“ 1 ”“ KPN AWARD 2010 - มหาวิทยาลัยรังสิต

“ 1 ”“ KPN AWARD 2010 - มหาวิทยาลัยรังสิต “ 1 ”“ KPN AWARD 2010 - มหาวิทยาลัยรังสิต

14<br />

172<br />

2553<br />

“<br />

”<br />

“<br />

”<br />

1<br />

<strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong><br />

.


ditor’s talk<br />

Eกวิตา เรืองไทย<br />

Let’s take a break & celebrate!<br />

00000น้องๆ คงสอบเสร็จกันแล้วนะคะ แต่ยังมีบางคนที่สอบไม่<br />

เสร็จ ...ไม่เป็นไรค่ะ ทำข้อสอบอ่านหนังสือให้เต็มที่ แล้วเตรียมตัว<br />

แพ็คกระเป๋าไปเที่ยวในช่วงซัมเมอร์กันได้เลย (ใครมีไอเดียเก๋ๆ ใน<br />

ช่วงซัมเมอร์ก็บอกกันบ้างนะคะ) แต่ก่อนที่จะหยุดซัมเมอร์ หยิบ<br />

สารรังสิตไปอ่านกันก่อน หรือจะพกไปอ่านในวันหยุดก็ดีค่ะ เพราะ<br />

เรามีข่าวสารดีๆ ในรั้วรังสิตมาอัพเดตกัน <br />

00000ถ้าใครยังไม่ทราบว่าปีนี้ ม.รังสิต อายุครบกี่ปีแล้วลองพลิก<br />

ไปหน้า 16 ดูค่ะ ในปีนี้ ม.รังสิต มีอายุครบ 25 ปี ถ้าเป็นคนก็<br />

เบญจเพสพอดี เพิ่งพ้นช่วงวัยรุ่นวัยเรียนมา แต่เป็นคนที่มีการ<br />

พัฒนาอย่างก้าวกระโดดเร็วมากๆ ซึ่งเป็นคนที่พร้อมด้วยคุณภาพ<br />

และศักยภาพเทียบเท่าหรือมากกว่าคนที่มีอายุมากกว่าด้วยซ้ำ ดังที่<br />

เราเห็นจากรุ่นพี่ที่จบไปมากด้วยความสามารถ ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่<br />

ตนเองและมหาวิทยาลัย ตลอดจนนักศึกษาปัจจุบันที่ตามรอยรุ่นพี่<br />

แจ้งเกิดในเวทีต่างๆ มากมาย และยังมีคณะและหน่วยงานสนับสนุน<br />

ที่ช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย ทั้งหมดนี้รวมอยู่<br />

ในสารรังสิตฉบับเดือนนี้แล้ว พลิกอ่านทุกหน้าเพื่อรีเฟรชและ<br />

อัพเดตข่าวสารในรั้วรังสิตกันค่ะ... <br />

4 2 นศ. นานาชาติและเภสัชฯ<br />

แนะนำหลักสูตร<br />

9 เหล่านศ. รั้ว ฟ้า-บานเย็น <br />

อวยพรในโอกาส 25 ปี ม.รังสิต <br />

12 เด็กคอมอาร์ตปล่อยของ <br />

แชมป์ 3D แอนิเมชั่นขับขี่ปลอดภัย <br />

16 นศ. เอกการภาพยนตร์และวีดิทัศน์<br />

ก้าวเดินสู่เส้นทางสายดนตรี<br />

19 กิจการนศ. จัดกิจกรรมสร้างความ<br />

เข้าใจชีวิตวัยรุ่น<br />

สร้างแง่มุมเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษา <br />

<br />

Check <br />

them <br />

ditorial<br />

Estaff<br />

out!<br />

ที่ปรึกษา : ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์, ดร.มานิต บุญประเสริฐ,<br />

ดำรงค์ อินทรมีทรัพย์, ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร, ผศ.ดร.วิวรรธน์<br />

ปาณะสิทธิพันธ์, อำนวยวุฒิ สาระศาลิน, อนุสรณ์ ศรีแก้ว<br />

บรรณาธิการบริหาร : สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ<br />

บรรณาธิการ : กวิตา เรืองไทย<br />

กองบรรณาธิการ : นิจวรรณ นาวารัตน์, อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์,<br />

จิราภรณ์ ตุลาผล, สมพล วชิรวัฒนา<br />

รีไรเตอร์ : สุรางศรี วิเศษ<br />

ช่างภาพ : อรรถยา สุนทรายน, บัญหาร กาศนอก<br />

เลขากองบรรณาธิการ : ภัสณี บำรุงถิ่น<br />

คอมพิวเตอร์กราฟิก : อรรถยา สุนทรายน, เกวภร สังขมาศ<br />

ที่ทำการสารรังสิต : สำนักงานประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 <br />

อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

ซอยพหลโยธิน 87 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 <br />

โทรศัพท์ 0-2791-5555 โทรสาร 0-2791-5577 หรือ <br />

e-mail : info@rsu.ac.th<br />

Scoop<br />

[จิราภรณ์ ตุลาผล] สกู๊ป<br />

ดนตรีเป็นศิลปะอีกหนึ่งแขนงที่มีผู้ให้ความสนใจเลือกศึกษาในเชิงลึก ทั้งภาค<br />

ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งมีสถาบันและมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลายแห่งในประเทศไทย<br />

รวมทั้งมหาวิทยาลัยรังสิตด้วย สำหรับวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ที่นี่ไม่ได้เป็น<br />

เพียงที่บ่มเพาะศาสตร์ทางดนตรีเพียงอย่างเดียว แต่ที่นี่ยัง<br />

เป็นต้นกำเนิดในการสรรค์สร้างนักดนตรีคุณภาพ เพื่อให้<br />

นักศึกษาหรือ บัณฑิตที่จบไปสามารถใช้ดนตรีผลิตผลงาน<br />

ดีๆ ให้ปรากฏแก่สังคมอีกด้วย<br />

<br />

บ่มเพาะคนดนตรี<br />

ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยดนตรี<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต มีความมั่นใจในการนำเสนอหลักสูตรที่ดีเยี่ยม<br />

คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ทั้งในฐานะ<br />

อาจารย์และศิลปิน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญ<br />

ด้านดนตรีแจ๊สศึกษา การประพันธ์เพลง การแสดงดนตรี<br />

การแสดงดนตรีและการสอน การผลิตดนตรีและวิศวกรรม<br />

ดนตรี และดนตรีประกอบภาพยนตร์และมัลติมีเดีย โดยมี<br />

อาจารย์ปาริฉัตร อยู่ประเสริฐ อาจารย์ประจำ<br />

สาขาวิชาการแสดงขับร้อง วิทยาลัยดนตรี<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยดนตรี<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

เป้าหมายในการเป็นผู้นำทางด้านการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษาของประเทศ <br />

อาจารย์ปาริฉัตร อยู่ประเสริฐ อาจารย์ประจำ<br />

สาขาวิชาการแสดงขับร้อง วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต กล่าวว่า สาขาวิชาการขับร้อง แบ่งออกเป็น 2<br />

เอกขับร้อง ได้แก่ Voice Classic และ Voice Jazz<br />

โดยมีเครื่องดนตรีในการศึกษาคือ Voice ด้านความโดด<br />

เด่นของวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่เพียงมี<br />

ความพร้อมในเรื่องของเครื่องมือและสถานที่ในการฝึก<br />

ซ้อม แต่ยังมากมายไปด้วยอาจารย์ที่มีใจรักดนตรี และ<br />

พร้อมที่จะทุ่มเทความรู้ให้แก่นักศึกษา <br />

“สำหรับเอกขับร้องเพลงแจ๊ส เรามีอาจารย์กบ<br />

เสาวนิตย์ นวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการร้องเพลงแจ๊สเป็น<br />

ผู้สอน หรือเรียนเรื่อง Improvise เราก็มี ดร.เด่น อยู่<br />

ประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการศึกษาด้านการ<br />

Improvise ระดับปริญญาเอก เป็นต้น สำหรับอาจารย์<br />

เองก็สอนลูกศิษย์ในวิชาเอกขับร้องคลาสิก เราจะคอยให้<br />

คำปรึกษา สอนในเรื่องของเทคนิค หรือแนะนำการประยุกต์ใช้ความรู้ให้เหมาะกับบุคลิก<br />

ของแต่ละคน เช่น ให้ลูกศิษย์ของอาจารย์ที่เพิ่งฝึกซ้อมกันมา เขาก็นำเทคนิคการเรียนรู้ที่<br />

เราสอน ประยุกต์ใช้เข้ากับความสามารถที่เขามี จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศขับร้อง<br />

ยอดเยี่ยม ในการประกวด <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong> และรองชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน<br />

เดียวกัน” อาจารย์ปาริฉัตร กล่าว<br />

<br />

เวทีคนมีฝัน<br />

ปัจจุบัน วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ก้าวมาสู่จุดที่เรียกได้ว่า เป็นหลักสูตร<br />

การศึกษาด้านดนตรีที่สมบูรณ์แบบ ด้วยอาจารย์ที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ และมี<br />

ผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการดนตรี นอกจากนี้ ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันของวิทยาลัย<br />

ดนตรี ต่างก็ประสบความสำเร็จในสิ่งที่พวกเขาคาดหวัง ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน คอมโพสเซอร์<br />

(Composers) หรือกำลังศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น <br />

สองนักศึกษาผลิตผลคนดนตรี ม.รังสิต <br />

คว้ารางวัลชนะเลิศ และรองอันดับ 1 <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong><br />

บรรยากาศการรับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

นายเอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา<br />

เอกขับร้อง Voice Jazz วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นายอันโทนี่ ทง หรือ กาย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีแจ๊สศึกษา<br />

เอกขับร้อง Voice Classic วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

โฉมหน้าผู้ชนะการประกวด <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong><br />

นายเอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ หรือ เพียว นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชา<br />

ดนตรีแจ๊สศึกษา เอกขับร้อง Voice Jazz วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต ในฐานะผู้ชนะเลิศรางวัลนักร้องยอดเยี่ยม การประกวด <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong><br />

<strong>2010</strong> กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นและเหมือนฝันไปกับการประกาศผลการประกวด<br />

<strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong> ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้อง<br />

ขอขอบคุณ ดร.เด่น อยู่ประเสิรฐ คณบดีวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

และอาจารย์ปาริฉัตร อยู่ประเสริฐ เป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกๆ สิ่งไม่ว่าจะ<br />

เป็นความอนุเคราะห์พิจารณาทุนการศึกษา (กรณีพิเศษ) ในสมเด็จพระเจ้า<br />

พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ แม้กระทั่งความรู้ต่างๆ ที่อาจารย์ได้สั่ง<br />

สอนมา นอกจากนี้ อยากขอบคุณเพื่อนๆ ที่ไปร่วมเชียร์ในการประกวดครั้ง<br />

นี้ด้วย<br />

“เพียวติดตามการประกวด <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> เป็นประจำทุกปี และในปี<br />

นี้ก็มีการติดประกาศรับสมัครผู้แข่งขันที่บอร์ดของวิทยาลัยดนตรี จึงสนใจ<br />

และสมัครจนผ่านเข้ารอบ เพียวศึกษาเทคนิคการร้องเพลงด้วยตนเองพร้อม<br />

ทั้งปรึกษาอาจารย์ตลอด ซึ่งอาจารย์จะให้คำปรึกษาเรื่องเทคนิคและความรู้<br />

เรื่องการร้องเพลงเสมอ ทำให้เพียวนำไปประยุกต์ใช้ในการประกวดได้จริง<br />

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวอร์มเสียง การหายใจ การออกเสียง เป็นต้น หลังจาก<br />

นี้เพียวก็จะมีผลงานคอนเสิร์ตวันที่ 27 มีนาคม 2553 ที่พารากอน ฮอลล์ จึง<br />

อยากเชิญชวนเพื่อนๆ ไปร่วมให้กำลังใจและติดตามผลงานของเพียวด้วย<br />

ครับ ครับ” และเพียวก็ขอขอบคุณอาจารย์ เพื่อนๆ และทุกแรงใจที่ส่งให้เพียว<br />

ด้าน นายอันโทนี่ ทง หรือ กาย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรี<br />

