14.07.2014 Views

หนังสือพย..

หนังสือพย..

หนังสือพย..

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

บรรณาธิการ<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร, บรรณาธิการ<br />

พบ. วว.(พยาธิวิทยากายวิภาค) PhD<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ISBN 978-616-321-764-6<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2556<br />

1,000 เล่ม<br />

จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ห้ามจ าหน่าย<br />

ข้อมูลทางบรรณานุกรม<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร, บรรณาธิการ<br />

พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ / สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร,<br />

กรกนก สุขพันธ์, นีลยา สุค าวัง … [และคนอื่นๆ]. - - เชียงใหม่ :<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556<br />

250 หน้า : ภาพประกอบ<br />

ISBN 978-616-321-764-6<br />

[DNLM 1. Heart Diseases – pathology WG 210]<br />

I. กรกนก สุขพันธ์, ผู้แต่งร่วม II. นีลยา สุค าวัง, ผู้แต่งร่วม<br />

III. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาพยาธิวิทยา<br />

เจ้าของ: ผู้นิพนธ์<br />

ออกแบบปก: สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร<br />

พิมพ์ที่: โรงพิมพ์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ค าน า<br />

หนังสือเล่มนี้จัดท าขึ ้นส าหรับนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิก และนักศึกษาสาขา<br />

วิทยาศาสตร์การแพทย์ จุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจพยาธิก าเนิดของโรคหัวใจ<br />

ซึ่งแยกไว้ในแต่ละบท โดยเนื้อหาจะเริ่มจากความรู้พื้นฐานและความส าคัญของโรค โดย<br />

จะรวมถึงอาการ อาการแสดงส าคัญทางคลินิก การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างซึ่งจะ<br />

เน้นในแง่ของพยาธิสภาพที่พบเพื่อน าไปสู่การวินิจฉัยโรคทั้งในระดับมหกายวิภาค จุล<br />

กายวิภาค ลงไปถึงกลไกหรือการเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลในบางโรค เพื่อให้เกิดความ<br />

เข้าใจแบบองค์รวม และสามารถน าไปประยุกต์ใช้หากนักศึกษาได้เรียนต่อยอดหรือ<br />

ท างานวิจัยในสาขานี้<br />

หนังสือเล่มนี้ส าเร็จได้ด้วยความร่วมมือของผู้นิพนธ์ทุกท่าน รวมทั้งก าลังใจและ<br />

การสนับสนุนจากคณาจารย์ในภาควิชาพยาธิวิทยา คณะผู้นิพนธ์ขอขอบคุณคณะ<br />

แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้การอนุเคราะห์ในการจัดพิมพ์ รวมทั้งคุณสุรีย์<br />

ศิริสุภา, เจ้าหน้าที่ห้องสมุด และเจ้าหน้าที่หน่วยวารสารวิชาการคณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ให้ค าแนะน าและช่วยเหลือในด าเนินการเรื่องข้อมูลทาง<br />

บรรณานุกรมและการจัดพิมพ์<br />

ขอขอบคุณทุนส่งเสริมบัณฑิต แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ “อานันทมหิดล”<br />

และทุนพัฒนาศักยภาพในการท างานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ส านักงานกองทุน<br />

สนับสนุนการวิจัย เป็นอย่างสูงที่ให้โอกาส และมีส่วนงในการสร้างแรงผลักดัน และ<br />

ก าลังใจในการท างานของทีมอาจารย์รุ่นใหม่ๆ<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร<br />

2 เมษายน 2556<br />

i


ผู้นิพนธ์<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร<br />

กรกนก สุขพันธ์<br />

นีลยา สุค าวัง<br />

ศราวุธ คงการค้า<br />

คมสันต์ วรรณไสย<br />

พบ. วว.(พยาธิวิทยากายวิภาค)<br />

PhD (Monash University, Australia)<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พบ. วว.(พยาธิวิทยากายวิภาค)<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พบ. วว.(พยาธิวิทยากายวิภาค)<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พบ. วว.(พยาธิวิทยากายวิภาค)<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พบ. วว.(พยาธิวิทยากายวิภาค)<br />

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

ii


TABLE OF CONTENTS<br />

THE DEVELOPMENT OF THE CARDIOVASCULAR SYSTEM .............................. 1<br />

กรกนก สุขพันธ์<br />

CONGENITAL HEART DISEASES ......................................................... 33<br />

กรกนก สุขพันธ์<br />

CARDIOMYOPATHIES .................................................................... 82<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร<br />

MYOCARDITIS .......................................................................... 116<br />

ศราวุธ คงการค้า<br />

MYOCARDIAL INFARCTION ............................................................ 123<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร<br />

VALVULAR HEART DISEASES .......................................................... 161<br />

คมสันต์ วรรณไสย<br />

HEART FAILURE......................................................................... 193<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร<br />

PERICARDIAL DISEASES ................................................................223<br />

นีลยา สุค าวัง<br />

TUMOR OF THE HEART AND PERICARDIUM ..........................................242<br />

ศราวุธ คงการค้า<br />

iii


The development of the cardiovascular system<br />

The development of the cardiovascular system<br />

การเจริญเติบโตของระบบหัวใจและหลอดเลือด<br />

กรกนก สุขพันธ์, MD FRCPath<br />

I. การเจริญเติบโตของหัวใจและหลอดเลือดระยะเริ ่มแรก (3 สัปดาห์แรก): การ<br />

สร้าง heart tube<br />

ระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นอวัยวะระบบแรกของตัวอ่อนที่ท างาน โดยเริ่ม<br />

พัฒนาตั้งแต่ตัวอ่อนอายุ 3 สัปดาห์ เนื่องจากตัวอ่อนต้องการล าเลียงเลือดที่มี<br />

ออกซิเจนและสารอาหารจากแม่เพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งไม่เพียงพอด้วยกลไกการแพร่<br />

เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังเพื่อเป็นเส้นทางในการก าจัดของเสียและ<br />

คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ ้นออกจากตัวอ่อน<br />

ช่วงต้นของสัปดาห์ที่ 3 มีการก่อก าเนิดของกลุ่มเซลล์ต้นก าเนิดของเส้นเลือด<br />

(angioblastic blood islands) จาก splanchnic mesoderm พบที่เนื้อเยื่อโดยรอบ yolk sac,<br />

chorion และ body stalk โดยเซลล์ชั้นในของ blood islands จะเจริญเป็นเซลล์ต้นก าเนิด<br />

เม็ดเลือด (hematopoietic cells) และเซลล์ชั้นนอกจะเจริญเป็นเซลล์บุหลอดเลือด<br />

(endothelium)<br />

ช่วงกลางของสัปดาห์ที่ 3 angioblastic blood islands ส่วนที่เป็น cardiogenic<br />

area ซึ่งอยู่รวมกันเป็นรูปเกือกม้า (horseshoe shape) ล้อมรอบส่วนหัวของตัวอ่อน<br />

เจริญเป็นกลุ่มของหลอดเลือดและรวมตัวกันเป็น endocardial heart tubes (รูปที่ 1.1)<br />

โดยเริ่มแรกเกิดเป็น double endocardial heart tubes ทอดขนานกันแล้วเคลื่อนลงมา<br />

เชื่อมกันตรงกลางด้านหน้า (ventral) จากการโค้งตัวด้านข้างของตัวอ่อนท าให้เกิดเป็น<br />

single endocardial heart tube ซึ่งต่อเชื่อมกับระบบเลือดไหลเวียนตัวอ่อนภายในวันที่<br />

20 (รูปที่ 1.2) และจะสามารถตรวจพบการเต้นของหัวใจได้จากการตรวจอัตราซาวด์<br />

ภายในสัปดาห์ที่ 5 (รูปที่ 1.3)<br />

1


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.1 การเจริญระยะเริ่มแรกของหัวใจและหลอดเลือด A: เป็นรูปวาดด้านหลัง (dorsal<br />

view) ของตัวอ่อนอายุประมาณ 18 วัน แสดงแนวการเกิดของ angioblastic blood islands ซึ่งอยู่<br />

รวมกันเป็นรูปเกือกม้าล้อมรอบส่วนหัวของตัวอ่อน, B: เป็นรูปวาดแนวตัดขวางแสดงต าแหน่งของ<br />

blood islands ใน splanchnic mesoderm, C: เป็นรูปวาดแนวตัดตามยาว แสดงต าแหน่งของ<br />

cardiogenic field และ pericardial cavity, D: รูปจาก scanning electron microscope แสดง<br />

ต าแหน่งของ blood islands (ลูกศร) ซึ่งอยู่หน้ากว่า cranial neural folds (ดอกจัน) [Source: Sadler<br />

TW, Langman J. Cardivascular system. In: Thomas W, Sadler JL, editors. Langman's medical<br />

embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott Williums & Wilkins; 2008. p. 233-73.](1)<br />

2


The development of the cardiovascular system<br />

รูปที่ 1.2 รูปวาดของตัวอ่อนระยะต่าง ๆ เพื่อแสดงการรวมตัวกันของ endocardial heart<br />

tubes A: dorsal view ของตัวอ่อนอายุ 20 วัน, B: รูปตัดขวางผ่าน cardiogenic area, C: รูป<br />

ตัดขวางของตัวอ่อนอายุเพิ่มขึ้น, D: รูปตัดขวางตัวอ่อนอายุ 22 วัน, E & F: รูปหัวใจของตัวอ่อน<br />

อายุ 28 วัน เริ่มมีการหนาตัวและแยกชั้นของหัวใจ [Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia<br />

MG. The cardiovascular system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors. The developing human:<br />

clinically oriented embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

3


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.3 ภาพจากอัตราซาวน์ตัวอ่อนอายุ 5 สัปดาห์ ยาว (crown-rump length) 7.3 มิลลิเมตร<br />

ซึ่งสามารถตรวจพบการเต้นของหัวใจโดยการใช้ Doppler [Source: Moore KL, Persaud TVN,<br />

Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors. The developing<br />

human: clinically oriented embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

4


The development of the cardiovascular system<br />

รูปที่ 1.4 แสดงการเปลี่ยนแปลงต าแหน่งของหัวใจ เนื ่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว<br />

ของสมอง A: ตัวอ่อนอายุ 18 วัน, B: 20 วัน, C: 21 วัน, D: 22 วัน [Source: Sadler TW, Langman<br />

J. cardivascular system. In: Thomas W Sadler JL, editor. Langman's medical embryology. 8 ed.<br />

Michigan: Lippincott Williums & Wilkins; 2008. p. 233-73.](1)<br />

ในระยะเริ่มแรกนี้ต าแหน่งของหัวใจจะเปลี่ยนแปลง กล่าวคือเริ่มแรกส่วนกลาง<br />

ของ cardiogenic area จะอยู่หน้ากว่า buccopharyngeal membrane และ neural plate<br />

แต่เมื่อ neural tube ปิดลงและมีการเจริญของสมองซึ่งรวดเร็วมากจนเกิดการม้วนของ<br />

ส่วนหัวตัวอ่อน (cephalic folding) เป็นเหตุให้ buccopharyngeal membrane และ<br />

endocardial heart tube ถูกดึงไปอยู่ส่วนท้ายกว่า ซึ่งจะเจริญเป็นต าแหน่งทรวงอก (รูปที่<br />

1.4)<br />

Endocardial heart tube จะมีการเจริญหนาตัวขึ ้น เซลล์ชั้นในสุดเจริญเป็น<br />

endocardium ชั้นถัดออกมา (mesoderm) เจริญเป็น myocardium และ mesothelial cells<br />

จากบริเวณผิวนอกของ sinus venosus จะเจริญเข้าไปคลุมส่วนนอกสุดของหัวใจเป็นชั้น<br />

epicardium<br />

5


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Heart tube ที่เจริญเพิ่มขึ ้นใน pericardial cavity ถูกยึดติดกับด้านหลังโดย dorsal<br />

mesocardium (ไม่มี ventral mesocardium) และจะสลายไปเมื่อหัวใจเจริญขึ ้นเกิดเป็น<br />

transverse pericardial sinus (รูปที่ 1.5)<br />

รูปที่ 1.5 รูปวาดแสดงส่วนหัวขอ งตัวอ่อน ที่มี endocardial heart tube และ dorsal<br />

mesocardium (เริ่มสลาย) Source: Sadler TW, Langman J. Cardivascular system. In: Thomas<br />

W, Sadler JL, editors. Langman's medical embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott Williums &<br />

Wilkins; 2008. p. 233-73.(1)<br />

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า หัวใจในระยะเริ่มแรกนี้จะต่อเชื่อมกับระบบหลอดเลือดของ<br />

ตัวอ่อนประกอบด้วย 2 embryonic circuits และ 2 extraembryonic circuits (รูป 1.6 และ<br />

1.7)<br />

1. Embryonic circuit คือระบบเลือดภายในของตัวอ่อน<br />

1.1. Dorsal aorta มี 2 เส้น ขนานด้านข้างของ neural tube เชื่อมต่อจาก heart<br />

tube และแยกออกเป็น capillary network เพื่อน าออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยง<br />

เนื้อเยื่อของตัวอ่อน<br />

1.2. Cardinal veins ประกอบด้วย anterior cardinal veins 2 เส้น รับเลือดจาก<br />

ส่วนหัวของตัวอ่อนและ posterior cardinal veins 2 เส้นรับเลือดจากส่วนท้ายของตัวอ่อน<br />

6


The development of the cardiovascular system<br />

มาเชื่อมกันเป็น common cardinal vein ก่อนที่จะเชื่อมต่อเข้า heart tube ที่ต าแหน่ง<br />

sinus venosus<br />

2. Extraembryonic circuit คือระบบเลือดที่เชื่อมต่อออกจากตัวอ่อน<br />

2.1. Vitelline (omphalomesenteric or yolk sac) circuit ประกอบด้วยvitelline<br />

arteries (2 เส้น) น าเลือดจาก dorsal aorta ไป yolk sac และ vitelline veins (2 เส้น) น า<br />

เลือดกลับจาก yolk sac กลับเข้าสู่ heart tube<br />

2.2. Umbilical (allantoic, placental) circuit ประกอบด้วย umbilical arteries (2<br />

เส้น) น าเลือดจาก dorsal aorta ไปรกและ umbilical veins (2 เส้น) น าเลือดกลับจากรก<br />

กลับเข้าสู่ heart tube<br />

รูปที่ 1.6 รูปวาดแสดงระบบหัวใจและหลอดเลือดของตัวอ่อนอายุ 26 วัน โดยแสดง<br />

embryonic และ extraembryonic circuits [Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The<br />

cardiovascular system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors. The developing human: clinically<br />

oriented embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

7


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.7 รูปวาดแสดง cardinal vein ของตัวอ่อนอายุ 6 สัปดาห์<br />

Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL,<br />

Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed:<br />

Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.(2)<br />

8


The development of the cardiovascular system<br />

II. การสร้าง Cardiac loop<br />

หลังจากที่ endocardial heart tubes ทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งจะเกิดการยืดยาว<br />

โค้งปิด เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างในช่วงอายุ 23 ถึง 28 วัน<br />

Heart tube จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย<br />

1. Bulbus cordis เป็นส่วนที่อยู่ส่วนหลังสุด (cephalic portion) เชื่อมต่อกับ<br />

aortic sac ประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ truncus arteriosus, conus arteriosus และ<br />

conus cordis<br />

2. Ventricle เป็นส่วนที่อยู่ต่อลงมาจาก bulbus cordis<br />

3. Atrium<br />

4. Sinus venosus เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดเชื่อมต่อกับระบบ vein<br />

Cardiac loop เกิดขึ ้นใน pericardial cavity ถูกดึงมาอยู่ในต าแหน่ง ventral (หน้า)<br />

ต่อ foregut และอยู่ caudal (ท้าย) ต่อ buccopharyngeal membrane ดังรูปที่ 1.8<br />

รูปที่ 1.8 แสดงต าแหน่งของ heart tube ในขณะที่ก าลังเกิด cardiac loop(2) Cardiac loop<br />

เกิดจากส่วน bulbus cordis กับ ventricle มีการเจริญและยืดยาวได้รวดเร็วกว่าส่วน atrium กับ<br />

sinus venosus ส่วน bulbus cordis จึงได้ยื่นลงมาทางด้านขวา ส่วน atrium จะดันขึ้นด้านบน<br />

(dorsocranially) และเฉียงไปด้านซ้าย ดังรูป 1.9, 1.10 และ 1.11. (2)<br />

9


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.9 รูปวาดแสดงการเกิด cardiac loop ของตัวอ่อนอายุ 22-35 วัน(2) A-B แสดงการ<br />

รวมกันของ endocardial heart tubes, C-E แสดงการโค้งลงของ bulbus cordis และventricle และ<br />

การโค้งขึ้นของ atrium) [Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular<br />

system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented<br />

embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

10


The development of the cardiovascular system<br />

รูปที่ 1.10 ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (scanning EM) แสดง cardiac looping A:<br />

แสดง cardiogenic area ของตัวอ่อนอายุ 19 วัน, B: แสดง heart tube ของตัวอ่อน อายุ 20 วัน,<br />

C-D: แสดงการเกิด cardiac loop ของตัวอ่อนอายุ 21 และ 22 วัน [Source; Sadler TW, Langman<br />

J. Cardivascular system. In: Thomas W, Sadler JL, editors. Langman's medical embryology. 8<br />

ed. Michigan: Lippincott Williums & Wilkins; 2008. p. 233-73.](1)<br />

รูปที่ 1.11 ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แสดง cardiac loop ที่สมบูรณ์ของหัวใจตัว<br />

อ่อนอายุ 28 วัน [Source: Sadler TW, Langman J. Cardivascular system. In: Thomas W, Sadler<br />

JL, editors. Langman's medical embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott Williums & Wilkins;<br />

2008. p. 233-73.](1)<br />

11


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Cardiac loop เสร็จสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนอายุครบ 4 สัปดาห์จะมีการไหลเวียนของ<br />

เลือดเนื่องจากการหดตัวของชั้นกล้ามเนื้อเป็นคลื่น (peristalsis) เลือดจาก cardinal,<br />

umbilical และ vitelline veins ไหลเข้าสู่หัวใจที่ sinus venosus เข้าสู่ atrium แล้วผ่าน<br />

atrioventricular canal เข้าสู่ ventricle เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดจะไหลออกทาง truncus<br />

arteriosis ออกสู่ aortic sac และ dorsal aorta ตามล าดับ(รูปที่ 1.12)<br />

รูปที่ 1.12 รูปหัวใจของตัวอ่อนอายุ 30 วัน ที่ถูกตัดผ่านแนว frontal แสดงทิศทางการไหลของ<br />

เลือดในหัวใจผ่าน atrioventricular canal และ primitive interventricular foramen ผ่าน bulbus<br />

cordis, aortic sac และ dorsal aorta ตามล าดับ [Source; Sadler TW, Langman J. Cardivascular<br />

system. In: Thomas W, Sadler JL, editors. Langman's medical embryology. 8 ed. Michigan:<br />

Lippincott Williums & Wilkins; 2008. p. 233-73.](1)<br />

12


The development of the cardiovascular system<br />

III. การแบ่งห้องหัวใจ (Partitioning of the heart)<br />

หัวใจของตัวอ่อนซึ่งเริ่มแรกมีเพียงช่องเดียวจะเริ่มมีการแบ่งเป็น 4 ห้อง และแบ่ง<br />

ช่องทางออกเป็นสองช่อง คือ aorta และ pulmonary artery ซึ่งเกิดในช่วงเวลาเดียวกัน<br />

คือ ในช่วงอายุ 4-5 สัปดาห์ (วันที่ 27-37) ในที่นี้ขอกล่าวแยกเป็นการแบ่งของ atrium,<br />

atrioventricular canal, ventricle และ outflow tract<br />

1. การสร้างหัวใจห้องบน (Formation of the atrium)<br />

1.1. การแบ่งของ atrium (partitioning of primodial atrium)<br />

หัวใจห้องบน (atrium) จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ห้องคือ right atrium และ left<br />

atrium โดยแผ่นกั้นซึ่งเกิดจาก septum primum และ septum secondum เริ่มเกิดในช่วง<br />

ปลายสัปดาห์ที่ 4<br />

Septum primum เป็นแผ่นเนื้อเยื่อบางรูปโค้งเว้า (crescent shape) ยื่นจากส่วน<br />

หลัง (roof) ของ common atrium ลงมาเชื่อมกับ endocardial cushion เพื่อแบ่ง common<br />

atrium เป็นช่องด้านขวาและซ้ายโดยยังมีช่องทางเชื่อมระหว่างสอง ด้านผ่านทาง<br />

foramen primum (ostium primum) ซึ่งเป็นช่องระหว่างขอบด้านล่างของ septum<br />

primum กับ endocardial cushion ที่ยังปิดไม่สนิท<br />

ในช่วงเวลาเดียวกันก่อนที่ foramen primum จะปิด จะเกิดรูเปิดตรงกลางของ<br />

septum primum ด้วยกลไก apoptosis โดยเกิดเป็นรูขนาดเล็กหลายรูก่อนแล้วรวมกัน<br />

เป็นช่องเดียวเรียกว่า foramen secondum (ostium secundum) ท าหน้าที่เป็นช่องทางให้<br />

เลือดไหลจาก right atrium เข้าสู่ left atrium แทน foramen primum ที่ปิดลง<br />

ต่อมาในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 septum secundum เริ่มเกิดจากผนังส่วนบนด้านท้อง<br />

(ventrocranial wall) อยู่ชิดทางด้านขวาของ septum primum โดยเป็นแผ่นกล้ามเนื้อหนา<br />

โตขึ ้นจนปิด foramen secundum แต่จะไม่ปิดสนิท โดยเหลือเป็นขอบโค้งด้านล่างเรียกว่า<br />

oval foramen (foramen ovale) ประกอบกับช่วงเวลาเดียวกันที่ส่วนบนของ septum<br />

primum สลายลงเหลือเป็นแผ่นด้านล่างที่ขยับได้เรียกว่า valve of the oval foramen<br />

เลือดจึงยังไหลผ่านช่องทางแนวเฉียงนี้ได้<br />

13


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

14


The development of the cardiovascular system<br />

รูปที่ 1.13 แผนภาพแสดงการแบ่ง atrium A-H แสดงภาพจาก right atrium, A1-H1 แสดง<br />

ภาพตัดแนว coronal, ภาพ G และ H แสดง valve of vale foramen ซึ่งเปิดให้เลือดไหลจาก right<br />

atrium เข้าสู่ left atrium ได้เนื ่องจากความดันใน right atrium สูงกว่า (รูป H) [Source: Moore KL,<br />

Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors.<br />

The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-<br />

336.](2)<br />

15


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.14 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง septum primum, septum secundum และ<br />

oval foramen A: ทารกในครรภ์ เลือดแดงไหลจาก right atrium ผ่าน oval foramen เข้าสู่ left<br />

atrium, B: หลังคลอด ความดันใน left atrium เพิ่มขึ้นเนื ่องจากมีเลือดไหลกลับจากปอดท าให้<br />

valve of oval foramen ปิดลง ไม่มีเลือดไหลผ่านระหว่าง interatrial septum [Source: Moore KL,<br />

Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors.<br />

The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-<br />

336.](2)<br />

1.2. การเปลี่ยนแปลงของ sinus venosus และ การสร้าง right atrium<br />

Sinus venosus รับเลือดจากระบบ vein ทั้ง 3 circuit ได้แก่ umbilical vein,<br />

vitelline vein และ common cardinal vein โดยเริ่มแรก (ช่วง 4 สัปดาห์แรก) รอยต่อ<br />

ระหว่าง sinus venosus กับ atrium กว้างและอยู่ตรงกลาง sinual horn ข้างขวาและซ้าย<br />

มีขนาดเท่ากัน ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 4 ถึง สัปดาห์ที่ 5 sinual horn ข้างขวาจะมี<br />

ขนาดใหญ่กว่าเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของเลือดมาด้านขวา (left-to-right<br />

shunt) เป็นผลจากLeft anterior cardinal vein ต่อเชื่อมเข้ากับ right anterior cardinal<br />

16


The development of the cardiovascular system<br />

vein ซึ่งต่อมากลายเป็น left brachiocephalic vein ส่วน right common cardinal vein<br />

และ right anterior cardinal vein กลายเป็น superior vena cava ดังรูปที่ 1.15<br />

รูปที่ 1.15 การเปลี่ยนแปลงของ sinus venosus ของตัวอ่อนอายุ 24 วัน(A) และ 35 วัน(B)<br />

จุดประแสดงรอยต่อระหว่าง sinus venosus กับ atrium<br />

ACV, anterior cardinal vein; PCV, posterior cardinal vein; CCV, common cardinal vein, UV,<br />

umbilical vein; VIT V, vitelline vein [Source: Sadler TW, Langman J. cardivascular system. In:<br />

Thomas W Sadler JL, editor. Langman's medical embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott<br />

Williums & Wilkins; 2008. p. 233-73.](1)<br />

Left-to-right shunt ดังกล่าวท าให้เลือดไหลมาทางขวามากขึ ้น right sinual horn<br />

ใหญ่ขึ้นท าให้รอยต่อระหว่าง sinus venosus กับ atrium เลื่อนมาทางด้านขวา ต่อมาผนัง<br />

ของ sinus venosus เคลื่อนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ right atrium โดยมี valvular fold กั้น<br />

17


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ที่ขอบของรอยต่อระหว่าง sinus venosus สองข้าง (right และ left venous valve)<br />

ส่วนบนของ valve ทั้งสองเชื่อมกันเป็นสันเรียกว่า septum spurium ซึ่งช่วงแรกมีขนาด<br />

ใหญ่ แต่เมื่อ right atrium ขยายใหญ่ขึ ้น left venous valve และ septum spurium จะ<br />

รวมเป็นส่วนหนึ่งไปกับ atrial septum ส่วนบนของ right venous valve จะหายไป<br />

ส่วนล่างกลายเป็น valve of inferior vena cava และ valve of coronary sinus<br />

Sinus venosus รวมเข้าเป็นผนังส่วนเรียบของ right atrium เรียกว่า sinus<br />

venarum ส่วน primitive right atrium กลายเป็น right auricle ซึ่งมีผนังที่ไม่เรียบมีสัน<br />

แนวของกล้ามเนื้อ pectinate muscle (trabeculated part) สองส่วนนี้ถูกกั้นแบ่งโดยสัน<br />

แนวกล้ามเนื้อที่เรียกว่า crista terminalis ซึ่งตรงกับร่องที่เห็นจากด้านนอกเรียกว่า<br />

sulcus terminalis ดังรูปที่ 1.16<br />

รูปที่ 1.16 การเกิด right และ left atrium โดยส่วน sinus venosus (สีน้าเงิน) กลายเป็นส่วน<br />

เรียบของ right atrium และ pulmonary veins (สีแดง) กลายเป็นส่วนเรียบของ left atrium [Source;<br />

Sadler TW, Langman J. Cardivascular system. In: Thomas W, Sadler JL, editor. Langman's<br />

medical embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott Williums & Wilkins; 2008. p. 233-73.](1)<br />

1.3. การเกิด left atrium<br />

ผนังของ left atrium ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เรียบและไม่เรียบเช่นกัน<br />

ส่วนเรียบเกิดจากผนังของ pulmonary veins ทั้งสี่เส้นเข้ามาผสานส่วนที่ไม่เรียบ<br />

(auricle) ซึ่งเกิดจาก primitive left atrium<br />

18


The development of the cardiovascular system<br />

2. การแบ่งของ atrioventricular canal (AV canal)<br />

ช่วงปลายของสัปดาห์ที่ 4 มีการเจริญของเนื้อเยื่อส่วนกลางของหัวใจ โดยเป็น<br />

ส่วนที่เจริญยื่นจากผนังด้านหลัง (dorsal) และ ด้านท้อง (ventral) ของ AV canal เกิด<br />

เป็น superior และ inferior atrioventricular endocardial cushions ตามล าดับ ซึ่งภายใน<br />

ช่วงสัปดาห์ที่ 5 จะมีเซลล์ mesenchyme เจริญเข้ามามากจน endocardial cushions ทั้ง<br />

สองด้านยื่นเข้ามาเชื่อมกันท าให้แบ่งหัวใจของตัวอ่อนออกเป็น atria และ ventricles<br />

รวมทั้งแยก atrioventricular canal ซึ่งเดิมมีช่องเดียวเป็นสองช่องขวาและซ้าย ดังรูปที่<br />

1.17<br />

นอกจากนั้น endocardial cushion ยังช่วยท าให้การแบ่งห้องหัวใจให้สมบูรณ์มาก<br />

ขึ ้นโดยเชื่อมกับ septum primum ของส่วน atrium และเชื่อมกับ interventricular septum<br />

(จะกล่าวต่อไปในการแบ่งหัวใจห้องล่าง)<br />

หลังจากที่ atrioventricular endocardial cushions เชื่อมกันและแบ่ง AV canal<br />

เป็นสองช่องแล้ว แต่ละช่องจะมีการเจริญของเนื้อเยื่อโดยรอบ จนเกิดเป็นลิ้นหัวใจ<br />

(atrioventricular valves) ซึ่งเดิมอยู่ติดกับผนังของ ventricle เมื่อมีเลือดไหลผ่าน แผ่นลิ้น<br />

หัวใจจะแยกตัวออกจากผนังแต่ยังมีกล้ามเนื้อยึดติดกับผนัง ต่อมาส่วนกล้ามเนื้อจะ<br />

สลายตัวไปเหลือเพียงเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (dense connective tissue) เป็นส่วนที่เรียกว่า<br />

chordae tendinae ซึ่งยึดติดกับ papillary muscle ดังรูปที่ 1.18<br />

19


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.17 หัวใจเปิดแนว sagittal แสดงหัวใจตัวอ่อนอายุ 4 ถึง 5 สัปดาห์ A: ลูกศรแสดงทิศ<br />

ทางการไหลของเลือดจาก sinus venosus เข้าสู่ atrium ผ่าน AV canal เข้าสู่ ventricle, bulbus<br />

cordis และ truncus arteriosus ตามล าดับ, B: dorsal และ ventral endocardial cushion เริ่มเจริญ,<br />

C: endocardial cushions ทั้งสองเชื่อมกันและแบ่งหัวใจเป็นสี่ห้องและมีสอง AV canal (รูป D เป็น<br />

แนว coronal ของ C) [Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system.<br />

In: Moore KL, Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8<br />

ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

20


The development of the cardiovascular system<br />

รูปที่ 1.18 แสดงการเกิด atrioventricular valve และ chordae tendinae<br />

Source: Sadler TW, Langman J. Cardivascular system. In: Thomas W, Sadler JL, editors.<br />

Langman's medical embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott Williums & Wilkins; 2008. p. 233-<br />

73.(1)<br />

3. การแบ่งห้องหัวใจห้องล่าง (partitioning of ventricle)<br />

การแบ่งห้องหัวใจห้องล่างเริ่มต้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 4 โดยเริ่มเกิดเป็นสันตรง<br />

กลางของ ventricle เรียกว่า interventricular septum (IV septum) เมื่อช่องหัวใจขยายตัว<br />

ขึ ้นร่วมกับการเพิ่มจ านวนเซลล์กล้ามเนื้อ (myoblasts) IV septum จะเพิ่มขนาดขึ ้นเรื่อย<br />

ๆ จนเกิดเป็นสันเว้าแบ่งหัวใจห้องล่างออกเป็นด้านขวา (right ventricle) และซ้าย (left<br />

ventricle) จนถึงสัปดาห์ที่ 7 IV septum จะเข้าไปเชื่อมรวมกับ endocardial cushion และ<br />

bulbar ridges (จะกล่าวรายละเอียดในการแบ่ง outflow tract) ท าให้ ventricle ถูกแบ่ง<br />

โดยสมบูรณ์ (รูปที่ 1.19) ส่วน IV septum จะเจริญเป็น muscular part และ endocardial<br />

cushion เป็น membranous part (รูปที่ 1.20)<br />

21


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 1.19 แสดงขั้นตอนการแบ่ง ventricle และ outflow tract A: อายุ 5 สัปดาห์ bulbus<br />

cordis ยังเป็นห้องที่แยกจาก ventricle, B: 6 สัปดาห์ bulbus cordis ผสานรวมกับ ventricle เป็น<br />

ส่วน infundibulum ของ right ventricle และ aortic vestibule ของ left ventricle, C/D/E: แสดงการ<br />

รวมตัวกันของ right bulbar ridge, left bulbar ridge และ endocardial cushion ในช่วงสัปดาห์ที่<br />

5/6/7 ตามล าดับ [Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In:<br />

Moore KL, Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed:<br />

Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

22


The development of the cardiovascular system<br />

รูป 1.20 แสดงการเจริญของ atrioventricular valves, chordae tendinae และ papillary<br />

muscle A: สัปดาห์ 5, B: สัปดาห์ 6, C: สัปดาห์ 7, D: สัปดาห์ 20 (แสดง conducting system)<br />

[Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL,<br />

Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed:<br />

Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.](2)<br />

23


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

4. การแบ่งของ outflow tract (bulbar cordis และ truncus arteriosus)<br />

ระหว่างสัปดาห์ที่ 5 มีการแบ่งตัวของเซลล์ mesenchyme (ส่วนมากเจริญมาจาก<br />

neural crests) ที่บริเวณ bulbar cordis สองแนวตรงข้ามกันเกิดเป็น bulbar ridges<br />

เช่นเดียวกับที่เกิดใน truncus arteriosus (truncal ridges) เมื่อ ridge ทั้งสองด้านของแต่<br />

ละส่วนเจริญมาเชื่อมกันท าให้เกิดเป็นช่องแยกกันสองช่อง โดย bulbar ridges แบ่ง<br />

bulbar cordis เป็น infundibulum ทางด้าน right ventricle กับ aortic vestibule ทางด้าน<br />

left ventricle และ truncus arteriosus ถูกแบ่งเป็น ascending aorta กับ pulmonary trunk<br />

โดย aorticopulmonary septum เนื่องจาก ridge ใน outflow tract ในแต่ละส่วนอยู่ต่าง<br />

ระนาบกัน ดังนั้นหลังจากเชื่อมกันแล้วช่องจึงเกิดเป็นเกลียว pulmonary trunk พันไป<br />

รอบ ascending aorta (รูป 1.21)<br />

24


The development of the cardiovascular system<br />

รูป 1.21 การแบ่งของ bulbar cordis และ truncus arteriosus A: สัปดาห์ 5 (รอยประแสดง<br />

แนวตัดของรูป B), C: ผนังหัวใจเปิดออกให้เห็น ridges, D: สัปดาห์ 6 (รอยประแสดงแนวตัดของ<br />

รูป E), F: ผนังหัวใจเปิดออกให้เห็น aorta และ pulmonary trunk, G: แผนภาพแสดงแนวเกลียว<br />

ของ aorticopulmonary septum, H: รูปแสดง pulmonary trunk และ aorta [Source; Moore KL,<br />

Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL, Persaud TVN, editors.<br />

The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-<br />

336.](2)<br />

IV. การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดขณะคลอด<br />

(Changes in cardiovascular system at birth)<br />

ระบบการไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์ (fetal circulation) มีความแตกต่าง<br />

จากระบบการไหลเวียนเลือดของทารกนอกครรภ์ (neonatal circulation) อย่างมาก<br />

เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซของทารกในครรภ์เกิดในรก โดยรกจะท าหน้าที่รับเลือดที่มี<br />

