01.11.2014 Views

เรื่อง-ของ-วัตถุ - มหาวิทยาลัยรังสิต

เรื่อง-ของ-วัตถุ - มหาวิทยาลัยรังสิต

เรื่อง-ของ-วัตถุ - มหาวิทยาลัยรังสิต

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ditor’s talk<br />

Eกวิตา เรืองไทย<br />

สารรังสิตก้าวสู่ปีที่ 14<br />

<br />

สารรังสิตฉบับนี้ จะเป็นสารรังสิตเล่มสุดท้าย (ฟังดูน่า<br />

ตกใจจัง) ของปี พ.ศ. 2552 แล้ว กองบก. สารรังสิตได้<br />

พยายามสร้างสรรค์สารรังสิตสวยๆ ดีๆ ออกมาให้ผู้อ่านได้<br />

เสพข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวภายในรั้วรังสิตของเรา<br />

มาด้วยดีตลอด ในปี พ.ศ. 2553 ที่จะมาถึงนี้ สารรังสิตจะก้าว<br />

สู่ปีที่ 14 แล้ว ถ้าเป็นคนก็ถือว่าก้าวสู่วัยรุ่นตอนต้นที่ช่างคิด<br />

และช่างค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ตนเอง แต่สารรังสิตจะขอทำหน้าที่<br />

เป็นวัยรุ่นที่รู้ (ดี) รู้ (มาก) ป้อนสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ ให้แก่<br />

ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านตลอดไป <br />

เช่นเดียวกับเนื้อหาในสารรังสิตฉบับนี้ที่นำเสนอเรื่องดีๆ<br />

ในรั้วรังสิตของทั้งนักศึกษา อาจารย์ และศิษย์เก่าที่เข้มข้น<br />

เหมือนเดิม ท้ายนี้ ปีใหม่ก็ใกล้จะมาถึงแล้ว กองบก. สารรังสิต<br />

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยดลบัลดาลให้ผู้อ่านทุกท่านมี<br />

ความสุข สุขภาพแข็งแรง คิดสิ่งใดขอให้สมความปรารถนากัน<br />

ทุกท่าน สิ่งที่ไม่ดีในปีนี้ขอให้ทิ้งไป... <br />

พลิกอ่านทุกหน้านะคะ มีสิ่งดีๆ รออยู่ ไม่ควรพลาด...<br />

<br />

6 2 ซีเนียร์คณะบริหารโกอินเตอร์<br />

บินลัดฟ้า รับทุนเรียนที่สวีเดน<br />

7 รวมภาพบรรยากาศประทับใจ <br />

Meet & Greet แกรนด์ เดอะสตาร์ 5<br />

12 เด็กรังสิตโชว์ไอเดียดีๆ <br />

ตอบแทนคุณ “พ่อ”<br />

15 เยาวชน ม.รังสิต อาสาคืนสิ่งที่<br />

ดีสู่สังคม<br />

ออกหน่วยบริการวิชาการด้านเครื่องมือแพทย์ <br />

18 รุ่นพี่ สร้างชื่อในเวทีโลก<br />

คนไทยคนแรก - กรรมการตัดสินเชียร์ลีดดิ้งโลก <br />

<br />

Check <br />

them <br />

ditorial<br />

Estaff<br />

out!<br />

ที่ปรึกษา : ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์, ดร.มานิต บุญประเสริฐ,<br />

ดำรงค์ อินทรมีทรัพย์, ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร, ผศ.ดร.วิวรรธน์<br />

ปาณะสิทธิพันธ์, อำนวยวุฒิ สาระศาลิน, อนุสรณ์ ศรีแก้ว<br />

บรรณาธิการบริหาร : สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ<br />

บรรณาธิการ : กวิตา เรืองไทย<br />

กองบรรณาธิการ : นิจวรรณ นาวารัตน์, อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์,<br />

จิราภรณ์ ตุลาผล, ปิยาภรณ์ พินยา<br />

รีไรเตอร์ : รพีวรรณ กลยนี<br />

ช่างภาพ : อรรถยา สุนทรายน, บัญหาร กาศนอก<br />

เลขากองบรรณาธิการ : ภัสณี บำรุงถิ่น<br />

คอมพิวเตอร์กราฟิก : อรรถยา สุนทรายน, เกวภร สังขมาศ<br />

ที่ทำการสารรังสิต : สำนักงานประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 <br />

อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

ซอยพหลโยธิน 87 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 <br />

โทรศัพท์ 0-2791-5555 โทรสาร 0-2791-5577 หรือ <br />

e-mail : info@rsu.ac.th<br />

Scoop<br />

[จิราภรณ์ ตุลาผล] สกู๊ป<br />

ภาพยนตร์สั้น ม.รังสิต <br />

คว้า 5 รางวัล<br />

จากมูลนิธิหนังไทย<br />

ทุกๆ ปี มูลนิธิหนังไทย จะมีการจัด<br />

ประกวดภาพยนตร์สั้นขึ้น เพื่อส่งเสริมให้บุคคล<br />

ทั่วไป เยาวชน และนักศึกษาได้ส่งผลงาน<br />

ภาพยนตร์สั้นเข้าประกวด และภาพยนตร์สั้นบาง<br />

เรื่องที่ส่งเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลจะถูกนำไป<br />

เผยแพร่ในต่างประเทศ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน<br />

และประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์สั้นระหว่างประเทศ<br />

ในแถบทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา <br />

และในปีนี้นักศึกษาสาขาวิชาการ<br />

ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง คว้ารางวัล<br />

สำคัญมาถึง 5 รางวัล ได้แก่ รางวัลช้างเผือก<br />

ภาพยนตร์สั้นนักศึกษายอดเยี่ยม เรื่อง “นักโทษ”<br />

รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม Kodak Filmschool<br />

Competition เรื่อง “Red Man” รางวัลขวัญใจ<br />

มหาชน Popular Vote เรื่อง “เรื่อง-ของ-วัตถุ”<br />

ประกาศนียบัตรชมเชย ผลงานภาพยนตร์สั้น<br />

นักศึกษา เรื่อง “Red Man” และ “เรื่อง-ของ-วัตถุ”<br />

<br />

เรื่อง-ของ-วัตถุ<br />

นางสาวเจนจิฬา โชติประทุม ว่าที่บัณฑิต<br />

คณะนิเทศศาสตร์ และนายภูมิ บุณยสมภพ<br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการภาพยนตร์และ<br />

วีดิทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

กล่าวว่า ภาพยนตร์สั้น “เรื่อง-ของ-วัตถุ” ชนะ<br />

คนเบื้องหลัง<br />

รางวัลขวัญใจมหาชน และประกาศนียบัตร<br />

ชมเชย โดยเรื่องราวถูกถ่ายทอดผ่านพ่อและลูกคู่<br />

หนึ่ง ด้วยคำสัญญาที่จะต้องซื้อรถให้ลูก พ่อจึง<br />

พาลูกไปที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่เก็บพระพุทธ-<br />

รูปที่ได้รับมรดกมา เมื่อลูกได้รู้ว่าพระที่ตน<br />

ต้องการเป็นพระที่ชาวบ้านแถวนั้นให้ความ<br />

นับถือ กราบไว้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำใจ<br />

ของคนที่นั่น เขาจึงเปลี่ยนความคิดและมองเห็น<br />

ถึงคุณค่าทางจิตใจมากกว่าที่จะนำพระองค์นี้ไป<br />

แลกเป็นค่าทางเงินตรา<br />

“หนังสั้นเรื่องนี้ เป็นหนังนิสัยดีเรื่องหนึ่งที่<br />

ทำให้คนดูมองเห็นถึงความดี ทำให้คนดูได้รู้สึก<br />

ถึงคุณค่าทางจิตใจกลับไปหลังจากที่ได้รับชม<br />

แม้แต่คณะทำงานเองก็ตาม ก็ยังได้รับความคิด<br />

อีกมุมมองหนึ่งกลับไป มันทำให้เราได้เห็นคุณค่า<br />

ทางวัตถุที่สำคัญของศาสนาพุทธ ได้รู้ว่าสิ่งสำคัญ<br />

ที่สุดในชีวิตคือการให้เกียรติในความเชื่อของ<br />

ตัวเอง” นางสาวเจนจิฬา กล่าวต่อ<br />

ดังนั้น อารมณ์ของตัวละครที่แสดงเป็น<br />

ลูกในเรื่องนี้ อาจจะทำให้ท่านผู้ชมได้ระลึก<br />

สักนิดว่า เรามองพระพุทธรูปเป็นวัตถุที่ยึดเหนี่ยว<br />

ทางจิตใจ หรือมองเป็นเพียงแค่สิ่งของเพียงชิ้น<br />

หนึ่ง <br />

นักโทษ<br />

“ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่มี<br />

รูปแบบและวิธีการทำที่ไม่เคยมีมาก่อน” นี่คือคำพูดแรกที่นายปรัชญา ลำพองชาติ ศิษย์เก่าสาขา<br />

วิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พูดถึงหนังสั้นเรื่อง<br />

“นักโทษ”<br />

นายปรัชญา อธิบายต่อถึงความแตกต่างที่ว่าไม่เหมือนเรื่องอื่นตรงที่ “ความโดดเด่นของบท<br />

เรื่องนี้ ผมไม่ได้ทำหนังเพื่อเอารางวัล แต่ผมต้องการเผยแพร่และสื่อสารรูปแบบของภาพยนตร์ใน<br />

แนวใหม่ให้ผู้ชมได้เห็น อีกทั้งเพื่อสร้างความคิดใหม่ และวางรากฐานใหม่ๆ ให้แก่เด็กที่จะทำหนัง<br />

รุ่นต่อๆ ไป ผมทำหนังส่งเข้าประกวดมาหลายเรื่อง โดยพยายามที่จะปรับเปลี่ยนความคิดและมุม<br />

มองใหม่ๆ ลงไปในผลงาน สำหรับครั้งนี้ เรื่องนี้ผมใช้รูปแบบภาพยนตร์แบบเชิงกวี (Plastic<br />

Material) หรือเรียกว่า การใช้กระแสสำนึกของคนดู ผสมกับจิตสำนึกของคนทำ โดยต้องการให้<br />

คนดูใช้ประสบการณ์ของตนเองในการชมภาพยนตร์ ตัวหนังจะไม่ใช่การบรรยายหรือมาเล่าเรื่อง<br />

เหมือนเดิม แต่ออกแนวหาข้อคิดไม่เจอ ไม่ต้องตีความ เพราะมันเป็นงานศิลปะต้องใช้รสนิยม<br />

และประสบการณ์ในการคิดตาม หากพูดถึงประสบการณ์การทำหนังของผมนั้น ผมคิดว่าการกำกับ<br />

ที่ดีจะต้องไม่ทำให้นักแสดงรู้สึกว่าถูกกำกับอยู่ และนี่เป็นอุดมคติในการทำงานของผม”<br />

ความรู้สึกแปลกใจ เป็นความรู้สึกแรกที่ปรัชญาจำได้หลังทราบการประกาศผล เนื่องด้วย<br />

แนวทางการประกวดภาพยนตร์สั้น เป็นที่รู้กันว่าคุณลักษณะ คุณสมบัติของภาพยนตร์ที่จะได้รับ<br />

รางวัลนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งนายปรัชญาบอกว่าผลงานของเขาไม่ได้ตรงกับรูปแบบการตัดสินสักเท่าไร<br />

แต่ก็ยังคงรู้สึกดีใจที่ภาพยนตร์แนวศิลปะของเขานั้นได้รับรางวัล และชายคนนี้ก็ทิ้งท้ายว่า “การจะ<br />

สร้างผลงานชั้นเยี่ยม ไม่จำเป็นต้องใช้สมอง ไม่ต้องเป็นอัจฉริยะ ไม่จำเป็นต้องฉลาด แต่สิ่งที่ต้อง<br />

มีคือความเชื่อมั่น ความศรัทธาในสิ่งที่จะทำ”<br />

<br />

Red Man<br />

Red Man เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสี ที่ไม่ได้เกี่ยวพันกับเหตุการณ์บ้านเมือง ณ ปัจจุบัน แต่เป็น<br />

เรื่องของสังคมที่เกิดความรู้สึกแบ่งแยก หรือแม้แต่ความช่วยเหลือกันที่น้อยลงในสังคมปัจจุบัน<br />

นายณัฐพงศ์ หอมชื่น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะ<br />

นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้กำกับภาพยนตร์สั้น เรื่อง Red Man กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ทุกคน<br />

ตีค่ากันเพียงแค่เราเห็นภายนอก เราตีความคนอื่นทั้งๆ ที่เราไม่เคยคุยกันมาก่อนและโดนชักจูงไป<br />

ตามคำพูดของคนอื่นๆ และนี่จึงเป็นแรงบันดาลใจที่เขียนเรื่อง Red Man ขึ้น <br />

“Red Man คือการโยนคำถามให้สังคมว่า เป็นไปได้ไหมที่วันหนึ่งคุณจะกลายเป็น Red Man<br />

เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้แสดงถึงการอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่มันหมายถึงคนที่ถูกตัดแยกออกจาก<br />

สังคม ภาพยนตร์เรื่องนี้พูดถึงชายคนหนึ่งที่ใส่เสื้อสีแดงมาทำงาน ซึ่งทุกคนใส่สีเหลืองเพราะเป็น<br />

วันจันทร์ ดังนั้น จึงทำให้เขารู้สึกกดดันเพราะทุกคนไม่มีใครเข้าใจหรือทราบเหตุผลเลย รวมทั้งไม่มี<br />

