลัยรังสิตก็ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกันเงินหมุนเวียนในมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งใช้เงินต่างประเทศ เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนไปเท่าตัว เงินที่กู้มาเป็นเงินดอลลาร์ เวลาจะใช้คืนจึงแพงขึ้นเท่าตัวผลจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงที่มีต่อธุรกิจอื่นๆ ทั่วประเทศนี่เองปัญหาที่ตามมาของมหาวิทยาลัยเอกชนทุกแห่งคือจำานวนนักศึกษาไม่ตรงเป้าและนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อการบริหาร การทำางาน และกำาลังใจของบุคลากรของมหาวิทยาลัย เนื่องจากฝ่ายบริหารพยายามรักษาสถานะและกิจการของมหาวิทยาลัยไว้ จึงมีการไม่ปรับขึ้นเงินเดือนบุคลากร ปรับลดบุคลากรในบางหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานสนับสนุน และปรับลดงบประมาณในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน76 77


• อาคารอุไรรัตน์ระบบไตรภาคไม่เกี ่ยวกับการเพิ ่มรายได้ให้มหาวิทยาลัยเพราะทั ้งหลักสูตรมันก็ต้องเรียนจำานวนหน่วยกิตเท่ากันไม่ว่าเราจะแบ่ง ๒ ภาคหรือ ๓ภาค มันรวมแล้วเท่าเดิม ไม่ใช่ว่าเราทำาไตรภาคเพื ่อตอบสนองวิกฤตเศรษฐกิจ แต่มองในแง่ว่านักศึกษาสามารถจบเร็วขึ ้นอย่างไรก็ตาม บุคลากรทุกคนเข้าใจถึงสถานภาพทางการเงินของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี ทุกคนยังคงอดทน ร่วมแรงร่วมใจ ฟันฝ่าพายุนี้ต่อไป ถึงแม้ว่า ปีพ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจแต่การขยายตัวทางการศึกษาเป็นสิ่งสำาคัญที่ไม่อาจหยุดรอได้ แต่ละคณะของมหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดสาขาวิชาเพิ่มขึ้นอีกถึง ๙ สาขาวิชา ได้แก่ คณะกายภาพบำาบัด เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีการกีฬา-สุขภาพและการจัดการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสาขาวิชาคณิตศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะบริหารธุรกิจ เปิดสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเปิดหลักสูตรต่อเนื่องในสาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม สาขาวิชาการเงินการธนาคาร คณะศิลปศาสตร์ เปิดสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น และยังมีหลักสูตรต่อเนื่อง๒ ปี ของคณะบัญชีอีกด้วยวิกฤตมหาวิทยาลัยรังสิตความบอบชํ้าจากพายุลูกแรกยังไม่ทันจางไป ดร.สุพัทธ์ พู่ผกาอธิการบดีในขณะนั้น ได้ประกาศให้มีการปรับเปลี่ยนการศึกษาจากระบบการศึกษาทวิภาคเป็นระบบการศึกษาแบบไตรภาคในปีการศึกษา ๒๕๔๑การจัดการศึกษาในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เป็นแบบระบบการศึกษาทวิภาค คือ ประกอบด้วย ๒ ภาคการศึกษาใหญ่และ ๑ ภาคการศึกษาฤดูร้อน แต่ระบบการศึกษาไตรภาคจะจัดเวลาการเรียนการสอนเท่ากันหมดทั้ง ๓ ภาคการศึกษา และปรับจำานวนหน่วยกิตแต่ละวิชามากขึ้น• ข่าวจากหนังสือพิมพ์รังสิต ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๔๒ดร.มานิต บุญประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาในขณะนั้น เล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นให้ฟังว่า “ระบบไตรภาคมันก็มีข้อดีคือ นักศึกษาสามารถจบ ๓ ปีครึ่งได้ จบเร็วขึ้น ดร.สุพัทธ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในตอนนั้นก็อยากนำาหลักสูตรสหกิจศึกษามาทำาเป็นรูปแบบที่ชัดเจน แต่เมี่อทำามาแล้วก็พบปัญหาคือบางหลักสูตรโดยเฉพาะ Health Science เขาบอกว่าระยะเวลากระชั้นมาก เวลาการฝึกของเขาจำากัดมาก ประเด็นที่สองคืออาจารย์จะเหนื่อยมาก อาจารย์ก็บ่นกันว่าเรียนไม่เท่าไหร่ก็สอบกลางภาค แป๊บๆ ก็สอบปลายภาค ปิดเทอม ๒ สัปดาห์ก็เปิดเทอมอีกแล้ว จริงๆ ในตอนนั้นอธิการบดีก็มีแผนว่าสอนสองภาคติดกัน ภาคที่ ๓ อาจจะพักนานหน่อย แต่ปัญหาคือเขาพูดกันว่าอาจารย์จะพักตอนไหน ก็มีการประเมิน เก็บข้อมูลตามความเห็นของนักศึกษา และอาจารย์ แล้วนำาเข้าที่ประชุมว่าจะเอายังไง พิจารณาข้อดีข้อเสียกัน ก่อนที่เราจะใช้ระบบไตรภาค ทั้งมหาวิทยาลัยตอนนั้นเรามีระบบไตรภาคของปริญญาโทอยู่แล้ว”“ส่วนเรื่องว่าทำาระบบไตรภาคไม่เกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ให้มหาวิทยาลัย เพราะทั้งหลักสูตรมันก็ต้องเรียนจำานวนหน่วยกิตเท่ากัน ไม่ว่าเราจะแบ่ง ๒ ภาคหรือ ๓ ภาค มันรวมแล้วเท่าเดิม ไม่ใช่ว่าเราทำาไตรภาคเพื่อตอบสนองวิกฤติเศรษฐกิจ แต่มองในแง่ว่านักศึกษาสามารถจบเร็วขึ้น แล้วแบ่ง๓ ภาค เรียนวิชาเรียนในแต่ละภาคมันน้อยลง ทำาให้เด็กมี Concentration ดีพอวิชามันน้อยลงก็ได้ศึกษาเต็มที่ ซึ่งการเปลี่ยนจาก ๒ ภาคมาเป็น ๓ ภาคพวกคณบดีก็เหนื่อยมากเพราะต้องปรับหลักสูตรใหม่ แต่ก็ใช้อยู่ ๒ – ๓ ปี ใน78 79


• อาคารวิทยาศาสตร์• อาคารนันทนาการที่สุดก็ต้องกลับมาเป็น ๒ ภาค ส่วนหนึ่งต้องชมความร่วมมือของคณะต่างๆไม่ว่าส่วนกลางมีนโยบายยังไงก็ทำาตามกันเป็นอย่างดี”ถึงแม้ว่าบุคลากรทุกคนจะต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องปรับการทำางานให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของการศึกษาในระบบไตรภาค แต่การขยายตัวทางการศึกษายังคงดำาเนินต่อไป ในปีการศึกษา ๒๕๔๑ คณะบริหารธุรกิจเปิดหลักสูตรต่อเนื่อง สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังเปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ ส่วนทางคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ปีการศึกษา ๒๕๔๒ เศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นตัว จึงมีการจัดตั้งคณะใหม่ ๒ คณะ และเปิดสาขาวิชาเพิ่มขึ้นถึง ๑๑ สาขาวิชา คือ คณะนิติศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ส่วนคณะวิทยาศาสตร์เปิดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศิลปกรรม เปิดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ตคณะศิลปศาสตร์ เปิดสาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ และสาขาถึงแม้ว่าบุคลากรทุกคนจะต้องเหน็ดเหนื ่อย ต้องปรับการทำางานให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของการศึกษาในระบบไตรภาคแต่การขยายตัวทางการศึกษายังคงดำาเนินต่อไปวิชาภาษาจีน ในส่วนของหลักสูตรปริญญาโทนั้น คณะศิลปกรรมได้เปิดสาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมืองและชนบท และคณะนิเทศศาสตร์ เปิดสาขาวิชานิเทศศาสตร์ปีการศึกษา ๒๕๔๓ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและสาขาวิชาการท่องเที่ยวได้แยกตัวจากคณะศิลปศาสตร์ โดยจัดตั้งเป็นคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ส่วนการเติบโตของหลักสูตรปริญญาโทยังดำาเนินต่อไป โดยการเปิดสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เมื่อถึงที่สุดความเหน็ดเหนื่อย ความท้อใจของบุคลากรและนักศึกษา ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจต่อฝ่ายบริหาร การเรียกร้องจากทั้งบุคลากร นักศึกษาและผู้ปกครอง ให้ปรับเปลี่ยนการศึกษากลับไปเป็นระบบการศึกษาทวิภาคเหมือนเดิมเริ่มดังมากขึ้น และในที่สุด เสียงร้องเรียนนั้นก็ดังถึงอดีตอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย และทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อทุกชีวิตในมหาวิทยาลัยรังสิตอีกครั้ง80 81


ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๗๒๕๔๔ – ๒๕๔๗มุ ่งมั ่นพัฒนา การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติจากเสียงร้องเรียนที่ดังไปถึง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีผู้ก่อตั้ง ทำให้มีการประเมินผลดี - ผลเสียของระบบการศึกษาไตรภาค และในที่สุดมติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ก็มีคำสั่งให้ปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไตรภาคให้เป็นทวิภาคเช่นเดิม ในปีการศึกษา ๒๕๔๔คำสั่งนี้เปรียบเสมือนนํ้าทิพย์ชโลมใจบุคลากรและนักศึกษา ที่กำาลังเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้าจากเวลาเรียนที่เร่งรัดของระบบไตรภาคให้มีกำาลังใจปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมากยิ่งขึ้นนอกจากจะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษากลับเป็นทวิภาคเช่นเดิมแล้ว ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เล็งเห็นว่า ช่วงเวลาวิกฤตที่ผ่านมาได้บั่นทอนแรงกาย แรงใจ ของทุกคนเป็นอันมาก นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งของบุคลากรหลายกลุ่ม เนื่องจากมีทัศนคติ แนวคิด และแนวปฏิบัติที่ขัดแย้งกันส่งผลให้เกิดความแตกแยกในมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างมาก82 83


• การประชุมสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูปมหาวิทยาลัย” ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน เมืองพัทยาดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จึงมีดำาริให้ ศาสตราจารย์ ดร.ธีระยุทธกลิ่นสุคนธ์ รักษาการอธิการบดีในขณะนั้น จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง“การปฏิรูปมหาวิทยาลัย” ในวันที่ ๓ – ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน เมืองพัทยา โดยเชิญอาจารย์ทั้งหมดในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และมีส่วนร่วมในการกำาหนดประเด็นการปฏิรูปมหาวิทยาลัย กำาหนดทิศทาง และกลยุทธ์ในการดำาเนินงานและในที่ประชุมแห่งนี้เอง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ประกาศกลับมาดำารงตำาแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต อีกครั้งมุ่งมั่นสร้างสรรค์ และพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นเทคโนโลยีที่สำาคัญมากในการพัฒนาประเทศก็คือ “เทคโนโลยีชีวภาพ” ดังนั้น การสั่งยุบคณะเทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อปณิธานในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง แต่คณะเทคโนโลยีชีวภาพเองต้องมองหาสาเหตุที่มีนักศึกษาเข้ามาเรียนน้อย และหาหนทางว่าจะต้องทำาอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ดร.อาทิตย์ กล่าวดร.มานิต บุญประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษในขณะนั้น กล่าวว่า “ดร.อาทิตย์มองว่า คณะเทคโนโลยีชีวภาพเป็นคำาตอบของสังคม แต่ปัญหาอยู่ที่นักศึกษาที่เข้าหลักสูตรไม่มากพอ เพราะนักศึกษากับเจ้าของหลักสูตรมองความต้องการของตัวเองไม่ตรงกัน นักศึกษายังไม่รู้ว่าเรียนแล้วเอาไปทำาอะไร อีกอย่างคือ มหาวิทยาลัยยังสื่อสารกับนักเรียนมัธยมปลายและผู้ปกครองไม่เข้าใจว่าเรียนแล้วจะดียังไง”คณะเทคโนโลยีชีวภาพเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยที ่จัดแนะแนวการศึกษาและบริการชุมชน ซึ ่งเป็นแบบอย่างให้คณะและสาขาวิชาอื ่นๆ ดำาเนินการตาม ซึ ่งนอกจากจะแก้ไขวิกฤตจำานวนนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการแนะนำาและเผยแพร่มหาวิทยาลัยให้สังคมได้รู ้จักอีกด้วยจากประเด็นนี้เอง เหล่าคณาจารย์ของคณะเทคโนโลยีชีวภาพได้ร่วมแรง ร่วมใจ จัดโครงการอบรม แนะแนวความรู้และวิชาชีพให้แก่สังคมนับว่า คณะเทคโนโลยีชีวภาพเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยที่จัดแนะแนวการศึกษาและบริการชุมชน ซึ่งเป็นแบบอย่างให้คณะและสาขาวิชาอื่นๆ ดำาเนินการตาม ซึ่งนอกจากจะแก้ไขวิกฤตจำานวนนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการแนะนำาและเผยแพร่มหาวิทยาลัยให้สังคมได้รู้จักอีกด้วยจากคำาสัมภาษณ์ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในหนังสือที่ระลึกครบรอบ ๒๐ ปี มหาวิทยาลัยรังสิต ท่านได้กล่าวไว้ว่า“การผ่านแต่ละช่วงเวลาของมหาวิทยาลัยรังสิต ช่วงแรกพบปัญหาเรื่องการก่อตั้งบ้างแต่แก้ไขได้ด้วยดี เพราะเราบริการให้แก่สังคมในทางที่ถูก เราจึงรุ่งเรืองตลอดมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓สภาวะเศรษฐกิจกระทบมหาวิทยาลัยอย่างรุนแรง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔มหาวิทยาลัยเริ่มฟื้นตัว เพราะการศึกษาคือรากแก้วของสังคม แม้จะมีความยากลำาบากหรือมีปัญหาอย่างไร เราไม่เป็นไปตามกระแส นักศึกษาอยากเรียนสถาบันอุดมศึกษาที่ค่าหน่วยกิตถูก เรียนง่าย จบการศึกษาเร็วขอแค่ให้มีนักศึกษามาเรียนกับเราเยอะๆ เราไม่คิดแบบนั้น เราไม่สร้างอะไรที่ไม่เป็นการถาวรให้แก่ตัวเอง ดังนั้นยิ่งสถานการณ์ยากขึ้นเท่าไหร่เรายิ่งต้องคิดให้ถี่ถ้วนมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับทวนกระแสนํ้า เหมือนปลาแซลมอน ที่ว่ายทวนกระแสนํ้าเพื่อวางไข่ แม้กระทั่งจะต้องกระโจนยังต้องทำา หรือแม้จะทราบว่ามีหมีรอกินอยู่ก็ตามยังคงต้องทำา เพื่อจะได้สืบทอด แพร่พันธุ์ และสร้างชีวิตใหม่ให้เกิดขึ้นมา”เมื่อบุคลากรทุกคนมีความร่วมแรง ร่วมใจ กอปรกับวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ทำาให้มีการก่อตั้งคณะ สาขาวิชา และหลักสูตรต่างๆ ที่จะผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับความต้องการของสังคมอีกเป็นจำานวนมาก84 85


• ภาพ : คันธ์ชิต สิทธิผลปีการศึกษา ๒๕๔๔ คณะศิลปกรรม เปิดสาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศปีการศึกษา ๒๕๔๕ นับเป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ซึ่งมีผลให้ภูมิปัญญาของรังสิตแตกกิ่งก้านได้มากขึ้น มีการยกระดับคณะเป็นวิทยาลัย ๓ วิทยาลัย คือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจและรัฐกิจ และวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้มีการจัดตั้งวิทยาลัยใหม่ ๑ วิทยาลัย คือ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม โดยจัดตั้งสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ และจัดตั้งคณะใหม่เพิ่มขึ้น ๑คณะ คือ คณะการแพทย์แผนตะวันออก ส่วนคณะอื่นๆ มีการขยายตัวมากขึ้น และมีสาขาวิชาเพิ่มขึ้นถึง ๑๔ สาขาวิชา เช่น คณะวิทยาศาสตร์เปิดสาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม และหลักสูตรต่อเนื่องในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาโทรคมนาคมสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ และสาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะเศรษฐศาสตร์ เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต และวิทยาลัยนานาชาติเปิดสาขาวิชาระบบและการจัดการสารสนเทศ ในหลักสูตรปริญญาโท คณะเภสัชศาสตร์ เปิดสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการอนุรักษ์และฟื้นฟูสถาปัตยกรรมชุมชน และเป็นปีแรกที่มีการเปิดหลักสูตรปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยรังสิต คือ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเพราะการศึกษาคือรากแก้วของสังคม แม้จะมีความยากลำาบากหรือมีปัญหาอย่างไร เราไม่เป็นไปตามกระแส ถ้าเราไม่สร้างอะไรที ่ไม่เป็นการถาวรให้กับตัวเอง ดังนั ้นยิ ่งสถานการณ์ยากขึ ้นเท่าไหร่เรายิ ่งต้องคิดให้ถี ่ถ้วนมากขึ ้นเท่านั ้นปีการศึกษา ๒๕๔๖ ได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยดนตรีขึ้น ส่วนวิทยาลัยนานาชาติ เปิดสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และวิทยาลัยบริหารธุรกิจและรัฐกิจเปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตปีการศึกษา ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีการเปิดสาขาวิชาเพิ่มขึ้นอีก ๗ สาขาวิชา คือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมส์มัลติมีเดีย คณะศิลปศาสตร์ เปิดสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม เปิดสาขาวิชาผู้นำาทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองและวิทยาลัยนานาชาติ เปิดหลักสูตรต่อเนื่องสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ในระดับปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม เปิดสาขาวิชาจีนในระบบเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาเอกในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วย86 87


นอกเหนือจากการมีหลักสูตร คณะ และวิทยาลัยมากมายแล้ว สิ่งหนึ่งที่จำาเป็นต้องระลึกถึงอยู่เสมอ คือ “การรักษาคุณภาพ” ดังที่ ดร.มานิตกล่าวไว้ว่า“เราจะได้ยินคำากล่าวเสมอว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของเขาคือมหาวิทยาลัยเอกชน แล้วคำากล่าวนี้มันเป็นสิ่งท้าทายมหาวิทยาลัยเอกชน เอกชนต้องพิสูจน์ตัวเองและครูตั้งใจมาก”“ครูทำางานมหาวิทยาลัยเอกชนมาตลอด ครูอยากเห็นและครูเชื่อว่าทำาได้ ว่าต้องมีมหาวิทยาลัยเอกชนที่ Excellence ที่มีจุดเด่นที่ไม่เป็นรองมหาวิทยาลัยรัฐหรืออาจมีบางสาขาที่นำาหน้ามหาวิทยาลัยรัฐด้วยซํ้าแต่การจะเป็นอย่างนั้นได้เรื่องแผนต้องชัดเจน ระบบข้อมูลต้องชัดเจน”“การที่มหาวิทยาลัยจะตั้งตัวได้แล้วเดินไปในทิศทางที่ชัดเจนมันต้องใช้เวลา เพราะตอนแรกทุกคนคิดอะไรได้ก็ทำาๆ ๆ ๆ แต่มาถึงระยะหนึ่งมหาวิทยาลัยก็ซับซ้อน เราจะทำาโดยไม่มีแผนไม่ได้เพราะคนจะจำาไม่ได้การทำางานแบบไม่มีแผน ถ้าคนเดิมไม่อยู่ คนต่อมาก็ไม่รู้ว่าทำาอะไรไว้แล้วต้องทำาอะไรต่อ ถ้าฐานข้อมูลไม่ชัดเจนก็บอกไม่ถูกว่าจุดอ่อนจุดแข็งเราอยู่ตรงไหน แต่ถ้าเรามีระบบฐานข้อมูลที่ดีแล้วทุกคนคุ้นเคยกับการทำางานที่ถามว่าเป็นได้ไหม เป็นได้แต่ว่าผู ้บริหารรุ ่นต่อรุ ่นก็ต้องยึดถือแนวทางที ่วางไว้ เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้สร้างในวันเดียว หรือในช่วงชีวิตของคนๆเดียว มหาวิทยาลัยต้องสืบทอดเจตนารมณ์ และความท้าทายเป้าหมายที ่เราตั ้งไว้มีระบบ เราสามารถตรวจสอบอะไรได้และมีแผนชัดเจน เราจะเติบโตแบบมีฐานที่มั่นคง มิฉะนั้นเราจะเปราะง่าย ถ้าข้อมูลไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ตรงนี้ไม่นานจะมีผลร้ายต่อสถาบัน เพราะการจัดการต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน เพื่อเราจะได้ปรับตัวและรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ครูว่าฐานเรื่องนี้สำาคัญ คือฐานข้อมูลต้องชัด ระบบคุณภาพภายในต้องชัดเจนและต่อเนื่อง ต้องทำางานเข้าระบบ”“มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยเต็มรูปแบบ เพราะมีหลากหลายสาขา แล้วในอนาคตหลักสูตรทั้งหลายมันจะเป็นหลักสูตรผสมผสานมีความเป็นบูรณาการมากขึ้น เนื่องจากว่าปัญหาสังคมมันซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าที่คนในสาขาใดสาขาหนึ่งจะแก้ปัญหาได้ลำาพัง และนั่นเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยรังสิตตรงที่เรามีหลักสูตรที่หลากหลาย ถ้าความหลากหลายทำาให้เกิดความใหม่ เกิดนวัตกรรมด้านหลักสูตรได้ มันก็จะเป็นข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยรังสิต”“การที่อธิการบดีอยากให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็น Harvard ofthe East ท่านก็คงอยากให้มีคุณภาพอยากให้ Excellence พอเอ่ยชื่อรังสิตก็ต้องนึกถึงคุณภาพ Harvard มีอายุ ๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว ถ้าเราจะเอาHarvard เป็นตัวเป้า ถ้าเราอยากโดดเด่นอย่างนั้นเราต้องมาดูว่าเราจะเอาอะไรเป็นตัวชู ตัวนำา”“ถามว่าเป็นได้ไหม เป็นได้ แต่ว่าผู้บริหารรุ่นต่อรุ่นก็ต้องยึดถือแนวทางที่วางไว้ เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้สร้างในวันเดียว หรือในช่วงชีวิตของคนๆ เดียว มหาวิทยาลัยต้องสืบทอดเจตนารมณ์ และความท้าทายเป้าหมายที่เราตั้งไว้”“Harvard มีอาจารย์เก่งๆ มีทุนวิจัยเยอะ ถ้าเทียบแล้วมหาวิทยาลัยรังสิตก็มีอาจารย์เก่งๆ อยู่เยอะ มหาวิทยาลัยเรากล้าลงทุนที่จะดึงคนเก่งๆ เข้ามา ทีนี้ก็ต้องดูแลคนเหล่านี้ดีๆ เพราะคนเหล่านี้จะช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย”“อย่างที่บอก มหาวิทยาลัยไม่ได้สร้างในช่วงอายุคนๆ เดียว ต้องเลือกคนให้ถูก คนที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งจะขึ้นอยู่กับเจ้าของ แต่ของรังสิตในแง่ความเป็นเจ้าของ มีแนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยชัดเจนและถูกต้องว่า อุดมศึกษามีบทบาทอะไรในสังคมและควรทำาอะไรให้สังคม แต่คนต่อไปที่จะเข้ามาแทนต้องสืบทอดให้ได้ ตรงนี้สำาคัญ เพราะถ้ามองเรื่องธุรกิจเรื่องกำาไรอย่างเดียวมันไม่ได้ เพราะในมหาวิทยาลัยมันจะมีทั้งหลักสูตรที่สร้างกำาไรและหลักสูตรที่จำาเป็นแต่เลี้ยงตัวเองไม่ได้ ต้องให้คณะอื่นๆ เลี้ยง ถ้าคิดเฉพาะปัจจัยการเงินอย่างเดียวคงไม่สามารถเป็นอย่าง Harvard ได้”“ถามว่าเป็น Harvard of the East ได้ไหม ครูว่าเป็นได้ ถ้าอุดมการณ์ของรังสิตไม่เปลี่ยนไป ก็ไม่น่าจะเกินความเป็นจริง”88 89


ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐๒๕๔๘ – ๒๕๕๐คุณภาพ คุณภาพ คุณภาพ เส้นทางสู ่ความเป็นเลิศหลังพายุฝนพัดผ่านท้องฟ้าสวยงามเสมอ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรังสิตที่ฝ่าฟันลมมรสุมต่างๆ มาได้ เวลานับต่อจากนี้ไป จึงเป็นช่วงเวลาที่ทุกชีวิตในรั้วในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะช่วยกันดูแล สร้างสรรค์ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศยิ่งๆ ขึ้นไป ดังเช่นคำพูดประโยคต่อไปนี้ ที่ยังคงกึกก้องอยู่ในใจของผู้ร่วมชีวิตภายในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิตทุกคน“ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เราควรจะต้องลืมอดีต จำาอดีตไว้เป็นอุทาหรณ์ แต่ต้องเริ่มกันใหม่ที่จะสร้างเรื่องราวของความสำาเร็จ เราต้องประสบความสำาเร็จ เราสร้างปณิธานร่วมกันแล้ว ถ้าเราทำาไม่สำาเร็จ ชีวิตนี้ก็ไม่สำาเร็จประเทศไทยจะรุ่งเรืองสู้เขาได้นั้น ขึ้นอยู่กับเราด้วย ถึงแม้เราเป็นอณูเล็กๆอณูหนึ่งของชาติ แต่ก็ต้องเป็นอณูที่มีพลัง”จากส่วนหนึ่งของคำากล่าวงานในการสัมมนาเรื่อง “การปฏิรูปมหาวิทยาลัย” วิสัยทัศน์และเป้าหมาย มหาวิทยาลัยรังสิต ปี ๒๕๔๔ โดยดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเปรียบเสมือนคำามั่นสัญญา แรงกระตุ้นเสริมกำาลังใจให้แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรทุกคนผู้ซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองชิ้นสำาคัญที่จะร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยรังสิตให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต หลังจากที่ร่วมฝ่าฟันวิกฤตต่างๆ ร่วมกันมาตั้งแต่มหาวิทยาลัยเริ่มก่อตั้ง90 91


• เรือประดับไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ รางวัลชนะเลิศจากการประกวดเรือประดับไฟฟ้างาน “สีสันแห่งสายนํ้า มหกรรมลอยกระทง” ณ บริเวณแม่นํ้าเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครผ่านมาแล้วกว่า ๒๐ ขวบปี จากวันนั้นถึงวันนี้ นับว่าแต่ละช่วงเวลาของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ผ่านเรื่องราวเหตุการณ์อะไรมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการก่อตั้งในช่วงแรกๆ แต่ก็สามารถแก้ไขไปได้ด้วยดีหรือกระทั่งปัญหาในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓ จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยอย่างรุนแรง แต่ทั้งนี้ปี พ.ศ. ๒๕๔๔มหาวิทยาลัยก็สามารถกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง เพราะการบริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลของผู้กุมบังเหียนอย่าง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และความร่วมมือกันเผชิญหน้าทุกปัญหาของผู้ร่วมงานทุกคน จึงทำาให้เหตุการณ์วิกฤตต่างๆ เหล่านั้นพ้นผ่านไปได้ด้วยดี อาจจะมีล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง แต่อุปสรรคเหล่านี้ก็ถือเป็นยาชูกำาลังที่ดี เพราะแน่นอนที่สุดว่า “จะไม่มีถนนสายไหนที่ราบรื่น และก็ไม่มีถนนสายไหนที่เต็มไปด้วยขวากหนามตลอดเส้นทาง” อยู่ที่ว่าคนที่เดินบนเส้นทางนั้นจะผ่านกระแสวิกฤตไปได้อย่างไรข้ามพ้นวิกฤตเปิดศักราชใหม่ปูเส้นทางสู่ความเป็นเลิศต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่แตกกิ่งก้านสาขาให้ร่มเงา แน่นอนที่สุดว่าไม้ต้นนี้จะไม่สามารถเติบโตงอกงาม แข็งแกร่งต้านทานแรงลมได้เลยหากปราศจากคนปลูกที่ช่วยกันดูแล ใส่ปุ๋ย รดนํ้า พรวนดิน เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรังสิตที่เติบโตมาได้ทุกวันนี้ก็เพราะทุกคนร่วมมือกันสร้างร่วมมือกันพัฒนา สร้างความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแกร่งของศักยภาพทางการศึกษา การเรียนการสอนที่มีคุณภาพและความหลากหลายทางวิชาการที่ต่อยอดเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดนิ่งเรื่อยมา หลายต่อหลายครั้งที่มีสถานการณ์ทางสังคม หรือปัญหาจากอะไรก็แล้วแต่ จะส่งผลทำาให้เราต้องชะลอการก้าวเดิน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มหาวิทยาลัยรังสิตจะหยุดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เราชะลอการเดินช้าลงก็เพื่อจะสามารถก้าวกระโดดต่อไปให้ไกลยิ่งขึ้น เพราะช่วงเวลาต่อจากนี้เป็นต้นไปมหาวิทยาลัยรังสิตได้นำาแผนยุทธศาสตร์• ภาพ : บุญชนะ แก้วดีวงษ์การที ่จะเอาตัวรอดได้มีหลายวิธี หนึ ่งในวิธีที ่ดีที ่สุดนั ้นก็คือการ “เหินกระแส” คือบินขึ ้นให้สูงเหนือพายุ หรือนำาพายุที ่เราอาจเปรียบเปรยกับการ“ขี ่หลังเสือ” หรือที ่เรียกว่าเป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสู ่ความเป็นเลิศ หรือ ROADMAP TOEXCELLENCE นั ่นเอง• ภาพ : ภารดา คงสมโอษฐ“เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ” ROADMAP TO EXCELLENCE ปูทางเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักในการนำาพามหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ความเป็นคุณภาพแห่งวงการการศึกษาไทยหากเปรียบว่าต้นไม้ต้องการปุ๋ยชั้นดีในการบำารุงต้น ฉะนั้น การเริ่มต้นนำาแผนยุทธศาสตร์ “เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ” ROADMAP TOEXCELLENCE มาใช้ในการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต ก็นับได้ว่าเป็นปุ๋ยขนานดีที่สร้างความเติบโตให้มหาวิทยาลัยพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ ด้านโดยเมื่อเข้าสู่ยุคที่ภาวะการแข่งขันในแวดวงการศึกษาร้อนแรงขึ้นทุกขณะ ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง มีทิศทางการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏกว่า ๔๐ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีก ๗ - ๘ แห่งหรือแม้แต่ด้านการเปิดหลักสูตรใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดมีการผนึกกำาลังกับพันธมิตรที่เป็นมหาวิทยาลัยต่างชาติ ขยายเจาะกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาจากต่างชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงดึงดูดนักศึกษาไทยในยุคที่ต้องเปิดเรดาร์เรียนรู้ทั้งภาษาและวัฒนธรรมต่างชาติ เพื่อโอกาสการทำางานในอนาคต และมหาวิทยาลัยรังสิตก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่อยู่ในขอบข่ายของความเคลื่อนไหวข้างต้นจากภาวะการแข่งขันของวงการการศึกษาที่เข้มข้นขึ้น ในขณะที่หลายคนเริ่มวิตกกังวล วิจารณ์ว่าสถานการณ์การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้นและอีกหลายคนเริ่มกลัว ตื่นตระหนกว่า ควรจะทำาอย่างไรดี ดร.อาทิตย์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต กลับมองว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นคือกระแสการแข่งขัน92 93