ปริมาณออกซิเจนต่ า (deoxygenated blood) จาก fetus ผ่านทาง umbilical arteries และ<br />

ส่งกลับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงกลับเข้าสู่ fetus ผ่านทาง umbilical vein<br />

นอกจากนั้น fetal circulation ยังเป็นหนทางที่เหมาะสมให้อวัยวะที่ส าคัญคือสมองและ<br />

หัวใจได้รับเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงที่สุดกว่าอวัยวะอื่น<br />

Fetal circulation จึงอาศัยกลไกหลายอย่าง ทั้งการท างานของ sphincter, valve,<br />

กระแสการไหลของเลือด (streaming) และช่องทาง (shunts) เพื่อให้ทิศทางการไหลเวียน<br />

เลือดเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์<br />

A. ระบบการไหลเวียนเลือดทารกในครรภ์ (fetal circulation)<br />

เลือดที่มีระดับออกซิเจนต่ าจากทารกในครรภ์ส่งกลับสู่รกผ่านทาง umbilical<br />

arteries เลือดที่ไหลผ่านรกจะมีระดับออกซิเจน (oxygen saturation) เพิ่มขึ ้นจาก 58%<br />

เป็น 80-90% ไหลเข้าสู่ทารกผ่านทาง umbilical vein และส่วนใหญ่ (50-60%) จะไหล<br />

เข้าสู่ ductus venosus ซึ่งเป็นทางลัดป้องกันการรวมกันของเลือดที่มีออกซิเจนสูงกับ<br />

เลือดที่มีออกซิเจนต่ ากว่าจากตับ จากนั้นเลือดจาก ductus venosus จะไหลเข้าสู่<br />

inferior vena cava แต่เนื่องจากความเร็วของเลือดที่ไหลจาก ductus venosus มี<br />

25


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ความเร็วมากกว่า (65-75 ซม/วินาที) เลือดที่ไหลใน inferior vena cava (16 ซม./วินาที)<br />

ท าให้เลือดทั้งสองส่วนแยกกัน<br />

เลือดจาก inferior vena cava ไหลเข้าสู่ right atrium แต่เนื่องด้วยช่องทางการ<br />

ไหลของเลือดร่วมกับแผ่นเนื้อเยื่อที่รอยต่อระหว่าง inferior vena cava กับ right atrium<br />

(eustachian valve) ท าให้เลือดที่มีออกซิเจนสูงไหลลัดผ่าน foramen ovale เข้าสู่ left<br />

atrium (oxygen saturation 65%) ไหลลงสู่ left ventricle แล้วออกจากหัวใจผ่านทาง<br />

aorta เลือดที่ออกไปเลี้ยงหัวใจและสมองจึงเป็นเลือดที่มีออกซิเจนสูงสุดดังได้กล่าว<br />

ก่อนหน้านี้<br />

เลือดที่เข้าสู่ right atrium อีกส่วนหนึ่งเป็นเลือดที่มีระดับออกซิเจนต่ าจาก<br />

superior vena cava (oxygen saturation 25-40%) รวมกับเลือดจาก coronary sinus<br />

และเลือดส่วนหนึ่งใน inferior vena cava จะไหลลงสู่ right ventricle และผ่านออกทาง<br />

pulmonary artery แต่เนื่องจากปอดมีแรงต้านทานสูง ดังนั้นเลือดเพียงหนึ่งในสิบส่วนจะ<br />

ไหลเข้าปอดได้ ส่วนใหญ่เลือดที่เหลือจะไหลลัดผ่าน ductus arteriosus เข้าสู่<br />

descending aorta ไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างและไหลกลับสู่รก<br />

26


The development of the cardiovascular system<br />

รูปที่ 1.22 Fetal circulation<br />

Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL,<br />

Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed:<br />

Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.(2)<br />

ดังได้กล่าวแล้วว่า ductus arteriosus เป็นช่องทางซึ่งจ าเป็นใน fetal circulation<br />

เพื่อลดปริมาณเลือดที่จะเข้าปอดและน าเลือดกลับสู่ descending aorta และไปฟอกที่รก<br />

ร่างกายทารกจึงมีกลไกที่ท าให้ ductus arteriosus เปิดอยู่ตลอดโดยอาศัยการที่มีระดับ<br />

ออกซิเจนในเลือดต่ าและ vasodilators (prostaglandin E2 และ prostacyclin I2)<br />

27


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

B. การเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดขณะคลอด<br />

ขณะที่ทารกคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงจาก fetal circulation เป็น neonatal<br />

circulation โดยมีการเปลี่ยนแปลงในหลายส่วนดังนี้<br />

1. การปิดของ umbilical vein และ ductus venosus<br />

เมื่อสายสะดือถูกตัดออกจากรก ปริมาณเลือดที่ไหลผ่าน umbilical vein และ<br />

ductus venosus ลดลงทันทีส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลเข้าสู่ inferior vena cava และ<br />

right atrium ลดลงด้วยตามล าดับ<br />

umbilical vein ที่ปิดกลายเป็น round ligament of liver ( ligametum teres) และ<br />

ductal venosus กลายเป็น ligamentum venosum<br />

2. การปิดของ foramen ovale<br />

Foramen ovale ซึ่งเป็นช่องทางลัดให้เลือดส่วนใหญ่ไหลผ่านจาก right atrium<br />

เข้าสู่ left atrium ใน fetal circulation จะถูกปิดลงซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยดังต่อไปนี้<br />

• ปริมาณเลือดและแรงดันใน right atrium ลดลงเนื่องจากได้รับเลือดจาก inferior<br />

vena cava ลดลงหลังการปิดของ umbilical vein และ ductus venosus<br />

• ปริมาณเลือดและแรงดันใน left atrium เพิ่มขึ ้นเนื่องจากการหายใจของทารกท า<br />

ให้ปอดขยายตัว เส้นเลือดในปอดขยายตัว แรงดันเลือดในปอดลดลงท าให้มี<br />

เลือดไปเลี้ยงปอดเพิ่มขึ ้นและเลือดไหลกลับจากปอดกลับสู่ left trium เพิ่มขึ ้น<br />

จากปัจจัยทั้งสองท าให้แรงดันใน left atrium มากกว่า right atrium จึงดันให้<br />

valve of foramen ovale ปิดลงบน edge of foramen ovale เมื่อการปิดสมบูรณ์ส่วนของ<br />

valve of foramen ovale (septum primum) จึงกลายเป็น floor of fossa ovalis และส่วน<br />

edge of foramen ovale (septum secundum) จึงกลายเป็น limbus fossa ovalis<br />

3. การปิดของ ductus arteriosus<br />

Ductus arteriosus ซึ่งเป็นช่องทางให้เลือดมากถึงร้อยละ 90 ส่งผ่านจาก<br />

pulmonary artery เข้าสู่ aorta ใน fetal circulation จะถูกปิดลงโดยสัมพันธ์กับปัจจัย<br />

ดังต่อไปนี้<br />

• Bradykinin ถูกปล่อยจากปอดในช่วงที่มีการหายใจเริ่มแรกมีผลท าให้เซลล์<br />

กล้ามเนื้อในชั้น media ของ ductus arteriosus หดตัว โดยการหดตัวของ<br />

กล้ามเนื้อในแนววงรอบ (circumferential fibers) ท าให้ขนาดรูของ ductus<br />

28


The development of the cardiovascular system<br />

arteriosus เล็กลงและการหดตัวของกล้ามเนื้อในแนวยาว (longitudinal fibers)<br />

ท าให้ความยาวของ ductus arteriosus สั้นลง<br />

• ระดับออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ ้น การที่มีเลือดไปเลี้ยงปอดเพิ่มขึ ้นท าให้ฟอกเลือด<br />

ได้มากขึ ้นจนมีระดับออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ ้น (PO2 ถึง 50 mmHg หรือ oxygen<br />

saturation ประมาณ 85%) ท าให้เกิดการหดตัว (vasoconstriction) ของ ductus<br />

arteriosus<br />

• การเปลี่ยนแปลงระดับของ vasodilators (PGE2 และ PGI2) ซึ่งเป็น mediators ที่<br />

สร้างจากตัว ductus arteriosus, umbilical vein และรก มีการสร้างลดลงและมี<br />

การท าลายที่ปอดมากขึ ้นจนท าให้ปริมาณของ vasodilators ลดลง<br />

ผลลัพธ์ของปัจจัยดังกล่าวท าให้ ductus arteriosus หดตัวและไม่มีเลือดไหลผ่าน<br />

(functional closure) โดยทารกปกติที่คลอดครบก าหนดจะเกิด functional closure ภายใน<br />

24-96 ชั่วโมงหลังคลอด(ส่วนใหญ่เกิดในช่วง 10-15 ชั่วโมง) หลังจากนั้นจะเกิดการเพิ่ม<br />

จ านวนของ endothelial cells และ fibrous tissue จนกระทั่งรูปิดอย่างสมบูรณ์<br />

(anatomical closure) ภายในระยะเวลา 3 เดือนถึง 1 ปี<br />

4. การปิดของ umbilical arteries<br />

เมื่อสายสะดือถูกตัดจึงไม่มีเลือดไหลผ่าน umbilical arteries และมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงต่อโดยส่วนปลายเปลี่ยนเป็น medial umbilical ligaments และส่วนต้น<br />

เปลี่ยนเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง urinary bladder (superior vesical arteries)<br />

29


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 2.23 Neonatal circulation<br />

Source: Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore KL,<br />

Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8 ed:<br />

Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.(2)<br />

30


The development of the cardiovascular system<br />

ตาราง 1.1 การเปลี่ยนแปลง Fetal structure หลังคลอด<br />

Fetal structures ช่วงเวลาการปิด Neonatal structures<br />

Umbilical vein ทันทีหลังคลอด ligamentum teres<br />

Ductus venosus ทันทีหลังคลอด ligamentum venosum<br />

Foramen ovale<br />

functional – ทันทีหลังคลอด<br />

anatomical – ภายใน 3 เดือน หลัง<br />

คลอด<br />

Ductus arteriosus functional – ภายใน 24 ถึง 96 ชั่วโมง<br />

anatomical – ภายใน 3 เดือน ถึง 1 ปี<br />

fossa ovalis<br />

ligamentum arteriosum<br />

Umbilical arteries ทันทีหลังคลอด medial umbilical<br />

ligaments, superior<br />

vesical arteries<br />

31


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

References<br />

1. Sadler TW, Langman J. Cardivascular system. In: Thomas W, Sadler JL,<br />

editors. Langman's medical embryology. 8 ed. Michigan: Lippincott Williums &<br />

Wilkins; 2008. p. 233-73.<br />

2. Moore KL, Persaud TVN, Torchia MG. The cardiovascular system. In: Moore<br />

KL, Persaud TVN, editors. The developing human: clinically oriented embryology. 8<br />

ed: Elsevier/Saunders; 2011. p. 285-336.<br />

3. Ashworth M. Cardiovascular system. In: Keeling J, Khong, TY, editor. Fetal<br />

and neonatal pathology. 4th ed. London: Springer; 2007. p. 571-99.<br />

4. Murphy PJ. The fetal circulation. Continuing Education in Anaesthesia, Critical<br />

Care & Pain. 2005;5(4):107-12.<br />

32


Congenital heart diseases<br />

โรคหัวใจพิการแต่ก าเนิด<br />

Congenital heart diseases<br />

กรกนก สุขพันธ์, MD FRCPath<br />

โรคหัวใจพิการแต่ก าเนิด (congenital heart disease, CHD) เป็นความผิดปกติ<br />

ด้านโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดที่พบหลังคลอด ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับความ<br />

ผิดปกติในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของระบบหัวใจและหลอดเลือดในช่วงอายุครรภ์ 3<br />

ถึง 8 สัปดาห์<br />

อุบัติการณ์ (incidence) ของโรคหัวใจพิการแต่ก าเนิดมีความแตกต่างอย่างมาก<br />

(4 ถึง 50 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน) โดยขึ ้นอยู่กับวิธีการในการตรวจหรือการนับรวม<br />

ความผิดปกติที่ไม่ก่อให้เกิดอาการในเด็ก แต่จะเกิดอาการในช่วงผู้ใหญ่ด้วยหรือไม่ เช่น<br />

bicuspid aortic valve หรือ patent foramen ovale แต่หากนับเฉพาะความผิดปกติที่<br />

ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยในช่วงวัยเด็ก อุบัติการณ์จะประมาณร้อยละ 0.8 ถึง 1 (8 ถึง 10<br />

ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน) ขึ ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติ ความผิดปกติที่<br />

รุนแรงมากอาจท าให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หากคลอดแล้วมีชีวิตก็อาจมีอาการ<br />

ทันทีหลังคลอดเช่น transposition of great arteries หรือมีอาการในช่วงทารก 1-2 ปีหลัง<br />

คลอดเช่น ventricular septal defect หรือมีอาการในช่วงเด็กโตหรือวัยผู้ใหญ่เช่น atrial<br />

septal defect<br />

อุบัติการณ์ของโรคหัวใจพิการแต่ก าเนิดแต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังแสดงในตาราง<br />

ที่ 2.1 ถึงแม้ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วย<br />

ได้มากขึ ้น แต่โรคกลุ่มนี้อาจยังก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดรักษาได้เช่น<br />

arrhythmia, ventricular dysfunction หรือต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มเติมภายหลัง รวมทั้ง<br />

ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องหลังการผ่าตัดที่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม (prosthesis) ดังนั้นโรค<br />

กลุ่มนี้จึงยังเป็นปัญหาที่มีความส าคัญอย่างมากต่อสุขภาพประชากรโดยเฉพาะ<br />

ประชากรเด็ก<br />

33


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ตารางที่ 2.1 Incidence of congenital heart diseases<br />

Malformation<br />

Incidence Percent of CHD<br />

per million live births<br />

All congenital heart disease* 10,567 -<br />

Ventricular septal defect 4,482 42.42<br />

Atrial septal defect 1,059 10.02<br />

Pulmonic stenosis 836 7.91<br />

Patent ductus arteriosus 782 7.40<br />

Tetralogy of Fallot 577 5.46<br />

Coarctation of aorta 492 4.66<br />

Atrioventricular septal defect 396 3.75<br />

Aortic stenosis 388 3.61<br />

Transposition of great arteries 388 3.61<br />

Hypoplastic left heart 279 2.64<br />

Double outlet right ventricle 245 2.32<br />

Hypoplastic right heart 224 2.12<br />

Ebstein anomaly 161 1.52<br />

Pulmonary atresia 147 1.39<br />

Truncus arteriosus 136 1.29<br />

Single ventricle 136 1.29<br />

TAPVR** 120 1.13<br />

Tricuspid atresia 118 1.12<br />

* Excluding bicuspid nonstenotic aortic valve, isolated partial anomalous pulmonary venous<br />

connection and silent ductus arteriosus<br />

** TAPVR, total anomalous pulmonary venous connection<br />

Source: Hoffman JI, Kaplan S. The incidence of congenital heart disease. J Am Coll Cardiol.<br />

2002 Jun 19;39(12):1890-900.(10)<br />

34


Congenital heart diseases<br />

สาเหตุและพยาธิก าเนิด<br />

โรคหัวใจพิการแต่ก าเนิดเป็นโรคหัวใจที่พบมากที่สุดในเด็กประมาณร้อยละ 90<br />

โดยส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุ โดยอาจเกิดจากผลโดยรวมระหว่างความผิดปกติทาง<br />

พันธุกรรมร่วมกับปัจจัยภายนอก ส่วนน้อยของผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 พบความ<br />

ผิดปกติของพันธุกรรม โดยอาจพบเฉพาะความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหรือ<br />

พบร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะอื่น<br />

ปัจจัยภายนอกที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจพิการแต่ก าเนิดได้แก่ ความเจ็บป่วยของแม่<br />

(เช่น โรคเบาหวาน SLE) ยาหรือสารเคมีบางอย่าง (เช่น thalidomide, isotretinoin,<br />

lithium, alcohol)<br />

ดังได้กล่าวแล้วว่า ความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคหัวใจ<br />

พิการแต่ก าเนิด ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติของยีนเดียว (single gene mutation) ความ<br />

ผิดปกติของโครโมโซม (small chromosomal deletions, trisomies, monosomies) single<br />

gene mutation เกิดกับ gene ที่ encode โปรตีนที่ท าหน้าที่หลายอย่าง โดยเฉพาะ<br />

transcription factors ซึ่งเป็นสิ่งที่จ าเป็นในการเจริญเติบโตของระบบหัวใจและหลอด<br />

เลือดในช่วงที่อยู่ในครรภ์ transcription factors บางชนิดท างานร่วมกันกับกลุ่มโปรตีนอื่น<br />

ด้วยเหตุนี้จึงอธิบายว่าความผิดปกติของ gene หลายชนิดก่อให้เกิดความผิดปกติของ<br />

หัวใจและหลอดเลือดที่คล้ายกันได้ เช่น GATA4, TBX5 และ NKX2-5 transcription<br />

factors ทั้งสามชนิดนี้ท างานร่วมกันในช่วงการเจริญเติบโตของหัวใจและหลอดเลือด<br />

mutation ของยีนเหล่านี้พบในผู้ป่วยที่เป็น atrial septal defect และ ventricular septal<br />

defect นอกจากนี้ยังพบใน gene mutation ชนิดอื่นที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจพิการแต่ก าเนิด<br />

ดังแสดงในตารางที่ 2.2<br />

35


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ตารางที่ 2.2 แสดงตัวอย่างของ gene mutation ที่เป็นสาเหตุของ congenital<br />

heart disease<br />

Affected gene Normal function Syndrome name CHD<br />

Non-syndromic<br />

NKX2-5 Transcription factor - ASD, VSD,<br />

Conduction defect<br />

GATA-4 Transcription factor - ASD, VSD<br />

TBX-20 Transcription factor - ASD, VSD,<br />

conduction defect<br />

Syndromic<br />

TBX-5 Transcription factor Holt-Oram ASD, VSD,<br />

conduction defect<br />

TBX-1 Transcription factor DiGeorge Outflow tract defect<br />

JAG-1, NOTCH2 Notch-signaling Alagille Pulmonary artery<br />

stenosis, TOF<br />

Fibrillin<br />

Structural protein<br />

TGF<br />

Signaling<br />

Marfan<br />

Aortic aneurysm,<br />

valve abnormalities<br />

ASD, atrial septal defect; TGF, transforming growth factor; TOF, tetralogy of Fallot; VSD,<br />

ventricular septal defect<br />

Source: Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abul K Abbas AK, Nelson Fausto N, Aster JC,<br />

editors. Robbins and Cotran pathologic basis of disease. 8 ed. Philadelphia: Saunders; 2010. p.<br />

529-78.(13)<br />

36


37<br />

Congenital heart diseases<br />

ความผิดปกติของจ านวนโครโมโซม (chromosomal aneuploidies) เป็นสาเหตุ<br />

ส าคัญของโรคหัวใจพิการแต่ก าเนิด (ตารางที่ 2.3) เช่น Turner syndrome (monosomy<br />

X), trisomies 13, 18 และ 21 โดยพบว่า Trisomy 21 (Down syndrome) เป็นสาเหตุทาง<br />

พันธุกรรมที่บ่อยที่สุดในโรคกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะพบความผิดปกติ<br />

ของหัวใจอย่างน้อยหนึ่งอย่างซึ่งมักพบกับส่วนที่เกิดจาก endocardial cushion (เช่น<br />

atrioventricular valve และ septum) กลไกที่ท าให้ aneuploidy ก่อให้เกิดความผิดปกติ<br />

ของหัวใจยังไม่ทราบแน่ชัดแต่น่าจะสัมพันธ์กับ dysregulated expression ของ genes<br />

โดยพบว่าครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่ก าเนิดมีความเสี่ยงต่อโรคนี้เพิ่มขึ ้น<br />

เช่นลูกที่เกิดจากพ่อที่เป็น ventricular septal defect มีโอกาสเสี่ยงร้อยละ 2 แต่ถ้าลูก<br />

เกิดจากแม่ที่เป็น ventricular septal defect มีโอกาสเสี่ยงถึงร้อยละ 6 ถึง 10<br />

ตารางที่ 2.3 แสดง congenital heart disease ใน chromosome abnormality<br />

syndromes<br />

Chromosomal Percent of Cardiac Type of malformations<br />

abnormalities<br />

defect<br />

Trisomy 13 80 50% VSD, OSD, PDA, BAV, BPV<br />

40% VSD, DORV, TOF, TGA<br />

10% miscellaneous defect<br />

Trisomy 18 100 100% VSD<br />

25% TOF, DORV<br />

95% CPVND<br />

Trisomy 21 40 60% complete AVSD, OPD<br />

20-30% VSD, OSD, PDA, COA<br />

25% TOF, DORV<br />

95% CPVND<br />

Monosomy X (Turner) 35 80-95% BAV, COA, ASV, HLHS<br />

20% VSD, OSD, PDA<br />

5-10% aortic root dilatation<br />

Triploidy 50 70% VSD, ASD, PDA<br />

5% TA


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ASD, atrial septal defect; ASV, aortic stenosis, valvular; AVSD, atrioventricular septal defect;<br />

BAV, bicuspid aortic valve; BPV, bicuspid pulmonary valve; COA, coarctation of aorta; CPVND,<br />

congenital polyvalvular nodular dysplasia; DORV, double outlet right ventricle; HLHS,<br />

hypoplastic left heart syndrome; OPD, ostium primum defect; OSD, ostium secundum defect;<br />

PDA, patent ductus arteriosus; TA, truncus arteriosus; TGA, transposition of great arteries;<br />

TOF, tetralogy of Fallot; VSD, ventricular septal defect [Source: Gnillbert-Barness E, Debich-<br />

Spicer D. Congenital malformation of the heart In: Gnillbert-Barness E, Debich-Spicer E,<br />

editors. Potter's pathology of the fetus, infancy and child. 2 ed. Philadelphia: Elsevier; 2007. p.<br />

978-1024.](9)<br />

Congenital heart diseases with left-to-right shunt<br />

(Acyanotic with increased pulmonary blood flow)<br />

จะกล่าวรายละเอียดเรียงตามล าดับดังนี้<br />

1. Atrial septal defect<br />

2. Ventricular septal defect<br />

3. Atrioventricular septal defect<br />

4. Patent ductus arteriosus<br />

Atrial septum defect (ASD)<br />

เป็นความผิดปกติของหัวใจ ที่มีรูเปิดใน interatrial septum ท าให้เกิด left-toright<br />

shunt และ volume overload แก่ right atrium และ right ventricle ส่วนใหญ่พบ<br />

เป็นความผิดปกติเดี่ยว ส่วนน้อยเป็นส่วนประกอบของกลุ่มอาการผิดปกติทาง<br />

พันธุกรรม เช่น mutation of chromosome 5, Holt-Oram syndrome นอกจากนั้น ASD<br />

อาจเป็นความผิดปกติที่พบร่วมกับความผิดปกติของหัวใจชนิดอื่น เช่น transposition of<br />

great arteries with intact interventricular septum เนื่องจาก ASD มีความจ าเป็นในการ<br />

มีชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้<br />

38


Congenital heart diseases<br />

Classification แบ่งตามต าแหน่งของ ASD ดังนี้<br />

1. Ostium secundum defect (พบ 90%) รูเปิดอยู่ตรงกลางของ atrial septum<br />

ตรงต าแหน่ง fossa ovalis (deficient or fenestrated of septum primum) (รูปที่<br />

2.1)<br />

2. Ostium primum defect (พบ 5%) รูเปิดอยู่ด้านล่างของ atrial septum ใกล้<br />

atrioventricular valve อาจพบร่วมกับความผิดปกติของ AV valve (จะกล่าวใน<br />

atrioventricular septal defect)<br />

3. Sinus venosus defect (พบ 5%) รูเปิดอยู่ด้านหลังของ atrial septum บริเวณ<br />

ทางเข้าของ superior หรือ inferior vena cava มักพบร่วมกับ partial anomalous<br />

of pulmonary venous return จาก right pulmonary vein เข้าที่ right atrium<br />

รูปที่ 2.1 Ostium secundum defect ที่ต าแหน่ง foramen ovale (รอยประ) เป็น fenestrated<br />

septum primum<br />

39


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Pathophysiology<br />

ASD ก่อให้เกิด left-to-right shunt โดยการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนโลหิต<br />

ขึ ้นอยู่กับขนาดของ ASD<br />

Small ostium secundum defect อาจปิดเองได้<br />

- ขนาดเล็กกว่า 3 mm. ปิดเองได้<br />

- ขนาด 3-8 mm มีโอกาสปิดเองได้ก่อนอายุ 18 เดือน<br />

ส่วน ASD ชนิด sinus venosus และ ostium primum defect มักไม่สามารถปิดเอง<br />

ได้<br />

Moderate-to-large ASD เกิด shunt ปริมาณมากจนเกิด volume overload แก่<br />

right atrium and right ventricle เกิดการเปลี่ยนแปลงของห้องหัวใจท าให้เกิด<br />

right atrial enlargement และ right ventricular hypertrophy หากไม่รักษาจน<br />

เวลาผ่านไปหลายปีจะเกิด pulmonary artery hypertension โดย pulmonary<br />

vascular resistant จะเพิ่มขึ ้นจนมากกว่า systemic resistant ทิศทางของ shunt<br />

จากเดิม left-to-right จะเปลี่ ยนเป็น right-to-left shunt (Eisenmenger<br />

syndrome) (จะกล่าวภายหลัง)<br />

40


Congenital heart diseases<br />

A<br />

B<br />

C<br />

รูปที่ 2.2 แสดง pathophysiology of atrial septal defect เกิด volume overload ใน right<br />

atrium และ right ventricle (B) และท าให้ pulmonary blood flow เพิ่มขึ้น น าไปสู่ right atrial<br />

enlargement และ right ventricular hypertrophy(C); (A, normal circulation)<br />

41


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Symptoms and Signs<br />

ส่วนใหญ่ small ASD มักไม่ก่ออาการ ส่วน large defect อาจท าให้ผู้ป่วยมี<br />

อาการ exercise intolerance, dyspnea during exertion, fatigue, palpitation, atrial<br />

arrhythmias หากเวลาผ่านไปจนเกิด Eisenmenger syndrome อาจมี emboli จาก<br />

venous system ผ่านทาง ASD เข้าสู่ arterial system (paradoxical embolization) ซึ่งอาจ<br />

น าไปสู่ cerebral หรือ systemic thromboembolism<br />

การตรวจร่างกายพบ midsystolic (ejection systolic) murmur grade 2-3 และ<br />

fixed spit S2 ที่ต าแหน่ง left upper sternal border แต่หาก defect มีขนาดใหญ่อาจพบ<br />

diastolic murmur (relative tricuspid stenosis) ที่ต าแหน่ง left lower sternal border ด้วย<br />

Diagnosis<br />

- Echocardiography ใช้ยืนยันการวินิจฉัยหรือตรวจหา heart defect ชนิดอื่นที่<br />

สามารถพบร่วมได้<br />

- Chest radiograph พบ cardiomegaly ร่วมกับ right atrial and right ventricular<br />

dilation และพบ increased pulmonary vascular marking (บ่งบอกถึง pulmonary blood<br />

flow ที่เพิ่มขึ ้น)<br />

- Electrocardiography อาจพบ right axis deviation, right ventricular<br />

hypertrophy และ right bundle branch block<br />

- Cardiac catheterization ไม่มีความจ าเป็น ยกเว้นในกรณีวางแผนการรักษาโดย<br />

transcatheter intervention<br />

Treatment<br />

Small ASD อาจไม่จ าเป็นต้องรักษาและมีโอกาสปิดเองได้สูง<br />

Moderate to large ASD ที่มีเลือดไปปอดเพิ่มอย่างมีนัยส าคัญ เช่น pulmonary<br />

flow: systemic flow ratio >1.5:1 ควรได้รับการรักษาโดย transcatheter closure<br />

หรือ การผ่าตัด<br />

42


Congenital heart diseases<br />

Ventricular septal defect (VSD)<br />

เป็นความผิดปกติของหัวใจ มีรูเปิดที่ interventricular septum ท าให้เกิด left-toright<br />

shunt ระดับ ventricle เป็น CHD ชนิดที่พบมากที่สุด โดยอาจพบเป็นรอยโรคเดี่ยว<br />

หรือพบร่วมกับรอยโรคอื่น เช่น TOF, TGA<br />

Classification แบ่งตามต าแหน่งของ VSD ดังนี้<br />

1. Perimembranous defect พบมากที่สุด (70-80%) อยู่ที่ต าแหน่ง membranous<br />

part of interventricular septum<br />

2. Muscular defect พบได้ 5-20% อยู่ที่ต าแหน่ง muscular part of interventricular<br />

septum อาจพบได้หลายรู<br />

3. Subpulmonic defect (outlet, supracrista, infundibular, subarterial, doubly<br />

committed) พบได้ 5-7% อยู่ที่ต าแหน่งใกล้ pulmonary valve อยู่เหนือ crista<br />

supraventricularis อาจพบร่วมกับ aortic valve leaflet prolapsed ท าให้เกิด aortic<br />

regurgitation<br />

4. Inlet defect พบได้ 5-8 % อยู่ที่ต าแหน่งด้านหลังต่อ membranous septum ถัด<br />

ออกจาก septal papillary muscle โดยมีขอบบนของ defect เป็น tricuspid annulus<br />

Pathophysiology<br />

VSD ก่อให้เกิด left-to-right shunt ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านขึ ้นอยู่กับขนาดของ<br />

defect และ pressure gradient ซึ่งเป็นผลมาจาก pulmonary vascular pressure and<br />

resistance<br />

Small VSD เกิด left-to-right shunt น้อยปริมาณเลือดไปปอดไม่มาก มักไม่<br />

ก่อให้เกิด heart failure หรือ pulmonary hypertension<br />

Large VSD เกิด left-to-right shunt ปริมาณมาก เลือดไปปอดมากท าให้เกิด<br />

heart failure เลือดที่ไปปอดปริมาณมากย้อนกลับมาเข้า left atrium และ left<br />

ventricle ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิด left atrial enlargement และ left<br />

ventricular hypertrophy เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ ้นเส้นเลือดขนาดเล็กในปอดจะ<br />

43


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดเป็น pulmonary artery hypertrophy เป็นผลให้<br />

pulmonary artery vascular resistance เพิ่มขึ ้น เกิด right ventricular pressure<br />

overload ท าให้เกิด right ventricular hypertrophy ร่วมด้วย หากยังมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจน pulmonary pressure สูงกว่า systemic pressure<br />

ทิศทาง shunt จะเปลี่ยนเป็น right-to-left shunt เกิดเป็น Eisenmenger<br />

syndrome ในที่สุด<br />

รูปที่ 2.3 Ventricular septal defect, perimembranous type (ลูกศร)<br />

44


Congenital heart diseases<br />

A<br />

B<br />

รูปที่ 2.4 Pathophysiology of ventricular septal defect เกิด volume overload ใน left<br />

atrium และ left ventricle (A) และท าให้ pulmonary blood flow เพิ่มขึ้น น าไปสู่ left atrial<br />

enlargement และ left ventricular hypertrophy (B)<br />

Symptoms and signs<br />

อาการและอาการแสดงขึ ้นอยู่กับขนาดของ defect<br />

Small VSD มักไม่ก่ออาการเด็กจะเติบโตได้เป็นปกติ<br />

Large VSD จะมีอาการ heart failure โตช้า ติดเชื้อในทางเดินหายใจบ่อย มัก<br />

เกิดในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ pulmonary vascular<br />

resistance ลดลง ในเด็กปกติ pulmonary pressure และ resistance ซึ่งสูงตั้งแต่<br />

อยู่ในครรภ์ เนื่องจากเส้นเลือด pulmonary artery เป็นแบบ fetal stage คือมี<br />

small lumen with thick muscular layer หลังคลอดจะเปลี่ยนเป็น large lumen<br />

with thin wall ซึ่งท าให้ pulmonary pressure ลดลงในช่วงอายุ 7-10 วัน แต่ใน<br />

เด็กที่เป็น VSD ร่างกายจะพยายามป้องกันไม่ให้เลือดไปปอดมากเกินไปโดย<br />

pulmonary pressure จะลดลงช้ากว่า(4-6 สัปดาห์) เด็กที่เป็น VSD จึงมีอาการ<br />

ในช่วงนี้<br />

45


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

การตรวจหัวใจ เสียงผิดปกติที่ได้ยินขึ ้นอยู่กับขนาดของ defect (ข้อควรคิด:<br />

ความดังของเสียง murmur ไม่ได้บอกความรุนแรงของโรค)<br />

Small VSD เสียง murmur พบได้ตั้งแต่ short systolic murmur grade 1-2/6<br />

จนถึง holosystolic (pansystolic) murmur grade 3-4 ที่ต าแหน่ง left lower<br />

sternal border<br />

Moderate to large VSD พบเป็น holosystolic (pansystolic) murmur ที่<br />

ต าแหน่ง left lower sternal border ดัง grade 2-4 และอาจตรวจพบอาการ<br />

แสดงของ heart failure ร่วมด้วย แต่หาก defect มีขนาดใหญ่มากจน pressure<br />

ใน right ventricle และ left ventricle ต่างกันไม่มาก murmur จะเบาลง หรือหาก<br />

เกิด pulmonary hypertension ปริมาณเลือดที่ผ่าน shunt ลดลง murmur ก็จะ<br />

เบาลง จนหากเกิดเป็น Eisenmenger syndrome จะไม่ได้ยิน murmur<br />

Diagnosis<br />

- Echocardiography ใช้ยืนยันการวินิจฉัยและบอกต าแหน่งของ VSD เพื่อวางแผนการ<br />

รักษา<br />

- Chest radiograph ในผู้ป่วยที่มี large VSD พบ cardiomegaly, increased pulmonary<br />

vascular marking<br />

- Electrocardiography พบ left ventricular hypertrophy หรือ combined left and right<br />

ventricular hypertrophy<br />

Treatment<br />

Small defect มีโอกาสปิดเองได้สูง โดยเฉพาะ muscular defect มักเปิดเองได้<br />

ในช่วง 1-2ปีแรก<br />

Large defect มีโอกาสปิดเองได้น้อย หากมีอาการ heart failure สามารถใช้ยาได้<br />

เช่น Diuretic, digoxin, ACE inhibitor การผ่าตัดพิจารณาในกรณีที่มีเลือดไปปอด<br />

เพิ่มอย่างมีนัยส าคัญ (pulmonary flow : systemic flow ratio มากว่า 2:1) แต่<br />

หากเด็กตัวเล็กมากมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นที่ไม่สามารถทนการรักษาด้วย<br />

46


47<br />

Congenital heart diseases<br />

การฝ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อท า VSD closure ได้ อาจท า palliative surgery<br />

(pulmonary artery banding) เพื่อช่วยลดปริมาณเลือดไปปอด<br />

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้หลังการฝ่าตัด VSD closure ได้แก่ residual<br />

ventricular shunt, right bundle branch block และ complete heart block โดยเฉพาะ<br />

perimembranous defect เนื่องจาก defect อยู่ใกล้ conduction system ซึ่งมีโอกาสถูก<br />