แจ๊สศึกษา เอกขับร้อง Voice Classic วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ในฐานะผู้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัลป๊อปปูล่าโหวต การ<br />

ประกวด <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong> กล่าวว่า นับเป็นความสำเร็จที่นักศึกษาจาก<br />

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ชนะการประกวด <strong>KPN</strong> <strong>AWARD</strong> <strong>2010</strong><br />

ทั้งสองคน ซึ่งเราทั้งสองคนต้องขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อนๆ ทุกคนเป็น<br />

อย่างมาก ที่ร่วมส่งกำลังใจและติดตามการประกวดมาโดยตลอด<br />

“ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศมีเพื่อนๆ ที่วิทยาลัยดนตรี และ<br />

เพื่อนๆ ดาวเดือนจากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิตมาให้กำลังใจ อีก<br />

ทั้งกายต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่คณะทุกท่าน โดยเฉพาะ ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ<br />

และอาจารย์ปาริฉัตร อยู่ประเสริฐ เพราะส่วนตัวแล้วกายมีพื้นฐานด้านการ<br />

ร้องเพลงมาบ้าง เมื่อประกอบกับการเรียนเอกขับร้องที่วิทยาลัยดนตรีมีส่วน<br />

ช่วยในเรื่องของเทคนิค และการร้องเพลงที่ถูกต้อง ส่วนบรรยากาศการเรียน<br />

อาจารย์จะสอนให้นักศึกษาได้ศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสอนในเรื่อง<br />

ของทฤษฎีและให้ฝึกซ้อม การฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เนื่องจากการเรียนวิชาที่<br />

เกี่ยวกับศิลปะ ผู้เรียนจำเป็นต้องแสดงออกถึงความเป็นตนเองลงในความ<br />

รู้สึกที่แสดงออกมาพร้อมประยุกต์ใช้กับสิ่งที่ถูกต้องในเรื่องของทฤษฎี <br />

นางสาวเจนจิรา ศิริรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส<br />

ศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นแทนเพื่อนทั้งสองคนมาก<br />

เนื่องจากเพียวและกายแสดงออกมาได้ดีทั้งสองคน ทุกคนที่ไปร่วมเชียร์ใน<br />

วันนั้นต่างก็ช่วยกันลุ้น เพราะไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะ แต่ทั้งสองก็เป็นเพื่อน<br />

และเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตเหมือนกัน <br />

<br />

0


0<br />

Buffet<br />

[กวิตา เรืองไทย] บุฟเฟ่ต์<br />

สาวยุคไอที ลูกครึ่งไทย-อเมริกา “แชนน่อน<br />

อี บาร์เกนท์ควาสท์” หรือ แนน ที่มีความสนใจ<br />

ด้านไอที คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเป็นพิเศษ<br />

เธอได้รับแรงบันดาลใจจากคุณพ่อที่ทำงานด้าน<br />

คอมพิวเตอร์ จึงบินลัดฟ้ากลับมาเรียนที่ประเทศ<br />

ไทย และตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศและการสื่อสาร (Information<br />

Communication and Technology หรือ ICT)<br />

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

แนน เล่าว่า หลังจากจบไฮสคูลจาก<br />

สหรัฐอเมริกา ก็กลับมาประเทศไทยเพื่อเรียนต่อ<br />

มหาวิทยาลัย และทราบว่าวิทยาลัยนานาชาติ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต มีหลักสูตรด้าน ICT ซึ่งมี<br />

ความน่าสนใจมาก เพราะจะได้เรียนเกี่ยวกับเกม<br />

ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ Programming เทคโนโลยี<br />

ใหม่ๆ ทั้ง Visual Pictures เหมือนในเรื่อง Star<br />

Wars เทคโนโลยีมือถือ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ รวม<br />

ทั้งเครือข่ายไร้สายต่างๆ เป็นต้น ทำให้ได้ความรู้<br />

ที่หลากหลายและครอบคลุมเรื่องเทคโนโลยีทุก<br />

เรื่อง นอกจากนี้ เรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องยากที่<br />

จะสื่อสารให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ด้วยคณาจารย์<br />

ผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน ทำให้เรา<br />

ได้รับความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่ และถ้า<br />

ไม่เข้าใจบทเรียนตรงไหนสามารถถามอาจารย์ได้<br />

นอกจากนี้ เพื่อนๆ ในห้องเรียนมีจำนวนน้อย แต่<br />

ถือเป็นข้อดีเพราะทำให้เรามีความสนิทสนมกัน<br />

และช่วยกันเรียน ใครไม่เข้าใจบทเรียนสามารถ<br />

ปรึกษาเพื่อนที่นั่งข้างๆ ได้เลยถือเป็นการแชร์<br />

ไอเดียกันในห้องด้วย<br />

“นอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว แนน<br />

ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมของวิทยาลัยอยู่บ่อยครั้ง<br />

เช่น กิจกรรม Singing Contest ก็รับหน้าที่<br />

จำหน่ายตั๋วและประชาสัมพันธ์งาน และล่าสุดงาน<br />

International Day ดังนั้น การเรียนในสาขาวิชานี้<br />

ทำให้เราเป็นคนกระตือรือร้น ต้องอัพเดตเทรนด์<br />

เทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อให้ไล่ตามเทคโนโลยีทัน<br />

และเป็นคนที่มีองค์ความรู้รอบด้าน และการเรียน<br />

ในวิทยาลัยนานาชาตินั้น สอนให้เราสามารถเข้า<br />

สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ<br />

ภาษาได้ เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม<br />

ซึ่งกันและกันด้วย ฉะนั้น การที่เราได้อยู่ในสังคม<br />

ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้เราได้<br />

เปรียบเพราะชีวิตการทำงานจริงในด้านไอที<br />

บุคลากรส่วนใหญ่ก็มาจากต่างชาติกันเยอะด้วย”<br />

<br />

Buffet<br />

[นิจวรรณ นาวารัตน์] บุฟเฟ่ต์<br />

เศรษฐศิษฎ์ รุ่งเจริญพร<br />

มหาวิทยาลัย ซึ่งออกอากาศทางช่อง ASTV และการให้<br />

นายเศรษฐศิษฎ์ รุ่งเจริญพร (เต๋) นักศึกษาชั้น<br />

ปีที่ 4 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ชายหนุ่ม<br />

หน้าใสนักกิจกรรมประจำคณะเภสัชศาสตร์ เพราะนับ<br />

ตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เต๋<br />

ได้รับโอกาสมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการได้รับคัดเลือก<br />

จากทางคณะฯ ให้รับตำแหน่งเดือน จากนั้นก็ร่วมการ<br />

ประกวดในระดับมหาวิทยาลัยจนท้ายที่สุดก็เอาชนะใจ<br />

กรรมการ คว้าตำแหน่งเดือนมหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ประจำปี 2549 มาครอง จนได้รับการทาบทามให้รับ<br />

หน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวประจำรายการห้องข่าว<br />

นายเศรษฐศิษฎ์ รุ่งเจริญพร นักศึกษาชั้นปีที่ 4<br />

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

แชนน่อน อี บาร์เกนท์ควาสท์<br />

นางสาวแชนน่อน อี บาร์เกนท์ควาสท์ นักศึกษา<br />

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร<br />

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

<br />

สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในฐานะหนุ่มน้อย<br />

มากความสามารถ<br />

ด้วยบุคลิกอันโดดเด่นประกอบกับการเป็นคน<br />

สุภาพเรียบร้อย ทำให้เต๋ได้รับความไว้วางใจให้รับหน้าที่<br />

สำคัญในงานของมหาวิทยาลัยรังสิตบ่อยครั้ง อาทิ การ<br />

เป็นผู้ถือธงชาติไทย เมื่อครั้งสภามหาวิทยาลัยรังสิต มี<br />

มติเป็นเอกฉันท์ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิต<br />

กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และ<br />

เศรษฐศาสตร์แด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์<br />

นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน การเป็นทูต<br />

กีฬามหาวิทยาลัยโลก ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 (Universiade<br />

Ambassador) และการเป็นทูตข่าวสารประจำคณะ<br />

เภสัชศาสตร์ ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์<br />

ตรงในฐานะชาวหมอยาแก่น้องๆ กว่า 8,000 คน<br />

<br />

ละครเวทีสถาปัตย์ลำดับที่ 18 <br />

The Choice<br />

การจะทำอะไร เราต้องก้าวเดินมาจากจุดเริ่มต้นก่อนเสมอ แม้ว่า<br />

ในบางครั้งอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาจะทำให้เราท้อใจ แต่อย่าเพิ่งถอด<br />

ใจ เหมือนกับนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เริ่มต้นนับหนึ่งมาพร้อมกัน ผ่านร้อน<br />

ผ่านหนาวมาด้วยกัน ประสบการณ์ต่างๆ ได้ขัดเกลาพวกเขาให้มีความ<br />

สามารถเพิ่มมากขึ้น นอกจากด้านไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ แล้วยังมี<br />

ความสามารถทางด้านการแสดงเพิ่มเข้ามาอีก ใช่แล้ว... เรากำลังพูดถึงเหล่า<br />

ผู้กำกับและทีมนักแสดงจาก The Choice ละครเวทีสถาปัตย์ ลำดับที่ 18 <br />

นายรชานนท์ มีเอี่ยม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในทีมผู้เขียนบท กล่าวว่า<br />

เริ่มต้นจากการเขียนบท โดยได้มีการพูดคุยกันในทีมกำกับว่าต้องการเนื้อ<br />

เรื่องให้ออกมาเป็นแบบไหน ซึ่งส่วนตัวแล้วตนเป็นคนที่คลั่งไคล้ในผลงาน<br />

ของ Tim Burton มาก ตนมีแนวความคิดหนึ่งคล้ายกับเขาที่จะนำเสนอ<br />

เรื่องราวเกี่ยวกับเด็กในมุมมองที่แปลกออกไป และอีกสิ่งหนึ่งที่คิดเอาไว้<br />

คือ เราน่าจะทำอะไรบางอย่างให้สังคมได้บ้าง ก็เลยมองไปถึงเรื่องของ<br />

เด็กกำพร้า โดยนำเสนอในมุมมองความฝันที่จะเป็นพลังให้พวกเขา<br />

เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีในสังคม ก็เลยอยากจะสร้างเนื้อเรื่องตรงนี้ขึ้นมา <br />

(จากซ้าย) ทีมผู้กำกับ นายชัยพล อี่เจริญ นายธนากร อนุรักษ์ นายวุฒิศักดิ์ เทิดบารมี นายร<br />

ชานนท์ มีเอี่ยม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

Scoop<br />

[สมพล วชิรวัฒนา] สกู๊ป<br />

“ซึ่งเนื้อเรื่องจะเป็นการพูดถึง เรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มี<br />

ความฝัน แต่ตัวเขาเป็นเด็กกำพร้า สิ่งที่ทำให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในโลกได้ก็คือ<br />

ความฝันและความเชื่อที่ว่าวันหนึ่งเขาจะได้เจอกับครอบครัวของตัวเองที่<br />

หายไป แต่ว่าวันหนึ่งโชคชะตาก็เล่นตลกกับเขา ทำให้เขาได้เจอชาย<br />

ปริศนาคนหนึ่งที่กลับเข้ามาในเมือง หลังจากนั้นเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ<br />

ก็ได้เกิดขึ้น โดยเนื้อเรื่องก็จะเป็นการกล่าวถึง ชายปริศนาว่าเขาเข้ามาทำ<br />

อะไรและเด็กผู้หญิงจะได้เจอกับครอบครัวอีกหรือไม่” นายรชานนท์<br />

กล่าวต่อ<br />

ด้าน นายวุฒิศักดิ์ เทิดบารมี และนายธนากร อนุรักษ์ นักศึกษา<br />

ชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในทีม<br />

ผู้กำกับ กล่าวเสริมว่า สำหรับการเตรียมงานนั้น ได้มีการประชุมแบ่ง<br />

หน้าที่กันในแต่ละฝ่าย โดยในส่วนของการเวิร์คชอปนักแสดงนั้นใช้เวลา<br />

ประมาณ 4-6 เดือน เพราะต้องมาปรับเรื่องของการแอคติ้งระหว่าง<br />

นักแสดงเก่ากับนักแสดงใหม่ หลังจากนั้นก็ประชุมกันระหว่างทีมผู้กำกับ<br />

ในส่วนของการแจกบทให้นักแสดง เพื่อความเหมาะสมของบทกับ<br />

คาแรคเตอร์ของนักแสดง จากนั้นก็เป็นเรื่องของการซ้อมบทและการเข้า<br />

บทกันของนักแสดง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือนสำหรับการเตรียมความ<br />

พร้อมของงานละครเวทีในครั้งนี้<br />

“อันดับแรกต้องขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่าน ที่คอยช่วยในส่วน<br />

เรื่องของเวลาเรียน หรือแม้แต่เวลาที่พวกเรามีปัญหาอะไรก็จะได้คำ<br />

ปรึกษาที่ดีจากทุกท่าน เนื่องจากอาจารย์เข้าใจว่าเรามีกิจกรรมตรงนี้<br />

และก็อยากที่จะรักษาให้เป็นวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยต่อไปเรื่อยๆ<br />

นอกจากอาจารย์แล้วก็ยังต้องขอขอบคุณรุ่นพี่ทุกคน พวกเราโชคดีที่ความ<br />

เป็นพี่น้อง ความกลมเกลียวของพวกเรายังมีอยู่ พวกพี่ๆ ที่เข้ามาก็จะ<br />

ช่วยกระตุ้นพวกเราในยามที่ท้อแท้ และนำจุดบอดของแต่ละรุ่นมาปรับใช้<br />

ในละครของปีนี้ให้ดียิ่งขึ้นไป” จากใจทีมผู้กำกับ ทีมงาน และทีมนักแสดง <br />

อยากฝากถึงคนที่ไม่เคยดูละครเวที อยากให้ลองมาดูสักครั้ง<br />

เพราะว่าเดี๋ยวนี้ละครเวทีหาดูได้ยากมาก และละครเวทีของสถาปัตย์<br />

แต่ละที่ก็จะมีกลิ่นอายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อยากให้ทุกคนได้ลอง<br />

สัมผัสกับบรรยากาศตรงนี้ แล้วคุณจะรู้จักกับคำว่าสถาปัตย์รังสิตขึ้นอีก<br />

เยอะ <br />

<br />

0


0<br />

Recommended<br />

เมนูบันเทิง<br />

อาจารย์ในร้านคุกกี้ โดย อักษรลักษณ์<br />

<br />

หากพูดถึงนามปากกา “นิ้วกลม” คงมีนักอ่านเพียงไม่กี่คนที่จะส่ายหน้าและบอกว่า<br />

ไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ เพราะเขามีผลงานพ็อกเกตบุ๊กวางขายอยู่ในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ<br />

กว่า 15 เล่ม โดยใช้เวลาในการสร้างสรรค์ผลงานเพียง 6 ปีเท่านั้น และ เรื่อง “อาจารย์ใน<br />

ร้านคุกกี้” ก็เป็นหนึ่งในผลงานขายดี เพราะตีพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นการนำเสนอ 39<br />

เคล็ดวิชาแห่งความสุขและแรงบันดาลใจ ที่เขามองผ่านสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว เช่น การ<br />

วางแผนชีวิตผ่านการไปจ่ายตลาดหรือการเพิ่มศักยภาพตนเองด้วยมุมคิดแบบไม้จิ้มฟัน การ<br />

เปลี่ยนพลังแห่งความเกลียดให้กลายเป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแนวคิดเพียงบางส่วน<br />

ของเขาเท่านั้น ยังมีอีกหลายเรื่องราวหลากมุมมองที่นิ้วกลมถ่ายทอดออกมาเป็นแนวทางการ<br />

ใช้ชีวิตให้มีความสุขได้อย่างน่าสนใจและควรนำไปใช้เป็นที่สุด<br />

นวัตกรรมผู้นำระดับชาติ ครั้งที่ 2 <br />

วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จัดประชุมวิชาการว่าด้วยนวัตกรรมผู้นำ<br />

ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (The 2nd National Conference on Leadership Innovation) เรื่อง “การ<br />

พัฒนาผู้นำเพื่อสร้างสังคมธรรมาธิปไตย” (Leadership Development for Dhammacratic<br />

Society) โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ<br />

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาผู้นำเพื่อสร้างสังคมธรรมาธิปไตย” และการอภิปราย เรื่อง<br />

“บทบาทของผู้นำภาคประชาชนในการสร้างสังคมธรรมาธิปไตย” โดย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐ-<br />

วิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายอิสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา<br />

สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ดำเนินรายการโดย ดร.วิชัย รูปขำดี สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิต<br />

พัฒนบริหารศาสตร์ ณ ห้องประชุม 1-301 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1)<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

News<br />

ภาพข่าว<br />

0<br />

New Apple Tablet : “iPad” โดย อาจารย์ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง<br />

<br />

ต่อจากครั้งที่แล้ว อย่างที่บอกว่าปีนี้ hot แน่นอนสำหรับอุปกรณ์แนว e-Book Netbook เหตุ<br />

เพราะ iPad ของ Apple นั่นเอง หลังจากมีข่าวต่างๆ ก่อนหน้านี้ออกมาในชื่อ iSlate ในที่สุด Apple ก็<br />

ปล่อย iPad คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ออกมาให้ได้เห็นกัน โดย iPad มีหน้าจอแบบ LED 9.7 นิ้ว (24.3 ซม.)<br />

สไตล์ iPhone หรือ iPod Touch ความหนา 0.5 นิ้ว หนัก 0.7 กก. มี 3 รุ่นขนาด 16, 32 และ 64<br />

กิกะไบต์ ตั้งราคาเริ่มที่ 499 เหรียญสหรัฐ (เอา 34 คูณเป็นเงินบาท) ส่วนรุ่นใหญ่สุดราคาราว 829<br />

เหรียญสหรัฐ ทำงานได้เหมือน iPod เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ มี Wi-Fi มีโปรแกรม<br />

iWork ซึ่งสามารถเปิดและแก้ไขไฟล์เอกสาร Microsoft Office ทั้งชุดได้ด้วย สามารถใช้งานคีย์บอร์ด<br />

ต่อพ่วง (External Keyboard) เพื่อพิมพ์งาน ซึ่งหลายคนชอบตรงนี้ และ Battery อยู่นานกว่า<br />

10 ชั่วโมง ลองชม Video ได้ที่ http://www.apple.com/ipad/#video แต่ต้อง<br />

ระวังครับ อะไรที่มันฮิตๆ สิ่งที่ตามมาคือ ภัยอันตรายในรูปแบบต่างๆ ทาง<br />

อินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องคอยดูกันต่อไป<br />

My Valentine แล้วรัก... ก็หมุนรอบตัวเรา โดย ผศ.ดร.กฤษดา เกิดดี<br />

<br />

ถึงแม้ไม่มีการบอกอย่างชัดเจนว่าเป็นภาพยนตร์ภาคสอง แต่พอเข้าใจได้ว่า “My Valentine<br />

แล้วรัก... ก็หมุนรอบตัวเรา” เป็นภาคสองของ “Before Valentine ก่อนรัก... หมุนรอบตัวเรา” <br />

ในเรื่อง Before Valentine ทางผู้เขียนบท ได้สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของคนหลายคู่<br />

โดยเรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นภายในวันเดียว ซึ่งเมื่อมองในแง่แนวคิด ถือว่าเป็นการนำเสนอแนวคิดที่<br />

ดี พอมาเป็นภาคสองยังคงมีการเน้นแนวคิดด้วยการกำหนดให้เกิดเหตุการณ์หลายแบบที่เกี่ยวกับ<br />

ความรัก โดยมีตัวละครหญิงสาวเป็นศูนย์กลาง เมื่อมองตรงจุดนี้ แม้เป็นการสร้างต่อจากภาคก่อน<br />

แต่ยังน่าเชื่อถือว่ามีแนวคิดที่ดีอยู่ และส่วนที่เป็นจุดดึงดูดของภาพยนตร์ก็คือ ผู้แสดงนำหนึ่งหญิง<br />

สามชาย ซึ่งนอกจากมีเสน่ห์ดึงดูดคนดูแล้วยังแสดงได้ดีอีกด้วย โดยเฉพาะผู้แสดงนำหญิง<br />

(มิณฑิตา วัฒนกุล) <br />

อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีบท ดี กำกับดี และการแสดงที่ดี<br />

งานสัปดาห์ห้องสมุด<br />

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต จัดงานสัปดาห์ห้องสมุด<br />

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีการเสวนาที่<br />

น่าสนใจ อาทิ การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “หนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็ก<br />

และเยาวชนไทยควรอ่าน” โดยศาสตราจารย์พิเศษทองต่อ กล้วยไม้<br />

ณ อยุธยา อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร การสนทนาธรรม เรื่อง “ยิ่ง<br />

อ่าน... ยิ่งได้เปรียบ” โดยพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ วัด<br />

บางปลากด จ.นครนายก ร่วมสนทนาธรรมโดย อาจารย์ศนิวาร วุฒฑกุล<br />

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต การประชันไมโครโฟนในหัวข้อ “ไม่อ่าน... ก็ไม่รู้” โดยศิลปิน<br />

ดาราของมหาวิทยาลัยรังสิต และการแสดงนิทรรศการของสำนัก<br />

หอสมุด ณ อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต


0<br />

News<br />

ภาพข่าว<br />

Point of view<br />

[สมพล วชิรวัฒนา]<br />

นานาทัศนะ<br />

0<br />

การแสดงบัลเล่ต์ปักกิ่ง<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต โดยความร่วมมือจากสถานเอกอัคราชทูต<br />

สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะ<br />

กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดการแสดงบัลเล่ต์จากสถาบันนาฏศิลป์<br />

ปักกิ่ง เนื่องในการเฉลิมฉลองมิตรภาพอันยั่งยืนระหว่างราชอาณาจักร<br />

ไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อาทิตย์<br />

อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และ ฯพณฯ ก่วนมู่ เอกอัครราชทูต<br />

จีนประจำประเทศไทย ร่วมชมการแสดง โดยมีอาจารย์อภิชัย เลี่ยม-<br />

ทอง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย วิทยาลัยดนตรี ผู้ควบคุมวง<br />

Rangsit University Symphony Orchestra ร่วมบรรเลงเพลง ซึ่งภายใน<br />

งานมีผู้ให้ความสนใจร่วมชมการแสดงกว่า 1,200 คน ณ หอประชุม<br />

ใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<br />

มีนาคม 2553 ครบรอบ 25 ปีม.รังสิต<br />

นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลายคณะหลายหน่วยงานของมหาวิทยาลัยรังสิตต่างพร้อมใจกันจัดกิจกรรม เนื่องใน<br />

โอกาสครบรอบปีที่ 25 ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้น จึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้ให้น้องๆ รั้วฟ้า-บานเย็น ได้ร่วมกัน<br />

ถ่ายทอดความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อโอกาสพิเศษนี้<br />

นายพัสกร วุฒิวิญญูชน (เจ) นักศึกษา<br />

ชั้นปีที่ 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ขอให้ ม.รังสิต สร้างคนดีๆ ตลอด<br />

ไปเพื่ออนาคตที่ดีของชาติ “ม.รังสิต<br />

จงเจริญ”<br />

นางสาวทักษอร มุสิโก (แอร์) นักศึกษาชั้นปีที่ 3<br />

คณะเภสัชศาสตร์<br />

ขอให้มหาวิทยาลัยรังสิตก้าวสู่ปีที่ 26 อย่างมี<br />

คุณภาพ ส่งเสริมกิจกรรมของนักศึกษาต่อไปค่ะ <br />

ฟุตบอลการกุศล<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต จัดโครงการ “รังสิตร่วมใจช่วยผู้ประสบภัย<br />

เฮติ” ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลการกุศลนัดพิเศษระหว่างทีมบุคลากร<br />

และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิตกับทีมรวมศิลปิน-ดารา โดยได้รับ<br />

เกียรติจากอาจารย์เอกชาต สมพงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเปิดงาน ซึ่งรายได้จากการรับบริจาคจะนำไป<br />

สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศเฮติ ณ สนาม<br />

ฟุตบอลมหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นางสาวณัฏฐ์ธิดา วงษ์แสงแก้ว (นก) <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะการแพทย์แผนตะวัน-<br />