ช่วงชิงกันเป็นผู้นำากระแสระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ แต่นั่นมิใช่เรื่องใหญ่ ไม่ใช่คลื่นยักษ์ที่ถาโถมเข้ามาโดยไม่รู้ตัว เรามีเวลา และมีปัญญาที่จะตั้งรับได้หากใส่ใจพอ และการที่จะเอาตัวรอดได้มีหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดนั้นก็คือ การ “เหินกระแส” คือบินขึ้นให้สูงเหนือพายุ หรือนำาพายุ ที่เราอาจเปรียบเปรยกับการ “ขี่หลังเสือ” หรือที่เรียกว่าเป็น ยุทธศาสตร์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ หรือ ROAD-MAP TO EXCELLENCE นั่นเอง ที่สำาคัญเราจะต้องสร้างคุณภาพขึ้นมาด้วย จุดนี้จึงได้เกิดนโยบายดังกล่าวขึ้นมา”ในยุคที่ความรู้คืออำานาจ และนวัตกรรมคือปัจจัยสำาคัญที่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยรังสิตกำาหนดยุทธศาสตร์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศขึ้น ก็เพื่อให้ทุกคณะทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยนำานโยบายดังกล่าวไปเป็นหัวใจในการดำาเนินงาน ตลอดจนกลยุทธ์และโครงการเพื่อปรับปรุงและพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการ การวิจัย และคุณภาพบัณฑิต ทั้งนี้ เพราะเส้นทางสู่ความเป็นเลิศขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง มิใช่เป็นเพียงความคิดฝัน หรือวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหาร หากจะต้องเป็นเป้าหมายที่ทุกๆ ฝ่าย และทุกๆ คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการกำาหนด รับรู้รับรอง และมุ่งมั่นที่จะพร้อมใจกันก้าวไปสู่ความสำาเร็จในภายภาคหน้า และในเงื่อนเวลาที่กำาหนดไว้ ที่สำาคัญคือในบรรยากาศการแข่งขันที่เข้มข้น เปิดกว้าง และไร้พรมแดน ความเป็นเลิศจะเกิดขึ้นไม่ได้หากเพียงแต่ทำาตามกระแส หรือโผไปตามกระแสอย่างที่คนอื่นเขาทำาอย่างไร เราก็ทำาอย่างนั้นด้วย เพราะหากเป็นเช่นนั้น เราคงจะไปได้ไม่ถึงไหนแผนนโยบายเส้นทางสู่ความเป็นเลิศหรือ ROADMAP TO EXCELLENCEต้องแข่งขันได้ (Competitiveness)ความยอดเยี่ยมที่เป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness and Distinction)เราต้องมีความดีเด่นที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ซึ่งต้องเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปด้วยในความเป็นมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตกำาลังคนเพื่อประเทศชาติคุณภาพการศึกษา (Quality Education) เป็นการเตรียมความพร้อมสำาหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจะเน้นเรื่องคุณภาพครูอาจารย์และคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอนนวัตกรรมและโครงการวิจัยและพัฒนา (Innovations andResearch and Development Projects) โดยมีนโยบายเร่งรัดการคิดค้นนวัตกรรม ตลอดจนการศึกษาวิจัยและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใหม่ๆ หรือต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยรวมทั้งงานออกแบบที่มีประโยชน์คุณภาพของผู้สำาเร็จการศึกษา (Quality Graduates) โดยมุ่งเน้นไปที่หลักสูตรที่จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาบ้านเมืองและเรื่องสุดท้ายคือ ความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงเกียรติภูมิ(Trustworthiness and Reputation) คือ การเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ก้าวมั่นสู่ความเป็นนานาชาติที่สมบูรณ์แบบ ผลิตนักศึกษาที่มีทักษะรวบยอดทั้งการใช้ภาษาไทย-อังกฤษ และ IT Literacy ที่มีประกาศนียบัตรความชำานาญรับรองต้องก้าวไกลเป็นมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์(e-University)โดยอาศัยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดการเรียนการสอนทางไกลแบบออนไลน์ (Online) มีการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลักสูตรที่จำาเป็นต่อความต้องการของสังคม รวมทั้งมีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ e-learning มาใช้ เพื่อทำาให้เป็นศูนย์การเรียนด้วยตนเองมากขึ้นตลอดจนการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น e-Library และพัฒนาระบบให้บริการทางการศึกษาด้านทะเบียนด้วยระบบ e-Registration and Communicationเป็นต้น94 95


่การมุ ่งพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้มีการออกประกาศนียบัตรรับรอง จะเป็นหลักประกันสำาหรับผู ้ที ่สำาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีโอกาสทีดีในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อการศึกษาต้องเป็นรากแก้วของชีวิตและของประเทศ และต้องเป็นพลังแห่งปัญญาของชาติไม่ใช่การแยกส่วนโดดเดี ่ยว ไม่เกี ่ยวข้องกับใครคุณภาพการศึกษา (Quality Education)มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม เน้นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบองค์รวม (Holistic Education Curriculum) มีเป้าหมายในการพัฒนาบัณฑิตที่มีต้นทุนสังคมสูง ครอบคลุมทุกด้านทั้งวิชาชีพวิชาการ ด้านธรรมาภิบาล ทักษะด้านการสื่อสาร ภาวะความเป็นผู้นำา การทำางานเป็นทีม และเป็นผู้ยึดมั่นในจริยธรรมการเตรียมความพร้อมสู่โลกแห่งความเป็นจริง(Readiness for the Real World)มุ่งสร้างสรรค์บัณฑิตในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ให้มีสมรรถนะในการทำางานและการปรับตัวเข้าสู่สภาวะการทำางานในโลกแห่งความเป็นจริง“ไม่ใช่สถาบันการศึกษาที่อยู่บนหอคอยงาช้าง ไม่ใช่การแยกส่วนอยู่โดดเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไปภูมิอกภูมิใจที่มันไม่ใช่ เช่นปริญญาหรืออะไรก็ตามของปัจเจกบุคคล และผลที่จะได้รับต้องเป็นผลต่อส่วนรวม มันถึงจะดี หากดีเพียงแค่ต่อบุคคล แต่ไม่ดีต่อส่วนรวม ก็ไม่รู้ว่าดีจริงหรือเปล่า”ต้องก้าวไปเป็นนานาชาติ (Internationalization)โดยการพัฒนาหลักสูตรสู่ระบบการศึกษาแบบทวิภาษา (BilingualEducation) ด้วยการจัดการเรียนการสอนที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อรวมทั้งมีการสร้างโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศต่างๆ ในลักษณะ ๒+๒ หรือ ๓+๑ โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และสร้างกระบวนการสู่ความเป็นนานาชาติต้องรับรองมาตรฐานได้ (Certification)มุ่งพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้มีการออกประกาศนียบัตรรับรอง เพราะความสามารถดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำาหรับผู้ที่สำาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต ให้มีโอกาสที่ดีในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ• ภาพ : ภารดา คงสมโอษฐ96 97


• ภาพ : อรรถยา สุนทรายนเพราะการศึกษาคือรากแก้วของชาติปีการศึกษา ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยรังสิตพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเดินหน้าจัดตั้งคณะ เปิดสาขาวิชาเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์เปิดสาขาวิชาสื่อสารการแสดงคณะวิทยาศาสตร์เปิดสาขาวิชาเคมีประยุกต์ รวมทั้งในระดับปริญญาโทเช่น คณะบัญชี คณะพยาบาลศาสตร์เปิดหลักสูตรการจัดการพยาบาลคณะศึกษาศาสตร์เปิดสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน และสาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา คณะบริหารธุรกิจเปิดสาขาวิชาเป็นผู้ประกอบการ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคมเปิดสาขาวิชาผู้นำาสังคม ธุรกิจ และการเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม (ภาคสมทบ) และปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ มหาวิทยาลัยรังสิตครบรอบ ๒๐ ปี และได้มีการจัดตั้งคณะ เปิดสาขาวิชาเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ สถาบันการบิน คณะทัศนแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำารุงอากาศยาน และสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการ (ภาคสมทบ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ เปิดสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (ต่อเนื่อง ๒ ปี) คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ เปิดสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมธุรกิจด้านการบิน สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรมและภัตตาคาร คณะนิเทศศาสตร์ เปิดสาขาวิชาสื่อสารการตลาดและสาขาวิชาสื่อใหม่ คณะนิติศาสตร์ เปิดสาขาวิชาระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม เปิดสาขาวิชาผู้นำาทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (ภาคสมทบ) และวิทยาลัยนานาชาติ เปิดการจะสร้างการศึกษาให้มีคุณภาพได้นั ้นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คุณภาพอาจารย์และบุคลากร คุณภาพและกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอน คุณภาพงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา คุณภาพบัณฑิต และความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร• ภาพ : ฐิติชญา ดงงามสาขาวิชาการจัดการโรงแรม ระดับปริญญาโท เปิดหลักสูตรการทูตและการต่างประเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และระดับปริญญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ เปิดสาขาวิชาการศึกษาการกำาหนดนโยบายในแผนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศนี้จุดประสงค์ก็เพื่อให้ทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิตขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันและนั่นก็คือ การสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังที่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้กล่าวไว้ว่า“การศึกษาคือ รากแก้วของชาติ เพราะการศึกษาสามารถกำาหนดอนาคตของประเทศ สามารถสร้างรากฐานแห่งการเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การศึกษาที่มีคุณภาพเท่านั้นจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ ทั้งในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง แต่การจะสร้างการศึกษาให้มีคุณภาพได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คุณภาพอาจารย์และบุคลากร คุณภาพและกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอน คุณภาพงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา คุณภาพบัณฑิต และความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร”หากพูดถึง “คุณภาพ” อาจจะเป็นคำาที่มักจะได้ยินได้ฟังบ่อยที่สุดในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทุกวงการต่างโหยหา เพราะนั่นหมายถึงการประกันคุณภาพหรือการรับรองคุณภาพขององค์กรนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของบุคลากร คุณภาพของการศึกษา รวมถึงคุณภาพของสถานศึกษาด้วย จะเห็นว่าปัจจุบันนี้เรื่องคุณภาพของการศึกษาเป็นสิ่งที่คนไทยถามหากันมาตลอด และเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จัดตั้งองค์กรที่ทำาหน้าที่รับประกันคุณภาพหรือรับรอง98 99


คุณภาพการศึกษา โดยการจัดตั้ง “สำานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา” หรือ สมศ. ซึ่งจะกำาหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีและเสนอผลการประเมินต่อสาธารณชน เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรังสิตที่ในปี ๒๕๕๑ ได้พิสูจน์ความเป็น “คุณภาพ” ด้วยการได้รับผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับคะแนนสูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ และมีคะแนน ๔.๖๒ ซึ่งอยู่ในระดับดีมากนอกจากนี้ ผลการประเมินสถาบันอุดมศึกษากลุ่มเน้นผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิตก็ยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก รวมถึงในระดับกลุ่มสาขาวิชา มหาวิทยาลัยรังสิตก็ได้รับการประเมินในระดับดีมากหลายสาขา คือ วิศวกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นว่า “คุณภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าที่อื่นเลย”จากความสำาเร็จบนเส้นทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากความบังเอิญ หากแต่เป็นผลมาจากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร ในการคิดวางแผนเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ(ROADMAP TO EXCELLENCE) ที่ชัดเจนจนกลายมาเป็นผลความสำาเร็จในเชิงรูปธรรมและนวัตกรรมที่สามารถจับต้องได้ และเป็นเหตุผลสำาคัญที่ทำาให้มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับผลการประเมินที่สูง แสดงถึงความมี “คุณภาพ”และ “ศักยภาพ” ทางวิชาการที่เข้มแข็งอย่างเห็นได้ชัดนอกเหนือจาก ROADMAP TO EXCELLENCE ที่เป็นแนวทางนำามหาวิทยาลัยสู่ความสำาเร็จแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทุ่มงบประมาณกว่า ๓๐๐ ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงอาคารเดิมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น นับตั้งแต่การย้ายสำานักงานอธิการบดี และหน่วยงานสนับสนุนจากอาคารประสิทธิรัตน์ ไปอยู่ที่อาคาร ๑ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ และปรับปรุงอาคารประสิทธิรัตน์ให้เหมาะสำาหรับการดำาเนินงาน และการจัดการเรียนการสอนสำาหรับคณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ และสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ปรับปรุงอาคารอุไรรัตน์ และอาคารวิทยาศาสตร์ และสร้างอาคารวิทยาศาสตร์หลังใหม่บริเวณที่จอดรถหน้าโรงงานต้นแบบ สำาหรับการเรียนวิชาต่างๆ ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์นอกจากจะมีการปรับปรุงและสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แล้วมหาวิทยาลัยยังดำาเนินการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก ๑๓๑ ไร่ บริเวณทิศเหนือโดยพื้นที่ส่วนหนึ่งจะจัดสรรให้แก่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต และ• โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตนอกจากจะมีการปรับปรุงและสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แล้ว มหาวิทยาลัยยังดำาเนินการขยายพื ้นที ่เพิ ่มขึ ้นอีก ๑๓๑ ไร่ บริเวณทิศเหนือ โดยพื ้นที ่ส่วนหนึ ่งจะจัดสรรให้แก่โรงเรียนสาธิตแ ห่ ง ม ห า วิ ท ย า ลั ย รั ง สิ ตพื้นที่ส่วนที่เหลือใช้สำาหรับสร้างอาคารเรียนและเพิ่มพื้นที่สำาหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ถือกำาเนิดขึ้นด้วยการตระหนักถึงความสำาคัญของการศึกษาในระดับพื้นฐาน และปัญหาของชาติบ้านเมือง นับเป็นสถาบันการศึกษาเอกชนซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า ๒ ทศวรรษเป็นฐานรากรองรับ โดยอาศัยประสบการณ์จากการเป็นแกนนำาในการจัดตั้งและการบริหารจัดการโรงเรียนนานาชาติBritish Internationnal School, Phuket ซึ่งประสบความสำาเร็จเป็นที่ยอมรับจากสถาบันแม่อย่าง Dulwich College, London สหราชอาณาจักร จนสามารถลงทุนสรรค์สร้างต้นแบบที่ดีของโรงเรียนทวิภาษาในอุดมคติด้วยการเน้นการเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับภาษาไทยการพัฒนาของมหาวิทยาลัยรังสิตยังมิได้หยุดนิ่งเพียงเท่านี้ เพราะในปี ๒๕๔๒ ช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปการศึกษาออกมา คือ การปฏิรูปครู และทางมหาวิทยาลัยเองก็ได้ประจักษ์ถึงความสำาคัญของคุณภาพการศึกษา ที่ต้องการเห็นคนที่มีความรู้ เก่งในพื้นฐานวิชาการมาเป็นครู ซึ่งเป็นกลไกสำาคัญของคุณภาพการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดคณะศึกษาศาสตร์และโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อรองรับกระบวนการที่จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ โดยที่ในส่วนของคณะศึกษาศาสตร์นั้น เปิดเป็นหลักสูตรสองภาษาและดำาเนินการสอนเฉพาะระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเท่านั้น นับเป็นความกล้าที่ไม่ใช่เพียงแค่ความกล้าที่จะเสี่ยง แต่เป็นความกล้าที่เล็งเห็นซึ่งคุณประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ที่สำาคัญการเปิดหลักสูตรดังกล่าวนับเป็นความท้าทายในวงการการศึกษาไทย เพราะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดคณะศึกษาศาสตร์นอกจากนี้ เกี่ยวกับความคิดในการเปิดคณะศึกษาศาสตร์หลักสูตรสองภาษา ดร.มานิต บุญประเสริฐ อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์เล่าให้ฟังว่า “ช่วงปี ๒๕๔๕ เราร่างหลักสูตรทางศึกษาศาสตร์ โดยเราเปิดปริญญาโทด้านการศึกษาระบบสองภาษา เพราะโรงเรียนสาธิตของเราก็เป็นระบบสองภาษา ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ของดร.อาทิตย์ ที่ให้ความสำาคัญกับการศึกษาว่า การที่เราจะพัฒนาประเทศต้องอาศัยการศึกษาเป็นฐานราก ถ้าประชาชนมีการศึกษาที่ดีหมายความว่า มีครูที่ดี มีโรงเรียนที่ดี เราก็จะได้พลเมืองรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ แล้วประเทศชาติก็จะไปได้ดีด้วย”“รังสิตโมเดล” แหล่งเพาะ “ครูพันธ์ุใหม่” ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยเพราะทุกก้าวย่างบนเส้นทางการศึกษาคือสิ่งที่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ให้ความใส่ใจเสมอมา โดยสิ่งสำาคัญและเห็นว่าต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั่นคือผู้ที่มีบทบาทในการสร้างปัญญาให้แก่นักศึกษา ซึ่งก็คือ ครูอาจารย์ดังนั้น หากต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย สิ่งแรกที่ท่านเห็น100 101


่• โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตว่าควรปรับปรุงคือ การพัฒนาครู เพราะหากไม่มีการพัฒนาก็ไม่สามารถหวังให้บุคลากรเหล่านี้ไปพัฒนานักเรียนและระบบการศึกษาได้ “รังสิตโมเดล” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะมีส่วนพัฒนาการศึกษาไทยให้พัฒนาเดินหน้าไปในทางที่ดีได้“ครูต้องมาจากคนที่เก่งที่สุด” นี่คือสิ่งที่ ดร.อาทิตย์ ให้นิยามไว้กับ “รังสิตโมเดล” ซึ่งโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ในแบบฉบับของมหาวิทยาลัย “รังสิตโมเดล” นี้สร้างขึ้นเพื่อมุ่งผลิตครูที่มีคุณภาพ และครูทั้งหมดนี้จะผ่านการเรียนสายทำาวิทยานิพนธ์ ได้รับทุนศึกษาต่อและประกันงานให้เมื่อจบปริญญาโทการสอนแล้ว คือ บรรจุให้สอนนักเรียนในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตได้ทันทีจากโครงการดังกล่าวทำาให้ปัจจุบันมีครูต้นแบบผลิตผลนำาร่องชั้นดีสายพันธุ์รังสิต เกิดขึ้นแล้ว ๖ คน และได้รับการบรรจุสอนจริงแล้วที่โรงเรียนสาธิตฯ เมื่อปี ๒๕๕๐ ในระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นการสอนแบบทวิภาษา อย่างไรก็ตาม วินาทีนี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า โมเดลนี้จะช่วยปฏิรูปคุณภาพการศึกษาและครูไทยได้อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่การันตีคุณภาพเรื่องนี้ได้ดีที่สุด คือ การจัดสัมมนาปฏิรูปการศึกษารอบสอง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำาลังขับเคี่ยวโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่อย่างเต็มกำาลัง เพื่อให้ได้ครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะศาสตร์มาสอนในชั้นเรียน “รังสิตโมเดล”ของมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการเสนอเพื่อเป็นทางเลือกไปยังกระทรวงศึกษาธิการ สำาหรับเป็นแบบอย่างในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยในอนาคตอีกด้วยตอกยํ้าความสำเร็จ เดินหน้าพัฒนาการศึกษา “คุณภาพ...เส้นทางแห่งศรัทธา”เข้าสู่ปี ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประกาศแผนพัฒนาคุณภาพระยะยาว ๑๐ ปี ตามนโยบาย “มหาวิทยาลัยรังสิต มุ่งสร้างกำาลังคน โดยให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนที่มีศักยภาพและประเทศมีความต้องการสูง” เน้นการผลิตบัณฑิตอย่างมีคุณภาพในหลากหลายสาขาวิชา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศไทย เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ และสร้างอาคารเรียนทันตแพทย์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สตูดิโอนิเทศศาสตร์อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มหาวิทยาลัยได้พยายามสร้างและพัฒนาขึ้นมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ทำาเพื่อมุ่งเน้นรับนักศึกษาในเชิงปริมาณแต่เน้นไปที่คุณภาพของผู้เรียนที่จะได้รับในขณะศึกษา ส่วนหนึ่งเพราะเครื่องมืออุปกรณ์ที่ครบครัน ทันสมัย ก็เป็นอีกตัวช่วยหลักสำาคัญที่เพิ่มความเข้าใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้นด้วย เพราะการลงทุนครั้งนี้เป็นแผนระยะยาว ๑๐ ปีของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะช่วยให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและพัฒนาในสิ่งที่มีศักยภาพ ที่สำาคัญการลงทุนทำาให้เด็กมีโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนเสียด้วยซํ้า เพราะความสำาเร็จของสถาบันการศึกษาทุกวันนี้ ไม่ได้วัดแค่เพียงว่าที่ไหนเก่งกว่าที่ไหนหรือที่ไหนเลิศกว่าที่ไหน หากแต่วัดกันที่ สถาบันนั้นสามารถพัฒนา “คนคุณภาพ” ออกสู่สังคมได้หรือไม่เป็นสำาคัญช่วงระยะเวลา ๒ ทศวรรษแห่งการพัฒนาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยรังสิตได้พัฒนามาใกล้ถึงจุดอิ่มตัวทางด้านปริมาณนักศึกษา จึงมีโอกาสที่จะพลิกผันด้านคุณภาพไปสู่ความเป็นเลิศ และเป็นผู้นำากระแสการพัฒนาด้านอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นนานาชาติที่สมบูรณ์แบบต่อไปในอนาคตก้าวสู่ความเป็นเลิศแม้ว่าความสำาเร็จที่เกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อ ๒๕ ปีที่ผ่านมา จะเป็นเพียงความสำาเร็จในการฟื้นฟูบูรณะลงหลักปักฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่านั้น มหาวิทยาลัยรังสิตยังต้องเดินไปข้างหน้า ยังคงต้องพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ ดังเช่นถ้อยแถลงที่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เคยปรารภไว้ว่า“เส้นทางสู่ความเป็นเลิศขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง มิใช่เป็นเพียงความคิดฝันหรือวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหาร หากจะต้องเป็นเป้าหมายที่ทุกๆ ฝ่ายและทุกๆ คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการกำาหนด รับรู้ รับรองมุ่งหมายและมุ่งมั่นที่จะพร้อมใจกันก้าวไปสู่ความสำาเร็จในภายภาคหน้าและในเงื่อนเวลาที่กำาหนดไว้ ที่สำาคัญยิ่งคือในบรรยากาศของการแข่งขันที่เข้มข้น เปิดกว้าง และไร้พรมแดน ความเป็นเลิศจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเราเพียงแต่ตามกระแส หรือโผไปตามกระแส เขาทำาอย่างไร เราก็ทำาอย่างนั้นบ้าง สุดท้ายเราก็จะไปได้ไม่ถึงไหน ทั้งนี้ เพราะการศึกษาไทยยังจะต้องก้าวหน้าไปเรื่อยๆ และจะหยุดกับที่ไม่ได้”จากการประกาศนโยบาย “คุณภาพ...เส้นทางแห่งศรัทธา”ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างเส้นทางการก้าวสู่ปีที่๒๕ ให้เป็นเส้นทางสู่ความเป็นเลิศและยํ้าจุดยืนของการเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคมอย่างแท้จริง เหตุผลเหนือสิ่งอื่นใดก็เพราะเชื่อว่า จะมีเพียงการศึกษาที่มี “คุณภาพ” เท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนา“คนคุณภาพ” ให้ออกสู่สังคม เพื่อเป็นกำาลังสำาคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ดังที่ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เคยกล่าวไว้ในการประชุมประจำาปี ครั้งที่ ๕ ในปี ๒๕๔๘ เมื่อครั้งเริ่มนำายุทธศาสตร์เส้นทางสู่ความเป็นเลิศมาใช้ว่า“การศึกษาคืออนาคตของชาติ เส้นทางสู่อนาคตจะสดใสด้วยกำาลังคนที่ผ่านการหล่อหลอมให้รู้จักตนเอง รู้จักโลก รู้จักศาสตร์ และศิลป์ เพื่อการดำารงอยู่ในโลกอย่างมีความสุข ถึงพร้อมด้วยภูมิปัญญา และจินตนาการที่จะช่วยให้ก้าวสู่หลักชัยในสังคมเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต”เพราะความสำาเร็จของสถาบันการศึกษาทุกวันนี ้ ไม่ได้วัดแค่เพียงว่าที ่ไหนเก่งกว่าที ่ไหนหรือที ่ไหนเลิศกว่าที ่ไหน หากแต่วัดกันที ่ สถาบันนั ้นสามารถพัฒนา “คนคุณภาพ” ออกสูสังคมได้หรือไม่เป็นสำาคัญ102 103


ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ร่วมสร้างสังคมธรรมาธิปไตยมหาวิทยาลัยคือ ขุมพลังแห่งปัญญาของชาติ เพื่อปฎิรูปสู่สังคมธรรมาธิปไตย“สติปัญญาจะสร้างโลกทัศน์ โลกทัศน์จะสร้างวิสัยทัศน์”นี่เป็นคำากล่าวหนึ่งจากการปาฐกถาของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เนื่องในโอกาสปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๒หลายคนมักจะพูดว่า “เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน” แต่เวลากลับมิเคยทำาให้วิสัยทัศน์อันกว้างไกลของตะวันดวงใหญ่ดวงนี้ที่ชื่อ ดร.อาทิตย์อุไรรัตน์ ที่คอยส่องแสงประกายและนำาทางให้คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ รวมถึงนักศึกษาชาวมหาวิทยาลัยรังสิตมายาวนานกว่า ๒๕ ปีเปลี่ยนไปแต่อย่างใด แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาวของสมรภูมิการเมืองที่ร้อนระอุมากี่ยุคกี่สมัย และประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ตลอดจนฟันฝ่าอุปสรรคและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานาจากการเป็นผู้นำากระแสนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการศึกษาให้แก่ประเทศไทยมากมายแล้วก็ตาม นั่นก็ไม่เคยทำาให้อุดมการณ์ และวิสัยทัศน์นั้นสั่นคลอน แต่ยังคงมองหาสิ่งที่จะทำาเพื่อตอบแทนประเทศชาติอยู่เสมอ104 105• ภาพ : คิมหันต์ ระวังนาม


• อาคาร Digital Multimedia Complex ภาพ : อลงกรณ์ อนุพงษ์พันธุ์หลังจากยุคที่อาจเรียกได้ว่า มหาวิทยาลัยรังสิตเฟื่องฟูสุดขีดและมีชื่อเสียงเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำาแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางวิชาการ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคณะและหลักสูตรที่เปิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศทั้งสิ้น โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ๗๘ หลักสูตร ระดับปริญญาโท ๓๖ หลักสูตรและระดับปริญญาเอก ๗ หลักสูตร รวม ๑๒๑ หลักสูตร นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยรังสิตยังได้ประกาศแผนการพัฒนาคุณภาพระยะยาว๑๐ ปี “มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างกำาลังคน”ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เชื่อมั่นว่า การศึกษาคือรากแก้วของชาติเพราะการศึกษาสามารถกำาหนดอนาคตของประเทศ สามารถสร้างรากฐานแห่งการเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นรากฐานของประชาธิปไตยและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การศึกษาที่มีคุณภาพเท่านั้นจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาของชาติได้ ทั้งในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองแต่การจะสร้างการศึกษาให้มีคุณภาพได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่คุณภาพอาจารย์และบุคลากร คุณภาพและกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอน คุณภาพงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา คุณภาพบัณฑิต และความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร106 107


108 109• อาคาร Digital Multimedia Complex


่สามเหลี่ยมของความสำเร็จเมื่อเริ่มดำาเนินการตามแผนระยะยาว ๑๐ ปีแล้ว คุณภาพของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ได้พยายามสร้างมาตลอด ๒๕ ปีนั้นก็เริ่มบรรลุผลเปรียบดั่งสามเหลี่ยมของความสำาเร็จทั้งสามด้านด้วยกัน สามเหลี่ยมด้านแรกคือ ด้านคุณภาพทางวิชาการ มีรายงานจากสำานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติว่า สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งมีความโดดเด่นอย่างไรล่าสุด สมศ. ได้จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปผลการประเมินคุณภาพรอบ ๒ โดยในกลุ่ม ๔ เน้นผลิตบัณฑิต จำานวน ๖๓ แห่งที่เข้ารับการประเมินพบว่ามี ๕๒ แห่งที่ผ่านการรับรองจาก สมศ. แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จำานวน ๓๔ แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน ๑๘ แห่ง รอพินิจ ๖ แห่ง และไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานอีกจำานวน ๕ แห่ง นอกจากนี้ เมื่อจำาแนกตามระดับคุณภาพพบว่ามีเพียง ๔ แห่งที่อยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำาภู และวิทยาลัยพยาบาล กองทัพบก โดยมีเพียงมหาวิทยาลัยรังสิตเท่านั้นที่ได้ระดับดีมากหลายสาขาวิชาคือ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับดีมากคณะผู้ประเมินได้สรุปผล โดยคะแนนรวมทั้งหมด ๗ มาตรฐานมหาวิทยาลัยรังสิตมีมาตรฐานคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานการบริการวิชาการมาตรฐานการทำานุบำารุงศิลปวัฒนธรรม และมาตรฐานการพัฒนาสถาบันและบุคลากรมีผลการประเมินระดับดีมาก ในขณะที่มาตรฐานงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ มาตรฐานหลักสูตรและการเรียนการสอน รวมถึงมาตรฐานระบบการประกันคุณภาพมีผลการประเมินระดับดีสรุปผลการประเมินจาก สมศ. ทั้ง ๗ มาตรฐานมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับคะแนนประเมิน ๔.๖๒ ซึ่งอยู่ในระดับดีมากสิ ่งที ่เรียกว่า ประสบความสำาเร็จตามความหวังและมุ ่งมั ่นของดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ แล้ว ไม่ได้เป็นเพียงความสำาเร็จในหน้าทีการงานเพียงอย่างเดียว แต่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยรังสิตทุกคน ต้องประสบความสำาเร็จภายในจิตใจด้วย นั ่นคือ การเป็นคนดี และรับผิดชอบต่อสังคม เรียกได้ว่า “เก่งและดี”• ภาพ : ลักขณา เกิดพิทักษ์“จุดเด่นของมหาวิทยาลัยรังสิตที่คณะผู้ประเมินชื่นชมมากคือคณะผู้บริหารมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการศึกษาที่กว้างไกล มียุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำาหนดเส้นทางสู่ความเป็นเลิศ นอกจากนี้ ก็เป็นเรื่องของนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เราผลิตออกมาถึงขั้นจดอนุสิทธิบัตรก็มีเป็นจำานวนมาก ด้านงานวิจัยก็ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอกและที่สำาคัญคือเรื่องระบบการบริหารจัดการหอพักนักศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพราะหอพักของมหาวิทยาลัยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำารวจ เจ้าของหอพักเครือข่าย ฯลฯ เพื่อเอื้ออำานวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา• ภายในอาคารรังสิตประยูรศักดิ์110 111


่ตรงนี้มีการแนะนำาให้หน่วยงานภายนอกมาศึกษาดูงาน และถือเป็นแบบอย่างให้แก่สถานศึกษาอื่นๆ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิวรรธน์ ปาณะสิทธิพันธุ์ ผู้อำานวยการสำานักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวนอกเหนือจากการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. แล้วมหาวิทยาลัยรังสิตได้ดำาเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาตามองค์ประกอบของสำานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาดำาเนินการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ชัดเจนและต่อเนื่อง ทั้งวิชาการและวิชาชีพพร้อมยกระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความทัดเทียมกันและพัฒนาสู่สากลด้วยเกณฑ์การประเมินคุณภาพทั้ง ๙ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑.ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำาเนินการ ๒. การเรียนการสอน ๓. กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา ๔. การวิจัย ๕. การบริการทางวิชาการแก่สังคม ๖. การทำานุบำารุงศิลปวัฒนธรรม ๗. การบริหารและการจัดการ ๘. การเงินและงบประมาณ และ ๙. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับคะแนนการประเมิน ๒.๘๕(จากคะแนนเต็ม ๓) เรียกได้ว่า การดำาเนินงานได้คุณภาพอยู่ในระดับดีมากปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยรังสิต ประกาศนโยบาย “คุณภาพ…เส้นทางแห่งศรัทธา” แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้เส้นทางการก้าวสู่ปีที่ ๒๕ เป็นเส้นทางสู่ความเป็นเลิศและยํ้าจุดยืนการเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคมอย่างแท้จริงสามเหลี่ยมของความสำาเร็จด้านที่สอง คือ ความสำาเร็จของนักศึกษา ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของบัณฑิตที่สามารถสร้างชื่อเสียงและประสบความสำาเร็จในวิชาชีพของตัวเองทั้งในระดับผู้ประกอบการระดับชาติ ไปจนถึงระดับนานาชาติตัวอย่างของความสำาเร็จมีมากมาย และวันนี้ความสำาเร็จของบัณฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัยรังสิตได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ใครอีกหลายต่อหลายคนได้ดำาเนินรอยตามมกร เชาวน์วาณิชย์ ทิ้งเงินเดือนหลายแสนจากต่างประเทศ กลับมาบ้านเกิด เปิดบริษัท เซเรบรัมดีไซน์ ขายความคิดแก่ผู้คนว่า พลังความคิดสร้างสรรค์ มันสร้างได้ทั้งมูลค่าและคุณค่ามลฤดี อัตตวนิช เปิดบริษัทโปสการ์ด เป็นครีเอทีฟเฮาส์ผลิตงานกราฟิกชั้นดีมานักต่อนัก แคมเปญโฆษณามหาวิทยาลัยรังสิตเป็นผลงานของที่นี่“ คุ ณ ภ า พ … เ ส้ น ท า ง แ ห่ งศรัทธา” แสดงถึงความมุ ่งมั ่นที ่จะสร้างให้เส้นทางการก้าวสู ่ปีที ่ ๒๕ เป็นเส้นทางสูความเป็นเลิศและย้ ำาจุดยืนการเป็นมหาวิทยาลัยที ่มุ ่งมั ่นสร้างสรรค์สิ ่งที ่ดีให้แก่สังคมอย่างแท้จริง• ภาพ : ลักขณา เกิดพิทักษ์พลกฤษณ์ สุขเกษม ไม่เคยรู้เรื่องธุรกิจโรงแรมมาก่อน แต่ตั้งโจทย์ว่าลูกค้าควรจะได้เดินเล่นยามเช้าเห็นทะเลหมอก ขุนเขา ธารนํ้าตก และทุ่งเลี้ยงแกะ เขาจึงเปิดเดอะซีนเนอรี่รีสอร์ตขึ้นมาวริสร รักษ์พันธุ์ เพิ่งรับช่วงกิจการชุมพรคาบาน่ารีสอร์ตของครอบครัวมาบริหารได้ไม่นาน วิกฤตต้มยำากุ้งก็ทำาให้เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาท เขานำาทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหา ค่อยๆ แก้ไขด้วยปัญญาวันนี้เขาคือแรงบันดาลใจของใครหลายคนอัจฉรา บุรารักษ์ จบวารสารศาสตร์ เริ่มต้นธุรกิจร้านไอศกรีมโฮมเมด iberry จากร้านเล็กๆ ในซอยสุขุมวิท ๒๔ วันนี้แตกไลน์เป็นมหาอำานาจในธุรกิจภัตตาคารและอาหารสำาหรับคนรุ่นใหม่ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ จบสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ชอบไอทีเป็นชีวิตจิตใจ เขาก่อตั้งเว็บไซต์ไทยเซคั่นแฮนด์ดอทคอม และตลาดดอทคอม ให้คนเล่นเน็ตมาขายของมือสองบนโลกออนไลน์• ภาพ : ชนัตพล หวังเพิ่ม112 113


ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ รักการทำาหนังจึงเลือกเรียนสาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ฉายแววมาตั้งแต่เป็นนักศึกษาทำาหนังสั้น เมื่อเรียนจบนั่งเขียนบทตามร้านกาแฟอยู่เป็นปี วันนี้หนังเรื่อง “ชัตเตอร์” และ“แฝด” คือ ใบเบิกทางของเขาในวงการหนังแต่สิ่งที่เรียกว่า ประสบความสำาเร็จตามความหวังและมุ่งมั่นของดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ แล้ว ไม่ได้เป็นเพียงความสำาเร็จในหน้าที่การงานเพียงอย่างเดียว แต่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยรังสิตทุกคนต้องประสบความสำาเร็จภายในจิตใจด้วย นั่นคือ การเป็นคนดี และรับผิดชอบต่อสังคม เรียกได้ว่า“เก่งและดี”หากเปรียบ “เก่งและดี” เป็นดั่ง “จิตอาสา” ตามความหมายของพระไพศาล วิสาโล ซึ่งได้ให้นิยามไว้ว่า จิตอาสา คือ จิตที่พร้อมจะสละเวลาแรงกาย และสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดายเมื่อพบเห็นปัญหา หรือความทุกข์ยากเกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำาความดี และเห็นนํ้าตาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเย็นและพลังแห่งความดีแล้ว พลังแห่งความดีที่ก่อเกิดจากความตั้งใจของนักศึกษาและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิตเองมีมากมายจนไม่อาจกล่าวได้หมดแต่หนึ่งในหลายต่อหลายความดีที่เกิดขึ้นและยังคงเป็นที่จดจำาอยู่ นั่นคือ หมอโน้ต และหมอม้ง ซึ่งเป็นตัวอย่างของ “หมอผู้ให้” ได้เป็นอย่างดีนายแพทย์ธณัฐ วิทยานุลักษณ์ หรือ หมอโน้ต เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสำาเร็จทั้งวิชาชีพและจิตสำานึกที่ดีที่มีต่อสังคม โดยใช้เวลาวันหยุดขับรถขึ้นดอยไปช่วยชาวเขา ใช้เงินส่วนตัวซื้อยาไปเอง ออกค่านํ้ามันรถเอง เดินทาง กินอยู่ลำาบาก แต่เขาเชื่อว่า หมอออกไปหาคนไข้ ดีกว่ารอให้คนไข้มาหา เขาคือตัวอย่างของคนเล็กๆ ทำาในสิ่งที่ถนัด สร้างสังคมดีๆ ในวิธีที่เขาเชื่อ “เป็นที่พึ่งผู้ยากไร้ ดีกว่ารับใช้เศรษฐี”จิตอาสา คือ จิตที ่พร้อมจะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญาเพื ่อสาธารณประโยชน์ เป็นจิตที ่ไม่นิ ่งดูดายเมื ่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากเกิดขึ ้นกับผู ้คน เป็นจิตที ่มีความสุขเมื ่อได้ทำาความดี และเห็นน้ ำาตาเปลี ่ยนเป็นรอยยิ ้มและอีกหนึ่งผู้มีความมุ่งมั่นและพยายามใช้วิชาชีพแพทย์เพื่อดูแลรักษาชาวไทยภูเขาเผ่าม้งของตัวเองที่ห่างไกลและขาดแคลนหมอ นั่นคือนายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ หรือที่หลายคนรู้จักในนาม “หมอม้ง”หรือ “หมอเต็ง” ที่ได้รับโอกาสในการเรียนคณะแพทยศาสตร์ โดยได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่ออายุ ๓๔ ปี โดยมีสัญญาเพียงให้กลับไปรับใช้บ้านเกิดของตัวเองเท่านั้น และจบการศึกษาในวัย ๔๑ ปี เมื่อปีการศึกษา ๒๕๕๐ โดยปัจจุบันเป็นแพทย์ประจำาอยู่ที่ ตำาบลสะเมิงใต้ อำาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่นอกจากนี้ ยังมีผลผลิตตามแนวคิดจิตอาสาที่มหาวิทยาลัยรังสิตได้พยายามปลูกฝังให้เข้าสู่ก้นบึ้งของจิตใจนักศึกษาทุกคน เช่น เกมที่นำาเรื่องธรรมะ “ศีล ๕” มาถ่ายทอดปลูกฝังความดีในจิตใจเด็กไทย อย่าง “เณรสิขา พิชิต ๕ มาร” หรือ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่มหาวิทยาลัยรังสิตออกให้บริการชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ภายใต้โครงการสุขภาพชุมชน ที่ดำาเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันก็ล่วงเวลามากว่า ๑๔ ปีแล้ว หรือการจัด “คอนเสิร์ตลูกทุ่งรังสิตช่วยครูใต้ ถวายพ่อหลวง” โดยระดมเงินรายได้ทั้งหมดช่วยเหลือครูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการรวมตัวของนักศึกษากว่า ๖๐ ชีวิต และนั่นก็ไม่ทำาให้ผู้ชมผิดหวัง แถมยังอิ่มบุญกันถ้วนหน้าโฆษณามหาวิทยาลัยรังสิตกับแนวคิดที่ไม่ใช่การ “ขาย”ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองและความวุ่นวายในสังคมไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประกาศแนวทาง “ร่วมสร้างสรรค์สังคมธรรมาธิปไตย” โดยนำาหลักอธิปไตย ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย ระดับที่ ๑อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตนหรือการยึดความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ระดับที่ ๒ โลกาธิปไตย หมายถึง การถือโลกเป็นใหญ่ โลกในที่นี้คือคนหมู่มาก เปรียบเทียบได้กับระบบประชาธิปไตยที่ถือคนหมู่มากเป็นใหญ่ แต่ระบบนี้ก็อาจมีปัญหาถ้าหากคนหมู่มากเห็นพ้องไปในทางไม่ดี สำาหรับระดับที่ ๓ อยู่สูงสุดคือ ธรรมาธิปไตย ซึ่งหมายถึง การยึดถือธรรมหรือความถูกต้องเป็นใหญ่สำานักงานประชาสัมพันธ์ จึงมองหาแนวทางในการสื่อสารกับสังคมว่าแนวทางใดที่มีความสอดคล้องมากที่สุด ซึ่งแนวทางการเป็นองค์กรเพื่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) นั้นเหมาะสมที่สุด จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ กับโฆษณาชุดแรก114 115


้ภาพยนตร์โฆษณามหาวิทยาลัยรังสิต ที่อาจจะผิดแบบไปจากหลักโฆษณาอื่นๆ อยู่สักหน่อย ตรงที่แทบจะหา “จุดขาย” เพื่อจูงใจให้คนมาศึกษาในสถาบันแห่งนี้ไม่ได้ ในทางตรงข้ามคือพยายามจะส่งสารให้สังคมได้รับทราบว่ามหาวิทยาลัยรังสิต ได้ “ทำา” อะไรไปแล้วบ้าง โดยหวังว่าสิ่งที่ทำาจะเป็นอีกหนึ่งประกายไฟเล็กๆ ที่จุดประกายให้แก่หลายๆ คน ให้มองเห็นความเป็น “รังสิตโมเดล” ที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์โฆษณา ส่งต่อเพื่อให้คิด และจากคิดก็จะนำาไปสู่การพัฒนา เพื่อออกมาเป็นการกระทำาจากหลายๆ มือเพื่อช่วยให้สังคมดีขึ้นภาพยนตร์โฆษณาชุดแรก ได้นำาสิ่งที่เกิดขึ้นมาฉายให้สังคมได้รับทราบและเข้าใจ “ธรรมาธิปไตย” ของมหาวิทยาลัยรังสิตผ่านหลายโครงการ หลายแนวที่กลั่นกรองออกจากสมองและหัวใจของผู้เป็นอธิการบดี จนออกมาเป็น “ดอกไม้แห่งการรับใช้สังคม”และนั่นทำาให้เหตุการณ์เล็กๆ อันยิ่งใหญ่ ถูกฉายภาพซํ้าและส่งต่อไปยังประชาชนอีกครั้ง กับกรณีของ “หมอม้ง” ที่สอบติดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิตได้ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา…ผลสรุปจากเหตุการณ์นี้ ผู้เป็นอธิการบดี ตัดสินใจเพาะกล้าไม้งามให้แก่สังคมด้วยการเขียนใบให้ทุนโดยมีข้อแม้เพียงข้อเดียวว่า“มหาวิทยาลัยรังสิตให้เรียนฟรี แต่ต้องกลับไปรับใช้บ้านเกิด” หลังจาก“หมอม้ง” สำาเร็จการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๐ ชุมชนชาวม้งก็ได้แพทย์ที่สำาเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์อย่างเต็มภาคภูมิ กลับไปบำาบัดทุกข์บำารุงสุขในดินแดนบ้านเกิดของตนเองตาม “สัญญาใจ” ที่ให้เมื่อครั้งได้รับโอกาสอันยิ่งใหญ่นั้น ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้จึงให้ภาพ “ธรรม” แบบมหาวิทยาลัยรังสิตอย่างชัดเจนในมิติการแปลความหมายของ “การสร้างบัณฑิตรู้ลึกสร้างสำานึกเพื่อสังคม”ภาพยนตร์โฆษณาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้หยิบยกโครงการสร้างความสุขให้ชาวบ้าน โดยฝีมือของเหล่านักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตจากหลากคณะ หลายสาขาวิชา ที่ลงพื้นที่เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวบ้านและยกระดับคุณภาพชีวิตรวมถึงความสุขของคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ ที่เข้าไปสร้างเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพ นักศึกษาคณะศิลปะและการออกแบบเข้าไปช่วยสอนชาวไร่ชาวนา ให้นำาผลิตภัณฑ์เหลือใช้จากการเกษตรมาทำาเป็นข้าวของเครื่องใช้เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น นำาฟางมามัดย้อมแล้วนำาไปทำาเป็นเก้าอี้ ซึ่งสามารถขายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ในขณะที่นักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างเกมธรรมะเพื่อกล่อมเกลาจรรโลงจิตใจเด็กๆ ในชุมชนนั้นทางอ้อม ส่วนเหล่านักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีชีวภาพก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพสูง เป็นต้นโฆษณาของมหาวิทยาลัยรังสิตอาจจะผิดแบบไปจากหลักโฆษณาอื ่นๆ อยู ่สักหน่อย ตรงที ่ไม่ได้หาจุดขายเพื ่อจูงใจให้คนมาศึกษาในสถาบันแห่งนีในทางตรงข้ามคือพยายามจะส่งสารให้สังคมได้รับทราบว่ามหาวิทยาลัยรังสิตได้ทำาอะไรไปแล้วบ้างและล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ประชาสังคมคงจะได้เห็นอีกหนึ่งผลงานของมหาวิทยาลัยรังสิตผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่เปิดฉากด้วยคราบนํ้าตาที่ยังไม่เหือดแห้งจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำานวนมาก เด็กและเยาวชนไม่น้อยต้องกลายเป็นกำาพร้า ครอบครัวประสบความสูญเสียที่น่าเศร้าเกินพรรณนา ในห้วงเวลานั้น หากใครยังจำาได้ หลายต่อหลายมือต่างประสานสามัคคีเพื่อร่วมช่วยผู้ประสบภัย มหาวิทยาลัยรังสิตเองก็เป็นหนึ่งใน “มือ” เหล่านั้น ภายใต้กรอบความคิด “ร่วมสร้างสังคมแห่งการให้” ด้วยการให้ทุนการศึกษาเด็กและเยาวชนผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ร้ายดังกล่าว จนกระทั่งวันนี้ เมล็ดพันธุ์แห่งธรรมาธิปไตยและการให้ที่ยิ่งใหญ่ด้วยทรัพย์แห่งการศึกษา ได้ผลิดอกอันงดงามแล้ว เมื่อนักศึกษาทุนสึนามิของมหาวิทยาลัยรังสิตได้สำาเร็จการศึกษาและพร้อมจะออกไปรับใช้สังคมด้วยความรู้และวิชาที่ได้รํ่าเรียนไปสำาหรับภาพยนตร์โฆษณาชุดล่าสุดที่เพิ่งออกอากาศให้ชมกันไปไม่นานนัก เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ “วุฒิดนัย อินทรเกษตร” ผู้กำากับภาพยนตร์โฆษณา จากบริษัท Hub Ho Hin บางกอก จำากัด บอกเล่าถึงที่มาของภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ว่า โจทย์ที่ได้รับมา คือ อยากให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เน้นแค่การศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเน้นเรื่องของความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม หรือ CSR อีกด้วย116 117


ตะวันไม่เคยหยุดนิ่งแม้จะผ่านทั้งความระอุร้อนและฝนอันหนาวเหน็บมาหลายครั้งหลายครา สิ่งที่หลายคนสงสัยคล้ายๆ กันคงจะหนีไม่พ้น “งานชิ้นต่อไป”ของ “เจ้าพ่อโปรเจ็ก” ผู้ไม่เคยหยุดนิ่งรายนี้ ว่าวินาทีนี้ยังอยากจะทำาอะไรอีก ซึ่ง ดร.อาทิตย์ ได้อรรถาธิบายไว้ตอนหนึ่งของหนังสือ ครบรอบ ๗๒ ปีของท่านที่มีชื่อว่า “อาทิตย์ อุไรรัตน์ ก้าวข้ามวิกฤตชาติ” ไว้ว่า“เราจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้หลายคณะถือเป็นจุดแข็ง แต่ก็ยังดูว่าสังคมต้องการอะไร ประเทศต้องการอะไร ก็จะเปิดหลักสูตรเพื่อรองรับและพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้นต่อๆ ไป”ดร.อาทิตย์ พูดถึงการพัฒนาต่อยอดจากงานชิ้นล่าสุดที่เพิ่งจะเป็นรูปเป็นร่างไปอย่าง “วิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์” ที่ก้าวต่อไปจะเพิ่มเติมความเป็น Internationalization และ Certification ให้มีสัดส่วนที่มากขึ้น“เราต้องพลิกผันความเป็นนานาชาติให้มากขึ้นและต้องรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะทำาให้เราสามารถแข่งขันกับเขา เราต้องแข่งขันกับเขาได้”โดยปัจจัยที่ ดร.อาทิตย์ กล่าวว่าจะทำาให้วิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์สามารถก้าวขึ้นเป็นวิทยาลัยชั้นนำาได้นั้น ต้องประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนไม่ว่าจะเป็น ความยอดเยี่ยมที่ไม่มีใครเหมือน (Uniqueness and Distinction)คุณภาพการศึกษา (Quality Education) คุณภาพครูอาจารย์ (QualityProfessors) คุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอน (QualityProcesses) นวัตกรรมและโครงการวิจัยและพัฒนา (Innovations andResearch and Development Projects) คุณภาพของผู้สำาเร็จการศึกษา(Quality Graduates) และรวมไปถึงความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงเกียรติภูมิ(Trustworthiness and Reputation)“เราต้องมีความดีเด่นที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ซึ่งต้องเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปด้วย ในความเป็นมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตกำาลังคนเพื่อประเทศชาติ ต้องมองถึงจุดเด่นของเราเองทำาให้เราเป็นตัวเลือกที่โดดเด่น มีความพร้อมทางกายภาพ สาขาวิชาที่ตอบสนองความต้องการใหม่ได้ทันท่วงที ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยี ความเชื่อมโยงสู่สหกิจศึกษา การเรียนรู้ เรียนลึกจากประสบการณ์จริง อีกทั้งบรรยากาศที่เอื้ออำานวยต่อเยาวชนที่จะมาค้นพบตัวเอง ศักยภาพของตนเอง และการพัฒนาก้าวหน้าในสิ่งที่ถนัด ส่วนเรื่องคุณภาพด้านการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่เรามุ่งมั่นทำากันมาก่อนหน้านี้ในทุกวิทยาลัยและคณะวิชาในรูปแบบของการประกันคุณภาพการศึกษา หรือAccreditation เป็นการเตรียมความพร้อมสำาหรับก้าวกระโดดและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”ดร.อาทิตย์ ขยายความเกี่ยวกับคุณภาพด้านการวิจัยเพิ่มอีกว่าในยุคที่ความรู้คืออำานาจ และนวัตกรรมคือปัจจัยสำาคัญที่ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขัน มหาวิทยาลัยรังสิตมีนโยบายเร่งรัดการคิดค้นต้องประกอบไปด้วยหลายๆส่วน ไม่ว่าจะเป็น ความยอดเยี ่ยมที ่ไม่มีใครเหมือน คุณภาพการศึกษา คุณภาพครูอาจารย์คุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมและโครงการวิจัยและพัฒนาคุณภาพของผู ้จบการศึกษาและรวมไปถึงความน่าเชื ่อถือและชื ่อเสียงเกียรติภูมินวัตกรรม ตลอดจนการศึกษาวิจัยและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการใหม่ๆ หรือต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยรวมทั้งงานออกแบบที่มีประโยชน์“คุณภาพของผู้ที่จบการศึกษาวัดกันได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ในระยะสั้นอาจดูจากร้อยละของการมีงานทำา ความสามารถในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ความสามารถในการประกอบธุรกิจของตนเอง ของครอบครัว ทางด้านการศึกษาหลังจบปริญญา มหาวิทยาลัยรังสิตมุ่งเน้นไปที่หลักสูตรที่จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการสร้างกำาลังคนระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาบ้านเมือง เราลงทุนทั้งคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่ระดมมาในทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ผนวกกับการลงทุนด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์จัดการเรียนการสอนอันทันสมัยในทำาเลที่ตั้งใจกลางเมือง”เป้าหมายสูงสุดของมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น คือ การเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ก้าวมั่นสู่ความเป็นนานาชาติที่สมบูรณ์แบบ ผลิตนักศึกษาที่มีทักษะรวบยอดทั้งการใช้ภาษาไทย-อังกฤษ และ IT Literacy ที่มีประกาศนียบัตรความชำานาญรับรอง“เราต้องก้าวไกลเป็นมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต่อไปจะให้มีความสมบูรณ์แบบใน ๕ ประเด็น ได้แก่ การลงทะเบียนและการสื่อข้อความ (e-Registration and Communication) บริการของอาจารย์ที่ปรึกษา (e-Advisors and Professors) การเรียนด้วยตนเอง(e-Learning) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) และสำานักงานที่เลิกละการสื่อสารผ่านหน้ากระดาษ (e-Office) นอกจากนี้เรายังต้องเพิ่มความเป็นนานาชาติเข้าไปโดยการพัฒนาสู่ระบบการศึกษาแบบทวิภาษา” ดร.อาทิตย์ กล่าวนอกจากจะให้ความสำาคัญในเรื่องการศึกษาแล้ว ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ให้ความเห็นว่า สิ่งสำาคัญอีกสิ่งหนึ่งในโลกปัจจุบัน ที่อาจจะกำาหนดชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของสังคมได้ ก็คือ สื่อมวลชน รวมถึงการนำาเสนอข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบดั้งเดิมหรือในโลกออนไลน์ ดังนั้น ผู้รับข่าวสารจะได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณ ความรับผิดชอบในวิชาชีพ อุดมการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงตรง เป็นธรรม เป็นจริง เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน รวมถึงรูปแบบในการนำาเสนอของเหล่า “ฐานันดรที่ ๔” นั่นก็คือ สื่อมวลชน นักข่าว และนักหนังสือพิมพ์ นั่นเองดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กล่าวถึงความสำาคัญของวิชาชีพนิเทศศาสตร์ว่า นิเทศศาสตร์ เป็น ๑ ใน ๔ เสาหลักของสังคม เพราะหากมองภาพรวม120 121


้ของประเทศก็จะประกอบไปด้วย ๔ ภาคส่วน ภาคส่วนที่หนึ่ง คือการเมืองการปกครอง การบริหาร ภาคส่วนที่สอง คือ เศรษฐกิจ ธุรกิจ อุตสาหกรรมภาคส่วนที่สาม คือ สังคมและประชาชน และภาคส่วนที่สี่ หรือ ฐานันดรที่ ๔คือ สื่อมวลชน ซึ่งทุกภาคส่วนล้วนส่งผลต่อบ้านเมือง โดยเฉพาะสื่อมวลชนต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้สื่อมวลชนมีอิทธิพลอย่างมาก ทำาอย่างไรให้สื่อมวลชนแสดงบทบาทได้อย่างเต็มที่“ผมไม่ได้บอกว่าสื่อมวลชนคือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์แต่สื่อมวลชนคืออะไรก็ได้ที่ทำาหน้าที่ของสื่อมวลชน มีหน้าที่หลักสองอย่างคือ ให้การศึกษา ถ้าเราพูดถึงเรื่องการศึกษา ไม่ใช่กระทรวงศึกษาธิการเพราะการศึกษามีทั้งในระบบและนอกระบบ ตรงส่วนที่อยู่ในระบบมีเพียงนิดเดียวในชีวิตของคนเรา เพียง ๓๐ % อีก ๗๐ % คือการศึกษานอกระบบตลอดชีวิต ตรงนี้เป็นหน้าที่ของสื่อมวลชน เพราะอย่างที่บอกว่าสื่อมวลชนไม่ได้จำากัดเฉพาะคนที่ประกอบอาชีพที่เรียกว่าสื่อมวลชน แต่ยังหมายรวมถึงคนที่ทำางานในบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แต่ให้การศึกษา ให้แนวทางชี้นำาแก่ประชาชนได้ ก็ถือว่าเป็นสื่อมวลชนได้เช่นกัน และบทบาทที่สองของสื่อมวลชนคือ การทำาหน้าที่สะท้อนความจริงตรวจสอบการทำางานของทุกภาคส่วน การชี้นำา ติติง ท้วงติงทุกๆ ด้าน และสื่อมวลชนยังมีหน้าที่ชี้นำาทั้งสามภาคส่วนและชี้นำาตัวเองด้วย เพราะฉะนั้นความรู้ความสามารถของคนที่จะเป็นสื่อมวลชนต้องรอบรู้ทัดเทียมกับทุกๆฝ่าย หรือมากกว่าทุกๆ ฝ่าย จึงจะสามารถไปแนะนำาเขาได้ สื่อมวลชนต้องรอบรู้การศึกษาการเรียนเพื่อเป็นสื่อมวลชน ต้องเรียนทั้งเศรษฐกิจ สังคมการเมือง รู้แน่นในเนื้อหาวิชา รู้ทันพฤติกรรม รู้เทคโนโลยี ที่จะเอาไปใช้ในการทำาหน้าที่สื่อสารมวลชน เพราะฉะนั้นถ้ามองสื่อมวลชนในบทบาทใหม่ผมว่าไม่ใช่ขาลงของนิเทศศาสตร์ แล้วต่อไปสังคมยิ่งต้องพึ่งสื่อมวลชนมากขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม บทบาทของคณะนิเทศศาสตร์ นักศึกษาที่เรียนด้านนิเทศศาสตร์ที่จะต้องออกไปเป็นสื่อมวลชนย่อมมองเห็นความสำาคัญของตัวเอง และรู้ว่าต้องเรียนอะไร ต้องรู้อะไร ต้องเก่งอะไร ต้องมีความสามารถอย่างไร” อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวนายอนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้อธิบายถึงที่มาและหลักการมอบรางวัลดังกล่าว และความหมายของโลโก้ว่า “สำาหรับการผลิตรางวัลนั้น เราก็ได้รับความร่วมมือจากคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการสร้างสัญลักษณ์และตัวรางวัลขึ้นมา ซึ่งที่ผ่านมานั้น สัญลักษณ์ของสื่อมีหลากหลายและใช้กันมาเป็นเวลานาน ทางมหาวิทยาลัยรังสิตจึงมองเห็นว่า “ฐานันดรที่ ๔ ที่จะร่วมสร้างสังคมธรรมาธิปไตยนั้น หมายถึง การร่วมสร้างสิ่งที่มีคุณค่า ดีงามอย่างสูงสุด” เราจึงมองเห็นและสื่อความหมายออกมาในรูปแบบสัญลักษณ์ของโลกุตรธรรม เป็นยอดพระเศียร ๙ ยอดของพระพุทธรูป ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมก็คือฐานันดรที่ ๔ หรือแปลเป็นความหมายได้ว่าสิ่งที่สูงสุดและ• ฐานันดรที่ ๔ หมายถึง สื่อมวลชน ที่จะร่วมสร้างสังคมธรรมาธิปไตย ร่วมสร้างสิ่งที่มีคุณค่า ดีงามอย่างสูงสุดโล่รางวัล จึงออกแบบขึ้นโดยอาศัยสัญลักษณ์ของโลกุตรธรรม• รางวัลฐานันดรที่ ๔ ทองคำา : ประเภทรายการโทรทัศน์ยอดเยี่ยม, รายการคนค้นฅนความรู ้ความสามารถของคนที ่จะเป็นสื ่อมวลชนต้องรอบรูทัดเทียมกับทุกๆ ฝ่าย หรือมากกว่าทุกๆ ฝ่าย จึงจะสามารถไปแนะนำาเขาได้ดีงาม ซึ่งสอดคล้องกับสื่อที่ดีงามและสังคมธรรมาธิปไตย พร้อมฝังโลโก้ของมหาวิทยาลัยรังสิตซึ่งผลิตด้วยทองคำาแท้”ด้วยเหตุนี้ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จึงจัดตั้งรางวัล “ฐานันดรที่ ๔ทองคำา” ขึ้น เพื่อมอบให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่สร้างสรรค์ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลได้จัดขึ้นในพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นต้นมาจบจากเรื่องการศึกษาและสื่อสารมวลชน ยังคงมีอีกประเด็นสำาคัญที่เป็นเป้าหมายต่อไป นั่นก็คือ ประเด็นเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นประเด็นสำาคัญของปณิธานการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรังสิตดร.อาทิตย์ ได้ให้ภาพความขัดแย้งซึ่งเป็นเรื่องจริงที่แสนเศร้าว่า ถึงแม้จุดแข็งของบ้านเราจะอยู่ที่การรักษาพยาบาล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้กลับตรงกันข้าม เพราะจะเห็นว่าคนไทยที่ใช้การบริการด้านการพยาบาลเข้าขั้นแย่เลยทีเดียว ที่เห็นได้ชัดคือ อัตราส่วนของทันตแพทย์ในภาคอีสาน อยู่ที่แพทย์ ๑ คน/คนไข้ ๒๐,๐๐๐ คนตรงนี้เองจึงเป็นที่มาของการต่อยอดทางความคิดในการยกระดับและพัฒนาการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งบุรุษผู้มักจะคิดไกลกว่าคนธรรมดาไปหลายช่วงตัวท่านนี้ ได้ต่อยอดจากนามธรรมจนตกผลึกกลายมาเป็นแนวคิดการก่อตั้งศูนย์ RSU Health Care ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารRSU Tower ซอยสุขุมวิท ๓๑ เพื่อเป็นศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาล ที่มีศาสตร์การรักษาแบบผสมผสานทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์แผนตะวันออก รวมอยู่ ทั้งนี้ นอกจาก RSU Health Care แล้ว ยังมีศูนย์การแพทย์ในเครือ เช่น RSU Vision Center, RSU Medical Care, RSUConsumer Care, RSU Development, RSU Innovation Productsและ RSU Medical Resort & Spa นี่จึงเปรียบได้กับสวรรค์ด้านการดูแลสุขภาพ และการรักษาพยาบาลเพื่อคนไทยทุกคนดวงตะวันดวงนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง ยังคงสานต่ออุดมการณ์ และยังคงส่องแสงประกายนำาทางให้แก่วงการการศึกษาของไทยเสมอมหาวิทยาลัยรังสิตจึงไม่เป็นสถาบันอุดมศึกษาบนหอคอยงาช้าง แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่ปลูกต้นกล้าแห่งความหวังที่มีคุณภาพคืนสู่สังคมไทย และหยั่งรากแก้วอย่างมั่นคง ตลอดจนเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านใบและให้ร่มเงาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด“มหาวิทยาลัยรังสิตความไม่มีที ่สิ ้นสุดแห่งคุณภาพการศึกษา”122 123


แผนผังภูมิทัศน์อาคารและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยรังสิต ๑ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ ๒ อาคารประสิทธิรัตน์ ๓ อาคารอุไรรัตน์ ๔ อาคารวิทยาศาสตร์ ๕ อาคารวิษณุรัตน์ ๖ อาคารโรงอาหารกลาง ๗ อาคารหอสมุด ๘ อาคารคุณหญิงพัฒนา ๙ อาคารประสิทธิ์พัฒนา ๑๐ อาคารวิทยาลัยดนตรี ๑๑ อาคารรัตนคุณากร ๑๒ อาคารรังสิตประยูรศักดิ์ ๑๓ อาคารสำนักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม ๑๔ อาคารนันทนาการ ๑๕ อาคาร Digital Multimedia Complex ๑๖ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต124 125


ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ ์และมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ ์ แห่งมหาวิทยาลัยรังสิตการทำาความดีสามารถกระทำาได้ทุกโอกาสและการทำาความดีมิเคยแบ่งแยกชนชั ้นวรรณะถึงแม้การทำาความดีนั ้นจะยากและเหน็ดเหนื ่อยตลอดจนต้องผ่านอุปสรรคนานัปการเพียงใดแต่หากได้ลงมือทำาเพื ่อประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองแล้วความดีย่อมสถิตอยู ่ตลอดกาลและควรค่าแก่การทำาให้ความดีนั ้นเป็นที ่ประจักษ์สืบต่อไป “พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”“กฤษณาสอนน้องคำฉันท์”พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปี ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากจะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนถึง ๔๔,๕๕๐ คนแล้ว ยังได้มีการมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณ และประกาศคุณงามความดีแด่บุคคลทั่วไป และกลุ่มคณะบุคคล จำนวน ๒๖ คนรายละเอียดต่อไปนี้ คือบางส่วนของคำประกาศเกียรติคุณ เพื่อยกย่องคุณงามความดีแด่ผู้มีคุณูปการต่อสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นับเป็นการเบิกศักราชใหม่ด้วยความเป็นสิริมงคลยิ่ง126 127


คำาประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ และคำาประกาศเกียรติคุณในวโรกาสที่มหาวิทยาลัยรังสิต ทูลเกล้าฯ ถวายและมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ประจำ ปี ๒๕๓๖สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชหฤทัยใฝ่ศึกษาในด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ และแสดงพระอัจฉริยภาพทางด้านพยาบาลอันเด่นชัด และสำาคัญยิ่งหาที่เสมอเหมือนมิได้ ควรแก่การกล่าวไว้ด้วย ณ ที่นี้คือ การเสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนข้าราชการ ทหาร ตำารวจ และพลเรือน เพื่อเป็นมิ่งขวัญและกำาลังใจให้แก่ทุกคน โดยไม่จำากัดเชื้อชาติ ศาสนา ด้วยพระเมตตาบารมีแก่ผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร และห่างไกลการคมนาคมผู้ใดที่ประสบความยากเข็ญ ได้รับทุกขเวทนาจากโรคภัยไข้เจ็บ ก็จะได้รับการขจัดปัดเป่าตามวิธีการที่ถูกต้องโดยไม่คิดมูลค่า จากหน่วยแพทย์อาสาในพระองค์ ซึ่งได้ทรงตั้งขึ้นและมีชื่อตั้งเป็นทางการว่า มูลนิธิหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ พอ.สว.และบัดนี้ได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิ ปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพสูงยิ่ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระเมตตาฝึกฝน อบรมบรรดาเจ้าหน้าที่อาสา ด้วยพระปรีชาอันชาญฉลาด บรรดาเจ้าหน้าที่อาสาทั้งหลาย ทั้งแพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานแพทย์อาสาในพระองค์ ต่างสนองพระราชปณิธาน ทุ่มเทกำาลังกาย กำาลังใจ โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย หรือลาภยศ ยังความอบอุ่นใจแก่ประชาชน ช่วยให้ผ่านพ้นจากโรคภัย มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้นโดยลำาดับ นับเป็นพระราชคุณูปการอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ประจักษ์ใจทั่วหน้า ทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศประจำ ปี ๒๕๓๗Dr.Pagbajabyn Nymadawaปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ฯพณฯ รัฐมนตรี Nymadawa เป็นผู้ที่อุทิศความรู้ความสามารถให้แก่การพัฒนางานด้านสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียมาตลอด โดยเริ่มเป็นอาจารย์และต่อมาเป็นหัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งชาติ แล้วย้ายไปเป็นหัวหน้าภาควิชาไวรัสวิทยา และได้เลื่อนตำาแหน่งเป็นรองผู้อำานวยการด้านวิจัยและพัฒนาในสถาบันแห่งชาติด้านสุขภาพ ระบาดวิทยา และจุลชีววิทยา กระทรวงสาธารณสุข จากผลงานที่ดีเด่นทำาให้ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี ๒๕๒๙ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี ๒๕๓๒ ผลงานด้านสาธารณสุขของ ฯพณฯ รัฐมนตรี Nymadawa นั้น เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ทำาให้ท่านได้รับเลือกให้ดำารงตำาแหน่งที่สำาคัญและมีเกียรติมากมายจากองค์การอนามัยโลก อาทิเช่นเป็นรองนายกสภาอนามัยโลก ครั้งที่ ๔๓ ในปี ๒๕๓๒ ณ เมืองเจเนวา เป็นนายกสภาอนามัยโลก ครั้งที่ ๔๔ ณ เมืองเจเนวา ในปี ๒๕๓๓ และเป็นกรรมการบริหารขององค์การอนามัยโลก ในปี ๒๕๓๔ - ๒๕๓๘ประจำ ปี ๒๕๔๓Mr.Vincent C. SiewHonorary Doctor of Philosophy in Philosophy, Politics and EconomicsHis Excellency Mr.Vincent C. Siew, the Premier of Taiwan’s outstanding achievement indicates hisdistinguished individual traits as a successful politician and economist who leads Taiwan to a successin economic development and growth. Moreover, His Excellency in well-respected by thepublic due to his earnest, modest and pleasant personality as well as his constant smile whichearns him the nickname “Smiling Siew”ประจำ ปี ๒๕๔๕นายชวน หลีกภัยปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์กว่าครึ่งชีวิตบนถนนการเมืองของนายชวน หลีกภัย เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น มานะพยายามในทุกวิถีทางที่รับใช้ประชาชนและประเทศชาติด้วยความอดทน ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในระบบรัฐสภาและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติ รัฐประหารหรืออุปสรรคทางการเมืองใดๆ ก็มิอาจสั่นคลอนหรือทำาลายเจตจำานงอันแน่วแน่และมั่นคงของ นายชวน หลีกภัย ลงได้128129