ท าลายขณะผ่าตัดได้<br />

ตั้งแต่ปี ค.ศ.1988 เริ่มมีรายงานการใช้ transcatheter closure เพื่อปิด VSD และ<br />

เป็นรักษา VSD ที่ประสบความส าเร็จ โดยเฉพาะ muscular defect แต่ในส่วน<br />

parimenbranous defect ยังมีข้อจ ากัดเนื่องจากท าได้ยากกว่าต้องอาศัยแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ (device) ที่เหมาะสมนอกจากนั้นยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนหลัง<br />

การรักษา แต่เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่มีข้อดี (less invasive) จึงอาจเป็นตัวเลือกที่ดี<br />

ในการรักษาต่อไป<br />

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดปิด VSD ขนาดใหญ่<br />

1. มี pulmonary blood flow : systemic flow ratioมากว่า 2:1<br />

2. เป็น left-to-right shunt เท่านั้น<br />

3. Pulmonary vascular resistance น้อยกว่า 50% ของ systemic resistance<br />

ข้อห้ามการผ่าตัดปิด VSD<br />

1. Large VSD with<br />

- Bidirectional shunt or reverse shunt<br />

- Pulmonary vascular resistance มากกว่า 75% ของ systemic resistance<br />

2. Small VSD<br />

- ไม่มีอาการ<br />

- pulmonary blood flow: systemic flow น้อยกว่า 1.5:1<br />

- pulmonary artery pressure ปกติ


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Atrioventricular septal defect (AVSD) or atrioventricular canal defect or<br />

endocardial cushion defect<br />

เป็นความผิดปกติของหัวใจที่มีรอยต่อระหว่างสองข้างของ atrium และ ventricle<br />

สัมพันธ์กับความผิดปกติของการเจริญของ endocardial cushion ท าให้เกิด defect ระดับ<br />

atrium (atrial septal defect, primum type) ร่วมกับความผิดปกติของ atrioventricular<br />

valve โดยอาจมีหรือไม่มี ventricular septal defect ร่วมด้วยขึ ้นอยู่กับระดับความรุนแรง<br />

AVSD อาจพบร่วมกับ Down syndrome โดยพบว่า 30-40 % ของผู้ป่วย<br />

complete AVSD เป็น Down syndrome นอกจากนั้นยังอาจสัมพันธ์กับ Heterotaxy<br />

(asplenia or polysplenia syndrome)<br />

Classification แบ่งตามความรุนแรงของ AVSD<br />

Partial AVSD ประกอบด้วย ostium primum ASD และ cleft in mitral valve<br />

leaflet โดย atrioventricular valve เชื่อมกันแต่ยังคงมีสองช่องทางแยกเข้า right<br />

และ left ventricle (2 separate AV orifice) ส่วน interventricular septum ยังคง<br />

ปกติ<br />

Complete AVSD ประกอบด้วย ostium primum ASD, inlet VSD และ common<br />

AV orifice<br />

Pathophysiology<br />

Partial AVSD คล้ายกับที่พบใน ASD primum ความรุนแรงขึ ้นอยู่กับระดับของ<br />

mitral regurgitation ที่พบร่วมด้วย<br />

Complete AVSD เนื่องจากการขาดหายไปของ atrium และ ventricular septum<br />

ท าให้เกิด left-to-right shunt หรืออาจเกิด left ventricle–to-right atrial shunt<br />

ท าให้หัวใจทั้ง 4 ช่องโตขึ ้น การเปลี่ยนแปลงคล้ายกับ large VSD แต่อาจเกิด<br />

อาการเร็วกว่าและรุนแรงกว่า โรคอาจแย่ลงเกิด Eisenmenger ได้เร็ว ในรายที่<br />

รุนแรงมาก เด็กอาจคลอดออกมาโดยมี bidirectional shunt ตั้งแต่แรกคลอด<br />

48


Congenital heart diseases<br />

A<br />

B<br />

รูปที่ 2.5 แสดง pathophysiology of atrioventricular septal defect เกิด volume overload<br />

ในทั้งสองข้างของ atrium และ ventricle (A) และท าให้ pulmonary blood flow เพิ่มขึ้นมาก น าไปสู่<br />

right and left atrial enlargement และ right and left ventricular hypertrophy (B)<br />

49


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Symptoms and Signs<br />

- Partial AVSD ขึ ้นอยู่กับว่ามี mitral regurgitation ร่วมด้วยหรือไม่ หากมีเพียง<br />

เล็กน้อยหรือไม่มี จะไม่มีอาการในช่วงเด็กเล็ก แต่เมื่อเด็กโตขึ ้นหรือช่วงวัยรุ่นจะ<br />

เกิดอาการ เช่น exercise intolerance, fatigue, palpitation แต่ในรายที่มี mitral<br />

regurgitation ระดับกลางหรือรุนแรงอาจเกิดอาการ heart failure ตั้งแต่เป็น<br />

ทารก<br />

อาการแสดงของ partial AVSD คล้ายกับ ASD ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น<br />

แต่หากมี mitral regurgitation ร่วมด้วยจะได้ยิน holosystolic murmur ที่ apex<br />

ด้วย<br />

- Complete AVSD ท าให้เกิดอาการ heart failure ได้ตั้งแต่หนึ่งเดือนแรกหลัง<br />

คลอด (neonate) ผู้ป่วยจะมีการพัฒนาด้านการเจริญเติบโตช้า ตรวจพบ active<br />

precordium เนื่องจาก volume และ pressure overload ใน right ventricle เสียง<br />

หัวใจมีความผิดปกติดังนี้<br />

- Pansystolic murmur, grade 3-4 at left lower sternal border (VSD)<br />

- Pansystolic murmur at apex (mitral regurgitation)<br />

- Midsystolic murmur at left upper sternal border (relative pulmonic<br />

stenosis) with split second heart sound<br />

- Loud second heart sound (หากเกิด pulmonary hypertension ร่วมด้วย)<br />

50


Congenital heart diseases<br />

Diagnosis<br />

Chest radiograph<br />

- Partial AVSD คล้ายกับ ASD<br />

- Complete AVSD พบ generalized cardiomegaly, prominent pulmonary trunk<br />

และ pulmonary vascular marking เพิ่มขึ ้น<br />

Electrocardiography<br />

- Partial AVSD พบ superior axis (ใช้วินิจฉัยแยกโรคจาก ASD ซึ่งพบเป็น right<br />

axis deviation), right bundle branch block, right ventricular hypertrophy และ<br />

first degree AV block<br />

- Complete AVSD พบ superior axis, right bundle branch block, right<br />

ventricular hypertrophy, left ventricular hypertrophy และ first degree AV<br />

block<br />

Echocardiography<br />

ใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและบอกข้อมูลทางกายวิภาคและ hemodynamic ที่<br />

ส าคัญ<br />

Cardiac catheterization<br />

Treatment<br />

มักไม่จ าเป็นต้องท ายกเว้นในกรณีที่ต้องการวัด pulmonary vascular resistance<br />

- ใช้ยาส าหรับ heart failure<br />

- การผ่าตัด (surgical repair)<br />

- Partial AVSD ผ่าตัดปิดได้ในช่วงเด็ก (1-3 ปี)<br />

- Complete AVSD อาจต้องผ่าตัดปิดตั้งแต่วัยทารกที่เกิด heart failure เร็ว<br />

และรุนแรงเพื่อป้องกันการเกิด Eisenmenqer syndrome<br />

51


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

- Transcatheter closureเริ่มมีการศึกษามากขึ ้น แต่ยังมีข้อจ ากัดอยู่มาก<br />

Patent ductus arteriosus (persistent ductus arteriosus, PDA)<br />

Ductus arteriosus (DA) เป็นส่วนที่จ าเป็นต่อ fetal circulation ปกติหลังคลอดจะ<br />

ปิดทันที ส่วนใหญ่จะปิด (functional closure) ภายใน 10-15 ชั่วโมงหลังคลอด ductus<br />

arteriosus เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะพิเศษ คือมีชั้น muscular large ที่หนาซึ่งเจริญอย่าง<br />

รวดเร็วในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์<br />

ต าแหน่งปกติของ DA ออกจากด้าน posterosuperior ของรอยต่อระหว่าง<br />

pulmonary trunk กับ left pulmonary artery ไปต่อเข้าที่ด้าน medial ของ aorta ตรงข้าม<br />

กับ left subclavian artery<br />

ดังที่กล่าวแล้วในบทที่ 1 ว่าการปิดของ DA อาศัยระดับออกซิเจนในเลือดที่เพิ่ม<br />

ขึ ้นกับปริมาณ prostaglandin ที่ลดลง รวมทั้งโครงสร้างของ DA ที่เจริญได้ดีพอที่จะ<br />

ตอบสนองต่อกลไกการปิด พบว่าปัจจัยหรือสาเหตุหลายอย่างที่สัมพันธ์กับการปิดของ<br />

DA ได้แก่<br />

- Prematurity ทารกคลอดก่อนก าหนดมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิด PDA โดย<br />

พบว่า อายุครรภ์น้อย น้ าหนักแรกคลอดน้อย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ ้น หากน้ าหนักแรก<br />

คลอดน้อยกว่า 1,750 กรัม จะพบ PDA ได้ 45% แต่หากน้ าหนักแรกคลอดน้อยกว่า<br />

1,200 กรัม จะพบ PDA ได้ถึง 80%<br />

- Hypoxia ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับทารกคลอดก่อนก าหนด ซึ่งมักเกิดภาวะ respiratory<br />

distress syndrome<br />

- Chromosome abnormality เช่น trisomy 13, trisomy 18<br />

- Congenital rubella infection มักพบร่วมกับ peripheral pulmonary artery stenosis<br />

- พื้นที่สูงกว่าระดับน้ าทะเลมาก (high altitude) เนื่องจากอากาศมีปริมาณออกซิเจน<br />

บางเบา พบอุบัติการณ์ของ PDA เพิ่มขึ ้น<br />

52


Congenital heart diseases<br />

Pathophysiology<br />

อาการจะขึ ้นอยู่กับขนาด ส าหรับ PDA ขนาดเล็กมักไม่ก่อผลเสียต่อระบบ<br />

ไหลเวียนโลหิตแต่หากมีขนาดใหญ่จะส่งผลให้เกิด left-to-right shunt ท าให้เกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงคล้ายกับที่พบใน large VSD คือ เกิด heart failure พบมีเลือดไปปอดมาก<br />

เกิด left atrial enlargement, left ventricular hypertrophy และ enlarged aorta เมื่อเวลา<br />

ผ่านไปอาจเกิด pulmonary hypertension (Eisenmenger syndrome)<br />

A<br />

B<br />

รูปที่ 2.6 แสดง pathophysiology of patent ductus arteriosus เกิด volume overload ใน left<br />

atrium และ left ventricle (A) และท าให้ pulmonary blood flow เพิ่มขึ้น น าไปสู่ left atrial<br />

enlargement และ left ventricular hypertrophy(B) ปริมาณเลือดที่ไหลผ่าน aorta เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย<br />

เลือดที่ต้องไหลออกไป PDA ท าให้ ascending aorta โตขึ้น ( )<br />

53


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Symptoms and Signs<br />

อาการและอาการแสดงของเด็กที่เป็น PDA แตกต่างกันตามขนาดของ defect<br />

และอายุครรภ์ขณะคลอด<br />

<br />

ทารกหรือเด็กที่มี small PDA มักไม่มีอาการ<br />

ทารกที่มี PDA ขนาดใหญ่ จะมีอาการของ heart failure ซึ่งมักพบในช่วง 4-6<br />

สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากเป็นช่วงที่ pulmonary vascular resistance ลดลงเกิด leftto-right<br />

shunt และ pulmonary blood flow เพิ่มขึ ้นมาก<br />

ทารกคลอดก่อนก าหนด มักพบภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับ prematurity ร่วม<br />

ด้วย ได้แก่ respiratory distress, apnea, necrotizing enterocolitis, intraventricular<br />

hemorrhage<br />

อาการแสดง<br />

ทารกหรือเด็กที่มี small PDA ตรวจพบลักษณะของชีพจรปกติ ฟังหัวใจพบ<br />

continuous murmur grade 1-3 ที่ต าแหน่ง left upper sternal border<br />

ทารกคลอดครบก าหนดที่มี large PDA ตรวจพบลักษณะของชีพจรแบบ<br />

bounding pulse เนื่องจาก pulse pressure กว้าง ฟังหัวใจพบ continuous murmur,<br />

grade 1-4 ที่ต าแหน่ง left upper sternal border<br />

ทารก คลอด ก่อนก าหนด ตรวจพบ bounding pulse แ ละ hyperactive<br />

precordium เสียง murmur แตกต่างกันขึ ้นอยู่กับระดับ pulmonary artery pressure หาก<br />

pulmonary artery pressure ยังสูงอาจไม่ได้ยิน murmur หรือได้เป็น systolic murmur แต่<br />

ถ้า pulmonary artery pressure ลดลงแล้ว จะได้ยินเป็น continuous murmur<br />

Diagnosis<br />

- Electrocardiography คล้ายกับที่พบใน VSD<br />

- Chest radiograph คล้ายกับที่พบใน VSD ร่วมกับเห็น enlarged ascending aorta<br />

- Echocardiography ใช้ยืนยันการวินิจฉัยและหาความผิดปกติร่วม<br />

54


Congenital heart diseases<br />

- Cardiac catheterization มักไม่จ าเป็นต้องท า ยกเว้นเพื่อการรักษา โดยใช้<br />

transcatheter closure<br />

การรักษา<br />

- Prostaglandin synthesis inhibitor (เช่น indomethacin, ibuprofen) ใช้ได้ผลเฉพาะ<br />

ในทารกคลอดก่อนก าหนด<br />

- การผ่าตัด (ligation or division)<br />

- Transcatheter closure<br />

55


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ตาราง 2.4 Summary of congenital heart disease (left-to-right-shunt)<br />

Onset<br />

of HF<br />

Physical<br />

exam.<br />

VSD PDA ASD AVSD<br />

4-6 wk 4-6 wk 2 nd decade neonate<br />

PSM at LLSB<br />

Continuous<br />

murmur at<br />

LUSB<br />

-SEM at LUSB<br />

-Fixed split S2<br />

-PSM at LLSB<br />

(VSD)<br />

-PSM at apex(MR)<br />

-SEM at<br />

LUSB(ASD)<br />

bonding<br />

pulse<br />

absent present absent absent<br />

EKG LAE,LVH,CVH LAE,LVH,<br />

CVH<br />

CXR<br />

Cardiomegaly<br />

LAE<br />

LVH/CVH<br />

prominent PT<br />

Cardiomegaly<br />

LAE<br />

LVH/CVH<br />

large aorta<br />

RAD,RBBB,RVH<br />

Cardiomegaly<br />

RAE,RVH<br />

Superior axis<br />

CVH,CAE<br />

Cardiomegaly<br />

CAE/CVH<br />

prominent PT<br />

ASD, atrial septal defect; AVSD, atrioventricular septal defect; CAE, combined atrial<br />

enlargement; CVH, combined ventricular hypertrophy; HF, heart failure; LAE, left atrial<br />

enlargement; LVH, left ventricular hypertrophy; LLSB, left lower sternal border; LUSB, left<br />

upper sternal border; MR, mitral regurgitation; PDA, patent ductus arteriosus; PSM, pansystolic<br />

murmur; PT, pulmonary trunk; RAD, right axis deviation; RAE, right atrial enlargement; RBBB,<br />

right bundle branch block; RVH, right ventricular hypertrophy; SEM, systolic ejection murmur;<br />

VSD, ventricular septal dfect<br />

56


Congenital heart diseases<br />

Congenital heart diseases with right-to-left shunt<br />

(cyanotic)<br />

จะกล่าวรายละเอียดเรียงตามล าดับดังนี้<br />

1. Tetralogy of Fallot<br />

2. Transposition of great arteries<br />

3. Tricuspid atresia<br />

4. Truncus arteriosus<br />

5. Total anomalous of pulmonary venous return<br />

Tetralogy of Fallot (TOF)<br />

เป็น cyanotic congenital heart disease ที่พบบ่อยที่สุด ประกอบด้วย 4<br />

องค์ประกอบ ได้แก่<br />

1. Right ventricular outflow tract (RVOT) obstruction ส่วนใหญ่มักเป็น<br />

subpulmonic หรือ infundibular stenosis และอาจพบร่วมกับ pulmonary valvular<br />

stenosis<br />

2. Ventricular septal defect มักมีขนาดใหญ่<br />

3. Overriding aorta คร่อมเหนือ VSD<br />

4. Right ventricular hypertrophy<br />

ทั้ง 4 องค์ประกอบดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องมาจากความผิดปกติในการแบ่งช่อง<br />

ทางออกของหัวใจในช่วง embryo คือ เกิด anterosuperior displacement of infundibular<br />

septum<br />

TOF อาจพบร่วมกับ ความผิดปกติอื่น ได้แก่<br />

- right-sided aortic arch (พบ 25%)<br />

57


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

- abnormal coronary artery anatomy (พบ 5%)<br />

- stenosis of pulmonary artery braches<br />

- aortopulmonary collateral vessel<br />

- patent ductus arteriosus<br />

- muscular ventricular septal defect<br />

- aortic valve regurgitation<br />

Pathophysiology<br />

ความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตใน TOF สัมพันธ์กับความรุนแรงของ right<br />

ventricular outflow tract obstruction<br />

• Mild obstruction ช่วงวัยขวบปีแรกจะเกิดเพียง left-to-right shunt ผ่าน VSD<br />

ที่ใหญ่ โดยไม่พบ cyanosis (อาจเรียกว่า pink tetralogy) แต่จะเกิด cyanosis ภายหลัง<br />

ในช่วงอายุ 1-3 ปี<br />

• Moderate obstruction เกิด right-to-left shunt ผ่าน VSD ท าให้เลือดที่ออกไป<br />

เลี้ยงร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ าลง เกิด cyanosis มักสังเกตได้ในช่วง 6-8 เดือนหลัง<br />

คลอด ในช่วงที่ infundibular stenosis รุนแรงขึ ้น แต่เด็กกลุ่มนี้จะฟังเสียง murmur ได้<br />

ตั้งแต่วันแรกหลังคลอดถึงแม้ยังไม่มีอาการ ต่างจาก isolated VSD ที่จะได้ยินเสียง<br />

murmur ช้ากว่า (4-6 สัปดาห์หลังคลอด)<br />

• Severe obstruction (พบได้น้อย) เด็กจะมีอาการทันทีหลังคลอด เนื่องจาก<br />

เลือดผ่าน pulmonary artery ได้น้อยมากจึงต้องอาศัยเลือดจาก ductus arteriosus (อาจ<br />

ต้องให้ prostaglandin E เพื่อให้ ductus คงเปิดอยู่)<br />

58


Congenital heart diseases<br />

รูปที่ 2.7 แสดง pathophysiology of Tetralogy of Fallot เนื ่องจาก right ventricular outflow<br />

tract obstruction ท าให้ deoxygenated blood จาก right ventricle ไหลผ่าน ventricular septal<br />

defect ออกทาง overriding aorta เลือดที่ออกจากหัวใจจึงมีปริมาณออกซิเจนลดลงท าให้เกิด<br />

cyanosis<br />

Symptoms and signs<br />

อาการและอาการแสดงขึ ้นอยู่กับความรุนแรงของ RVOT obstruction เด็กจะเขียว<br />

โตช้า และมีภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับ cyanosis เช่น clubbing fingers and toes,<br />

polycythemia, coagulopathy, stroke, brain abscess และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด<br />

infective endocarditis<br />

นอกจากนั้น เด็กที่เป็น TOF ยังมีโอกาสเกิด hypoxic spells มักพบในช่วงอายุ<br />

หลายเดือนถึง 2 ปี โดยอาจเกิดก่อนอาการ cyanosis (จะกล่าวภายหลัง)<br />

การตรวจหัวใจพบ systolic ejection murmur, grade 3-5 ที่ left mid and upper<br />

sternal border (เกิดจาก pulmonary stenosis) ส่วน VSD จะไม่ได้ยิน murmur เนื่องจาก<br />

มีขนาดใหญ่จน pressure ใน RV และ LV ไม่แตกต่างกันมาก เสียงหัวใจ (S2) จะได้ยิน<br />

59


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

เป็นเสียงเดียว เนื่องจากเสียงที่เกิดจาก pulmonary valve (P2) เบาลงมากจึงได้ยินเพียง<br />

เสียงเดียวจากการปิดของ aortic valve (A2)<br />

Hypoxic spells หรือ Tet spells<br />

พบบ่อยในเด็กหรือทารกที่เป็น TOF พบมากในช่วงอายุ 2-4 เดือน สาเหตุยังไม่<br />

พบแน่ชัด แต่คาดว่าสัมพันธ์กับ RVOT obstruction ที่เพิ่มขึ ้นร่วมกับมี systemic vascular<br />

resistance ลดลง<br />

สิ่งกระตุ้นที่ท าให้เกิด Tet spells ได้แก่<br />

- Slightly decrease oxygen saturation (crying, defecating)<br />

- Suddenly decreased systemic vascular resistance (playing, kicking leg)<br />

- Sudden onset of tachycardia, hypovolemia<br />

สิ่งกระตุ้นดังที่กล่าวมา ท าให้เกิด right-to-left shunt เพิ่มขึ ้น pulmonary blood<br />

flow ลดลงและ systemic flowเพิ่มขึ ้น แต่ปริมาณเลือดที่ไป systemic จะมีระดับ<br />

ออกซิเจนต่ าลง<br />

สิ่งที่ตรวจพบขณะเกิด Tet spells ได้แก่<br />

Diagnosis<br />

- Paroxysmal hyperpnea เด็กจะหายใจแรงและเร็ว<br />

- Increasing cyanosis<br />

- Decreasing intensity of murmur<br />

- อาจมีอาการของ brain hypoxia เช่น weak, conscious change, convulsion<br />

- Echocardiography เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และ ความผิดปกติอื่นที่อาจพบร่วม<br />

- Chest radiograph หัวใจลักษณะเป็น boot-shape เนื่องจาก right ventricular<br />

hypertrophy ดันให้ส่วน apex ยกขึ ้น มักไม่พบ cardiomegaly และ pulmonary<br />

vasculature ลดลง<br />

60


Congenital heart diseases<br />

- Electrocardiography พบ right axis deviation และ right ventricular<br />

hypertrophy<br />

การรักษา<br />

- การผ่าตัด (total correction ประกอบด้วยการปิด VSD และซ่อมแซม right<br />

ventricular outflow tract)<br />

- การป้องกัน bacterial endocarditis<br />

Transposition of great arteries (TGA)<br />

เป็นความผิดปกติของการเชื่อมต่อระหว่าง ventricle and outflow tract<br />

(ventriculoarterial discordant) โดย aorta ออกจาก right ventricle และ pulmonary<br />

artery ออกจาก left ventricle ก่อให้เกิดสองระบบเลือดได้แก่ system และ pulmonary<br />

system ที่แยกจากกัน ซึ่งท าให้ทารกไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้จึงต้องมีช่องทางท าให้ระบบ<br />

เลือดทั้งสองระบบเชื่อมกัน ดังนั้น TGA จึงมักพบร่วมกับ intracardiac หรือ intracardiac<br />

shunt ได้แก่<br />

- VSD พบได้ 20-40% ของ TGA เป็น shunt ที่ไม่มีแนวโน้มที่จะปิดเอง (stable<br />

shunt)<br />

- ASD หรือ PDA พบได้ 65% เป็น shunt ที่มีความเสี่ยงที่จะปิดเอง (unstable<br />

shunt) ซึ่งหากปิดลงในกรณีที่ไม่มี VSD ร่วมด้วยจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างมาก จึงมี<br />

แนวทางการรักษาเพื่อเปิด shunt เหล่านี้ไว้ (จะกล่าวภายหลัง)<br />

นอกจากนี้ TGA ยังพบร่วมกับความผิดปกติอื่น โดยเฉพาะ coronary arteries จะ<br />

ออกจาก aortic root ซึ่งรับเลือดจาก right ventricle ซึ่งเป็นเลือดด ามีประมาณออกซิเจน<br />

ต่ า จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิด myocardial ischemia และ7% พบว่ามี pulmonary stenosis<br />

ร่วมด้วย<br />

61


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 2.8 แสดง transposition of great arteries โดย aorta(AO) น า deoxygenated blood ออก<br />

จาก right ventricle แล้วกลับเข้าหัวใจทาง systemic veins และ pulmonary artery (PA) น า<br />

oxygenated blood ออกจาก left ventricle ไปปอดแล้วกลับเข้าหัวใจทาง pulmonary veins<br />

รูปที่ 2.9 แสดง transposition of great arteries โดย aorta(AO) ออกจาก right ventricle และ<br />

pulmonary artery (PA) ออกจาก left ventricle<br />

62


Congenital heart diseases<br />

Symptoms and signs<br />

TGA ก่อให้เกิดอาการทันทีหลังคลอด โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่พบ VSD ร่วมด้วย จะ<br />

เกิดภาวะ cyanosis ได้ทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด รวมทั้งเกิดภาวะ metabolic<br />

acidosis เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ (poor tissue oxygenation)<br />

เนื่องจาก TGA พบร่วมกับ shunt ซึ่งท าให้เลือดไปปอดเพิ่มขึ ้นอย่างมาก จึงเกิดอาการ<br />

และอาการแสดงของ heart failure ร่วมด้วย ซึ่งมักพบในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด<br />

(เป็นช่วงที่ pulmonary vascular resistance ลดลง)<br />

การตรวจร่างกายพบ central cyanosis และ อาการแสดงของ heart failure เสียง<br />

heart murmur ขึ ้นอยู่กับ associate heart defect<br />

Diagnosis<br />

- Echocardiography ให้ยืนยันการวินิจฉัยและตรวจ associate heart defect<br />

- Chest radiograph พบ cardiomegaly และ pulmonary vascular marking<br />

เพิ่มขึ ้น ภาพที่เห็นมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า egg-on-a-string appearance เนื่องจาก<br />

หัวใจโต (egg) ถูกแขวนโดย mediastinum ที่แคบเพราะเงาของ great arteries ซ้อนกัน<br />

(string)<br />

- Electrocardiography พบ right ventricular hypertrophy หรือ combined<br />

ventricular hypertrophy (ในกรณีที่พบ VSD หรือ pulmonary stenosis ร่วมด้วย)<br />

Treatment<br />

- Palliative atrial septostomy เมื่อเปิด ASD หรือให้ prostagland E1 เพื่อเปิด<br />

ductus arteriosus ในกรณีที่ไม่พบ VSD ร่วมด้วย<br />

- Definite surgical repair ท า arterial switch operation และแก้ไข associate<br />

heart defect รวมทั้ง ต าแหน่งของรูเปิด coronary arteries<br />

63


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Tricuspid atresia<br />

เป็นภาวะที่มี complete occlusion of tricuspid orifice หรือ absence of tricuspid<br />

valve เป็นผลเนื่องมากจากความผิดปกติช่วงการเจริญของหัวใจ ช่วงที่มีการแบ่ง AV<br />

canal ไม่เท่ากัน และพบร่วมกับ right ventricle ที่มีขนาดเล็กมาก (hypoplasia of right<br />

ventricle) การไหลเวียนของเลือดระดับ atrium ผ่าน interatrial septum ทาง ASD หรือ<br />

patent foramen ovale<br />

เลือดจาก left atrium เข้าสู่ left ventricle และเข้าสู่ right ventricle ผ่านทาง VSD<br />

และออกจากหัวใจ ทาง pulmonary artery ซึ่งมักมีขนาดเล็ก เช่นกัน<br />

อาการเขียว cyanosis จะพบทันทีหลังคลอด และเนื่องจากความผิดปกติของ<br />

หัวใจค่อนข้างซับซ้อน และผ่าตัดแก้ไขได้ยาก จึงมีอัตราการตายตั้งแต่สัปดาห์หรือเดือน<br />

แรกหลังคลอดค่อนข้างสูง<br />

A<br />

B<br />

รูปที่ 2.10 แสดง tricuspid atresia A, มี ventricular septal defect ร่วมด้วย oxygenated and<br />

deoxygenated blood ที่รวมกันใน left atrium ไหลผ่าน mitral valve เข้าสู่ left ventricle และ right<br />

ventricle ได้รับเลือดผ่านทาง ventricular septal defect; B, ไม่มี ventricular septal defect ร่วมด้วย<br />

ปอดได้รับเลือดผ่านทาง patent ductus arteriosus<br />

64


Truncus arteriosus or Persistent truncus arteriosus<br />

Congenital heart diseases<br />

เป็นภาวะที่หัวใจมีทางออกเพียงทางเดียว (single outlet) โดยออกจากหัวใจทั้ง<br />

ทางด้าน right และ left ventricle เนื่องจาก failure of separation of embryonic truncus<br />

arteriosus<br />

Truncus arteriosus ช่องเดียวนี้ จะถูกแยกไปเลี้ยงทั้ง systemic artery,<br />

pulmonary artery และ coronary artery ที่ฐานของ truncus arteriosus จะพบลิ้นหัวใจ<br />

(semilunar valves) 2 ถึง 5 ลิ้น และเปิดคร่อมบน perimembranous ventricular septal<br />

defect เลือดแดงและด าปนกันในระดับนี้แล้วออกสู่ทั้งสามระบบดังที่ได้กล่าวไป<br />

อาการแสดงประกอบด้วย cyanosis และ heart failure ซึ่งเกิดขึ ้นได้เร็วตั้งแต่<br />

สัปดาห์แรกหลังคลอด เสียงหัวใจได้ยิน murmur ที่เกิดจาก VSD และได้ยิน single S2<br />

EKG พบ combined ventricular hypertrophy<br />

CXR พบ cardiomegaly และ pulmonary vascular marking เพิ่มขึ ้น<br />

รูปที่ 2.11 แสดง Truncus arteriosus เป็นทางออกจากหัวใจเพียงทางเดียวแล้วแยกเป็น<br />

pulmonary artery และ aorta<br />

65


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

A<br />

B<br />

รูปที่ 2.12 A: แสดง Right pulmonary artery (RPA) แยกจาก truncus arteriosus (TA) ซึ่งเป็น<br />

ทางออกจากหัวใจเพียงทางเดียว, B; แสดง VSD ที่อยู่ใต้ truncus arteriosus (probe)<br />

Total anomalous pulmonary venous return (TAPVR)<br />

เป็นความผิดปกติของการเชื่อมต่อระหว่าง pulmonary vein กับ left atrium โดย<br />

pulmonary vein ทุกเส้นรวมกันเป็น common pulmonary vein แล้วย้อน กลับเข้าสู่<br />

systemic vein และ right atrium ตามล าดับ<br />

Classification TAPVR แบ่งตามต าแหน่งที่ common pulmonary vein เชื่อมกับ<br />

systemic vein<br />

1. Supracardiac type โดย common pulmonary vein ต่อเชื่อมกับ anomalous<br />

vertical vein ซึ่งเข้าสู่ innominate vein, superior vena cava และ right atrium<br />

ตามล าดับ<br />

2. Cardiac type โดย common pulmonary vein ต่อเชื่อมโดยตรงเข้า right<br />

atrium ตรงต าแหน่ง coronary sinus<br />

3. Infracardiac type โดย common pulmonary vein จะทอดลงล่างเข้าเชื่อม<br />

กับ portal vein, hepatic vein หรือ ductus venosus ส่วนน้อยมากที่จะต่อเข้ากับ inferior<br />

vena cava<br />

TAPVR สองประเภทแรกอาจเรียกรวมกันเป็น supradiaphragmatic type ในขณะ<br />

ที่ประเภท 3 เรียกว่า infradiaphragmatic type<br />

66


Congenital heart diseases<br />

เลือดทั้งจาก systemic vein และ pulmonary ซึ่งเข้ารวมกันที่ right atrium<br />

ต าแหน่งเดียวจะไหลผ่านเข้าสู่ left atrium ที่มีขนาดเล็กผ่านทาง atrial septal defect<br />

หรือ persistent foramen ovale<br />

A<br />

B<br />

C<br />

รูปที่ 2.13 แสดง total anomalous pulmonary venous return A, supracardiac type; B,<br />

cardiac type; C, infracardiac type<br />

67


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

อาการและอาการแสดงของ TAPVR พบ cyanosis ร่วมกับ heart failure โดยชนิด<br />

supradiaphragmatic มักมีอาการในช่วงเดือนแรกหลังคลอด แต่หากเป็นชนิด<br />

infradiaphragmatic มักพบร่วมกับการอุดตัน ซึ่งท าให้ทารกมีอาการ cyanosis และ<br />

heart failure เร็ว และรุนแรงกว่า<br />

Chest radiograph ที่เป็นลักษณะเฉพาะ พบได้ใน supracardiac type โดยเห็นเป็น<br />

snowman appearance<br />

รูปที่ 2.14 TAPVR, infradiaphragmatic type แสดง pulmonary vein ทั้ง 4 เส้น (หัวลูกศร)<br />

รวมกันเป็น common pulmonary vein (ลูกศร) เข้าสู่ portal vein<br />

68


Congenital heart diseases<br />

Congenital heart diseases with obstructive lesion<br />

(acyanotic with normal or decreased pulmonary blood flow)<br />

จะกล่าวรายละเอียดเรียงตามล าดับดังนี้<br />

1. Coarctation of aorta<br />

2. Pulmonary stenosis and atresia<br />

3. Aortic stenosis and atresia<br />

Coarctation of aorta<br />

คือ การตีบ หรือ แคบ (constriction or narrowing) ของ aorta มักพบบริเวณส่วน<br />

ปลายของ aortic arch และส่วนต้นของ thoracic aorta โดยพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง<br />

2-3 เท่า ในผู้หญิงมักสัมพันธ์กับ Turner syndrome<br />

Classification<br />

1. Infantile form เป็น tubular hypoplasia ส่วน aortic arch ต าแหน่งก่อน patent<br />

ductus arteriosus<br />

2. Adult form เป็นแผ่นยื่นเข้ามาในผนัง ต าแหน่งตรงข้ามกับ ductus arteriosus<br />

ที่ปิดแล้ว (ligamentum arteriosum)<br />

Coarctation of aorta มักพบร่วมกับ ความผิดปกติอื่นได้แก่ bicuspid aortic<br />

valve, ASD, VSD, mitral requrgitation และ berry aneurysm of circle of Willis ในสมอง<br />

Pathophysiology and clinical manifestration<br />

1. Infantile form ก่อให้เกิด pressure overload แก่ left ventricle ท าให้เกิด left<br />

ventricular hypertrophy และเกิด hypertension ส่วนบนของร่างกายรวมทั้งสมอง<br />

ในขณะที่ร่างกายส่วนล่างจะได้รับเลือดด าผ่าน PDA<br />

69


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ลักษณะทางคลินิกขึ ้นอยู่กับความรุนแรงของการตีบ หากรุนแรงจะท าให้มีอาการ<br />

ตั้งแต่แรกคลอด ร่างกายส่วนล่างรวมทั้งอวัยวะภายใน ท าให้เกิด cyanosis, ischemia of<br />

abdominal organs, renal insufficiency<br />

2. Adult form มักมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและเรื้อรังกว่า โดยท าให้เกิดอาการ<br />

ในช่วงเด็กโตหรือผู้ใหญ่ โดยเกิด hypertension ที่ร่างกายส่วนบน ร่างกายส่วนล่างจะมี<br />