ใครคิดที่จะถามเลยว่า “ทำไม?” แต่กลับตีความกันด้วยการมองภายนอกและตัดสิน สุดท้ายเขาก็<br />

ต้องไปซื้อเสื้อสีเหลืองมาใส่ระหว่างวัน เพราะเพียงอยากให้เหมือนคนอื่นๆ และไม่ถูกมองด้วย<br />

สายตากดดัน เมื่อถึงเวลากลับบ้าน เขากลับเจอคนใส่เสื้อแดงกลุ่มใหญ่ที่ป้ายรถเมล์ และนั่นทำให้<br />

เขาต้องหยุดเพื่อคิดว่า “จะต้องเปลี่ยนอีกหรือเปล่า?” เพราะมีเสื้อทั้งสองสีอยู่ในมือแล้ว และจะทำ<br />

อย่างไรต่อไป”<br />

ด้าน นายธนุสชาญ ขเรืองศรี และนายอิสรา อริยเอกอนันต์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา<br />

การภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เจ้าของรางวัลโกดัก (ถ่ายภาพ<br />

ยอดเยี่ยม) เล่าให้ฟังเกี่ยวกับมุมมองการถ่ายภาพให้ออกมาถูกใจคณะกรรมการให้ฟังว่า การใช้<br />

เลนส์กล้องที่เหมาะสมจะทำให้ถ่ายภาพออกมาสวย สำหรับหนังสั้นเรื่องนี้จะมีเพียงไม่กี่เฟรม ซึ่ง<br />

การจัดไฟนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะบางครั้งแสงมากเกินไป บางครั้งน้อยเกินไป และบางครั้งแสง<br />

ไฟก็เอฟเฟ็คเข้ากล้อง ทำให้เราต้องใช้เทคนิคในการจัดภาพเพื่อให้งานออกมาสวยนั้นค่อนข้างยาก<br />

ภาพยนตร์สั้นรางวัลการันตี ก่อเกิดเป็นความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ทำ นับว่าไม่ง่ายที่จะสร้าง<br />

ภาพยนตร์ให้ออกมาถูกใจผู้ชมและคณะกรรมการได้มากขนาดนี้ และนั่นคงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของ<br />

ฝีมือเพียงอย่างเดียว อีกทั้งแง่มุมในภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความคิด การแสดงความรู้สึก การ<br />

มองโลกของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสะท้อนออกมาให้คนหลายกลุ่มได้รับรู้และพึงพอใจ ไม่ใช่ใครที่ไหนจะ<br />

ทำได้ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้คือ เลือดใหม่ของวงการภาพยนตร์ที่จะเติบโตเป็นคนทำหนังต่อไป <br />

นายภูมิ บุณยสมภพ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 <br />

สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

นายณัฐพงศ์ หอมชื่น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 <br />

สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นางสาวเจนจิฬา โชติประทุม ว่าที่บัณฑิต<br />

สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นายปรัชญา ลำพองชาติ ศิษย์เก่า<br />

สาขาวิชาการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

0


0<br />

Buffet<br />

[นิจวรรณ นาวารัตน์] บุฟเฟ่ต์<br />

นางสาวเขมิสรา เรืองเดช นักศึกษาชั้นปีที่ 4<br />

แขนงวิชาการแสดงดนตรี วิทยาลัยดนตรี<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นางสาวเขมิสรา เรืองเดช (เมย์) นักศึกษาชั้นปีที่ 4<br />

แขนงวิชาการแสดงดนตรี (Performance) เอกวิชา<br />

การขับร้องดนตรี (Classic) วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต คือสาวน้อยที่หลงรักเสียงดนตรีและรักการร้อง<br />

เพลงมาตั้งแต่เธอยังเป็นเด็ก <br />

“เมย์มีความสุขทุกครั้งที่ได้ยินเสียงดนตรี เพราะ<br />

เมย์รู้สึกว่าเพลงเป็นส่วนหนึ่งของตัวเมย์ เมย์จึงเลือก<br />

เส้นทางที่รัก โดยการตัดสินใจเข้าเรียนเอกวิชาการ<br />

ขับร้อง สาขาวิชาการแสดงดนตรี ตลอดระยะเวลาที่<br />

ผ่านมา เมย์เข้าใจว่าดนตรีเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่ว่าจะ<br />

เข้าใจได้ง่ายๆ ถ้าจับจุดไม่ได้เราก็ไม่สามารถเข้าใจถึง<br />

บทเพลงได้ เพราะดนตรีมีหลายแบบ หลายแนว หลาย<br />

ภาษาแตกต่างกันทั่วโลก เมย์จึงให้ความสำคัญกับเรื่อง<br />

ของความคิดและความรู้สึกที่ถ่ายทอดผ่านบทเพลงเป็น<br />

อย่างมาก เพราะนั่นจะทำให้เมย์สามารถเข้าใจภาษา<br />

นายรชา นันทะเลขา<br />

นายรชา นันทะเลขา (ตาว) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

หนุ่มนักบัญชีมาดกวน ขัดกับภาพลักษณ์ของนักศึกษาบัญชีทั่วไป <br />

“ผมรักการเรียนบัญชี เพราะการเรียนบัญชีนั้นไม่ยากเลย ถ้าตั้งใจและใส่ใจกับ<br />

มัน ความฝันของผมก็คือเป็นนักบัญชีที่เก่งกาจ และที่คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

เปรียบเหมือนบ้านหลังที่ 2 ของผม รู้สึกได้เลยว่าที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงที่ที่เรามาเรียน<br />

หนังสืออย่างเดียว แต่เป็นสถานที่แห่งความอบอุ่น ไม่ว่าผมจะมีปัญหาใดผมก็มักจะ<br />

นึกถึงที่นี่เป็นที่แรก เพราะผมมั่นใจว่าจะมีอาจารย์คอยเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และ<br />

ช่วยเหลือผม”<br />

อีกมุมหนึ่งนอกจากมุ่งมั่นในการเรียนแล้ว ตาวยังทำกิจกรรมอื่นๆ ควบคู่กันไป<br />

ด้วย ตั้งแต่เข้ามาเรียนชั้นปีที่ 1 ก็เป็นตัวแทนคณะฯ เข้าประกวดดาว-เดือนมหาวิทยาลัย<br />

รังสิต เคยเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยรังสิตถือธงสัญลักษณ์ 80 พรรษา ในการแข่งขัน<br />

กีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 และการรับหน้าที่เป็นทูตข่าวสารมหาวิทยาลัยรังสิต<br />

(RSU Smart Team) ประจำคณะบัญชี 2 ปีติดต่อกัน<br />

อนาคตอันใกล้ หนุ่มคนนี้ตั้งใจจะเติมความฝันของเขาให้เต็มและพร้อมที่จะ<br />

กลับมาให้ความช่วยเหลือน้องๆ ทุกเมื่อ ด้วยการให้โอกาสหรือถ่ายทอดประสบการณ์<br />

เกี่ยวกับการเรียนและการใช้ชีวิตในคณะบัญชีและในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้น ตาวจึง<br />

มักจะบอกกับเพื่อนๆ และน้องๆ เสมอว่า มหาวิทยาลัยรังสิตนี่แหละ คือโอกาสสำหรับ<br />

ทุกคนที่ก้าวเข้ามาพร้อมความมุ่งมั่น หากใครที่ไล่ตามความฝันด้วยความตั้งใจจริง ย่อม<br />

ได้รับคำตอบเป็นความสำเร็จกลับออกไปเสมอ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะใช้เวลานานมาก<br />

กว่าคนอื่นก็ตาม<br />

นางสาวเขมิสรา เรืองเดช<br />

นายรชา นันทะเลขา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 <br />

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ของดนตรีได้อย่างแท้จริง”<br />

เส้นทางไล่ตามความฝันของเมย์ไม่ได้จำกัดแค่<br />

เพียงในห้องเรียนหรือห้องซ้อมดนตรีเท่านั้น แต่เมย์ยัง<br />

ได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากทางคณะฯ ให้ทำ<br />

กิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การเป็นครูสอนขับร้อง<br />

ที่สถาบันดนตรีต่างๆ การร่วมร้องเพลงประสานเสียง<br />

ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 การ<br />

ร่วมขับร้องเพลงประสานเสียงในพิธีประสาทปริญญา<br />

ของมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งกิจกรรมที่หลากหลายเป็น<br />

แรงผลักดันสำคัญให้เมย์สนใจเข้าร่วมโครงการทูตข่าว<br />

สารมหาวิทยาลัยรังสิต (RSU Smart Team) เพื่อจะได้<br />

แบ่งปันความรู้และประสบการณ์สังคมคนดนตรีที่<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตให้แก่น้องๆ ที่หลงใหลในเสน่ห์ของ<br />

เสียงดนตรีเช่นเดียวกัน<br />

Buffet<br />

[นิจวรรณ นาวารัตน์] บุฟเฟ่ต์<br />

ชื่อนี้... ท่านได้แต่ใดมา? โดย อักษรลักษณ์<br />

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมกาแฟดำถึงได้ถูกเรียกว่า “โอเลี้ยง” ทำไม “ขนมจีน” ถึงไม่ใช่ขนม แถมยัง<br />

ไม่ใช่อาหารของประเทศจีนอีกต่างหาก ทำไมพวกต้มตุ๋นถึงถูกเรียกว่าสิบแปดมงกุฎ ทำไมสนามบินน้ำที่เมือง<br />

นนท์ฯ ไม่มีเครื่องบินสักกะลำ ทำไมไหปลาร้าถึงมาอยู่บนร่างกายเรา คุณเคยรู้ไหมว่าค็อกเทลที่ชื่อ “ไหมไทย”<br />

นั้นไม่ได้คิดโดยคนไทย ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับเมืองไทยเลยสักนิด ข้อสงสัยเหล่านี้มีคำตอบรอคุณแล้วใน “ชื่อ<br />

นี้... ท่านได้แต่ใดมา?” ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อเขียนจากคอลัมน์ Know What Why ในนิตยสารแพรว โดย<br />

ฮ.ซาเปียน ได้แบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและจดจำ อย่างข้าวปลาอาหาร ขนมนมเนย เครื่องดื่ม<br />

ชื่นใจ ผลหมากรากไม้ ต้นไม้ใบหญ้า สิงสาราสัตว์ ถ้อยคำสำนวน คำฝรั่งอังกฤษ ตำนานแดนกรีก ชื่อบ้านชื่อ<br />

เมือง โรคภัยไข้เจ็บ ข้าวของเครื่องใช้ สิ่งบันเทิงเริงใจ นานาจิปาถะ <br />

หนังสือจำนวน 190 หน้า เล่มนี้เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ใช้อ่านเล่นๆ แต่ให้ความรู้ เพราะผู้เขียนได้<br />

ประเคนสาระมาให้เพียบ<br />

Facebook + Spore Islands โดย อ.เสกสันต์ แสงสวัสดิ์<br />

ปัจจุบันนี้ Blog เป็นที่นิยมและแพร่หลายไปยังบุคคลทุกเพศทุกวัย แทบจะไม่มีใครเลยที่ไม่มี Blog เป็นของ<br />

ตัวเอง หลายคนเริ่มงงว่า Blog คืออะไร มันก็คือ hi5, Twitter หรือ Facebook ที่เราเล่นกันอยู่ทุกวันนี้เอง Blog<br />

หลายๆ ค่ายก็แข่งขันกันมากมาย และที่นิยมที่สุดตอนนี้น่าจะเป็น Facebook ที่มีคนเล่นถึง 300 ล้านคนทั่วโลก<br />

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Facebook เป็นที่นิยมคือ เกมนั่นเอง ทุกวันนี้เราจะเห็นคน Login เข้า Facebook เพื่อเล่นเกม<br />

ล่าสุด คือ อีเอ และ Maxis Studio นำเกมจำลองชีวิตซีรีส์ “สปอร์” ที่ผมได้แนะนำไปแล้วในสารรังสิตฉบับก่อน<br />

มาลงให้กับ Facebook บ้าง โดยใช้ชื่อว่า “Spore Islands” เนื้อหาของเกมจะย่อขนาดลงมาจาก Spore ตัวเดิมแต่<br />

ยังคงคอนเซปต์ของเกมไว้อยู่คือ จะให้ผู้เล่นได้แข่งขันกับผู้เล่นคนอื่นเพื่อสร้างเกาะของตัวเองและพัฒนาสายพันธุ์<br />

สปีชีของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งสิ่งมีชีวิตที่ตัวเองสร้างขึ้นไปยังเกาะของผู้เล่นคนอื่นเพื่อเข้ายึดครองด้วย<br />

แล้วอย่าลืมไปสร้างสายพันธุ์ตัวเองขึ้นใน Facebook ของแต่ละคนด้วยนะครับ<br />

Google Map กับ Game Monopoly โดย อ.ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง<br />

วันนี้จะมาแนะนำเว็บไซต์ที่มีการนำเกมเศรษฐีชื่อดัง Monopoly มาผนวกเข้ากันกับ Google Map<br />

แผนที่ระดับโลกของ Google หากพร้อมแล้วก็ให้เข้าไปที่ www.monopolycitystreets.com จากนั้นก็ทำการ<br />

สมัครสมาชิกเข้าเล่นเกม โดยตัวเกมก็มีกฎกติกาสอนไว้อยู่แล้ว โดยกฎเบื้องต้นบอกไว้ว่า เราจะได้เงิน 1 ล้าน<br />

เมื่อเข้ามาใช้งานในแต่ละวัน สามารถซื้อถนนและสร้างตึกในราคาต่างๆ ได้ โดยยิ่งตึกที่มีราคาแพงเท่าไร เงิน<br />