ออก<br />

อยากให้ทางมหาวิทยาลัยรังสิตมี<br />

กิจกรรมดีๆ แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ และมี<br />

ความเจริญก้าวหน้าพร้อมกับผลิต<br />

นักศึกษาที่มีคุณภาพ และประสบความ<br />

สำเร็จในก้าวต่อๆ ไปของทุกปีค่ะ<br />

นางสาวปริฉัตร พัฒนาพรหมชัย (ปลา) นักศึกษา<br />

ชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ขอให้ ม.รังสิต ผลิตบุคลากรที่ดีออกมาสู่สังคม<br />

เยอะๆ นะคะ และขอขอบคุณที่สร้างสิ่งดีๆ ให้<br />

ตลอดระยะเวลาที่ได้อยู่ที่นี่ค่ะ<br />

<br />

นายนิธิวุฒิ เหลืองธรรมชาติ (ดรีม) นักศึกษาชั้นปีที่ 2<br />

คณะทันตแพทยศาสตร์ <br />

25 ปีที่มหาวิทยาลัยเติบโตมา พร้อมกับการสร้าง<br />

บุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ขอให้ก้าวต่อไปด้วยความ<br />

ยิ่งใหญ่ พร้อมกับคุณภาพที่ดีอยู่แล้วให้ดีต่อๆ ไป<br />

นายดนัย ไชยเสน (กอล์ฟ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะกายภาพบำบัด <br />

ม.รังสิต คือ ลมหายใจของเรา เพราะ ม.รังสิต สร้างลมหายใจ<br />

ให้เรามาถึง 25 ปี ด้วยการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย และ<br />

เสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักศึกษารวมถึงตัวผมด้วย ขอบคุณครับ


10<br />

Hitchhiker<br />

สะพายเป้ เข็มทิศ ลายแทง<br />

[จารย์อิท คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ]<br />

email : ittiphun@hotmail.com<br />

ด้านหลังผม สาวน้อยที่บีบผมมาตลอดทาง แฮ่ แฮ่... จารย์<br />

ชอบจร้า<br />

สวัสดีครับทุกท่าน ปิดเทอมเดือนมีนาคมนี้<br />

ท่านมีโปรแกรมไปเที่ยวไหนกันหรือยังครับ ถ้ายัง<br />

ไม่มีลองพิจารณาไปเที่ยวกับผมมั๊ย RSU Travel<br />

ซึ่งเป็นบริษัทของคณะฯ ผมและ ม.รังสิต รับจัด<br />

นำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ จำหน่ายตั๋วเครื่อง<br />

บินราคาพิเศษ ผมในฐานะที่ปรึกษาก็ต้องทำหน้าที่<br />

พาทุกท่านไม่ว่าจะเป็นบุคลากร นักศึกษา หรือ<br />

บุคคลทั่วไป สามารถมาร่วมแจมทริปกับบริษัทของ<br />

ผมได้ <br />

ตามคำเรียกร้องมานานแล้วว่าอยากไปเมือง<br />

นอกในราคาถูกและเนียน... จัดไป ผมจะพาไป<br />

เที่ยวเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย โดยรถบัสปรับ<br />

อากาศแบบ V.I.P. เบาะปรับเอนนอนพร้อมผ้าห่ม<br />

ชม DVD ตลอดทาง มีห้องน้ำสะอาดบนรถด้วย<br />

ครับ ข้ามไปเกาะลังกาวีด้วยเรือเฟอร์รี่ปรับอากาศ<br />

เหมือนนั่งเครื่อง แหล่งท่องเที่ยวเพียบ ชอปปิง<br />

กระจาย ไม่ต้องใช้ Passport ครับ แค่สำเนาบัตร<br />

ประชาชนก็ทำให้ได้ครับ ผมรับแค่ 40 คนเท่านั้น<br />

ออกเดินทางเย็นวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม ถึง<br />

กรุงเทพเช้ามืดวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม 2553 ขอ<br />

โปรแกรมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ RSU Travel<br />

ด้านล่างตึก 11 โทร. 0-2997-2222 ต่อ 4028 หรือ<br />

ที่อีเมลของผม ittiphun@hotmail.com จองด่วน<br />

นะครับ ไม่งั้นพลาดแน่<br />

เอาล่ะครับ ตามผมไปเที่ยวแบบผจญภัยกัน<br />

ดีกว่า แฟนๆ ผมหลายท่านคงจำได้ว่าผมเคยพา<br />

ลูกศิษย์ที่เรียนวิชาท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Soft<br />

Adventure Tourism) ไปออกทริปที่ จ.สระบุรี มา<br />

แล้ว แต่คราวนี้ผมเปลี่ยนสถานที่เพื่อความลงตัว<br />

มาที่ จ.นครนายก เราออกเดินทางวันศุกร์ที่ 15<br />

มกราคม ที่ผ่านมา ด้วยรถบัส 2 คัน เด็กๆ<br />

ประมาณ 100 คน ถึงทอฝันแคมป์ จ.นครนายก<br />

ประมาณเกือบ 10 โมง ให้ทุกคนแปลงร่างใส่เสื้อ<br />

ยืด กางเกงขาสั้น สวมเสื้อชูชีพ ใส่หมวกกันน๊อค<br />

เจ้าหน้าที่อธิบายขั้นตอนปฏิบัติในการล่องแก่งที่<br />

เหมือนกับที่ผมเคยสอนแกไปในชั้นเรียนแล้ว ลง<br />

แพยางลำละ 8 คน นายท้ายอีก 1 คน รวมเป็น 9<br />

คนต่อลำ “จารย์ขา! นู๋อยากเล่นคร่า แต่... กลัว<br />

แพล่ม นู๋เปียกน้ำม่ายด้ายคร่า” “อ้าว! เป็นโรค<br />

กลัวน้ำเหรอ” ผมแอบกัดเธอเล็กน้อยทั้งๆ ที่พอเดา<br />

สาเหตุได้ “ป่าวคร่า แต่เป็นวันที่มามากมายคร่า<br />

นู๋กัวจะเลอะเทอะ... อายจารย์คร่า” “ม่ายเป็นราย<br />

ครูทนด้าย ครูจะบอกนายท้ายให้คัดท้ายดีๆ ห้าม<br />

ล่มเพราะครูเอากล้องไปถ่ายรูปด้วย ถ้าทำแพล่ม...<br />

ตบกลิ้ง OK มั้ย” “ขอบคุงคร่า” ผมเรียก 4 หนุ่ม<br />

ที่มาจากถาปัด มีสาวๆ พวกวันมามากมายอีก 4<br />

นาง ให้ลงลำผม พวกหนุ่มๆ ขี้หลีหลายคนดีใจ<br />

กระดี้กระด้าที่จะได้ไปลงแพกับสาวๆ เด๋วเหอะจะ<br />

สำนึก หุ หุ แพยางเริ่มทยอยออกจากท่า เริ่มล่อง<br />

แม่น้ำนครนายก ช่วงแรกลำน้ำนิ่งๆ ไหลเอื่อยๆ<br />

ทุกคนต้องช่วยกันพายตามคำสั่งของนายท้าย<br />

กินกลางสนามหญ้า น่าจะเป็นครั้งเดียวในชีวิตนะเด็กๆ<br />

ลำที่มีผมเป็นพ่อย่านาง 4 หนุ่ม 4 สาวที่มามากมาย หุ หุ<br />

สักพักเริ่มได้ยินเสียงน้ำซู่ๆ ทุกคนเตรียมตัวผ่าน<br />

แก่ง เริ่มมีเสียงวี๊ด ว๊าย แหกปากมาจากแพลำข้าง<br />

หน้า พอถึงตาลำผมบ้าง 4 สาวนั่งหน้าซีดปากคอ<br />

สั่น สาวขาวเนียนที่นั่งข้างผม แกเกาะบีบหยิกแขน<br />

ซ้ายผมอย่างแน่น แหกปากร้องดังสนั่น พอพ้นแก่ง<br />

มาได้ “นู๋จ๋า! ปล่อยมือจากแขนจารย์ได้แล้ว เลือด<br />

มันไม่เดินแล้วจ้า” “อุ๊ยตายและ... นู๋ลืมตัว ขอโทษ<br />

คร่า” “ม่ายเป็นราย... แก่งหน้าบีบครูอีกนะ... ครู<br />

ชอบ 555” หลังจากนั้นพวกเราก็ล่องผ่านแก่ง<br />

ต่างๆ มาเป็นระยะๆ จนมาถึงแก่งปราบเซียนที่<br />

เรียกว่าแก่ง 3 ชั้น ที่แพมักจะคว่ำบ่อย แพของผม<br />

ผ่านมาได้แบบน้ำเข้าเต็มแพเกือบล่ม ดีที่ว่ามี 4<br />

หนุ่มอึดเป็นกำลังสำคัญ ใครมาถึงจุดนี้ก็ให้ขึ้นฝั่ง<br />

ทุกคนต้องกางเต็นท์เองตามที่สอนในชั้นเรียน<br />

มาก่อนเพื่อเตรียมทานข้าวกลางวัน ผมขึ้นฝั่งมา<br />

นั่งดูและเก็บภาพ มีหลายลำที่คว่ำและตกน้ำกัน<br />

ระเนระนาด แต่ทางทีมงานเขาก็เข้ามาดูแล<br />

ตลอด มีอยู่ลำนึงก็คว่ำปกติ ผมเห็นลูกศิษย์สาว<br />

ลอยละล่องมาตามสายน้ำ ร้องแหกปากให้ช่วย<br />

ลั่น “ช่วยด้วย ช่วยด้วยๆๆๆ” ท่านผู้อ่านไม่ต้อง<br />

กลัวหรอกครับ เพราะถ้าใส่ชูชีพไว้อย่างถูกวิธี ยัง<br />

ไงก็ไม่จมน้ำแน่นอน แต่อาจลอยไปไกลหน่อย<br />

ผมก็สอนเด็กๆ ไว้แล้วว่าทำใจให้สบายๆ ปล่อย<br />

ให้ลอยไปเรื่อยๆ อย่าฝืนกระแสน้ำ อีก 3 วันครู<br />

จะมาเก็บ... ฮา มุกนี้เวลาบรรยายในชั้นเรียนเด็ก<br />

จะฮากันตรึม จุดนี้เจ้าหน้าที่เตรียมข้าวเหนียวไก่<br />

ทอดห่อใบตองมาให้พวกเราทานเป็นอาหารกลาง<br />

วัน พร้อมขนมขบเคี้ยวและน้ำเย็นๆ ทุกคนทาน<br />

กันอย่างหิวโหยเอร็ดอร่อย ต่อจากนั้นก็ลงแพพาย<br />

ไปกับสายน้ำเอื่อยๆ อีกไกล ทีนี้แหละพวกขี้หลี<br />

ทั้งหลายงานเข้าเลย เพราะสาวๆ เริ่มทิ้งพาย<br />

ข้าวเหนียวไก่ทอดมื้อกลางวัน กินไม่ได้ก็ต้องกิน แต่เรียบ<br />

ทุกคน<br />

รถบรรทุกคนงานตัดอ้อย ม.รังสิต ทั้งไทย-จีน<br />

ขี้เกียจพายแล้ว ปวดแขนบ้าง สุดจะอ้างอ้อน<br />

สารพัด... สมน้ำหน้าพวกขี้หลี <br />

เรามาขึ้นฝั่งเอาเกือบบ่ายสองโมงแล้ว มีรถ<br />

กระบะท้ายโล่งมารอรับ ยืนยัดเบียดเสียดกันมา<br />

เหมือนรถบรรทุกคนงานไปตัดอ้อย กลับกลาย<br />

เป็นที่หนุกหนานของเด็กๆ เฮฮากันมาตลอดทาง<br />

ถึงที่พักผมเอาเต็นท์มาวางตามจุดต่างๆ ทั่ว<br />

มันสีส้มเผา... วิเศษสุดหาไม่ได้ในเมืองหลวง<br />

บริเวณ ให้แต่ละคนเลือกเอาตามใจชอบ เต็นท์<br />

ละ 2 คน มีหมอนและแผ่นรองนอนให้ ถุงนอน<br />

หรือผ้าห่มให้เอามาเอง ให้กางเต็นท์เองตามที่<br />

สอนและสาธิตในชั้นเรียนมาแล้ว ไม่ได้กางไว้ให้<br />

พวกสาวๆ หน้าตาดีออกแนวคุณหนูหน่อยจะ<br />

ทุลักทุเลมาก อาศัยลูกอ้อนให้หนุ่มๆ มาช่วยกาง<br />

ให้ หล่อนยืนให้กำลังใจเหมือนถ่ายมิวสิคเลย...<br />

การเล่นดริฟ... ใครอยากเสียว... เชิญ<br />

ฮ่วย หลังจากนั้นสาวๆ ออกแนวถึกๆ หน่อยก็มา<br />

ช่วยกันเสียบไม้บาบีคิวไก่สำหรับคืนนี้ บางพวก<br />

กางเต็นท์เสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำที่ลำธาร ตกเย็นทาง<br />

