22.02.2015 Views

part.6 - CRDC

part.6 - CRDC

part.6 - CRDC

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

126 การใชน้ํามันหอมระเหยสําหรับ ปที่ 40 ฉบับที่ 1 (พิเศษ) มกราคม-เมษายน 2552 ว. วิทยาศาสตรเกษตร<br />

ในชวง 2-5 มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร (แสงจันทร, 2543) ในน้ํามันหอมระเหยขมิ้นชันพบสารสําคัญ tumerone, curlone,<br />

farnesene, terpinene และ 1,8-cineol (กฤติกา, 2548) มีฤทธิ์ในการฆาเชื้อรา แบคทีเรีย ยับยั้งการอักเสบ<br />

(Lutomski, 1974) ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลลมะเร็ง (Magnus, 1992) และมีฤทธิ์ไลแมลง (Tawatsin, 2001) นอกจากนี้<br />

ไพล และขมิ้นชันยังมีการนําไปใชทางดานสุคนธบําบัด ในงานวิจัยนี้จึงสนใจสารหอมระเหยที่เปนองคประกอบในน้ํามันหอม<br />

ระเหยของไพล ขมิ้นชันโดยวิเคราะหดวยเทคนิค HS-GC-MS<br />

อุปกรณและวิธีการ<br />

นําตัวอยางไพล และขมิ้นชัน จํานวน 5 กิโลกรัม มาลางทําความสะอาด หั่น และกลั่นดวยวิธีการตมกลั่น (hydro<br />

distillation) (Likens-Nickerson, 1964) เปนเวลา 24 ชั่วโมง แยกน้ํามันหอมระเหยออกจากน้ํา เติมสารแมกนีเซียมซัลเฟต<br />

กรอง และเก็บในขวดสีชา นํามาหาปริมาณ คุณสมบัติทางกายภาพ และ เคมีของน้ํามันหอมระเหย ดังนี้<br />

- % yield ของน้ํามันหอมระเหย<br />

โดยใชสูตร % yield (v/w)(wet weight) = volume of essential oils (ml) x 100<br />

weight of raw materials (mg)<br />

- refractive index (RI) โดยใช hand-held refractometer<br />

- องคประกอบน้ํามันหอมระเหยดวย GC-MS โดยใช capillary คอลัมนชนิด: ZB5 (30 เมตร length x 0.25<br />

มิลลิเมตร ID x 0.25 เมตร film thickness), ฉีดตัวอยางแบบ split mode (split ratio 1:20 v/v) อุณหภูมิ injector เทากับ 250<br />

องศาเซลเซียส สภาวะของคอลัมน อุณหภูมิเริ่มตนที่ 40 องศาเซลเซียสคงไว 3 นาที และเพิ่มขึ้นในอัตรา 8 องศาเซลเซียสตอ<br />

นาที จนถึง 180 องศาเซลเซียส เพิ่มอัตราการไหลเปน 15 นาที จนกระทั่ง 250 องศาเซลเซียส และคงไวนาน 5 นาที ใชฮีเลียม<br />

เปนแกสตัวพา และ ionization voltage 70 eV ใช mass range ตั้งแต 40-450 m/z อุณหภูมิ detector 280 องศาเซลเซียส<br />

แปลผลโดยเทียบกับ library ของ NIST และ Wiley 275 มีquality match > 85% และวิเคราะหคา Linear retention index<br />

(LRI) โดยเปรียบเทียบจาก สารมาตรฐานอัลเคน (C 11 -C 25 alkane )<br />

ผลและวิจารณ<br />

จากการศึกษาแสดงใหเห็นวา %yield ของน้ํามันหอมระเหยขมิ้นชันมีปริมาณสูงกวาน้ํามันหอมระเหยไพล โดยมี<br />

%yield เทากับ 0.787 และ 0.241 ตามลําดับ น้ํามันหอมระเหยไพลมีคา refractive index เทากับ 1.4875 และน้ํามันหอม<br />

ระเหยขมิ้นมีคา refractive index เทากับ 1.5056 ลักษณะเปนของเหลวใส มีสีเหลืองออนๆ เชนเดียวกัน (Table 1) แต<br />

สารสําคัญที่พบในน้ํามันหอมระเหยไพลเมื่อวิเคราะหไอระเหยดวยเทคนิค HS-GC-MS พบสาร 11 ชนิด คือ sabinene มี<br />

%relative peak area สูงสุดเทากับ 55.69% มี α-terpinene, γ-terpinene, β-pinene α–pinene และ α-thujene 9.03 8.99<br />

7.36 6.85 และ 5.30% ตามลําดับ เชนเดียวกับน้ํามันหอมระเหยไพลที่กลั่นดวยไอน้ํามีองคประกอบทางเคมีที่สําคัญ คือ α–<br />

pinene, α-terpinene, sabinene และ γ-terpinene (กรมสงเสริมการเกษตร, 2543) สารประกอบอื่นที่พบไดแก β-myrcene<br />

α-phellandrene p-cymene และ terpinolene และสารสําคัญที่พบในน้ํามันหอมระเหยขมิ้นชัน พบสาร 9 ชนิด คือ (+)-4-<br />

Carene มี % relative peak area สูงสุดเทากับ 71.30 รองลงมาเปน α–terpinene 6.10%, α-phellandrene 5.27% และ<br />

isobornyl acetate 3.29% ซึ่งใหกลิ่น balsamic turmerone นอกจากนี้มีองคประกอบอื่น คือ α-pinene, (+) 3-carene, p-<br />

cymene และ toluene แสดงใน Table 2 องคประกอบบางชนิดสอดคลองกับงานวิจัยของกฤติกา (2548) พบสาร terpinolene,<br />

α-pinene, α-phellandrene, 1,8-cineol, curcumene, α-zingiberene, α-curcumene, caryophyllene และ α-pinene แต<br />

กฤติกา (2548) รายงานวามีปริมาณ turmerone เปนองคประกอบมากที่สุด ซึ่งสารสําคัญที่วิเคราะหไดแตกตางกันอาจ<br />

เนื่องจากเทคนิคการวิเคราะหที่ตางกัน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!