ค่าเช่าที่เราจะได้ก็จะมากขึ้นเท่านั้น ที่ดินที่เราจะซื้อนั้น หากโฉนดเป็นสีน้ำเงินแสดงว่ามีเจ้าของแล้วจะซื้อเลยไม่<br />

ได้ ต้องไปประมูลซื้อเอา แต่หากโฉนดนั้นเป็นสีแดงแสดงว่าเป็นโฉนดเปล่า เราสามารถซื้อได้ และขณะที่เล่นอยู่<br />

นั้นทำให้เรารู้ว่าโลกเราใบนี้กว้างใหญ่มากแค่ไหน มีประเทศหลายประเทศที่เราอาจไม่เคยรู้จักมาก่อนให้เราค้นหา<br />

ลองเล่นดูสิครับ เป็นเกมที่ผมรู้สึกว่าไม่เสียเวลาเล่นมาก ทำให้เรารู้อีกด้วยว่าที่ดินในกรุงเทพฯ ราคาแพงมากแค่<br />

ไหน<br />

Recommended<br />

0<br />

เมนูบันเทิง<br />

สวยซามูไร โดย ผศ.ดร.กฤษดา เกิดดี<br />

จากภาพโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “สวยซามูไร” เป็นภาพยนตร์ที่ทางผู้สร้างมีเจตนา<br />

นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ด้วยดาบที่ซามูไรใช้เป็นอาวุธ โดยมีขนาดของหน้าอกของผู้แสดงสาวเป็นสิ่งดึงดูด แต่ดู<br />

เหมือนว่าเจตนาดังกล่าวนั้น กลับถูกทำให้เบี่ยงเบนไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อการร้าย องค์กรลับ และการ<br />

แทรกแซงประเทศอื่นของสหรัฐอเมริกา ทำให้การต่อสู้ด้วยดาบแบบซามูไรและขนาดของหน้าอกกลายเป็นเพียง<br />

ส่วนประกอบ<br />

ผลที่ติดตามมาคือ “สวยซามูไร” กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวสลับซับซ้อนและถูกทำให้ยุ่งยากเกินกว่าที่<br />

ควรจะเป็น และยิ่งถ้าหากพิจารณาว่าทางผู้สร้างมีเจตนาขายเรือนร่างของผู้แสดงสาว การสร้างเรื่องราวให้ยุ่งยาก<br />

ซับซ้อนก็ไม่จำเป็น และเมื่อบวกกับกลวิธีการเล่าเรื่องที่ยุ่งยากพอๆ กับเรื่องราว ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์เพื่อความ<br />

บันเทิงที่มีความเพลิดเพลินอยู่น้อยเกินไป<br />

ผู้ที่เคยดูงานในอดีตของ มานพ อุดมเดช อาจจะต้องลืมเรื่องนี้ไปอีกเรื่อง


0<br />

Showcase<br />

[นิจวรรณ นาวารัตน์]<br />

ของดีมีอยู่<br />

News<br />

ภาพข่าว<br />

0<br />

2 ซีเนียร์คณะบริหารฯ โกอินเตอร์<br />

รับทุนโครงการแลกเปลี่ยนฯ ที่สวีเดน<br />

“The secret of success in life is to be<br />

ready for your opportunity when it<br />

comes.” Benjamin Disraeli <br />

…ความลับของความสำเร็จคือเตรียมตัว<br />

ให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับโอกาสที่มาถึง <br />

คำคมข้างต้นได้รับการพิสูจน์ให้เห็นเป็น<br />

รูปธรรมจากความสำเร็จก้าวแรกของนางสาว<br />

ณัฐชา ปรีชาพัฒนานนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4<br />

และนายไทธัม พัฒนภูมิไทย นักศึกษาชั้นปีที่ 3<br />

สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต 2 นักศึกษาที่สร้างความ<br />

พร้อมให้แก่ตนเองจนสามารถผ่านการพิจารณา<br />

ว่ามีคุณสมบัติอันเหมาะสมให้รับทุน Linnaeus<br />

and Palme Scholarships ซึ่งสนับสนุนการ<br />

ดำเนินงานในโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์และ<br />

นักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิต และ<br />

Malardalen University ประเทศสวีเดน เป็น<br />

เวลา 10 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 -<br />

มิถุนายน 2553<br />

นางสาวณัฐชา ปรีชาพัฒนานนท์<br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการ<br />

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า<br />

อาจารย์ที่คณะฯ แนะนำให้ไปสอบคัดเลือก<br />

เพราะอาจารย์อยากให้คนที่มีความพร้อมทั้งใน<br />

ด้านของความรู้ การใช้ภาษา และมีความ<br />

ต้องการที่จะพัฒนาได้มีโอกาสรับทุนนี้ ส่วนตัว<br />

แล้วคิดว่าอาจารย์กำลังยื่นโอกาสดีๆ ให้ จึง<br />

ตัดสินใจลองไปสมัครสอบและได้รับทุนในที่สุด<br />

ส่วนเหตุผลที่คาดว่าทำให้ได้รับทุนนั้นเป็น<br />

เพราะอาจารย์มองเห็นว่าเราสามารถไปใช้ชีวิต<br />

คนเดียวในต่างประเทศได้ และผลการเรียนอยู่<br />

ในระดับที่น่าพอใจ เกรดเฉลี่ยสะสม 3.84<br />

ความสามารถด้านภาษาอยู่ในระดับดี ที่ผ่านมา<br />

ก็เรียนพิเศษวิชาภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง<br />

นอกจากนี้ อาจารย์ยังสอนอยู่เสมอว่า การจะ<br />

ประสบความสำเร็จในสายงานทางด้าน<br />

บริหารธุรกิจได้ต้องโดดเด่นกว่าคนอื่น เราไม่<br />

จำเป็นต้องเก่งไปทุกอย่าง แต่เลือกสิ่งที่เรา<br />

ถนัดแล้วพยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อให้เราต้อง<br />

แตกต่างจากคนอื่นๆ เช่น เรียนคณะบริหาร<br />

แต่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษา<br />

ต่างประเทศ หรือมีทักษะในการใช้<br />

คอมพิวเตอร์ได้ดีมาก จะเป็นจุดเริ่มต้นของ<br />

โอกาสที่มากกว่าคนอื่นๆ <br />

ในขณะที่ นายไทธัม พัฒนภูมิไทย<br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการ คณะ<br />

บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า<br />

เหตุผลที่ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมการคัดเลือก<br />

เพราะมองว่าการเรียนบริหารธุรกิจจะอาศัย<br />

ความรู้ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมี<br />

ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย<br />

ประกอบกับเคยมีประสบการณ์ใช้ชีวิตในต่าง<br />

ประเทศมาแล้ว ทั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและ<br />

ออสเตรเลีย แต่ตอนนั้นเป็นการเดินทางไป<br />

ทำงานเจอประสบการณ์ที่ยากลำบากมาก ดังนั้น<br />

การเดินทางไปประเทศสวีเดนครั้งนี้เพื่อไปเรียน<br />

และยังได้รับทุนด้วยจึงคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำได้<br />

อย่างแน่นอน และตนมีความสนใจเรื่อง<br />

เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นพิเศษ ซึ่งทาง<br />

Malardalen University มีชื่อเสียงมากในด้าน<br />

นี้<br />

“ผมคิดว่าเราควรเตรียมพร้อมอยู่เสมอ<br />

โอกาสจะเข้าข้างคนที่มีความพร้อมที่สุด สมัย<br />

ก่อน ผมไม่ชอบภาษาอังกฤษ พูดไม่ได้ ผมก็<br />

คิดว่าถ้ากลัวอะไร วิธีแก้ไขคือต้องทำอย่างนั้น<br />

ผมจึงตัดสินใจเรียนพิเศษภาษาอังกฤษและหา<br />

ทางไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ สถานการณ์บังคับ<br />

ให้ต้องเอาตัวรอด ตอนนี้อุปสรรคด้านภาษา<br />

อังกฤษของผมก็หมดไปแล้ว” นายไทธัม กล่าว<br />

เสริม<br />

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเคล็ดลับสู่ความ<br />

สำเร็จนั้นไม่ได้มีอยู่จริงตั้งแต่แรก หากเรา<br />

พยายามทำตนเองให้พร้อมอยู่เสมอ แก้ไขและ<br />

เติมเต็มในสิ่งที่คิดว่ายังทำไม่ได้ เมื่อนั้นความ<br />

สำเร็จก็มาอยู่ตรงหน้าโดยที่เราอาจไม่ได้ตั้งตัว<br />

ด้วยซ้ำไป<br />

นายไทธัม พัฒนภูมิไทย <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการ<br />

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นางสาวณัฐชา ปรีชาพัฒนานนท์ <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการ<br />

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

เด็กเดิร์นดอทคอม จัด Meet & Greet <br />

แกรนด์ The Star 5<br />

เว็บไซต์เด็กเดิร์นดอทคอม (www.dekdern.com) จัดกิจกรรม Meet<br />

& Greet นางสาวพรรณวรท ด้วยเศียรเกล้า (แกรนด์ The Star 5) นักศึกษา<br />

ทุนความสามารถพิเศษด้านศิลปิน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแฟนคลับ<br />

ของเว็บไซต์และแฟนคลับของแกรนด์ โดยภายในงานมีกิจกรรมสนุกๆ ชิงของ<br />

ที่ระลึกจากศิลปิน ตลอดจนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเพื่อให้แฟนคลับ<br />

ได้ใกล้ชิดกับศิลปินอย่างเต็มที่ ณ ห้องประชุม 1-308 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์<br />

อุไรรัตน์ (อาคาร1) มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

นิทรรศการ DUCTFUN 09 : Simple Design<br />

สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต จัดแสดงนิทรรศการผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงการ<br />

DUCTFUN 09 ภายใต้แนวคิด Simple Design และการออกร้านจำหน่ายสินค้า<br />

ทำมือของนักศึกษา ณ ART & GALLERY อาคารคุณหญิงพัฒนา (อาคาร 8)<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต


0<br />

News<br />

ภาพข่าว<br />

Scoop<br />

สกู๊ป<br />

0<br />

คอนเสิร์ตการกุศล The Broadway Concert<br />

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทอดพระเนตรการแสดง<br />

คอนเสิร์ตการกุศล The Broadway Concert โดยมีวง Rangsit Philharmonic Orchestra อำนวย<br />

เพลงโดย ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ คณบดีวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับเชิญร่วมแสดงในงาน<br />

เพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ทั้งนี้ มีนักร้องและ<br />

นักแสดงชั้นนำ เช่น คุณสุรุจ ปรีดารัตน์ คุณธีรนัยน์ ณ หนองคาย และคุณวัลพัฒน์ สุวรรณากริช<br />

ร่วมถ่ายทอดมนต์ขลังแห่งบทเพลงหลากหลายรส จากละครเพลง Broadway อันเลื่องชื่อ ณ<br />

ศรีบูรพา ออดิทอเรียม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ <br />

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษาหอพัก<br />

สโมสรนักศึกษาหอพัก สำนักงานหอพัก มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

จัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษาหอพัก ครั้งที่ 8 ประจำปี<br />

2552 โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์นันทนา กุญชร ณ อยุธยา<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานหอพัก บรรยายในหัวข้อ “การเขียนโครงการ<br />

และการนำเสนอโครงการ” Mr. Jerom Loremia Meleclo อาจารย์<br />

ชาวฟิลิปปินส์ สอนการพูดภาษาอังกฤษ ตลอดจนการอภิปรายกลุ่ม<br />

ในหัวข้อ “ภาวะความเป็นผู้นำ” ณ สวนสาริการีสอร์ต จ.นครนายก <br />

งานเทศกาลลอยกระทง<br />

“ประทีปโคมทอง เรืองรองทุ่งรังสิต”<br />

สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต จัดงาน<br />

เทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2552 ภายใต้ชื่องาน<br />

“ประทีปโคมทอง เรืองรองทุ่งรังสิต” <br />

ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การ<br />

ออกร้านจำหน่ายสินค้า บูตจากนักศึกษาคณะ<br />

ต่างๆ การประกวดธิดานพมาศและประกวดเทพ-<br />

บุตรทุ่งรังสิต การประกวดกระทง การแสดงดนตรี<br />

การแสดงทางวัฒนธรรม ของชมรมนาฏศิลป์<br />

ชมรมไทยลูกทุ่ง และชมรมดนตรีสากล ฯลฯ โดย<br />

งานนี้ได้แบ่งพื้นที่ของโซนกิจกรรมไว้ คือ<br />

Landmark Plaza เป็นจุดบริเวณสวนน้ำพุ จุดนัด<br />

พบ ซึ่งเป็นที่สำหรับลอยกระทงและพักผ่อนหย่อนใจ<br />

RSU Market Zone ตลาดนัดสินค้า รวบรวมสินค้า<br />

แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ สินค้าหัตถกรรม งาน<br />

ศิลปะ ของใช้ ของตกแต่ง เกมการละเล่นต่างๆ<br />

เช่น ปาโป่ง ยิงเป้า ตักปลา ฯลฯ RSU Food Zone<br />

ลานอาหารและเครื่องดื่ม RSU Thai Market ตลาด<br />

ไทยในบรรยากาศย้อนยุค จำหน่ายอาหารไทย<br />

ขนมไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบไทย สินค้า<br />

หัตถกรรมพื้นบ้าน สินค้า OTOP การบริการนวด<br />

แผนไทย RSU Fun Park และ RSU Rama บริเวณ<br />

เครื่องเล่นสวนสนุกเคลื่อนที่ขนาดย่อม และหนัง<br />

กลางแปลง Main Stage เวทีการประกวดและการ<br />

แสดงต่างๆ<br />

สำหรับผลการประกวดธิดานพมาศและ<br />

ประกวดเทพบุตรทุ่งรังสิต ปรากฏว่ารางวัลชนะเลิศ<br />

เทพธิดานพมาศในปีนี้ ได้แก่ นางสาวกมลทิพย์<br />

แสงส่งไพศาล จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ รางวัลรอง<br />

ชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวปุณยนุช เปล่งวานิช<br />

คณะศิลปศาสตร์ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่<br />

นางสาววิจิตรา ฉายสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์<br />

รางวัลชมเชยอันดับ 4 ได้แก่ นางสาวอารีรัตน์<br />

รัตนประดิษฐ์ คณะเทคนิคการแพทย์ รางวัลชมเชย<br />

อันดับ 5 ได้แก่ นางสาวจิรวรรณ อ่อนหวาน คณะ<br />

บัญชี รางวัลทูตวัฒนธรรมไทย ได้แก่ Miss Marlies<br />

Burgstaller จากโครงการ Stenden Rangsit<br />

University <br />

รางวัลชนะเลิศเทพบุตร ได้แก่ Mr.<br />

Christopher Seidenberg จากโครงการ Stenden<br />

Rangsit University รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1<br />

ได้แก่ นายกานต์ กุลานุพงศ์ วิทยาลัยดนตรี<br />

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายธนณัฐ<br />

สุขเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ รางวัลชมเชยอันดับ 4<br />

ได้แก่ นายนวพล จตุพร คณะการแพทย์แผน<br />

ตะวันออก รางวัลชมเชยอันดับ 5 ได้แก่ นายธีรเมธ<br />

จิรสุวรรณพงศ์ คณะศิลปศาสตร์ รางวัลทูต<br />

วัฒนธรรม ได้แก่ Mr. Wang Sheng จากโครงการ<br />

Chinese Business School of Rangsit University<br />

ผลการประกวดกระทงประเภทสวยงาม<br />

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ คณะเศรษฐศาสตร์<br />

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คณะเทคโนโลยี-<br />

ชีวภาพ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คณะ<br />

ทัศนศาสตร์ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ รางวัล<br />

ชนะเลิศ ได้แก่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รางวัล<br />

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์<br />

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คณะทันต-<br />

แพทยศาสตร์


10<br />

Hitchhiker<br />

สะพายเป้ เข็มทิศ ลายแทง<br />

[จารย์อิท คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ]<br />

email : ittiphun@hotmail.com<br />

สวัสดีครับทุกท่าน ฉบับนี้ผมจะพาท่าน<br />

ไปเที่ยวต่างประเทศใกล้ๆ บ้านเรา มาเลเซีย-<br />

สิงคโปร์ 5 วัน 4 คืน ไปรถ กลับเครื่องบิน ใน<br />

ราคาแค่หมื่นนิดๆ ทุกครั้งที่ผมจัดทริปส่วนตัว<br />

พากลุ่มคนที่รู้จักกันไม่ว่าจะเป็นศิษย์เก่าที่จบไป<br />

นานแล้ว ศิษย์ปัจจุบันที่ทราบข่าวจาก hi5 ต่างก็<br />

ขนบรรดาญาติพี่น้องไปด้วย เพราะเขาจะรู้กิตติศัพท์<br />

ความฮาและมาตรฐานการจัดทริปของผม ไม่ได้<br />

หมายความว่าผมจะจัดดีกว่าคนอื่นหรือไม่มี<br />

ปัญหา ผมจะพูดอยู่เสมอว่าการเดินทางทุกครั้ง<br />

ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาที่เราไม่ได้คาดคิดอยู่<br />

เสมอ แต่การแก้ไขปัญหาและการจัดการใครจะมี<br />

ความรับผิดชอบกว่ากัน ในตอนนี้ที่ท่านกำลังจะ<br />

ได้อ่านจะเห็นได้ว่าผมเจอปัญหาหนักมากแต่ก็<br />

ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีในที่สุด การวางโปรแกรมการ<br />

เดินทางก็เหมือนกัน ผมจะศึกษาสถานที่ที่จะไป<br />

วัดจีนบนหน้าผายอดเขา สร้างโดยผู้ก่อตั้งเกนติ้ง<br />

Mr. Lim Goh Tong<br />

ทั้งค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ ถามคนรู้จักในวงการทัวร์<br />

และจากประสบการณ์ที่เคยไปมา นำมาสร้างสรรค์<br />

โปรแกรมใหม่ของตนเองที่ไม่ค่อยเหมือนที่ทัวร์<br />

ทั่วไปจัดอยู่ เพราะอยากจะทำให้ดีถูกอารมณ์และ<br />

คุ้มค่าเงินที่พวกเค้าต้องจ่ายกันหลายสตางค์ ช่วง<br />

หลังปีใหม่ต้นเดือนมกราคมอากาศกำลังหนาวได้ใจ<br />

ก็จะพาไปกลุ่มเล็กๆ ฮ่องกง (ดีสนีย์แลนด์) - จูไห่<br />

(จีน) - มาเก๊า (เวเนเชียน) 4 วัน 3 คืน เป็น<br />

โปรแกรมที่บริษัททัวร์ไม่ทำเพราะราคาจะสูงมาก<br />

ทำให้ขายยาก แต่ผมทำได้ราคากลางๆ กลับมาคง<br />

มีเรื่องราวและภาพสวยๆ มาฝากท่านครับ<br />

เอาล่ะครับ ออกเดินทางไปเที่ยวกับผม<br />

อาคารสุลต่านอับดุล ซาหมัด <br />

<br />

ได้แล้ว เราออกเดินทางในวันพุธที่ 21 ตุลาคม<br />

โดยรถตู้ปรับอากาศใหม่เอี่ยมจุคันละ 14 คน แต่<br />

ผมให้นั่งคันละ 9 คนเท่านั้น เพื่อความสบายและ<br />

ไว้กระเป๋าด้านหลัง รวม 3 คัน 26 คน รถออก<br />

ตอนเย็นห้าโมงครึ่ง มาแวะทานข้าวต้มรอบดึกที่<br />

ร้านเจ้าประจำเฉี่ยวโอชาริมอ่าวประจวบฯ อร่อย<br />

เหมือนเดิมครับ หลังจากนั้นก็มุ่งสู่ อ.หาดใหญ่<br />

จ.สงขลา ระหว่างทางก็แวะปั๊มให้เข้าห้องน้ำและ<br />

คนขับได้พักคลายง่วงบ้าง พอประมาณ 6 โมงเช้า<br />

กว่าๆ เราก็ถึงหาดใหญ่ตามเวลา มีน้องตี๋ลูกชาย<br />

คุณอาสวัสดิ์เจ้าของบริษัทวาสนาทัวร์ที่ผมใช้<br />

บริการกันมาเกือบ 10 ปีแล้วให้การต้อนรับ พร้อม<br />

กับน้องอาดัมและน้องบีม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น<br />

มัคคุเทศก์นำกรุ๊ปได้พาไปทานอาหารเช้าร้านดัง<br />

โชคดี แต่เตี้ยม มีซาลาเปาและขนมจีบสารพัด<br />

ชนิด แต่ที่ขึ้นชื่อก็ต้องหมูตุ๋นยาจีน “บ๊ะกุ๊ตแต๋” อร่อย<br />

มากมายครับทั่น หลังผมโซ้ยจนอิ่มแล้ว แต่ลูกทัวร์<br />

กำลังเพลินกันอยู่ ผมก็ออกมาเดินเล่นถ่ายรูป<br />

บรรยากาศยามเช้าก็ได้เรื่องครับ ชายไทยวัยกลางคน<br />

เดินเอียงไปเอียงมาเมาตะโกนเสียงดังพูดกับผมลั่น<br />

ถนน “Hi! Good morning... where u from?”<br />

นึกถึงสภาพผมที่สะพายกล้องถ่ายรูป ผมยาว ใส่<br />

หมวกเบเล่ย์ตามสไตล์ของผม เพ่แกคงนึกว่าผม<br />

เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผมไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มมุม<br />