ประจำ ปี ๒๕๔๖ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นปูชนียบุคคลในวงการแพทย์ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตทางวิชาการหลากสาขา ที่ล้วนอำานวยประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพชีวิตประชาชนและชาติบ้านเมือง เป็นนักบริหารการแพทย์การสาธารณสุขที่กว้างขวาง ลึกซึ้งในวิสัยทัศน์ และการเชื่อมโยงวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน เป็นนักคิดที่น้อมนำาความคิดฝันไปสู่ความเป็นจริง ท่านเป็นผู้เบิกศักราชใหม่ให้มหาวิทยาลัยเอกชนเป็นสถานที่ผลิตแพทย์ แม้จะเป็นการสวนกระแสความรู้สึกของประชาคมแพทย์ในอดีต ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังช่วยเสริมสร้างให้เกิดความร่วมมือใหม่ระหว่างภาครัฐกับเอกชน ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ เกิดเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ที่ยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบันประจำ ปี ๒๕๔๗นางสาวกัญจนา สินธวานนท์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษนางสาวกัญจนา สินธวานนท์ เป็นผู้ทุ่มเทอุทิศแรงกายแรงใจให้การศึกษาอย่างเต็มที่ทั้งในสถาบันของรัฐและเอกชน โดยเน้นหนักการวางแผนและการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นผู้ก่อตั้งคณะทางด้านมนุษยศาสตร์ หรือทางด้านศิลปศาสตร์ นับตั้งแต่การกำาหนดโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาสำาหรับคณะดังกล่าว สะท้อนให้เห็นปรัชญา เหตุผล และวิสัยทัศน์ที่เอื้อต่อความเจริญและประโยชน์สุขของบุคคลและสังคมโดยรวมนายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ มีความรู้ความสามารถรอบด้านทั้งการบริหารรัฐกิจและทางกฎหมาย หลังเกษียณอายุได้เข้าทำางานเพื่อสังคมและการเมือง สะสมประสบการณ์จากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ ผู้ว่าการทางพิเศษ รองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร กรรมการ ก.พ. กรรมการสำานักงานกองทุนทดแทน กรมแรงงาน และกรรมการส่งเสริมแรงงานไทยไปต่างประเทศ จากการเรียนรู้ข้อจำากัดต่างๆ ของทางราชการและโอกาสในการที่จะเข้ามาช่วยลดช่องว่างของภาคเอกชน ส่งผลให้นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ก้าวเข้ามามีบทบาทสำาคัญในการริเริ่มและบริหารธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นการเริ่มเมื่อหลังเกษียณอายุ ด้วยความใส่ใจในการศึกษาและความรักในการเป็นครู นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ จึงเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียง โดยพัฒนาจากที่นารกร้างว่างเปล่าผืนใหญ่ในท้องทุ่งรังสิตที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าในอดีต วิสัยทัศน์อันกว้างไกลและความมุ่งมั่น อดทนและมานะพยายามของท่านส่งผลให้พลิกฟื้นคืนมาเป็นสถาบันอุดมศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยรังสิตที่ฝึกอบรมบ่มเพาะกำาลังคนเพื่อประเทศชาติมากมายหลายสาขาศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดาปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์คุณูปการที่ท่านศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดา เพียรประกอบไว้ในวงการแพทย์และสาธารณสุขนั้น เหลือที่จะคณานับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านแพทยศาสตรศึกษาอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้นำาความคิด เป็นแนวหน้า กล้าน้อมนำาให้เกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศได้สำาเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ท่านสามารถก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผลสำาเร็จและมีความก้าวหน้ามาตลอด จนถึงจุดที่ดำารงความเป็นสถาบันผลิตแพทย์ภาคเอกชนแห่งเดียวและแห่งแรกของประเทศไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดา ยังเป็นผู้ผลักดันให้ผู้จบการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยรังสิตเข้าสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมเป็นการพิสูจน์ศักดิ์ศรีแพทย์ที่จบจากภาคเอกชน ซึ่งกาลเวลากว่า ๑๕ ปี ได้พิสูจน์แล้วว่าบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาไปแล้ว ๑๐ รุ่น ๔๙๐ คน สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ มีความสำาเร็จในการศึกษาต่อยอดทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งปฏิบัติงานรับใช้สังคมกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคอย่างเต็มภาคภูมิรองศาสตราจารย์ละออ หุตางกูรปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์รองศาสตราจารย์ละออ หุตางกูร เป็นผู้เบิกศักราชใหม่ของการตั้งสถาบันการศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชน โดยมีจุดมุ่งหมายสำาคัญคือ การผลิตบัณฑิตเพื่อสนองตอบความต้องการของประเทศชาติ ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในภาวะขาดแคลนพยาบาล ในช่วงเวลาที่ผ่านมาท่านได้พิสูจน์ให้เห็นโดยประจักษ์ชัดในวงการวิชาชีพและสาธารณชนแล้วว่า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพและสุขภาพอนามัยของประชาชนมาโดยตลอดศาสตราจารย์เรืองศักดิ์ กันตะบุตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศาสตราจารย์เรืองศักดิ์ กันตะบุตร เป็นบุคคลซึ่งได้อุทิศตนเพื่องานสร้างสรรค์ด้านสถาปัตยกรรมมาโดยตลอด ดังผลงานสำาคัญทั้งในอดีตและปัจจุบันบางส่วน กล่าวคือ ท่านเป็นอาจารย์ประจำา โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ศาสตราจารย์ประจำาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณบดีผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ตลอดช่วงเวลาการทำางานของศาสตราจารย์เรืองศักดิ์ กันตะบุตร ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบสถาปัตยกรรม งานวิจัยทางสถาปัตยกรรม หรืองานการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรทางสถาปัตยกรรม ท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และด้วยความเชื่อมั่นในสิ่งที่กระทำา ยังผลให้เกิดความสำาเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณในวิชาชีพโดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและศักยภาพนายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็นแพทย์ที่มีหัวใจเป็นนักสาธารณสุข มีสายตาที่กว้างขวางและยาวไกล เป็นหนึ่งในผู้ร่วมผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุข ให้ฝ่ายรักษาและฝ่ายป้องกันมาอยู่ใต้สายการบังคับบัญชาเดียวกัน ร่วมคิดสร้างหลักสูตรแพทย์แนวใหม่เพื่อชนบท ผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือมหาวิทยาลัยรังสิตก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ได้เป็นผลสำาเร็จ โดยมีโรงพยาบาลราชวิถีเป็นสถาบันร่วมผลิต ซึ่งหากไม่มีท่านแล้วการศึกษาแพทย์คงไม่ขยายตัวกว้างขวางอย่างในปัจจุบัน ผลที่ได้รับย่อมตกอยู่กับบรรดาประชาชนผู้รับบริการ คุณลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของท่านคือ ความเรียบง่าย เสมอต้นเสมอปลาย มีวิถีชีวิตที่ “ติดดิน” ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ภูธรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ยังเป็นหมอไพโรจน์คนเดิมที่เป็นกันเอง เข้าได้กับคนทุกระดับชั้น มีนํ้าใจกับคนถ้วนหน้า130131


นางสาวอุทัย ทุติยะโพธิปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศนางสาวอุทัย ทุติยะโพธิ ให้ความสนใจและมุ่งมั่นในเรื่องการนำาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารจัดการและการบริการสารสนเทศในห้องสมุด ตลอดระยะเวลาการทำางาน ท่านอุทิศตนให้แก่วิชาชีพบรรณารักษ์และสารนิเทศ ทั้งระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการที่ปรึกษาของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหลายสถาบันนายบัณจบ พลาวงศ์ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์นายบัณจบ พลาวงศ์ เป็นปูชนียบุคคลในวงการการศึกษาด้านศิลปะ มีผลงานทางศิลปกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง คือท่านเป็นผู้วางรากฐานก่อตั้งคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต จนมีนักศึกษาสำาเร็จออกไปประกอบอาชีพเป็นจำานวนมาก หลายคนประสบความสำาเร็จทั้งในระดับชาติและนานาชาติ นำาชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่มหาวิทยาลัยรังสิตและประเทศชาติตลอดมาจนถึงปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์ประโยชน์ บุญสินสุขปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชากายภาพบำบัดผู้ช่วยศาสตราจารย์ประโยชน์ บุญสินสุข เป็นปูชนียบุคคลในวงการกายภาพบำาบัด เป็นนักวิชาการดีเด่นผู้หนึ่งที่ประยุกต์ภูมิปัญญาไทยให้ผสมผสานกับศาสตร์และศิลป์ใหม่ในสาขากายภาพบำาบัด เพื่อประโยชน์สุขด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน เป็นนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านกายภาพบำาบัดและงานการแพทย์ทางเลือก เพื่อส่งเสริมสุขภาพฟื้นฟูสภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งเป็นนักอนุรักษ์ที่ช่วยธำารงศิลปะการแพทย์แผนไทย ตลอดเวลาที่ท่านดำารงตำาแหน่งคณบดีคณะกายภาพบำาบัด เป็นเวลา ๑๖ ปี อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีความสำาคัญที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและความสำาเร็จของคณะกายภาพบำาบัด มหาวิทยาลัยรังสิตผู้ช่วยศาสตราจารย์เลอสรวง ชวนิชย์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์เลอสรวง ชวนิชย์ เป็นผู้ทำาคุณประโยชน์อย่างยิ่งให้แก่วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้นำาสถาบันการศึกษาภาคเอกชนในการผลิตนักเทคนิคการแพทย์และยังเป็นผู้เผยแพร่ให้วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเทคนิคการแพทย์ และสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการยกย่องเป็นผู้ทำาคุณประโยชน์แก่วิชาชีพเทคนิคการแพทย์อย่างแท้จริงออง ซาน ซูจีปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)ออง ซาน ซูจี ได้พยายามต่อสู้อย่างสันติเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศพม่า การต่อสู้ของเธอได้แสดงให้เห็นถึงคุณธรรมของมนุษยชาติ และเพื่อ “การมีชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์” เธอได้กล่าวว่า “ทุกคนต้องกล้าที่จะรับผิดชอบต่อความต้องการของผู้อื่น” “คนต้องกล้าที่จะรับผิดชอบ” และท้ายที่สุด เธอกล่าวว่า “ความต้องการประชาธิปไตยในพม่าคือการดิ้นรนของประชาชน เพื่อความอยู่รอดอย่างสมบูรณ์ มีชีวิตที่มีความหมาย มีอิสรภาพและมีความเท่าเทียมกันในฐานะของประชาคมโลก”ประจำ ปี ๒๕๔๘ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ปริญญาเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้ที่มีความแน่วแน่ในการสนับสนุนการค้าเสรีและการค้าที่เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีบทบาทที่สำาคัญในเวทีการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรีโดยเร่งลดภาษีสินค้าภายในภูมิภาค ซึ่งเป็นที่มาของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา กล่าวได้ว่าการที่ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันในกิจกรรมอาเซียนทำาให้ประเทศสมาชิกมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ส่งผลให้บทบาทการเจรจาต่อรองของอาเซียนในเวทีโลกเข้มแข็งยิ่งขึ้นคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาปริญญาบัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ในช่วงเวลาที่ท่านดำารงตำาแหน่ง ผู้ว่าการสำานักงานตรวจเงินแผ่นดิน ท่านทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินในโครงการต่างๆ ที่ดำาเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจอย่างไม่ย่อท้อ ผลงานของท่านประสบความสำาเร็จอย่างมากและส่งผลต่อผู้ที่ประพฤติมิชอบเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องอย่างเป็นรูปธรรม และนำาไปสู่มาตรการต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการกำากับดูแลการใช้จ่ายเงินตราของประเทศชาติแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เป็นผู้ที่ทุ่มเทกำาลังกายและกำาลังใจในการช่วยเหลือและผ่อนคลายความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับปัญหาทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ ช่วยคลี่คลายปัญหาโดยนำาความรู้ทางวิชาการมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นในการทำางานเพื่อสังคมและประเทศชาติ โดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคใดๆ และนำาความเจริญมาสู่วงการแพทย์นายโรจ งามแม้นปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวารสารศาสตร์นายโรจ งามแม้น หรือ “เปลว สีเงิน” เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ยึดถืออุดมการณ์และจรรยาบรรณวิชาชีพวารสารศาสตร์อย่างมั่นคง แม้ว่าตลอดระยะเวลาในการทำาหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารที่เป็นจริง ได้ถูกข่มขู่ คุกคาม แทรกแซง จากอำานาจที่ไม่ชอบธรรมทุกรูปแบบ แต่ “เปลว สีเงิน” ก็ยังคงยืนหยัด ท้าทาย เป็นเปลวที่ให้แสงสว่างแก่สังคมตลอดระยะเวลากว่าสี่ทศวรรษ132133


ประจำ ปี ๒๕๔๙มกุฎราชกุมาร ตองสา เพ็นลอป จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุกแห่งราชอาณาจักรภูฏานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์มกุฎราชกุมาร ตองสา เพ็นลอป จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงได้รับการสถาปนาให้ดำารงพระยศเป็น ตองสา เพ็นลอป ในปี ๒๕๔๗ ซึ่งตามโบราณราชประเพณีบ่งบอกถึงการที่พระองค์จะทรงสืบทอดราชบัลลังก์ในอนาคต เพื่อทรงสานต่อความมั่นคงยั่งยืนของสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรบนภูเขาหิมาลัยแห่งนี้ หลังจากที่ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชบิดา โปรดทรงถ่ายทอดโบราณราชประเพณี การทรงงาน และธรรมเนียมปฏิบัติแห่งองค์รัชทายาทอย่างเคร่งครัด มกุฎราชกุมารฯ ทรงดำาเนินพระกรณียกิจที่ล้วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นพระปรีชาสามารถทางด้านภาวะผู้นำาอันลํ้าเลิศ ทรงไว้ด้วยคุณวุฒินานัปการ พระเจตนารมณ์อันสูงส่ง ความมั่นในพระทัย และความกล้าที่จะเผชิญกับพระราชกรณียกิจอันหนักหนาท้าทายในการดำารงพระยศมกุฎราชกุมาร และการที่จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติที่พระราชบิดาโปรดพระราชทานในอนาคตประจำ ปี ๒๕๕๐หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือที่รู้จักกันในพระนามลำาลองว่า “ท่านมุ้ย” ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้กำากับภาพยนตร์ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย และระดับนานาชาติ โดยทรงเป็นผู้บุกเบิกศักราชใหม่ของวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ให้โดดเด่นและเป็นที่รู้จัก และยอมรับนับถือไปทั่วโลก นอกจากนี้ผลงานภาพยนตร์ของท่านถือเป็นแบบอย่างของภาพยนตร์ไทยแนวสะท้อนปัญหาสังคม ที่นำาไปสู่การพัฒนาด้านรูปแบบ และเนื้อหาของภาพยนตร์ไทยในระยะต่อมา และท่านยังได้รับการยกย่องในฐานะเป็น “ปรมาจารย์” ของวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในยุคปัจจุบันหม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองหม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ เป็นปูชนียบุคคลผู้ทรงเกียรติ ทรงคุณธรรม ผู้ลํ้าค่ายิ่งในกระบวนการยุติธรรม มีผลงานดีเด่นเห็นปรากฏทั้งในด้านการพิจารณาพิพากษาคดี การบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งผลงานทางวิชาการทางด้านกฎหมายอันหลากหลาย เป็นคุณูปการอันสูงส่งแก่การศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ของไทย สมควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างแก่นักวิชาการนิติศาสตร์ และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันนายสนธิ ลิ้มทองกุลปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้ที่ได้ทุ่มเทกำาลังกาย กำาลังใจ รวมทั้งกำาลังทรัพย์ ในการตีแผ่เปิดเผยข้อเท็จจริงของการบริหารบ้านเมือง โดยเฉพาะในประเด็นการทุจริตฉ้อฉลหาผลประโยชน์ทับซ้อน และการประพฤติมิชอบของนักการเมืองอย่างกล้าหาญและต่อเนื่อง ถือได้ว่ากล้าแสดงภาวะผู้นำาในยามที่ประเทศมีวิกฤตการณ์ผูกขาดครอบงำาโดยนักการเมืองที่มีอำานาจในทุกๆ ด้าน การกล้าแสดงออกของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นอกจากจะช่วยให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในอีกด้านหนึ่งเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยให้นักวิชาการ นักวิชาชีพ และประชาชนอื่นๆ เริ่มกล้าแสดงออกและมีกำาลังใจในการช่วยกันตรวจสอบดูแลพฤติกรรมของนักการเมืองได้อย่างมีพลังเพิ่มขึ้น134135


ประจำ ปี ๒๕๕๑คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองการทำาหน้าที่ของ คตส. ได้สร้างคุณูปการให้กับสังคมไทย และให้บทเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจสอบ โดยเฉพาะการตรวจสอบทุจริตและประพฤติมิชอบที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ การทุจริตเชิงนโยบาย ผลประโยชน์ทับซ้อน การขัดผลประโยชน์กันของผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ภาระภาษีและการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นปัจฉิมบทที่เป็นอุทาหรณ์และบทเรียนแก่ผู้ใช้อำานาจทางการเมืองและการบริหารประเทศต้องพึงระมัดระวังการดำาเนินงาน และการกระทำาตามนโยบายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศจะต้องถูกตรวจสอบและนำาตัวมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมสิ่งสำาคัญที่ คตส. ได้ฝากไว้ในประวัติศาสตร์ของแผ่นดิน คือ ทำาให้ประชาชนได้เกิดความสำานึกและตระหนักในความเป็นเจ้าของแผ่นดิน เจ้าของทรัพยากร เจ้าของประเทศที่ย่อมมีสิทธิหวงแหนและช่วยกันดูแลรักษาการจ่ายเงินของแผ่นดิน เพราะเงินของแผ่นดินที่มาจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติ ที่ต้องนำาไปใช้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน มิใช่นำาไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักบัญชีอิสระ ที่มีอุดมการณ์และความมุ่งมั่นที่ต้องการให้สังคมไทยพัฒนาและก้าวหน้าไปบนพื้นฐานแห่งสังคมที่มีความโปร่งใส เป็นธรรม และยุติธรรม ปลอดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นบุคคลผู้เปิดประเด็นการหลีกเลี่ยงภาษีของนักการเมืองซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำาที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ดำาเนินการตรวจสอบและในที่สุดอัยการได้ฟ้องต่อศาลยุติธรรมและศาลชั้นต้นได้มีคำาพิพากษาตัดสินจำาคุกบุคคลแล้วนายวีระ สมความคิดปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองนายวีระ สมความคิด ได้ใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ตรวจสอบนักการเมืองระดับสูงจนถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้ยุติบทบาททางการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี และที่เด่นชัดเป็นประจักษ์ต่อสังคม คือได้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำาความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเรารู้จักกันในนาม คดีการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมหรือคดีที่ดินรัชดา ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองได้พิพากษาลงโทษจำาคุกอดีตนายกรัฐมนตรี โดยไม่รออาญาเป็นเวลา ๒ ปี และคดีเป็นที่สุดแล้วนายเฉลา ทิมทอง และนางดาวัลย์ จันทรหัสดีปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมืองนายเฉลา ทิมทอง เป็นชาวประมงที่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔แต่เป็นผู้สนใจการอ่าน การเรียนรู้ด้วยตนเอง ติดตามข่าวสารบ้านเมือง รักความเป็นธรรมและผลประโยชน์ของส่วนรวม นายเฉลา ทิมทอง ได้มีบทบาทสำาคัญในการคัดค้านโครงการบ่อบำาบัดนํ้าเสียที่ คลองด่าน สมุทรปราการตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑ นอกจากนี้ นายเฉลา ทิมทอง ยังได้เรียบเรียงหนังสือ เปิดโปง “โคตรขี้โกง” บ่อบำาบัดนํ้าเสียคลองด่าน ความหนา ๖๔ หน้า และเอกสารแนบประกอบจำานวน ๑๒๖ ชุด เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้เส้นทางการทุจริตของโครงการดังกล่าวนางดาวัลย์ จันทรหัสดี เป็นผู้ที่มีบทบาทในการต่อสู้คัดค้านโครงการบ่อบำาบัดนํ้าเสีย คลองด่านสมุทรปราการ คู่กับนายเฉลา ทิมทอง โดยได้รับหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มองค์กรเอกชน เช่น เอ็น จี โอ และกรีนพีซทั้งนายเฉลา ทิมทอง และนางดาวัลย์ จันทรหัสดี ได้อาสาเป็นผู้นำาและเป็นปากเสียงของชาวบ้านคลองด่าน ในเรื่องของผลกระทบการก่อสร้างโครงการ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของชาวบ้านธรรมดาที่เอาจริงเอาจังกับการทำางาน กระทั่งสามารถนำาเสนอข้อเท็จจริงให้กับสาธารณะจนเป็นที่ยอมรับ และสร้างผลเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ประจำ ปี ๒๕๕๒นายปิติ สิทธิอำ นวยปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจนายปิติ สิทธิอำานวย ได้อุทิศตนเพื่องานและความจงรักภักดีให้แก่องค์กรเพียงแห่งเดียวตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนาน เป็นผู้ที่ยอมเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความดีงามที่โดดเด่นอีกประการหนึ่ง ของนายปิติ สิทธิอำานวย ในฐานะนักการธนาคารที่มีความใส่ใจมิใช่เฉพาะแต่ในเรื่องเศรษฐกิจ แต่มีความเข้าใจและห่วงใยในเรื่องของสังคม ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ตามปกติธรรมดา ธนาคารมักจะพิจารณาอนุมัติเงินกู้ในกรณีที่เห็นว่าจะมีผลกำาไรเป็นเงินทอง ธนาคารมักไม่ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษา เพราะเล็งเห็นผลกำาไรได้ลำาบาก และยึดลำาบากเนื่องจากมีนักศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่นายปิติ สิทธิอำานวย มองเห็นความสำาคัญของการศึกษาที่มีต่ออนาคตของชาติ แม้ดูจะไม่ได้กำาไรก็ยังให้การสนับสนุน แสดงว่ามองเห็นผลประโยชน์ส่วนรวม น่าจะเป็นแบบอย่างของธนาคารที่ไม่ใช่ทำาหน้าที่เสมือนเป็นเพียง “โรงรับจำานำา” เพราะการศึกษาคือรากแก้วของชาติ136137


138 139• ภาพ : สาขาศิลปภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ


จิตอาสาเรียนรู้ร่วมกัน สู่การสร้างสังคมแห่งการให้และการแบ่งปันคงมีไม่กี่คนที่สามารถเล่าเรื่องราวของมหาวิทยาลัยรังสิตได้อย่างถ่องแท้ ทุกแง่มุม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนับจากวันแรกเมื่อเริ่มก่อตั้ง จนถึงวันนี้ก็ ๒๕ ปีแล้ว หรืออาจเป็นผลมาจากการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องแบบเหินกระแส หรือแม้แต่ในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตมาด้วยกัน ซึ่งในท้ายที่สุด ก็จะมีไม่กี่คนที่ยังคงจดจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ แต่ได้แค่เพียงบางส่วน บางเรื่องเท่านั้น หากแต่ทำไม...ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังมีผู้คนรับรู้เรื่องราวของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่อีกเป็นจำนวนมาก และนับวันก็จะมีแต่เพิ่มมากขึ้นและมากขึ้น นั่นเป็นเพราะผลงานที่เกิดขึ้นจากคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และศิษย์เก่าที่ยังคงอยู่ และคอยทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง ทั้งเรื่องเก่า เรื่องใหม่ และเรื่องที่จะเกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วนในอนาคต ผลงานแห่งความภูมิใจนี้จึงมีผลงานที่มาจากงานจิตอาสา การวิจัย และงานสิ่งประดิษฐ์/งานสร้างสรรค์ ที่เป็นสิ่งยืนยันว่าเราคือเรื่องจริงและจะไม่เลือนหายไป…จุดเริ่มต้นจากการเป็นวิทยาลัยเล็กๆ จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยในปัจจุบันได้นั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างหนึ่งของชาวรังสิต เพราะการได้เรียนรู้จากสิ่งที่ไม่รู้ การได้ทำาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ หรือแม้แต่การได้รับจากสิ่งที่ได้ให้ ล้วนก่อให้เกิดเป็นความสุขที่แท้จริงอย่างมากมายแล้วในวันนี้ถ้าย้อนกลับไปในปีแรกๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่มีตึกเรียนไม่กี่หลัง บนพื้นที่ที่มองไม่ออกเลยว่าจะเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายได้อย่างไร เรายิ่งต้องสงสัยต่อไปว่าคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร เขามีวิธีคิดกันอย่างไร ที่ทำาให้เราได้เห็นกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนของนายแพทย์ศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ผลงานหนังสือการ์ตูนเรื่อง “ความหวังหลังมหันตภัยสึนามิ” จากคณะศิลปะและการออกแบบ แนวคิดเรื่อง “จิตตปัญญาศึกษา” จากคณะกายภาพบำาบัด ศิษย์เก่านักการพยาบาล เพื่อผู้ป่วยโรคเอดส์ จากคณะพยาบาลศาสตร์ การทำาหน้าที่เป็นล่ามของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ หรือโครงการอื่นๆ เป็นจริงขึ้นมาได้ หากไม่ได้มาจากความคิดที่ตรงกันของทุกคนว่า “การเป็นผู้ให้ เป็นความสุขใจมากกว่าการเป็นผู้รับ”หมอคนแรกของบ้านดินขาว จังหวัดเชียงใหม่นายแพทย์ธณัฐ วิทยานุลักษณ์ หรือหมอโน้ต จบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปี ๒๕๔๙ ปัจจุบันศึกษาต่อด้านรังสีวิทยาที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากการเรียน และการทำางาน หมอโน้ตยังทำางานเพื่อสังคมร่วมด้วย140 141


่เราจะรู ้ว่าคนๆ นั ้นมีความตั ้งใจมากน้อยแค่ไหน เราจะดูได้จากงานที ่เขาทำา ความรอบคอบทีเขามี และที ่สำาคัญ ใจที ่เขาให้การทำางานของหมอโน้ตที ่บ้านดินขาวไม่ใช่เพียงแต่การเดินทางเพื ่อไปรักษาเท่านั ้น แต่เขาได้บันทึกเป็นบทสรุป มีการติดตามผลของคนไข้ร่วมด้วยแรงบันดาลใจตอนหนึ่งของหมอโน้ต ที่ได้บันทึกและทูลเกล้า ฯถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำาเนินทรงเปิดบ้าน “สันตะมารีย์” และศูนย์การเรียนรู้ “สรรพวิทยา” ณ โรงเรียนเซนต์โยเซฟแม่แจ่ม บ้านดินขาว อำาเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะเป็นหมอผู้บำาเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมอย่างแท้จริง“เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ข้าพเจ้าซึ่งจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตในปีนี้ จึงอยากทำาความดีเพื่อร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตั้งใจที่จะนำาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์”เวลาที่ดูข่าวในพระราชสำานัก เมื่อเห็นพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำาเนินเยี่ยมราษฎรตามถิ่นทุรกันดาร และพระราชทานหน่วยแพทย์ให้ตรวจรักษาชาวบ้าน ข้าพเจ้าและแพทย์อีกหลายๆ ท่าน คงจะคิดเหมือนข้าพเจ้าว่า “ครั้งหนึ่งในชีวิต หากมีโอกาสได้ตามเสด็จ ฯ ไปตรวจรักษาชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร ก็คงจะมีความสุขใจมากแม้ข้าพเจ้าจะไม่มีโอกาสตามเสด็จ ฯ แต่ข้าพเจ้าก็ยังมีโอกาสได้มาตรวจรักษาชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางสาธารณสุขได้ และเหตุที่ได้มาที่หมู่บ้านดินขาวก็เพราะมาเซอร์มารีอักแนส(ซึ่งเป็นคุณน้า) ก็เพิ่งได้มาทำางานตามศาสนกิจที่บ้านดินขาวเป็นปีแรกเช่นกันข้าพเจ้าจึงได้รู้จักหมู่บ้านแห่งนี้”บันทึกที่ได้เขียนนั้น เป็นช่วงเวลาที่หมอโน้ตทำางานเป็นหมออย่างเต็มตัวแล้ว แต่จากประวัติของเขา ทางเดินของการเป็นหมอ ก็ไม่ได้ราบเรียบเท่าใดนัก“มาเซอร์มารีอักแนส บัวทรัพย์ (คุณน้า) เคยบอกกับผมไว้ว่า‘เป็นที่พึ่งของผู้ยากไร้ ดีกว่าเป็นผู้รับใช้ของเศรษฐี’ ผมจึงยึดเป็นคติประจำาใจ และก็ไม่เคยรังเกียจที่จะตรวจคนไข้ แม้ว่าคนไข้จะสกปรกแค่ไหน บางครั้ง• นายแพทย์ธณัฐ วิทยานุลักษณ์ หรือหมอโน้ตหมอนักบุญแห่งหมู่บ้านดินขาวก็ตรวจเท้าคนไข้โดยไม่ได้ใส่ถุงมือด้วยซํ้า เพราะผมเชื่อว่าทุกๆ คนก็มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าๆ กัน ผมไม่เคยถือตัวเวลารักษาคนไข้เพราะผมเองก็ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่รํ่ารวย ตอนเด็กๆ ก็เคยลำาบากมาก่อน ต้องทำางานช่วยเหลือครอบครัวตั้งแต่เล็ก แม้จะไม่ลำาบากเท่าคนอื่น แต่ก็พอจะรู้ว่าความลำาบากเป็นอย่างไร และในตอนนี้ เมื่อผมมีโอกาสที่ดีกว่าคนอื่น ก็อยากที่จะช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง”เราจะรู้ว่าคนๆ นั้นมีความตั้งใจมากน้อยแค่ไหน เราจะดูได้จากงานที่เขาทำา ความรอบคอบที่เขามี และที่สำาคัญ ใจที่เขาให้ การทำางานของหมอโน้ตที่บ้านดินขาวไม่ใช่เพียงแต่การเดินทางเพื่อไปรักษาเท่านั้น แต่เขาได้บันทึกเป็นบทสรุป มีการติดตามผลของคนไข้ร่วมด้วย“เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาบ้านดินขาว จึงไม่ได้เตรียมตัวมากนัก เพราะไม่รู้ว่าจะมีผู้ป่วยโรคใดบ้าง อุปกรณ์ที่นำามาด้วยก็มีแค่ ไฟฉายไม้กดลิ้น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดัน และหูฟัง ยาที่เตรียมมาก็มีแต่ยาแก้ไข้ แก้หวัด เท่านั้น และในครั้งนี้ก็ไม่มีบุคลากรทางการแพทย์มาช่วยการตรวจรักษาจึงเป็นไปอย่างยากลำาบาก เพราะจะต้องทำาเองทั้งหมด และชาวบ้านหลายๆ คนก็พูดภาษาไทยไม่ได้เลย ต้องใช้ล่ามช่วย ทำาให้ใช้เวลาในการตรวจรักษามาก”อย่างที่หมอโน้ตได้ตั้งใจไว้ว่า จะไปบ้านดินขาวทุกครั้งที่มีโอกาส นั่นจึงทำาให้เขาได้เดินทางไปรักษาชาวบ้านดินขาวแห่งนั้นอีกหลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งที่ไปจะมีการติดตามผลการรักษาและแก้ไขปัญหาของครั้งก่อนเสมอ“ตั้งแต่มารักษาที่บ้านดินขาว มีอยู่ ๒ ราย ที่ผมรู้สึกภูมิใจมากก็คือรายแรกเป็นเด็กชาวเขาคนหนึ่งรอการวินิจฉัยอยู่ว่าจะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือเปล่า ซึ่งแม่เขาพามาตรวจ เพราะเห็นว่ามีพัฒนาการช้า โตช้าแล้วลักษณะเขาคล้ายดาวน์ซินโดรม จากการตรวจก็พบว่า ลิ้นหัวใจรั่ว ผมก็ประสานส่งตัวไปตรวจยังโรงพยาบาลในเมือง พบว่า เด็กคนนั้นมีปัญหาที่หู และสาเหตุที่พูดไม่ได้คือ เขาไม่ได้ยินเสียงก็เลยไม่เรียนรู้ภาษา แต่ตอนนี้เขารักษาแล้วด้วยการผ่าตัดระบายหนองออกจากหู เรียกคำาว่า “แม่” และ “ยาย” ได้แล้ว อันนี้ผมดีใจมากๆ ที่อย่างน้อยช่วยให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นอีกหนึ่งรายเป็นโรคกระดูกงอกที่เข่าข้างซ้าย เป็นมาตั้งแต่อายุประมาณ ๑๐ ปี แรกๆ ก็ไม่เจ็บ ยังเดินไปไหนมาไหนได้อยู่ แต่พอผ่านไปจนเขาอายุ ๒๗ ปี ที่ได้มาตรวจกับผม กลับพบว่ากระดูกที่เข่างอกใหญ่ขึ้น ผมก็เลยส่งตัวไปผ่าตัดยังโรงพยาบาลในเมือง จนปัจจุบันนี้เขาสามารถเดินได้ปกติแล้ว”จาก ๓ ปี ที่มุ่งมั่นในการทำาหน้าที่ของหมอโน้ต และในวันนี้ที่ได้เข้าศึกษาต่อด้านรังสีวินิจฉัยที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเขายังคงตั้งใจว่าจะไปรักษาชาวบ้านที่บ้านดินขาวเป็นประจำาทุกปีนอกจากชาวบ้านดินขาว และคนอื่นๆ จะมีความภูมิใจในสิ่งที่หมอได้ทำาแล้ว มหาวิทยาลัยของเราก็มีความภูมิใจและปลื้มใจไม่แพ้กัน142 143