อาการของการขาดเลือด เช่น claudication คล าชีพจรที่ขาจะเบากว่าที่แขน<br />

เนื่องจากการอุดตันที่เรื้อรังจะมีการใช้ Collateral arteries ช่วยล าเลียงผ่านไปยัง<br />

ร่างกายส่วนล่างท าให้เส้นเลือดเหล่านั้นใหญ่ขึ ้นกว่าปกติ เช่น internal mammary<br />

artery, intercostal artery อาจโตจนไปกดกระดูกข้างเคียง เช่น กระดูกซี่โครงเห็นเป็น<br />

ร่อง (rib notching) ซึ่งเห็นได้ที่ขอบล่างของกระดูกซี่โครงจากการดูเอกซเรย์<br />

การตรวจร่างกายพบความแตกต่างระหว่างความแรงของชีพจร และระดับความ<br />

ดันเลือด ซึ่งปกติความดันเลือดที่ขาจะมากกว่าที่แขน ประมาณ 10-20 mmHg แต่หาก<br />

วัดความดันที่ขาได้น้อยกว่าที่แขนตั้งแต่ 10 mmHg ขึ ้นไป แสดงถึง coarctation of aorta<br />

การฟังจะได้ยิน systolic murmur และอาจคล าได้ thrill<br />

Pulmonary stenosis and atresia<br />

ความผิดปกติของ pulmonary valve มีความรุนแรงแตกต่างกัน ตามระดับความ<br />

ตีบของลิ้นหัวใจ อาจพบเป็นความผิดปกติเดียวหรือพบร่วมกับความผิดปกติอื่น เช่น<br />

TOF, TGA<br />

ในกรณีที่เป็นรุนแรง pulmonary atresia มักพบร่วมกับ intracardiac shunt (ASD<br />

หรือ VSD) หรือ extracardiac shunt (PDA) เพื่อให้ยังพอมีเลือดไปปอด<br />

70


Congenital heart diseases<br />

รูปที่ 2.15 แสดง pulmonary atresia ขนาดของ pulmonary artery (PA) มีขนาดเล็กกว่า aorta<br />

ชัดเจน (PDA, patent ductus arteriosus; LPA, left pulmonary artery)<br />

Aortic stenosis and atresia<br />

ความผิดปกติของ aortic แบ่งเป็น 3 ต าแหน่งของการตีบได้แก่ valvular,<br />

subvalvular และ supravalvular<br />

Valvular aortic stenosis อาจมีความผิดปกติของแผ่นลิ้นหัวใจร่วมด้วยโดยอาจมี<br />

ขนาดเล็ก (hypoplastic) หนาขึ ้นเป็น nodular (dysplastic) หรือจ านวนผิดปกติ หาก<br />

aortic valve ตีบมากหรือตัน ร่วมกับ hypoplasia of left ventricular outflow tract และ<br />

ascending aorta ท าให้ปริมาณเลือดที่ออกจาก left ventricle สู่ ascending aorta มี<br />

ปริมาณน้อยมากหรือไม่มีเลย จ าเป็นต้องอาศัยเลือดย้อนกลับจาก ductus arteriosus<br />

เพื่อเลี้ยงศีรษะและแขน ตลอดจน coronary artery ภาวะดังกล่าวนี้เรียกว่า hypoplastic<br />

left heart syndrome ซึ่งอัตราการตายสูงมากตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่หาก<br />

aortic stenosis ตีบไม่มากอาการจะไม่รุนแรง<br />

71


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 2.16 Hypoplastic left heart syndrome ขนาด left ventricle และ aorta เล็กมากและต้อง<br />

ใช้ shunt (patent foramen ovale and patent ductus arteriosus)<br />

รูปที่ 2.17 Hypoplastic left heart syndrome ขนาดของ ascending aorta (AO) ตลอดถึง aortic<br />

arch มีขนาดเล็กกว่า pulmonary artery (PA) ชัดเจน<br />

72


Congenital heart diseases<br />

Subvalvular aortic stenosis<br />

พบได้ 3 ชนิด<br />

1. Dynamic type พบใน hypertrophic cardiomyopathy<br />

2. Fixed or discrete type เป็นแผ่นพังผืดหนายื่นจาก aortic valve ไปที่ mitral<br />

valve<br />

3. Tunnel type เป็นช่อง (fibromuscular tunnel) อยู่ระหว่าง aortic valve และ<br />

mitral valve<br />

Subaortic stenosis มัก ตรวจพบ systololic murmur และท าให้เกิด pressure<br />

hypertrophy of left ventricle<br />

Supravalvular aortic stenosis<br />

พบสัมพันธ์กับ Williams syndrome (หรือ Williams-Beuren syndrome) ซึ่งเป็น<br />

sporadic disorder หรือเป็น familial (autosomal dominant transmission) สัมพันธ์กับ<br />

deletion of elastin gene ซึ่งอยู่บน chromosome 7 q 11.23<br />

Mutation of elastin gene น่าจะสัมพันธ์กับ supravalvular aortic stenosis โดย<br />

การขัดขวาง elastin-smooth muscle cell interaction ในช่วงการสร้างเส้นเลือด<br />

Williams syndrome พบได้ 1 ต่อ 20,000 ถึง 1 ต่อ 50,000 ของการเกิดมีชีพ<br />

อาการที่พบได้แก่<br />

- Hypercalcemia in infancy<br />

- ความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า (elfin facies – หน้าคล้ายเอล์ฟ)<br />

- Growth retardation<br />

- Clinodactyly (การเฉียงไปด้านข้างของนิ้วมือ)<br />

- Pectus excavatum<br />

- Aortic and pulmonic stenosis<br />

- ASD or VSD<br />

73


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Eisenmenger syndrome (Pulmonary vascular obstructive disease,<br />

PVOD)<br />

เป็นภาวะแทรกซ้อน (most advanced form) ของ congenital heart disease ที่<br />

เกิด pulmonary arterial hypertension ซึ่งเมื่อเกิดขึ ้นแล้วผู้ป่วยจะมีอาการและ<br />

ภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง หรือมีชีวิตอยู่อย่างคุณภาพชีวิตแย่ เช่น<br />

cyanosis, dyspnea, fatigue, arrhythmia<br />

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน อุบัติการณ์ของ Eisenmenger syndrome จะลดลงอย่างมาก<br />

(มากกว่าร้อยละ 50) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าในการรักษา congenital heart<br />

disease แต่เนื่องจากเป็นภาวะที่รุนแรง การรักษาท าได้เพียงการรักษาตามอาการ การ<br />

ผ่าตัดท าได้เพียงการปลูกถ่ายปอดหรือหัวใจและปอด ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อนและ<br />

อันตรายมาก จึงยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส าคัญที่จะศึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป แต่<br />

ที่ส าคัญ คือการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะนี้<br />

Congenital heart diseases ที่หากไม่ท าการรักษาแล้วมีความเสี่ยงต่อการเกิด<br />

Eisenmenger syndrome ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม left-to-right shunt โดยพบว่าประมาณ<br />

50% ของ unrepaired VSD, 10% ของ unrepaired ASD, 10% ของ unrepaired PDA<br />

และส่วนใหญ่ของ unrepaired truncus arteriosus มีโอกาสเกิดเป็น Eisenmenger<br />

syndrome<br />

ตัวอย่างของ Congenital heart disease ที่เป็นสาเหตุของ Eisenmenger<br />

syndrome ได้แก่<br />

• Isolated lesion without pulmonary outflow tract obstruction<br />

- Atrial septal defect<br />

- Ventricular septal defect<br />

- Patent ductus arteriosus<br />

- Partial anomalous pulmonary venous return<br />

74


Congenital heart diseases<br />

• Complex lesion without pulmonary outflow tract obstruction<br />

- Atrioventricular septal defect<br />

- Transposition of great arteries<br />

- Truncus arteriosus<br />

• Aortopulmonary connection<br />

- Aortopulmonary window<br />

- Pulmonary atresia with aortopulmonary collateral vessel<br />

• Complex lesion with previous palliative shunt (เช่น Blalock-Taussig<br />

shunt)<br />

Pathogenesis<br />

Congenital heart disease ก่อให้เกิด volume overload และ/หรือ pressure<br />

overload แก่ pulmonary artery ซึ่งเป็นระบบเส้นเลือดที่ปกติมี low-pressure, lowresistance<br />

ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร (irreversible change) ใน muscular<br />

pulmonary arteries ขน าด เล็ ก (ขน าด เล็ กก ว่า 1 mm) โด ยเริ่ มแ รก จะเกิ ด<br />

vasoconstriction และ medial hypertrophy เพื่อรักษา pressure ใน capillary และ<br />

venous system ในปอดไม่ให้สูงจนเกิด pulmonary edema แต่หากการเปลี่ยนแปลง<br />

ดังกล่าวยาวนานมากจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรจะท าให้ pulmonary vascular<br />

resistance เพิ่มขึ ้นจนมากกว่า systemic resistance ทิศทางของ shunt เปลี่ยนเป็น<br />

right-to-left ในที่สุด<br />

ภาวะแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับ Eisenmenger syndrome<br />

Secondary erythrocytosis (polycythemia) เนื่องจากภาวะ hypoxemia ที่<br />

ยาวนาน ร่างกายจึงตอบสนองด้วยการสร้าง erythropoietin เพิ่มขึ ้น ซึ่งท าให้ปริมาณ<br />

เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ ้น เพื่อให้น าออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อได้ดีขึ้น ปริมาณเม็ดเลือดอาจเพิ่ม<br />

จน hemoglobin มากกว่า 20 g/dL และ hematocrit มากกว่า 65% ด้วยปริมาณเม็ด<br />

75


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

เลือดแดงที่สูงก่อให้เกิดอาการจากเลือดข้น (hyperviscosity) ได้แก่ ปวดศรีษะ สมาธิเสีย<br />

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเหนื่อยล้า<br />

Anemia จากภาวะที่มี erythrocytosis อย่างมากหรือเกิดเลือดออกง่าย อาจท า<br />

ให้ขาดธาตุเหล็กน าไปสู่ iron deficiency anemia<br />

Hemostasis เกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดมีได้หลายรูปแบบ<br />

- เลือดแข็งตัวง่ายจากภาวะ hyperviscosity เกิดเป็น thrombus หรือ<br />

thromboembolism เกิดปัญหากับอวัยวะอื่นที่เกิด embolization<br />

- ภาว ะเ ลื อ ด ออ ก ง่ าย สั มพั น ธ์ กั บ abnormal platelet function,<br />

thrombocytopenia หรือปริมาณ clotting factor ลดลง ท าให้มีความเสี่ยง<br />

ต่อการเกิดเลือดออกง่ายเช่น pulmonary hemorrhage, stroke<br />

Hyperuricemia เป็นผลจากปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ ้น จึงมีการท าลาย<br />

เพิ่มขึ ้น ปริมาณ uric acid ในเลือดเพิ่มขึ ้น อาจมีผลต่อการท างานของไตเกิด renal<br />

failure, gout<br />

Gallstone การท าลายเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ ้น ท าให้มีการสร้าง bilirubin เพิ่มขึ ้น<br />

และสะสมเกิดเป็น gallstone และมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของถุงน้ าดี<br />

Hypertrophic osteoarthropathy เกิดเป็น clubbing fingers and toes,<br />

periostitis มีอาการปวดและกดเจ็บที่กระดูก<br />

Arrhythmia เกิดได้ทั้ง atrial และ ventricular arrhythmia และเป็นสาเหตุการ<br />

เสียชีวิตที่ส าคัญ<br />

Cerebrovascular accident เกิดได้ทั้ง infarct หรือ hemorrhage<br />

Brain abscess เนื่องจากมี paradoxical cerebral emboli ที่ติดเชื้อ<br />

76


Congenital heart diseases<br />

Left-to-right shunt<br />

(intracardiac or extracardiac)<br />

<br />

Increased pulmonary blood flow<br />

<br />

Endothelial dysfunction and vascular remodeling<br />

(smooth muscle cell proliferation, increased extracellular matrix,<br />

intravascular thrombosis)<br />

<br />

Increased in pulmonary vascular resistance<br />

<br />

Reversed shunt: right-to-left<br />

<br />

Eisenmenger syndrome<br />

แผนภูมิ 2.1 แสดง Pathogenesis of Eisenmenger syndrome (3)<br />

77


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

A<br />

B<br />

C<br />

รูปที่ 2.18 แสดง pathogenesis of Eisenmenger syndrome A, left-to-right shunt; B, long<br />

standing left to right ก่อให้เกิด pulmonary hypertension จน pressure in right ventricle เพิ่มขึ้นจน<br />

ใกล้เคียงกับ pressure in left ventricle จนเป็น bidirectional shunt; C, pressure in pulmonary<br />

artery and right ventricle เพิ่มขึ้นจนมากกว่า pressure in aorta and left ventricle ทิศทางจึง<br />

เปลี่ยนเป็น right-to-left shunt<br />

78


Congenital heart diseases<br />

Symptoms and Signs<br />

อาการของภาวะ Eisenmenger syndrome มักเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปี โดย<br />

ช่วงเวลาที่เกิดมักสัมพันธ์กับรอยโรคดั้งเดิม เช่น AVSD มักเกิดก่อน VSD และ ASD<br />

ตามล าดับ อาการของผู้ป่วยได้แก่ cyanosis, syncope, dyspnea on exertion, fatigue,<br />

chest pain, palpitation, hemoptysis แต่อาการที่สัมพันธ์กับ HF ซึ่งเกิดจาก underlying<br />

heart defect จะลดลง<br />

ภาวะเขียว (cyanosis) ที่เกิดขึ ้นจากรอยโรคต่างกันอาจมีลักษณะที่ต่างกัน หาก<br />

เดิมเป็น intracardiac shunt (ASD, VSD, AVSD) แล้วเกิดเป็น Eisenmenger cyanosis จะ<br />

พบทั่วทั้งตัวแขนขาและส่วนศีรษะเท่ากันหมด แต่ถ้าเป็น extracardiac shunt ลักษณะ<br />

ของ cyanosis ที่พบจะสัมพันธ์กับต าแหน่งที่เกิด shunt เช่น ต าแหน่ง shunt ของ PDA<br />

อยู่ต่ ากว่าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงศีรษะและแขน ซึ่งยังคงได้รับเลือดแดงจึงไม่เห็น cyanosis<br />

ในส่วนนี้ แต่ส่วนที่ต่ ากว่าเช่น ล าตัวและขา จะได้รับเลือดที่เป็นเลือดด าจึงเห็น cyanosis<br />

(เรียกว่า differential cyanosis)<br />

การตรวจหัวใจอาจพบความแตกต่างจากเดิม ได้แก่เสียง murmur จะได้ยิน<br />

เปลี่ยนแปลงไป เช่น จาก continuous murmur หรือ pansystolic murmur จะสั้นลงเป็น<br />

midsystolic murmur หรือความดังลดลงหรือไม่ได้ยิน และจะได้ยินเสียง single second<br />

heart sound (S2) ที่ดังขึ ้นซึ่งสัมพันธ์กับ pulmonary pressure ที่เพิ่มขึ ้น<br />

การตรวจเพิ่มเติม เช่น EKG พบ right ventricular hypertrophy, CXR พบ<br />

prominent pulmonary trunk, decreased pulmonary blood flow<br />

Treatment<br />

- Medical treatment ในปัจจุบันมีการค้นคว้ายาโดยเฉพาะ target therapy ช่วย<br />

ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้เช่น endothelin receptor antagonists, phosphodiesterase<br />

type – 5 inhibitors, prostacyclin และ prostacyclin analogs<br />

- Symptomatic and supportive treatment การรักษาตามอาการและแก้ไข<br />

ภาวะแทรกซ้อน<br />

- Surgical treatment (heart and lung transplantation)<br />

79


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

References<br />

1. Ashworth M. Cardiovascular system. In: Keeling J, Khong, TY, editor. Fetal<br />

and neonatal pathology. 4th ed. London: Springer; 2007. p. 571-99.<br />

2. Beerman LB. Congenital cardiovascular anomalies. In: Porter RS, editor. The<br />

Merck Manual of Diagnosis and Therapy. 19 ed. Whitehouse Station, NJ: Merck<br />

Sharp & Dohme Corp., a Subsidiary of Merck & CO., INC; 2011.<br />

3. Beghetti M, Galie N. Eisenmenger syndrome a clinical perspective in a new<br />

therapeutic era of pulmonary arterial hypertension. J Am Coll Cardiol. 2009 Mar<br />

3;53(9):733-40.<br />

4. Briggs LE, Kakarla J, Wessels A. The pathogenesis of atrial and<br />

atrioventricular septal defects with special emphasis on the role of the dorsal<br />

mesenchymal protrusion. Differentiation. Jul;84(1):117-30.<br />

5. Clark EB. Development of the heart and classification of congenital heart<br />

disease. In: Gnillbert-Barness E, editor. Potter's pathology of the fetus, infancy and<br />

child. 2 ed. Philadelphia Elsevier; 2007. p. 969-77.<br />

6. Craig B. Atrioventricular septal defect: from fetus to adult. Heart. 2006<br />

Dec;92(12):1879-85.<br />

7. Dehaki MG, Tabaee AS, Ahmadabadi CA, Ghavidel AA, Omra G. Pulmonary<br />

artery banding in the current era: Is it still useful? Ann Pediatr Cardiol. Jan;5(1):36-<br />

9.<br />

8. Gnillbert-Barness E, Debich-Spicer D. Cardiovascular system defects. In:<br />

Gnillbert-Barness E, Debich-Spicer D, editors. Embyology and fetal pathology color<br />

atlas with ultrasound correlation. Cambridge: Cambridge university press; 2004. p.<br />

228-453.<br />

9. Gnillbert-Barness E, Debich-Spicer D. Congenital malformation of the heart<br />

In: Gnillbert-Barness E, Debich-Spicer E, editors. Potter's pathology of the fetus ,<br />

infancy and child. 2 ed. Philadelphia: Elsevier; 2007. p. 978-1024.<br />

80


Congenital heart diseases<br />

10. Hoffman JI, Kaplan S. The incidence of congenital heart disease. J Am Coll<br />

Cardiol. 2002 Jun 19;39(12):1890-900.<br />

11. Lock JE, Block PC, McKay RG, Baim DS, Keane JF. Transcatheter closure of<br />

ventricular septal defects. Circulation. 1988 Aug;78(2):361-8.<br />

12. Miao CY, Zuberbuhler JS, Zuberbuhler JR. Prevalence of congenital cardiac<br />

anomalies at high altitude. J Am Coll Cardiol. 1988 Jul;12(1):224-8.<br />

13. Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abul K Abbas AK, Nelson Fausto N,<br />

Aster JC, editors. Robbins and Cotran pathologic basis of disease. 8 ed. Philadelphia:<br />

Saunders; 2010. p. 529-78.<br />

14. Shinebourne EA, Babu-Narayan SV, Carvalho JS. Tetralogy of Fallot: from<br />

fetus to adult. Heart. 2006 Sep;92(9):1353-9.<br />

15. Yang J, Yang L, Wan Y, Zuo J, Zhang J, Chen W, et al. Transcatheter device<br />

closure of perimembranous ventricular septal defects: mid-term outcomes. Eur<br />

Heart J. Sep;31(18):2238-45.<br />

16. Yarrabolu TR, RAO, P.S. Transcatheter Closure of Patent ductus arteriosus.<br />

Pediatrics & Therapeutics. 2012;2012.<br />

81


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Cardiomyopathies<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร, MD FRCPath PhD<br />

Cardiomyopathies หมายถึง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากหลากหลายสาเหตุ<br />

เนื่องจากความก้าวหน้าทางการตรวจ molecular genetic testing ท าให้ทราบว่าสาเหตุ<br />

ทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ซึ่งความผิดปกติส่วนใหญ่เกิดจาก missense<br />

mutation ของ sarcomeric genes ที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของ sarcomeres<br />

และมักถ่ายทอดแบบ autosomal dominant(1) ปัจจุบันพบว่ามี mutations มากกว่า 400<br />

ประเภท ท าให้มีความผิดปกติในการสร้าง sarcomeric proteins 13 ชนิด เช่น β-myosin<br />

heavy chain, α-cardiac actin, tropomyosin และ troponin เป็นต้น มีความสัมพันธ์กับ<br />

การเกิด cardiomyopathy(2) นอกจากนี้ mutations ในยีนเดียวกันอาจท าให้เกิด<br />

cardiomyopathy ต่างชนิดกันได้ เชื่อว่าเป็นผลมาจากต าแหน่งของ mutation ที่ต่างกัน<br />

และอาจมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ฮอร์โมนเพศ, โภชนาการ และ modifier<br />

genes(3, 4)<br />

สาเหตุอื่นๆ ที่ท าให้เกิด cardiomyopathy ได้นอกจากความผิดปกติทาง<br />

พันธุกรรม เช่น ความเครียด, โรคเบาหวาน, ยาเคมีบ าบัด, การตั้งครรภ์ และ การดื่ม<br />

สุรา เป็นต้น<br />

Definitions<br />

ค าจ ากัดความของ Cardiomyopathies มีดังต่อไปนี้<br />

The 1980 WHO/ISFC (World Health Organization/International Society<br />

and Federation of Cardiology) task force report: Cardiomyopathies are heart<br />

muscle diseases of unknown cause.(5)<br />

The 1995 WHO/ISFC task force report: Cardiomyopathies are defined as<br />

diseases of the myocardium associated with cardiac dysfunction.(6)<br />

82


Cardiomyopathies<br />

The 2006 AHA (American Heart Association) Scientific statement:<br />

Cardiomyopathies เป็นกลุ่มโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่สัมพันธ์กับความผิดปกติในการบีบ/<br />

คลายตัว และ/หรือความผิดปกติทางไฟฟ้า ท าให้เกิด ventricular hypertrophy or<br />

dilatation มักน าไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ ความผิดปกติอาจเกิดเฉพาะที่<br />

กล้ามเนื้ อหัว ใจ หรื อเกิ ดร่ว มกับ คว ามผิ ด ปก ติใน ระบ บอื่ นได้ สาเหตุ ขอ ง<br />

cardiomyopathies มีได้หลากหลาย พบได้บ่อยที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทาง<br />

พันธุกรรม(7)<br />

The 2007 ESC (European Society of Cardiology) position statement:<br />

Cardiomyopathies เป็นโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างและ<br />

หน้าที่ โดยไม่มี coronary artery disease, hypertension, valvular disease และ<br />

congenital heart disease ที่สามารถอธิบายความผิดปกติได้<br />

Classification<br />

The 1980 WHO/ISFC task force classification (Table 1)<br />

นอกจาก Cardiomyopathies ซึ่งถูกจ ากัดความว่าเป็น heart muscle<br />

diseases of unknown cause ใน WHO/ISFC task force classification ยังได้กล่าวถึง<br />

heart muscle disease ที่ทราบสาเหตุหรือสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบอื่นไว้<br />

ด้วย ภายใต้หัวข้อที่แยกออกมา “Specific heart muscle disease” (จุดประสงค์<br />

เพื่อช่วยในการแยก cardiomyopathies of unknown cause)<br />

83


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Table 1 The 1980 WHO/ISFC task force classification of cardiomyopathies (5)<br />

Cardiomyopathies (heart muscle diseases of unknown cause)<br />

1. Dilated cardiomyopathy<br />

2. Hypertrophic cardiomyopathy<br />

3. Restrictive cardiomyopathy<br />

4. Unclassified cardiomyopathy<br />

Specific heart muscle disease (known cause or associated with disorders)<br />

1. INFECTIVE<br />

2. METABOLIC<br />

- Endocrine<br />

- Familial storage disease and infiltrations<br />

- Deficiency<br />

- Amyloid<br />

3. GENERAL SYSTEM DISEASES<br />

- Connective tissue disorders<br />

- Infiltrations and granulomas<br />

4. HEREDOFAMILIAL<br />

- Muscular dystrophies<br />

- Neuromuscular disorders<br />

5. SENSITIVITY AND TOXIC REACTIONS<br />

- Sulphonamides, penicillin, antimony, cobalt, emetine, alcohol, isoprenaline,<br />

anthracyclines, irradiation<br />

84


Cardiomyopathies<br />

The 1995 WHO/ISFC task force classification<br />

Table 2 The 1995 WHO/ISFC task force classification of cardiomyopathies (6)<br />

Cardiomyopathies<br />

1. Dilated cardiomyopathy<br />

2. Hypertrophic cardiomyopathy<br />

3. Restrictive cardiomyopathy<br />

4. Arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy<br />

5. Unclassified cardiomyopathy<br />

Specific cardiomyopathies<br />

1. Ischemic cardiomyopathy<br />

2. Valvular cardiomyopathy<br />

3. Hypertensive cardiomyopathy<br />

4. Inflammatory cardiomyopathy<br />

5. Metabolic cardiomyopathy<br />

6. General system disease<br />

- Connective tissue disorders<br />

- Infiltrations and granulomas<br />

7. Muscular dystrophies<br />

8. Neuromuscular disorders<br />

9. Sensitivity and toxic reactions<br />

10. Peripartal cardiomyopathy<br />

85


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

The 2006 AHA Scientific statement (7)<br />

ในที่ประชุมดังกล่าวได้แบ่ง cardiomyopathies เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่พยาธิ<br />

สภาพจ ากัดในกล้ามเนื้อหัวใจ (Primary cardiomyopathies) และกลุ่มที่พบร่วมกับความ<br />

ผิดปกตินอกจากกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย (Secondary cardiomyopathies) โดยมี<br />

รายละเอียดดังนี้<br />

1. Primary cardiomyopathies<br />

Table 3 The 2006 AHA Scientific statement: Primary cardiomyopathies (7)<br />

Genetic<br />

1. Hypertrophic Cardiomyopathy<br />

2. Arrhythmogenic Right Ventricular Cardiomyopathy/Dysplasia<br />

3. LV Noncompaction<br />

4. Conduction System Disease<br />

5. Ion Channelopathies<br />

- Long-QT Syndrome<br />

- Brugada Syndrome<br />

- Catecholaminergic Polymorphic Ventricular Tachycardia<br />

- Short-QT Syndrome<br />

- Idiopathic Ventricular Fibrillation<br />

Mixed (Genetic and Nongenetic)<br />

1. Dilated Cardiomyopathy<br />

2. Primary Restrictive Nonhypertrophied Cardiomyopathy<br />

Acquired<br />

1. Myocarditis (Inflammatory Cardiomyopathy)<br />

2. Stress (“Tako-Tsubo”) Cardiomyopathy<br />

3. Others<br />

86


Cardiomyopathies<br />

2. Secondary cardiomyopathies<br />

Table 4 The 2006 AHA Scientific statement: Secondary cardiomyopathies (7)<br />

Infiltrative*<br />

Amyloidosis (primary, familial autosomal dominant†, senile, secondary forms)<br />

Gaucher disease, Hurler’s disease, Hunter’s disease†<br />

Storage‡<br />

Hemochromatosis<br />

Fabry’s disease, Glycogen storage disease† (type II, Pompe), Niemann-Pick disease†<br />

Toxicity<br />

Drugs, heavy metals, chemical agents<br />

Endomyocardial<br />

Endomyocardial fibrosis, Hypereosinophilic syndrome (Löeffler’s endocarditis)<br />

Inflammatory (granulomatous)<br />

Sarcoidosis<br />

Endocrine<br />

Diabetes mellitus†<br />

Hyperthyroidism, Hypothyroidism, Hyperparathyroidism, Pheochromocytoma, Acromegaly<br />

Cardiofacial<br />

Noonan syndrome, Lentiginosis†<br />

Neuromuscular/neurological<br />

Friedreich’s ataxia, Duchenne-Becker muscular dystrophy, Emery-Dreifuss muscular<br />

dystrophy, Myotonic dystrophy, Neurofibromatosis, Tuberous sclerosis†<br />

Nutritional deficiencies<br />

Beriberi (thiamine), pallagra, scurvy, selenium, carnitine, kwashiorkor<br />

Autoimmune/collagen<br />

Systemic lupus erythematosis, Dermatomyositis, Rheumatoid arthritis, Scleroderma,<br />

Polyarteritis nodosa<br />

Electrolyte imbalance<br />

Consequence of cancer therapy<br />

Anthracyclines: doxorubicin (adriamycin), daunorubicin<br />

Cyclophosphamide, Radiation<br />

*Extracellular accumulation. †Genetic (familial) origin. ‡Intracellular accumulation. Modified from<br />

Maron et al.(7)<br />

87


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

The 2007 ESC position statement (8)<br />

การแบ่งกลุ่มของ cardiomyopathy นี้เกิดขึ ้นหลังจาก The 2006 AHA Scientific<br />

statement เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจาก ESC ทางฝั่งยุโรป เห็นว่า primary cardiomyopathy<br />

บางชนิดใน The 2006 AHA Scientific statement อาจสัมพันธ์กับอาการแสดงของ<br />

ระบบๆอื่นได้ และ secondary cardiomyopathy บางชนิด ในบางครั้งอาจมีเฉพาะอาการ<br />

แสดงของหัวใจอย่างเดียว<br />

นอกจากนี้ในทางปฏิบัติ การให้การวินิจฉัย cardiomyopathy ที่มีสาเหตุทาง<br />

พันธุกรรมมักท าไม่ได้ก่อนรักษา ส่วนรายที่ทราบว่ามี gene mutation จากการตรวจคัด<br />

กรองสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยก็อาจไม่มีอาการตลอดชีวิตซึ่งไม่ต้องการรักษา<br />

The 2007 ESC (European Society of Cardiology) position statement จึงแบ่ง<br />

cardiomyopathy ตาม morphological pattern และแต่ละ pattern จะถูกแบ่งย่อยเป็น<br />

familial/genetic form และ non-familial/non-genetic form (Figure 1) ส่วนรายละเอียด<br />

สาเหตุของแต่ละ pattern ได้แสดงไว้ใน Figure 2<br />

Figure 1 Summary of proposed ESC classification system<br />

ARVC, arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy; DCM, dilated cardiomyopathy; RCM,<br />

restrictive cardiomyopathy. ที่มา: Elliott P et al. Eur Heart J. 2008;29:270-6.(8)<br />

88


Cardiomyopathies<br />

Figure 2 The 2007 ESC classification of cardiomyopathies ที่มา: Elliott P et al. Eur Heart J. 2008;29:270-6.(8)<br />

89


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ในทางปฏิบัติ เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (Primary<br />

cardiomyopathy) บ่อยครั้งที่ไม่สามารถบอกสาเหตุได้เนื่องจากข้อจ ากัดหลายอย่าง<br />

โดยเฉพาะเรื่องการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งต้องอาศัย molecular<br />

genetic testing ที่ท าได้ในบางสถาบันเท่านั้น ดังนั้นการ approach ผู้ป่วยตาม<br />

classification ของ The 2007 ESC position statement น่าจะสมเหตุสมผลที่สุด ณ<br />

สถานการณ์ปัจจุบัน โดยให้แบ่งลักษณะความผิดปกติของหัวใจออกเป็น 5 กลุ่ม<br />

ดังต่อไปนี้<br />

1. Dilated cardiomyopathy พบบ่อยที่สุด<br />

2. Arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy<br />

3. Hypertrophic cardiomyopathy<br />

4. Restrictive cardiomyopathy<br />

5. Unclassified cardiomyopathy<br />

ในที่นี้จะกล่าวถึง cardiomyopathy แต่ละกลุ่มตามล าดับ ส าหรับกลุ่มที่มีสาเหตุ<br />

ได้หลากหลาย โดยเฉพาะ dilated cardiomyopathy จะกล่าวเป็นภาพรวมกว้างๆ ไว้ใน<br />

เบื้องต้น และในตอนท้ายจะมีการรวม cardiomyopathies ที่มีสาเหตุหรือมีลักษณะการ<br />

แสดงออก/การด าเนินโรคที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไว้ภายใต้หัวข้อ “Other/specific causes<br />

of cardiomyopathies” ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงออกในรูปของ dilated cardiomyopathy<br />

90


Cardiomyopathies<br />

Dilated cardiomyopathy (DCM)<br />

DCM คือ ภาวะที่หัวใจมีลักษณะ progressive LV chamber enlargement โดยที่<br />

ความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจค่อนข้างปกติและหัวใจมีน้ าหนักเพิ่มขึ ้น สัมพันธ์กับ<br />

ความผิดปกติในหน้าที่ของหัวใจแบบ systolic dysfunction<br />

อุบัติการณ์ของ DCM พบประมาณ 40 รายในทุกๆ 100,000 คนของประชากร<br />

ทั่วไป(9) เกิดได้กับทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยที่อายุระหว่าง 20 – 40 ปี DCM เป็นสาเหตุ<br />

อันดับต้นๆของภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยมักมีอาการ/อาการแสดงของ congestive<br />

heart failure เช่น เหนื่อยหอบ, นอนราบไม่ได้, ขาบวม เป็นต้น ท าให้บางครั้งเรียก DCM<br />

ว่า congestive cardiomyopathy ในรายที่มี chamber dilation มาก อาจพบ mitral<br />

regurgitation, mural thrombi, thromboembolism และ arrhythmias ร่วมด้วย ส่วน<br />

สาเหตุการเสียชีวิตมักเกิดจาก heart failure และ fatal arrhythmias/sudden cardiac<br />

death<br />

การด าเนินโรคของ DCM มักแย่ลงเรื่อยๆ (irreversible/progressive)(7) ครึ่งหนึ่ง<br />

ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น DCM มักเสียชีวิตภายใน 2 ปี เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่<br />

มักมีอาการหัวใจล้มเหลวชัดเจนเมื่อได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก จะเหลือเพียง 1 ใน 4<br />

ที่รอดชีวิตนานกว่า 5 ปี การใช้ mechanical device อาจช่วยชะลออาการของโรคได้ แต่<br />

อย่างไรก็ตามผู้ป่วย DCM ที่อาการรุนแรง การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจะช่วยให้ผู้ป่วยรอด<br />

ชีวิตและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ในความเป็นจริงแล้ว DCM จัดเป็นสาเหตุอันดับ<br />

หนึ่งของการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ(7)<br />

สาเหตุของ DCM มีหลากหลาย ได้แก่<br />

1. Genetics: 20 – 50% ของ DCM เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือมีการ<br />

ถ่ายทอดในครอบครัว ยีนส์ที่พบความผิดปกติมักเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนที่เป็น<br />

โครงร่าง (cytoskeleton proteins) ของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ(10) และส่วนใหญ่<br />

ถ่ายทอดแบบ autosomal dominant<br />

Gene mutations ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง cytoskeleton proteins ซึ่งสัมพันธ์กับ<br />

การเกิด DCM ได้แก่ desmin, α-actin, lamin A และ lamin C (Figure 3)<br />

91


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

บางครอบครัวพบว่ามีความผิดปกติที่ mitochondrial genes ที่มีผลต่อขบวนการ<br />

oxidative phosphorylation หรือเป็น mitochondrial genes ที่สร้างเอ็นไซม์ที่ใช้ใน<br />

ขบวนการ beta-oxidation ของกรดไขมัน ซึ่งอาจมีผลต่อการส่งพลังงานจาก<br />

mitochondria ไปสู่ sarcomeric proteins ผู้ป่วยมักแสดงอาการตั้งแต่เด็ก<br />

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าความผิดปกติของยีนส์ที่ควบคุม conduction system<br />