ปาก “U afraid me” แกตะโกนดังอีก ผมชักเซ็ง<br />

เลยตอบไปเรียบๆ “ไม่หร๊อก... แต่รำคาญว๊อย”<br />

“อ้าว! คนทายนี่หว่า... ไปก้อด้าย” ว่าแล้วเพ่ก็รีบ<br />

เผ่นเดินเอียงไปเอียงมาหนีผมแน่บ อันนี้ต้อง<br />

ขอบคุณพ่อแม่ที่ให้หน้าตาเป็นอาวุธ... 555 ต่อ<br />

จากนั้นก็ตรงดิ่งมาที่ด่านจังโหลนผ่านพิธีการแล้ว<br />

ขึ้นรถบัสมาเข้าด่านมาเลเซีย ทุกคนต้องขน<br />

กระเป๋าเดินทางผ่านเครื่อง X-ray ผมอีกและ!<br />

โดนกักที่ด่านอีกโดนเรียกเข้าช่องพิเศษด้านหลัง<br />

ให้ยืนรอหน้าคอมพิวเตอร์สักพักก็บอกว่าไปได้<br />

ผมไม่ได้พูดอะไรรีบเดินออกมาเจอไกด์อีกคน<br />

ชาวจีนมาเลเซียชื่อเคนนี่รีบถามผมด้วยความ<br />

เป็นห่วง “What’s a problem with u” ผมตอบ<br />

แบบไม่เครียดว่า “I think! Maybe about my<br />

face is good looking” เสียงหัวเราะกันตรึม<br />

ต่อจากนั้นก็เดินทางโดยรถบัสปรับ<br />

อากาศที่แอร์เย็นฉ่ำจนหนาวชมวิวประเทศ<br />

มาเลเซีย ถนนไฮเวย์ที่นี่จะดีมากแทบไม่มีจุดตัด<br />

ฟังพนักงานโม้ขายช็อคโกแลต<br />

<br />

รถหรือทางแยกเลยและรถบัสที่นี่จะจำกัด<br />

ความเร็วที่ไม่เกิน 90 กม./ชั่วโมง เพื่อความ<br />

ปลอดภัย จนบ่ายโมงก็มาแวะทานอาหารกลางวัน<br />

ที่ร้านอาหารระหว่างทาง เสร็จก็ขึ้นรถบัสชมวิว<br />

ต่อจนห้าโมงเย็นก็มาถึงเก็นติ้งไฮแลนด์ เมือง<br />

ตากอากาศที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ซึ่งอยู่<br />

สูงกว่าระดับน้ำทะเล 6,000 ฟุต พอลงรถกะ<br />

จะนั่งกระเช้าลอยฟ้า (Skyway) สู่ยอดเขา แต่รถ<br />

กระเช้าลอยฟ้าดันปิดซ่อมบำรุงประจำปีก็ทำให้<br />

หลายคนผิดหวังบ้าง พวกเราต้องขึ้นรถบัสไปส่ง<br />

ด้านบนแทน เข้าสู่ที่พักโรงแรม First World<br />

Hotel ที่มีห้องพักโรงแรมเดียวถึง 6,000 ห้อง<br />

ทุกคนรับ Key Card ที่ใช้เปิดห้องและรูดตอน<br />

มีเรือกอนโดล่าให้นักท่องเที่ยวนั่งเล่นใน<br />

ลำคลองเทียม เรือใช้แล่นโดยมอเตอร์ไฟฟ้า<br />

คนพายก็เป็นหุ่น... ช่างทำไปได้<br />

เข้าทานอาหาร เอาของเก็บและลงมาทานอาหาร<br />

ค่ำที่ห้องอาหารด้านล่างที่มีไว้บริการอย่างเพียบ<br />

ผู้คนล้านแปดรุมตักอาหารแบบบุฟเฟต์ที่กระจาย<br />

ตัวเป็นระยะๆ ตลอด 3 ชั้นของห้องอาหาร ผม<br />

ปล่อยทุกท่านอิสระให้เดินเล่นภายในด้านล่าง<br />

โรงแรมที่จัดเป็นสวนสนุกมีเครื่องเล่นมากมาย<br />

ร้านค้าชอปปิงเป็นร้อย สิ่งบันเทิงต่างๆ โดยรอบ<br />

เรียกว่าเดินกันยันเที่ยงคืนยังไม่ทั่วเลย ส่วนที่<br />

เป็นคาสิโนจะอยู่แยกออกมาที่ชั้นใต้ดิน แต่ใน<br />

กรุ๊ปเราไม่มีใครสนใจ ผมเห็นเดินชอปปิงกัน<br />

นัวเนีย<br />

เช้าวันที่สาม หลังอาหารเช้าก็ออก<br />

จากโรงแรมมาเที่ยวที่วัดจีนที่สร้างโดยท่าน<br />

เจ้าของเกนติ้ง Mr. Lim Goh Tong วัดนี้ตั้งอยู่<br />

บนหน้าผา ยอดเขามีพระพุทธรูปขนาดใหญ่และ<br />

เจ้าแม่กวนอิม ภายในวัดสะอาดมาก มีรูปปั้น<br />

เรื่องราวทางศาสนาที่น่าสนใจมากมายและ<br />

บรรยากาศยามเช้าอากาศเย็นสบายมองเห็น<br />

เกนติ้งไกลๆ ต่อจากนั้นก็มาแวะที่โรงงานทำ<br />

ช็อคโกแลตด้านล่าง เริ่มออกเดินทางเข้าสู่เมือง<br />

หลวงกัวลาลัมเปอร์ แวะทานอาหารกลางวันที่<br />

ภัตตาคารจีน หลังจากนั้นมาต่อกันที่ร้าน<br />

จำหน่ายนาฬิกาที่ราคาถูกบ้างแพงบ้างบางยี่ห้อ<br />

ช่วงบ่ายกว่าๆ ก็มาถึงเมืองราชการแห่งใหม่ของ<br />

มาเลเซียปุตราจายา (Putrajaya) สร้างโดยอดีต<br />

Malaysia-Singapore 1<br />

ตึกแฝด ปิโตรนัส (The PETRONAS<br />

Twin Towers) ที่เคยสูงที่สุดในโลก<br />

Lobby อย่างเริดหรูอลังการ First World Hotel ภายในเครื่องเล่น ร้านค้าเพียบ<br />

นายกฯ มีสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมแบบมุสลิม<br />

ประยุกต์ที่สวยงามมาก ทุกอย่างดูเป็นระเบียบ<br />

และสะดวกแก่ประชาชนในการมาติดต่อราชการ<br />

เมืองไทยเคยคิดมาก่อนแต่ทะเลาะกันไม่เสร็จจน<br />

ชาวบ้านเอาไปทำจนมีชื่อเสียง... ฮ่วย ถัดมาชม<br />

จัตุรัสเมอร์เดก้า สถานที่ปลดปล่อยเอกราชจาก<br />

อังกฤษ มีเสาธงที่มีความสูงที่สุดในโลก 100<br />

เมตร ชมอาคารสุลต่านอับดุล ซาหมัด ชม<br />

พระราชวังแห่งชาติ ทหารม้าและทหารราบประจำ<br />

พระองค์ ถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ชมทัศนียภาพ<br />

ของเมืองหลวง ตึกรัฐสภา มัสยิดหินอ่อน สถานี<br />

รถไฟเก่าแก่ KL Tower ชมตึกแฝด ปิโตรนัส (The<br />

PETRONAS Twin Towers) ที่เคยสูงที่สุดในโลกถึง<br />

452 เมตร จากพื้นดิน เราแวะลงจุดที่ถ่ายภาพได้<br />

มุมที่เห็นทั้งตึกไกลๆ ตอนเย็นมาละลายทรัพย์กัน<br />

ที่ชอปปิงมอลล์สุดหรูของมาเลเซีย KLCC ที่อยู่ติด<br />

กับตึกแฝด แหล่งรวมสินค้าแบรนด์ดังมากมายทั้ง<br />

ตึก ผมได้แต่เดินดูถ่ายภาพเล่น พอได้เวลาก็รวม<br />

พลมาทานอาหารค่ำที่ภัตตาคารจีน... อีกและ<br />

คืนนี้เราเข้าพักที่ Puteri Park Hotel… ใครยังไม่<br />

ง่วงก็ลงมาเดินเล่นตลาดเสื้อผ้าและร้านค้าที่เกือบ<br />

จะปิดกันแล้ว ใครง่วงเพลียก็ตามสะดวกครับ<br />

Good Night, Kuala Lumpur… Zzz<br />

เช้าวันที่สี่ ออกเดินทางลงใต้เพื่อเข้าสู่<br />

ประเทศสิงคโปร์ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5<br />

RANGSIT MUSIC COMPETITION 2009 ชิงถ้วยพระราชทานฯ<br />

First World Hotel สีเจ็บมาก มีถึง 6,000 ห้อง... พระเจ้า!<br />

ชั่วโมง แวะทานข้าวกลางวันที่ภัตตาคารจีนที่เมือง<br />

ยะโฮร์ เวลาประมาณบ่ายโมงทุกคนต้องขนของลง<br />

จากรถเพื่อผ่านด่าน การเข้าสิงคโปร์จะเข้มงวด<br />

มาก บุหรี่เข้าได้คนละ 1 ซอง เท่านั้น ที่สิงคโปร์<br />

บุหรี่จะตกซองละ 200 กว่าบาท ผมพกตุนมา 4<br />

ซองต้องฝากลูกศิษย์คนละซอง “จารย์ขา หนูไม่<br />

ดูดบุหรี่ เจ้าหน้าที่เค้าจะรู้และจับหนูมั้ยเนี่ย”<br />

เสียงเว้าวอนลูกศิษย์สาว “ไม่เป็นราย เค้าจะมา<br />

พิสูจน์ขอดมปากแกเอง” ผมตอบแบบมึนๆ “จิง<br />

ดิจารย์... หนูกัวโดนจับนะเนี่ย” เธอยังไม่เลิก “โง่<br />

นี่! จะบ้าเหรอ อย่างดีเค้าก็เอาทิ้งก้อหมดเรื่อง...<br />

อย่าซีเครียดจ้า” “จารย์ก้อ” หมากฝรั่งก็ตัวร้าย<br />

ห้ามนำเข้าเด็ดขาด... ทิ้งอย่างเดียว ว้า! หมด<br />

เนื้อที่แล้ว เอาไว้อ่านต่อฉบับหน้าแล้วกันนะ<br />

คร๊าบบบ<br />

News<br />

ข่าว<br />

วิทยาลัยดนตรีและศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ขอเชิญชมการประกวดวงดนตรีสากล “RANGSIT MUSIC<br />

COMPETITION 2009 (ครั้งที่ 4)” ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รอบรองชนะเลิศ ในวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2552<br />

และรอบชิงชนะเลิศในวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุมใหญ่ 1-301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์สานิตย์ แสงขาม โทร. 08-6777-5576 หรือ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต โทร. 0-2997-2200 ต่อ 3209, 3210 <br />

11


12<br />

Point of view<br />

[อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์]<br />

นายถาวร พรชัยวรนนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 <br />

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ <br />

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ <br />

ขยันวันนี้ให้พ่อสบาย<br />

นานาทัศนะ<br />

เด็กรุ่นใหม่ทำอะไรเพื่อพ่อ?<br />

นางสาวอาภารัตน์ รักษาสีมันต์ <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน<br />

คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ<br />

รักพ่อ ทำดีทุกวันไม่ใช่ทำเฉพาะวันพ่อค่ะ<br />

นางสาวเชาวนี อยู่รอต <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 <br />

คณะการแพทย์แผนตะวันออก<br />

วันพ่อเป็นวันที่สำคัญมากวัน<br />

หนึ่ง แต่เราก็ทำดีกับพ่อทุกๆ<br />

วันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมี<br />

ของขวัญแค่ทำตัวเราให้เป็น<br />

คนดีก็พอ<br />

5 ธันวาคม ของทุกๆ ปี<br />

เป็นวันสำคัญอีกหนึ่งวันของคนไทย<br />

ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละคนก็มี<br />

สัญลักษณ์ที่สื่อถึงความรักที่มีต่อ<br />

พ่อแตกต่างกัน เราลองมาดูกันว่า<br />

เด็กรุ่นใหม่เขาเตรียมจะทำอะไร<br />

เพื่อพ่อ ในวันพ่อปีนี้กันบ้าง<br />

นางสาวสุทธิลักษณ์ คชเสนี <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 <br />

คณะเทคนิคการแพทย์<br />

ในวันพ่อ พ่อคงไม่ต้องการ<br />

อะไรจากเราไปมากกว่าการที่<br />

ลูกเป็นคนดี และทำหน้าที่ของ<br />

ตัวเองให้ดีที่สุด โดยเฉพาะ<br />

อย่างยิ่งหน้าที่ของการเป็นลูก<br />

นางสาววรรจสา เพ็ชรส่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 <br />

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน <br />

คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ<br />

ตั้งใจเรียน กราบเท้าพ่อ พ่อจะภูมิใจในตัวเรา<br />

นางสาวพัชรี อินทพรม <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 <br />

คณะพยาบาลศาสตร์ <br />

วันพ่อเป็นวันสำคัญมากวันหนึ่ง<br />

ไม่ต้องมีของขวัญ แต่ทุกๆ วัน<br />

ทำดีเพื่อพ่อค่ะ<br />

นางสาวพลอยไพลิน นาคมินทร์ <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์<br />

คณะนิเทศศาสตร์ <br />

จะตั้งใจเรียนให้จบเพื่อพ่อจะได้ภูมิใจค่ะ<br />

Scoop<br />

[ปิยาภรณ์ พินยา] สกู๊ป<br />

กลับมาอีกครั้งกับ “โครงการแนะแนว<br />

สัมพันธ์” ครั้งที่ 13 ของมหาวิทยาลัยรังสิต<br />

โดยการนำทีมอาจารย์แนะแนวจากโรงเรียน<br />

มัธยมศึกษาทั่วประเทศ 38 คน ร่วมเดินทางชม<br />

ความงามและกลิ่นอายของศิลปวัฒนธรรมของ<br />

เมืองเวียงจันทน์ และ จ.หนองคาย การเดินทาง<br />

ครั้งนี้มีทั้งความสนุกและความประทับใจควบคู่<br />

โครงการแนะแนวสัมพันธ์ ครั้งที่ 13<br />

กันไปของคณะอาจารย์แนะแนวและทีมงาน<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้รับเกียรติจากคณาจารย์<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตหลายท่านร่วมเดินทาง <br />

ช่วงเช้าก่อนการเดินทาง เริ่มจาก<br />

การกล่าวต้อนรับอาจารย์แนะแนวอย่างเป็น<br />

กันเองของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมมอบประกาศนียบัตร<br />

และของที่ระลึกจากมหาวิทยาลัยรังสิต ต่อด้วย<br />

การเยี่ยมชมอาคารรังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งเป็น<br />

อาคารเรียนใหม่ของคณะทันตแพทยศาสตร์<br />

อาจารย์หลายท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตน่าเรียน ด้วยความหลากหลาย<br />

ของคณะที่มีให้เลือกมากมาย อาคารเรียนและ<br />

อุปกรณ์ที่ครบครันทันสมัย บวกกับความพร้อม<br />

ของคณาจารย์ผู้สอน หลังจากนั้นได้ไปเยี่ยมชม<br />

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต โดยได้รับ<br />

การต้อนรับที่อบอุ่นจากโรงเรียนสาธิตฯ หลัง<br />

จากเสร็จสิ้นกิจกรรมต่างๆ แล้ว คณะอาจารย์<br />

แนะแนวทั้งหมดได้ร่วมเดินทางไปยังสถานี<br />

รถไฟหัวลำโพง ซึ่งเดินทางโดยรถไฟตู้นอนปรับ<br />

อากาศ <br />

กิจกรรมแรกเมื่อไปถึง จ.หนองคาย<br />

เราเริ่มเดินทางโดยรถบัสของประเทศลาว<br />

ขนาดย่อม ไปยังประเทศจุดหมาย เพื่อนำ<br />

สัมภาระไปเก็บที่โรงแรมลาวพลาซ่า หนึ่งใน<br />

โรงแรมที่ดีที่สุดในเวียงจันทน์ ก่อนที่จะออกเดิน<br />

ทางกันต่อไป จากนั้นจึงไปสักการะศาลเจ้าแม่<br />

หลักเมือง กราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ<br />

ชมความงามของศิลปะแบบลาวผสมผสานกับ<br />

(จากซ้าย)<br />

อาจารย์วัฒนกิจ สิทธิสถิตอังกูร<br />

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย<br />

อาจารย์เมทนี โอสถาน <br />

โรงเรียนสตูลวิทยา <br />

อาจารย์บุญฤทธิ์ นาคนวล<br />

โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร<br />

ฝรั่งเศสที่ประตูชัย ชมหอพระแก้ววัดหลวง<br />

ประจำราชวงศ์ของลาว และที่ขาดไม่ได้คือการ<br />

ถ่ายรูปที่มีฉากหลังเป็นประตูชัยเรียกว่าเป็นมุม<br />

ยอดฮิตกันเลยทีเดียว หลังจากนั้นได้เดินทางไป<br />

รับประทานอาหารค่ำพร้อมชมบรรยากาศยาม<br />

ค่ำคืนกันที่สนามบินนครเวียงจันทน์<br />

เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากรับประทาน<br />

อาหารเช้าที่โรงแรมลาวพลาซ่า ครูแนะแนวได้<br />

ฟังการสัมมนาในหัวข้อ “แนะอย่างไรได้ชื่อว่า<br />

แนะแนว” โดยอาจารย์อรรจน์ สีหะอำไพ<br />

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต ที่เรียกเสียงฮาพร้อมสอดแทรกความรู้ให้<br />

แก่อาจารย์แนะแนวทุกท่าน หลังจากจบสัมมนา<br />

ได้เดินทางไปสักการะหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูป<br />

คู่บ้านคู่เมืองชาวหนองคายที่วัดโพธิ์ชัย ชม<br />

สถาปัตยกรรมประยุกต์ และรับประทานอาหาร<br />

กลางวันที่ร้านแดงแหนมเนือง ร้านอาหารขึ้นชื่อ<br />

ใน จ.หนองคาย และแวะชอปปิงเลือกซื้อของที่<br />

ระลึกจากกลุ่มประเทศอินโดจีนที่ตลาดท่าเสด็จ<br />

และเตรียมเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ <br />

อาจารย์วัฒนกิจ สิทธิสถิตอังกูร<br />

จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กล่าวถึง<br />

การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า การจัดแนะแนว<br />

สัมพันธ์ในครั้งนี้ ได้ทั้งความรู้และเพื่อนไป<br />

พร้อมๆ กัน ในช่วงการสัมมนาของอาจารย์<br />

อรรจน์ ได้ความรู้ค่อนข้างเยอะ และอีกช่วง<br />

หนึ่งที่ได้ความรู้คือ การได้ไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย<br />