ร้านอาหารเอาเสบียงมาส่ง ติดเตา เตรียมผักบุ้ง<br />

ทั้งเด็กไทย-จีนก็เข้ามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ<br />

บางพวกก็แยกไปทำไข่เจียว บางพวกก็ทำผัดผักบุ้ง<br />

ผมเตรียมอาหารสำเร็จรูปไว้ให้อีก 3 อย่าง ได้เวลา<br />

ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย นครนายก-เขาใหญ่<br />

ทุ่มกว่า เรียกทุกคนมานั่งทานข้าวล้อมวงที่สนาม<br />

หญ้าท่ามกลางหมู่ดาว และล้อมรอบไปด้วยตะเกียง<br />

น้ำมันก๊าดจุดรอบบริเวณที่พัก ช่างแจ่มบรรเจิดเสีย<br />

นี่กระไร ล้างปากด้วยผลไม้ ตามด้วยบาร์บีคิวไก่ปิ้ง<br />

300 ไม้... เรียบ ตบท้ายด้วยมันเผาร้อนๆ สีส้ม ที่<br />

เผาแทบไม่ทันเลย ทุกคนอิ่มอร่อยกับฝีมีตัวเองกัน<br />

ถ้วนหน้า ใบหน้าแต่ละคนเปี่ยมสุข ชอบกับอารมณ์<br />

ติดดินแบบสบายๆ สไตล์จารย์อิทมาก ผมนั่งคุย<br />

กับเด็กๆ ว่าให้จำการออกทริปครั้งนี้ไว้ เพราะน่า<br />

จะเป็นความสุขสนุกสนานครั้งเดียวในชีวิตที่ต้อง<br />

รู้จักช่วยตัวเอง การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ไม่แบ่ง<br />

ค่ายแบ่งสีกัน ให้รู้จักความพอดีความพอเพียงแบ่ง<br />

ปันกันมันจะทำให้สังคมเล็กๆ น่าอยู่และอบอุ่นครับ<br />

ราตรีสวัสดิ์ไปกับอากาศหนาวเย็นของเดือน<br />

มกราคมที่นครนายก... เจอกันภาคต่อฉบับหน้า<br />

ครับ<br />

อาหารเช้า<br />

บรรยากาศยามเช้าตรู่ บาร์บีคิวปิ้ง... รอหน่อยน๊า ย่างไม่ทัน<br />

Newsร.ร.สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต จัดการแสดงละครเพลงเรื่อง “The Lion King”<br />

ข่าว<br />

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต จัดการแสดงละครเพลง<br />

ประจำปีการศึกษา 2552 เรื่อง “The Lion King” ซึ่งจะจัดการแสดงขึ้น 2 รอบ ในวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2553 เวลา<br />

16.00-18.00 น. และวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2553 เวลา 19.30 น. ณ ห้องประชุม 1-301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต จำหน่ายบัตรในราคา 500 บาท และ 1,000 บาท<br />

ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความสามารถและทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ<br />

อีกทั้งยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต กับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต<br />

อีกด้วย<br />

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตแห่ง<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต โทร. 0-2792-7514<br />

11


12<br />

3 หนุ่มคอมฯ อาร์ต <br />

ทีม “อะจิงโลยโลย” <br />

แชมป์ประกวดแอนิเมชั่น<br />

รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย<br />

News<br />

ข่าว<br />

นับเป็นความโชคดีของ<br />

น้องๆ นักศึกษายุคนี้ ที่องค์กรทั้ง<br />

ภาครัฐและเอกชนต่างให้ความ<br />

สำคัญแก่เยาวชนในการใช้ความรู้<br />

ความสามารถในสิ่งที่ศึกษามา<br />

ประชันกันในโลกแห่งความเป็นจริง<br />

ด้วยการจัดกิจกรรมการประกวด<br />

รูปแบบต่างๆ มากมาย หนึ่งใน<br />

โครงการที่น่าสนใจรายการหนึ่งคือ<br />

โครงการบริดจสโตน ไทร์ เซฟตี้ :<br />

3 ดี แอนิเมชั่นคอนเทสต์ 2009 ซึ่ง<br />

Showcase<br />

[นิจวรรณ นาวารัตน์] ของดีมีอยู่<br />

เป็นการประกวดแอนิเมชั่นรณรงค์<br />

และสร้างจิตสำนึกในการขับขี่อย่าง<br />

ปลอดภัยในหัวข้อ “ไทร์ เซฟตี้ (Tire<br />

Safety) ช่วยกันคนละนิด ชีวิตบน<br />

ถนนก็ปลอดภัย” จัดขึ้นโดย บริษัท<br />

บริดจสโตนเซลล์ (ประเทศไทย)<br />

ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวง<br />

ศึกษาธิการและสำนักงานพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ<br />

(วช.) ซึ่งมีนักศึกษาระดับอุดมศึกษา<br />

ให้ความสนใจส่งผลงานเข้าประกวด<br />

ถึง 84 ผลงาน<br />

ทั้งนี้ ผลการประกวดปรากฏ<br />

ว่าทีม “อะจิงโลยโลย” ซึ่งสมาชิก<br />

ในทีมประกอบด้วย นายนิพพิชฌน์<br />

ฉันทะปรีดา นายกิตติคุณ เนตรอนุวัฒน์<br />

และนายพีระ กีรติวงศา นักศึกษา<br />

ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์<br />

อาร์ต คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ<br />

รับทุนการศึกษา 50,000 บาท<br />

ประกาศนียบัตรจากระทรวงศึกษาธิการ<br />

และรับสิทธิมูลค่า 2 แสนบาท ใน<br />

การเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจ<br />

ซอฟต์แวร์ของเขตอุตสาหกรรม<br />

ซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย<br />

(ซอฟต์แวร์ พาร์ค) เป็นระยะเวลา 1 ปี <br />

“การวางโครงเรื่องมีวัตถุประสงค์<br />

ในการส่งเสริมให้เด็กๆ และครอบครัว<br />

หันมาให้ความสำคัญในการดูแล<br />

รักษายางรถยนต์ โดยเนื้อเรื่องของ<br />

ม.รังสิต เปิดรับ นศ.ทุนความสามารถพิเศษ<br />

(ด้านศิลปิน) ประจำปี 2553<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดรับ<br />

สมัครนักศึกษาทุนความสามารถ<br />

พิเศษ (ด้านศิลปิน) โดยผู้สมัคร<br />

จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. เป็น<br />

นักร้อง นักแสดง ที่มีผลงานต่อเนื่อง<br />

มีชื่อเสียง มีภาพลักษณ์ที่ดีใน<br />

สังคม 2. สำเร็จการศึกษาชั้น<br />

มัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการเรียน<br />

(GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50 เข้าศึกษา<br />

ปีการศึกษาปัจจุบัน หรือนักศึกษา<br />

ที่กำลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันที่มี<br />

ผลงานดีเด่น โดยผู้ที่ได้รับทุนจะ<br />

ได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิต ค่า<br />

บำรุงการศึกษา หรืออาจได้รับการ<br />

สนับสนุนอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัย<br />

เห็นสมควร ซึ่งการให้ทุนจะพิจารณา<br />

ทุนลักษณะปีต่อปีการศึกษา โดย<br />

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่<br />

16 เมษายน 2553<br />

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถ<br />

ยื่นใบสมัครโดยตรงได้ที่ สำนักงาน<br />

รับนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ห้อง 1-103 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์<br />

(อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

อ.เมือง จ.ปทุมธานี ทุกวันโดยไม่เว้น<br />

วันหยุดราชการ โทร. 0-2791-<br />

5500-10 โทรสาร 0-2997-2394<br />

หรือ e-mail: info@rsu.ac.th<br />

<br />

(จากซ้าย) นายพีระ กีรติวงศา <br />

นายกิตติคุณ เนตรอนุวัฒน์ และ <br />

นายนิพพิชฌน์ ฉันทะปรีดา <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา<br />

คอมพิวเตอร์อาร์ต <br />

คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

แอนิเมชั่นเป็นการแข่งขันระหว่าง<br />

สัตว์ป่า อ้างอิงตัวละครจากนิทาน<br />

เรื่องกระต่ายกับเต่า แต่ดัดแปลง<br />

โดยออกแบบตัวละครให้เป็นครึ่งรถ<br />

ครึ่งสัตว์ป่า ซึ่งสัตว์แต่ละตัวจะมี<br />

สภาพยางแตกต่างกันและจะแสดง<br />

ให้เห็นว่ายางรถยนต์ที่มีความ<br />

บกพร่องจะส่งผลอย่างไรตามมา<br />

จุดนี้มองว่าเป็นจุดเด่นของผลงานที่<br />

แตกต่างจากทีมอื่นๆ เพราะส่วน<br />

ใหญ่จะเป็นการเน้นให้ข้อมูลมากๆ<br />

แต่ผลงานของทีมเราเน้นการสื่อสาร<br />

ด้วยภาพและใช้ข้อความน้อยที่สุด<br />

เท่าที่จะทำได้เพื่อสร้างการจดจำ”<br />

นายนิพพิชฌน์ ฉันทะปรีดา กล่าว<br />

นอกจากนี้ สมาชิกทีม<br />

“อะจิงโลยโลย” ยังทิ้งท้ายว่า ต้อง<br />

ขอขอบคุณอาจารย์พนัส โภคทวี ที่<br />

ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ<br />

ขณะเดียวกันก็ให้อิสระแก่พวกเรา<br />

อย่างเต็มที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน<br />

ออกมา และสิ่งที่สำคัญที่สุดนอก<br />

เหนือกว่ารางวัลที่ได้รับคือ การได้<br />

เรียนรู้ว่าโลกภายนอกยังมีเพื่อน<br />

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่มี<br />

ความสามารถอีกมาก ดังนั้น เราจึง<br />

ต้องพยายามฝึกฝนตัวเองให้ดีกว่า<br />

เดิมยิ่งขึ้นไปอีก<br />

<br />

News<br />

ข่าว<br />

ม.รังสิต จัดงานปัจฉิมนิเทศ ‘52<br />

บรรยากาศการเสวนา<br />

“ชีวิตที่เลือกได้ : การศึกษา การทำงาน และความสำเร็จ”<br />

บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานกิจการนักศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต จัดงานปัจฉิมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาตรี<br />

ประจำปีการศึกษา 2552 ณ อาคารนันทนาการ (อาคาร 14)<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การบรรยายพิเศษ<br />

เรื่อง “B-Net เพื่อการค้นพบตัวเอง” โดย ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์<br />

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายแผนการเงิน มหาวิทยาลัยรังสิต การเสวนา<br />

พิเศษ เรื่อง “ชีวิตที่เลือกได้ : การศึกษา การทำงาน และความ<br />

สำเร็จ” ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษา<br />

นายกรัฐมนตรี ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่าย<br />

วิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นวิทยากร และดำเนินรายการโดย<br />

อาจารย์อรรจน์ สีหะอำไพ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการแนะนำ<br />

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต และการเปิด<br />

บูตรับสมัครงานโดยบริษัทชั้นนำมากมาย<br />

คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า<br />

รู้สึกดีใจที่ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่น้องๆ มหาวิทยาลัย<br />

รังสิตในงานปัจฉิมนิเทศครั้งนี้ สิ่งที่อยากบอกน้องๆ ทุกคนที่กำลัง<br />

จะจบการศึกษาหรือเพิ่งจะจบการศึกษาคือ เวลาเราได้รับโอกาสให้<br />

เข้าไปทำงานต้องตั้งใจ มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร นอกจากนี้<br />