อาจเป็นสาเหตุของการเกิด DCM ได้เช่นกัน(11)<br />

2. Neuromuscular disorders เช่น Duchenne และ Becker muscular dystrophies เกิด<br />

จาก dystrophin gene mutation เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ skeletal muscular<br />

dystrophy มีการถ่ายทอดแบบ X-linked โปรตีน dystrophin เป็น membrane–<br />

associated cytoskeletal protein ที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงโครงร่างของเซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจหรือกล้ามเนื้อลายกับ extracellular matrix ผู้ป่วยมักมีอาการแขนขา<br />

อ่อนแรงน ามาก่อนที่จะมีอาการทางหัวใจ น้อยรายที่มีอาการหัวใจล้มเหลวเป็น<br />

อาการแรก โดยทั่วไปจะแสดงอาการทางหัวใจในช่วงอายุ 20 ต้นๆ และเมื่อไรก็<br />

ตามที่มีอาการหัวใจล้มเหลวมักมีการด าเนินโรคโดยรวมแย่ลงอย่างรวดเร็ว<br />

3. Infectious agents โดยเฉพาะไวรัส เช่น coxsackievirus B, adenovirus, parvovirus,<br />

enteroviruses และ HIV<br />

เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, rickettsial, mycobacteria และ parasites (เช่น Chagas<br />

disease จากเชื้อ Trypanosoma cruzi) ก็พบเป็นสาเหตุของ DCM ได้<br />

4. Alcohol การดื่มสุราท าให้เกิด DCM ได้เนื่องจาก alcohol หรือ ethanol รวมทั้ง<br />

metabolites เช่น acetaldehyde มีความเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ผู้ป่วย<br />

พิษสุราเรื้อรัง มักมีปัญหาเรื่องการขาดสารอาหารซึ่งอาจมีส่วนท าให้กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ผิดปกติได้ เช่นการขาดวิตามินบี 1 หรือ thiamine ท าให้เกิด beriberi heart disease<br />

ซึ่งมีลักษณะเป็น DCM<br />

5. Toxins เช่น ยาเคมีบ าบัดกลุ่ม anthracyclines [doxorubicin (Adriamycin) และ<br />

daunorubicin], สารโลหะ (cobalt, ตะกั่ว, ปรอท และสารหนู)<br />

6. Autoimmune and systemic disorder เช่น collagen vascular disease<br />

92


Cardiomyopathies<br />

7. Metabolic, endocrine and nutritional disorders เช่น pheochromocytoma, selenium<br />

deficiencies<br />

8. Peripartum (postpartum) cardiomyopathy: พบไม่บ่อย หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดหรือ<br />

หลังคลอดมีความเสี่ยงต่อการเกิด LV systolic dysfunction และ หัวใจล้มเหลว จาก<br />

DCM ได้ ซึ่งกลไกการเกิดภาวะนี้ยังไม่ทราบชัดเจน มักพบในหญิงตั้งครรภ์อายุ 30 ปี<br />

ขึ ้นไป อ้วน เคยตั้งครรภ์มาแล้ว และสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์<br />

(preeclampsia)(7) นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับภาวะน้ าเกินในหญิงตั้งครรภ์ ภาวะ<br />

ขาดสารอาหารเนื่องจากความต้องการสูงขึ ้น หรือการเปลี่ยนแปลงของเมตาโบลิซึม<br />

ในภาวะตั้งครรภ์ เมื่อเร็วๆนี้ยังมีรายงานว่าฮอร์โมน prolactin ซึ่งมีระดับสูงขึ ้นในช่วง<br />

ตั้งครรภ์ใกล้คลอด อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด peripartum cardiomyopathy โดย<br />

พบว่า 16 kDa-cleaved form ของ prolactin จะไปลด myocardial capillary density<br />

และท าให้ หัว ใจ ท างาน บก พร่ อง น อก จาก นี้ยั งพ บว่ าผู้ ป่ว ย peripartum<br />

cardiomyopathy จะมีระดับ cathepsin D สูงขึ ้น และ cathepsin D ซึ่งเป็น protease<br />

enzyme จะไปตัดฮอร์โมน prolactin เกิดเป็น 16 kDa-cleaved form of prolactin(12)<br />

ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย peripartum cardiomyopathy จะกลับสู่ภาวะปกติเองภายใน 6<br />

เดือน แต่บางรายอาการแย่ลง และต้องการการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้<br />

นานขึ ้น(7)<br />

Morphology<br />

ลักษณะเมื่อดูด้วยตาเปล่าสามารถบอกได้ว่าเป็น DCM แต่ไม่สามารถบอก<br />

สาเหตุของ DCM ได้ ยกเว้นบางภาวะที่อาจมีลักษณะพิเศษ เช่น amyloidosis ที่มีการ<br />

สะสมของ amyloid มากพอที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือ iron overload cardiomyopathy<br />

ระยะท้ายๆ ที่อาจเห็นกล้ามเนื้อหัวใจมีสีน้ าตาลคล้ายสนิม<br />

โดยทั่วไปจะพบว่า หัวใจมีขนาดใหญ่ น้ าหนักมากกว่าปกติ 2 – 3 เท่า ทุกห้อง<br />

หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น (chamber dilation) ซึ่งอาจพบ mural thrombi เกาะอยู่ด้านในผนัง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ (Figure 4A) ลิ้นหัวใจมักไม่มีความผิดปกติที่ชัดเจน แม้ว่าผู้ป่วยจะมี<br />

อาการของ mitral (or tricuspid) regurgitation อันเป็นผลมาจาก ventricular chamber<br />

93


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

dilation (functional regurgitation) ไม่ใช่จากโรคของลิ้นหัวใจ นอกจากนี้มักไม่พบความ<br />

ผิดปกติของ coronary arteries ที่สามารถอธิบาย cardiac dysfunction ได้<br />

ส่วนลักษณะที่พบทาง Histology หลักๆ ที่พบมี 2 อย่าง ซึ่งไม่ใช่ลักษณะ<br />

เฉพาะเจาะจงต่อ DCM ได้แก่<br />

1. Cardiomyocyte hypertrophy<br />

2. Interstitial fibrosis และ endocardial fibrosis (Figure 4B) หากสังเกตดีๆ จะพบ small<br />

subendocardial scars ซึ่งเป็นผลมาจากการตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหย่อมเล็กๆ<br />

เนื่องจากความต้องการออกซิเจนของ hypertrophic myocardium มากขึ ้นเมื่อเทียบ<br />

กับปริมาณเลือดที่มาเลี้ยง (ต่างกับการขาดเลือดที่เกิดจาก coronary artery disease<br />

ที่พยาธิสภาพหลักอยู่ที่หลอดเลือดซึ่งเกิดการอุดตัน ท าให้ปริมาณเลือดมาเลี้ยง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจลดลง)<br />

Arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy (ARVC)<br />

Arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy (ARVC) ห รื อ<br />

arrhythmogenic right ventricular dysplasia เป็นโรคของ right ventricle ที่มี chamber<br />

dilation อุบัติการณ์ประมาณ 1:5,000(13) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจาก sudden<br />

unexpected nontraumatic death ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 30 ปี(14)<br />

ARVC เป็นโรคทางพันธุกรรม ถ่ายทอดแบบ autosomal dominant with variable<br />

penetrance เกิดจากความผิดปกติของการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของ<br />

desmosomes(15) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ยึดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจแต่ละเซลล์ที่อยู่ติดกัน<br />

ผู้ป่วยมีอาการตั้งแต่อายุน้อย มักมาด้วย right ventricular failure และการเต้นผิดจังหวะ<br />

ของหัวใจ ผู้ป่วยอาจมี ventricular tachycardia หรือ ventricular fibrillation ซึ่งเสี่ยงต่อ<br />

การเสียชีวิตกะทันหันจาก sudden cardiac death ได้ ลักษณะที่พบคือผนังกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจห้อง right ventricle จะบางเนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย(16) และถูกแทนที่<br />

ด้วยเนื้อเยื่อไขมันและ fibrosis (Figure 5) อาจพบความผิดปกติดังกล่าวใน left ventricle<br />

ร่วมด้วยได้ในระยะท้ายๆ(17)<br />

94


Cardiomyopathies<br />

หากพบ hyperkeratosis ของผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า และ woolly hair ร่วม<br />

ด้วย (Figure 6) มักเกิดจาก mutation ของ gene ที่สร้างโปรตีน ที่ชื่อว่า plakoglobin มี<br />

การถ่ายทอดแบบ autosomal recessive เรียก cardiocutaneous syndrome นี้ว่า Naxos<br />

syndrome(18) เนื่องจากได้มีรายงานตีพิมพ์ครั้งแรกๆเกี่ยวกับกลุ่มอาการดังกล่าวใน<br />

ผู้ป่วยจากเกาะ Naxos ประเทศกรีก<br />

Hypertrophic cardiomyopathy (HCM)<br />

HCM พบได้บ่อยที่สุด ในบรรดาโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีการ<br />

ถ่ายทอดทางพันธุกรรม อุบัติการณ์ของ HCM จากทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 0.2% หรือ 1<br />

ใน 500(3)<br />

The 2011 ACCF/AHA Guideline for the Diagnosis and Treatment of<br />

Hypertrophic Cardiomyopathy(19) ได้ให้ค าจ ากัดความของ HCM ไว้ว่า “A disease<br />

state characterized by unexplained LV hypertrophy associated with nondilated<br />

ventricular chambers in the absence of another cardiac or systemic disease that<br />

itself would be capable of producing the magnitude of hypertrophy evident in a<br />

given patient, with the caveat that patients who are genotype positive may be<br />

phenotypically negative without overt hypertrophy.”<br />

ลักษณะเฉพาะของ HCM คือ myocardial hypertrophy & stiffness ท าให้มีปัญหา<br />

ในการคลายตัว สัมพันธ์กับ diastolic dysfunction (systolic function มักปกติ) นอกจากนี้<br />

1 ใน 3 ของ HCM จะมี ventricular outflow obstruction<br />

Pathogenesis<br />

HCM เกิดจาก mutation ของยีนส์ที่สร้าง sarcomeric proteins หรือ sarcomereassociated<br />

proteins (Figure 3) ปัจจุบันพบ 11 genes ที่เป็นสาเหตุของ HCM ที่พบบ่อย<br />

ที่สุด คือ β-myosin heavy chain (เป็นชนิดแรกที่ถูกค้นพบ) และ myosin-binding<br />

protein C ส่วนอีก 9 genes ที่เหลือ ได้แก่ cardiac troponin T (TnT), cardiac troponin I<br />

95


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

(TnI), α-tropomyosin, α-actin, α-myosin heavy chain, regulatory light chain,<br />

essential light chain, titin และ muscle LIM protein(7)<br />

นอกจากนี้ชนิดของ mutation ก็มีผลต่อพยากรณ์โรค เช่น มีรายงานพบว่าผู้ป่วย<br />

HCM ที่มีชีวิตรอดจนเข้าวัยชรา มักพบสัมพันธ์กับ mutation ของ myosin-binding<br />

protein C และ troponin I genes(20)<br />

ความผิดปกติทางพันธุกรรมของ HCM ส่วนใหญ่ถ่ายทอดแบบ autosomal<br />

dominant with variable penetrance แต่มีบางส่วนที่ mutation เกิดเป็นแบบ sporadic<br />

ไม่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่<br />

Clinical Features<br />

รายงานการตีพิมพ์เกี่ยวกับผู้ป่วย HCM มักออกมาในรูปของอาการที่สัมพันธ์กับ<br />

พยากรณ์โรคที่แย่ หรืออุบัติการณ์การเกิด sudden cardiac death ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่ง<br />

เดิมรายงานไว้สูงถึง 3-6%(21, 22) แต่เนื่องจากผลการวิจัยต่างๆ เหล่านี้มักท าในผู้ป่วย<br />

ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงท าให้ข้อมูลที่ได้จ ากัดเฉพาะในรายที่จ าเป็นต้อง<br />

ได้รับการรักษา เรียกว่าเป็น selection bias แต่ต่อมางานวิจัยเริ่มขยายจาก hospitalbased<br />

ไปสู่ community-based population ท าให้พบว่ามีคนที่เป็น HCM แต่ไม่มีอาการ<br />

อยู่จ านวนพอสมควร ซึ่งเมื่อค านวณอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่เป็น HCM ใหม่ พบว่า<br />

ลดลงเหลือประมาณ 1% และนอกจากนี้ยังได้ข้อมูลว่าผู้ป่วย HCM ที่ไม่มีอาการหรือมี<br />

อาการเพียงเล็กน้อยและมีอายุขัยไม่ต่างกับคนปกติทั่วไป มีจ านวนมากกว่าผู้ป่วย HCM<br />

ที่มีอาการหรือเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย(22)<br />

ส าหรับผู้ป่วยที่มีอาการ อาจอธิบายได้จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ ้นท าให้<br />

ขนาดของ LV chamber ลดลง ท าให้เกิด impaired diastolic filling ผลที่ตามมา คือ<br />

hemodynamic instability(23) ซึ่งเกิดจาก 2 กลไกหลัก คือ<br />

- Stroke volume และ cardiac output ลดลง นอกจาก LV chamber จะมีขนาด<br />

เล็กลงแล้ว ยังพบว่า 1 ใน 4 ของ HCM มี left ventricular outflow obstruction<br />

ด้วย [สัมพันธ์กับ การหน าตัวของ interventricular septum ส่วนบ น<br />

(subaortic) ซึ่งเป็นลักษณะผิดปกติทางกายวิภาค ร่วมกับการที่ anterior<br />

96


97<br />

Cardiomyopathies<br />

leaflet ของ mitral valve เคลื่อนตัวเข้าหา ventricular septum ขณะหัวใจบีบ<br />

ตัว (ท าให้ได้ยินเสียง harsh midsystolic ejection murmur) ซึ่งเป็นลักษณะ<br />

ของ functional obstruction มีรายงานว่า outflow tract obstruction พบได้<br />

บ่อยถึง 40% ในผู้ป่วย HCM ที่อายุมาก(22)] หากมีการเปลี่ยนแปลงของ<br />

intravascular volume ในทางที่ลดลงเพียงเล็กน้อยจะท าให้เกิด coronary และ<br />

systemic hypoperfusion ได้ง่าย<br />

- Increase in pulmonary venous pressure เนื่องจากเลือดไม่สามารถเข้าสู่<br />

หัวใจได้ในปริมาณปกติ ท าให้ความดันใน atria และ pulmonary circulation<br />

สูงขึ ้น เสี่ยงต่อการเกิด pulmonary congestion หากมีการเปลี่ยนแปลงของ<br />

intravascular volume ใน ท าง ที่ เพิ่ มขึ ้น เ พี ยง เ ล็ก น้ อย จ ะท าให้ เ กิ ด<br />

exacerbation ของ acute heart failure ได้<br />

เนื่องจากผนังกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาตัวขึ ้นมาก ร่วมกับ LV chamber pressure ที่<br />

เพิ่มขึ ้นและอาจมีความผิดปกติของหลอดเลือดในผนังกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย ท าให้เกิด<br />

การขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจได้บ่อย มักเป็นลักษณะของ focal ischemia แต่<br />

สามารถท าให้เกิด angina pain ได้<br />

ในทางคลินิก ผู้ป่วย HCM มักมีปัญหาจากภาวะ<br />

- Atrial fibrillation พบได้บ่อยในผู้ป่วย HCM เนื่องจาก atrial pressure สูง<br />

ร่วมกับ atrial enlargement ผู้ป่วยที่มี atrial fibrillation ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยง<br />

ต่อการเกิด sudden death แต่จะเสี่ยงต่อการเกิด mural thrombus น าไปสู่<br />

การเกิด stroke จาก emboli ได้<br />

- Syncope/fainting สัมพันธ์กับ outflow tract obstruction<br />

- Heart failure อาการของภาวะหัวใจล้มเหลวมักพบหลังอายุ 30-40 ปีขึ ้นไป<br />

อาการอาจไม่คงที่ อาจมีช่วงที่ดีขึ้นเอง แล้วกลับมาเป็นใหม่อีกครั้ง น้อยราย<br />

ที่จะมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นท ากิจวัตรประจ าวันไม่ได้<br />

- Ventricular arrhythmias: ventricular tachycardia/fibrillation เพิ่มความเสี่ยง<br />

ต่อการเกิด cardiac arrest/sudden death


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

- Sudden and unexpected death พบว่า HCM เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด<br />

สาเหตุหนึ่งของ sudden cardiac death ในคนอายุน้อย หรือในนักกีฬาที่มี<br />

สุขภาพแข็งแรงดีมาตลอด(24) risk markers ที่บอกถึงความเสี่ยงของ sudden<br />

death ในผู้ป่วย HCM ได้แก่<br />

- ผู้ป่วยที่มี sustained ventricular tachycardia/fibrillation หรือผู้ที่รอดชีวิต<br />

จากภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)(25)<br />

- ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 30 ปีที่มี nonsustained ventricular tachycardia ซึ่ง<br />

อาจถูกกระตุ้นด้วยการออกก าลังกาย(26)<br />

- มีประวัติคนในครอบครัวเสียชีวิตจาก sudden unexpected death<br />

โดยเฉพาะเมื่ออายุยังน้อย<br />

- ผู้ป่วยอายุน้อยที่มีประวัติหมดสติโดยไม่สามารถหาสาเหตุได้ และการ<br />

หมดสติมักสัมพันธ์กับการออกก าลังกาย<br />

- ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตแกว่งมากขณะออกก าลัง<br />

- ผู้ป่วย HCM ที่มีผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนามากกว่า 3 เซนติเมตรจากการ<br />

ตรวจด้วย echocardiography(27)<br />

ภาวะอื่นๆที่มีอาการทางคลินิกเหมือน HCM ซึ่งต้องวินิจฉัยแยกโรคให้ได้ ได้แก่<br />

- Hypertensive heart disease<br />

- Aortic stenosis<br />

- Deposition diseases of the heart เช่น amyloidosis<br />

การให้การวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็น HCM จากประวัติ/อาการทางคลินิก<br />

หรือเป็นการตรวจคัดกรองสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย HCM นิยมใช้การตรวจ<br />

echocardiography (บางแห่งใช้ cardiac magnetic resonance) ซึ่งจะต้องพบ LV<br />

hypertrophy (LV thickness ≥ 15 มม. ในผู้ใหญ่) และ ไม่มี LV chamber dilation(28) ใน<br />

รายที่สงสัยมากแต่มีการหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ ้นเพียงเล็กน้อย อาจต้องมีการ<br />

98


99<br />

Cardiomyopathies<br />

follow-up นอกจากนี้ผู้ป่วย HCM ส่วนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะมี LV outflow obstruction การ<br />

ตรวจพบ systolic anterior motion ของ mitral valve จนการสัมผัสกับ ventricular<br />

septum จะช่วยได้ แต่การให้ definite diagnosis ต้องอาศัย genetic testing(28)<br />

Morphology<br />

ลักษณะส าคัญของ HCM คือ massive myocardial (LV) hypertrophy ที่ไม่มี<br />

ventricular dilation การหนาตัวของผนังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนใหญ่เป็นแบบ asymmetric<br />

septal hypertrophy คือ interventricular septum จะหนาตัวมากกว่า LV free wall ซึ่ง<br />

อาจมากถึง 3 เท่า และบางรายมี LV outflow obstruction ด้วย (Figure 7) ลักษณะ<br />

ดังกล่าวช่วยในการแยก HCM ออกจาก hypertensive heart disease และ aortic<br />

stenosis ซึ่งมักเป็นแบบ LV concentric hypertrophy ที่การหนาตัวสม่ าเสมอ<br />

แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า 10%ของ HCM มีการหนาตัวของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

แบบ concentric hypertrophy<br />

เมื่อตัดหัวใจในแนวยาว (coronal section) ผ่าน LV chamber พบว่า HCM ที่เป็น<br />

asymmetric septal hypertrophy จะเห็นลักษณะ “banana-like chamber” (Figure 7<br />

and 8A) บ่อยครั้งที่การหนาตัวของ septum จะเด่นชัดที่ subaortic region (Figure 7,<br />

right) ร่วมกับ endocardial thickening หรือ mural plaque formation บริเวณ LV outflow<br />

tract และ anterior mitral leaflet มีการหนาตัวขึ ้น (Figure 8A) เนื่องจากมีการสัมผัสกัน<br />

ระหว่าง anterior mitral leaflet ที่เคลื่อนตัวเข้าสัมผัส interventricular septum เนื่องจาก<br />

มี outflow tract obstruction ขณะหัวใจบีบตัว (midsystole)<br />

ลักษณะทาง histology ที่พบ (Figure 8B) ได้แก่<br />

1. Marked cardiomyocyte hypertrophy ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเซลล์กล้ามเนื้อ<br />

หัวใจเมื่อถูกตัดตามขวางมากกว่า 40 ไมครอน (ปกติประมาณ 15 ไมครอน) ซึ่ง<br />

ใหญ่เกินกว่าที่จะพบได้ในภาวะ cardiac hypertrophy อื่นๆ เซลล์เหล่านี้มักมี<br />

รูปร่างและการเชื่อมระหว่างเซลล์ที่ผิดปกติ ลักษณะการเรียงตัวจะไร้ระเบียบ<br />

(haphazard disarray) ตั้งแต่ระดับ bundles, individual cardiomyocytes และ<br />

intracellular sarcomeric contractile elements (myofiber disarray) การเรียงตัว


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ระหว่าง cardiomyocytes ที่อยู่ใน bundle เดียวกันมักพบท ามุมต่อกันหรือตั้งฉาก<br />

แทนที่จะอยู่ในแนวขนานตามปกติ ลักษณะ cellular disarray นี้จะกินพื้นที่ใน left<br />

ventricle แตกต่างกันในแต่ละราย แต่พบเฉลี่ยที่ประมาณ 33% มีรายงานพบว่า<br />

ปริมาณพื้นที่ที่มีการเรียงตัวของเซลล์ผิดปกตินี้ มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับความ<br />

เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก sudden cardiac death เนื่องจากในผู้ป่วย HCM ที่<br />

เสียชีวิตกะทันหันจะมี distribution ของ cellular disarray มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่<br />

ไม่ได้เสียชีวิต(29)<br />

2. Abnormal intramural coronary arteries พบผนังหลอดเลือด(ในกล้ามเนื้อหัวใจ)<br />

หนาตัวขึ ้นทั้งชั้น intima และ media ร่วมกับขนาด lumen ที่เล็กลง(30, 31)<br />

จัดเป็น small vessel disease ชนิดหนึ่ง และเมื่อเทียบกับปริมาณกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ที่โตขึ ้นร่วมกับพยาธิสภาพของหลอดเลือดนี้ ท าให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาด<br />

เลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

3. Interstitial and replacement fibrosis เป็นส่วนประกอบที่ท าให้เกิด LV stiffness<br />

ส าหรับ replacement fibrosis เป็น scar ที่เกิดจากขบวนการซ่อมแซมหลังจากมี<br />

การตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจากการขาดเลือด interstitial fibrosis and<br />

replacement scarring ท าให้เกิด electrical instability ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการ<br />

เกิด arrhythmias โดยเฉพาะ ventricular tachyarrhythmia/fibrillation และ<br />

sudden cardiac death(32)<br />

Restrictive cardiomyopathy (RCM)<br />

RCM เป็น cardiomyopathy ที่พบน้อยกว่าภาวะ DCM และ HCM แต่ท าให้<br />

เสียชีวิตได้มากที่สุด(33) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติในการคลายตัว<br />

(diastolic dysfunction) เช่นเดียวกับที่พบใน constrictive pericarditis or HCM สาเหตุของ<br />

restrictive cardiomyopathy ไ ด้ แ ก่ radiation fibrosis, post-cardiac surgery,<br />

amyloidosis, sarcoidosis, metastatic tumors, inborn errors of metabolism ซึ่งมีการ<br />

สะสมของสาร metabolite ในกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ อาจเป็นแบบไม่ทราบสาเหตุก็ได้<br />

(idiopathic RCM)<br />

100


101<br />

Cardiomyopathies<br />

นอกจากนี้ RCM อาจเป็นแบบ familial form ได้ ซึ่งสัมพันธ์กับ troponin I gene<br />

mutation(34)<br />

Restrictive cardiomyopathy อาจพบได้ในบาง conditions เช่น<br />

1. Endomyocardial fibrosis พบในเด็กที่อาศัยอยู่แถบอัฟริกา ไม่ทราบสาเหตุ<br />

ของโรค ลักษณะที่พบคือมี endocardium and subendocardium fibrosis ของ<br />

ventricles เริ่มจาก apex แล้วค่อยๆไล่ขึ้นไป พบร่วมกับ mural thrombi<br />

2. Loeffler endomyocarditis พบ endomyocardial fibrosis และ large mural<br />

thrombi เหมือนกับภาวะที่กล่าวข้างต้น แต่สัมพันธ์กับ eosinophilia และ<br />

eosinophilic infiltrates ที่อวัยวะอื่นๆ เชื่อว่าสารที่ปล่อยออกมาจาก<br />

eosinophils โ ด ย เ ฉ พ าะ major basic protein เ ป็ น ตั ว ท าใ ห้ เ กิ ด<br />

endomyocardial necrosis ซึ่งท าให้เกิด fibrosis และ scar รวมทั้งกระตุ้นให้มี<br />

การสร้าง thrombus ผู้ป่วย Loeffler endomyocarditis อาจพบร่วมกับภาวะ<br />

myeloproliferative disorder ที่สัมพันธ์กับ chromosomal rearrangements<br />

ของ platelet-derived growth factor receptor (PDGFR)-α หรือ PDGFR-β<br />

genes เกิดเป็น fusion genes สร้าง PDGFR ที่อยู่ในสภาพ active เนื่องจาก<br />

ส่วน tyrosine kinase ของ receptor ท างานตลอดเวลา พบว่าการรักษาด้วย<br />

tyrosine kinase inhibitor (imatinib) จะช่วยรักษา myeloproliferative disorder<br />

และท าให้ endomyocarditis ดีขึ ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามตัว tyrosine kinase<br />

inhibitors เองนั้น ก็มีรายงานท าให้เกิด cardiotoxicity เช่นกัน(35)<br />

3. Endocardial fibroelastosis เป็นโรคที่พบไม่บ่อยและไม่ทราบสาเหตุ มักเกิดใน<br />

เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี พบ focal or diffuse fibroelastic thickening ในชั้น<br />

endocardium ของ left ventricular มักพบร่วมกับ aortic valve obstruction<br />

บางรายพบ congenital cardiac anomalies อื่นๆด้วย ส าหรับ diffuse form จะ<br />

เกิดหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้เร็ว<br />

Morphology: ขนาดของหัวใจมักปกติหรือใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ไม่พบ<br />

chamber dilation ผนังกล้ามเนื้อหัวใจจะแข็ง ไม่มีความยืดหยุ่น มักพบ atrial dilation ทั้ง<br />

สองห้อง ลักษณะทาง histology พบ patchy หรือ diffuse interstitial fibrosis มากน้อย


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

แล้วแต่ความรุนแรงของโรค ไม่พบการเรียงตัวที่ผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจซึ่งต่าง<br />

กับ HCM ในบาง conditions เช่น amyloidosis หรือ metastatic tumor สามารถให้การ<br />

วินิจฉัยได้จาก endomyocardial biopsy<br />

Unclassified cardiomyopathies<br />

Left ventricular non-compaction (LVNC)<br />

LVNC เป็นความผิดปกติทางโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีลักษณะเฉพาะคือ<br />

มีร่องเกิดขึ ้นใน left ventricle จาก chamber ลึกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดเป็น<br />

ลักษณะที่เรียกว่า “trabeculation” หรือ “spongioform appearance”(36, 37) (Figure 9)<br />

Left ventricular wall มักหนามากกว่าปกติ ผู้ป่วยมักมี systolic dysfunction บางรายอาจ<br />

พบ ventricular arrhythmias และ systemic embolization<br />

ในรายที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้ 50% ของ LVNC มัก<br />

ถ่ายทอดแบบ autosomal-dominant หรือ X-linked transmission(2) Gene mutation ที่<br />

พบเป็นสาเหตุของ LVNC ได้แก่ G 4.5 gene encoding taffazin (X-linked), α-<br />

dystrobrevin, ZASP, actin, lamin A/C และ locus บนโครโมโซม 11p15 (8)<br />

กลไกการเกิดของ LVNC ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยปกติในพัฒนาการของการสร้าง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจจะเริ่มจาก loose network of fibers แล้วจะค่อยๆเรียงตัวอัดแน่นขึ ้น<br />

(compaction) เมื่ออายุครรภ์ 5-8 สัปดาห์ ในผู้ป่วย LVNC ลักษณะ compaction ที่ปกติ<br />

จะเกิดที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนอก ส่วน noncompacted region จะยังคงอยู่ที่ด้านใน<br />

(endocardial side) บริเวณ apex และ mid-ventricle(2)<br />

ลักษณะทางคลินิกของ LVNC แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ<br />

- Isolated form<br />

- LVNC ที่พบร่วมกับ congenital heart disease อื่นๆ<br />

Takotsubo cardiomyopathy(8)<br />

Takotsubo cardiomyopathy หรือ Stress-induced cardiomyopathy หรือ Broken<br />

heart syndrome หมายถึง ภาวะที่มี transient apical or mid left ventricular dilation and<br />

102


Cardiomyopathies<br />

dysfunction ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บอก และอาจตรวจพบ diffuse T-wave inversion บาง<br />

รายอาจมี ST segment elevation และมีระดับ cardiac enzyme ในเลือดสูงขึ ้นเล็กน้อย<br />

แต่ไม่พบลักษณะของ coronary artery disease จาก coronary angiography ที่เข้าได้กับ<br />

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(38)<br />

รายงานผู้ป่วย Takotsubo cardiomyopathy เริ่มแรกพบในผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น ซึ่ง<br />

ลักษณะของหัวใจที่โป่งออกได้ถูกบรรยายไว้ว่ารูปร่างเหมือนเครื่องมือจับปลาหมึก ที่<br />

เรียกว่า “Takotsubo” (Figure 10) ส่วนใหญ่พบภาวะนี้ในผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจ าเดือน<br />

โดยมีความเครียดเป็นสิ่งกระตุ้น อาการโดยมากจะดีขึ ้นภายในเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่<br />

สัปดาห์<br />

Other/specific causes of myocardial disease<br />

Cardiotoxic Drugs<br />

ยาที่มี cardiotoxicity เช่น ยาเคมีบ าบัด anthracyclines (doxorubicin and<br />

daunorubicin), tyrosine kinase inhibitors(35), lithium, phenothiazines และ chloroquine<br />

เป็นต้น<br />

Cardiotoxicity จาก anthracyclines เป็นปัญหาส าคัญทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็ง<br />

เนื่องจากเป็นกลุ่มยาเคมีบ าบัดที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่ง และใช้รักษามะเร็งได้หลาย<br />

ชนิด แต่มีผลเสียต่อหัวใจซึ่งเป็นแบบ dose-dependent ท าให้ต้องมีการจ ากัดการใช้ยา<br />

โดยทั่วไปผู้ป่วยคนหนึ่งไม่ควรได้รับยากลุ่มนี้เกิน 500 mg/m 2 ตลอดช่วงชีวิต(39) กลไก<br />

ของ anthracycline cardiotoxicity ผ่านทาง free radical-mediated pathways ท าให้เกิด<br />

lipid peroxidation และน าไปสู่ apoptosis of cardiac cells(40) ผู้ป่วยที่มีอาการมักเป็น<br />

อาการของหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ ้นภายใน 1 ปีหลังได้รับเคมีบ าบัดจนถึงขนาดสะสมสูงสุด<br />

ที่ควรได้รับตาม regimen หัวใจจะเป็นแบบ DCM และเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์<br />

อิเลคตรอนจากชิ้นเนื้อที่ได้จาก endomyocardial biopsy ของผู้ป่วยจะพบลักษณะ loss<br />

of myofibrils, dilation of the sarcoplasmic reticulum, cytoplasmic vacuolization,<br />

swelling of mitochondria และ increased number of lysosomes(40)<br />

103


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Catecholamines<br />

พบ foci of myocardial necrosis with contraction bands (contraction band<br />

necrosis เหมือนที่พบใน ischemia-reperfusion injury) ร่วมกับ sparse macrophage<br />

infiltration ลั กษ ณ ะดั งก ล่ าว พ บไ ด้ใ น pheochromocytoma, intense autonomic<br />

stimulation (secondary to intracranial lesions or stress) หรือ การให้ vasopressor<br />

agents (เช่น dopamine) ในปริมาณมาก นอกจากนี้ catecholamines อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง<br />

กับการเกิด Takotsubo cardiomyopathy (broken heart syndrome) ภาวะต่างๆเหล่านี้<br />

ล้วนสัมพันธ์กับระดับ catecholamines ที่สูงขึ ้น กลไกการเกิด cardiotoxicity ยังไม่ทราบ<br />

แน่ชัด แต่อาจเกิดจาก catecholamines ท าให้เกิด intracellular calcium overload ใน<br />

cardiomyocytes และกระตุ้นให้เกิด vasoconstriction ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ<br />

Amyloidosis<br />

Cardiac amyloidosis เป็นภาวะที่มีการสะสมของ extracellular substance ที่<br />

เรียกว่า amyloid ในหัวใจ (amyloid เป็นการเรียก specialized form ของโปรตีนที่มี<br />

โครงสร้างที่เรียกว่า β-pleated sheets แต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับชนิดของโปรตีน) ส่วน<br />

ใหญ่ท าให้เกิดลักษณะของ restrictive cardiomyopathy ซึ่งอาจไม่มีอาการ แต่ผู้ป่วยอาจ<br />

มาพบแพทย์ด้วย arrhythmias หรืออาการคล้าย ischemic or valvular disease ขึ ้นอยู่กับ<br />

ต าแหน่งที่มีการสะสมของ amyloid ว่าเป็นที่ interstitium, conduction system, หลอด<br />

เลือด หรือ ลิ้นหัวใจ<br />

Cardiac amyloidosis อาจพบร่วมกับ amyloidosis ของอวัยวะอื่นๆ (systemic<br />

amyloidosis) หรือพบเฉพาะในหัวใจ (isolated cardiac amyloidosis)<br />

Isolated cardiac amyloidosis เช่น<br />

- Senile cardiac amyloidosis พบในผู้สูงอายุ มีพยากรณ์โรคดีกว่า systemic<br />

amyloidosis การสะสมของ amyloid ในภาวะนี้พบทั่วๆไปทั้งใน ventricles<br />

และ atria โปรตีนที่เป็นสาเหตุของ amyloid deposit คือ transthyretin โดย<br />

ปกติจะถูกสร้างจากตับ ท าหน้าที่ในการขนส่ง thyroxine และ retinol-binding<br />

protein<br />

104


105<br />

Cardiomyopathies<br />

- Isolated atrial amyloidosis พบได้เนื่องจากมีการสะสมของ atrial natriuretic<br />

peptide มักไม่มีความส าคัญทางคลินิก<br />

Morphology: เมื่อดูด้วยตาเปล่าหัวใจจะมีขนาดปกติ ไม่ค่อยพบ chamber<br />

dilation ผนังกล้ามเนื้อหัวใจอาจหนาขึ ้นเล็กน้อย เสียความยืดหยุ่นและมีลักษณะแข็ง<br />