รังสิต ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมาก<br />

ขึ้นกว่าที่เราเคยรู้มา <br />

ด้าน อาจารย์เมทนี โอสถาน<br />

สตูลวิทยา จ.สตูล กล่าวว่า ความรู้ที่ได้รับใน<br />

ครั้งนี้ เป็นความรู้ใหม่ที่แปลกออกไปจากที่เรา<br />

เคยได้รับ ในช่วงการสัมมนา อาจารย์อรรจน์<br />

ได้พูดสะท้อนในตัวเด็กให้เราได้เข้าใจ เราได้<br />

เพียงแต่สอนไป แต่อาจารย์ได้สะท้อนกลับมา<br />

ให้เราได้รู้ว่าเด็กรู้สึกอย่างไร ซึ่งจุดนี้เราไม่เคย<br />

ทราบมาก่อน อาจารย์ วิทยากร และบุคลากร<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความช่วยเหลือและเป็น<br />

กันเอง ซึ่งดีใจมากเพราะตนเองเป็นมุสลิม เป็น<br />

คนส่วนน้อย แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ให้เกียรติ<br />

และดูแลเป็นอย่างดี<br />

“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมโครงการฯ<br />

ประทับใจในโครงการนี้ 100% ส่วนหนึ่งของ<br />

ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาจะนำไปใช้ในการ<br />

แนะแนวให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนเรียนอย่างมี<br />

เป้าหมายและมีความสุข” อาจารย์บุญฤทธิ์ นาคนวล<br />

จากโรงเรียนชะอวดวิทยาคาร จ.นครศรีธรรมราช<br />

ขวัญใจประจำรุ่น กล่าว<br />

<br />

อาจารย์อรรจน์ สีหะอำไพ <br />

ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายในหัวข้อ<br />

“แนะอย่างไรได้ชื่อว่า แนะแนว”<br />

13


14<br />

Show off<br />

[กวิตา เรืองไทย] โชว์ ออฟ<br />

หนุ่มรักภาษาไทยสู่นักแข่งรถมืออาชีพ<br />

ชีวิตวัยรุ่นนักศึกษาเป็นช่วงของการค้นหาสิ่งที่ตนเองรัก ไหนจะมีทั้งเรื่องเรียน สอบ และกิจกรรม แต่<br />

หลายคนจะมีกิจกรรมหลังเลิกเรียนที่รักเป็นชีวิตจิตใจ จนกลายเป็นงานและเป็นอาชีพได้ เช่นเดียวกับ นาย<br />

ภาสกร แย้มเกตุหอม หรือ ต๋อง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นักแข่งรถมืออาชีพ หนุ่มผู้ชื่นชอบกีฬาความเร็ว<br />

สำหรับการเข้าสู่วงการแข่งรถ ต๋องเล่าว่า เพราะหนึ่งได้แรงบันดาลใจจากพ่อชอบรถ สองชอบแข่งรถและ<br />

แต่งรถ ครั้งแรกที่เข้าวงการแข่งรถ เริ่มตั้งแต่ลงแข่งรถ Go Kart เมื่อตอนอายุ 14 ปี ซึ่งพอโตมา พ่อเห็นว่าน่า<br />

จะแข่งรถได้ จึงพาเข้าในวงการแข่งรถตั้งแต่อยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4 <br />

“ตั้งแต่ ม.4 ที่พ่อผลักดันให้เข้าสู่วงการแข่งรถนั้น ผมก็ตั้งใจฝึกฝน ฝึกปรือฝีมือเรื่อยมา จนลงแข่งสนาม<br />

แรกของชีวิตคือ Toyota Vios One Make Race Class C เมื่อปี 2005 โดยแรกเริ่มลงแข่งในรุ่นมือสมัครเล่น ซึ่ง<br />

ก็สามารถคว้าแชมป์ประเทศไทยมาได้สำเร็จ ดีใจมากๆ หลังจากนั้นก็ลงแข่งรถทุกปี โดยในปี 2006 ได้คะแนน<br />

รวมลำดับที่ 3 ในรายการ Toyota Yaris One Make Race Class B ปีต่อมา 2007 ได้แชมป์ประเทศไทยอีก ใน<br />

รายการ Supercar รุ่น Super Radial Junior Class C โดยใช้รถยนต์ Honda Civic EK9 ลงแข่งในตอนนั้น หลัง<br />

จากนั้นในปี 2008 ก็ลงแข่งขันในรายการ Honda Civic One Make Race ได้คะแนนรวมลำดับที่ 3 ซึ่งเป็น<br />

รายการที่ได้เห็นนักแข่งฝีมือระดับแนวหน้าของประเทศ ประลองความเร็วกันด้วยฝีมือเพียวๆ และล่าสุดในปี<br />

2009 ผมลงแข่งในรายการ Honda Civic One Make Race 2009 Class B ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการแข่งขันสนาม<br />

สุดท้ายในวันที่ 19 ธันวาคม 2552 ที่ จ.เชียงใหม่”<br />

ต๋อง เล่าว่า การแข่งขันในรูปแบบ One Make Race เน้นที่รถแข่งทุกคันต้องมีการตกแต่งที่เหมือนกัน<br />

การโมดิฟายเครื่องยนต์ต้องเท่ากัน ตามกฎกติกาของผู้จัดเท่านั้น โดยวัดกันที่ฝีมือคนขับแบบล้วนๆ ซึ่งต๋องก้าว<br />

มาสู่รุ่น Class B ได้นั้นเขาจะต้องแข่งชนะคว้าแชมป์ในสนาม Class C<br />

มาแล้ว 2 ครั้ง ต๋องย้ำว่า การแข่งรถนั้นไม่ได้ต้องการแค่ทักษะและ<br />

เทคนิคส่วนตัวในการขับรถเท่านั้น แต่ต้องมีสมาธิ มีสติอยู่ตลอดเวลา<br />

และสิ่งสำคัญคือ การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การเตรียมร่างกาย ออก<br />

กำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งก่อนการแข่งขันทุกครั้ง นักแข่งรถ<br />

ทุกคนจะซ้อมขับรถ เพื่อลองสนามก่อน เหนือสิ่งอื่นใด “น้ำใจนักกีฬา”<br />

สำคัญที่สุด เพราะกีฬาต้องมีการให้อภัยกัน ส่วนอุบัติเหตุจะไม่หนัก<br />

เพราะนักแข่งทุกคนจะมีระบบและอุปกรณ์เซฟตี้ที่ดีได้มาตรฐาน<br />

ต๋องฝากถึงน้องๆ ที่ชอบแข่งรถตามถนนว่า อยากให้มาโชว์ฝีมือ<br />

และความสามารถในสนามแข่ง เพราะปลอดภัยและไม่ผิดกฎหมาย<br />

ในอนาคต เราอาจจะได้เห็นต๋องยืนบนแท่นรับรางวัลในการแข่งขัน<br />

ต่างประเทศก็เป็นได้ <br />

นายภาสกร แย้มเกตุหอม <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย<br />

คณะศิลปศาสตร์<br />

News ขอเชิญร่วมโครงการ “เรื่องดีๆ 4 ปีรังสิต”<br />

ข่าว<br />

ฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ขอเชิญคณะและหน่วยงานต่างๆ ที่มีความประสงค์ในการเข้าจัด<br />

กิจกรรมหรือโครงการร่วมกับฝ่ายพัฒนาสังคม อาทิ การเสวนาในหัวข้อต่างๆ หรือการชมภาพยนตร์เพื่อการเรียน<br />

การสอน เข้าร่วมโครงการเรื่องดีๆ 4 ปีรังสิต<br />

สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อปลูกฝังโลกทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างแรงจูงใจในการค้นหา<br />

คุณค่าของชีวิตแก่นักศึกษา ด้วยการสร้างและขยายประสบการณ์การอ่าน การดู และการฟัง ผ่านงานศิลปะและ<br />

วรรณกรรมอันหลากหลาย โดยทางมหาวิทยาลัยกำหนดประเภทและเนื้อหาของงานเป็นมาตรฐานขั้นต้น เพื่อให้<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการศึกษาและเสวนาด้วยรูปแบบและวิธีการอันสมควร<br />

ทั้งนี้ คณะและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาสังคม<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต โทร. 0-2997-2200-30 ต่อ 1686, 2556 หรือ อาจารย์สานิตย์ แสงขาม โทร. 08-6777-5576<br />

News<br />

ข่าว<br />

สาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์<br />

และชมรมเครื่องมือแพทย์ RSU เพื่อสังคม จัดกิจกรรมบริการวิชาการทาง<br />

ด้านเครื่องมือแพทย์ ให้แก่สถานีอนามัยบึงคำพร้อย จ.ปทุมธานี มุ่งเน้น<br />

การพัฒนามาตรฐานทางด้านอุปกรณ์ชีวการแพทย์และงานด้านวิศวกรรม<br />

โรงพยาบาล<br />

รศ.นันทชัย ทองแป้น หัวหน้าสาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์<br />

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า สาขาวิชา<br />

อุปกรณ์ชีวการแพทย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ และชมรมเครื่องมือ<br />

แพทย์ RSU เพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการ<br />

ทางด้านเครื่องมือแพทย์ “อุปกรณ์การแพทย์สัญจร” ให้แก่สถานีอนามัย<br />

ม.รังสิต จัด “อุปกรณ์การแพทย์สัญจร” <br />

ให้บริการวิชาการแก่สังคม<br />

เน้นพัฒนามาตรฐานด้านอุปกรณ์ชีวการแพทย์และวิศวกรรม รพ.<br />

บึงคำพร้อย จ.ปทุมธานี โดยมีการจัดเป็นประจำในทุกๆ ปี เพื่อให้<br />

ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเครื่องมือแพทย์และวิศวกรรมโรงพยาบาล<br />

ช่วยตรวจเช็ค บำรุงรักษา และทำการสอบเทียบอุปกรณ์การแพทย์<br />

งานวิศวกรรมโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังในการให้บริการ<br />

ความรู้ และพัฒนามาตรฐานทางด้านอุปกรณ์ชีวการแพทย์ และ<br />

งานทางด้านวิศวกรรมโรงพยาบาล ให้แก่สถานีอนามัยใน จ.ปทุมธานี<br />

เพื่อให้มีความพร้อมทางด้านเครื่องมือแพทย์สำหรับให้บริการกับ<br />

ประชาชนที่ด้อยโอกาสในชุมชน รวมทั้งเป็นการทดสอบการฝึกภาค<br />

ปฏิบัติของนักศึกษาสาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ชั้นปีที่ 3 ก่อนจะ<br />

เรียนวิชาฝึกงานอุปกรณ์ชีวการแพทย์ในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา<br />

2552 อีกทางหนึ่งด้วย <br />

“สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยนักศึกษาสาขาวิชา<br />

อุปกรณ์ชีวการแพทย์ สมาชิกชมรมอุปกรณ์การแพทย์ รวมทั้งหมด<br />

ประมาณ 30 คน ภายใต้การกำกับดูแลของคณาจารย์สาขาวิชา<br />

อุปกรณ์ชีวการแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว<br />

ได้รับการชื่นชมจากหัวหน้าสถานีอนามัย รวมทั้งบุคลากรของอนามัย<br />

เป็นอย่างมาก และต้องการให้มีโครงการในลักษณะดังกล่าวอย่าง<br />

ต่อเนื่องทุกๆ ปี เนื่องจากทำให้ระบบเครื่องมือทางการแพทย์รวมทั้ง<br />

งานวิศวกรรมโรงพยาบาลมีมาตรฐาน และมีความพร้อมในการใช้<br />

งานมากขึ้น รวมทั้งบุคลากรของโรงพยาบาลได้รับข้อมูลความรู้ใน<br />

ด้านการจัดการเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกต้อง<br />

มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการให้มาตรฐานการบริการทางด้านการดูแลรักษา<br />

สุขภาพของประชาชนสูงขึ้นตามมา ในส่วนของนักศึกษาสาขาวิชา<br />

อุปกรณ์ชีวการแพทย์ ก็จะได้รับประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วม<br />

โครงการฯ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเตรียมความพร้อมให้แก่<br />

นักศึกษาก่อนที่จะจบเป็นบัณฑิตทางด้านนี้ต่อไป” หัวหน้าสาขาวิชา<br />

อุปกรณ์ชีวการแพทย์ กล่าว<br />

การให้บริการวิชาการทางด้านเครื่องมือแพทย์ของนักศึกษา<br />

15


16<br />

News<br />

ข่าว<br />

นักศึกษาชาวจีนจากมหาวิทยาลัยครูกวางสี ในโครงการศึกษา<br />

ต่อเนื่อง 2+2 รุ่น 3 และ 1+3 รุ่น 1 โดยความร่วมมือทางวิชาการ<br />

ระหว่างสถาบันภาษาและเอเชียตะวันออกศึกษา<br />

คณะศิลปศาสตร์<br />

และคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

และมหาวิทยาลัยครูกวางสี เมืองกุ้ยหลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน<br />