• กลุ่มนักศึกษาเจ้าของผลงานหนังสือการ์ตูนเรื่อง“ความหวัง หลังมหันตภัยสึนามิ”ความหวัง หลังมหันตภัยสึนามิหนังสือการ์ตูนเรื่อง “ความหวัง หลังมหันตภัยสึนามิ” หรือ (Tsunami:What Remains After) เปิดตัว เมื่อวันที่ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๔๘ เป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับการจัดพิมพ์ เป็น ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดบิ๊กบุ๊ก (๔.๔๘ x ๓.๒๐ เมตร) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (๑.๘๐ x ๑.๓๕ เมตร) และขนาดพ็อกเก็ต บุ๊ก (A5)อ.วิชัย เมฆเกิดชู อาจารย์ประจำาคณะศิลปะและการออกแบบ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการด้านการผลิตหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า “โปรเจ็กสึนามินี้ อ.อำานวยวุฒิสาระศาลิน คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ ผศ.พิศประไพ สาระศาลินรองคณบดีคณะศิลปะฯ และกลุ่มผู้ทำางานเริ่มต้นทำาขึ้นมา เพื่อเป็นการฟื้นฟูจิตใจและต้องการให้ผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้ได้อ่านแล้วมีความรู้สึกร่วมกันว่าชีวิตยังมีความหวังการทำางานในส่วนของเนื้อหาการ์ตูน เป็นการนำาเสนอผ่านแนวความคิดและฝีมือของนักศึกษาของคณะศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชานิเทศศิลป์และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต เป็นหลัก ซึ่งผมจะเป็นฝ่ายหาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์หรือหนังสือภาพรวมต่างๆ ส่วนนักศึกษาจะเป็นคนคิดพล็อตเรื่อง โดยเขาจะสร้างเรื่องจากการมองคนในวัยเดียวกัน นั่นก็คือ มองไปที่เด็ก พวกเราค่อนข้างละเอียดกับเรื่องราว เพราะต้องการให้หนังสือเล่มนี้ ช่วยให้สภาพจิตใจผู้คนดีขึ้น ทำาให้เขามองเห็นวันใหม่และมีความหวัง โดยผมให้แนวทางนักศึกษาว่า สิ่งที่เขาควรทำาเป็นยังไง ขอบเขตของงานเป็นยังไง แล้วท้ายที่สุดคนอ่านเรื่องนี้จบแล้ว เขาจะได้อะไรเรามีการแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล เช่น ผมทำาหน้าที่ในการจัดการ และการหาข้อมูลต่างๆ และ ผศ.ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล อาจารย์ประจำาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ช่วยดูแลเรื่องการผลิตวิธีการทำางานก็มีทั้งการร่างภาพ การวาดภาพในคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ภาพ การวางตัวหนังสือ เด็กๆ ก็ต้องมาทำางาน และกินนอนด้วยกัน เพราะทำางานกันเป็นเดือนตั้งแต่ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนแล้วไปสิ้นสุดประมาณเดือนธันวาคม”การทำางานเพื่อตนเองกับการทำางานเพื่อส่วนรวมนั้นแตกต่างกัน เมื่อประโยชน์ของสิ่งแรกอาจมีค่าเท่ากับหนึ่ง ในขณะเดียวกันสิ่งที่สองก็มีประโยชน์มากมายนับไม่ถ้วน และเมื่อใดก็ตามที่เราทำางานโดยไม่หวังผลตอบแทน ผลของความสำาเร็จมักจะเป็นความสุขและความภาคภูมิใจเสมอ“งานนี้สำาเร็จได้ด้วยทัศนคติ ด้วยความตั้งใจที่ผมมองว่าทุกคนมีความตั้งใจ รวมทั้ง อ.อำานวยวุฒิ และอ.พิศประไพ ซึ่งอาจารย์ทั้งสองท่านใส่ใจมาก เป็นห่วงตลอด และผมให้เครดิตอ.ธรรมศักดิ์ด้วย เพราะเขาดูแลเต็มที่จริงๆ มีเท่าไหร่ก็ใส่ให้จนหมด ซึ่งผมว่าเราเป็นทีมจริงๆ เป็นทีมที่แข็งแรงด้วย และเด็กๆก็ได้อะไรมากมายจากงานนี้ เป็นความภูมิใจของเขาที่งานเสร็จออกมาเป็นรูปเล่ม ซึ่งเขาทุ่มเทกันอย่างมาก เราจะไม่ได้เห็นง่ายๆในการเรียนการสอนหรือในชีวิตประจำาวัน”• หนังสือการ์ตูนฉบับขยายส่วน ขนาดบิ๊กบุ๊ก (๔.๔๘ x ๓.๒๐ เมตร)ช่วงแรกของการพัฒนานั้น เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลง หรือการเติบโตได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อการพัฒนานั้นไปไกลจนถึงที่สุดแล้ว เราอาจจะคิดว่ามันหยุดอยู่แค่นั้น หากแต่ที่จริงแล้ว ถ้าเราจะสังเกตอย่างถี่ถ้วน ก็จะพบว่า การพัฒนายังคงเคลื่อนที่อยู่ตลอด และเรารับรู้ได้ว่ามันเป็นอย่างนั้น ก็เพราะมันมีผลงานออกมาให้เราได้ชื่นชมสมํ่าเสมอนั่นเองจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)เริ่มต้นการใช้แนวคิดเรื่อง “จิตตปัญญาศึกษา” (ContemplativeEducation) ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภายในตนเองของนักศึกษาโดยอาศัยกระบวนการที่หลากหลายเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนมีความสุขและเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป้าหมายคือ ให้นักศึกษารู้เป้าหมายของตนในการมีชีวิตอยู่ เพื่อการสร้างความสุขและประโยชน์กับทั้งตนเองและผู้อื่นแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาแบบองค์รวมที่เน้นการเรียนรู้ในแบบต่างๆ คือ ๑.การเรียนรู้แบบบูรณาการและผสานสรรพศาสตร์ (Integrative & Transdisciplinary Learning) คือ การเรียนรู้ที่ไม่แบ่งแยกศาสตร์สาขาต่างๆ ออกจากกัน ๒.การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง(Experiential Learning) คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนนำาตนเอง เข้าสู่การลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ๓.การเรียนรู้ที่นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน (TransformativeLearning) คือ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงภายในของตนเองอันเกิดจากความสัมพันธ์ที่มีต่อโลกภายนอก โดยอาศัยจิตตปัญญาเป็นเครื่องมือซึ่งเครื่องมือและรูปแบบของจิตตปัญญาศึกษามีหลากหลาย เช่น การทำาสมาธิการทำางานศิลปะ ดนตรี บทกวี พิธีกรรม และศิลปะต่างๆ การฟังอย่างลึกซึ้งการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นต้น144 145


เ ร า จ ะ รู ้ ไ ด้ ทั น ที ว่ า นั กกายภาพบำาบัดคนไหน ที ่จบจากมหาวิทยาลัยรังสิตเพราะคนๆ นั ้น จะเข้าใจผู ้อื ่น และปฏิบัติต่อคนไข้ของเขาโดยใช้ใจรักษากายเนื้อหาบางส่วนในเอกสารเรื่อง กายภาพบำาบัด : จิตตปัญญาศึกษาโรงเรียนในชุมชน และหอผู้ป่วยชุมชน (Contemplative Education, CommunitySchool and Community Ward) โดยอาจารย์สุทิศา ปลื้มปิติวิริยะเวชทำาให้เรายิ่งสนใจสิ่งที่อาจารย์สุทิศา และกลุ่มเพื่อนอาจารย์ เล่าเรื่องจิตตปัญญาของคณะกายภาพบำาบัดมากยิ่งขึ้นการจัดการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา(Contemplative Education)“เบื้องต้นเราคิดว่าการเรียนการสอนที่ผ่านมา ไม่พอที่จะสร้างความเข้าใจเรื่องความเจ็บป่วย เพราะว่าคณะกายภาพบำาบัดเรียนเรื่องการดูแลสุขภาพของคนเพราะฉะนั้น เราก็ต้องเรียนกับผู้ป่วยจริงหลังจากที่เรียนพื้นฐานแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาจะเน้นการศึกษาแต่ตัววิชาเป็นหลัก เรียนแล้วคนไม่ได้เข้าใจตัวเอง และไม่ได้เข้าใจคนอื่น ดังนั้น เมื่อออกไปทำางาน เราก็ได้แต่เพียงเทคนิควิธีการ ซึ่งเรื่องนี้เราเห็นจากพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกในคณะ และเมื่อเด็กไปเจอผู้ป่วย เด็กก็ทำาตัวไม่ถูก เก้ๆ กังๆแนวคิดเรื่องจิตตปัญญาศึกษาไม่ใช่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เป็นแนวคิดทางการศึกษา เรานำาเรื่องนี้มาเสนอในคณะ แล้วคณะเห็นด้วย เราจึงเชิญวิทยากรมาอบรมให้อาจารย์ที่คณะ สิ่งที่เราอบรมเป็นการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่ทำาให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเอง เพราะเขาเชื่อว่า พอเราเข้าใจตัวเองแล้วจะนำาไปสู่ความเข้าใจคนอื่น ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่ประยุกต์แต่เป็นแนวคิดเพราะผู้ที่มาอบรมให้เราจากเสมสิขาลัยก็บอกว่า รูปแบบที่เขามาทำากิจกรรมกับเรา แล้วให้เราเรียนรู้ ไม่ได้แปลว่าเป็นคำาตอบที่จะเอาไปใช้กับเด็กได้ อาจารย์ต้องไปประยุกต์ใช้เอง ดังนั้น แนวคิดที่คนทั่วไป จะเข้าใจเรื่อง ‘จิตตปัญญา’ อย่างง่ายๆก็คือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำาหรับรูปแบบของจิตตปัญญาศึกษาที่จะใช้ในการเรียนการสอนนั้นขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ เช่น ขึ้นอยู่กับเด็ก หรือลักษณะวิชา ดังนั้น รูปแบบจะเปลี่ยนไปตามบริบท เช่น เราใช้การเล่นเกมกับเด็กปี ๑ เพราะเขายังเล็กๆ อยู่ ส่วนเด็ก ปี ๓ หรือ ปี ๔ เราก็ใช้โรงเรียนชุมชน (Community School) และใช้หอผู้ป่วยในชุมชน (Community Ward) มีมหาวิทยาลัย ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย เป็นหอผู้ป่วย เป็นแหล่งเรียนรู้”โรงเรียนชุมชน (Community School)“การใช้โรงเรียนชุมชน ทำาให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากเรื่องจริง ซึ่งเขาจะได้ใช้ทฤษฎีที่เรียนมา และได้รับรู้ถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมร่วมด้วย เช่นระบบประสาทในวิชากายภาพบำาบัด เราพาเด็กไปดูคนไข้อัมพาตครึ่งซีก พาเด็กเข้าไปดูในบ้าน เด็กจะได้เห็นทั้งคนไข้ และวิถีชีวิตของเขา เห็นความทุกข์ของเขาดังนั้น การลงไปชุมชนจริงๆ ทำาให้เด็กเห็นภาพจริงๆ กระบวนการรักษาคนไข้จึงไม่ใช่แค่เทคนิควิธีการ ไม่ใช่แค่ไปบอกคนไข้ว่า กลับไปต้องยกขากี่ครั้ง แต่ต้องช่วยคิดด้วยว่า แล้วจะทำายังไงให้คนไข้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง”หอผู้ป่วยในชุมชน (Community Ward)“เราคิดว่า หอผู้ป่วย หรือ Ward ไม่ควรอยู่แค่ในโรงพยาบาล ฉะนั้นบ้านคนไข้ก็เป็น Ward ของเราได้ เป็นโรงเรียนของเราได้ เพราะอีกไม่นาน งานและบทบาทของนักกายภาพบำาบัดจะไม่ได้อยู่แค่โรงพยาบาลอีกต่อไป และถ้าเราฝึกเด็กแบบนี้ ฝึกนักกายภาพบำาบัดแบบนี้ เด็กก็ไม่ได้ดูแค่การไปบำาบัดเหมือนใน Ward เด็กจะดูมากกว่านั้น ดังนั้น คุณภาพชีวิตคนไข้ดีขึ้นแน่นอน เมื่อพูดถึงงานของนักกายภาพบำาบัดในโรงพยาบาล ก็คือ ไปเดินตาม Ward แต่ถ้าเป็นนักกายภาพบำาบัดชุมชน ก็คือไปทั้งหมู่บ้าน”เราจะรู้ได้ทันทีว่านักกายภาพบำาบัดคนไหน ที่จบจากมหาวิทยาลัยรังสิตเพราะคนๆ นั้น จะเข้าใจผู้อื่น และปฏิบัติต่อคนไข้ของเขาโดยใช้ใจรักษากาย146 147


วิ ช า ชี พ ก า ร พ ย า บ า ลเป็นวิชาชีพที ่มีคุณค่ามีความจำาเป็นต่อสังคมและเป็นกิจการที ่มีการเปลี ่ยนแปลงและพัฒนาอย่างไม่มีที ่สิ ้นสุดควบคู ่ไปกับสังคมศิษย์เก่านักการพยาบาล เพื่อผู้ป่วยเอดส์โรคเอดส์เริ่มเข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงวันที่๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้นจำานวน ๑๔๙,๒๖๖ ราย ถ้าจะดูสถิติของผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ป่วยก็มีการคาดกันว่าน่าจะมีอยู่ประมาณ ๑ ล้านคนทั่วประเทศ หรือคิดแล้วก็เท่ากับผู้ติดเชื้อ ๑ คนต่อประชากรไทย ๖๐ คน หากดูเฉพาะประชากรไทยในวัย ๒๐ - ๔๐ ปี จะพบว่ามีผู้ติดเชื้อเอดส์ ๑ คนต่อคนหนุ่มสาวทุก ๔๐ คน โดยมีการสำารวจหาสาเหตุการตายจริงๆ ของประชากรในจังหวัดใหญ่ๆ หลายจังหวัดพบว่า เอดส์เป็นสาเหตุการตายอันดับ ๑ นำาหน้าโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ และยังไม่มีวัคซีนที่จะป้องกันโรคเอดส์ได้ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับ คุณพุทธิพร ลิมปนดุษฎี“พยาบาลที่สร้างสรรค์สุดยอดผลงานที่มีคุณค่าต่อผู้ป่วย HIV/AIDS” ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล HIV/AIDS มากกว่า ๒๐ ปี ณตึกอายุรกรรม หรือตึกผู้ป่วยเอดส์ ชั้น ๓ สถาบันบำาราศนราดูร ตลอดเวลาของการปฏิบัติงาน คุณพุทธิพรได้ทุ่มเทกำาลังและความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ชนิดถึงลูกถึงคน คุณพุทธิพรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรังสิตผู้นี้ ได้แสดงให้เห็นว่าวิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มีความจำาเป็นต่อสังคม และเป็นกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดควบคู่ไปกับสังคม กอปรกับพยาบาลที่มีคุณค่าต่อสังคม ต้องเป็นบุคคลที่พร้อมด้วยสติปัญญา มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและสังคม มีจิตสำานึกต่อการให้บริการและมีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ คุณพุทธิพร ลิมปนดุษฎี ได้สั่งสมความรู้ทางวิชาการ และประสบการณ์การทำางานด้านวิชาชีพการพยาบาล พร้อมกับการพยาบาลผู้ป่วยด้วยจิตใจเอื้ออารี รวมทั้งมีผลงานด้านวิชาการเป็นที่ประจักษ์มากมาย ทำาให้ปัจจุบันคุณพุทธิพร ได้รับวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาลเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง(Advanced Practice Nurse) สาขาการพยาบาลอายุรกรรม-ศัลยกรรม ที่เน้นการดูแลกลุ่มผู้ป่วย HIV/AIDS ณ สถาบันบำาราศนราดูร ในขณะเดียวกันได้รับรางวัลจาก CQI ดีเด่น หรือ Best Practice ของสถาบันบำาราศนราดูร รางวัลผลของการใช้ SHIP ในการพิจารณาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อดื้อยาระหว่างผู้ป่วย รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโทเรื่อง “ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในนํ้าไขสันหลังในผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่ได้รับการคาท่อระบายนํ้าไขสันหลัง”รางวัลพัฒนาการดูแลสามี ภรรยา/คู่สมรสของผู้ป่วยให้มี “Safe Sex” และรางวัลพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม รวมถึงการจัดกิจกรรม “บันทึกรักจากใจ...ผู้ป่วย” และทูตสันถวไมตรี เอชไอวีเพื่อเอชไอวี” และมีอีกหลายรางวัลที่เป็นที่กล่าวขานถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพยาบาลผู้มีจิตอาสาผู้นี้ภายหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโท คุณพุทธิพร ลิมปนดุษฎีได้รับรางวัลมากมายอาทิ รางวัล Citizen Hero จากสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๕๕๑ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับรางวัลถึง ๓ รางวัลด้วยกัน ประกอบด้วย รางวัล Humanize Health Care Award จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล รางวัลพยาบาลดีเด่นของกระทรวงสาธารณสุขหรือรางวัลเพชรกาสะลอง และรางวัลบุคคลดีเด่นด้านการแพทย์ เรื่องเอดส์จังหวัดนนทบุรีจากผลงานดังกล่าวข้างต้น กล่าวได้ว่า คุณพุทธิพร ลิมปนดุษฎี คือความภาคภูมิใจของเราชาวคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอย่างยิ ่ง148 149


รถไฟสายใต้ ขบวนที่ ๑๖๗ (กรุงเทพฯ – กันตัง)“ด้วยสถานีตำารวจรถไฟทุ่งสง กองกำากับการ ๓ กองบังคับการตำารวจรถไฟ ได้รับแจ้งจากข้าราชการตำารวจในสังกัดที่ปฏิบัตหน้าที่ควบคุมรถโดยสารขบวนที่ ๑๖๗ (กรุงเทพฯ - กันตัง) ว่า เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลาประมาณ๒๑.๓๐ นาฬิกา ขณะขบวนรถวิ่งอยู่ระหว่างสถานีราชบุรี - เพชรบุรี ได้มีเหตุการณ์พนักงานของรถเสบียงไม่สามารถสื่อสารให้ผู้โดยสารต่างชาติเข้าใจเกี่ยวกับการขายอาหารบนขบวนรถ จึงทำาให้เกิดความขัดแย้งจนมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำารวจประจำาขบวนรถดำาเนินการเจรจาไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่ตำารวจประจำาขบวนรถจึงได้รับความร่วมมือจากนักศึกษา ซึ่งเดินทางไปศึกษาดูงานและทำากิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์นอกชั้นเรียนในพื้นที่อำาเภอสวี จังหวัดชุมพร คือ นางสาวกฤติยากรดาระวัฒน์ และนางสาวกรกนก กวางอิน นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ มหาวิทยาลัยรังสิตโดยการเป็นล่ามแปลให้กับทั้งสองฝ่าย ปรากฏว่านักศึกษาทั้งสองคนสามารถใช้ภาษาให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถูกต้องตรงกัน และสามารถตกลงกันได้เป็นอย่างดีสถานีตำารวจรถไฟทุ่งสง กองกำากับการ ๓ กองบังคับการตำารวจรถไฟได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเจ้าพนักงานของนักศึกษาทั้งสองเป็นการแสดงออกถึงการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีคุณธรรม จริยธรรม สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมปัจจุบัน สถานีตำารวจรถไฟทุ่งสงจึงขอยกย่องชมเชย นางสาวกฤติยากร ดาระวัฒน์และนางสาวกรกนก กวางอิน ที่เป็นนักศึกษาที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัย ตลอดจนคณาจารย์และบุคลากรทุกท่านของมหาวิทยาลัยที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้และให้การอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และขอขอบพระคุณในการให้ความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ด้วย”ใจความบางส่วนจากจดหมายชมเชย ของสถานีตำารวจรถไฟทุ่งสงกองกำากับการ ๓ กองบังคับการตำารวจรถไฟ ที่เขียนมาชมเชยนางสาวกฤติยาพรดาระวัฒน์ และนางสาวกรกนก กวางอิน นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์“ตอนนั้น พวกหนูไปทำากิจกรรมกับเพื่อนๆ ค่ายทักษิณสัมพันธ์ประมาณ ๓๐ คน จะไปปลูกป่าที่ จังหวัดชุมพร ระหว่างขาไป ก็มีตำารวจมาถามว่า“มีใครพูดภาษาอังกฤษได้บ้าง” พวกหนูเรียนศิลปศาสตร์ เลยบอกไปว่า “หนูก็พอพูดได้ค่ะ ในเมื่อเราพอจะพูดได้ และยังจะได้ช่วยชาวต่างชาติด้วย ก็เหมือนกับว่าเราเป็นตัวแทนของเจ้าบ้านที่ดี ตอนนั้นพวกหนูไม่ได้กังวลอะไร แค่นึกถึงคำาศัพท์ได้ก็พูด ไม่ได้กังวลว่า ไวยากรณ์จะต้องถูกต้องเป๊ะๆ พวกหนูแค่ถามแล้วก็แปล แบบเดียวกับล่าม เพราะหนูคิดว่า ถ้าเอาความรู้สึกเราใส่ มันอาจจะแปลผิดไป”เราอาจจะคิดว่า การทำาเรื่องดีๆ ที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น ถึงจะพูดได้ว่า เป็นการทำาความดี แต่แท้จริงแล้ว การทำาเรื่องดีๆ วันละนิดละน้อย ก็เป็นสิ่งที่ทำาให้สังคมดีขึ้นอย่างมากมาย“ตำารวจเขามีจดหมายชมเชยส่งมาที่มหาวิทยาลัย ที่คณะก็เลยรู้เรื่อง พวกหนูก็รู้สึกดีใจ ไม่คิดว่าเขาจะเห็นความสำาคัญของเราขนาดนี้ เราคิดว่าการช่วยเขาเราอาจจะคิดว่า การทำาเรื ่องดีๆ ที ่ยิ ่งใหญ่เท่านั ้นถึงจะพูดได้ว่า เป็นการทำาความดี แต่แท้จริงแล้วการทำาเรื ่องดีๆ วันละนิดละน้อย ก็เป็นสิ ่งที ่ทำาให้สังคมดีขึ ้นอย่างมากมายมันเป็นนํ้าใจเล็กๆ น้อยๆ แค่นั้น ที่เราสามารถช่วยได้ ไม่ได้คิดถึงว่า อันนี้คือความดีหรืออะไร แค่เขาเดือดร้อนมา หนูก็อยากจะช่วย”ที่จริงแล้วพวกเราก็เป็นเด็กต่างจังหวัด ที่อยู่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ หนูอยู่ที่แพร่ เพื่อนอีกคนอยู่ที่ศรีสะเกษ เราก็เป็นเด็กยากจน ที่มาเรียนที่นี่ ก็เพราะได้ทุนพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัว ที่ มหาวิทยาลัยรังสิตถวายพระองค์ท่าน ทุนนี้เป็นทุนที่เด็กในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ที่ได้เกรดเฉลี่ยตอนมัธยมปลาย ๓.๕ ขึ้นไป สามารถขอทุนได้ ถ้าไม่มีพระเจ้าอยู่หัวไม่มี ดร.อาทิตย์ ไม่มี มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่มีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์พวกหนูก็อาจไม่ได้เรียนโรงเรียนดีๆ มหาวิทยาลัยดีๆ อย่างนี้”150 151


งานวิจัยก่อองค์ความรู้ ต่อยอดสู่การพัฒนาสังคมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สำาหรับสถาบันการศึกษาที่ผู้คนจำานวนไม่น้อยในสังคม ให้ความสำาคัญกับหลักสูตรการเรียนการสอน และความคาดหวังที่จะได้เห็นสถาบันการศึกษาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องของงานวิชาการเช่นเดียวกับเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ที่ไม่ได้จำากัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องของการเรียนการสอนเท่านั้น หากแต่ยังมองไปถึงงานด้านวิชาการอื่นๆ ร่วมด้วยโดยเฉพาะงานด้านวิจัย ที่เราไม่ได้จำากัดขอบเขตงานอยู่แค่ ผู้วิจัย หรืออาจารย์ เท่านั้น หากแต่งานวิจัยของเราหมายรวมถึง งานที่นักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันค้นหาคำาตอบ เราจึงมีผลงานวิจัยที่แตกต่างออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การวิจัยเรื่อง“รักษ์คลองของคนใกล้นํ้า กรณีพื้นที่คลองเปรมประชากร ตำาบลหลักหก อำาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี” ของนักศึกษาปริญญาโทจากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ผลงานวิจัยเรื่อง The DualEffects of Δ 9 -Tetrahydrocannabinol on Cholangiocarcinoma Cells: Anti-InvasionActivity at Low Concentration and Apoptosis Induction at High Concentrationของคณะเภสัชศาสตร์ งานวิจัยของ ดร.วินิตชาญ รื่นใจชน ศิษย์เก่าจากคณะเทคโนโลยีชีวภาพผลงานการพิสูจน์ Complement Component Factor B ยีนในคอมสมิทโคลนของแกะของศิษย์เก่าคณะเทคนิคการแพทย์ งานวิจัยเรื่อง “A Choice of Means of Dispute Settlementin International Practice: Thailand’s Experience” ของคณะนิติศาสตร์ และงานแขนกลและระบบควบคุมแขนกลสำาหรับพ่นสีสเปรย์ของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์งานวิจัยเพื่อคนรักษ์คลอง ของคนใกล้น้ำทรัพยากรนํ้าเป็นสิ่งจำาเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำาวันของมนุษย์ และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้ประเทศมีกิจกรรมที่มีความต้องการการใช้นํ้าเพิ่มขึ้น ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ จึงส่งผลให้ประเทศไทยประสบกับวิกฤตการณ์เรื่องนํ้า ทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพการขาดแคลนนํ้า นํ้าท่วม และมลพิษทางนํ้า นำาไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งแนวทางของการจัดการทรัพยากรนํ้าจะต้องมีการเน้นเรื่องการจัดการมากกว่าเน้นการจัดหาแหล่งนํ้าโดยยึดหลักการควบคุมอุปสงค์การใช้นํ้า และควรอนุญาตให้มีการเพิ่มอุปทานเพียงบางส่วนเท่าที่จำาเป็น ดังนั้น จึงควรให้มีการใช้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางนํ้า และผู้ใช้นํ้าเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจนด้วยเหตุนี้เอง อาจารย์ชุลีรัตน์ เจริญพร อาจารย์ประจำาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันกำาลังศึกษาต่อในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ทำาวิจัยโครงการ รักษ์คลองของคนใกล้นํ้า กรณีพื้นที่คลองเปรมประชากร ตำาบลหลักหก อำาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี บริเวณหมู่ ๕ และ หมู่ ๗ซึ่งเป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งดำาเนินโครงการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยทำางานวิจัยร่วมกับมูลนิธิชุมชนไทและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองปทุมธานี เป้าหมายหลักของโครงการคือ เพื่อสร้างการ152 153


มีส่วนร่วมกับชุมชนปทุมธานี ในแนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมและชุมชนที่เน้นการขยายผลตามแนวความคิดการร่วมกันจัดการ ดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่กำาลังเป็นปัญหา และรณรงค์ปกป้อง ป้องกันความเสื่อมโทรมที่จะตามมา โดยผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาทดลองวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นความร่วมมือกันของชาวชุมชนในพื้นที่ปทุมธานีเอง และความร่วมมือกันของคนในพื้นที่ข้างเคียงที่เกี่ยวข้องและให้การสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์สำาคัญประกอบด้วย (๑) ศึกษาสถานการณ์การใช้ประโยชน์ ปัญหา และการจัดการปัญหาของแหล่งนํ้าชุมชนเป้าหมาย (๒) ค้นหา และพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ บำาบัด ฟื้นฟูคลอง (๓) สนับสนุนกิจกรรมนำาร่องในการดำาเนินการบำาบัดฟื้นฟูในพื้นที่นำาร่อง (๔) เผยแพร่ รณรงค์ ขยายผลแนวคิดเพื่อพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมในการบำาบัด ฟื้นฟูแหล่งนํ้าในพื้นที่อื่นจากความพากเพียรที่เกิดขึ้นทำาให้ผลงานวิจัยของอาจารย์ชุลีรัตน์เจริญพร บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี อีกทั้งได้มีการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ บำาบัด ฟื้นฟูคลองเปรมประชา สร้างกิจกรรมนำาร่อง“ถังดักไขมัน” “ธนาคารนํ้าหมักชีวภาพเพื่อชุมชน” เพื่อบำาบัด ฟื้นฟูในพื้นที่แหล่งนํ้า และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ขยายผลแนวคิด เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและขยายไปสู่แหล่งนํ้าในพื้นที่อื่นๆทั้งนี้ อาจารย์ชุลีรัตน์ เจริญพร ได้เสนอแนวคิดว่า งานวิจัยจะเกิดผลการพัฒนาที่ดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งนํ้าอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานรัฐ องค์กรอิสระอื่นๆ และชุมชนเองต้องส่งเสริมให้นำาไปสู่การมีนโยบายที่ตอบสนองต่อปัญหา ขยายแนวความคิดด้านศักยภาพของกระบวนการการมีส่วนร่วมของส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการร่วมกันดูแลแก้ปัญหาและบำาบัดนํ้าเสียในคลองเปรมประชากรอย่างต่อเนื่อง ทั้งจะต้องให้การสนับสนุนและความร่วมมือแก่ชุมชนอย่างจริงจัง และสุดท้ายเงื่อนไขสำาคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ความสำาเร็จและความยั่งยืนของโครงการอนุรักษ์ฯ อยู่ที่ความพยายามที่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในพื้นที่อย่างกว้างขวางและยั่งยืนตลอดไปThe Dual Effects of 9 -Tetrahydrocannabinolon Cholangiocarcinoma Cells: Anti-InvasionActivity at Low Concentration and ApoptosisInduction at High ConcentrationSurang Leelawat,1 Kawin Leelawat,1,2 Siriluck Narong,2 andOraphan Matangkasombut1 Faculty of Pharmacy, Rangsit University,Patumthani, Thailand,1 Department of Surgery, Rajavithi Hospital,Bangkok, Thailand 2ABSTRACTCurrently, only gemcitabine plus platinum demonstrates the considerableactivity for cholangiocarcinoma. The anticancer effect ofΔ 9 -tetrahydrocannabinol (THC), the principal active component ofcannabinoids has been demonstrated in various kinds of cancers. Wetherefore evaluate the antitumor effects of THC on cholangiocarcinomacells. Both cholangiocarcinoma cell lines and surgical specimensfrom cholangiocarcinoma patients expressed cannabinoid receptors.THC inhibited cell proliferation, migration and invasion, and inducedcell apoptosis. THC also decreased actin polymerization and reducedtumor cell survival in anoikis assay. pMEK1/2 and pAkt demonstratedthe lower extent than untreated cells. Consequently, THC is potentiallyused to retard cholangiocarcinoma cell growth and metastasis.ข้างต้นคือ บทคัดย่องานวิจัยของ เภสัชกรหญิง ดร.สุรางค์ ลีละวัฒน์อาจารย์ประจำาคณะเภสัชศาสตร์ ได้เล่ารายละเอียดเพิ่มเติมว่า “งานนี้เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับต้นกัญชา ที่สนใจเพราะตอนไปเรียนปริญญาเอกที่ประเทศญี่ปุ่น ที่แล็ปเขาศึกษาต้นกัญชาอยู่ แต่ตัวเองไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับต้นกัญชา แต่ไปช่วยงานอาจารย์ที่เขาทำา เราก็เลยได้ค้นคว้าข้อมูลของต้นกัญชาไปด้วย และก็มีรายงานในหนังสือว่ากัญชาอาจจะมีฤทธิ์เกี่ยวกับมะเร็งได้ พอกลับมาก็ยังค้นคว้าต่อ”งานวิจัยเรื่องนี้ได้ทำาร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี พอลองทำาดูปรากฏว่าผลค่อนข้างดี เพราะ สามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะมี ๒ แบบ คือ แบบเพิ่มจำานวนมากๆ หรืออีกแบบหนึ่งคือ ถ้าเป็นระยะท้ายๆ มันจะลุกลามไปที่อื่น ตัวเซลล์มันจะขยับไปที่อื่นได้ และเซลล์มะเร็งแต่ละที่หน้าตาอาจจะคล้ายๆ กัน แต่ว่าคุณสมบัติในตัวมันเองไม่เหมือนกันตัวมะเร็งทางเดินนํ้าดี ค่อนข้างเก่ง เป็นตัวที่ยาก มีโปรเจ็กหนึ่งที่บอกว่าเซลล์มะเร็งตัวนี้ มันมีการหลบหลีกของตัวมันเองจากยาที่เข้ามาด้วย มันพัฒนาตัวมันเอง เพื่อจะซ่อนตัวเองและทำาให้มันดื้อยาด้วย และมะเร็งตัวนี้คนไทยเป็นกันมากขึ้น แล้วมีอัตราการเสียชีวิตสูง เพราะว่ากว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งก็เป็น154 155