กว่าปกติคล้ายๆยางลบ เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบ amyloid deposit เป็น pink<br />

amorphous material อยู่ใน interstitium, conduction tissue, valves, endocardium,<br />

pericardium และ small intramural coronary arteries เมื่อย้อมด้วย Congo red แล้ว<br />

น าไปดูภายใต้ polarized microscope จะพบ classic apple-green birefringence (Figure<br />

11) มักพบ amyloid deposit เป็นวงรอบเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือด<br />

myocardial capillaries, arterioles และ intramural arteries ซึ่งอาจกดหรือท าให้เกิดการ<br />

อุดตันของหลอดเลือด เกิด focal myocardial ischemia ได้ เป็นลักษณะของ smallvessel<br />

disease ซึ่งต่างจาก conventional ischemic heart disease ที่พยาธิสภาพมักเกิดที่<br />

epicardial coronary arteries<br />

Iron Overload<br />

Iron overload cardiomyopathy เกิดได้จากสาเหตุหลัก 2 สาเหตุ คือ<br />

1. Hereditary hemochromatosis<br />

2. Multiple blood transfusions (hemosiderosis)<br />

เหล็กมักสะสมใน myocardium (ventricles มากกว่า atria) มากกว่า ใ น<br />

conduction system(41) ผู้ป่วยมักเสียชีวิตด้วย 2 สาเหตุหลัก คือ<br />

1. Heart failure จาก severe systolic dysfunction ซึ่งสัมพันธ์กับ dilated<br />

cardiomyopathy แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระยะแรกที่เริ่มมีการสะสมของ<br />

เหล็กในหัวใจ จะท าให้เกิด restrictive cardiomyopathy และ diastolic<br />

dysfunction(42) เพียงแต่ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการชัดเจนจนโรคด าเนินไปสู่ภาวะ<br />

dilated cardiomyopathy กลไกที่ท าให้เกิด mechanical heart failure ผ่านทาง<br />

free radical–mediated pathways ซึ่งเป็นผลมาจากคุณสมบัติ redox<br />

activity ของธาตุเหล็กที่สามารถรับและส่งผ่านประจุอิเล็คตรอน ก่อให้เกิด


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

การสร้าง free radicals ซึ่งท าลายเซลล์ และยังท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง<br />

ของการเข้าออกของประจุผ่าน ion channels ต่างๆในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ผลลัพธ์คือท าให้มีความผิดปกติของ cardiomyocyte contractility(41)<br />

2. Fatal tachyarrhythmias หรือ sudden cardiac death ผู้ป่วย iron overload<br />

cardiomyopathy อาจมีการเต้นผิดปกติของหัวใจได้โดยไม่มีอาการ ที่พบบ่อย<br />

ที่สุด คือ premature ventricular contraction ซึ่งมีความถี่มากขึ ้นเรื่อยๆตาม<br />

ความรุนแรงของโรค จนในที่สุดอาจกลายเป็น sustained ventricular<br />

tachyarrhythmia ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง ที่น่าสนใจก็คือการเต้นผิดปกติ<br />

ของหัวใจไม่ได้สัมพันธ์กับการสะสมของเหล็กใน conduction system แต่<br />

สัมพันธ์กับการสะสมใน myocardium มากกว่า(43, 44)<br />

Morphology: พบว่าเมื่อดูด้วยตาเปล่า หัวใจของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก iron<br />

overload cardiomyopathy จะมีลักษณะเหมือน DCM แต่จะมีบริเวณที่เป็นสีน้ าตาล<br />

คล้ายสีสนิมเหล็ก ส่วนลักษณะทาง histology พบมี hemosiderin pigment สะสมใน<br />

cardiomyocytes โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ นิวเคลียส (iron-containing lysosomes หรือ<br />

siderosomes เห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน) โดยเห็นได้ด้วยการย้อมพิเศษ เช่น<br />

Prussian blue stain และมักพบ cardiomyocyte degeneration ร่วมกับ interstitial fibrosis<br />

Hyperthyroidism and Hypothyroidism<br />

ภาวะ hyperthyroidism เป็นสาเหตุข อง tachycardia, palpitations แล ะ<br />

cardiomegaly บางครั้งอาจพบ supraventricular arrhythmias แต่มักไม่พบอาการของ<br />

หัวใจล้มเหลว พยาธิสภาพของหัวใจไม่มีลักษณะที่เฉพาะเจาะจง สิ่งที่พบ เช่น หัวใจโต,<br />

cardiomyocyte hypertrophy และอาจพบ small ischemic foci ได้<br />

ภาวะ hypothyroidism จะมีการลดลงของ cardiac output เนื่องจาก stroke<br />

volume และ heart rate ลดลง ท าให้เลือดไปเลี้ยง peripheral tissue ลดลง พยาธิสภาพ<br />

ของหัวใจในรายที่เป็น hypothyroidism ขั้นรุนแรง (myxedema) จะพบหัวใจโตเป็นแบบ<br />

dilated heart ลักษณะทาง histology พบ myofiber swelling with loss of striations และ<br />

basophilic degeneration ร่วมกับ mucopolysaccharide-rich fluid ใน interstitium<br />

106


Cardiomyopathies<br />

บางครั้งเรียกการเปลี่ยนแปลงต่างๆของหัวใจเหล่านี้ในผู้ป่วย myxedema ว่า<br />

“myxedema heart”<br />

Figure 3 Cytoskeletal and sarcomeric gene mutation in cardiomyopathy<br />

ที่มา: Towbin JA et al. Nature. 2002;415:227-33.(45)<br />

107


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 4 Dilated cardiomyopathy<br />

A, Four-chamber dilatation and granular mural thrombus (arrow). The coronary arteries were<br />

patent. B, Myocyte hypertrophy and interstitial fibrosis (blue color, Masson trichrome stain).<br />

ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010.(46)<br />

Figure 5 Arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy<br />

Right ventricular dilation and near-transmural fibrofatty replacement of the right ventricular<br />

free-wall (A). Histologic section of the right ventricular free wall (A), demonstrating<br />

replacement of myocardium (red) by fibrosis (blue, arrow) and fat (Masson trichrome stain).<br />

ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010.(46)<br />

108


Cardiomyopathies<br />

Figure 6 Naxos syndrome Arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy พบร่วมกับ<br />

woolly hair (A) และ palmoplantar keratosis (B, C) ที่มา: Protonotarios et al. Orphanet J Rare<br />

Dis. 2006;1:4.(18)<br />

Figure 7 Hypertrophic cardiomyopathy, asymmetric septal hypertrophy pattern (47)<br />

Figure 8 Hypertrophic cardiomyopathy with asymmetric septal hypertrophy A,<br />

Asymmetrical septal hypertrophy with a fibrous endocardial plaque (arrow). B, Disarray,<br />

extreme hypertrophy, and branching of myocytes as well as the characteristic interstitial<br />

fibrosis. ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010.(46)<br />

109


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 9 Left ventricular noncompaction Spongy appearance of the left ventricular wall<br />

and holes (arrows, left) representing deep trabeculations (right). ที่มา: Towbin JA et al. Nature.<br />

2002;415:227-33.(45)<br />

Figure 10 Typical “takotsubo” (Japanese octopus trap) and Left ventriculogram in<br />

Takotsubo cardiomyopathy with left ventricular ballooning ที่มา:Golabchi A et al. J Res<br />

Med Sci. 2011;16:340-5.(48)<br />

Figure 11 Cardiac amyloidosis Amyloid deposit characterized by amorphous pink material<br />

with H&E stain (A) and apple-green birefringence under polarized light with congo red stain<br />

(B). ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010.(46)<br />

110


References<br />

111<br />

Cardiomyopathies<br />

1. Seidman JG, Seidman C. The genetic basis for cardiomyopathy: from mutation<br />

identification to mechanistic paradigms. Cell. 2001 Feb 23;104(4):557-67.<br />

2. Harvey PA, Leinwand LA. The cell biology of disease: cellular mechanisms of<br />

cardiomyopathy. J Cell Biol. 2011 Aug 8;194(3):355-65.<br />

3. Maron BJ, Gardin JM, Flack JM, Gidding SS, Kurosaki TT, Bild DE. Prevalence of<br />

hypertrophic cardiomyopathy in a general population of young adults.<br />

Echocardiographic analysis of 4111 subjects in the CARDIA Study. Coronary<br />

Artery Risk Development in (Young) Adults. Circulation. 1995 Aug<br />

15;92(4):785-9.<br />

4. Semsarian C, Healey MJ, Fatkin D, Giewat M, Duffy C, Seidman CE, et al. A<br />

polymorphic modifier gene alters the hypertrophic response in a murine model<br />

of familial hypertrophic cardiomyopathy. J Mol Cell Cardiol. 2001<br />

Nov;33(11):2055-60.<br />

5. Report of the WHO/ISFC task force on the definition and classification of<br />

cardiomyopathies. Br Heart J. 1980 Dec;44(6):672-3.<br />

6. Richardson P, McKenna W, Bristow M, Maisch B, Mautner B, O'Connell J, et al.<br />

Report of the 1995 World Health Organization/International Society and<br />

Federation of Cardiology Task Force on the Definition and Classification of<br />

cardiomyopathies. Circulation. 1996 Mar 1;93(5):841-2.<br />

7. Maron BJ, Towbin JA, Thiene G, Antzelevitch C, Corrado D, Arnett D, et al.<br />

Contemporary definitions and classification of the cardiomyopathies: an<br />

American Heart Association Scientific Statement from the Council on Clinical<br />

Cardiology, Heart Failure and Transplantation Committee; Quality of Care and<br />

Outcomes Research and Functional Genomics and Translational Biology<br />

Interdisciplinary Working Groups; and Council on Epidemiology and Prevention.<br />

Circulation. 2006 Apr 11;113(14):1807-16.<br />

8. Elliott P, Andersson B, Arbustini E, Bilinska Z, Cecchi F, Charron P, et al.<br />

Classification of the cardiomyopathies: a position statement from the European<br />

Society Of Cardiology Working Group on Myocardial and Pericardial Diseases.<br />

Eur Heart J. 2008 Jan;29(2):270-6.


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

9. Codd MB, Sugrue DD, Gersh BJ, Melton LJ, 3rd. Epidemiology of idiopathic<br />

dilated and hypertrophic cardiomyopathy. A population-based study in Olmsted<br />

County, Minnesota, 1975-1984. Circulation. 1989 Sep;80(3):564-72.<br />

10. Towbin JA, Bowles NE. Dilated cardiomyopathy: a tale of cytoskeletal proteins<br />

and beyond. J Cardiovasc Electrophysiol. 2006 Aug;17(8):919-26.<br />

11. Benson DW. Genetics of atrioventricular conduction disease in humans. Anat Rec<br />

A Discov Mol Cell Evol Biol. 2004 Oct;280(2):934-9.<br />

12. Hilfiker-Kleiner D, Kaminski K, Podewski E, Bonda T, Schaefer A, Sliwa K, et al.<br />

A cathepsin D-cleaved 16 kDa form of prolactin mediates postpartum<br />

cardiomyopathy. Cell. 2007 Feb 9;128(3):589-600.<br />

13. Basso C, Corrado D, Marcus FI, Nava A, Thiene G. Arrhythmogenic right<br />

ventricular cardiomyopathy. Lancet. 2009 Apr 11;373(9671):1289-300.<br />

14. Shen WK, Edwards WD, Hammill SC, Bailey KR, Ballard DJ, Gersh BJ. Sudden<br />

unexpected nontraumatic death in 54 young adults: a 30-year populationbased<br />

study. Am J Cardiol. 1995 Jul 15;76(3):148-52.<br />

15. Yang Z, Bowles NE, Scherer SE, Taylor MD, Kearney DL, Ge S, et al.<br />

Desmosomal dysfunction due to mutations in desmoplakin causes<br />

arrhythmogenic right ventricular dysplasia/cardiomyopathy. Circ Res. 2006 Sep<br />

15;99(6):646-55.<br />

16. Yamaji K, Fujimoto S, Ikeda Y, Masuda K, Nakamura S, Saito Y, et al. Apoptotic<br />

myocardial cell death in the setting of arrhythmogenic right ventricular<br />

cardiomyopathy. Acta Cardiol. 2005 Oct;60(5):465-70.<br />

17. Corrado D, Basso C, Thiene G, McKenna WJ, Davies MJ, Fontaliran F, et al.<br />

Spectrum of clinicopathologic manifestations of arrhythmogenic right ventricular<br />

cardiomyopathy/dysplasia: a multicenter study. Journal of the American College<br />

of Cardiology. 1997 Nov 15;30(6):1512-20.<br />

18. Protonotarios N, Tsatsopoulou A. Naxos disease: cardiocutaneous syndrome due<br />

to cell adhesion defect. Orphanet J Rare Dis. 2006;1:4.<br />

19. Gersh BJ, Maron BJ, Bonow RO, Dearani JA, Fifer MA, Link MS, et al. 2011<br />

ACCF/AHA guideline for the diagnosis and treatment of hypertrophic<br />

cardiomyopathy: a report of the American College of Cardiology<br />

112


Cardiomyopathies<br />

Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines.<br />

Circulation. 2011 Dec 13;124(24):e783-831.<br />

20. Niimura H, Patton KK, McKenna WJ, Soults J, Maron BJ, Seidman JG, et al.<br />

Sarcomere protein gene mutations in hypertrophic cardiomyopathy of the<br />

elderly. Circulation. 2002 Jan 29;105(4):446-51.<br />

21. McKenna WJ, Deanfield JE. Hypertrophic cardiomyopathy: an important cause<br />

of sudden death. Arch Dis Child. 1984 Oct;59(10):971-5.<br />

22. Maron BJ. Hypertrophic cardiomyopathy: a systematic review. JAMA. 2002 Mar<br />

13;287(10):1308-20.<br />

23. Gross ML, Ritz E. Hypertrophy and fibrosis in the cardiomyopathy of uremia--<br />

beyond coronary heart disease. Semin Dial. 2008 Jul-Aug;21(4):308-18.<br />

24. Maron BJ. Sudden death in young athletes. The New England journal of<br />

medicine. 2003 Sep 11;349(11):1064-75.<br />

25. Elliott PM, Sharma S, Varnava A, Poloniecki J, Rowland E, McKenna WJ.<br />

Survival after cardiac arrest or sustained ventricular tachycardia in patients with<br />

hypertrophic cardiomyopathy. Journal of the American College of Cardiology.<br />

1999 May;33(6):1596-601.<br />

26. Gimeno JR, Tome-Esteban M, Lofiego C, Hurtado J, Pantazis A, Mist B, et al.<br />

Exercise-induced ventricular arrhythmias and risk of sudden cardiac death in<br />

patients with hypertrophic cardiomyopathy. Eur Heart J. 2009<br />

Nov;30(21):2599-605.<br />

27. Spirito P, Bellone P, Harris KM, Bernabo P, Bruzzi P, Maron BJ. Magnitude of<br />

left ventricular hypertrophy and risk of sudden death in hypertrophic<br />

cardiomyopathy. The New England journal of medicine. 2000 Jun<br />

15;342(24):1778-85.<br />

28. Gersh BJ, Maron BJ, Bonow RO, Dearani JA, Fifer MA, Link MS, et al. 2011<br />

ACCF/AHA guideline for the diagnosis and treatment of hypertrophic<br />

cardiomyopathy: executive summary: a report of the American College of<br />

Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice<br />

Guidelines. Circulation. 2011 Dec 13;124(24):2761-96.<br />

113


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

29. Maron BJ, Anan TJ, Roberts WC. Quantitative analysis of the distribution of<br />

cardiac muscle cell disorganization in the left ventricular wall of patients with<br />

hypertrophic cardiomyopathy. Circulation. 1981 Apr;63(4):882-94.<br />

30. Maron BJ, Wolfson JK, Epstein SE, Roberts WC. Intramural ("small vessel")<br />

coronary artery disease in hypertrophic cardiomyopathy. Journal of the<br />

American College of Cardiology. 1986 Sep;8(3):545-57.<br />

31. Tanaka M, Fujiwara H, Onodera T, Wu DJ, Matsuda M, Hamashima Y, et al.<br />

Quantitative analysis of narrowings of intramyocardial small arteries in normal<br />

hearts, hypertensive hearts, and hearts with hypertrophic cardiomyopathy.<br />

Circulation. 1987 Jun;75(6):1130-9.<br />

32. Maron BJ, Shen WK, Link MS, Epstein AE, Almquist AK, Daubert JP, et al.<br />

Efficacy of implantable cardioverter-defibrillators for the prevention of sudden<br />

death in patients with hypertrophic cardiomyopathy. The New England journal<br />

of medicine. 2000 Feb 10;342(6):365-73.<br />

33. Davis J, Wen H, Edwards T, Metzger JM. Thin filament disinhibition by<br />

restrictive cardiomyopathy mutant R193H troponin I induces Ca2+-independent<br />

mechanical tone and acute myocyte remodeling. Circ Res. 2007 May<br />

25;100(10):1494-502.<br />

34. Mogensen J, Kubo T, Duque M, Uribe W, Shaw A, Murphy R, et al. Idiopathic<br />

restrictive cardiomyopathy is part of the clinical expression of cardiac troponin I<br />

mutations. J Clin Invest. 2003 Jan;111(2):209-16.<br />

35. Force T, Krause DS, Van Etten RA. Molecular mechanisms of cardiotoxicity of<br />

tyrosine kinase inhibition. Nat Rev Cancer. 2007 May;7(5):332-44.<br />

36. Jenni R, Oechslin EN, van der Loo B. Isolated ventricular non-compaction of the<br />

myocardium in adults. Heart. 2007 Jan;93(1):11-5.<br />

37. Chin TK, Perloff JK, Williams RG, Jue K, Mohrmann R. Isolated noncompaction of<br />

left ventricular myocardium. A study of eight cases. Circulation. 1990<br />

Aug;82(2):507-13.<br />

38. Gianni M, Dentali F, Grandi AM, Sumner G, Hiralal R, Lonn E. Apical ballooning<br />

syndrome or takotsubo cardiomyopathy: a systematic review. Eur Heart J. 2006<br />

Jul;27(13):1523-9.<br />

114


Cardiomyopathies<br />

39. Lefrak EA, Pitha J, Rosenheim S, Gottlieb JA. A clinicopathologic analysis of<br />

adriamycin cardiotoxicity. Cancer. 1973 Aug;32(2):302-14.<br />

40. Minotti G, Menna P, Salvatorelli E, Cairo G, Gianni L. Anthracyclines: molecular<br />

advances and pharmacologic developments in antitumor activity and<br />

cardiotoxicity. Pharmacol Rev. 2004 Jun;56(2):185-229.<br />

41. Lekawanvijit S, Chattipakorn N. Iron overload thalassemic cardiomyopathy: iron<br />

status assessment and mechanisms of mechanical and electrical disturbance<br />

due to iron toxicity. Can J Cardiol. 2009 Apr;25(4):213-8.<br />

42. Engle MA, Erlandson M, Smith CH. Late Cardiac Complications of Chronic,<br />

Severe, Refractory Anemia with Hemochromatosis. Circulation. 1964<br />

Nov;30:698-705.<br />

43. Buja LM, Roberts WC. Iron in the heart. Etiology and clinical significance. The<br />

American journal of medicine. 1971 Aug;51(2):209-21.<br />

44. Schellhammer PF, Engle MA, Hagstrom JW. Histochemical studies of the<br />

myocardium and conduction system in acquired iron-storage disease.<br />

Circulation. 1967 Apr;35(4):631-7.<br />

45. Towbin JA, Bowles NE. The failing heart. Nature. 2002 Jan 10;415(6868):227-<br />

33.<br />

46. Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia:<br />

Elsevier; 2010. p. 529-87.<br />

47. The Heart in Hypertrophic Cardiomyopathy. [cited 2013 February 10]; Available<br />

from: http://www.4hcm.org/hcm/overview/3009-the-heart-in-hypertrophiccardiomyopathy.html.<br />

48. Golabchi A, Sarrafzadegan N. Takotsubo cardiomyopathy or broken heart<br />

syndrome: A review article. J Res Med Sci. 2011 Mar;16(3):340-5.<br />

115


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Myocarditis<br />

ศราวุธ คงการค้า, MD FRCPath<br />

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หมายถึงการอักเสบของชั้นกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ซึ่งพบร่วมกับการตายหรือเสื่อมสภาพของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (1)(2) โรคหรือภาวะ<br />

ดังกล่าวนี้ไม่นับรวมการอักเสบอันเป็นผลจาก ischemic heart disease ภาวะนี้พบได้ใน<br />

คนทุกวัยแต่พบบ่อยสุดในเด็กอายุ 1 ถึง 10 ปี และเป็นโรคหัวใจเพียงไม่กี่โรค ที่ท าให้<br />

เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในประชากรอายุน้อย โดยเฉพาะที่ไม่มีประวัติโรคหัวใจมา<br />

ก่อน(3) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขั้นรุนแรงอาจท าให้เกิด arrhythmia หรือแม้แต่ sudden<br />

cardiac death<br />

Myocarditis เกิดได้จากหลายสาเหตุ (Table 1) แม้ว่าบ่อยครั้งจะไม่สามารถตรวจ<br />

พบได้ เช่น การติดเชื้อ, ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน, สารเคมีหรือยา<br />

เป็นต้น (4)<br />

116


Myocarditis<br />

Table 1 Causes of myocarditis<br />

Idiopathic<br />

Infectious<br />

Viral:<br />

- Coxsackievirus, adenovirus, echovirus, influenza virus, human<br />

immunodeficiency virus, and many others<br />

Rickettsial:<br />

- Typhus, Rocky Mountain spotted fever<br />

Bacterial:<br />

- Diphtheria, staphyloccal, streptococcal, meningococcal, Borrelia (Lyme<br />

disease), and leptospiral infection<br />

Fungi and protozoan parasites:<br />

- Chagas’ disease, toxoplasmosis, aspergillosis, cryptococcal, and<br />

candidal infection<br />

Metazoan parasites:<br />

- Echinococcus, Trichina<br />

Noninfectious<br />

Hypersensitivity and immunologically related diseases:<br />

- Rheumatic fever, systemic lupus erythematosus, scleroderma, drug<br />

reaction (e.g. to penicillin or sulfonamide), and rheumatoid arthritis<br />

Radiation<br />

Miscellaneous:<br />

- Sarcoidosis, uremia<br />

Modified from Emanuel R, Howard MR. Essential of Rubin’s Pathology, 5 ed,<br />

Lippincott Williams & Wilkins; 2009. p. 237-238.(2)<br />

117


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Viral myocarditis<br />

Viral infection เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของ myocarditis โดยเฉพาะ<br />

coxsackievirus A และ B (5) นอกจากนั้นอาจพบ cytomegalovirus, influenza (6) หรือ<br />

HIV ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า myocardial injury ที่เกิดขึ ้นมีสาเหตุจากตัว virus โดยตรง หรือ<br />

เกิดจาก virus กระตุ้นให้เกิด destructive immune response กลับมาท าลาย<br />

myocardium<br />

Figure 1 Viral myocarditis. The myocardial fibers are disrupted by a prominent interstitial<br />

infiltrate of lymphocytes and macrophages. Modified from Emanuel R, Howard MR. Essential of<br />

Rubin’s Pathology, 5 ed, Lippincott Williams & Wilkins; 2009. p. 237-238.(2)<br />

จากการท า autopsy พบว่าหัวใจของผู้ป่วย myocarditis มีลักษณะ flabby และ<br />

dilated ลักษณะทางจุลทรรศน์วิทยามีความหลากหลายขึ ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค<br />

ส่วนใหญ่จะพบ patchy หรือ diffuse interstitial inflammation ซึ่งมี mononuclear cells<br />

เด่น โดยเฉพาะ T lymphocytes และ macrophages ร่วมกับ focal myocyte necrosis ใน<br />

ระยะ resolving phase จะมี fibroblast proliferation และเห็น collagen deposit ได้<br />

118


Myocarditis<br />

ผู้ป่วย viral myocarditis อาจไม่มีอาการใดๆ กรณีที่มีอาการ มักเกิดขึ ้นไม่กี่<br />

สัปดาห์หลังเกิด infection ผู้ป่วยจ านวนมากจะ recover จาก acute myocarditis เพียง<br />

ส่วนน้อยจะเสียชีวิตจาก congestive heart failure หรือ arrhythmia โดยเฉพาะเด็กเล็ก<br />

และหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงอย่างคาดไม่ถึง มีรายงานว่าผู้ป่วย myocarditis<br />

อาจมีอาการเลียนแบบ myocardial infarction ได้(7)<br />

เป็นที่ทราบกันดีว่าแม้ myocardium จะเกิด resolution แต่อาจมี functional<br />

impair คงอยู่นานนับปี นอกจากนั้น pediatric myocarditis ยังเป็นสาเหตุส าคัญของการ<br />

เกิด dilated cardiomyopathy(8) โรคนี้ไม่มี specific treatment อย่างไรก็ตาม(9) การให้<br />

antiviral drugs ที่ตรงกับเชื้อไวรัสมีรายงานว่าท าให้อาการทางคลินิกดีขึ ้น และการ<br />

อักเสบใน myocardium ลดลง(9)<br />

Protozoan myocarditis<br />

เชื้อที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้คือ Trypanosoma cruzi ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค Chagas<br />

disease มีรายงานว่าประชากรประมาณ 8 ล้านคนซึ่งมีการติดเชื้อนี้ จะมีภาวะ<br />

myocarditis ซึ่งน าไปสู่ dilated cardiomyopathy แบบรุนแรงประมาณร้อยละ 30(10)<br />

ลักษณะทางพยาธิวิทยาจะพบ myocardial fibers ที่มี trypanozosomes อยู่ และสัมพันธ์<br />

กับ inflammatory cells ชนิดต่างๆ ได้แก่ neutrophils, lymphocytes, macrophages และ<br />

บางครั้งอาจพบ eosinophils<br />

Hypersensitivity myocarditis<br />

ลักษณะทางพยาธิวิทยาจะพบ interstitial infiltration ของเซลล์อักเสบชนิดต่างๆ<br />

และที่ส าคัญจ ะพบ eosinophils จ านวน มาก (11) จึ งอาจเรี ยกว่ า eosinophilic<br />

myocarditis(12) นอกจากนั้นอาจพบ multinucleated giant cells จ านวนมาก เรียก<br />

ลักษณะนี้ว่า giant cell myocarditis ซึ่งบ่งชี้ถึง poor prognosis ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด<br />

เกี่ยวกับพยาธิก าเนิดของโรคนี้ แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับการใช้ยาหรือภาวะผิดปกติทาง<br />

ภูมิคุ้มกัน(13)<br />

119


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 2 A, Lymphocytic myocarditis, associated with myocyte injury. B, Hypersensitivity<br />

myocarditis, characterized by interstitial inflammatory infiltrate composed largely of eosinophils<br />

and mononuclear inflammatory cells, predominantly localized to perivascular and expanded<br />

interstitial spaces. C, Giant-cell myocarditis, with mononuclear inflammatory infiltrate<br />

containing lymphocytes and macrophages, extensive loss of muscle, and multinucleated giant<br />

cells. D, The myocarditis of Chagas disease. A myofiber distended with trypanosomes (arrow)<br />

is present along with inflammation and necrosis of individual myofibers. [Modified from Schoen<br />

FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster JC, editors. Robbin and<br />

Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia: Elsevier; 2010. p. 529-87.](1)<br />

120


References<br />

121<br />

Myocarditis<br />

1. Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed.<br />

Philadelphia: Elsevier; 2010. p. 529-87.<br />

2. Emanuel R, Howard MR. Essential of Rubin’s Pathology, 5 ed, Lippincott<br />

Williams & Wilkins; 2009. p. 237-238.<br />

3. Chen J, Wang Z, Wu T. Shenqi fuzheng injection improves cvb3-induced<br />

myocarditis via inhibiting traf6 expression. Cell Mol Biol (Noisy-le-grand).<br />

2013 Feb 2;59 Suppl:OL 1826-34<br />

4. Bayhan T, Sahin M, Yidrim I, Karagoz T. Lamotrigine related myocarditis:<br />

case report. Turk Kardiyol Dern Ars. 2012 Jun;40(4):358-60<br />

5. Ercan S, Danutoglu V, Cakici M, Kus E, Alici H, Sari I. Rapid recovery from<br />

acute myocarditis under levosimendan treatment: report of two cases. J Clin<br />

Pharm Ther. 2013 Apr;38(2):179-80<br />

6. Estabragh ZR, Mamas MA. The cardiovascular manifestations of influenza: A<br />

systematic review. Int J Cardiol. 2013 Mar 6. Pii: S0167-5273(13)00353-7<br />

7. Xu B, Michael Jelinek V, Hare JL, Russell PA, Prior DL. Recurrent<br />

myocarditis-An important mimic of ischaemic myocardial infarction. Heart<br />

Lung Circ. 2013 Mar 1. pii: S1443-9506(12)01443-6<br />

8. Shu-Ling C, Bautista D, Kit CC, Su-Yin AA. Diagnostic evaluation of pediatric<br />

myocarditis in the emergency department: a 10-year case series in the<br />

asian population. Pediatr Emerg Care. 2013 Mar;29(3):346-51<br />

9. Hakacova N, Klingel K, Kandolf R, Engdahl E, Fogdell-Hahn A, Higgins T.<br />

First therapeutic use of artesunate in treatment of human herpesvirus 6B<br />

myocarditis in a child. J Clin Virol. 2013 Mar 5. pii: S1386-6532(13)00046-<br />

2


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

10. Nogueira LG, Santos RH, Ianni BM, Florelli AI, Mairena EC, Benvenuti LA et<br />

al. Myocardial chemokine expression and intensity of myocarditis in Chagas<br />

cardiomyopathy are controlled by polymorphisms in CXCL9 and CXCL10. PloS<br />

Negl Trop Dis. 2012;6(10):e1867<br />

11. Kanai-Yoshizawa S, Sugiyama Kato T, Mancini D, Marboe CC.<br />

Hypersensitivity myocarditis and outcome after heart transplantation. J Heart<br />

Lung Transplant. 2013 Feb 25. Pii: S1053-2498(13)01097-8<br />

12. Baandrup U. Eosinophilic myocarditis. Herz. 2012 Dec;37(8):849-52<br />

13. Mitoff PR, Mesena TG, Mielniczuk LM, Grenon J, Veinot JP, Cooper LT Jr et<br />

al. Giant cell myocarditis in a patient with a spondyloarthropathy after a drug<br />

hypersensitivity reaction. Can J Cardiol. 2013 Mar 5. Pii: S0828-<br />

282X(12)01551-6<br />

122


Myocardial infarction<br />

Myocardial infarction<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร, MD FRCPath PhD<br />

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆทั่วโลก ในบรรดา<br />

โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ<br />

43%(1)<br />

จากรายงานเมื่อปี 2001 พบว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ischemic heart<br />

disease) ท าให้ประชากรโลกเสียชีวิตสูงถึง 7 ล้านราย ซึ่งเป็นอันดับ 1 ของสาเหตุการ<br />

เสียชีวิตทั้งหมด (Figure 1)(2) คิดเป็น 17.3% ในประเทศพัฒนาแล้ว และ 11.8% ส าหรับ<br />

ประเทศก าลังพัฒนาและด้อยพัฒนา<br />

Figure 1 สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลก ปี 2001 YLL=การเสียชีวิตก่อนวันอันควร ที่มา:<br />

Lopez AD et al. Lancet. 2006;367:1747-57.(2)<br />

แม้ว่าการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยมุ่งเน้นไปที่การควบคุมปัจจัยเสี่ยง<br />

ต่างๆ ท าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ ้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไขมัน<br />

ในหลอดเลือดสูง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ท าให้ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจขาดเลือดมีอัตราการรอดชีวิตมากขึ ้น แต่เนื่องจากแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุที่มี<br />

123


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

สัดส่วนสูงขึ ้นเรื่อยๆทั่วโลก ท าให้อุบัติการณ์และความชุกของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาด<br />

เลือดมากตามไปด้วย ท าให้ภาวะดังกล่าวจึงยังคงครองอันดับต้นๆของสาเหตุการ<br />

เสียชีวิต นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รอดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีความเสี่ยงสูง<br />

มากต่อการพัฒนาไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นปัญหาที่ส าคัญมาก(3, 4) เพราะผู้ป่วย<br />

กลุ่มนี้ต้องการการดูแลรักษาตลอดชีวิตซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก<br />

Definition<br />

Myocardial infarction (MI) หมายถึง ภาวะที่เลือด (oxygenated blood) ที่มาเลี้ยง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ (demand > supply) จนท าให้เซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial necrosis)<br />

การให้การวินิจฉัย MI จะต้องพบหลักฐานการตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

(myocardial necrosis)(5) ดังต่อไปนี้<br />

1. หลักฐานทางพยาธิวิทยา<br />

2. หลักฐานทางชีวเคมี ตรวจพบสารบ่งชี้ (biomarkers) ในเลือดที่ถูกปล่อยออกมา<br />

จากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย<br />

3. หลักฐานจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบการเปลี่ยนแปลงของ ST-T segment<br />

หรือ Q waves<br />

4. หลักฐานทางรังสีวิทยา พบเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง หรือการท างาน<br />

ของผนังกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ<br />

ในปี 2007 The joint ESC/ACCF/AHA/WHF Task Force for the Redefinition of<br />

MI(6) ได้ตีพิมพ์ criteria ในการวินิจฉัย MI ซึ่งต่อมามีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งในปี 2012<br />

(The 2012 joint ESC/ACCF/AHA/WHF Task Force for the Universal Definition of MI)(7)<br />

ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้<br />

124


Myocardial infarction<br />

1. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute MI)<br />

ตรวจพบความผิดปกติของ cardiac biomarkers โดยแนะน าให้ใช้ระดับ<br />

cardiac troponin (I หรือ T) ในเลือดที่สูงขึ ้นหรือลดลง (เพื่อบอกว่าเป็นการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่เพิ่งเกิดขึ ้น; acute changes) ต้องมีอย่างน้อย 1 ค่าอยู่เหนือ<br />

99 th percentile ของค่าปกติ ร่วมกับหลักฐานต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง<br />

ได้แก่<br />

- อาการบ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด<br />

- ตรวจพบ new ST-T changes หรือ new left bundle branch block<br />

(LBBB) จาก electrocardiography<br />

- พบ pathological Q waves จาก electrocardiography<br />

- พบหลักฐานว่าเพิ่งมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจหรือ การท างาน<br />

ผิดปกติของผนังกล้ามเนื้อหัวใจจากการตรวจทางรังสีวิทยา<br />

- พบ intracoronary thrombus จาก angiography หรือ การตรวจศพ<br />

Cardiac death ที่มีอาการและตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเข้า<br />

ได้กับ MI แต่ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนการตรวจเลือดหา cardiac biomarkers<br />

การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เกิดหลังการท า Percutaneous<br />

coronary intervention (PCI) หรือ PCI-related MI ต้องพบว่าระดับ cardiac<br />

troponin ในเลือดต้องสูงขึ ้นมากกว่า 5 เท่าของ 99 th percentile ของค่าปกติ<br />

ส าหรับรายที่มีค่าปกติก่อนท า PCI หรือเพิ่มขึ ้นมากกว่า 20% ถ้าค่า baseline<br />