หวังใช้ภาษาไทยเพื่อต่อยอดการทำงานในอนาคต<br />

นางสาวเทียมจันทร์ หรือ ทะเล นักศึกษาชาวจีนจาก<br />

มหาวิทยาลัยครูกวางสี กล่าวว่า ตนเป็นนักศึกษาโครงการศึกษาต่อเนื่อง<br />

2+2 รุ่นที่ 3 โดยเลือกเรียนสาขาวิชาภาษาไทย เพราะพ่อและแม่เห็น<br />

ความสำคัญของภาษาไทย จึงส่งตนมาเรียนที่มหาวิทยาลัยครูกวางสี<br />

นางสาวเทียมจันทร์ (ทะเล) <br />

นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย <br />

นศ. จีน ปลื้มเมืองไทย คณะศิลปศาสตร์<br />

หวังนำความรู้และภาษาไทยต่อยอดในอนาคต<br />

ตนคิดว่าภาษาไทยมีบทบาทมากในประเทศจีน<br />

เพราะคนไทยไปเที่ยวและทำธุรกิจที่ประเทศจีนเยอะ<br />

ดังนั้น ในอนาคตภาษาไทยจะต้องมีบทบาทสำคัญ<br />

เป็นอย่างมาก เมื่อตอนที่เรียนภาษาไทยที่จีน 2 ปีแรก<br />

นั้น มีอาจารย์รัชดา ลาภใหญ่ อาจารย์จากสาขาวิชา<br />

ภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไป<br />

สอนภาษาไทยพื้นฐานให้แก่พวกเรา ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับ<br />

ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับ<br />

ประเทศไทยมากมาย เช่น งานแนะนำวิชาภาษาไทย<br />

งานแสดงแบบเครื่องแต่งกายไทย งานวัน ลอยกระทง<br />

เป็นต้น และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก็ได้เดินทาง<br />

มาถึงประเทศไทย พร้อมกับเพื่อนๆ ชาวจีนอีกกว่า 60<br />

คน ซึ่งเป็นนักศึกษาในสาขาวิชาภาษาไทย 24 คน<br />

ส่วนตัวชอบการเรียนในห้อง เพราะสนุกสนานและ<br />

อาจารย์ผู้สอนใจดี ได้เรียนกับอาจารย์ประจำสาขา<br />

วิชาภาษาไทยทุกวิชาเลย ทำให้ได้ความรู้ ภาษาไทย<br />

ที่ถูกต้องและครบถ้วนจริงๆ นอกจากนี้ อาจารย์และ<br />

เพื่อนๆ ยังช่วยกันตั้งชื่อภาษาไทยให้ ส่วนชื่อเล่นเป็น<br />

ชื่อของตนเองในภาษาจีน<br />

“ตอนนี้อยากมีเพื่อนคนไทยจะได้ฝึกภาษาไทย<br />

และคิดว่าจะร่วมกิจกรรมของคณะฯ ให้มากจะได้รู้จัก<br />

เพื่อนคนไทยค่ะ สำหรับวันหยุดจะไปเที่ยว ซื้อของที่<br />

ห้างสรรพสินค้า จึงต้องใช้ภาษาไทยในการถามทาง<br />

ซื้อของ และสั่งอาหาร เป็นต้น ค่าครองชีพที่ประเทศ<br />

ไทยถูกกว่าที่จีนมาก เช่น อาหาร น้ำดื่ม จึงไม่รู้สึก<br />

ลำบากเลยที่ได้มาเรียนที่ประเทศไทย ส่วนอาหารไทย<br />

ที่ชอบมากคือ ข้าวผัดสับปะรดและข้าวมันไก่”<br />

นางสาวเทียมจันทร์ กล่าวต่อ<br />

นายกิตติพงษ์ หรือ นัท กล่าวว่า ได้เข้าร่วม<br />

โครงการศึกษาต่อเนื่อง 1+3 โดยเรียนในสาขาวิชา<br />

นายกิตติพงษ์ (นัท)<br />

นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยว<br />

คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ<br />

การท่องเที่ยว คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ<br />

การบริการ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่เปิดโครงการแบบ 1+3<br />

คือเรียนที่มหาวิทยาลัยครูกวางสี 1 ปีแล้วมาเรียนที่<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตต่ออีก 3 ปี แต่จะได้รับปริญญาบัตร<br />

ของมหาวิทยาลัยรังสิตเท่านั้น เหตุผลที่เลือกเรียนที่<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง<br />

รวมทั้งดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย<br />

รังสิต ด้วย ประกอบกับสนใจด้านการท่องเที่ยวใน<br />

ประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการ<br />

ท่องเที่ยวมาก และมีพี่ชายเรียนโครงการศึกษาต่อเนื่อง<br />

2+2 ในสาขาวิชานี้ที่มหาวิทยาลัยรังสิตเช่นกัน ซึ่ง<br />

กำลังจะเรียนจบในปีการศึกษา 2552 นี้ <br />

“ผมได้รับเลือกจากเพื่อนในห้องให้เป็นหัวหน้าชั้น<br />

จึงต้องช่วยงานอาจารย์ในการประสานงานระหว่าง<br />

อาจารย์และเพื่อนๆ คนอื่นในห้องเรียน เกี่ยวกับเรื่อง<br />

งานบ้าง หรือบางทีก็จะมีทริปไปทัศนศึกษาที่ต่าง<br />

จังหวัดด้วย สำหรับการเรียนก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก มี<br />

อาจารย์ช่วยให้คำแนะนำ ถ้าไม่เข้าใจคำศัพท์ หรือ<br />

พูดผิด อาจารย์ก็จะคอยแก้ไขให้ แต่ผมก็จะเปิด<br />

พจนานุกรมไทยตรวจความถูกต้องด้วย ปัจจุบันพัก<br />

อยู่ที่หอพักในมหาวิทยาลัย ซึ่งปลอดภัยและสะดวก<br />

สบาย เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ส่วน<br />

ตัวชอบเมืองไทยมาก รู้สึกว่าคนไทยใจดี เช่น เวลา<br />

หลงทาง ผมก็จะได้รับความช่วยเหลือเต็มที่ ใน<br />

อนาคตแน่นอนว่าอยากอยู่ที่เมืองไทยต่อไป เพราะ<br />

อยากทำธุรกิจที่นี่ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะทำด้านไหนดี<br />

ตอนนี้ก็เรียนให้ดีที่สุดก่อนครับ” นายกิตติพงษ์ กล่าว<br />

ทิ้งท้าย<br />

Health tip<br />

[อ.ภก.ธเนศ เฟื่องฟู] เกร็ดสุขภาพ<br />

ตาแดงจากการติดเชื้อ<br />

สวัสดีก่อนสิ้นปีครับ และ<br />

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุก<br />

ท่านที่เข้าพิธีรับปริญญาในปีนี้<br />

ช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนที่<br />

ผ่านมา ผมทำงานในโรงพยาบาล<br />

และได้สังเกตว่ามีผู้ป่วยตาแดงมา<br />

พบแพทย์มากขึ้น แสดงว่าเป็นการ<br />

เข้าสู่ฤดูกาลของตาแดงแล้ว ก็เลย<br />

เกิดความเป็นห่วงทุกท่าน จึงขอ<br />

นำเรื่องตาแดงมาเล่าสู่กันฟัง คือ<br />

“ตาแดงจากการติดเชื้อ”<br />

Verbal language<br />

[อ.วรวรรณ เฟื่องขจรศักดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์] <br />

เรามารู้จักคำศัพท์เทศกาลปีใหม่<br />

เป็นภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ<br />

Shin nen akemashite Omedeto<br />

gozaimasu! “สวัสดีปีใหม่”<br />

หรือ พูดให้สั้นอีกนิดว่า Akemashite<br />

Omedeto! ซึ่งก็มีความหมายอย่างเดียวกัน โดย<br />

ทั้ง 2 คำนี้มักจะพูดหลังจากที่เข้าปีใหม่ หรือ เริ่ม<br />

วันที่ 1 มกราคม แล้วค่ะ<br />

ในกรณีถ้าเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ที่ต้อง<br />

ติดต่อไปมาหาสู่กัน ก็อาจจะต่อท้ายด้วยคำว่า<br />

Kotoshi mo yoroshiku onegai shimasu ซึ่ง<br />

หมายความว่า ปีนี้ (kotoshi) ก็ (mo) ขอความ<br />

กรุณาด้วยนะคะ/ ครับ (yoroshiku onegai<br />

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต<br />

“ตาแดง” เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งระคายเคืองจากฝุ่น ลม หรือการแพ้ แต่ที่สำคัญคือ เกิด<br />

จากการติดเชื้อ ซึ่งมี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ เชื้อแบคทีเรียและไวรัส<br />

ตาแดงทั้งจากแบคทีเรียและไวรัสเหมือนกันตรงที่ ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง มักเริ่มจากข้างเดียว<br />

แล้วลามไปอีกข้างหนึ่งได้ มีอาการคันหรือเคืองตามาก มีน้ำตามาก อาจมีอาการปวดตาด้วย<br />

ความแตกต่างอยู่ที่ หากติดเชื้อแบคทีเรีย จะมีขี้ตาเยอะมาก โดยขี้ตาจะมีสีเหลืองเขียว หรือ<br />

เขียว ตื่นนอนมาอาจลืมตาแทบไม่ขึ้นเลย ส่วนเชื้อไวรัสขี้ตามักจะน้อยกว่า แต่ก็ถือว่ามากกว่าปกติ<br />

และขี้ตามักจะสีปกติ หรือเหนียว<br />

ทำอย่างไรเมื่อตาแดงจากการติดเชื้อ<br />

• รับประทานยาพาราเซตามอล หากมีอาการปวด<br />

• ไม่ควรใช้ยาหยอดตาที่ผสมยาสเตอรอยด์ เพราะจะทำให้โรคลุกลามมากขึ้น<br />

• ยาหยอดตาที่ใช้ได้คือ ยาปฏิชีวนะ และยาหยอดลดอาการระคายเคืองตา<br />

• ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น เพราะทำให้ติดต่อได้<br />

• พยายามอย่าขยี้ตา หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น ลม แดด ควรใส่แว่นตาป้องกัน<br />

• หากมีอาการมากกว่าที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจให้ละเอียด<br />

• หากมีการใช้ยารักษาแล้ว ควรรอผลการรักษาประมาณ 3-5 วัน อาการจะดีขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้น<br />

ควรกลับไปพบแพทย์ท่านเดิม อย่าเปลี่ยนแพทย์โดยไม่จำเป็น<br />

• ยาหยอดตาที่ใช้ ไม่ควรให้ผู้อื่นใช้ร่วมด้วย และหลังจากเปิดใช้แล้ว ยาจะมีอายุแค่ 1 เดือน<br />

หวังว่าทุกท่านจะได้ความรู้และประโยชน์กันพอสมควรนะครับ “ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ”<br />

ดูแลรักษาไว้ ให้ดีนะครับ... ขอให้ทุกท่านสุขภาพดี สวัสดีครับ<br />

shimasu) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันหรือมีความสนิทสนมกัน ก็อาจพูดสั้นๆ<br />

คุยเฟื่องเรื่องภาษา ว่า Kotoshi mo yoroshiku ne ก็ได้ ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน แต่<br />

เป็นการใช้ภาษาที่มีระดับความสุภาพลดลง<br />

ในช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีคำที่เรียกวันต่างๆ แบ่งอย่างชัดเจน<br />

เช่น วันสุดท้ายของปี 31 ธันวาคม จะเรียกวันนี้ว่า “โอมิโซะกะ”<br />

Omisoka( 大 晦 日 )หมายถึงวันสิ้นปี ถัดมาวันแรกของปี หรือวันที่<br />

1 มกราคม จะเรียกวันนี้ว่า “กังตัน” Gantan( 元 旦 )ขณะที่ช่วงป<br />

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต<br />

ีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1-7 มกราคม จะเรียกโดยรวมว่า “โอะโชงะสึ” (O-<br />

Shougatsu) (お 正 月 )<br />

นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นมีธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงปีใหม่ที่น่าสนใจ<br />

และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ในวันสิ้นปี หรือ Omisoka( 大<br />

晦 日 ) ช<br />

าวญี่ปุ่นมักจะรับประทาน “โซบะ” กัน เพราะมีความเชื่อว่าจะได้มีชีวิต<br />

ที่ยืนยาวเหมือนเส้นโซบะ นอกจากนี้ บริเวณหน้าบ้านก็จะประดับด้วย<br />

“คะโดะมัตสึ”<br />

(Kadomatsu<br />

門 松 )<br />

ซึ่งจะวางไว้เป็น คู่ ทำมาจากไม้ไผ่และสน โดยจะประดับไว้ตั้งแต่ช่วง<br />

หลังคริสต์มาสจนถึงวันที่ 7 มกราคม เพื่อต้อนรับดวงวิญญาณบรรพ<br />

บุรุษ ที่เชื่อว่าจะกลับมาเยี่ยมเยียนลูกหลานในช่วงนี้ และสิ่งที่ขาดไม่ได้<br />

เลยคือ การไปไหว้ศาลเจ้าหรือวัดเป็นครั้งแรกของปี โดยจะเรียกว่า<br />

“Hatsumode” ( 初 詣 ) โดยในแต่ละปีมีจำนวนชาวญี่ปุ่นที<br />

่เดินทางไปสักการะศาลเจ้า ในช่วงปีใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็คล้ายกับ<br />

17


18<br />

Good old day<br />

[กวิตา เรืองไทย]<br />

กรรมการตัดสินเชียร์ลีดดิ้งที่ประเทศรัสเซีย<br />

บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน<br />

ศิษย์เก่าคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ<br />

การบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ช่วยเลขาธิการ<br />

สหพันธ์เชียร์ลีดดิ้งประจำประเทศไทย ฝ่ายต่างประเทศ<br />

ได้รับการเชิญจากสหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ<br />

เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินในการแข่งขัน “The 5 th<br />

Cheerleading World Championships 2009” ที่จะจัด<br />

ขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2552 ณ เมืองเบร<br />

เมน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี <br />

นายระภีพงษ์ อุปมา กล่าวว่า ตนเริ่มต้นจาก<br />

การเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมแข่งขันเชียร์ลีดเดอร์<br />