หากเราสามารถเลือกงานที่ทำแล้วมีความสุขและงานนั้นสามารถที่<br />

จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้ด้วย ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ทั้ง<br />

แก่ตัวเราเองและจะเป็นความภาคภูมิใจว่าเรามีส่วนในการช่วย<br />

เหลือสังคมและประเทศชาติอีกด้วย<br />

“ผมคิดว่ายุคสมัยใหม่ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาแต่ละ<br />

แห่งไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันรัฐหรือเอกชน<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกชนเองก็จะเห็นว่ามีการยกระดับมาตรฐาน<br />

การสอน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือแม้แต่มีความยืดหยุ่นใน<br />

การออกแบบหลักสูตรที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำให้แก่สังคมด้วยซ้ำไป<br />

เพราะฉะนั้น ตรงนี้อยากให้นักศึกษาทุกคนมีความภูมิใจในตัวเอง<br />

และหากมีโอกาสได้เลือกงานตรงตามความต้องการของตัวเอง ผม<br />

ว่าตรงนั้นน่าจะมีความสำคัญมากกว่าด้วยซ้ำไป เพื่อให้เรามีความ<br />

มุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน” ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้าย<br />

ผศ.ร.ต.หญิง ดร.วรรณี ศุขสาตร<br />

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวรายงาน<br />

ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดี<br />

ฝ่ายแผนการเงิน มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

บรรยายพิเศษ เรื่อง “B-Net เพื่อการค้น<br />

พบตัวเอง”<br />

ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า งานปัจฉิมนิเทศเป็นงานที่ดีมาก ที่<br />

ผ่านมาเรามีการจัดงานปฐมนิเทศเพื่อแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการ<br />

ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย แน่นอนว่างานปัจฉิมนิเทศคือการให้คำ<br />

แนะนำเกี่ยวกับโลกจริงที่นักศึกษาจะต้องพบเจอหลังสำเร็จการ<br />

ศึกษา ซึ่งนักศึกษาควรจะต้องเตรียมตัวในการพัฒนาตนเองต่อไป<br />

ผมจึงเห็นสมควรว่าต้องมีการจัดงานในลักษณะนี้ต่อไปทุกๆ ปี แต่<br />

สิ่งที่ผมอยากจะเสริมจากสิ่งที่คุณอภิรักษ์ได้พูดไปแล้วคือ การที่<br />

นักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว จบปริญญาแล้ว แต่การเรียนรู้ยังไม่จบ<br />

(ซ้าย) นางสาวรุ่งทิวา จรรนัย <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา<br />

ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ <br />

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

(ขวา) นางสาวพรพรรณ ภักดี <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการ<br />

โลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ต้องเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อออกไปทำงานต้องหมั่นฝึกฝน<br />

และเรียนรู้ตลอดเวลา อย่าหยุดนิ่งจึงจะประสบความสำเร็จใน<br />

อนาคตได้<br />

ด้าน นางสาวรุ่งทิวา จรรนัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา<br />

ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต กล่าวว่า จะนำสิ่งที่รับฟังจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้ร่วมกับ<br />

สิ่งที่เราได้เรียนมา เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าจะทำงานหรือ<br />

จะเรียนต่อ แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่าน่าจะเรียนต่อในระดับปริญญาโท<br />

เพราะอยากต่อยอดความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น<br />

นางสาวพรพรรณ ภักดี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการ<br />

จัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า<br />

เป็นเรื่องดีที่มหาวิทยาลัยจัดงานในลักษณะนี้ เพราะนักศึกษาจะได้<br />

วางแผนอนาคตไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเรียนจบแล้วจะต้อง<br />

เจอกับเหตุการณ์อะไรบ้าง ส่วนบางคนที่อาจจะยังคิดไม่ออกว่าจะ<br />

เรียนต่อหรือทำงานก็จะได้แนวคิดในการเตรียมตัว แต่สำหรับตนเอง<br />

คิดว่าถ้าเรียนจบคงจะมองหางานที่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมา<br />

13


14<br />

Scoop<br />

[อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์] สกู๊ป<br />

นายฐากูร ดุรงค์พินนท์ <br />

นางสาวกัลย์สุดา สง่าเนตร<br />

นายภาณุพงศ์ สุขมณี <br />

นางสาวเสาวภรณ์ เย็นยิ้ม<br />

นร. ม.ปลาย ร่วมกิจกรรม<br />

ค่ายปฏิบัติการฟิสิกส์ (จิตรลดา) รุ่น 3 <br />

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต จัดโครงการค่ายปฏิบัติการฟิสิกส์ (จิตรลดา) รุ่น 3<br />

โดยปีนี้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าร่วมโครงการ<br />

จำนวน 60 คน และอาจารย์ 7 คน หวังให้ความรู้และ<br />

เตรียมความพร้อมแก่นักเรียนที่สนใจศึกษาต่อในด้านฟิสิกส์<br />

และวิทยาศาสตร์ <br />

สำหรับค่ายปฏิบัติการฟิสิกส์ครั้งนี้ เกิดจากการสนับสนุน<br />

ของมหาวิทยาลัยรังสิต โดย ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ รอง<br />

อธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา รศ.ดร.ชาติชาย ตระกูลรังสิ<br />

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รศ.ดร.ทัศนีย์ ปัญจานนท์<br />

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รศ.นันทชัย ทองแป้น<br />

หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี ผศ.กาญจนา<br />

จันทร์ประเสริฐ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งในปีนี้ได้รับ<br />

ความสนใจจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และอาจารย์<br />

จาก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียน<br />

สายปัญญารังสิต และโรงเรียนมัธยมวัดหัตถสารเกษตร <br />

นายฐากูร ดุรงค์พินนท์ อาจารย์โรงเรียนจิตรลดา<br />

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า มาค่ายครั้งนี้รู้สึกอบอุ่นเป็น<br />

กันเอง เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจระหว่างอาจารย์กับ<br />

นักศึกษาที่มาเป็นพี่เลี้ยง ทุกคนตั้งใจให้ความรู้แก่นักเรียน<br />

ที่มาเข้าค่ายอย่างเต็มกำลัง กิจกรรมในค่ายเป็นกิจกรรมที่<br />

สามารถเติมเต็มความรู้ประสบการณ์ในการเรียนฟิสิกส์ได้<br />

เป็นอย่างดีและเชื่อมั่นว่านักเรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้<br />

ประโยชน์ได้จริง ขอบคุณอาจารย์ทุกๆ ท่านและนักศึกษา<br />

ทุกคนที่ร่วมกันจัดค่ายครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าค่าย<br />

ปฏิบัติการฟิสิกส์นี้จะยังคงสานต่อเพื่อสร้างเยาวชนที่มี<br />

คุณภาพสืบไป<br />

นางสาวกัลย์สุดา สง่าเนตร นักเรียนโรงเรียนจิตรลดา<br />

กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการค่ายปฏิบัติการฟิสิกส์ในครั้งนี้<br />

ทำให้ได้รับความรู้กระบวนการทางฟิสิกส์มากขึ้นจากการ<br />

ปฏิบัติจริงและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเรียน<br />

ที่โรงเรียนอีกทั้งยังได้รับความสนุกสนาน ได้รู้จักเพื่อน<br />

ใหม่ๆ รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ และรู้ว่าวิชาฟิสิกส์ไม่ได้<br />

น่าเบื่ออย่างที่หลายๆ คนคิดค่ะ<br />

นายภาณุพงศ์ สุขมณี นักเรียนโรงเรียนสายปัญญา<br />

รังสิต กล่าวว่า ผมมีความรู้สึกเหมือนกับได้เปิดหูเปิดตาใน<br />

โลกของฟิสิกส์มากยิ่งขึ้น จากการทดลองต่างๆ ที่ทั้ง<br />

คณาจารย์และรุ่นพี่ได้จัดขึ้นและค่ายแห่งนี้ทำให้ผม<br />

สนุกสนานไปกับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ พร้อมกับเพื่อนๆ จาก<br />

โรงเรียนอื่นอีกด้วย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอยากให้มีโครงการนี้<br />

ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ม.ปลาย ให้ดียิ่ง<br />

ขึ้นต่อไป <br />

นางสาวเสาวภรณ์ เย็นยิ้ม นักเรียนโรงเรียนมัธยม<br />

วัดหัตถสารเกษตร กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์<br />

ผู้จัดค่ายปฏิบัติการฟิสิกส์เป็นอย่างสูงที่ได้จัดโครงการ<br />

แบบนี้ขึ้นมา และขอขอบคุณที่ได้ให้โรงเรียนของพวกเราได้<br />

มาร่วมกิจกรรมค่ายฟิสิกส์นี้ รู้สึกตื่นเต้นเพราะเป็นครั้งแรก<br />

และที่สำคัญได้รู้จักกับเพื่อนหลายๆ โรงเรียนที่เราไม่เคย<br />

รู้จักกันมาก่อน นอกจากจะได้เพื่อนแล้วยังได้ความรู้อีก<br />

อยากให้จัดโครงการนี้อีกต่อๆ ไป เพราะเป็นโครงการที่ดี<br />

และฝึกให้เรารู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ทางฟิสิกส์มากมาย <br />

ใช้ยาแก้ไอในทางที่ถูก<br />

สวัสดีครับ... นับแต่ปีใหม่ 2553 เราจะเห็นว่าอากาศแปรปรวนมาก<br />

มีฝนหลงฤดูเป็นระยะ และให้บังเอิญว่าเกิดมีข่าวการใช้ยาในทางที่ผิดๆ ผม<br />

จึงขอหยิบมาเป็นประเด็นพูดคุยกันในคอลัมน์นี้ คือยาแก้ไอที่ชื่อว่า<br />

“เด็กซ์โตรเมทโทแฟน” (Dextromethorphan) นั่นเอง<br />

ยานี้ใช้บรรเทาอาการไอ ทั้งไอแห้ง ไอมีเสมหะ จากหวัด เจ็บคอ<br />

หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ยาตัวนี้เป็นอนุพันธ์หรือเรียกว่าลูกหลานของยา<br />

ที่มาจากฝิ่น มอร์ฟีน โคเดอีน ซึ่งโคเดอีนก็เป็นยาแก้ไออีกตัวหนึ่ง แต่ยา<br />

เด็กซ์โตรเมทโทแฟนนี้มีฤทธิ์ต่อสมอง และทำให้เสพติดน้อยกว่ายาตัวอื่น จึง<br />

มีขายได้ในร้านขายยาที่มีเภสัชกร โดยทั่วไปใช้บรรเทาอาการไอ ผู้ใหญ่จะ<br />

รับประทานขนาด 15-30 มิลลิกรัม (1-2 เม็ด) วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร<br />

และก่อนนอน ที่ตกเป็นข่าวเพราะเด็กนำไปรับประทานเกินขนาดหลายเท่า<br />

ตัวจึงเกิดผลเสีย<br />

ผลข้างเคียงและอันตรายของยานี้ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียน<br />

ศีรษะ ปวดศีรษะ ง่วงซึม กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน พูดไม่ชัด<br />

ม่านตาขยาย หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะไม่ออก มึนงง<br />

เคลิบเคลิ้ม ประสาทหลอน กระวนกระวาย สั่น ชัก เซลสมองถูกทำลาย<br />

ถาวร หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่จะเกิดเมื่อได้รับยาในขนาดที่สูง<br />

กว่า 360 มิลลิกรัมขึ้นไป และยานี้ไม่ได้มีฤทธิ์ลดความเจ็บปวดอย่างที่เข้าใจ<br />

เพียงแต่มันสามารถเสริมฤทธิ์ของยาแก้ปวดที่อยู่ในกลุ่มของมอร์ฟีน หรือ<br />

กลุ่มใกล้เคียงได้<br />

Verbal language<br />

[อ.นครเทพ ทิพยศุภราษฎร์ หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์] คุยเฟื่องเรื่องภาษา<br />

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับดอกกุหลาบ<br />

ถึงเทศกาลแห่งความรักจะผ่านไปแล้ว แต่<br />

ความรักของมนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้<br />

เหนือข้อจำกัดทั้งกาลเวลาและสถานที่ รวมถึง<br />

สัญลักษณ์สากลของความรักด้วยเช่นกัน สารรังสิต<br />

ฉบับเดือนนี้ผู้เขียนจึงขอนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ<br />