ก่อนท า PCI มีระดับสูง หรือก าลังจะลดลง<br />

กรณีผู้ป่วยเคยได้รับการใส่ stent ในหลอดเลือด coronary artery และสงสัย<br />

ว่าจะเกิด MI จากการอุดตันของ stent ควรตรวจพบ stent thrombosis จาก<br />

angiography หรือ จากการตรวจศพ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของระดับ<br />

cardiac troponin ในเลือด (ที่สูงขึ ้นหรือลดลง ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 1 ค่าอยู่<br />

เหนือ 99 th percentile ของค่าปกติ)<br />

125


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เกิดหลังการท า coronary artery<br />

bypass grafting (CABG) หรือ CABG-related MI ควรตรวจพบระดับ cardiac<br />

biomarkers สูงขึ ้นมากกว่า 10 เท่าของ 99 th percentile ของค่าปกติ ร่วมกับ<br />

1) พบ new pathological Q waves หรือ new LBBB หรือ 2) พบ new<br />

coronary/graft occlusion จาก angiography หรือ 3) พบการท างานผิดปกติ<br />

ของกล้ามเนื้อหัวใจจาก imaging techniques<br />

2. กล้ามเนื้อหัวใจตายเก่า (Prior MI) พบอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้<br />

ตรวจพบ new pathological Q waves ร่วมกับมีอาการหรือไม่มีก็ได้<br />

Imaging evaluation พบส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่มีการบีบตัวซึ่งมีลักษณะ<br />

บางลง โดยไม่มีสาเหตุอื่นๆมาอธิบายได้<br />

พบกล้ามเนื้อหัวใจตายเก่า จากการตรวจทางพยาธิวิทยา<br />

Myocardial infarction<br />

จากรายงานขององค์การอนามัยโลกปี 2003 พบว่า MI เป็นสาเหตุการเสียชีวิต<br />

อันดับหนึ่งของประชากรทั่วโลก(1) นอกจากนี้ MI ยังเป็นสาเหตุส าคัญอันดับต้นๆของ<br />

การน าไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว(3)<br />

MI มักพบในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด atherosclerosis (Table 1) สาเหตุที่<br />

เพศชายมีโอกาสเกิด MI มากกว่าเพศหญิง ได้มีการอธิบายว่าเนื่องจากระดับฮอร์โมน<br />

estrogen ในเพศหญิงที่พบสูงกว่า มีผลช่วยปกป้องหัวใจ (cardioprotective effects) ดัง<br />

จะเห็นได้จากอุบัติการณ์ของ MI ในเพศหญิงจะสูงขึ ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจ าเดือน แต่<br />

อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การให้ฮอร์โมนชดเชยหลังหมดประจ าเดือนจะ<br />

ช่วยลดอุบัติการณ์ของ atherosclerosis และ ischemic heart disease(8)<br />

126


Myocardial infarction<br />

Classification of MI (7)<br />

Type 1: Spontaneous MI เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด สัมพันธ์กับ acute plaque<br />

changes ขอ ง coronary atherosclerosis ได้ แก่ atherosclerotic plaque rupture,<br />

ulceration, fissuring, erosion หรือ dissection กระตุ้นให้เกิด thrombus อุดหลอดเลือด<br />

coronary arteries อย่างน้อย 1 เส้น ส่งผลให้เลือดผ่านไปได้น้อย หรือส่วนของ thrombus<br />

มีการหลุดลอยไป (เรียกว่า emboli) อุดหลอดเลือดส่วนที่อยู่ปลายกว่า ท าให้กล้ามเนื้อ<br />

ขาดเลือดและตาย<br />

Type 2: MI secondary to an ischemic imbalance เกิดจากสาเหตุอื่น<br />

นอกเหนือไปจาก acute plaque changes ของ coronary atherosclerosis ที่ท าให้<br />

myocardial oxygen supply น้อยกว่า demand เช่น coronary endothelial dysfunction,<br />

coronary artery spasm, tachy-/brady-arrhythmias, anemia, hypotension และ<br />

hypertension (Figure 2)<br />

Type 3: MI resulting in death when biomarker values are<br />

unavailable ส่วนหนึ่งของ type นี้รู้จักกันในนาม sudden cardiac death<br />

Type 4a: Myocardial infarction related to percutaneous coronary<br />

intervention (PCI)<br />

Type 4b: Myocardial infarction related to stent thrombosis<br />

Type 5: Myocardial infarction related to coronary artery bypass<br />

grafting (CABG)<br />

127


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 2 Myocardial infarction types 1 และ 2<br />

ที่มา: Thygesen K et al. Journal of the American College of Cardiology. 2012;60:1581-98.(7)<br />

Pathogenesis<br />

มากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดมีสาเหตุ<br />

มาจาก coronary atherosclerosis(9) ดังนั้นบ่อยครั้งที่จะเห็นค าว่า “coronary artery<br />

disease” หรือ “coronary heart disease” ถูกใช้ควบคู่หรือปะปนไปกับภาวะ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease)<br />

Cardiovascular risk factors<br />

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่คือภาวะกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) และภาวะหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular<br />

accident or stroke) ที่มีสาเหตุหลักคือความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่เรียกว่า<br />

“atherosclerosis” ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด atherosclerosis (atherosclerotic risk<br />

factors) (Table 1) จึงถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด<br />

เช่นเดียวกัน<br />

128


Myocardial infarction<br />

Table 1 Risk factors for cardiovascular disease (10)<br />

Major Risks<br />

Minor Risks<br />

Modifiable/Controllable<br />

- Obesity<br />

- Diabetes<br />

- Physical inactivity<br />

- Hypertension<br />

- Stress or type A personality<br />

- Hyperlipidemia<br />

- Menopause<br />

- Cigarette smoking<br />

- High carbohydrate intake<br />

- Inflammation (c-reactive protein level) - Unsaturated fat intake<br />

Nonmodifiable<br />

- Increasing age<br />

- Male<br />

- Family history<br />

- Genetic abnormalities<br />

129


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Coronary atherosclerosis<br />

Atherosclerosis มักเกิดกับ epicardial coronary arteries ประกอบด้วยหลอด<br />

เลือดหลัก 3 เส้นคือ<br />

1. The left anterior descending (LAD)<br />

2. The left circumflex (LCX)<br />

3. The right coronary artery (RCA)<br />

Atherosclerosis อาจเกิดกับหลอดเลือดเส้นเดียว สองเส้น หรือทั้งสามเส้นก็ได้<br />

นอกจากนี้อาจพบ atherosclerosis ที่แขนงของหลอดเลือดหลักที่ยังอยู่ใน epicardium<br />

แต่มักไม่ค่อยพบในส่วนของหลอดเลือดที่เข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจแล้ว<br />

โดยทั่วไป coronary atherosclerosis สามารถท าให้เกิดปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาด<br />

เลือด ซึ่งสัมพันธ์กับอาการ/อาการแสดงทางคลินิก 2 แบบหลักๆ คือ<br />

Chronic atherosclerosis (fixed coronary obstruction): atherosclerosis ที่ค่อยๆ<br />

พัฒนาจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดมากขึ ้นเรื่อยๆ เมื่อระดับการอุดตันมากถึง 75%<br />

จะท าให้เลือดที่ผ่านเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยจะเริ่ม<br />

แสดงอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยเฉพาะเมื่อหัวใจท างานหนัก คือเจ็บอกเมื่อ<br />

ออกก าลังกายหรือมีกิจกรรมมากกว่าปกติ (stable angina)<br />

เมื่อการอุดตันเพิ่มขึ ้นจนมากกว่า 90% จะมีอาการแม้ในขณะพัก ซึ่งการที่<br />

กล้ามเนื้ออยู่ในสภาพขาดเลือดแบบเรื้อรัง ท าให้การท างานบกพร่อง อาจพัฒนาไปเป็น<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ (chronic ischemic heart disease with heart failure หรือ<br />

ischemic cardiomyopathy) แต่เนื่องจากพยาธิสภาพดังกล่าวเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป<br />

ร่างกายมักมีการปรับตัวโดยการสร้างหลอดเลือดเล็กๆ หรือที่เรียกว่า collateral vessels<br />

เพื่อเป็นทางลัดให้เลือดไหลผ่านจุดที่มีการอุดตัน ซึ่งเป็นกลไกของร่างกายเพื่อป้องกัน<br />

ความเสียหายที่จะเกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ(11) ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้มีการอุดตันอย่าง<br />

สมบูรณ์ของหลอดเลือดแดงโคโรนารีกะทันหัน ก็อาจไม่พบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

เป็นบริเวณใหญ่ หากมี collateral vessels อยู่เหนือจุดอุดตัน<br />

130


Myocardial infarction<br />

Acute plague change: สัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่เรียกว่า “acute coronary<br />

syndrome” ซึ่งประกอบไปด้วย unstable angina, acute MI, and sudden death อาการ<br />

ของ acute coronary syndrome มักเกิดแบบเฉียบพลันเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ<br />

atherosclerotic plaque เช่น rupture, erosion, ulceration, fissuring หรือ hemorrhage<br />

ท าให้เกิดก้อน thrombus เพิ่มการอุดตันของหลอดเลือดอย่างกะทันหัน(12, 13) ถ้าเลือด<br />

ไม่สามารถผ่านไปได้เป็นระยะเวลาพอสมควร จะท าให้เกิดการตายของกล้ามเนื้อแบบ<br />

เฉียบพลัน (acute MI)<br />

Figure 3 Progression of atherosclerotic coronary artery lesion in association with<br />

various clinical syndromes ที่มา: Schoen FJ. The Heart. In: Kumar V, Abbasm AK, Fausto<br />

N, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier; 2005.<br />

p. 555-618.(14)<br />

131


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Clinical syndromes of coronary heart disease<br />

ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สามารถมาพบแพทย์ด้วยอาการทางคลินิก<br />

ที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้<br />

1. Angina pectoris คือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแต่ยังไม่มีการตายของเซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ<br />

1.1. Stable angina (or typical angina) ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมัก<br />

สัมพันธ์กับactivity อาการเจ็บมักไม่นานเกิน 15 นาที ความรุนแรงไม่<br />

เพิ่มขึ ้นและอาการบรรเทาลงเมื่อพัก ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการอุดตันของ<br />

หลอดเลือดจนถึงระดับที่ไม่พอเพียงต่อความต้องการ และไม่สัมพันธ์กับ<br />

acute plaque change (Figure 3)<br />

1.2. Prinzmetal variant angina อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่ไม่สัมพันธ์กับ<br />

physical activity หากเกิดขณะที่ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ ไม่มีกิจกรรม จะท าให้<br />

สงสัยว่าเป็น Prinzmetal variant ภาวะนี้สัมพันธ์กับการหดตัวของหลอด<br />

เลือดโคโรนารี (coronary artery spasm) ซึ่งอาจไม่มี significant coronary<br />

atherosclerosis ก็ได้<br />

1.3. Unstable angina อาการเจ็บแน่นหน้าอกที่ความรุนแรงเพิ่มขึ ้น กิน<br />

เวลานานกว่า และเกิดบ่อยกว่า stable angina อาการมักไม่บรรเทาเมื่อ<br />

พัก สัมพันธ์กับ acute plaque change เกิดการอุดตันเพิ่มอย่างเฉียบพลัน<br />

เนื่องจากมีการสร้าง thrombus แต่การอุดตันนี้ไม่ถึงกับหยุดการไหลผ่าน<br />

ของเลือด (Figure 3)<br />

2. Myocardial infarction กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด มักสัมพันธ์กับ<br />

acute plaque change ที่ท าให้เกิด thrombosis อุดตันหลอดเลือดโคโรนารีแบบ<br />

กะทันหัน ท าให้เลือดไม่สามารถไหลผ่าน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นระยะ<br />

เวลานานพอที่จะท าให้เกิดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเป็นแบบ transmural<br />

หรือ subendocardial MI ก็ได้ ในบรรดา coronary heart diseases ทั้งหมด MI<br />

พบได้บ่อยที่สุด<br />

132


Myocardial infarction<br />

3. Chronic ischemic heart disease with heart failure กล้ามเนื้อหัวใจขาด<br />

เลือดเรื้อรัง จนท าให้ท างานได้ไม่เต็มที่ จนพัฒนาไปเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

บางครั้งถูกเรียกว่า “ischemic cardiomyopathy” (ซึ่งรวมถึงรายที่รอดชีวิตจาก<br />

acute MI ซึ่งมักสัมพันธ์กับ acute plaque change แล้วเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

ตามมาภายหลัง มักพบลักษณะของ “prior MI” ดังกล่าวไว้ใน criteria ส าหรับ<br />

การวินิจฉัย MI ข้างต้น) กรณีที่เกิดจาก fixed coronary atherosclerotic<br />

obstruction โดยไม่มีประวัติ acute MI มาก่อน มักพบว่าหัวใจจะมีขนาดใหญ่ขึ ้น<br />

และมี left ventricular dilation มักพบ scar formation หรือ fibrosis เป็นหย่อม<br />

เล็กๆที่อาจเกิดจากตายของกล้ามเนื้อ (microinfarct) ส่วนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่<br />

มีชีวิตอยู่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น นิวเคลียสใหญ่และเข้มขึ ้น เชื่อว่าเป็นการปรับตัวเพื่อ<br />

ท างานทดแทนเซลล์กล้ามเนื้อที่ตายไป นอกจากนี้มักพบ vacuolization ของ<br />

เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณ subendocardium (subendocardial myocyte<br />

vacuolization) ซึ่งเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดการขาดเลือดมากที่สุดเนื่องจาก<br />

อยู่ไกลจาก coronary arteries ที่อยู่ในชั้น epicardium<br />

4. Sudden cardiac death (SCD) ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจ<br />

ท าให้หัวใจหยุดท างานหรือเต้นผิดจังหวะแบบร้ายแรง จนเป็นสาเหตุท าให้ผู้ป่วย<br />

เสียชีวิตกะทันหัน ค าจ ากัดความของ SCD ที่ใช้กันทั่วไป คือ เสียชีวิตภายใน 1<br />

ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ<br />

พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย coronary heart disease ที่เสียชีวิต จะเกิดแบบ<br />

กะทันหันภายใน 1 ชั่วโมง(15) ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่เสียชีวิตกะทันหันจากภาวะ<br />

SCD ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจาก acute MI<br />

เมื่อเทียบอุบัติการณ์ของการเกิด SCD ในกลุ่มประชากรต่างๆ พบว่ากลุ่ม<br />

ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วย MI ที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ โดยเฉพาะ<br />

sustained ventricular tachycardia และ ventricular fibrillation มีรายงานว่าถึงแม้<br />

ventricular tachyarrhythmias จะเกิดแค่ในช่วงระหว่างผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล<br />

และหายไปตอนจะออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อ SCD ใน<br />

133


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ระยะยาว(16, 17) นอกจากนี้ยังพบ SCD ได้บ่อยในผู้ที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจ<br />

หยุดเต้น และ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (Figure 4)(18)<br />

Figure 4 Incidence of sudden cardiac death<br />

EF; ejection fraction, HF; heart failure; MI; myocardial infarction. ที่มา: Zipes DP et al.<br />

Journal of the American College of Cardiology. 2006;48:e247-346.(18)<br />

กลไกที่ท าให้เกิด SCD คือ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะแบบร้ายแรง<br />

(lethal or fatal arrhythmias) ที่พบบ่อยที่สุดเป็น ventricular fibrillation พบได้ถึง<br />

75 – 80% ส่วนอีก 15 – 20% ของ SCD พบว่าสัมพันธ์กับ bradyarrhythmias<br />

ซึ่งรวมถึง advanced atrioventricular (AV) block และ asystole(19)<br />

กรณี SCD ที่สัมพันธ์กับ coronary atherosclerosis มักพบว่า<br />

- 80-90% ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจาก sudden cardiac death มีการตีบตันของ<br />

main coronary arteries มากกว่า 75% (>75% stenosis)<br />

- ครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิต พบหลักฐานของ acute plaque change<br />

- พบหลักฐานของการเกิด acute MI ได้ 1 ใน 4 ของผู้เสียชีวิต(20)<br />

- พบ cardiac fibrosis ซึ่งอาจเป็นลักษณะของ extracellular matrix ที่เพิ่มขึ ้นใน<br />

interstitium หรืออาจพบ scar ในกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่มีการตายมาก่อน<br />

134


Myocardial infarction<br />

เนื้อเยื่อพังผืด (fibrosis) ที่เกิดในกล้ามเนื้อหัวใจนี้สามารถท าให้เกิด electrical<br />

instability ซึ่งน าไปสู่ fatal arrhythmias ได้โดยมักผ่านกลไกที่เรียกว่า reentry<br />

mechanism(21)<br />

- พบ subendocardial myocyte vacuolization ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะ severe chronic<br />

ischemia<br />

Pathophysiology of spontaneous MI (MI type 1)<br />

Coronary arterial occlusion: ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า acute MI type 1<br />

สัมพันธ์กับ acute plaque change ท าให้มีการสร้าง thrombus ขึ ้นมา เกิดการอุดตัน<br />

หลอดเลือดแดงโคโรนารีแบบเฉียบพลัน<br />

ปรากฏการณ์นี้เกิดได้โดยมี platelet เป็นตัวแปรส าคัญ เริ่มจากเมื่อมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่ atherosclerotic plaque เช่น erosion, ulceration, rupture, fissuring หรือ<br />

hemorrhage จะมีการเกาะตัวของ platelet ในบริเวณนั้น platelet จะถูกกระตุ้นท าให้มี<br />

การหลั่ง secretory granule ออกมา เป็นผลให้ platelet มารวมตัวที่บริเวณดังกล่าวมาก<br />

ขึ ้นเกิดเป็น platelet plug อุดบริเวณ acute plaque change จากนั้น endothelial cells จะ<br />

หลั่ง tissue factors ออกมากระตุ้น coagulation pathway เกิดการสะสมของ fibrin เพิ่ม<br />

เข้าไปท าให้ platelet plug แข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า fibrin-platelet thrombus<br />

นอกจากนี้ในบริเวณ acute plaque change จะมีการหลั่ง vasoconstrictive<br />

mediators เช่น endothelin จาก endothelial cell เป็นต้น ท าให้ผนังหลอดเลือดหดตัว<br />

(vasoconstriction) หรือ หดเกร็ง (vasospasm) เพิ่มความรุนแรงของการอุดตันหลอด<br />

เลือด coronary artery<br />

90% ของ acute MI จะพบว่ามี thrombotic obstruction ซึ่งเข้าได้กับ type I MI<br />

จากการฉีดสีเข้าหลอดเลือด (coronary angiography) ภายใน 4 ชั่วโมงหลัง onset ของ<br />

acute MI<br />

ส่วนอีก 10% ที่ไม่พบ thrombosed coronary obstruction (non-type I MI) อาจมี<br />

สาเหตุอื่นๆ เช่น vasospasm จากการเสพโคเคน, emboli จาก left atrium หรือ จากลิ้น<br />

135


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

หัวใจที่มี vegetation ลอยมาอุด coronary artery จนเกิดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

แล้ว emboli หลุดไปก่อนที่จะตรวจเจอ, หรือเกิดจากพยาธิสภาพของ small<br />

intramyocardial coronary vessels ที่ไม่สามารถเห็นได้จาก coronary angiography<br />

Myocardial response: เมื่อมีการอุดตันของ coronary artery จะท าให้<br />

กล้ามเนื้อหัวใจเสี่ยงต่อการเกิด ischemia, dysfunction และการตาย (death) ตามล าดับ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณดังกล่าว เรียกว่า area at risk<br />

เมื่อเกิดการขาดเลือด (ischemia) ท าให้มีการลดลงของ ATP (adenosine<br />

triphosphate) ขบวนการ aerobic metabolism ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะถูกใช้น้อยลงจน<br />

หยุดไปและเปลี่ยนไปใช้ anaerobic metabolism แทน ส่งผลให้เกิดการสะสมของ lactic<br />

acid เนื่องจากมีการน า glycogen มาใช้เป็นแหล่งพลังงาน จะท าให้เกิดภาวะ glycogen<br />

depletion, มีการบวมของ mitochondria, และเมื่อไม่มีพลังงานเพียงพอ myofibrils ก็ไม่<br />

สามารถหดตัวได้ ผลที่ตามมาจะท าให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถหดตัวได้ตามปกติ<br />

ซึ่งสามารถเกิดได้ภายใน 1-2 นาทีหลังขาดเลือด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจกลับสู่<br />

ภาวะปกติได้ถ้าการอุดตันกินเวลาไม่นาน โดยปกติมักไม่นานกว่า 20-30 นาที แต่หาก<br />

การขาดเลือดด าเนินต่อไป จะเกิดการท าลายของโครงสร้างและorganellesของเซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ เช่น disruption of cell membrane และ มีการปล่อย lysosomal<br />

enzymes ออกมาย่อยเซลล์ ท าให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย (necrosis) ในที่สุด โดยปกติ<br />

การท าลายกล้ามเนื้อหัวใจถาวรอย่างมีนัยส าคัญ มักเกิดเมื่อการขาดเลือดยาวนาน<br />

ระดับหนึ่ง โดยทั่วไปจะเริ่มที่ประมาณ 30 นาที และถึงแม้ว่าหลัง 30 นาทีจะเริ่มมีการ<br />

ตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ ้นซึ่งจะถือว่าเป็น irreversible injury แต่กล้ามเนื้อ<br />

บริเวณ area at risk ไม่ได้ตายพร้อมกันทีเดียว ดังนั้นหากมีเลือดผ่านจุดอุดตันไปได้อีก<br />

ครั้งก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนในบริเวณ area at risk รอดตายได้ ระยะเวลา<br />

ดังกล่าวมักจะอยู่ในช่วง 2-4 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 6 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวถูก<br />

น ามาใช้อ้างอิงในการให้การรักษาผู้ป่วย acute MI เพื่อให้เลือดผ่าน coronary artery ไป<br />

ได้อีกครั้งหนึ่ง (revascularization or reperfusion) หรือที่เรียกว่า coronary intervention<br />

ที่อาจเป็นการใช้ยาสลายลิ่มเลือด (thrombolytic agents), การถ่างขยายหลอดเลือด<br />

136


Myocardial infarction<br />

(angioplasty), การใส่ stent, หรือการผ่าตัด coronary artery bypass graft (CABG)<br />

surgery<br />

การรักษาด้วยวิธี revascularization or reperfusion จะได้ผลดีหากท าได้รวดเร็ว<br />

แต่จะไม่มีประโยชน์หากกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณ area at risk เกิดการตายอย่างสมบูรณ์<br />

ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมง กรณีที่มีภาวะ chronic ischemia มาก่อนอาจใช้<br />

เวลานานกว่านี้ที่จะท าให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณ area at risk ตายอย่างสมบูรณ์<br />

เนื่องจากมีการสร้าง collateral vessels เพื่อให้เลือดผ่านจุดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจที่<br />

ขาดเลือดมีการปรับตัวในการใช้พลังงานลดลงเรียกภาวะนี้ว่า hibernation<br />

Transmural VS Subendocardial infarction: subendocardial myocardium เป็น<br />

บริเวณที่เสี่ยงต่อการขาดเลือดมากที่สุดเนื่องจากอยู่ไกลจาก epicardial coronary<br />

arteries ดังนั้นในภาวะ acute MI เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจในบริเวณ area at risk จะเริ่มตาย<br />

จากจุดศูนย์กลาง บริเวณ subendocardium ก่อน แล้วค่อยๆขยายเป็นวงกว้าง และไล่<br />

ตามความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจในทิศทางเข้าหา epicardium<br />

Acute MI ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ transmural infarction คือมีการตายของกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจทุกชั้นเต็มความหนา (หรือเกือบเต็ม) ของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ (Figure 5, left) หาก<br />

พบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่ด้านใน (มักไม่เกินครึ่งหนึ่งของความหนาผนัง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ) จะเรียกว่า subendocardial or nontransmural infarction (Figure 5,<br />

right) ซึ่งอาจเกิดจากการสลายของ thrombus (ที่เกิดใน acute plaque change) ท าให้<br />

เลือดผ่านไปได้อีกครั้ง (restoration of flow or reperfusion) ก่อนที่การตายของเซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจในบริเวณ area at risk จะเกิดอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจพบ<br />

subendocardial infarction ได้ในภาวะช็อค ที่ความดันเลือดที่ลดต่ าลงท าให้เลือดไปเลี้ยง<br />

ไม่ถึงบริเวณ subendocardium แต่บริเวณที่ตายจะเป็นแบบ global infarction (Figure 7)<br />

คือ เกิดรอบ left ventricular chamber ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับบริเวณที่ถูกเลี้ยงโดย<br />

หลอดเลือดโคโรนารีเส้นใดเส้นหนึ่ง<br />

137


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 5 Transmural vs Subendocardial infarction<br />

ภาพตัดขวางของ left ventricle จากหนูที่ได้รับการผ่าตัดผูกหลอดเลือด left anterior descending<br />

coronary artery ด้านซ้าย (ก าลังขยาย 1 เท่า) จะเห็น fibrosis (ติดสีแดงเมื่อย้อมด้วย Picrosirius<br />

red) ที่เกิดแทนที่บริเวณที่มีการตายของกล้ามเนื ้อหัวใจแบบเต็มผนัง หรือ transmural myocardial<br />

infarction ด้านขวา (ก าลังขยาย 1.5 เท่า) จะเห็น fibrosis เฉพาะบริเวณ subendocardium (ลูกศร)<br />

เกิดแทนที่กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายแบบ subendocardial myocardial infarction สังเกตว่ากล้ามเนื ้อ<br />

หัวใจบริเวณด้านในที่อยู่ชิด left ventricular chamber ยังคงสภาพดีอยู่เนื ่องจากได้รับออกซิเจนที่<br />

แพร่ผ่านเข้ามาโดยตรงจากเลือดใน left ventricular chamber. ที่มา: Author’s own images.<br />

Clinical manifestations<br />

ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก บางรายอาจให้ประวัติเจ็บร้าวไปที่ขากรรไกร<br />

ซ้าย หรือบริเวณไหล่ สะบักด้านซ้าย ร่วมกับมีเหงื่อออก หากความสามารถในการบีบ<br />

ตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงจนท าให้เกิด pulmonary congestion/edema ผู้ป่วยจะมี<br />

อาการเหนื่อยหอบ (dyspnea) ชีพจรเร็วและเบา แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการเจ็บ<br />

อกชัดเจน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน<br />

การให้การวินิจฉัยมักต้องอาศัยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography)<br />

ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory tests) อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเมื่อ<br />

เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีการแตกของเซลล์ที่เกิดจาก cell membrane disruption<br />

ท าให้มีการหลุดลอดของโมเลกุลจ านวนมากในเซลล์ออกมาสู่กระแสเลือด ที่สามารถ<br />

ตรวจวัดระดับได้ เช่น cardiac troponin T, cardiac troponin I, creatine kinase-MB (CK-<br />

138


Myocardial infarction<br />

MB), lactate dehydrogenase และ hemoglobin เป็นต้น ในบรรดา biomarkers เหล่านี้<br />

cardiac troponin T และ cardiac troponin I ถือว่ามีความไวและความจ าเพาะเจาะจงสูง<br />

ที่สุด เมื่อเกิด MI จะเริ่มตรวจพบระดับที่สูงขึ ้นได้ที่ 2-4 ชั่วโมง และเพิ่มขึ ้นจนสูงสุดที่<br />

48 ชั่วโมง ก่อนจะลดลงและยังคงตรวจพบได้จนถึง 7-10 วันหลัง onset ของ MI (Figure<br />

6, เส้นกราฟ B) ส่วน CK-MB ก็มีความไวสูง แต่ความจ าเพาะเจาะจงอาจน้อยกว่า<br />

cardiac troponins ระดับ CK-MB จะสูงขึ ้น 2-4 ชั่วโมง หลัง onset ของ MI ถึง peak ที่<br />

24 ชั่วโมง แต่จะลดลงสู่ระดับปกติภายใน 72 ชั่วโมง (Figure 6, เส้นกราฟ C)<br />

Figure 6 การเปลี่ยนแปลงของระดับ cardiac biomarkers ในเลือ ดหลังภาวะ acute<br />

myocardial infarction<br />

เส้นกราฟ A แสดงการเปลี่ยนแปลงระดับ myoglobin หลังเกิด acute MI<br />

เส้นกราฟ B แสดงการเปลี่ยนแปลงระดับ cardiac troponin หลังเกิด acute MI<br />

เส้นกราฟ C แสดงการเปลี่ยนแปลงระดับ creatine kinase-MB หลังเกิด acute MI<br />

เส้นกราฟ D แสดงการเปลี่ยนแปลงระดับ cardiac troponin ในภาวะ unstable angina<br />

ข้อมูลในแกน Y เป็น relative values เทียบกับค่า cutoff level ของ acute MI ซึ่งให้ค่าเท่ากับ 1<br />

AMI; acute myocardial infarction. ที่มา: Alpert JS et al. Journal of the American College of<br />

Cardiology. 2000;36:959-69.(5)<br />

139


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Morphological findings<br />

การตายของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนใหญ่เป็นแบบ transmural infarction แต่ไม่ว่าจะ<br />

เป็น transmural หรือ subendocardial infarct บริเวณที่พบกล้ามเนื้อตายขึ ้นอยู่กับหลอด<br />

เลือดโคโรนารีที่เป็นสาเหตุ ซึ่งได้แก่<br />

- Left anterior descending coronary artery พบเป็นสาเหตุของ acute MI บ่อยที่สุด<br />

(40-50%) เมื่อมีการอุดตันจะท าให้กล้ามเนื้อขาดเลือดและตาย บริเวณ apex และ<br />

anteroinferior wall ของ left ventricle และ anterior portion of interventricular<br />

septum<br />

- Right coronary artery (30-40%) ส่งเลือดไปเลี้ยงบริเวณ posterior wall of left<br />

ventricle, posterior portion of interventricular septum, right ventricular free wall<br />

- Left circumflex coronary artery (15-20%) ส่งเลือดไปเลี้ยงบริเวณ lateral wall of<br />

left ventricle ยกเว้นส่วน apex<br />

140


Myocardial infarction<br />

Figure 7 Distribution of myocardial infarction<br />

Left, The positions of transmural acute infarcts resulting from occlusions of the major coronary<br />

arteries; top to bottom, left anterior descending, left circumflex, and right coronary arteries.<br />

Right, The types of infarcts that result from a partial or transient occlusion, global hypotension,<br />

or intramural small vessel occlusions.<br />

ที่มา: Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster JC, editors.<br />

Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia: Elsevier; 2010. p. 529-<br />

87.(9)<br />

Gross, Microscopic and Ultrastructural findings: (Table 2) การเปลี่ยนแปลงที่<br />

เกิดขึ ้นในกล้ามเนื้อที่ตายจากการขาดเลือด จะเริ่มจากภายในเซลล์ก่อน (ultrastructural<br />

changes) เห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนหลังจากขาดเลือดไม่กี่นาที<br />

เมื่อมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ ้น ปกติจะเห็นด้วยตาเปล่าที่ประมาณหลัง<br />

12 ชั่วโมงขึ ้นไป พบว่าบริเวณที่กล้ามเนื้อตายเป็นจุดคล้ าๆ แต่ในทางปฏิบัติหากผู้ป่วย<br />

เสียชีวิตหลังกล้ามเนื้อตายอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง อาจน าหัวใจที่ฝานเป็นแผ่น (heart<br />

slices) แช่ในน้ ายา triphenyltetrazolium chloride (TTC) ท าให้เห็นบริเวณกล้ามเนื้อตาย<br />

เป็นสีซีด เนื่องจากน้ ายาดังกล่าวจะท าปฏิกิริยากับเอ็นไซม์ dehydrogenase ที่อยู่ใน<br />

เซลล์กล้ามเนื้อปกติแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดังนั้นบริเวณกล้ามเนื้อที่ยังไม่ตายจะติดสีแดง<br />

141


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

แต่บริเวณกล้ามเนื้อตายเอ็นไซม์จะรั่วออกจากเซลล์จึงไม่เกิดการเปลี่ยนสี ท าให้เห็น<br />

เป็นบริเวณซีด<br />

การเปลี่ยนแปลงจากกล้องจุลทรรศน์ เริ่มเห็นได้ที่ 6-12 ชั่วโมงหลังการเกิด<br />

acute MI โดยเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายที่บริเวณขอบๆ จะมีลักษณะเป็นคลื่น (wavy<br />

fibers) เนื่องจากแรงบีบจากกล้ามเนื้อปกติที่อยู่รอบๆ (Figure 8C) ลักษณะการตายของ<br />

เซลล์กล้ามเนื้อจะเป็นแบบ coagulative necrosis ซึ่งจะเห็นในเวลาต่อมาหลัง 12 ชั่วโมง<br />

ไปแล้ว โดยจะพบ pyknotic nuclei และ eosinophillic cytoplasm นอกจากนี้พบมี<br />

interstitial edema, vascular congestion และ hemorrhage ท าให้เห็นจุดคล้ าจากตา<br />

เปล่า<br />

หลังวันที่ 1 จะมีเซลล์อักเสบเข้ามา เริ่มจาก neutrophil ซึ่งเพิ่มปริมาณจนเห็น<br />

ชัดเจนที่วันที่ 3 (Figure 8C) ท าให้บริเวณกล้ามเนื้อตายจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแทน<br />

เมื่อดูด้วยตาเปล่า ประมาณวันที่ 3-7 วันบริเวณกล้ามเนื้อตายจะอ่อนแอที่สุด<br />

เนื่องจาก neutrophil ซึ่งมีปริมาณมากจะปล่อยเอ็นไซม์ออกมาย่อยเซลล์ เนื้อเยื่อ รวม<br />

ทั้งตัวมันเองด้วย เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อการทะลุของหัวใจ จากนั้น<br />

macrophages จะเข้ามาเก็บกินซากเซลล์ที่ตาย (วันที่ 7-10) รวมทั้งมีการปล่อย growth<br />

factors และ cytokines ต่างๆ ออกมามากมายกระตุ้นให้เกิดขบวนการซ่อมแซมโดยมี<br />

การสร้างหลอดเลือดใหม่ และ มี fibroblasts เพิ่มขึ ้น ซึ่งจะเห็นเป็นลักษณะของ<br />

granulation tissue (วันที่ 10-14) มาแทนที่บริเวณกล้ามเนื้อตายโดยจะเริ่มเกิดบริเวณ<br />

ขอบกล้ามเนื้อตาย ลักษณะจากตาเปล่าจึงเริ่มเห็นตรงขอบมีสีแดงเรื่อๆ ก่อนที่จะ<br />

เปลี่ยนเป็นสีแทนจางๆ เนื่องจาก fibroblast จะสร้างคอลลาเจนออกมาสะสม (Figure 9)<br />

เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณคอลลาเจนสะสมมากขึ ้นจนแทนที่บริเวณกล้ามเนื้อตาย แล้ว<br />