• ธนารัตน์ เตชวุฒิวัฒน์ เจ้าของงานวิจัยระดับโลกที่พบว่า คนกับแกะมียีนบรรพบุรุษมาจากแหล่งเดียวกันNx 96 รวมถึงการสร้างระบบต่อเนื่อง เพื่อรองรับการทำา PCR แบบ Multiplexsด้วยเครื่อง Biomec NX span 8ดร.วินิตชาญ รื่นใจชน จึงเป็นความภาคภูมิใจของทุกคนในคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นบัณฑิตของคณะที่ได้นำาความรู้พื้นฐานที่ได้รับระดับปริญญาตรีไปต่อยอดในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกและสร้างผลงานการวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศจำานวนมากนอกจากนั้น ดร.วินิตชาญ ยังได้นำาความรู้ทั้งจากการเรียนและประสบการณ์การทำางานกลับมาสอนน้องและสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ เกิดความรักที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพอีกด้วยคนกับแกะมียีนบรรพบุรุษมาจากแหล่งเดียวกันธนารัตน์ เตชวุฒิวัฒน์ ศิษย์เก่าคณะเทคนิคการแพทย์ เจ้าของงานวิจัยระดับโลกที่พบว่า คนกับแกะมียีนบรรพบุรุษมาจากแหล่งเดียวกัน“งานวิจัยชิ้นนี้มีแรงบันดาลใจมาจากเพื่อนคนจีนที่ตอนนั้นเขากำาลังทำาปริญญาเอก ในสาขา Biomedical Sciences อยู่ ก็เลยขออาจารย์เข้าไปฝึกงานกับเขา เพราะเรากำาลังเตรียมตัวทำาวิจัยปริญญาโท แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำาวิจัยเรื่องอะไร เพื่อนเลยแนะนำางานวิจัยนี้ให้ตอนนั้นเพื่อนบอกว่ายังไม่มีใครค้นพบแฟคเตอร์บี ยีนของแกะได้ เราเลยอยากจะลองดู เพราะคิดว่าเป็นงานวิจัยที่น่าศึกษา จึงได้ไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งท่านก็เห็นด้วย จึงได้ตัดสินใจทำา และทำาได้สำาเร็จ หัวข้อวิจัยเป็นเรื่อง“การพิสูจน์ Complement Component Factor B ยีนในคอมสมิทโคลนของแกะ” เป็นการพิสูจน์ส่วนประกอบที่เป็นส่วนย่อยในระบบภูมิคุ้มกันของแฟคเตอร์บี ยีน ในคอมสมิทโคลนของแกะ และมีการนำายีนนี้ไปเปรียบเทียบกับแฟคเตอร์บี ยีน ของมนุษย์ จากงานวิจัยค้นพบว่า ส่วนประกอบที่เป็นส่วนย่อยของแฟคเตอร์บี ยีน จากแกะและลำาดับเบสแพร์มีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่าแกะและมนุษย์มียีนบรรพบุรุษมาจากแหล่งเดียวกันงานวิจัยเรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจาก ปัจจุบันนี้แกะในประเทศออสเตรเลีย ค่อนข้างมีปัญหาเกี่ยวกับโรคพยาธิมาก ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียารักษา ซึ่งแกะนั้นเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย และประเทศในแถบยุโรปอีกหลายประเทศ หากเราสามารถหายามารักษาโรคพยาธิของแกะได้ ก็จะสามารถช่วยรักษาสัตว์เศรษฐกิจไว้ได้ งานวิจัยกว่าจะมาถึงจุดนี้ต้องใช้ทั้งความพยายาม เวลา ความทุ่มเท สภาพจิตใจ เพราะ การทดลองทั้งหมด หากเราทุ่มเทใจไปเต็มร้อย ก็จะประสบความสำาเร็จ”หนึ่งปีของการทำางานวิจัย กว่าจะสำาเร็จลงได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นอกจากต้องอยู่ในห้องแล็ปทั้งวัน ทั้งคืนแล้ว ยังต้องต่อสู้กับความกดดัน และความทดท้อในใจร่วมด้วย ดังนั้น กำาลังใจจากคนรอบข้างจึงเป็นสิ่งสำาคัญ“พ่อเป็นบุคคลที่สำาคัญที่สุดในชีวิต เป็นผู้ที่ให้กำาลังใจยามท้อแท้ ไม่เคยดุ มีแต่กำาลังใจให้ลุกขึ้นมาใหม่ ความดีของพ่อเป็นแรงผลักดันสนับสนุนให้ลุกขึ้นสู้ จึงเป็นการสู้เพื่อพ่อจนมีวันนี้ และ ๔ ปี ที่เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยอาจารย์ที่ปรึกษาก็มีส่วนผลักดันอย่างมาก โดยเฉพาะตอนทำาโปรเจ็กผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษณา จรรยาพูน อาจารย์ได้ให้กำาลังใจเป็นอย่างมากรวมถึงอาจารย์ท่านอื่นๆ ซึ่งขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ให้กำาลังใจ ที่ทำาให้ได้มาถึงจุดๆ นี้ ถ้าไม่มีอาจารย์ทุกท่าน ก็คงไม่มีวันนี้”A Choice of Means of Dispute Settlement inInternational Practice, Thailand’s ExperienceBy Sompong SucharitkulThis paper presents an array of peaceful means used for the settlementof international and regional disputes in international practices,with particular emphasis on Thailand’s experience. In a fuller version,this article was published in Asia Pacific Law Review, Volume 17, SpecialIssue on Mediation@LexisNexis 2009. The Author is currently Deanand Professor of Law of Rangsit University in Thailand.1. Introduction: Broader Perspective of Settlement of InternationalDisputes.The purpose of this paper is to present “mediation” as one of theavailable practical means of international dispute settlement at theoption of the parties.2. Three Dimensional Concept of International Disputes:Disputes may be considered international or transnational from variousperspectives. They include at least three types of internationaldisputes, namelyDisputes between States,Disputes between States and Nationals of Other States (InvestmentDisputes),Disputes between private parties across national boundaries.3. Alternative Methods of International Dispute Settlement and TheirSuccessive UsesArticle 33 of the Charter of the United Nations mention a solutionby “negotiation, enquiry, mediation, conciliation, arbitration, judicialsettlement and resort to regional agencies or arrangements, or othermeans of their own choice.158 159


4. Negotiations, Wherever and Whenever Practical and UsefulNegotiations are by far the most commonly used means employed bythe parties in a search for a mutually acceptable formula or solutionto resolve their differences.5. Good Offices, Thailand as User of the Service and as Service Provider:“Good Offices” is used as a procedure whereby a third party ora third State, not party to the dispute, seeks through diplomatic meansto bring the parties to the dispute to a conference to resume more orless direct negotiations or to agree on a method of resolution of theirexisting conflict. Thailand has resorted to the use of good offices ofan impartial third person as well as acting as service provider of “goodoffices”.Examples of the service of good offices include:“Good Offices” of the United Nations Secretary-General in the Conclusionof Four Sets of Exchange of Letters between Thailand andCambodia (1960);Thailand’s ‘Good Offices’ for Malaysia, the Philippines and Indonesia,Following the Establishment of Greater Malaysia, Sabah and “Confrontasi”6. Mediation, as a Means of Dispute Settlement Used by ThailandInstances of Thailand’s use of mediation maybe mentioned:Mediation by Japan for Dispute between Thailand and France (1941);Mediation by the United States for Dispute between Thailand andFrance (1946), leading to the adoption of a conciliation commission.7. Conciliation, as Used by Thailand and in the Context of ASEANReference may be made to the following:(1) Creation of a Conciliation Commission chaired by a neutral thirdparty “Belaunde” of Peru, following Washington Accord 1946 betweenThailand and France;(2) Establishment of a Commission of Conciliators within the frameworkof ASEAN Dispute Settlement.8. Arbitration in the Contemporary Practice of ThailandTwo unreported cases may be discussed, viz., UNOCAL and Walter BauAG concerning the Don Muang Tollway.9. Adjudication, as and when Desirable or Inevitable(Temple of PhraViharn, 1962)The Temple of Phra Viharn Cases before the International Court ofJustice may be cited.10. Enforcement Measures, as and whenever AvailableEnforcement measures may be rarely available in international practice,barring self-help. In the recent decades, nevertheless, the 1981Algiers Accord through the good offices of Algeria the Iran/US Tribunalwas established at The Hague to access compensation for massiveclaims. Another more recent example is the creation of the UN CompensationCommission in the different Panels to award compensationto be paid by Iraq for damages occasioned buring the invasion andoccupation of Kuwait by Iraq.11. ConclusionMediation has assumed a broadening perspective, covering a majorportion of “good offices” as a less formal and less compulsive methodof conflict resolution.It is certainly one of the least unfriendly and most unobjectionable ofmethods utilized by States, especially in Asia, to settle their internationaland regional differences.160 161


แขนกลพ่นสีสเปรย์แขนกลและระบบแขนกลพ่นสีสเปรย์ เป็นผลงานทางวิศวกรรม ของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ งามสมเล่าถึงการสร้างผลงานนี้ว่า “สาเหตุที่เลือกทำาแขนกลพ่นสีสเปรย์ นี่เป็นเพราะว่าเนื้อหาในส่วนของแขนกล เป็นเนื้อหาส่วนที่มีความยากระดับต้นๆ และเราก็อยากทำาอะไรที่ค่อนข้างจะท้าทาย นอกจากเป็นประโยชน์เรื่องของการเรียนการสอนแล้วยังเป็นประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมด้วยประมาณร้อยละ ๓๐-๔๐ แล้วอีกอย่างก็คือ เรื่องของสุขภาพ เพราะเวลาพ่นสีละอองของสารระเหยต่างๆ มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสูดดมเข้าไป แต่แขนกลไม่มีปัญหานั้นงานนี้เป็นงานวิจัยที่เราได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ แล้ว Back up ของทุนวิจัยนี้ก็เป็นเปเปอร์ฉบับหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นงานของเราเอง คือเมื่อเรามีผลงานวิจัยแล้ว เราก็นำาทุนที่ได้มาใช้ในการสร้างผลงานของเราให้ออกมาเป็นรูปธรรม ทฤษฎีเป็นอะไรที่คนทั่วไปจับต้องได้ยาก เราอยากใช้ประโยชน์จากทฤษฎีอันนี้ให้เห็นชัดเจน เราก็เลยต้องหาสิ่งหนึ่งเพื่อมาแสดงว่า มันทำาได้จริงโดยเราทำาวิจัยเพื่อออกแบบโครงสร้างแขนกลแบบ 5 DOF ModifiedSCARA และระบบคอมพิวเตอร์แบบ CNC ไว้ควบคุมการทำางานของแขนกลให้เป็นอัตโนมัติ รวมทั้งสร้างต้นแบบของแขนกลและระบบควบคุม ทดสอบแล้วพบว่าแขนกลอันนี้ทำางานได้เร็วกว่าแรงงานที่มีทักษะสูงๆ ประมาณสามเท่าตัว ให้ผิวสีที่มีความเรียบและมีความมันเงาสูงโดยไม่ต้องผ่านขบวนการขัด แล้วยังลดการระบายอากาศและปริมาณสีใช้ให้ตํ่าลงถึงเกือบร้อยละ ๕๐ที ่จริงแล้ว มีหลายงานวิจัยหลายการทดลอง ที ่คิดค้นจนได้สิ ่งประดิษฐ์ที ่มีความเป็นสุดยอดของผลงานซึ ่งเป็นที ่ยอมรับในระดับสากล และหลายผลงานเห็นประโยชน์อย่างชัดเจนว่ามีคุณูปการต่อวิชาชีพในแขนงต่างๆ และเราก็เป็นหนึ ่งในนั ้นงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่เหนื่อยมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะเป็นงานวิจัยที่ยาก คือ ลักษณะของการทำางาน มันเป็นแขนกลตัวหนึ่ง ที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาในมหาวิทยาลัยรังสิตทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ตัวแขนกล การออกแบบทางกล วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำาหรับควบคุมการทำางานของแขนกล รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการทำางานของแขนกล เราทำาในมหาวิทยาลัยรังสิตร้อยเปอร์เซ็นต์ ทีมงานก็เป็นนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล แล้วก็มีนักศึกษาเก่าๆขยันๆ มาร่วมงานกัน ซึ่งผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาถ้าพูดถึงแขนกล ถูกค้นคิดและถูกใช้งานมาหลายสิบปีแล้ว ซึ่งเราจะเห็นว่ามีใช้ในการเชื่อม เช่น ตัวถังรถยนต์ มันจะมีบางชิ้นที่เกิดจากการเอาแผ่นโลหะมาเชื่อมติดกัน พวกนี้ใช้แขนกลทำาหมด แต่ว่าแขนกลที่มีขายโดยทั่วๆ ไป ราคามันสูง ตัวหนึ่งประมาณสองล้านบาท แล้วที่เขาขายโดยมากเขาจะต้องออกแบบให้รับได้กับงานทุกชนิด เพราะอย่างนั้นมันจะมี Specification บางอย่างที่มัน OverQualify มันเกินความจำาเป็นของการพ่นสีสเปรย์ ซึ่งถ้าเราไปซื้อโรบ็อทแบบนี้มาใช้มันเหมือนเราใช้มีดฆ่าโค ไปฆ่าไก่ พูดอย่างง่าย ก็คือ งานของเราออกแบบแขนกลมาให้เหมาะกับการใช้งานพ่นสีสเปรย์เป็นการเฉพาะ ก็จะทุ่นค่าใช้จ่าย”ที่จริงแล้ว มีหลายงานวิจัย หลายการทดลอง ที่คิดค้นจนได้สิ่งประดิษฐ์ที่มีความเป็นสุดยอดของผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และหลายผลงานเห็นประโยชน์อย่างชัดเจนว่ามีคุณูปการต่อวิชาชีพในแขนงต่างๆ และเราก็เป็นหนึ่งในนั้น“ตอนนี้แขนกลของเราถูกนำาไปใช้ในการเรียนการสอนที่แล็ปของมหาวิทยาลัย ซึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำาของรัฐเองก็มีโอกาสน้อยมากที่นักศึกษาจะได้มีประสบการณ์กับแขนกลจริงๆ ผมว่า เราอาจจะเป็นเพียงแห่งเดียวด้วยซํ้าที่นักศึกษาในระดับปริญญาตรี มีโอกาสที่จะรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีแขนกลลึกๆ ในระดับที่จะออกแบบและสร้างเองได้ นักศึกษาจะได้เห็นลักษณะการทำางาน ได้ลองใช้ และเขาจะได้รู้ลึกไปถึงข้างในว่า ถ้าเขาจะทำา เขาจะทำาได้ยังไง ซึ่งตรงนี้นักศึกษาระดับปริญญาตรีทั่วไปจะไม่มีโอกาสเลย ซึ่งผลงานบางอย่างมันมีความลับ ซึ่งของเราเองก็มีความลับเหมือนกัน แต่ผมก็บอกให้เด็กรู้ในระดับที่เด็กปริญญาตรีพอจะเข้าใจได้ซึ่งความลับลักษณะนี้ แม้แต่ตอนเราไปซื้อแขนกลเอง เขาก็จะไม่บอกกันคือ มันเป็นความลับของการวิจัย”นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงผลงานของเราให้แก่ผู้มาเยี่ยมชม อย่างเพื่อนๆ ของผมที่มาจากสถาบันอื่น เขาจะมาดูแล็ป เวียนกันดูแล็ปว่า ของใครมีความน่าสนใจอะไร เราก็ต้องมีอะไรบางอย่างที่สามารถจะบอกได้ว่า นี่เป็นของมหาวิทยาลัยรังสิต และมันเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถในระดับสูง• ส่วนหนึ่งของวงจรควบคุมระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้น162 163


งานสร้างสรรค์ความคิด ความฝัน ความดี ความงามจากรังสิตสู่ใจทุกใจเราได้รู้ว่า มหาวิทยาลัยรังสิตเติบโตขึ้นมากขนาดไหน ก็เมื่อตอนที่เราได้หยุดมองดูอย่างจริงจัง ในวันที่เรามีอายุ ๒๕ ปีนี่เอง และเมื่อเราลองทบทวนว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำาให้เราก้าวผ่านปีต่างๆ จนมาถึงปีที่ยี่สิบห้าได้อย่างรวดเร็วนั้นกลับพบว่า การไม่ยอมหยุดนิ่ง คือเหตุผลสำาคัญที่ทำาให้เราเติบโตขึ้นมาโดยตลอดนั่นไม่ใช่เรื่องพิเศษก็จริง แต่มันเป็นเรื่องวิเศษต่างหากที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเติบโตขึ้น เพราะการไม่ยอมหยุดสร้างสรรค์ผลงานนับแต่วันแรก จนถึงวันนี้เราเห็นว่าการสร้างสรรค์ได้เกิดขึ้นแล้วกับทุกผลงานอย่างมีคุณค่าตั้งแต่เขาได้เริ่มกระบวนการทางความคิด แค่เขาเริ่มคิด แค่เขาไม่หยุดคิด พิสูจน์ได้จากหลักสูตรการบิน จากสถาบันการบิน บทเพลงประกอบชุดการแสดงพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ ๒๔ จากวิทยาลัยดนตรี การออกแบบอาคารรูปทรงต้นกระบองเพชร จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ งานเทคนิค DigitalPainting มังกรจีน จากคณะศิลปะและการออกแบบ การออกแบบและสร้างเครื่องจำาลองความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ (Design and Construction of AutomaticBlood Pressure Simulator) จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานปลั๊กเสียบไฟฟ้า จากศิษย์เก่าคณะบริหารธุรกิจ ผลงานโฆษณายอดเยี่ยมประเภทสิ่งพิมพ์ จากศิษย์เก่าคณะนิเทศศาสตร์ ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงของคณะบัญชี การสร้างเกมเณรสิขาพิชิต๕ มารจากคณะเทคโลยีสารสนเทศ โมเดลปฏิรูปครู จากคณะศึกษาศาสตร์ การพัฒนาจากวันนั้นสู่วันนี้ ของคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ และแพทย์แผนไทย ศาสตร์ไทยระดับโลก จากคณะการแพทย์แผนตะวันออกเมื่อความฝันที่จะได้บิน ถูกเปิดโอกาสนับเป็นความมุ่งมั่นและท้าทายอีกครั้งของมหาวิทยาลัยรังสิตที่เปิดสถาบันการบินขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา แต่นั่นก็ยังไม่เท่ากับความตั้งใจที่ต้องการเห็นเด็กไทยได้บินโดยที่ไม่ต้องทิ้งความฝัน ซึ่ง พลอากาศโทสุนทร อารยะปรีชารองคณบดีฝ่ายวิชาการ เล่าว่า “การก่อตั้งสถาบันการบินของมหาวิทยาลัยรังสิตเริ่มจากดำาริของอธิการบดี ที่คิดว่าอาชีพนักบินน่าจะเป็นอาชีพซึ่งเยาวชนให้ความสนใจ เพราะขณะนี้ยังไม่มีสถาบันใดเปิดสอน ดังนั้น อธิการบดีเห็นว่า น่าจะมีคณะที่จะดำาเนินการในการผลิตนักบินของประเทศไทย หลังจากนั้น เราตั้งสำานักงานขึ้นมาก่อน คนที่ดูแลในเรื่องนี้ก็คือ ท่านที่เป็นคณบดีคณะต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำาหลักสูตรเป็นผู้ทำาขึ้นมา ซึ่งเราใช้เวลาในการดำาเนินการ ๖-๗ เดือน(เริ่มดำาเนินการปลายปี ๒๕๔๘) พอดำาเนินการขออนุมัติจัดตั้งหลักสูตร แล้วก็สามารถเปิดหลักสูตรได้ในปี ๒๕๔๙ ตั้งชื่อว่า “สถาบันการบิน หลักสูตรเทคโนโลยีการบิน” เราพูดได้ว่าเราเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย สามารถรับนักเรียนที่จบระดับมัธยมปลาย แล้วก็มาเรียน ๔ ปี หลักสูตรคือ เทคโนโลยีการบินสาขาวิชานักบินการเรียนของเราคือ การเรียน ๔ ปี แบ่งเป็นการเรียนในมหาวิทยาลัย๒ ปี และส่งไปเรียนกับโรงเรียนการบิน ๒ ปี ซึ่งเรามีคู่สัญญาอยู่ ๒ แห่ง แห่งแรกคือ บริษัท Bangkok Aviation Center (BAC) ดังนั้น เราเรียนจบ หลักสูตรพื้นฐาน๒ ปี จากมหาวิทยาลัย ก็ไปเรียนที่ BAC อีก ๒ ปี มีทั้งการเรียนวิชาภาคพื้น กับเรียน164 165


พอพิธีปิด นักกีฬาเขาขึ ้นมาบนอัฒจันทร์ ใกล้กับวงออเคสตร้า พอเราเล่นจบแล้วผมจำาได้ว่ามีนักกีฬาตัวสูงน่าจะเป็นนักวิ ่ง เขาก็มาจับมือผม แล้วบอกว่า “I’m veryhappy. Thank you verymuch” เราก็รู ้สึกดีมากจะเหนื่อยไม่ได้ หรือตอนที่เราทำาเพลงก็มีปัญหาบ้างเหมือนกัน ที่ตอนแรกOrganizer ไม่มั่นใจว่าเราจะเล่นสดได้เพราะมีเวลาเตรียมตัวน้อย แต่ในที่สุดเราก็เล่นได้ เขาก็ดีใจว่าเราเก่งมาก เราเล่นสดสิ่งที่ผมประทับใจคือ วันจริงเด็กๆ เขาเต็มที่มาก ทั้งพิธีเปิดพิธีปิด และช่วงรอ คืองานพวกนี้เขาจะนัดเผื่อ พอเวลาขึ้นไปแสดง ทุกคนเป็นนักแสดงหมด มีช่วงหนึ่ง ผมกำาชับเด็กว่า ต้องเป็นนักแสดงนะ ดังนั้น คุณต้องตั้งใจ ต้องไม่คุยกันบนอัฒจันทร์ ต้องยิ้ม ต้องมอง Conductor และเด็กก็น่ารัก ทุกคนเข้าใจดีว่า เรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ เราต้องการให้งานออกมาดี เพื่อมหาวิทยาลัย และประเทศพอพิธีปิด นักกีฬาขึ้นมาบนอัฒจันทร์ ใกล้กับวงออเคสตร้า พอเราเล่นจบแล้ว ผมจำาได้ว่ามีนักกีฬาตัวสูง น่าจะเป็นนักวิ่ง เขาก็มาจับมือผมแล้วบอกว่า “I’m very happy. Thank you very much” เรารู้สึกดีมากนักกีฬาต่างชาติก็บอกว่า คุณทำางานได้ดีมาก เพลงเพราะมาก เราก็ชื่นใจหลังจากจบงานก็มีคุยกับคณะทำางานว่า สิ่งที่เราได้จากงานนี้จริงๆ แล้ว คือเด็กทุกคนที่ร่วมงานด้วยกันนี่รักกันมากเลย รู้สึกสนิทกันมาก และคณะก็เป็นUnity มาก และเด็กๆ ทุกคน ก็มีความประทับใจ ทุกคนภูมิใจมาก ภูมิใจว่าตอนนั้นเราเป็นคณะเล็กๆ เพิ่งเปิดใหม่ แล้วเราทำาได้ขนาดนี้ส่วนที่เหนื่อยไปนี่ มันก็คุ้มค่าเมื่อเราไม่ปล่อยให้คำาว่า “งาน” เป็นสิ่งที่ต้องทำา หรือแค่ได้ทำา เราจึงได้เห็นว่า มักจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง หากแต่มีเพียงไม่กี่ครั้ง ที่งานนั้นเกิดขึ้น ยังคงอยู่ และเติบโตไม่สิ้นสุด• ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐธร ธรรมบุตรอาคารทรงกระบองเพชร กับแนวคิดGreen Architectureผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐธร ธรรมบุตร อาจารย์ประจำาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คุณวีรฉัตร พรหมศร และศิษย์เก่า ออกแบบอาคารทรงกระบองเพชร โดยใช้แนวคิด Green Architecture รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบอาคารกระทรวงเกษตร (Design Competition for MMAANew Office Building Tower) ที่กรุงโดฮา ประเทศการ์ต้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐธร ธรรมบุตร ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรางวัลนี้ว่า แรกเริ่มเลย เราเห็นแล้วว่าโลกร้อนเป็นประเด็นที่สำาคัญ ผมเองก็สนใจเรื่องนี้นานแล้ว คือ เรื่อง Green Architecture แล้วโจทย์ที่ได้มานี่ เป็นของกระทรวงเกษตรที่โดฮา ประเทศการ์ต้า เราก็มองว่า พืชพันธุ์ที่เป็น Symbolicของทะเลทราย เมื่อเรานึกถึงทะเลทราย พูดถึงทะเลทราย ก็คงไม่พ้นเรื่องของกระบองเพชร ทีนี้กระบองเพชรที่เป็น Local Plantation นี่ Sense ของมันจะมีบางอย่างที่เราสนใจเพราะฟอร์มของมัน ในด้าน Green Architectureจะมีแนวคิดที่ว่าตัวอาคารเอง จะต้องทำามุมด้านตรงกับแสงอาทิตย์ให้น้อยที่สุด ฉะนั้นใน Shape ของกระบองเพชร ด้วยรูปร่างของมัน ด้วยความกลมของมัน ทำาให้มันมีผิวที่รับแดดในมุมตรงน้อยที่สุด ส่วนในตัวรูปร่างที่มันเริ่มคอดลงมา เราก็จะสร้างแสงเงาด้วยตัวของมันเอง อันนี้เป็นตัวที่มาของฟอร์มก่อนว่าทำาไมต้องกระบองเพชรพอเราคิดว่าฟอร์มของมันเริ่มใช้ได้ เราก็มาดูที่ Significant ของมันกระบองเพชรก็มีอย่างอื่นอีก เช่น ตัวมันเองเปลี่ยนใบให้เป็นหนาม เพื่อเป็นการคายนํ้า Sense ต่างๆ เหล่านี้ เราก็เริ่มนำามาทำาเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของการออกแบบ ดังนั้น ตัวอาคารนี้เอง เรามองว่ามันต้องเหมือนกระบองเพชร คือ เก็บนํ้าได้ ป้องกันการคายนํ้าได้ อยู่ในทะเลทรายได้ มันมีความสมบูรณ์ด้วยกันทั้งหมดถ้าดูงานโดยละเอียด ก็จะเห็นว่าตัวอาคารมันมีความเป็นกระบองเพชร ลักษณะหน้าต่างเหล่านี้ ก็คือ หนามกระบองเพชร จากนั้นเราก็นำาสถาปัตยกรรมอิสลามใส่ลงไป ซึ่งจะปรากฏในตัวลาย Pattern ต่างๆ สิ่งที่Owner เขาชอบงานเรา ก็คือ มันไม่ได้จบแค่ตัวอาคารมันมีตัวทางเข้ารวมอยู่ด้วย พอเข้าไปปุ๊ปก็เหมือนขับรถ เข้าไปในป่า ลงจากรถในป่า แล้วค่อยขึ้นบันไดเลื่อนเข้าไปในตึก ซึ่งลักษณะนี้ตรงกับ Culture ของเขา เราต้องเข้าใจว่า ตัว Owner เองเขาก็ภูมิใจในความเป็นอาหรับของเขาอยู่มาก เราต้องดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมาให้ได้ และพยายามให้มีที่มาที่ไป เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะเอางานไปให้เขาดู เราจะไปเล่านิทานให้เขาฟังก่อน ว่าอาหรับราตรีเรื่องนี้ยาวขนาดนี้ พอเล่าเสร็จถึงเอางานให้ดู ว่านี่เราคิดอย่างนี้ คือเราพยายามจะเล่าให้ฟังก่อนว่า เราคิดอะไร นั่นเป็นวิธีที่เราใช้นำาเสนองานเพราะ ถ้าเราไปทำางานกับต่างชาติ เราจะติดปัญหาเรื่องการยอมรับ อยู่ดีๆถ้าเราเอางานไปเสนอ เราจะถูก List ประมาณโลกที่ ๓ ดังนั้น มีทางเดียวที่168 169


• Green ArchitectureDragon Chinese มังกรจากซีกโลกตะวันออกผลงาน Digital Painting รางวัล Top 30 Dragon Artist on France2007 (davientart.com) และรางวัล Top 30 Inspiring Eastern DragonIllustrations 2009 (Design Inspiring UK) ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมศักดิ์เอื้อรักสกุล อาจารย์ประจำาคณะศิลปะและการออกแบบ เป็นผู้ทำาให้มังกรของโลกตะวันออก ได้รับการชื่นชมจากโลกตะวันตกหัวข้อการประกวดภาพลักษณะนี้ เรียกกันว่า แนว Digital Paintingคือ เป็นภาพที่เขียนในคอมพิวเตอร์ และงานที่ประกวดนี้ เขาจำากัดว่าให้เป็นภาพดิจิตอล ในส่วนของหัวข้อที่เกี่ยวกับมังกร ต่างประเทศเขาก็จะมีจัดกันทุกปี สำาหรับงานในปี ๒๐๐๙ ก็เป็นกลุ่มศิลปินที่อยู่ในอังกฤษ เขาจัดขึ้นมา เรียกว่า DragonInspiration ซึ่งการประกวดปีนี้พิเศษตรงที่ว่า ต้องเป็นลักษณะมังกรของตะวันออกเท่านั้นการประกวดครั้งนี้จริงๆ เขาใช้วิธีการคัดเลือกจากผลงานที่เราไปโพสต์ลงบนเว็บไซต์ แล้วพวกศิลปินที่เขาทำางานเกี่ยวกับมังกรเขามาเห็นงานชิ้นนี้ เขาก็เลือกไป หนึ่งในกรรมการก็เป็นคนที่วาดรูปมังกรให้กับภาพยนตร์เรื่อง The Lordof the Ring งานของผมเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับคัดเลือกจริงๆ รูปนี้วาดก่อนการประกวดในปี ๒๐๐๙ รูปนี้เคยได้รางวัลเมื่อปี๒๐๐๗ มาแล้ว คือรางวัล Top 30 Dragon Artist on France 2007 (davientart.com) พอปี ๒๐๐๙ ได้รางวัล Top 30 Inspiring Eastern Dragon Illustrations2009 (Design Inspiring UK) โดยกรรมการพูดถึงงานของผมว่า สีของงาน คือ การใช้สีโทนเหลือง-เขียวดูแล้วมีเสน่ห์ของความเป็นเอเชีย โทนสีมีเอกลักษณ์ของศิลปะตะวันออก แต่ถ้าพูดถึงเอเชียคนตะวันตกเขาจะนึกถึงจีน ทิเบตก่อน ประเทศไทยยังไม่ค่อยนึกถึงจะสู้ คือ การสู้กับเขาด้วยแบบประกวด เพราะแบบประกวดเป็นวิธีเดียว ที่เราชกข้ามรุ่นได้ เพราะมันเป็นทางลัดซึ่งแนวคิดแบบนี้ ผมนำามาปลูกฝังให้ลูกศิษย์ด้วย เพราะเห็นว่าสถาปัตย์นั้นเป็นวิชาชีพ ตัววิชาการมันมีในระดับหนึ่ง แต่เราก็ต้องมีเทคนิคด้วยคือ เมื่อ Take a Job แล้วต้อง Deliver Job ให้ได้ อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ แนวคิดเรื่องแบบประกวด เราต้องพยายามทำาแบบประกวดกันเยอะๆ ฝากไปยังรุ่นอื่นๆด้วย เพราะว่าที่คณะมีคนดี มีฝีมือเยอะ แต่ต้องหาเวทีให้เขา เวทีเป็นอะไรที่เราสู้ได้ เราทำาแบบนี้ เราจะได้กล่อง (ชื่อเสียง) จากแบบประกวดของเรา• งานเขียนรูปมังกรจากซีกโลกตะวันออก (Dragon Chinese)170 171