เกี่ยวกับดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำเทศกาล<br />

มาเล่าสู่กันฟัง<br />

ความสวยงามและกลิ่นหอมของดอกกุหลาบ<br />

ทำให้ดอกไม้สายพันธุ์นี้ถูกยกอันดับให้เป็นราชินีแห่ง<br />

ดอกไม้ทั้งปวง ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้กวีมากมาย<br />

รังสรรค์บทประพันธ์อันงดงาม เช่น บทกวีเรื่อง Oh<br />

my love is like a red red rose ของ Robert Frost<br />

ที่นำกุหลาบแดงมาอุปมากับความรักของชายหนุ่ม<br />

เช็คสเปียร์หยิบยกความงามเย้ายวนของดอกกุหลาบ<br />

มาบรรจงใส่ไว้ในคำพูดของ Juliet ที่ว่า what’s in<br />

the name That which we call a rose by any<br />

other name would smell as sweet. (ด้วยนามนั้น<br />

หรือคือดอกกุหลาบ ฉาบกลิ่นเย้ายวนยนสุคนธา)<br />

หรือแม้กระทั่ง Antoine de Saint Exupery ก็ได้<br />

Health tip<br />

[อ.ภก.ธเนศ เฟื่องฟู] เกร็ดสุขภาพ<br />

และกรณีที่มีวัยรุ่นนำไปเสพคล้ายยาเสพติดโดยที่ยานี้<br />

แทบไม่มีฤทธิ์เสพติด แต่ทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุขได้เพราะ<br />

ใช้เกินขนาด ซึ่งก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้<br />

เมื่อทราบกันแล้วก็ขอให้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้กัน<br />

นะครับ ช่วยกันห้ามผู้ที่จะใช้ยาแบบผิดๆ<br />

แต่ถ้าหากได้รับยาเกินขนาด การแก้ไขทำได้โดยให้<br />

รับประทานผงถ่านกับมัน จะสามารถจับยาไว้ไม่ให้ดูดซึม<br />

เข้าสู่ร่างกายได้นะครับ และอย่าลืม “ใช้ยาครั้งใด โปรด<br />

ปรึกษาเภสัชกร” ...ขอให้ทุกท่านสุขภาพดีสวัสดีครับ<br />

<br />

สร้างสัญลักษณ์ในเชิงบุคลาธิษฐานให้แก่ดอก<br />

กุหลาบเป็นตัวแทนของความรักความศรัทธา<br />

เพียงหนึ่งเดียวของเจ้าชายน้อย ในวรรณกรรม<br />

ภาษาฝรั่งเศส เรื่อง The Little Prince<br />

ส่วนสำนวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ<br />

ดอกกุหลาบนั้นมีมากมาย อาทิ <br />

- not all roses ความหมายเท่ากับ not<br />

perfect ดังตัวอย่างเช่น<br />

“Being a superstar is not all roses<br />

by any means.”<br />

การขึ้นแท่นเป็นดาราดังใช่ว่าจะราบรื่น<br />

เสียทีเดียว<br />

- see something through rosetinted<br />

spectacles ความหมายเท่ากับ think<br />

of something too optimistically ซึ่งอาจตรง<br />

กับความหมายในภาษาไทยว่า ดีดลูกคิดราง<br />

แก้วหรือวาดฝันอันสวยงามเกินจริง<br />

- bed of roses ความหมายเท่ากับ<br />

pleasant and carefree living ตรงกับภาษา<br />

ไทยว่า สุขโขสโมสร ไร้ซึ่งความทุกข์มา<br />

รบกวน<br />

และสุดท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านทุกคนได้<br />

รับความสุขจากดอกไม้แห่งความรักนี้ครับ<br />

Have a big bed of roses.<br />

(ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ “เรื่อง<br />

ราวแห่งสวนและที่มาแห่งคำ” โดยนพพร<br />

สุวรรณพานิช, 2546)<br />

<br />

15


16<br />

“No Music No Dream”<br />

No Music No Dream<br />

Show off<br />

[สมพล วชิรวัฒนา] โชว์ ออฟ<br />

17<br />

หลายๆ คนอาจไม่เคยได้ยินประโยคคลาสิคประโยคนี้ แต่คงไม่ต้องบรรยาย<br />

อะไรกันให้มากความ ด้วยความหมายที่ตรงตัว กระชับ และเข้าใจง่าย “ไม่มีดนตรี<br />

ไม่มีความฝัน” แต่ไม่ใช่สำหรับหนุ่มคนนี้ “ท็อป” หรือ นายสิทธิชัย ทองใบ นักศึกษา<br />

ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ด้วยความหลงใหลในเสียงเพลงและตัวโน้ต จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกก้าว<br />

เดินสู่เส้นทางสายดนตรี ซึ่งพกความสามารถทางดนตรีหลายด้าน ทั้งเป่าแซ็กโซโฟน<br />

ตีกลอง และร้องเพลง <br />

“ผมเริ่มเล่นดนตรีมาตั้งแต่เด็กแล้ว ถ้านับถึงตอนนี้ก็ร่วม 10 ปีได้ สมัยเด็กผม<br />

เคยผ่านการประกวดทั้งวงโยธวาทิต มาร์ชชิ่งแบนด์ คอนเสิร์ตแบนด์ หรือแม้แต่ดนตรี<br />

ไทย พอโตขึ้นมาก็ได้เข้าร่วมประกวดในงาน Thailand International Ensemble Music<br />

Competition ครั้งที่ 4 และ 6 กระทั่งในปีที่ผ่านมาได้เข้าร่วมประกวดดนตรี Folksong<br />

ของมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งตอนนี้ก็เล่นดนตรีที่ร้านอาหารในตอนกลางคืนด้วย โดย<br />

ส่วนตัวผมคิดว่า การเล่นดนตรีทำให้ผมมีความสุขและช่วยให้ผมได้ผ่อนคลายจากความ<br />

เหนื่อยล้าในเรื่องต่างๆ นอกจากภาระหน้าที่การเรียนแล้ว ยังมีเรื่องหน้าที่ของการเป็น<br />

นักดนตรีอีก เพราะฉะนั้น เรื่องการแบ่งเวลาให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อไม่ให้มีผล<br />

กระทบกับเรื่องเรียน”<br />

นายสิทธิชัย ทองใบ กล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้าเรารู้ว่าชอบอะไร ก็ทำไปเลย แต่อย่าให้<br />

เดือดร้อนใคร ไม่ต้องสนใจว่าผลที่ออกมามันจะดีหรือไม่ แค่เรารู้ว่าได้ทำในสิ่งที่เราชอบ<br />

และเต็มที่กับมัน ตัวเราเองมีความสุขทุกอย่างมันก็โอเคแล้ว <br />

นายสิทธิชัย ทองใบ <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา<br />

การภาพยนตร์และวีดิทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ <br />

มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

News<br />

ข่าว<br />

ผลการประกวดออกแบบโลโก้<br />

ครบรอบ 25 ปี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดการประกวดตรา<br />

สัญลักษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วม<br />

การประกวดมากมาย สำหรับผลการประกวดมีผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลชมเชย<br />

ดังนี้<br />

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวสุกฤตา มณฑีรรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา<br />

การออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

รางวัลชมเชยอันดับที่ 1 ได้แก่ นายวัชระ มุนิลทรวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขา<br />

วิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

รางวัลชมเชยอันดับที่ 2 ได้แก่ นายวงตะวัน ลมงาม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขา<br />

วิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

News<br />

ข่าว<br />

การประกวดวงดนตรีสากล<br />

“RANGSIT MUSIC<br />

COMPETITION 2009”<br />

วิทยาลัยดนตรี และศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต จัด<br />

ประกวดวงดนตรีสากล “RANGSIT MUSIC COMPETITION 2009 (ครั้งที่ 4)” ชิงถ้วย<br />

พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รอบชิงชนะเลิศ ณ ห้องประชุมใหญ่<br />

1-301 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในวงการดนตรีร่วมเป็นกรรมการตัดสิน<br />

ได้แก่ นายชุมพล สุปัญโญ โปรดิวเซอร์ชื่อดัง นายจิระศักดิ์ ปานพุ่ม ศิลปินนักร้องชื่อดัง<br />

นายอริญชย์ ปานพุ่ม หรือ เล็ก-ทีโบน เท้าไฟมือกลองเมืองไทย นางสาวเสาวนิตย์<br />

นวพันธ์ หรือ กบ-นักร้องแจ๊ส นายเศกพล อุ่นสำราญ หรือ โก้-Mr.Saxman และนาย<br />

สบชัย ไกรยูรเสน หรือ ฟอร์ด-ศิลปินนักร้อง<br />

โดยผลการตัดสินการประกวดวงดนตรีสากล “RANGSIT MUSIC<br />

COMPETITION 2009 (ครั้งที่ 4)” มีดังนี้<br />

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ วงคาแฟอีน จากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม<br />

อ่างทอง<br />

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ วงละเมอ จากโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์<br />

อุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร<br />

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วง EKTRA 09 จากโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

รางวัลชมเชย ได้แก่ วง Just Kidding จากโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ราชบุรี<br />

รางวัลชมเชย ได้แก่ วง “เรา” จากโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

รางวัลชมเชย ได้แก่ วง The Opposite จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย เชียงใหม่<br />

รางวัลชมเชย ได้แก่ วง Red-White & Me จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

รางวัลชมเชย ได้แก่ วง Big Bar จากโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ<br />

สมุทรปราการ<br />

นอกจากนี้ ยังมีรางวัลสำหรับนักดนตรียอดเยี่ยม ดังนี้<br />

รางวัลนักดนตรียอดเยี่ยม Electric Guitar ได้แก่ วงละเมอ <br />

รางวัลนักดนตรียอดเยี่ยม Bass Guitar ได้แก่ วง The Opposite <br />

รางวัลนักดนตรียอดเยี่ยม Drums ได้แก่ วงละเมอ <br />

รางวัลนักดนตรียอดเยี่ยม Brass Section ได้แก่ วงคาแฟอีน <br />

รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม ได้แก่ วง “เรา” <br />

<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีร่วมเป็นกรรมการ<br />

บรรยากาศการแสดงบนเวที


18<br />

Good old day<br />

[จุฑารัตน์ หัสจุมพล] บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน<br />

ม.ร.ว.อัมพรพล ยุคล <br />

ศิษย์เก่าสาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์<br />

ผมทำศิลปะเพื่อหนัง <br />

ไม่ได้ทำเพื่อยอดขาย<br />

“ความสำเร็จ” หลายคนต่างต้องการ<br />

ตามหาสิ่งนี้ ในเส้นทางชีวิตของเราแต่ละคนมี<br />

ความแตกต่างกัน บางคนมีพรสวรรค์ แต่ไม่มี<br />

โอกาส บางคนมีโอกาสแต่ไม่มีพรสวรรค์ และ<br />

แน่นอนก็ต้องมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีพร้อมทั้ง<br />

สองอย่าง หลายคนเพียรตั้งใจทำในสิ่งหนึ่ง<br />

เพื่อ “ความสำเร็จ” และแน่นอนว่ามีบางคนที่<br />

“ความสำเร็จ” กลายเป็นรางวัลสำหรับความ<br />

ภาพประกอบจากเว็บไซต์<br />

ตั้งใจ โดยที่เขาไม่ได้คาดหวังเลยด้วยซ้ำ<br />

ม.ร.ว.อัมพรพล ยุคล หรือ พี่ปิง ศิษย์เก่า<br />

สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะ<br />

นิเทศศาสตร์ (รุ่นบุกเบิก) คือบุคคลกลุ่ม<br />

สุดท้ายที่เรากล่าวถึง<br />

หลังจากได้ใบปริญญามาอยู่ในมือ พี่<br />

ปิงเลือกที่จะเดินตามเส้นทางชีวิตแบบไม่มี<br />

กรอบมากนัก ไปเที่ยวในที่ๆ อยากไป อยู่<br />

กับเพื่อน และตัดสินใจศึกษาต่อในสาขาวิชา<br />

ภาพยนตร์ ที่ San Francisco Academy of<br />

Art สหรัฐอเมริกา ช่วงที่ศึกษาที่ต่างประเทศ<br />

ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพี่ปิงเลยทีเดียว<br />

“ใครทำอะไรเราก็ไปช่วยเขาทำ ส่วนใหญ่<br />

งานภาพยนตร์จำเป็นจะต้องมีประสบการณ์<br />

จริงเยอะ ชั่วโมงบินมันจะสำคัญ แต่จริงๆ<br />

เราก็ไม่ได้ตั้งใจอะไร พอเรารู้จักมีกลุ่มเพื่อนฝูง<br />

อะไรอย่างนี้ ไม่ไปก็ไม่ได้ เราก็ต้องไปช่วย”<br />

ภาพยนตร์เรื่อง Wonderful Town สร้างโดย บริษัท ป็อบ<br />

พิคเจอร์ ของ พี่จุ๊ค (อาทิตย์ อัสสรัตน์) เป็นหนังที่หาทุนกันเอง ซึ่ง<br />

เป็นจุดเริ่มต้นที่พี่ปิงได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งนั้นมาจากกลุ่มเพื่อนฝูงใน<br />