ยูลีก จากนั้นก็เข้าร่วมทีมเชียร์ลีดดิ้งรุ่นแรกของ<br />

มหาวิทยาลัย ลงเล่นเองจนจบมหาวิทยาลัยกระทั่งมา<br />

เป็นผู้ช่วยฝึกสอน และได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมกับ<br />

สหพันธ์กีฬาเชียร์ ลีดดิ้งนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อ<br />

พัฒนาองค์ความรู้และอบรมทฤษฎีให้เป็นขั้นตอน ซึ่ง<br />

การเข้าร่วมการอบรมนั้น ผู้ที่เข้าร่วมได้จะต้องเป็น<br />

สมาชิกของสหพันธ์ฯ ก่อน ดังนั้น จึงจัดตั้งสหพันธ์กีฬา<br />

เชียร์ลีดดิ้งประจำประเทศไทยขึ้น โดยในปีแรกสหพันธ์<br />

กีฬาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ ได้เชิญตัวแทนของสหพันธ์<br />

กีฬาเชียร์ลีดดิ้งประจำประเทศไทยเข้าร่วมการอบรม 3<br />

คน เราจึงถือโอกาสนี้เข้าร่วมทดสอบ ซึ่งหลังจากผ่าน<br />

การเข้าร่วมทดสอบแล้ว 1 ปี จึงจะสามารถเข้าร่วมการ<br />

ทดสอบขั้นต่อไปได้ เหตุผลที่ต้องเว้นระยะห่างของการ<br />

เข้าทดสอบนั้น เนื่องจากทางสหพันธ์ฯ ต้องการให้นำ<br />

ความรู้ที่ได้รับมานั้นไปใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ และ<br />

เข้าใจในสิ่งที่ได้รับจากการอบรมอย่างแม่นยำเสียก่อน<br />

“สำหรับการอบรมในครั้งที่ 2 นั้น สามารถ<br />

ผ่านการคัดเลือก และต้องกลับมาทำทีมเชียร์ลีดดิ้งอีก 1<br />

ปี ซึ่งเลือกฝึกสอนให้แก่ทีมเชียร์ลีดดิ้งหญิงล้วนของ<br />

ประเทศมาเลเซีย เมื่อครบ 1 ปี อีกครั้งจึงได้รับเชิญจาก<br />

กรรมการตัดสินเชียร์ลีดดิ้งที่ประเทศญี่ปุ่น<br />

หนึ่งเดียวคนไทย<br />

กรรมการตัดสินกีฬาเชียร์ลีดดิ้งในเวทีโลก<br />

สหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติให้เข้าร่วมการอบรม Cheerleading<br />

Judge’s Seminar ที่ประเทศรัสเซีย ครั้งนั้นผ่านการทดสอบในส่วน<br />

ของภาคปฏิบัติและได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการผู้ตัดสินเบื้องต้น<br />

(Prejudge) ซึ่งสามารถตัดสินในส่วนของนานาชาติได้แต่ยังไม่ผ่านการ<br />

รับรองและได้รับใบประกาศเพราะยังไม่ผ่านการทดสอบทุกขั้นตอน<br />

เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าทดสอบการตัดสินอีกครั้ง จนผ่าน<br />

การทดสอบภาคทฤษฎีในที่สุด” นายระภีพงษ์ กล่าว<br />

“สำหรับหัวใจในการตัดสินเชียร์ลีดดิ้งนั้น เหนือสิ่งอื่นใด<br />

กรรมการตัดสินจะต้องมีความแม่นยำและชัดเจนเนื่องจากกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง<br />

เป็นกีฬาที่ต้องตัดสิน ผู้เข้าแข่งขันพร้อมกันทั้งทีมในครั้งเดียว ดังนั้น<br />

ความแม่นยำและความเป็นระบบในการให้คะแนนจึงจำเป็นอย่างมาก<br />

ซึ่งการเป็นกรรมการฯ ที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีความยุติธรรม มีความรอบรู้<br />

และความแม่นยำ เพราะไม่เพียงการจดจำเกณฑ์อย่างแม่นยำเท่านั้น<br />

แต่ผู้ที่เป็นกรรมการฯ ยังต้องหมั่นเรียนรู้ หมั่นคิด เพราะเทคนิคที่ใช้ใน<br />

กีฬาชนิดนี้จะมีสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา” <br />

นายระภีพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ล่าสุดตนในฐานะผู้ช่วย<br />

เลขาธิการสหพันธ์เชียร์ลีดดิ้งประจำประเทศไทย ฝ่ายต่างประเทศได้รับ<br />

การเชิญจากสหพันธ์เชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ หรือ International<br />

Federation of Cheerleading (IFC) เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินใน<br />

การแข่งขัน “The 5 th Cheerleading World Championships 2009”<br />

ณ เมืองเบรเมน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28-29<br />

พฤศจิกายน 2552 นอกจากนี้ สหพันธ์เชียร์ลีดดิ้งจะส่งทีมนักกีฬา<br />

เชียร์ลีดดิ้งทีมชาติไทยตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันใน<br />

ประเภทเชียร์ลีดดิ้งทีมผสมและประเภทต่อตัวกลุ่มทีมผสมด้วย ซึ่ง<br />

ตลอดระยะเวลา 12 ปี ในการคลุกคลีกับกีฬาเชียร์ลีดดิ้งนั้น ได้สร้าง<br />

ประสบการณ์และเรียนรู้ด้วยตนเองค่อนข้างมาก จึงถือเป็นความสำเร็จ<br />

ที่รู้สึกภูมิใจมาก <br />

On campus<br />

[กนกกร ชูแก้ว] ล้อมรั้วกิจกรรม<br />

รัฐวุฒิ นิวรณุสิต<br />

กิจกรรมกีฬาเป็นกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีและปลูกฝังน้ำใจนักกีฬา<br />

แม้ในระดับอุดมศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการแข่งขันกีฬา ซึ่งจัดหลายประเภท<br />

หลายระดับอย่างต่อเนื่องตลอดปี และกีฬานัดสำคัญที่ทุกสถาบันอุดมศึกษาจากทุก<br />

สังกัดกว่า 120 สถาบันให้ความสำคัญเข้าร่วมแข่งขัน คือ กีฬามหาวิทยาลัยแห่ง<br />

ประเทศไทย ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 37 โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ และ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ด้วย<br />

อาจารย์จันทบุรี หิมเวช ผู้อำนวยการศูนย์กีฬาและสุขภาพ เปิดเผยว่า<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย<br />

ครั้งนี้ กว่า 200 คน ใน 13 ประเภท เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล<br />

นักกีฬารังสิตประกาศพร้อมเต็มร้อย...ขอแรงเชียร์ <br />

แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย<br />

เทนนิส เปตอง เทเบิลเทนนิส ว่ายน้ำ เทควันโด<br />

กรีฑา กอล์ฟ ตะกร้อ ยูโด และแบดมินตัน<br />

ซึ่งจัดแข่งขันรอบคัดเลือกระหว่างวันที่ 1-7<br />

พฤศจิกายน 2552 ณ มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในการแข่งขันปีที่แล้ว<br />

ได้ 1 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 7 เหรียญ<br />

ทองแดง นับเป็นลำดับที่ 28 จาก 117 สถาบัน<br />

ทั้งนี้ ตั้งเป้าในปีนี้ให้ได้เหรียญรางวัลมากกว่าปี<br />

ที่แล้ว ส่วนประเภททีมหวังเข้ารอบลึกๆ อย่าง<br />

น้อย 8 ทีมสุดท้าย <br />

“ขณะนี้นักกีฬาทุกทีมทุกประเภท<br />

ทุ่มเทและขยันฝึกซ้อม เห็นได้จากผลการแข่งขัน<br />

รอบคัดเลือกเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาทำได้ใน<br />

ระดับดีมากเป็นที่หนึ่งของสายในหลายประเภท<br />

ทั้งนี้ ขอกำลังใจจากผู้บริหาร บุคลากร และ<br />

นักศึกษาร่วมเชียร์นักกีฬาถึงสนามซึ่งอยู่ใกล้<br />

มหาวิทยาลัยของเรา” ผอ.ศูนย์กีฬาฯ กล่าว<br />

นายรัฐวุฒิ นิวรณุสิต นักกีฬา<br />

ฟุตบอล เปิดใจว่า ในทีมฟุตบอลทั้ง 50 คนได้<br />

ร่วมฝึกซ้อมทุกวันไม่หยุดและเข้าร่วมแข่งขัน<br />

หลายประเภทตลอดปี ทั้งดิวิชั่น ยูลีก ฟุตบอล<br />

อุดมศึกษา และล่าสุดผ่านรอบคัดเลือกในเขต<br />

ภาคกลางตะวันออกเป็นที่ 1 ในสาย พวกเรา<br />

ภูมิใจมาก นับเป็นการประสบความสำเร็จที่<br />

ชนะสถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา 3 ประตู<br />

ต่อ 1 ซึ่งมีนักกีฬาทีมชาติเกือบทั้งทีมและถือว่า<br />

เป็นทีมที่แข็งที่สุด <br />

ทีมวอลเลย์บอล<br />

น้ำผึ้ง คำอาจ<br />

“การแข่งขันครั้งนี้พวกเราจะทำให้ดี<br />

ที่สุด ตั้งเป้าไว้ว่าต้องผ่านรอบสองขึ้นไป ซึ่งเรา<br />

ไม่ได้เข้ารอบมานาน 6 ปีแล้ว ครั้งนี้ทีมมีกำลังใจ<br />

ฮึกเหิม พวกเราสามัคคีและช่วยกันเล่น ขยันฝึก<br />

ซ้อมทุกวันส่งผลให้ฟิตและมั่นใจมากขึ้น อีกทั้ง<br />

โค้ชดูแลฝึกซ้อมด้วยดีทั้ง 3 คน คือ อาจารย์<br />

ไพรัช หิมเวช ผศ.นันทชัย ทองแป้น นายวิโรจน์<br />

เพชรดอน และฝากเพื่อนๆ ติดตามผลงานและ<br />

มาเชียร์พวกเราซึ่งจะทำให้มีกำลังใจยิ่งขึ้น” นาย<br />

รัฐวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย<br />

ด้านทีมเปตอง นายอดุลย์เดช<br />

วงศ์ปัดสา กล่าวว่า จากการแข่งรอบคัดเลือก<br />

ต้องฝ่าฟันกว่า 20 สถาบัน ซึ่งสามารถชนะเป็น<br />

ที่หนึ่งของสายภาคกลางตะวันออก ทั้งนี้ พวกเรา<br />

ต้องขยันฝึกซ้อมทุกวันจันทร์-ศุกร์ และเข้าแข่งขัน<br />

หลายสนามเพื่อพัฒนาฝีมือ และหวังว่าในการ<br />

แข่งขันครั้งนี้จะได้เข้ารอบลึกๆ ซึ่งจะทำให้ดี<br />

ที่สุดและไม่ประมาท ทั้งนี้อยากให้เพื่อนๆ ไป<br />

เชียร์นักกีฬาถึงขอบสนามทุกประเภท เพราะ<br />

กำลังใจจากการเชียร์ของเพื่อนๆ ทำให้เรามี<br />

แรงฮึดสู้<br />

นางสาวน้ำผึ้ง คำอาจ หัวหน้าทีม<br />

วอลเลย์บอล เปิดใจว่า ตอนนี้ทีมมีความพร้อม<br />

เต็มที่ ฝึกซ้อมตลอดให้ฟิตมากที่สุด จากรอบ<br />

คัดเลือกที่ผ่านมาทีมชนะทุกแมตซ์ และในการ<br />

แข่งขันครั้งนี้จะทำให้ดีที่สุดและหวังเข้ารอบ 4<br />

ทีมสุดท้าย ซึ่งปีที่แล้วก็เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย<br />

นางสาวชญาพร อุดมศิลป์ หัวหน้า<br />

ทีมบาสเกตบอล กล่าวว่า ทีมบาสเกตบอลหญิง<br />

ได้ผ่านรอบคัดเลือกเป็นที่ 2 ของสาย ซึ่งยังไม่<br />

เป็นที่พอใจ ดังนั้น ต้องฝึกซ้อมทุกวันให้พร้อม<br />

แข่งขันในรอบมหกรรม ซึ่งตั้งความหวังเข้ารอบ<br />

8 ทีมสุดท้าย ในส่วนของทีมชายเมื่อปีที่แล้ว<br />

ได้ที่ 4 และปีนี้หวังว่าผลงานจะดีขึ้น ในการ<br />

แข่งขันของนักกีฬากำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้า<br />

ทีมบาสเกตบอล<br />

ทีมเปตอง<br />

ทีมฟุตบอล<br />

เป็นไปได้อยากให้เพื่อนๆ ไปเชียร์นักกีฬา<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตของเรา<br />

มหกรรมกีฬาฯ ครั้งนี้ นับเป็นบท<br />

พิสูจน์ครั้งสำคัญของสปิริตนักกีฬาและความ<br />

สามัคคีรวมกำลังใจเชียร์นักกีฬาของเรา อันดับ<br />

ที่ได้หรือเหรียญรางวัล คำว่าชัยชนะไม่ใช่สิ่ง<br />

สำคัญ แต่พัฒนาการไต่ระดับชั้นที่ดีขึ้นและ<br />

ความภาคภูมิใจตลอดจนแรงใจแรงเชียร์จาก<br />

เพื่อนๆ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยถือเป็นสิ่ง<br />

สำคัญ แล้วคุณล่ะ... พร้อมไปเชียร์นักกีฬาของ<br />

เราแล้วหรือยัง!<br />

19

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!