ปั ญ ห า ต อ น ที ่ ว า ด รู ปมั ง ก ร ก็ คื อ ก า ร คิ ดเรื ่องลักษณะของการDesign คือ ผมมีข้อมูลเยอะก็จริง แต่ว่าจะคิดยังไงให้รูปออกมาเป็นแบบนี ้ได้ เพราะถ้าเราทำาไปโดยไม่ได้คิด สุดท้ายเราก็จะวาดมังกรออกมาเหมือนกับมังกรตามศาลเจ้าสำาหรับงานเขียนรูปมังกร ผมเขียนจากลักษณะการอ้างอิง ก็คือ หัวจะมาจากอูฐ จมูกเป็นไก่ แล้วก็เกล็ดเป็นปลา ขาเป็นนก อุ้งเท้าเป็นเสือ ผมต้องค้นหาข้อมูลเพื่อการเขียน เพราะตำานานมังกรจีน เป็นข้อมูลที่มีเยอะมาก ไม่เหมือนกับวรรณคดีไทยบางเรื่อง ที่หาได้ยากกว่ามังกร มังกรเป็นเรื่องสากล ที่หาอ่านได้ง่าย และเพราะว่า มันหาไม่ยากนี่ล่ะ ที่ทำาให้คนทำาผลงานออกมามาก แต่ว่าเราจะDesign งานของเราให้มันพิเศษกว่าคนอื่นได้ยังไง อันนี้เป็นสิ่งที่ยากกว่า ดังนั้น เราต้องเอาข้อมูลจริงๆ มาผสมกับสิ่งที่เราจินตนาการไว้ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพตรงนี้คนอื่นเขาถึงจะยกระดับงานเราออกจากภาพประกอบทั่วๆ ไป เช่น ถ้าอุ้งเท้าเป็นเสือ จะมีการวางท่ายังไง แล้วถ้าบอกว่าขาเป็นนก จะมีลักษณะยังไงปัญหาตอนที่วาดรูปมังกร ก็คือ การคิดเรื่องลักษณะของการ Designคือ ผมมีข้อมูลเยอะก็จริง แต่ว่าจะคิดยังไงให้รูปออกมาเป็นแบบนี้ได้ เพราะถ้าเราทำาไปโดยไม่ได้คิด สุดท้ายเราก็จะวาดมังกรออกมาเหมือนกับมังกรตามศาลเจ้าดังนั้น เวลาทำางาน ในส่วนของการเขียนรูป เราจะเขียนให้รู้สึกว่ามีความเป็น ๓ มิติโดยผมต้องมองภาพให้เป็น ๓ มิติก่อน ถึงแม้เวลาตอนเขียนภาพจะเขียนภาพเป็น๒ มิติ ก็ตาม ซึ่งลักษณะการเขียนมันมีส่วนที่สามารถทำาให้เวลามองแล้วรู้สึกว่าตรงนี้อยู่ข้างหน้า ตรงนี้อยู่ข้างหลัง หรือส่วนของครีบที่ดูไม่เท่ากัน และก็มีส่วนที่ลึกลงไป รวมถึงการสร้างโฟกัสที่เลียนแบบภาพถ่าย ที่เราทำาให้ตรงนี้ชัดขึ้น ตรงนั้นเบลอซึ่งปกติคนวาดรูปจะนึกไม่ถึง ก็จะวาดชัดเหมือนกันหมดเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการประเมิน เราจะทราบได้ทันทีว่า เราอยู่ในกลุ่มใดและทั้งที่เราจัดอยู่ในกลุ่มที่ดีแล้ว แต่เรากลับพบว่า ยังมี “ดีกว่า” หรือ “ดีที่สุด”อีก ทำาไมเป็นแบบนั้น นั่นก็เพราะ เหตุผลในส่วนของดีที่สุด คงมาจากความใส่ใจของแต่ละคน ที่มันสะท้อนออกมาจากงานของเขาอาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์หากจะกล่าวถึงการเรียนการสอนสายวิทยาศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้วนั้น มหาวิทยาลัยรังสิตก็ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีนักวิชาการคณาจารย์ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งการเรียนรู้นี้เป็นอย่างดี ซึ่งรองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ และหัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นอาจารย์ที่น่ายกย่องเป็นแบบอย่างของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตตลอดระยะเวลา ๒๐ ปี รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น ได้ทุ่มเท เสียสละริเริ่มและสร้างสรรค์ผลงานด้านต่างๆ ไว้มากมาย ผลงานเหล่านั้นเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา มหาวิทยาลัย และสังคมหลายชิ้นงาน ผลงานที่ภาคภูมิใจ ได้แก่ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านเป็นผู้ริเริ่ม พัฒนากระบวนการเรียนรู้ปฏิบัติการฟิสิกส์โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน• รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น(Computer Based Learning) สำาหรับจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์เป็นผู้ริเริ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้วิชาปฏิบัติการฟิสิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem Based Learning) สำาหรับจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์ ผลงานโครงงานของนักศึกษาที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าวยังได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลนวัตกรรมระดับประเทศ จำานวน ๒ รางวัล และได้รับการตีพิมพ์ทางสื่อมวลชนจำานวนหลายครั้ง ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวทำาให้นักศึกษามีความสุขและสนุก รวมทั้งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้นอย่างมีนัยสำาคัญ สามารถลดอัตราการตกออกของนักศึกษาในระดับชั้นปีที่ ๑ – ๒ของทุกคณะได้เป็นอันมากด้านงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิตนั้น รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น ได้ทำางานวิจัยและพัฒนาทางด้านเครื่องมือวัดเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จนสามารถนำาความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาพัฒนาสื่อการสอนและเครื่องมือห้องปฏิบัติการฟิสิกส์โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานหลายชิ้นงาน เช่นเครื่องมือวัดเวลา เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า ชุดทดลองปฏิบัติการเสมือนเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดทดลองเรื่องการหมุน พัฒนาเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติพัฒนาเครื่องจำาลองความดันโลหิตอัตโนมัติ และจัดทำา CD-ROM ชุด PhysicsSimulation กลศาสตร์ ไฟฟ้า และฟิสิกส์ยุคใหม่ เป็นต้น เนื่องจากชุดเครื่องมือดังกล่าว พัฒนาขึ้นโดยคนไทย ทำาให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการบำารุงรักษา และซ่อมแซมเครื่องมือ ถึงแม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกใช้งานอย่างหนักและยาวนานนอกจากนี้ รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น ยังได้ทำางานวิจัยอย่างสมํ่าเสมอและสามารถนำาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยในปีการศึกษา๒๕๔๔ – ๒๕๔๖ ภาควิชาฟิสิกส์ได้ร่วมมือกับบริษัทอินเทลเลค จำากัด นำาผลงานวิจัยเรื่อง ชุดเครื่องมือวัดปริมาณทางฟิสิกส์เชื่อมต่อกับระบบไมโครคอมพิวเตอร์ผลิตจำาหน่ายในเชิงพาณิชย์ในราคาถูก ให้แก่หน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศและยังได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้ต่างๆ เช่น ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ ให้แก่คณะครู อาจารย์ จากสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาทั่วประเทศเป็นประจำา และในปีการศึกษา ๒๕๔๔ได้จัดทำา CD-ROM ชุด Physics Simulation มอบให้แก่คณะครู อาจารย์จากสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษาทั่วประเทศนอกจากนี้ รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น ยังเป็นผู้ริเริ่มในการจัดทำาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ซึ่งปัจจุบันหลักสูตรดังกล่าวได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดรับนักศึกษาได้ตั้งแต่ปีการศึกษา๒๕๔๕ เป็นต้นมาผลงานต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้น เป็นเพียงบางส่วนที่ รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น ได้สร้างสรรค์ขึ้น จนทำาให้ได้รับรางวัล เกียรติบัตร และการยกย่องเชิดชูเกียรติมากมาย เช่น พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับตำาแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ดีเด่น สาขาการประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล172 173


• ภาพโฆษณายอดเยื่ยมประเภทสื่อสิ่งพิมพ์จากเมืองคานส์แรงบันดาลใจที่ทำาให้ผมอยากทำางานโฆษณา เกิดขึ้นหลังจากได้ดูโฆษณาโทรศัพท์โซนี่ อีริคสัน ชุด “ตก-รู” นั่นเป็นโฆษณาที่ทำาให้ผมเกิดความรู้สึกอยากเป็นครีเอทีฟ แต่ต้องบอกก่อนว่า วงการโฆษณาก็โหดสำาหรับเด็กจบใหม่งานโฆษณาเป็นอาชีพที่ไม่สามารถใช้ Resume สมัครงานได้ เราต้องใช้ Portfolioในการสมัครงาน และต้องเป็นชิ้นงานที่ใหม่ด้วย เนื่องจากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับไอเดีย ดังนั้น ไอเดียเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทุกเอเจนซี่ต้องการคนที่สามารถเข้าไปแล้วทำางานทันทีการเป็นครีเอทีฟที่ดี ควรมองอะไรที่เหนือจากสิ่งที่เป็นอยู่ ถ้าเราเป็นครีเอทีฟแล้วมองเหมือนคนอื่นๆ คุณจะเอาอะไรมาเรียกว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์เพราะความคิดสร้างสรรค์คือ การมองโลกหรือมองอะไรก็ตามในมุมที่ต่างไป แล้วนำามาเสนอในมุมที่คนทั่วไปไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น จนเกิดความชอบขึ้น นั่นคือ ความคิดสร้างสรรค์สูตรสำาเร็จ เป็นมาตรฐานที่ทำาให้ผู้คนสามารถทำาอะไรได้เหมือนๆ กันหรือเป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเราต้องการจะก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่ง เราต้องเป็นคนที่คิดสูตร เพื่อให้คนอื่นได้เดินตามนักบัญชีมืออาชีพ“การบัญชี” เริ่มมีการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕รัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการศึกษาทางด้านบัญชีมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการค้า และการจัดเก็บภาษี ข้อมูลทางบัญชี มีประโยชน์ต่อบุคคลภายในและภายนอกกิจการอาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพหนึ่งที่มีความรับผิดชอบสูง นักธุรกิจสามารถนำาตัวเลขทางบัญชีไปวิเคราะห์ผลประกอบการ ดูแนวโน้มทางธุรกิจ คาดคะเนการขาย วางเป้าหมายธุรกิจ และการใช้ข้อมูลทางบัญชีวิจัยทางด้านตลาดส่วนภาครัฐบาลสามารถนำาตัวเลขไปวางแผนด้านงบประมาณ การจัดเก็บภาษีและวิเคราะห์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (GDP) เป็นต้น ดังนั้นอาชีพนักบัญชีจึงไม่ต่างกับอาชีพแพทย์หรือนักกฎหมายที่ต้องมีความรับผิดชอบในวิชาชีพอย่างมากเช่นกันด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจของนายยศรัณย์ วัณณะพันธุ์ ผู้สำาเร็จการศึกษา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเข้าศึกษาในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๗ หลังจากที่เปิดดำาเนินการสอนคณะบัญชี ๑ ปี โดยมีปรัชญาการศึกษาด้วยการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้เป็นผู้มีคุณภาพ มีศักยภาพและสามารถใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนได้ตลอดชีวิต ถือเป็นภารกิจหลักที่สำาคัญขององค์กรการศึกษาดังนั้นคณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต จึงมีความมุ่งมั่นที่จะจัดการศึกษาทางบัญชีโดยเน้นความสำาคัญที่กระบวนการเรียนรู้ควบคู่กับหลักการประยุกต์ใช้ความรู้อาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพหนึ ่งที ่มีความรับผิดชอบสูง นักธุรกิจสามารถนำาตัวเลขทางบัญชีไปวิเคราะห์ผลประกอบการดูแนวโน้มทางธุรกิจ คาดคะเนการขาย วางเป้าหมายธุรกิจ และการใช้ข้อมูลทางบัญชีวิจัยทางด้านตลาดความสามารถด้านการบัญชีเพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติอย่างถูกต้องและมีคุณธรรม ด้วยปรัชญาการศึกษาของคณะบัญชีที่ว่า การผลิตบัณฑิตบัญชีที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมให้กับสังคมยศรัณย์ วัณณะพันธุ์ หนึ่งในคนคุณภาพที่มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนักบัญชีที่ดี ส่งผลให้เขาเป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อยกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์ มีผลการเรียนดีเยี่ยมและในระหว่างที่ศึกษาได้ทำาผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะบัญชีเป็นอย่างมาก อาทิในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการนักศึกษาคณะบัญชี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการนักศึกษา คณะบัญชี และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เข้าแข่งขันการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET Future Trading Challenge) ซึ่งจัดโดยตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ พร้อมกับได้เข้าแข่งขันการทำาบัญชีด้วยโปรแกรมสำาเร็จรูปทางการบัญชี (Auto Flight) ซึ่งจัดโดยสภาวิชาชีพในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ และที่เป็นพระกรุณาหาที่เปรียบมิได้ คือได้รับทุนประทานจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา เป็นทุนการศึกษาสำาหรับนักศึกษาชั้นปี ๔ ที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดีเยี่ยมมารยาทดี มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ และให้ความร่วมมือในการทำากิจกรรมของมหาวิทยาลัยด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ยึดมั่นในหลักคุณธรรมและจริยธรรมของนักบัญชีที่ต้องตระหนักถึงหน้าที่คุณความดีในวิชาชีพ โดยยึดหลักศีล คือความซื่อสัตย์ สมาธิคือ ความละเอียด รอบคอบในการทำางาน และปัญญาคือความมุ่งมั่นดำาเนินงานของตนจนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้นายยศรัณย์ วัณณะพันธุ์ จึงเป็นความภูมิใจของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอย่างยิ่งเณรสิขาพิชิต ๕ มาร เกมคอมพิวเตอร์แห่งธรรมะเณรสิขาพิชิต ๕ มาร เป็นเกมคอมพิวเตอร์ที่จัดทำาขึ้นเพื่อถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลที่ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชครบ๑๙ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑ อาจารย์ภณสุทธิ์ สุทธิประการ อาจารย์ประจำาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มต้นเล่าถึงที่มาของการสร้างเกมว่า176 177


การทำางานหนักอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สารธรรมะทั้ง ๕ ข้อ แพร่ไปยังผู้รับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เวลา ๗ เดือนแห่งความเพียรของการทำางาน ส่งผลอย่างภาคภูมิใจ“วันมาฆบูชา เราก็มีแผ่นเกมไปให้สำานักพระพุทธศาสนา นำาไปแจกที่พุทธมณฑล คนก็เข้าแถวรอรับแผ่นเกม หรือมาขอแผ่นเกมที่วัดบวรฯ หรือเด็กๆจะเขียนคำาอาราธนาศีล ๕ มา แล้วเราก็ส่งเกมกลับไป ตอนแจกเกมทางไปรษณีย์นี่แรกๆ ก็ติดปัญหาว่า มีระเบียบการทางไปรษณีย์เรื่องพัสดุ พอทุกคนรู้ว่า เราทำาให้กับสมเด็จพระสังฆราชฯ ท่าน เขาก็บอกว่า เอามาเลย เดี๋ยวจัดส่งให้ ทุกอย่างมันเรียบร้อยหมด นี่ก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์”• นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศการทำางานหนักอย่างต่อเนื ่อง ส่งผลให้สารธรรมะทั ้ง ๕ ข้อ แพร่ไปยังผู ้รับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เวลา ๗ เดือนแห่งความเพียรของการทำางานส่งผลอย่างภาคภูมิใจ• เกม “เณรสิขา พิชิต ๕ มาร”“สำานักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ ประสงค์ให้สร้างเกมส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยนำาคำาสอนทางศาสนามาไว้ในเกม เพื่อให้เยาวชนได้ซึมซับและตอนที่เราทำาเกมนี้ เราไม่มีทุนสนับสนุน ทางสำานักเลขาฯ ก็หาทุนไม่ได้ ผมจึงนำาเรื่องมาปรึกษากับคณบดีและหัวหน้าสาขาวิชา พอคณบดีทราบก็มาช่วย ให้เราทำาจดหมายขอทุนสนับสนุนจากท่านอธิการบดี ตอนแรกเราคิดว่าท่านอธิการบดีจะสนับสนุนงบจำานวนหนึ่ง แล้วเราต้องไปหาอย่างอื่นมาสมทบ ปรากฏว่าท่านให้ทุนมา ๒ แสนบาท ทางคณะฯ ก็ให้การสนับสนุนและผลักดันให้นักศึกษาที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเกมที่มาของการสร้างเกม เริ่มจากการดูข้อมูลว่าโครงสร้างของเกมศาสนาจะเป็นเกมลักษณะไหนดี ที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้เร็วที่สุด และพบว่า ศีล ๕ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ผมจึงนำามาใช้ เพราะศีล ๕ สามารถนำาไปปรับเนื้อหาของโครงสร้างเพื่อที่จะเล่นเข้าสู่ผู้รับได้ง่าย และคลุกคลีอยู่กับคนทั่วไป ก็เลยนำาตรงนี้ไปเสนอ ทางสำานักเลขาฯ ก็ตกลงจะทำาเกมเกี่ยวกับศีล ๕ ข้อ”ธเนศวร ธรรมลงกรต ตัวแทนนักศึกษาผู้ร่วมสร้างเกม เล่าว่า “เกมเณรสิขาพิชิต ๕ มาร เป็นเกมที่แฝงคำาสอนทางพุทธศาสนา เรื่อง ศีล ๕ ที่ต้องการให้ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานและได้แง่คิดคำาสอนทางศาสนาด้วย เป็นเกมของเณรที่มีนามว่า สิขา ต้องมาปราบมาร ๕ ตน ที่หลุดหนีออกมาจากนรก เข้ามาสิงอยู่ในญาติโยมของเณรสิขา โดยมารที่ว่า เกี่ยวกับศีล ๕ มีมารที่ชอบฆ่าสัตว์ มารหัวขโมยมารที่มากด้วยตัณหา มารที่ชอบพูดโกหก และมารที่ติดเหล้า ติดยาเสพติดให้โทษเณรสิขาจะต้องใช้พลังจิตที่ได้จากการฝึกสมาธิมาแต่กำาเนิด ต่อสู้ขัดขวางเหล่ามารที่สิงอยู่ในญาติโยมทั้ง ๕ ให้กลับมามีชีวิตเป็นปกติสุขอย่างเดิม”ไม่เพียงแต่เณรสิขา จะต้องพยายามเอาชนะมารในเกม หากแต่นอกเกมผู้สร้างสรรค์งานก็ต้องเอาชนะมารเช่นเดียวกัน“ช่วงทำาเกมเณรสิขาผมก็บอกเด็กๆ ว่า ห้ามดื่มเหล้า เขาก็ไม่ดื่ม ผ่านไปปีหนึ่ง ก็ยังไม่ได้ดื่ม นั่นเป็นข้อตกลงในช่วงของการทำาเกม ประมาณ ๗ เดือน ผมห้ามตามศีล ๕ แล้วเขาก็ทำาได้ หลังจากนั้น เขาก็ไม่ดื่มเหล้า ไม่เที่ยว ไม่ไปเฮฮาอะไร”นับจากนี้ คงไม่ต้องกังวล หากเด็กๆ จะติดเกม ถ้าเกมนั้นมีชื่อว่า เกมเณรสิขาพิชิต ๕ มาร เกมเณรสิขา ฝึกนั่งสมาธิกำาจัดนิวรณ์ ๕ หรือเกมเณรสิขาตอนพิชิตเส้นทางสู่ความสำาเร็จ (อิทธิบาท ๔) เพราะ เกมทั้งหมดนี้ เป็นเกมบริสุทธิ์ ที่เราตั้งใจสร้างแล้วชวนให้ติด ติดในธรรมะโมเดลปฏิรูปครูโมเดลปฏิรูปครู อาจเป็นคำาที่ต้องทำาความเข้าใจสักหน่อย สำาหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการการศึกษา หรือแม้แต่คนในวงการการศึกษาเอง ก็ถือว่าเป็นคำาใหม่ ที่รองศาสตราจารย์ ดร.รุจา ผลสวัสดิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ขยายความว่า“เรื่องโมเดลปฏิรูปครูนี้ เป็นความคิดริเริ่มของท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์อุไรรัตน์ ที่ท่านมีความเห็นว่า การศึกษาจะมีคุณภาพดีได้นั้น ครูจะต้องมีคุณภาพที่ดี ทีนี้ทำาอย่างไรที่เราจะสามารถผลิตครูที่ดี ก็คือ เบื้องต้น ตัวผู้ที่ตั้งใจจะเป็นครูก็ต้องเป็นคนเก่ง ควรจะจบทางด้านวิชามาก่อน (Subject Matter) อาจจะเป็นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ อะไรต่างๆ แล้วก็เป็นคนเก่งระดับปริญญาตรี ควรจะได้รับเกียรตินิยม จากนั้นก็มาเรียนต่อปริญญาโท โมเดลตัวนี้ เป็นโมเดลที่เขามีความเชื่อว่า เราจะได้ครูที่มีประสิทธิภาพ ตอนนี้เราจะทำายังไงที่จะทำาให้ความคิดหรือโมเดลตัวนี้ขยายเป็นวงกว้าง เพราะส่วนใหญ่เราก็ต้องมองดูค่านิยมของสังคมด้วยว่า บางคนเขามองว่า เขาเป็นคนเก่ง แต่เขาอาจจะไม่อยากเป็นครู”ทัศนคติส่วนตน และค่านิยมของสังคม เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จริงหากแต่ความมุ่งมั่นที่จะทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเรื่องใดๆ นั้น เป็นสิ่งที่จะท้อถอย หรือหยุดรอไม่ได้“โมเดลที่เป็นอุดมคติของท่านอธิการบดี คือ เมื่อเขาเรียนปริญญาตรี เขาเรียนประมาณสักสามปีครึ่ง แล้วก็เริ่มเรียนวิชาทางด้านการศึกษาต่อไปเลย ดังนั้นท่านเรียกว่า ๔ + ๒ = ๕ เท่ากับว่า เขาสามารถจบได้ภายใน ๕ ปี แล้วท่านก็คิดว่าถ้าเขามีความรู้ทางด้าน ICT กับภาษาอังกฤษที่ดี ไปทำางานก็จะได้เงินเดือนสูงกว่าปริญญาตรีธรรมดา”178 179


ส่งเสริม คือ จะต้องมีระบบที่เป็นวิทยฐานะ ๕. ปรับวัฒนธรรมการสอน เพราะสอนในแบบเดิม คุณไม่ได้เอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คุณเอาเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง คือ ต้องเรียนให้หมด ต้องให้รู้หมด ท่านก็บอกว่าไม่ให้ใช้ระบบนี้ ๖. พัฒนาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง คือ ไม่ใช่ว่าไม่รู้อะไรก็มาเป็นครู ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมในการคิดแบบนี้”คำาจำากัดความของโมเดลปฏิรูปครู คือ ต้องได้คนที่เก่ง เป็นคนที่มีสติปัญญาดี ที่จะเข้ามาเป็นครู เป็นคนที่ต้องมีอุดมการณ์ที่ว่า เมื่อเรามีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนตัวที่เราได้มา คนอื่นอาจจะไม่ได้อย่างเราเมื่อเราได้มาแล้ว เราก็ควรจะต้องคืนสิ่งนี้หรือให้สิ่งนี้กับคนที่มีไม่เท่าเรา ตัวนี้เป็นจุดเริ่มต้นเลยว่า ถ้าเราจะหาคนเก่งเข้ามาเรียน คนเก่งเหล่านั้น ก็ต้องเป็นคนที่มีอุดมการณ์ทัศนคติส่วนตน และค่านิ ย ม ข อ ง สั ง ค ม เ ป็ นสิ ่งที ่เราหลีกเลี ่ยงไม่ได้ก็จริง หากแต่ความมุ ่งมั ่ น ที ่ จ ะ ทำ า ใ ห้ เ กิ ด ก า รเปลี ่ยนแปลงต่อเรื ่องใดๆนั ้น เป็นสิ ่งที ่จะท้อถอยห รื อ ห ยุ ด ร อ ค ง ไ ม่ ไ ด้โมเดลที่ท่านอธิการบดีให้มา ท่านจะ Concern ในส่วนที่เป็น Inputคือ ท่านมีความเห็นว่า ถ้า Input มีคุณภาพ Output ก็จะมีคุณภาพ คือ ครูนั้นต้องเป็นคนที่เก่ง ถ้าครูเป็นคนที่ไม่เก่ง เรียนหนังสือพอผ่าน แล้วครูจะไปนำาคนอื่นได้อย่างไร ดังนั้น ปรัชญาของท่านคือว่า คุณต้องเป็นคนที่เก่ง เป็นคนที่ฉลาดและสามารถที่จะขับเคลื่อนความรู้ทาง Education คือ เทคนิคการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การดูแลการพัฒนาผู้เรียนว่าอาจไม่ต้องไปพร้อมๆ กันใครเก่งเราก็จะมีกิจกรรมเสริม ทำาให้เขาไปได้เร็ว ทำาให้เกิดอิสระในการคิด มีการคิดวิเคราะห์การสร้างงานที่มาจากพื้นฐานของอุดมการณ์ที่แรงกล้านั้น เรายิ่งต้องทุ่มเทกำาลังอย่างมาก เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ“หลัก ๖ ข้อที่ท่านให้ เหมือนกับเวลาที่เราสร้างศาลาหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นศาลาที่สวยงาม มันก็จะมีเสาด้วยกันทั้งหมด ๖ เสาหลัก ถามว่าในศาลาตัวนี้ต้องมีเสา ๖ ต้นหรือไม่ มันอาจมีไม่ถึงก็ได้ แต่มันจะประเสริฐมาก ถ้ามีครบทั้ง ๖ โมเดลนี้คือ อุดมคติ และ Idealism มันอยู่ที่ว่าเราจะทำา Idealism นี้ให้เป็นความจริงได้มากน้อยแค่ไหน เริ่มจากถ้าจะผลิตครูที่ดี ๑. ครูนั้นต้องเป็นคนเก่ง คือ ท่านต้องการให้เป็นคนที่ได้เกียรตินิยม ๒. ให้แรงจูงใจ ที่สำาคัญก็คือ ครูเป็นระบบที่ไม่ได้เงินเดือนสูง เพราะคนคิดว่า ครูเป็นผู้ให้ ท่านจึงบอกว่า เงินเดือนครูจบปริญญาตรีต้องเริ่มต้นประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาท พอจบปริญญาโทแล้วประมาณ ๑๗,๐๐๐ บาท๓. ให้มีความก้าวหน้า จะต้องสามารถมีพัฒนาการไปได้ทั้งชีวิต ไม่จำาเป็นว่าจะต้องไปเกษียณตอน ๖๐ ปี แล้วก็ไม่จำาเป็นต้องไปเป็นผู้บริหาร เพราะครูที่ทำางานเก่ง ส่วนใหญ่ไปเป็นผู้บริหาร เป็นผู้บริหารก็ไม่ได้ทำางานทางวิชาการ ๔. ให้โอกาสคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการกับการพัฒนาในวันนี้หากจะกล่าวถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศและแหล่งที่มาของการจ้างงานที่สำาคัญในประเทศต่างๆ จะพบว่าในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกเกือบ๗๐๐ ล้านคน ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวประเทศไทยมหาวิทยาลัยรังสิตจึงจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการ ในคณะศิลปศาสตร์ประกอบด้วย ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรม จากนั้นได้พัฒนาเป็นคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการอย่างในปัจจุบัน180 181


คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีนับตั้งแต่การจัดตั้งเป็นคณะ รวม๗๖๘ คน ระดับมหาบัณฑิต ๗๐ คน เพื่อออกไปรับใช้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และสามารถตอบสนองภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ นอกจากการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ การให้บริการวิชาการแก่สังคม และการทำานุบำารุงศิลปวัฒนธรรมไทยแล้ว ทางคณะยังทำางานวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ อย่างสมํ่าเสมอตลอดมา อาทิ งานวิจัยระดับชาติได้แก่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับรางวัลงานวิจัยเรื่อง “โครงสร้างของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย” (Thailand Tourism System) ดำาเนินการให้แก่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับรางวัลงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว”ดำาเนินการให้แก่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้จัดทำางานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจังหวัดภูเก็ตและกลุ่มอันดามัน(กระบี่ พังงา) หรือ Sustainable Tourism Development of Phuket andAndaman Cluster (Krabi-Phang Nga) โดยมุ่งดำาเนินการให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นจากการประชุม RSUResearch Conference เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๑ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ได้แก่งานวิจัยเรื่อง “การจัดทำาโครงการพัฒนามาตรฐานบริการเพื่อการท่องเที่ยวกรณีมาตรฐานการให้บริการในสถานที่จำาหน่ายสินค้าของที่ระลึก (สินค้าอัญมณี) และการสำารวจความคิดเห็นต่อการเสนอให้บริการของสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย” โดยดำาเนินการให้แก่สำานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (ปัจจุบันคือ กรมการท่องเที่ยว)กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬางานวิจัยที ่มีความโดดเด่นเป็นที ่รู ้จัก และสร้างชื ่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แก่ งานวิจัยเรื ่อง “A Study ofBrochure Developmentby the UK TourOperators for ThailandDestination : A QuestionnaireAnalysis”นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่คณาจารย์ทำางานวิจัยร่วมกับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบริการ ส่งให้แก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เรื่อง “Thailand’s DestinationImage for Teens and Young Adults : Social Interaction Convenience,and Fun are Keys”ทั้งนี้งานวิจัยที่มีความโดดเด่นเป็นที่รู้จัก และสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แก่ งานวิจัยเรื่อง “A Study of Brochure Developmentby the UK Tour Operators for Thailand Destination : A QuestionnaireAnalysis” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน The 10 th International Conferenceon Thai Studies เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และอีกผลงานคือ งานวิจัยเรื่อง“วัฒนธรรมการกินของไทย” เสนอต่อที่ประชุม 14 th ARAHE Congress 2007ณ ประเทศมาเลเซียนอกจากนั้น คณาจารย์ของคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ ยังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการ อนุกรรมการในส่วนของทางราชการและเอกชน อาทิ กรรมการมาตรฐานโรงแรมของสำานักงานพัฒนาการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการและอนุกรรมการตรวจสอบและพิจารณามาตรฐานโรงแรมส่วนกลาง ภายใต้คณะกรรมการบริหารมูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว กรรมการมูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย คณะอนุกรรมการสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ในคณะกรรมการฝ่ายวิชาการประกันคุณภาพศึกษาของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย รวมทั้งได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในการสัมมนา และเป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษให้แก่สถาบันการศึกษาอื่นๆ อีกเป็นจำานวนมากจากพลังการขับเคลื่อนขององค์กรซึ่งประกอบด้วย คณบดี คณาจารย์และนักศึกษา ส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น องค์ประกอบขององค์กรเหล่านี้ คือพลังสำาคัญที่ทำาให้คณะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้แพทย์แผนไทย ศาสตร์ไทยระดับโลกคณะการแพทย์แผนตะวันออก เปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๖ถึงวันนี้ได้สร้างบัณฑิตเข้าสู่การเป็นแพทย์แผนไทยอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน เป็นฝ่ายควบคุมคุณภาพ เป็นนักวิจัยและพัฒนาในโรงงานผลิตยาและอาหารเสริม เครื่องสำาอาง ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านสุขภาพและความงามเป็นจำานวนมาก ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพจน์ วงษ์ใหญ่ หัวหน้าหมวดวิชาพืชไทยพัฒนา คณะการแพทย์แผนตะวันออก เล่าถึงความมุ่งหวังของคณะว่า มีการพัฒนาในหลายมิติ ดังนี้• ส่วนหนึ่งของกิจกรรมในคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ182 183