เครือข่ายเดียวกัน ซึ่งขณะที่ถ่ายทำเรื่องนี้ พี่ปิงเอง ก็กำลังศึกษาต่อที่<br />

สหรัฐอเมริกา แต่ด้วยความคิดพี่จุ๊คที่ว่า “คนเก่งน่ะในเมืองไทยมีเยอะ<br />

แต่คนเก่งที่จะคุยกันแล้วรู้เรื่องน่ะมีน้อย อยากทำหนังที่ทำและสบายใจ<br />

มากกว่า” หลังจากนั้น พี่ปิงก็เข้ามากำกับภาพ ให้แก่ภาพยนตร์เรื่อง<br />

Wonderful Town อย่างเต็มตัว ที่ได้รับรางวัล สตาร์พิคส์อวอร์ด<br />

ชมรมวิจารณ์บันเทิง และรางวัลใหญ่อย่าง สุพรรณหงส์ ซึ่งเป็นสิ่งที่<br />

การันตีในความสำเร็จของพี่ปิงได้เป็นอย่างดี แต่เขากลับคิดว่า รางวัลนี้<br />

มาเร็วเกินไป เพราะในแง่ของการทำงานเราไม่ได้คาดหวังอะไร แค่<br />

ตั้งใจทำมากกว่า แถมพี่ปิงยังถ่อมตัวอีกว่า<br />

“ถามว่าเราเก่งเท่ากับตากล้องคนอื่นๆ ไหม เรารู้สึกว่าเรายัง<br />

ไม่เก่งเท่าเขาเลย แต่มันเป็นเรื่องของการคุยกันแล้วเข้าใจ และสิ่งที่เรา<br />

ทำออกมามีคุณภาพ งานมันมีอิสระสูง สูงที่สุดถ้าเทียบกับเรื่องอื่น<br />

ยกเว้นต่างประเทศนะ เพราะว่าต่างประเทศ เขามีการทำหนังแบบอิสระ<br />

แต่ในประเทศไทยที่ได้รางวัล เพราะหนังเรื่องอื่นเขาทำแบบสตูดิโอ<br />

ฉะนั้น เราทำกันต่างโจทย์ อาจจะเหมือนว่า พอได้เงื่อนไขแบบนี้มันก็<br />

เลยดีกับตัวหนัง เพราะทำหนังเป็นศิลปะเพื่อหนัง ไม่ได้ทำเพื่อยอด<br />

ขายหน้าโรงภาพยนตร์ เราไม่ได้คาดหวังตรงนั้นอยู่แล้ว คือถ้าเกิดคน<br />

พวกนั้นได้เงื่อนไขเดียวกับเรา เขาอาจจะทำออกมาได้ดีกว่าเราก็ได้”<br />

ในบันไดชีวิต 10 ขั้น ม.ร.ว.อัมพรพล ยุคล กลับคิดว่า เขา<br />

กำลังก้าวอยู่บนบันไดขั้นที่ 2 โดยให้เหตุผลว่า เขาแค่ก้าวมาก่อน<br />

น้องๆ นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ไม่กี่ก้าว แต่หันหลังกลับไปตอนนี้<br />

กลับเห็นว่าหลายคนกำลังเล่นปาก้อนดินที่กำลังจะเอามาถม เพื่อเป็น<br />

คานของบันได บางคนก็เอาดินเหล่านั้นมาปั้นวัวปั้นควาย หันกลับไป<br />

ข้างหน้าก็อาจจะเจอคนที่ก้าวอยู่ขั้นที่ 3 กำลังนั่งหลับอยู่ก็ได้ อยู่ที่ว่า<br />

เราจะเลือกก้าวต่อไป หรือจะย่ำอยู่กับที่<br />

“พัฒนา” นั่นคือความฝันต่อไปของ ม.ร.ว.อัมพรพล ยุคล สิ่งที่<br />

สำคัญที่สุด คือ “พัฒนา” เพื่อ “ความสำเร็จ” <br />

<br />

On campus<br />

[กนกกร ชูแก้ว] ล้อมรั้วกิจกรรม<br />

ผู้เข้าร่วมทีมสัมมนา<br />

สะท้อนชีวิต... เข้าใจวัยใส...<br />

ร่วมพัฒนาคุณภาพนักศึกษา<br />

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว<br />

ของสภาพสังคมในยุคนี้ มีอีกหลายเรื่อง (จริง)<br />

ที่ผู้ใหญ่ทั้งอาจารย์และผู้ปกครองต้องรับรู้และ<br />

ทำความเข้าใจว่าเด็กๆ นักศึกษาสมัยนี้ใช้ชีวิต<br />

อย่างไรกันบ้าง นอกเหนือจากการเรียน ซึ่งสิ่ง<br />

ที่เขาสัมผัสและแสดงออกถึงพฤติกรรมในด้าน<br />

ต่างๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในแง่บวกหรือลบ<br />

แล้วตัวนักศึกษาว่าจะแข็งแกร่งพอที่จะใช้ชีวิต<br />

ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ กรณีนี้เป็น<br />

เรื่องที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการดูแล และบุคลากรกิจการนักศึกษาได้ร่วมแสดงความ<br />

คิดเห็น ทำให้ได้ข้อมูลจริงและแง่มุมปัญหาที่<br />

ต้องขบคิดในหลายเรื่องที่ต้องพัฒนาคุณภาพ<br />

ชีวิตนักศึกษาที่เหมาะสมในโอกาสต่อไป<br />

ประเด็นสำคัญจากการเสวนาที่ต้องทำความ<br />

เข้าใจมีหลายกรณี อาทิ ยอมรับเพื่อนเพศที่<br />

สามและพฤติกรรมการแต่งกายเป็นหญิงรวมถึง<br />

การเข้าห้องน้ำหญิง กรณีร้านเหล้าและสถาน<br />

ช่วยกันบอกเล่า<br />

ซึ่งไม่เพียงรับผิดชอบเพียงเรื่องการเรียนของ<br />

นักศึกษาเท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญในการ<br />

จัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีด้วย<br />

จากการเสวนาและร่วมคิด “ทันสภาพ<br />

เหตุการณ์ชีวิตนักศึกษากับความเข้าใจของผู้<br />

เกี่ยวข้องด้านกิจการนักศึกษา” จัดโดยสำนักงาน<br />

กิจการนักศึกษา ณ บ้านทะเลสีครีม รีสอร์ต<br />

จ.สมุทรสงคราม มีนิสิตนักศึกษาจาก ม.รังสิต<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ม.ธรรมศาสตร์<br />

กว่า 10 คนร่วมกันสะท้อนภาพและมุมมอง<br />

ความคิดด้วยการบอกเล่าถึงการใช้ชีวิตในด้าน<br />

ต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยรองคณบดี<br />

ฝ่ายกิจการนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม<br />

ทีมอาจารย์<br />

บันเทิงเปิดใกล้มหาวิทยาลัย นักศึกษาให้เหตุผล<br />

ว่าการดื่มเหล้าเป็นการรวมกลุ่มพบปะสังสรรค์<br />

และสร้างสัมพันธ์ ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบและ<br />

ไม่ทิ้งการเรียนหรือสร้างปัญหา กิจกรรมรับ<br />

น้องใหม่ได้พยายามยกเลิกระบบว๊าก และไม่<br />

เห็นด้วยที่จะยกเลิกกิจกรรมรับน้อง และหาทาง<br />

แก้ไขปัญหาที่เกิดในกิจกรรมรับน้อง ซึ่งรูปแบบ<br />

กิจกรรมต้องประชุมวางแผนและคำนึงว่าน้อง<br />

ใหม่จะรับได้หรือไม่ และท้ายสุดมีความเป็นห่วง<br />

นักศึกษายุคนี้ที่ไม่รู้วิธีที่จะอยู่ร่วมกันหรือรับมือ<br />

กับสภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคม<br />

นอกจากนี้ ผู้แทนสโมสรนักศึกษาได้นำ<br />

เสนอข้อสรุปจากการเข้าร่วมสัมมนาโครงการ<br />

เพิ่มประสบการณ์ความสามารถผู้นำนักศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยเอกชน “การสร้างเสริมประชาธิปไตย<br />

คุณธรรมความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด”<br />

น.ส.ศิรประภา สิริขันธ์ ประธานฝ่ายบำเพ็ญ<br />

ประโยชน์ กล่าวว่า ในส่วนของกลุ่มสร้างเสริม<br />

ประชาธิปไตย ทางผู้แทนนักศึกษาเห็นว่าความ<br />

แตกแยกในปัจจุบันนี้มีผลพวงมาจากการขาด<br />

ความเข้าใจระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง และ<br />

ปัญหาขาดคุณธรรมของนักการเมืองและ<br />

ประชาชนในการซื้อ-ขายเสียง ทางกลุ่มจึงได้<br />

เสนอจัดโครงการ “ประชาธิปไตยออนทัวร์” เพื่อ<br />

รณรงค์สร้างจิตสำนึกและความเข้าใจประชาธิปไตย<br />

ในชุมชนและโรงเรียน<br />

ด้านกลุ่ม ”คุณธรรมความเป็นไทย”<br />

นายก้องกริช ศรีบุรินทร์ ประธานฝ่ายศิลป<br />

วัฒนธรรม กล่าวว่า เพื่อนๆ ในกลุ่มได้ถกถึง<br />

ปัญหาการแต่งกายของนักศึกษาและจัดรณรงค์<br />

การแต่งกายในชื่อโครงการ “แต่งกายดี สวย<br />

เท่ห์ เก๋ด้วยวินัย” กรณีปัญหานักศึกษาชาย-<br />

หญิงอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ได้เห็นพ้องจัดรณรงค์<br />

ป้องกันโรคเอดส์และการคุมกำเนิดภายใต้<br />

โครงการ “รักถูกถูก รักผิดผิด ไม่ติดเอดส์” อีก<br />

ทั้งจะรณรงค์ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมไทย<br />

เพราะในปัจจุบันนี้นักศึกษาให้ความสำคัญกับ<br />

วัฒนธรรมของต่างชาติมากกว่าของไทย เช่น<br />

การให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่าวัน<br />

มาฆบูชา<br />

สุดท้ายในกลุ่ม “ยาเสพติด” น.ส.พรทิพย์<br />

ไชยจันทร์ดี ประธานคณะกรรมการนักศึกษา<br />

คณะศิลปะและการออกแบบ กล่าวว่า ได้เห็น<br />

พ้องว่านักศึกษายุคนี้มักแสดงความรักแบบผิดๆ<br />

ชวนกันกินเหล้าสูบบุหรี่ จึงได้คิดโครงการ Love<br />

for Friend เพื่อรณรงค์และให้ความรักกับเพื่อน<br />

ในทางที่ถูกในการห่างไกลยาเสพติด สร้างเครือข่าย<br />

ในการลด ละ เลิก บุหรี่และยาเสพติดประเภท<br />

ต่างๆ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดโครงการนี้ขึ้นจริง<br />

โดยขอความร่วมมือจากอาจารย์และเพื่อนๆ<br />

นักศึกษาใน ม.รังสิต<br />

ตัวแทน นศ. สะท้อนชีวิต<br />

19

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!