• หน่วยแพทย์จากคณะการแพทย์แผนตะวันออก ขณะออกบริการสุขภาพชุมชนภาคอีสานมิติด้านการอนุรักษ์ วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออก“ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดบู้ธให้เราเป็นพาวิลเลี่ยนใหญ่ ชื่อว่า Food & Health ซึ่งต้องการให้เราเป็นโมเดลของประเทศไทย ในการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย แล้วนำาภูมิปัญญามาปรับใช้ในระบบบริการของชาติอย่างชาญฉลาด ซึ่งเรื่องการวิจัย การพัฒนาวิชาการ และการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่คณะ ผลักดันอย่างมากเราต้องมีงานวิจัยทั้งระดับปริญญาโท ปริญญาเอกที่เป็นสายของเรา ที่เป็นพื้นความรู้ภูมิปัญญาไทยในเรื่องของสุขภาพ”มิติด้านจิตอาสา คณะการแพทย์แผนตะวันออก ได้จัดหน่วยบริการสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่องทั้งในชุมชนใกล้เคียงและภาคอีสาน“จิตอาสาแบบเราก็คือ การปลูกฝังเรื่องจิตอาสาให้แก่ลูกศิษย์ ด้วยการทำากิจกรรมมากมาย และสิ่งสำาคัญคือ อาจารย์จะต้องเป็นผู้นำาทางความคิดให้แก่นักศึกษา และต้องเป็นพ่อแบบ แม่แบบที่ดีในการออกหน่วย ออกคลินิก หรือนิทรรศการ ทีมนักศึกษาเราเป็นพลังเยาวชนที่มีพลังสูงมาก การไปทำางานแบบนี้ก็เพื่อสร้างแก่นของทีมที่เป็นจิตอาสาขึ้นมา แล้วการขยายผลจะตามมาทีหลัง ในการออกหน่วยครั้งแรกๆ ตอนนั้นเราก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก ก็ต้องไปแนะนำาตัวกัน แต่ในระยะหลัง ก็จะเห็นว่าเราเป็นทีมที่ใหญ่ขึ้น จนกระทั่งครั้งหลังสุด ที่ไปอีสาน ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทีมเรามีคนเป็นร้อย คนไข้ก็มี ๗๐๐-๘๐๐ คน แสดงว่าเราประสบความสำาเร็จ ชาวบ้านเข้ามารับบริการกันมาก ก็เพราะเห็นผลว่า ยาของเรารักษาหาย”“จิตอาสาแบบเราก็คือการปลูกฝังเรื ่องจิตอาสาให้แก่ลูกศิษย์ ด้วยการทำากิจกรรมมากมาย และสิ ่งสำาคัญคือ อาจารย์จ ะ ต้ อ ง เ ป็ น ผู ้ นำ า ท า งความคิดให้แก่นักศึกษามิติด้านการดำาเนินการจัดทำาคลินิกการแพทย์แผนไทยต้นแบบสำาหรับโรงพยาบาล และพัฒนาศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและความงามที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง“การประสบความสำาเร็จต้องดูจาก ความศรัทธาของคนอื่นที่มีต่อเรา และก็แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าความศรัทธาของเขานั้นแสดงออกมาในลักษณะใดเช่น ที่อีสาน เขาจะสร้างโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย แล้วมีการบริการที่ประชาชนเข้าถึงได้ดีที่สุด คุณภาพสูงสุด และผลิตยาสมุนไพรที่เป็นมาตรฐานส่งออก และที่กระทรวงสาธารณสุข เราก็ไปพัฒนาผู้ให้บริการสุขภาพที่มีความรู้จริงๆ และจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ ลงไปถึงระดับสถานีอนามัย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบล ซึ่งฐานบริการสาธารณสุขแบบนี้ คือ ฐานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีสถานีอนามัยประมาณ ๙,๐๐๐ แห่ง และเราไปอบรมเจ้าหน้าที่เหล่านี้ให้มีความรู้หลายรุ่นแล้ว”มิติของการเป็นศูนย์บริการสุขภาพต้นแบบ เป็นที่ศึกษาดูงาน เป็นที่ฝึกอบรม“ทุกครั้งที่มีการออกบู้ธ หรือการจัดนิทรรศการต่างๆ บู้ธของเราไม่ได้มีเฉพาะส่วนที่ให้บริการอย่างเดียว แต่จะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ไว้แสดงการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากภูมิปัญญาไทยสู่สากล หรือถ้าเป็นงานสมุนไพรแห่งชาติ ไม่มีบู้ธไหนที่เป็นแบบเรา ซึ่งมีส่วนที่ให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ และเยาวชน”184 185


186 187• ภาพ : ภารดา คงสมโอษฐ


คำสั่งมหาวิทยาลัยรังสิตที่ ๐๖๐๕ /๒๕๕๒เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมงานรับเสด็จ ฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธาน ในพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษาเพื่อให้การเตรียมงานรับเสด็จ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จพระราชดำาเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา และทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต และการแสดงดนตรีของวิทยาลัยดนตรี และทอดพระเนตรความก้าวหน้าทางวิชาการของคณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสมพระเกียรติ อาศัยอำานาจตามความในมาตรา๔๓ แห่ง พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ทำาหน้าที่เตรียมงานรับเสด็จ ฯ ดังต่อไปนี้คณะกรรมการอำานวยการอธิการบดีประธานกรรมการรองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี กรรมการคณบดี คณะ/วิทยาลัยกรรมการผู้อำานวยการสำานักงาน กรรมการคณบดีคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ กรรมการและเลขานุการมีหน้าที่อำานวยการและสนับสนุนการดำาเนินงานของคณะกรรมการคณะต่างๆ ในการเตรียมงานรับเสด็จ ฯคณะกรรมการเตรียมการเชิญเสด็จ ฯ และพิธีการรับเสด็จ ฯรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาประธานกรรมการนางนันทนา กุญชร ณ อยุธยากรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำาภาพร นามวงศ์พรหม กรรมการดร.ปิยสุดา ม้าไวกรรมการนายอรรจน์ สีหะอำาไพกรรมการนางสาวพิสมัย จันทวิมลกรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีรัตน์ แย้มเกษร กรรมการและเลขานุการมีหน้าที่เตรียมการเชิญเสด็จ ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา มีหนังสือกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ ฯ ให้คำาแนะนำาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับการเตรียมกำาหนดการ และพิธีการรับเสด็จ ฯ และข้อแนะนำาอื่นๆ ที่พึงปฏิบัติ ให้แก่คณะกรรมการคณะต่างๆ รับไปพิจารณาดำาเนินการคณะกรรมการเตรียมงานด้านพิธีการและกำาหนดการรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ที่ปรึกษานางสาวพิสมัย จันทวิมล ที่ปรึกษาผู้อำานวยการสำานักงานหอพัก ประธานกรรมการดร.กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์กรรมการดร.กีรติ ตันเสถียรกรรมการดร.พงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจกรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุจาภา แพ่งเกษร กรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวุฒิ สุพิชญางกูร กรรมการนางจันทบุรี หิมเวชกรรมการนางสาวศศวรรณ รื่นเริง กรรมการนายสมาน ดอกกุหลาบกรรมการนางสาวดวงธิดา นันทาภิรัตน์กรรมการนางสาวธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ กรรมการนายสมเกียรติ หอมยกกรรมการนายเอกชัย สมบูรณ์กรรมการนายเชษฐา อุปสิทธิ์ กรรมการนางนัยนันทน์ จงสวัสดิ์ กรรมการนางลักขณา วิโรจธีระกุลกรรมการนางวรภาณุ์ อุดล กรรมการนายวีรยศ กิตติชัยศรีกรรมการนายสมหมาย รัตนมาตร์กรรมการนายธานี จำาปาสดกรรมการนายวัชรินทร์ จงกลสถิตกรรมการนางนารีรัตน์ กิติสินกรรมการและเลขานุการนางนิอร เมืองนกกรรมการและเลขานุการนางธนาพร คร้ามแสง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการนางผดุงทิพย์ แสงปลั่ง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมีหน้าที่เตรียมการเกี่ยวกับกำาหนดการเสด็จ ฯ และพิธีการรับเสด็จ ฯ การเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดปทุมธานี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรังสิต และผู้มีเกียรติอื่นๆ มาเข้าเฝ้ารับเสด็จ ฯ การจัดให้นักศึกษาทุนพระราชทานและนักศึกษาทั่วไปเข้าเฝ้ารับเสด็จ ฯ การจัดถวายพระกระยาหารว่าง และอาหารว่างของผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธี การจัดวงโยธวาทิตบรรเลงรับเสด็จ ฯ / ส่งเสด็จ ฯ และการจัดลำาดับผู้เข้าเฝ้าทูลเกล้า ฯ ถวายเงิน และภาระงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีการรับเสด็จ ฯ และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณ188 189


คณะกรรมการจัดสถานที่และเส้นทางเสด็จ ฯ และการปรับปรุงภูมิทัศน์ผู้อำานวยการสำานักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม ประธานกรรมการรองผู้อำานวยการสำานักงานฯ ฝ่ายอาคาร กรรมการรองผู้อำานวยการสำานักงานฯ ฝ่ายบริการ กรรมการรองผู้อำานวยการสำานักงานฯ ฝ่ายพิธีการ กรรมการหัวหน้าแผนกรักษาความสะอาดกรรมการหัวหน้าแผนกจัดสวนและบริการกรรมการหัวหน้าแผนกรักษาความปลอดภัยกรรมการหัวหน้าแผนกยานพาหนะกรรมการหัวหน้าแผนกซ่อมบำารุงกรรมการหัวหน้าแผนกพลังงานและสิ่งแวดล้อม กรรมการหัวหน้าแผนกออกแบบและก่อสร้างกรรมการหัวหน้าแผนกธุรการและจัดซื้อจัดจ้าง กรรมการและเลขานุการมีหน้าที่จัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและภูมิทัศน์โดยทั่วๆ ไป รอบอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ บริเวณอาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ และบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะบริเวณมณฑลพิธี หรือพื้นที่ที่จะใช้ในพิธีเปิดอาคารและบริเวณต่อเนื่องกับพิธี การดูแลเกี่ยวกับระบบการรักษาความปลอดภัยโดยรวม เส้นทางเสด็จ ฯ เส้นทางจราจรที่จอดพาหนะพระที่นั่ง และบริเวณจอดพาหนะของผู้มาร่วมพิธี การจัดรถกอล์ฟพระที่นั่ง และพาหนะคณะผู้ติดตามการจัดสถานที่ตั้งกองอำานวยการของมหาวิทยาลัย และกองอำานวยการของทหาร ตำารวจ ระบบแสงสว่าง รวมทั้งความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น การประสานงานกับโยธาธิการจังหวัด ในการประดับตกแต่งบริเวณพิธี และภาระงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับสถานที่จัดงาน และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการจัดนิทรรศการคณบดีคณะศิลปะและการออกแบบประธานกรรมการนายสุชีพ กรรณสูตกรรมการนายณรงค์ชัย อมะรักษ์ กรรมการนายสิทธิพร ชาวเรือกรรมการนางสาวณัฐพร กาญจนภูมิกรรมการนางสาวสุภาวดี จุ้ยศุขะ กรรมการนางสิรดา ศรีแก้วกรรมการและเลขานุการมีหน้าที่ช่วยคัดเลือกและช่วยเหลืออำานวยความสะดวกให้แก่คณะ/วิทยาลัย สำานักงานต่างๆ ในการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ฯ หรือนิทรรศการ/กิจกรรมอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยให้มีความน่าสนใจ จัดสถานที่บริเวณห้องโถงชั้นล่างของอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ เพื่อการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ให้มีความเหมาะสม และช่วยประสานการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมคณะกรรมการรับเสด็จ ฯ คณะทันตแพทยศาสตร์คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ประธานกรรมการรองคณบดีฝ่ายคลินิกกรรมการรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษากรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงสายสวาท ทองสุพรรณ กรรมการศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงละอองทอง วัชราภัย กรรมการรองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล กรรมการทันตแพทย์หญิงฐานิต เตชะทักขิญพันธ์กรรมการและเลขานุการมีหน้าที่ถวายคำาอธิบายเกี่ยวกับความทันสมัยของการจัดระบบการเรียนการสอนด้านทันตแพทยศาสตร์และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการบันทึกผลงานและกิจกรรมคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ประธานกรรมการนางสาววาจวิมล เดชเกตุกรรมการนายไกรสร วงศ์อนันต์ศักดิ์ กรรมการนายษิธู ประมวญกรรมการนายสุนิมิต ปาปีกรรมการนายสุเมศ แสงมณีกรรมการนายสุรัตน์ ทองหรี่ กรรมการนายวินัย บุญคงกรรมการนายกิติพงษ์ จีนะวงศ์กรรมการนายสุชาติ เชษฐพันธ์กรรมการนายไอราพต ศรีสุชาติกรรมการและเลขานุการมีหน้าที ่บันทึกผลงานและกิจกรรมที ่จะจัดขึ ้นในงานพิธีเปิดอาคาร และจัดทำาเป็นแผ่นดีวีดีหรือแผ่นวีซีดี รวมทั ้งแผ่นซีดีเพลงที ่วิทยาลัยดนตรีแต่งขึ ้น เนื ่องในวโรกาสพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ สอดแทรกไว้ในหนังสือที ่ระลึกพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการจัดทำาหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯนางสาวพิสมัย จันทวิมล ที่ปรึกษาผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม ประธานกรรมการนายเสรี วังส์ไพจิตรกรรมการนายอำานวยวุฒิ สาระศาลินกรรมการดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระกรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีรัตน์ แย้มเกสร กรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดจิต สนั่นไหว กรรมการผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวุฒิ สุพิชญางกูร กรรมการนายกิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย กรรมการนายกสิณ จันทร์เรืองกรรมการ190 191


นางสาวศศวรรณ รื่นเริง กรรมการนางสุรางศรี วิเศษกรรมการนางสาวรัชดา ลาภใหญ่ กรรมการนายนรุตม์ คุปต์ธนโรจน์ กรรมการนายสานิตย์ แสงขามกรรมการนายสมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ กรรมการและเลขานุการนางสาวอิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมีหน้าที่ดำาเนินการจัดทำาหนังสือที่ระลึกเนื่องในพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ โดยรวบรวมประวัติความเป็นมาและความก้าวหน้าทางวิชาการของมหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่การก่อตั้ง รวมทั้งบันทึกเหตุการณ์สำาคัญๆ อาทิ ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีสถาปนามหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ และความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันและมหาวิทยาลัยชั้นนำานานาประเทศ และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ ในพิธีเปิดอาคารผู้อำานวยการศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน ประธานกรรมการนายอดิศร สิรีสี กรรมการนายเพิ่มศักดิ์ บางสาลี กรรมการนายสมจิตร ฟักสังข์ กรรมการนายวิสูตร์ ชาญช่างกรรมการนายนฤชา เชยกลิ่นเทศ กรรมการนายสมบัติ พุฒตาลกรรมการและเลขานุการมีหน้าที่ดำาเนินการเรื่องระบบเสียงและแสงที่ใช้ในพิธีเปิดอาคาร การเตรียมการเกี่ยวกับอุปกรณ์ทั้งสิ้นเกี่ยวกับระบบเสียงและแสง โดยประสานงานกับคณะกรรมการจัดสถานที่และเส้นทางเสด็จ ฯ คณะกรรมการเตรียมงานด้านพิธีการและกำาหนดการ การบันทึกภาพนิ่งและวีดิทัศน์เกี่ยวกับพิธีการและกิจกรรมทั้งหมดในงาน และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการฝ่ายการแสดงคณบดีวิทยาลัยดนตรี ประธานกรรมการนายสิทธิกุล บุญอิตกรรมการนายสมเกียรติ หอมยกกรรมการนายอภิชัย เลี่ยมทอง กรรมการนาวาตรี นบ ประทีปะเสน ร.น.กรรมการนายบุญรัตน์ ศิริรัตนพันธกรรมการนายสุขชัย ภวการค้าดี กรรมการนางสาวนรมน ผาสุกกรรมการและเลขานุการมีหน้าที่จัดการแสดงดนตรีและการขับร้องในห้องออดิทอเรี่ยม และการประพันธ์เพลงประกอบการ์ตูนแอนิเมชั่น รวมทั้งประสานกับคณะกรรมการฝ่ายโสตฯ ในการดำาเนินการเรื่องระบบแสง สี เสียง และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการตลาด ประธานกรรมการผู้อำานวยการศูนย์อาร์เอสยูนิวส์ กรรมการผู้อำานวยการศูนย์ปฏิบัติการสถานีวิทยุชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต กรรมการผู้อำานวยการศูนย์ข่าวอาร์เอสยูมีเดีย กรรมการผู้อำานวยการสำานักงานประชาสัมพันธ์ กรรมการและเลขานุการนางสาวอิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการนางสาวสุพาณี มณีวงษ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการนางสาวเทพิน สัยวิจิตร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์งาน การเชิญสื่อมวลชน การประสานเจ้าหน้าที่ตำารวจในการตรวจอุปกรณ์การถ่ายภาพของสื่อมวลชนและผู้มาร่วมงาน การจัดทำาสูจิบัตรและการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำาหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการฝ่ายปฐมพยาบาลผู้อำานวยการสำานักงานพัฒนานักศึกษา ประธานกรรมการนางรัชนีภรณ์ ณ ถลางกรรมการนางวราภรณ์ ใยงูเหลือมกรรมการนางสาวณัฐรดา สุวรรณกูฎกรรมการนางปราณี บุญญากรรมการและเลขานุการมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลโดยทั่วไป การจัดศูนย์การแพทย์และพยาบาล การประสานกับโรงพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน และเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณคณะกรรมการฝ่ายการเงินและงบประมาณผู้อำานวยการสำานักงานการเงิน ประธานกรรมการผู้อำานวยการสำานักงานงบประมาณ กรรมการนางณัฎฐญา แสนสุขกรรมการและเลขานุการมีหน้าที่พิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายในการเตรียมงานและการจัดงานตามที่คณะกรรมการฝ่ายต่างๆเสนอ และเร่งรัดการเบิกการจ่ายงบประมาณทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสั่ง ณ วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒(ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์)อธิการบดี192 193


รายละเอียดภาพยนตร์แอนิเมชั่นในแผ่น DVDภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง “ช้างน้อยกับหนูนิด” ความยาว ๔ นาที นำาเสนอเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ สะท้อนผ่านความเปลี่ยนแปลง เมื่อถึงวันหนึ่งที่ป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ถูกทำาลายลงไป มนุษย์และสัตว์จะช่วยพลิกฟื้นธรรมชาติให้คืนกลับมาดังเดิมคณะทำางานอาจารย์อำานวยวุฒิ สาระศาลิน ที่ปรึกษาโครงการรองศาสตราจารย์พิศประไพ สาระศาลิน ที่ปรึกษาโครงการอาจารย์ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการอาจารย์สุทัศน์ ปาละมะ ผู้ดูแลโครงการควบคุม Art Directorอาจารย์สุธีร์ ธนรัชออกแบบตัวละคร Character Designผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล ที่ปรึกษาควบคุมงานออกแบบฉาก Scenes Designผู้ช่วยศาสตราจารยปกรณ์ พรหมวิทักษ์ Storyboard Animaticอาจารย์สิทธิพร ชาวเรือStoryboard Animaticอาจารย์สุเทพ โลหะจรูญออกแบบโลโก้อาจารย์ดนุช จารุทรัพย์สดใสออกแบบโล้โก้อาจารย์เบญจมินทร์ เพิ่มกิจไพศาล ที่ปรึกษาด้านตัดต่อ Compositeนายธนากร เกษมจินดามัยเสียงประกอบ Sound Effectอาจารย์บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธประพันธ์ดนตรีประกอบอาจารย์นัฐวุฒิ สีมันตรประสานงานโครงการอาจารย์หทัยชนก เชียงทอง ประสานงานโครงการ และควบคุมภาพเคลื่อนไหวนักศึกษานายเกริกชัย บุญสวัสดิ์นางสาวธานิพรรณ บูรณะภากรณ์นางสาวจมรทิพย์ จุลรัตนาภรณ์นายสุรวุธ ศรีพุทธศาสน์นายโอม กังวานสุระนายภวัฐ ศรีสุวรรณ์นายณัฐพล ธรสารกิจนางสาววรญา โชติกุลนายนพดล ศุภรัตน์ภิญโญนายทัชชกร สิริวิชัยกุลนายกรีฑา ประมวลทรัพย์นายทิวพล ลิ้มพฤติธรรมนายดนัย ตันติวิทนายณัฎฐพัชร ชุติชวาลนันท์นายสุทธิชัย ธนาฤดีนายศิรัสร์ ตรีนวรัตน์นายปฐม สุปรียาพรนางสาวอาจารี พณิชากิจนางสาวอรณิชา พณิชากิจนายวนิชพงศ์ สิทธิกรวณิชรายละเอียดบทเพลงในแผ่น CDจากวันนั้น...(ประพันธ์ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี)คําร้อง : พิสมัย จันทวิมลทํานอง : บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธขับร้อง : เด็กหญิงกมลวิสุธ์ จุติสมุทร และคณะนักร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตซอด้วง : ชัยภัคร ภัทรจินดา ไวโอลิน : ศิรพงษ์ ทิพย์ธัญ เชลโล่ : อภิชัย เลี่ยมทองOne Fine Day...(ประพันธ์ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี)คําร้อง : พิสมัย จันทวิมลทํานอง : บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธขับร้อง : เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ และคณะนักร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตPrecious Prince of Hearts(ประพันธ์ถวาย มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน)คําร้อง : พิสมัย จันทวิมลทํานอง : นาวาตรี นบ ประทีปะเสน ร.น.ขับร้อง : ธีรนัยน์ ณ หนองคาย และ สุรุจ ปรีดารัตน์ตะวันรุ่ง ทุ่งรังสิตคําร้อง : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ทํานอง : รังสิต จงฌาณสิทโธลาแล้วลาบานเย็นฟ้าคําร้อง • ทํานอง : อวิรุทธ์ สุดมากศรีYou are the Sun, You are the Oneคําร้อง : พิสมัย จันทวิมลทํานอง : ดร.เด่น อยู่ประเสริฐขับร้อง : เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ และคณะนักร้องประสานเสียงโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตเรียบเรียงเสียงประสาน : พลังพล ทรงไพบูลย์จากวันนั้น... (บรรเลง)One Fine Day... (บรรเลง)อำานวยการผลิต : ดร.เด่น อยู่ประเสริฐวงดนตรี : วงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตวิศวกรรมเสียง : บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ ธนากร เกษมจินดามัย และ ประดิษฐ์ แสงไกร194 195


196 197


198 199


200 201


ตะวันรุ ่ง ทุ ่งรังสิตเพลงประจำมหาวิทยาลัยราวๆ ต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ด้วยดำาริของอธิการบดีในขณะนั้น คือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่ต้องการจะให้มีเพลงประจำาวิทยาลัย ที่สื่อถึงการพัฒนาวิทยาลัย จาก “อู่ข้าวอู่นํ้า” ที่สำาคัญของภาคกลาง มีกลิ่นอาย บรรยากาศที่สะท้อน “ธรรมชาติแห่งท้องทุ่ง” และ “วัฒนธรรมชาวนา” ผู้เป็นพลังของผืนแผ่นดินไทยมาแต่ปางบรรพ์ กวีเอกอาจารย์เนาว์ หรือ คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ อาจารย์ป่อง คุณรังสิต จงฌาณสิทโธ ศิษย์ครูเดียวกันที่ชุมนุมดนตรี แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิ ปรมาจารย์ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุริยชีวิน) คุณครูประเวช กุมุทคุณครูเจียน มาลัยมาลย์ คุณครูกิ่ง พลอยเพ็ชร และคุณครูทิพย์ ปิยะมาน กรุณารับเป็นผู้ถ่ายทอดดำาริของอธิการบดีออกมาเป็นคำาร้องและท่วงทำานองในเพลง “ตะวันรุ่ง ทุ่งรังสิต”เมื่อตกลงใจจะสร้างสรรค์จินตนาการครั้งนี้ ทั้ง “อาจารย์เนาว์” และ “อาจารย์ป่อง” ได้เข้ามาซึมซับกับบรรยากาศท้องทุ่งรังสิตด้วยตนเอง โดยมานั่งเล่นที่ “ซุ้มอาหารกลาง” ในเย็นวันหนึ่ง สมัยนั้นวิทยาลัยรังสิตยังไม่ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย มีอาคารอยู่เพียง ๓ หลัง คือ อาคารประสิทธิรัตน์ (ตึก ๒) อาคารประสิทธิ์พัฒนา (หอพัก) ๒ หลัง กับซุ้มอาหารที่เรียกกันว่า “ซุ้มดอกเห็ด” มาปรับแนวคิดให้สอดประสานกันว่า จะเล่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับท้องทุ่งรังสิต สรุปได้ว่า ทุ่งรังสิตนี้เป็นทุ่งธัญญาอันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ที่ที่คนโบราณกล่าวขวัญกันว่า เป็นท้องทุ่งที่ทอดทัศนาเห็นพระอาทิตย์ขึ้นและตกสวยงามที่สุด เพราะเป็นผืนนาเรียบราบเสมอกัน ยามอาทิตย์อุทัย ดูราวกับว่าจะแทรกขึ้นมาจากกอข้าว ยามอัสดงก็จะคล้อยดวงลงหาอ้อมโอบของรวงข้าวอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับนาข้าวแห่งท้องทุ่งรังสิต ยามส่ายกอล้อลมจะมองเห็นเป็นระลอกคลื่นสีเขียวราวกับทะเลข้าว ดุจดังสุนทรียรสของกลอนบทหนึ่งของ “อาจารย์เนาว์” ที่ว่า“ใบข้าวพลิ้วพริ้วระเนนเป็นคลื่นข้าว ใบตาลกราวกรากลมระงมถิ่นกระท่อมค้อมคร่ำคร่าอยู่อาจิณ หอมกลิ่นข้าวใหม่มาจางจาง”ในช่วงเวลาของการสร้างสรรค์ของทั้งสองท่านจากแรงบันดาลใจดังกล่าวเพียงประมาณ ๑ เดือน อาจารย์ป่องก็ส่งต้นฉบับ “ทำานองเพลง” มาให้ โดยเขียนเป็น “โน้ตตัวเลข” เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ และอาจารย์เนาว์ ใช้เวลาอีก ๒ สัปดาห์ เขียนคำาร้องจบสมบูรณ์ และวิทยาลัยรังสิตได้ติดต่อให้คุณบุษยา รังสี ขับร้องเป็นคนแรก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ตำานานนี้เองเป็นที่มาของเพลงตะวันรุ่ง ทุ่งรังสิต202203


204 205


• ภาพ : นาตยา เพลียลา206 207


จากวันนัน…(ประพันธถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร)คํารอง : พสมัย จันทวมลทํานอง : บุญรัตน ศิรรัตนพันธขับรอง : เด็กหญิงกมลวสุธ จุติสมุทรและคณะนักรองประสานเสียงแหงมหาวทยาลัยรังสิตซอดวง : ชัยภัคร ภัทรจนดาไวโอลิน : ศิรพงษ ทิพยธัญเชลโล : อภิชัย เลี่ยมทองOne Fine Day…(ประพันธถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร)คํารอง : พสมัย จันทวมลทํานอง : บุญรัตน ศิรรัตนพันธขับรอง : เอกพันธ วรรณสุทธิ์ และคณะนักรองประสานเสียงแหงมหาวทยาลัยรังสิตPrecious Prince of Hearts(ประพันธถวาย มกุฎราชกุมารจกมี เคเซอร นัมเกล วังชุก แหงราชอาณาจักรภูฏาน)คํารอง : พสมัย จันทวมลทํานอง : นาวาตร นบ ประทีปะเสน ร.น.ขับรอง : ธีรนัยน ณ หนองคาย และ สุรุจ ปรดารัตนตะวันรุง ทุงรังสิตคํารอง : เนาวรัตน พงษไพบูลยทํานอง : รังสิต จงฌาณสิทโธลาแลวลาบานเย็นฟาคํารอง • ทํานอง : อวรุทธ สุดมากศรYou are the Sun, You are the Oneคํารอง : พสมัย จันทวมลทํานอง : ดร.เดน อยูประเสรฐขับรอง : เอกพันธ วรรณสุทธิ์และคณะนักรองประสานเสียงโรงเรยนสาธิตแหงมหาวทยาลัยรังสิตเรยบเรยงเสียงประสาน : พลังพล ทรงไพบูลยจากวันนัน… (บรรเลง)One Fine Day… (บรรเลง)อำนวยการผลิต : ดร.เดน อยูประเสรฐวงดนตร : วงดุรยางคซมโฟนีแหงมหาวทยาลัยรังสิตวศวกรรมเสียง : บุญรัตน ศิรรัตนพันธธนากร เกษมจนดามัย และ ประดิษฐ แสงไกร๑. จากวันนัน…๒. One Fine Day…๓. Precious Prince of Hearts๔. ตะวันรุง ทุงรังสิต๕. ลาแลวลาบานเย็นฟา๖. You are the Sun, You are the One๗. จากวันนัน… (บรรเลง)๘. One Fine Day… (บรรเลง)One Fine Day...ภาพยนตรการตูนแอนิเมชันเร่องสรางสรรคโดย คณะศิลปและการออกแบบ มหาวทยาลัยรังสิตคณะทำงานอาจารยอำนวยวุฒิ สาระศาลิน ที่ปรกษาโครงการรองศาสตราจารยพศประไพ สาระศาลิน ที่ปรกษาโครงการอาจารยชัยพร พานิชรุทติวงศ ที่ปรกษาโครงการอาจารยสุทัศน ปาละมะ ผูดูแลโครงการควบคุม Art Directorอาจารยสุธีร ธนรัชออกแบบตัวละคร Character Designผูชวยศาสตราจารยธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล ที่ปรกษาควบคุมงานออกแบบฉาก Scenes Designผูชวยศาสตราจารยปกรณ พรหมวทักษ Storyboard Animaticอาจารยสิทธิพร ชาวเรอStoryboard Animaticอาจารยสุเทพ โลหะจรูญออกแบบโลโกอาจารยดนุช จารุทรัพยสดใสออกแบบโลโกอาจารยเบญจมินทร เพมกิจไพศาล ที่ปรกษาดานตัดตอ Compositeนายธนากร เกษมจนดามัยเสียงประกอบ Sound Effectอาจารยบุญรัตน ศิรรัตนพันธประพันธดนตรประกอบอาจารยนัฐวุฒิ สีมันตรประสานงานโครงการอาจารยหทัยชนก เชยงทอง ประสานงานโครงการ และควบคุมภาพเคลื่อนไหวนักศึกษานายเกรกชัย บุญสวัสดิ์นางสาวธานิพรรณ บูรณะภากรณนางสาวจมรทิพย จุลรัตนาภรณนายสุรวุธ ศรพุทธศาสนนายโอม กังวานสุระนายภวัฐ ศรสุวรรณนายณัฐพล ธรสารกิจนางสาววรญา โชติกุลนายนพดล ศุภรัตนภิญโญนายทัชชกร สิรวชัยกุลนายกรฑา ประมวลทรัพยนายทิวพล ลิมพฤติธรรมนายดนัย ตันติวทนายณัฎฐพัชร ชุติชวาลนันทนายสุทธิชัย ธนาฤดีนายศิรัสร ตรนวรัตนนายปฐม สุปรยาพรนางสาวอาจาร พณิชากิจนางสาวอรณิชา พณิชากิจนายวนิชพงศ สิทธิกรวณิชภาพยนตรการตูนแอนิเมชันภาพยนตรการตูนแอนิเมชัน


คณะทํำางานหนังสือรังสิตรังสรรค์ ๒๕ ปี มหาวิทยาลัยรังสิตประธานที่ปรึกษาดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์คณะที่ปรึกษาพิสมัย จันทวิมล ธนภัทร เอกกุล อำานวยวุฒิ สาระศาลิน เสรี วังส์ไพจิตรประทีป นรินทรางกูล ณ อยุธยา กสิณ จันทร์เรืองผู้พิมพ์ผู้โฆษณาอานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์บรรณาธิการอำานวยการสมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะบรรณาธิการบริหารศศวรรณ รื่นเริงบรรณาธิการผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทนิตย์ หงษ์ศรีจินดาผู้ช่วยบรรณาธิการชุติมันต์ เหลืองทองคำา วิภาณี ชีลั่นกองบรรณาธิการและคณะทำางานคัดเลือกต้นฉบับรพีวรรณ กลยนี รุ่งนภา พิมมะศรี ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีรัตน์ แย้มเกสรผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดจิต สนั่นไหว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวุฒิ สุพิชญางกูรกิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย สานิตย์ แสงขาม อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์พัชรา หาญเจริญกิจ พรศรี สุขการค้า ดร.ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติรีไรเตอร์สุรางศรี วิเศษ รัชดา ลาภใหญ่ นรุตม์ คุปต์ธนโรจน์ฝ่ายภาพฉันทิชย์ ช่วยชู บัญหาร กาศนอกและนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต จากการประกวดผลงานภาพถ่าย สีสันวันรับน้อง (๒๕๕๐) ชีวิตในรังสิต (๒๕๕๒)เลขากองบรรณาธิการภัสณี บำารุงถิ่นศิลปกรรมอาภาพรรณ จันทนฤกษ์ อรรถยา สุนทรายน วราภรณ์ หิรัญตีรพล ทิวากร นาวารัตน์ กาจกำาแหง จรมาศออกแบบ-จัดพิมพ์สีจัด...จัด chantich@ymail.comอำานวยการผลิต-เผยแพร่สำานักงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิตถนนพหลโยธิน ตำาบลหลักหก อำาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ๑๒๐๐๐208www.rsu.ac.th info@rsu.ac.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!