เริ่มมีการหดตัว ดึงรั้งเกิดเป็น scar ที่สมบูรณ์เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 เดือนหลัง<br />

acute MI<br />

142


Myocardial infarction<br />

Table 2 Morphological findings in acute myocardial infarction.(14)<br />

Time Gross findings Microscopic findings Electron microscope<br />

Reversible injury<br />

0-1/2 hr ไม่พบความผิดปกติ ไม่พบความผิดปกติ Relaxation of myofibrils<br />

Glycogen depletion<br />

Mitochondrial swelling<br />

Irreversible injury<br />

½-4 hr ไม่พบความผิดปกติ -พบ wavy fibers บริเวณขอบ infarct Cell membrane disruption<br />

4-12 hr อาจเห็นจุดคล้ า -Early coagulative necrosis<br />

-Interstitial edema and hemorrhage<br />

Mitochondrial amorphous<br />

densities<br />

12-24 hr เริ่มเห็นจุดคล้ า -Coagulative necrosis<br />

-Contraction band necrosis<br />

-เริ่มเห็น neutrophil<br />

1-3 d จุดคล้ า, เริ่มเห็นบริเวณ<br />

กล้ามเนื้อตายเป็นสี<br />

เหลืองแทน<br />

3-7 d บริเวณกล้ามเนื้อตายสี<br />

เหลืองแทน ล้อมรอบ<br />

ด้วยขอบสีออกแดงๆ<br />

7-10 d บริเวณกล้ามเนื้อตายสี<br />

เหลืองแทน,เละ ขอบสี<br />

แดงเริ่มมีสีแทนและ<br />

ยุบตัว<br />

10-14 d ขอบยุบตัว สีเริ่มจางลง<br />

ออกเทาๆ<br />

2-8 wk เริ่มเห็นเป็นรอยแผลเป็น<br />

สีขาวเทาจากขอบเข้าสู่<br />

ตรงกลาง<br />

>2 mo บริเวณ infarct ถูกแทนที่<br />

ด้วย scar<br />

- Coagulative necrosis (loss of nuclei<br />

and striations)<br />

- Obvious neutrophil infiltrate<br />

-Dead cardiomyocytes เริ่มสลาย<br />

-Neutrophils เริ่มตาย<br />

-เริ่มเห็น macrophage<br />

-Obvious macrophage infiltrate<br />

-เริ่มเห็น granulation tissue formation<br />

-Well-established granulation tissue<br />

-เริ่มมี collagen deposit<br />

-Increased collagen deposit<br />

-Decreased cellularity<br />

-Dense collagen scar<br />

143


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

A<br />

Aorta<br />

B<br />

LA<br />

RV<br />

IVS<br />

LV<br />

C<br />

Figure 8 Myocardial infarction (~3 days)<br />

A; กล้ามเนื ้อหัวใจตายบริเวณ posterolateral wall ของ left ventricle (ลูกศร) เห็นเป็นสีแทนจาง<br />

กว่าบริเวณกล้ามเนื้อปกติ และมีจุดเลือดออก. B; Atherosclerosis ของ right coronary artery มี<br />

การอุดตันมากกว่า 80%. C; Dead cardiomyocytes บริเวณขอบ infarct (หัวลูกศร) มีลักษณะเป็น<br />

คลื่น (wavy fibers) เนื ่องจากถูกยืดออกจากการที่กล้ามเนื ้อหัวใจปกติรอบๆ (มุมซ้ายบน) ยังมีการ<br />

บีบคลายตัวปกติ นอกจากนี้ยังเห็น neutrophil infiltration บริเวณ infarct myocardium. LA; left<br />

atrium, IVS; interventricular septum, RV; right ventricle. (Courtesy of Associate Professor Dr<br />

Surapan Khunamornpong, Department of Pathology, Chiang Mai University)<br />

144


Myocardial infarction<br />

A<br />

B<br />

C<br />

Figure 9 Myocardial infarction (~10 days - 7weeks)<br />

A; กล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณ anterior wall ของ left ventricle เห็นเป็นสีแทนจางกว่าบริเวณ<br />

กล้ามเนื้อปกติ และเริ่มมีการยุบตัวบริเวณขอบนอกของ infarct. B; Atherosclerosis ของ left<br />

anterior descending coronary artery ร่วมกับ superimposed thrombus ท าให้เกิดการอุดตัน 100%.<br />

C; บริเวณ infarct ถูกแทนที่ด้วย granulation tissue ประกอบด้วยหลอดเลือดสร้างใหม่ fibroblasts<br />

และ macrophages. (Courtesy of Associate Professor Dr Surapan Khunamornpong, Department<br />

of Pathology, Chiang Mai University)<br />

145


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Infarct modification by reperfusion<br />

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเมื่อเกิด thrombus ใน acute plaque change หาก<br />

thrombus นั้นมีการสลายท าให้เลือดผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณ area at risk<br />

ขณะที่การตายยังไม่สมบูรณ์จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อบางส่วนรอดได้ ซึ่งอาจออกมา<br />

ในรูปของ subendocardial infarction แทนที่จะเป็น transmural infarction และขนาดพื้นที่<br />

ของ infarct เล็กลง (Figure 10A)<br />

ปัจจุบันการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อที่จะช่วยรักษากล้ามเนื้อหัวใจใน area at risk ส่วน<br />

ที่ยังไม่ตายไว้ และเป็นการจ ากัดบริเวณ infarct ได้ คือ การท าให้เลือดผ่านกลับเข้าไป<br />

เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (reperfusion) ให้ได้เร็วที่สุดหลัง onset ของ acute MI นอกจากนี้<br />

reperfusion ยังสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและผลเสียที่ตามมาหลัง acute MI ทั้ง<br />

ระยะสั้นและยาวได้ด้วย ปัจจัยที่ท าให้ reperfusion เกิดผลดี ขึ ้นอยู่กับ<br />

1. ความเร็วในการให้การรักษา ปกติควรอยู่ในช่วงไม่เกิน 2-4 ชั่วโมงแรก<br />

หรือไม่เกิน 6 ชั่วโมง<br />

2. วิธีการรักษา, ความรุนแรงของการอุดตัน และลักษณะของรอยโรคที่ท าให้<br />

เกิดการอุดตัน เช่น หาก atherosclerotic plaque ขนาดใหญ่แต่ขนาด<br />

thrombus ไม่ใหญ่ การให้ thrombolytic agent เพื่อไปสลายลิ่มเลือด จะเกิด<br />

ผลดีน้อยกว่าการท า percutaneous transluminal coronary angioplasty<br />

(PTCA) with stent placement ที่สามารถแก้ไขในส่วน atherosclerotic plaque<br />

ได้ด้วย<br />

แม้ว่าข้อดีของ reperfusion จะชัดเจน แต่ก็สามารถท าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้<br />

เช่น myocardial hemorrhage with contraction bands (Figure 10B-C), reperfusion<br />

injury (Figure 11), prolonged ischemic dysfunction (myocardial stunning) เป็นต้น<br />

บริเวณที่เกิด infarct ไปแล้ว เมื่อมี reperfusion มักมีเลือดออก เนื่องจากเส้นเลือดใน<br />

บริเวณดังกล่าวก็ถูกท าลายไปด้วย ท าให้เลือดที่ผ่านเข้ามาใหม่มีการรั่วออก แคลเซียม<br />

ในเลือดที่มีระดับสูงขึ ้นหลังเกิด arterial occlusion จะสัมผัสกับ myofibrils ภายในเซลล์<br />

146


Myocardial infarction<br />

กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายโดยตรง ผ่านทางรอยขาดของ cell membrane ซึ่ง myofibrils<br />

บางส่วนยังสามารถตอบสนองต่อแคลเซียมได้อยู่จะเกิดการหดตัว เห็นเป็น contraction<br />

band ลักษณะเป็น eosinophilic intracellular stripes ในแนวขวางของเซลล์กล้ามเนื้อ<br />

หัวใจ จากกล้องจุลทรรศน์ (Figure 10C) นอกจากผลของแคลเซียมแล้ว reperfusion<br />

injury ยังสัมพันธ์กับ oxidative stress ที่เพิ่มขึ ้น และ inflammatory activation อีกด้วย<br />

endothelial swelling ในหลอดเลือด capillary เป็นอีกอย่างที่พบใน reperfusion injury ท า<br />

ให้เลือดที่ผ่านจุดอุดตันของ coronary artery ไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงเซลล์กล้ามเนื้อ<br />

หัวใจที่ยังไม่ตาย และท้ายที่สุดเซลล์เหล่านี้ก็ไม่สามารถรอดจากการตายได้<br />

หลังจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจใน area at risk รอดจากการตายหลังการท า<br />

reperfusion ประสบความส าเร็จแล้ว เซลล์ที่รอดชีวิตนี้อาจกลับมาท างานได้ช้า เรียก<br />

ภาวะนี้ว่า “myocardial stunning” เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงเป็น<br />

ระยะเวลานาน (chronic ischemia) อาจมีการปรับตัวโดย metabolism ลดลง รวมทั้ง<br />

ท างานลดลงด้วย ภาวะนี้เรียกว่า “hibernation” และหากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด<br />

กะทันหันเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่เกิดซ้ าๆ เซลล์ดังกล่าวจะทนต่อการเกิด infarction ได้<br />

มากกว่าปกติ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “preconditioning”<br />

147


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 10 Infarct modification by reperfusion<br />

A; แสดงให้เห็นถึงการตายของกล้ามเนื้อหัวใจในบริเวณ area at risk ซึ่งสามารถลดขนาดลงได้ด้วย<br />

reperfusion ที่ จะเห็นว่าหาก reperfusion ยิ่งเกิดขึ้นเร็ว ขนาดของ infarct ก็จะยิ่งเล็กลง โดยทั่วไป<br />

reperfusion ที่เกิดหลัง 6 ชั่วโมงจะไม่มีประโยชน์ในการลด infarct size. B; แสดงให้เห็นเลือดออก<br />

ในบริเวณกล้ามเนื้อตายหลัง reperfusion (triphenyl tetrazolium chloride–stained heart slice). C;<br />

แสดงให้เห็นเซลล์กล้ามเนื้อตายที่มีเลือดออก (สังเกตเม็ดเลือดแดงที่อยู่ระหว่างเซลล์กล้ามเนื ้อ<br />

หัวใจ) และ contraction bands (arrow). ที่มา: Schoen FJ. The Heart. In: Kumar V, Abbasm AK,<br />

Fausto N, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier;<br />

2005. p. 555-618.(14)<br />

148


Myocardial infarction<br />

Figure 11 Effects of reperfusion on myocardial viability and function<br />

ที่มา: Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster JC, editors.<br />

Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia: Elsevier; 2010. p. 529-<br />

87.(9)<br />

Consequences and Complications of MI<br />

Cardiac complications:<br />

Contractile dysfunction ขึ ้นอยู่กับขนาดของ infarct ผลที่ตามมาอาจมี acute heart<br />

failure, ความดันเลือดตกลง, pulmonary congestion and edema<br />

cardiogenic shock พบได้ 10-15%ของผู้ป่วย สัมพันธ์กับ LV infarct size ที่ใหญ่<br />

กว่า 40% ของพื้นที่ LV ทั้งหมด และเป็นสาเหตุการตายในโรงพยาบาลที่พบบ่อย<br />

Arrhythmias ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายอาจมีผลต่อการน าไฟฟ้าของหัวใจ ท าให้มี<br />

ความเสี่ยงสูงต่อการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ เช่น sinus bradycardia, heart block<br />

(asystole), tachycardia, ventricular premature contractions or ventricular<br />

tachycardia, and ventricular fibrillation<br />

Myocardial rupture เกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อตายร่วมกับการอักเสบ อาจ<br />

ท าให้เกิดการทะลุได้ ซึ่งอาจเกิดที่ left ventricular free wall (Figure 12, A),<br />

interventricular septum หรือ papillary muscle พบบ่อยระหว่างวันที่ 3-7 ซึ่งเป็น<br />

ช่วงที่มีการย่อยสลายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย มีการอักเสบเยอะ แต่ยังไม่มี<br />

การสร้าง granulation tissue หากการทะลุเกิดที่ left ventricular free wall ซึ่งเป็น<br />

149


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ต าแหน่งพบได้บ่อยที่สุด ท าให้เลือดคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (hemopericardium and<br />

cardiac tamponade) และท าให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว<br />

Pericarditis (Dressler syndrome) มักพบวันที่ 2-3 ตามหลัง transmural infarct เป็น<br />

ผลจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายต่อเนื่องมาถึงเยื่อหุ้มหัวใจ ลักษณะมัก<br />

เป็นแบบ fibrinous or fibrinohemorrhagic pericarditis<br />

Infarct extension มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ ้น ซึ่งมักเกิดติดกับบริเวณที่<br />

ตายเดิม<br />

Infarct expansion (Figure 12, B) เกิดเนื่องจากบริเวณกล้ามเนื้อตายอ่อนแอท าให้มี<br />

การยืดขยายผิดปกติ และมักสัมพันธ์กับการเกิด thrombus ในบริเวณดังกล่าว<br />

(mural thrombus) (Figure 12, B)<br />

Ventricular aneurysm เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในระยะหลังๆ ซึ่งมีการสร้าง scar<br />

แทนบริเวณที่มีการตายของกล้ามเนื้อ มักมี infarct expansion น ามาก่อน และ<br />

สัมพันธ์กับ infarct size ขนาดใหญ่<br />

Progression to chronic heart failure ผู้ป่วย acute MI ที่รอดชีวิต จะมีความเสี่ยงสูง<br />

มากต่อการเกิด heart failure ตามมา(3, 4)<br />

Ventricular remodeling ในส่วนของ noninfarcted myocardium จะมี hypertrophy ซึ่ง<br />

ในช่วงแรกจะเป็นการปรับตัวเพื่อท างานชดเชยส่วนที่ตายไป แต่ก็เป็นการเพิ่มความ<br />

ต้องการออกซิเจนของเซลล์ด้วย นอกจากนี้การสะสม extracellular matrix หรือที่<br />

เรียกว่า cardiac interstitial fibrosis ก็เป็นขบวนการตอบสนองเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

มีความแข็งแรงขึ ้น แต่การสะสมดังกล่าวเป็นการขัดขวางการน าไฟฟ้าของหัวใจ ท า<br />

ให้หัวใจท างานผิดปกติได้ในระยะยาว และนอกจากนี้ในส่วน infarct myocardium จะ<br />

มีการซ่อมแซมเกิดเป็น scar มาแทนที่ส่วนที่ตาย ซึ่งมักมีการยืดขยายออกในเวลา<br />

ต่อมา เกิด dilation ของ left ventricular chamber ท าให้ประสิทธิภาพในการบีบตัว<br />

ของหัวใจลดลง สุดท้ายหัวใจก็ท างานไม่ไหว เกิดภาวะ heart failure<br />

150


Myocardial infarction<br />

A<br />

B<br />

Figure 12 Complications of myocardial infarction<br />

A, Posterior myocardial rupture. B, Early expansion of anteroapical infarct with wall thinning<br />

(แนวลูกศรแสดงรอยต่อระหว่างผนังกล้ามเนื ้อหัวใจแ ละก้อนเลือด) and mural thrombus.<br />

(Courtesy of Associate Professor Dr Surapan Khunamornpong, Department of Pathology,<br />

Chiang Mai University)<br />

151


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Diagram ด้านล่างแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ coronary artery disease ซึ่ง<br />

มักหมายถึง atherosclerosis กับ ischemic heart disease และผลที่ตามมาหลังจากเกิด<br />

การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

Figure 13 Interrelationships among subtypes of ischemic heart disease and cardiac<br />

sequelae ที่มา: Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia: Elsevier; 2010.<br />

p. 529-87.(9)<br />

152


Myocardial infarction<br />

Renal complications:<br />

10-20% ของผู้ป่วย acute MI มีการท างานของไตที่แย่ลงระหว่างนอนรักษาตัวที่<br />

โรงพยาบาล(22) หนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเหล่านี้เสียชีวิตในโรงพยาบาล ซึ่ง<br />

มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตหลายเท่าตัว(23, 24) ส่วนรายที่รอดชีวิตก็<br />

จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด cardiovascular events หลังออกจากโรงพยาบาล เช่น เกิด<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลว, เกิด MI ซ้ า หรือเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) นอกจากนี้ยัง<br />

พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงทั้งระยะสั้นและยาว (short- and long-term mortality)(22-<br />

25) ที่ส าคัญก็คือการท างานของไตที่แย่ลงในผู้ป่วย acute MI มักเกิดภายใน 72 ชั่วโมง<br />

(23) ซึ่งท าให้การรักษายากขึ ้นไปอีก ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของไตอยู่ก่อนที่จะเกิด<br />

acute MI ก็มีพยากรณ์โรคที่แย่เช่นกัน(26-32) แม้ว่าใน mild renal dysfunction ก็มี<br />

ผลเสียต่อ overall mortality และ adverse cardiovascular events เช่นกัน(31)<br />

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้แก่ อายุที่มากขึ ้น, เบาหวาน, ความ<br />

ดันโลหิตสูง และประวัติเคยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาก่อน (เช่น angina) หรือมี<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลว(33) มีการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วย acute MI พบว่า glomerular filtration<br />

rate (GFR) ลดลงเฉลี่ยประมาณ 5 ml/min ภายใน 1 ปี โดยจะลดลงในอัตราที่เร็วใน<br />

ช่วงแรกๆ แล้วจะค่อยๆลดลงอย่างช้าๆในเวลาต่อมา (Figure 14)(32)<br />

Figure 14 Loss of GFR following acute myocardial infarction<br />

ที่มา: Hillege HL et al. Eur Heart J. 2003;24:412-20.(32)<br />

153


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Renal complications ที่เกิดขึ ้นนี้ เข้าได้กับกลุ่มอาการที่เรียกว่า Cardiorenal<br />

syndrome type 1 ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจท างานผิดปกติแบบเฉียบพลัน (rapid worsening of<br />

cardiac function) น าไปสู่ acute kidney injury (Figure 15)<br />

Figure 15 Type 1 or Acute Cardiorenal Syndrome<br />

รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและไต ในภาวะที่มีการท างานของหัวใจแย่ลงแบบเฉียบพลัน<br />

เช่น acute myocardial infarction, acute decompensation of chronic heart failure ท าให้เกิด kidney<br />

injury (ACE = angiotensin-converting enzyme; ANP = atrial natriuretic peptide; BNP = B-type<br />

natriuretic peptide; CO =cardiac output; GFR glomerular filtration rate; KIM = kidney injury<br />

molecule; NGAL = neutrophil gelatinase-associated lipocalin; RAA = renin angiotensin<br />

aldosterone). ที่มา: Ronco C et al. Journal of the American College of Cardiology.<br />

2008;52:1527-39.(34)<br />

154


Myocardial infarction<br />

จากการศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้(35) พบว่า acute MI สามารถกระตุ้น<br />

inflammatory-fibrosis pathway ท าให้มีการสะสมของเซลล์ macrophage ซึ่งเป็นแหล่ง<br />

สร้าง cytokines และ growth factors ส่งผลให้มีการสะสมของ extracellular matrix ใน<br />

renal interstitium โดยค่อยๆเพิ่มขึ ้นเรื่อยๆ น าไปสู่การท างานที่ผิดปกติของไตได้ในระยะ<br />

ยาว นอกจากนี้ renal complications ที่เกิดหลัง acute MI ยังสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ ้นของ<br />

kidney injury molecule-1 (KIM-1) expression ใน renal tubular cells ซึ่งอาจน ามาใช้ใน<br />

การ monitor ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยหลังเกิด acute MI ได้ในอนาคต<br />

155


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

References<br />

1. WHO. The World Health Report 2003. Shaping the Future. Geneva: The World<br />

Health Organization; 2003.<br />

2. Lopez AD, Mathers CD, Ezzati M, Jamison DT, Murray CJ. Global and regional<br />

burden of disease and risk factors, 2001: systematic analysis of population<br />

health data. Lancet. 2006 May 27;367(9524):1747-57.<br />

3. Ho KK, Pinsky JL, Kannel WB, Levy D. The epidemiology of heart failure: the<br />

Framingham Study. Journal of the American College of Cardiology. 1993<br />

Oct;22(4 Suppl A):6A-13A.<br />

4. Hunt SA, Abraham WT, Chin MH, Feldman AM, Francis GS, Ganiats TG, et al.<br />

ACC/AHA 2005 Guideline Update for the Diagnosis and Management of Chronic<br />

Heart Failure in the Adult: a report of the American College of<br />

Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines<br />

(Writing Committee to Update the 2001 Guidelines for the Evaluation and<br />

Management of Heart Failure): developed in collaboration with the American<br />

College of Chest Physicians and the International Society for Heart and Lung<br />

Transplantation: endorsed by the Heart Rhythm Society. Circulation. 2005 Sep<br />

20;112(12):e154-235.<br />

5. Alpert JS, Thygesen K, Antman E, Bassand JP. Myocardial infarction redefined-<br />

-a consensus document of The Joint European Society of Cardiology/American<br />

College of Cardiology Committee for the redefinition of myocardial infarction.<br />

Journal of the American College of Cardiology. 2000 Sep;36(3):959-69.<br />

6. Thygesen K, Alpert JS, White HD. Universal definition of myocardial infarction.<br />

Eur Heart J. 2007 Oct;28(20):2525-38.<br />

7. Thygesen K, Alpert JS, Jaffe AS, Simoons ML, Chaitman BR, White HD, et al.<br />

Third universal definition of myocardial infarction. Journal of the American<br />

College of Cardiology. 2012 Oct 16;60(16):1581-98.<br />

156


Myocardial infarction<br />

8. Wenger NK. Menopausal hormone therapy: is there evidence for cardiac<br />

protection? Int Urol Nephrol. 2004;36(4):617-23.<br />

9. Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia:<br />

Elsevier; 2010. p. 529-87.<br />

10. Schoen FJ. Blood Vessels. In: Kumar V, Abbasm AK, Fausto N, editors. Robbin<br />

and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier; 2005. p.<br />

511-54.<br />

11. Regieli JJ, Nathoe HM, Koerselman J, van der Graaf Y, Grobbee DE,<br />

Doevendans PA. Coronary collaterals--insights in molecular determinants and<br />

prognostic relevance. Int J Cardiol. 2007 Mar 20;116(2):139-43.<br />

12. Fuster V, Moreno PR, Fayad ZA, Corti R, Badimon JJ. Atherothrombosis and<br />

high-risk plaque: part I: evolving concepts. Journal of the American College of<br />

Cardiology. 2005 Sep 20;46(6):937-54.<br />

13. Falk E, Shah PK, Fuster V. Coronary plaque disruption. Circulation. 1995 Aug<br />

1;92(3):657-71.<br />

14. Schoen FJ. The Heart. In: Kumar V, Abbasm AK, Fausto N, editors. Robbin and<br />

Cotran Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier; 2005. p. 555-<br />

618.<br />

15. Gillum RF. Geographic variation in sudden coronary death. Am Heart J. 1990<br />

Feb;119(2 Pt 1):380-9.<br />

16. Jensen GV, Torp-Pedersen C, Hildebrandt P, Kober L, Nielsen FE, Melchior T, et<br />

al. Does in-hospital ventricular fibrillation affect prognosis after myocardial<br />

infarction? Eur Heart J. 1997 Jun;18(6):919-24.<br />

17. Behar S, Kishon Y, Reicher-Reiss H, Zion M, Kaplinsky E, Abinader E, et al.<br />

Prognosis of early versus late ventricular fibrillation complicating acute<br />

myocardial infarction. Int J Cardiol. 1994 Jul;45(3):191-8.<br />

157


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

18. Zipes DP, Camm AJ, Borggrefe M, Buxton AE, Chaitman B, Fromer M, et al.<br />

ACC/AHA/ESC 2006 guidelines for management of patients with ventricular<br />

arrhythmias and the prevention of sudden cardiac death: a report of the<br />

American College of Cardiology/American Heart Association Task Force and the<br />

European Society of Cardiology Committee for Practice Guidelines (Writing<br />

Committee to Develop Guidelines for Management of Patients With Ventricular<br />

Arrhythmias and the Prevention of Sudden Cardiac Death). Journal of the<br />

American College of Cardiology. 2006 Sep 5;48(5):e247-346.<br />

19. Luu M, Stevenson WG, Stevenson LW, Baron K, Walden J. Diverse mechanisms<br />

of unexpected cardiac arrest in advanced heart failure. Circulation. 1989<br />

Dec;80(6):1675-80.<br />

20. Farb A, Tang AL, Burke AP, Sessums L, Liang Y, Virmani R. Sudden coronary<br />

death. Frequency of active coronary lesions, inactive coronary lesions, and<br />

myocardial infarction. Circulation. 1995 Oct 1;92(7):1701-9.<br />

21. Bakth S, Arena J, Lee W, Torres R, Haider B, Patel BC, et al. Arrhythmia<br />

susceptibility and myocardial composition in diabetes. Influence of physical<br />

conditioning. J Clin Invest. 1986 Feb;77(2):382-95.<br />

22. Parikh CR, Coca SG, Wang Y, Masoudi FA, Krumholz HM. Long-term prognosis<br />

of acute kidney injury after acute myocardial infarction. Arch Intern Med. 2008<br />

May 12;168(9):987-95.<br />

23. Goldberg A, Hammerman H, Petcherski S, Zdorovyak A, Yalonetsky S,<br />

Kapeliovich M, et al. Inhospital and 1-year mortality of patients who develop<br />

worsening renal function following acute ST-elevation myocardial infarction. Am<br />

Heart J. 2005 Aug;150(2):330-7.<br />

24. Goldberg A, Kogan E, Hammerman H, Markiewicz W, Aronson D. The impact of<br />

transient and persistent acute kidney injury on long-term outcomes after acute<br />

myocardial infarction. Kidney international. 2009 Oct;76(8):900-6.<br />

158


Myocardial infarction<br />

25. Jose P, Skali H, Anavekar N, Tomson C, Krumholz HM, Rouleau JL, et al.<br />

Increase in creatinine and cardiovascular risk in patients with systolic<br />

dysfunction after myocardial infarction. J Am Soc Nephrol. 2006<br />

Oct;17(10):2886-91.<br />

26. Gibson CM, Pinto DS, Murphy SA, Morrow DA, Hobbach HP, Wiviott SD, et al.<br />

Association of creatinine and creatinine clearance on presentation in acute<br />

myocardial infarction with subsequent mortality. Journal of the American College<br />

of Cardiology. 2003 Nov 5;42(9):1535-43.<br />

27. Sadeghi HM, Stone GW, Grines CL, Mehran R, Dixon SR, Lansky AJ, et al.<br />

Impact of renal insufficiency in patients undergoing primary angioplasty for<br />

acute myocardial infarction. Circulation. 2003 Dec 2;108(22):2769-75.<br />

28. Shlipak MG, Heidenreich PA, Noguchi H, Chertow GM, Browner WS, McClellan<br />

MB. Association of renal insufficiency with treatment and outcomes after<br />

myocardial infarction in elderly patients. Annals of internal medicine. 2002 Oct<br />

1;137(7):555-62.<br />

29. Walsh CR, O'Donnell CJ, Camargo CA, Jr., Giugliano RP, Lloyd-Jones DM.<br />

Elevated serum creatinine is associated with 1-year mortality after acute<br />

myocardial infarction. Am Heart J. 2002 Dec;144(6):1003-11.<br />

30. Wright RS, Reeder GS, Herzog CA, Albright RC, Williams BA, Dvorak DL, et al.<br />

Acute myocardial infarction and renal dysfunction: a high-risk combination.<br />

Annals of internal medicine. 2002 Oct 1;137(7):563-70.<br />

31. Anavekar NS, McMurray JJ, Velazquez EJ, Solomon SD, Kober L, Rouleau JL, et<br />

al. Relation between renal dysfunction and cardiovascular outcomes after<br />

myocardial infarction. The New England journal of medicine. 2004 Sep<br />

23;351(13):1285-95.<br />

32. Hillege HL, van Gilst WH, van Veldhuisen DJ, Navis G, Grobbee DE, de Graeff<br />

PA, et al. Accelerated decline and prognostic impact of renal function after<br />

159


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

myocardial infarction and the benefits of ACE inhibition: the CATS randomized<br />

trial. Eur Heart J. 2003 Mar;24(5):412-20.<br />

33. Santolucito PA, Tighe DA, McManus DD, Yarzebski J, Lessard D, Gore JM, et al.<br />

Management and outcomes of renal disease and acute myocardial infarction.<br />

The American journal of medicine. 2010 Sep;123(9):847-55.<br />

34. Ronco C, Haapio M, House AA, Anavekar N, Bellomo R. Cardiorenal syndrome.<br />

Journal of the American College of Cardiology. 2008 Nov 4;52(19):1527-39.<br />

35. Lekawanvijit S, Kompa AR, Zhang Y, Wang BH, Kelly DJ, Krum H. Myocardial<br />

infarction impairs renal function, induces renal interstitial fibrosis, and increases<br />

renal KIM-1 expression: implications for cardiorenal syndrome. Am J Physiol<br />

Heart Circ Physiol. 2012 May;302(9):H1884-93.<br />

160


Valvular heart diseases<br />

Valvular heart diseases<br />

161<br />

คมสันต์ วรรณไสย, MD FRCPath<br />

โรคลิ้นหัวใจพิการ (valvular heart disease) จัดเป็นโรคหัวใจที่ส าคัญในปัจจุบัน<br />

ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นพบเป็นจ านวน 10-20% ของโรคหัวใจที่ต้องเข้ารับการ<br />

ผ่าตัดรักษา (1) โรคในกลุ่มนี้เกิดจากการตีบ (stenosis) ของลิ้นหัวใจ ซึ่งการที่ลิ้นหัวใจ<br />

ไม่สามารถเปิดได้ตามปกติท าให้เลือดไม่สามารถไหลออกจากห้องหัวใจนั้นได้ หรือเกิด<br />

จากการรั่วของลิ้นหัวใจ เป็นการปิดไม่สนิทของลิ้นหัวใจ ท าให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าไป<br />

ในห้องก่อนหน้า (insufficiency, regurgitation หรือ incompetence) หรือทั้งสองลักษณะก็<br />

ได้ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจเหล่านี้จะเกิดเดี่ยว ๆ หรือเกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ<br />

ของลิ้นหัวใจก็ได้ และอาจเกิดเพียงลิ้นเดียว (isolated disease) หรือหลายลิ้น (combined<br />

disease) ก็ได้ ในบางกรณีความผิดปกตินั้นเกิดจาก โครงสร้างที่ค้ าจุนลิ้นหัวใจเสียไป<br />

ท าให้หัวใจไม่สามารถท างานได้ตามปกติ ซึ่งมักปรากฏออกมาในลักษณะของลิ้นหัวใจ<br />

รั่ว เรียกว่า functional regurgitation มีการขยายออกของ right หรือ left ventricle ท าให้<br />

มีการดึงรั้ง papillary muscle จนไม่สามารถท างานได้ตามปกติส่งผลให้ลิ้นหัวใจ mitral<br />

หรือ tricuspid ไม่สามารถปิดสนิทได้ เช่นเดียวกันกับการขยายตัวของ aortic root หรือ<br />

pulmonary artery trunk ก็ท าให้ลิ้นหัวใจ semilunar ไม่สามารถปิดได้ดังเดิม<br />

ความผิดปกติของลิ้นหัวใจอาจเป็นแต่ก าเนิด (congenital) หรือเป็นมาภายหลังก็<br />

ได้ (acquired) ซึ่งพบว่า acquired stenoses ของ aortic และ mitral valves เกิดบ่อยถึง<br />

สองในสามของโรคลิ้นหัวใจพิการทั้งหมด การตีบของลิ้นหัวใจเกือบทั้งหมดนั้นเกิดจาก<br />

ความผิดปกติเรื้อรังของ valve cusp ซึ่งใช้เวลาหลายปีกว่าที่ความผิดปกตินั้นจะแสดง<br />

อาการ ในทางตรงข้าม การรั่วของลิ้นหัวใจ อาจเกิดจากโรคของ valve cusps โดยตรง<br />

หรือมีการท าลายของ supporting structures (เช่น aorta, mitral annulus, tendinous<br />

cords, papillary muscles หรือ ventricular free wall) ซึ่งจะเห็นว่ามีหลายสาเหตุมากกว่า<br />

stenosis และอาจก่อให้เกิดอาการได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดจากการแตกของ tendinous<br />

cords หรือก่อให้เกิดอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ สาเหตุของ acquired valvular<br />

heart diseases แสดงดังตารางที่ 1


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ตารางที่ 1 สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจพิการ (ดัดแปลงจาก Schoen FJ et al. Robbin and<br />

Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010)<br />

โรคลิ้นหัวใจพิการ<br />

Aortic stenosis<br />

Aortic insufficiency<br />

Mitral stenosis<br />

Mitral insufficiency<br />

สาเหตุที่พบบ่อย<br />

Calcification of anatomically normal and congenitally<br />

bicuspid aortic valves<br />

Dilation of the ascending aorta, usually related to<br />

hypertension and aging<br />

Rheumatic heart disease<br />

Myxomatous degeneration (mitral valve prolapse)<br />

อาการและอาการแสดงทางคลินิกของโรคลิ้นหัวใจพิการนั้นมีได้หลายความ<br />

รุนแรงขึ ้นอยู่กับว่า (1) เกิดความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจลิ้นใด (2) ความผิดปกตินั้นเป็นมาก<br />

น้อยแค่ไหน (3) เกิดความผิดปกติขึ้นเร็วหรือช้า และ (4) ร่างกายสามารถท างานชดเชย<br />

ความผิดปกตินั้นได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากเกิดการท าลายของ aortic valve อย่าง<br />

รวดเร็วเช่นเกิดจาก infective endocarditis จะท าให้เกิดการรั่วของ aortic valve อย่าง<br />

เฉียบพลันและรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ในทางกลับกัน rheumatic mitral<br />

stenosis ซึ่งมีการด าเนินโรคแบบช้า ๆ นั้นกลับไม่แสดงอาการจนกว่าหัวใจจะท างานไม่<br />

ไหว นอกจากนี้โรคหรือภาวะบางอย่างอาจท าให้ความรุนแรงของโรคลิ้นหัวใจพิการเป็น<br />

มากขึ ้น เนื่องจากการท างานหรือความต้องการเลือดของของหัวใจเพิ่มขึ ้น ตัวอย่างเช่น<br />

การตั้งครรภ์เป็นต้น<br />

ความผิดปกติของลิ้นหัวใจทั้งการตีบและการรั่วนั้น จะท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง<br />

ขึ ้นที่ห้องหัวใจทั้งในต าแหน่งที่อยู่ก่อนและหลังลิ้นหัวใจที่มีพยาธิสภาพ โดยทั่วไปแล้วนั้น<br />

valvular stenosis จะท าให้เกิด pressure overload แก่ห้องหัวใจที่รับเลือดก่อนถึงลิ้น<br />

หัวใจที่ตีบ และนอกจากนี้ jet flow ที่เกิดจากเลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจที่ตีบแคบจะไป<br />

กระแทก endocardium และท าให้เกิดการบาดเจ็บของ endocardium ของห้องหัวใจที่อยู่<br />

162


Valvular heart diseases<br />

หลังต่อลิ้นหัวใจที่ตีบได้ ส่วน valvular insufficiency จะท าให้เกิด volume overload ต่อ<br />

ห้องหัวใจที่อยู่ก่อนรอยโรค<br />

Valvular degeneration associated with calcification<br />

ลิ้นหัวใจเองนั้นต้องเผชิญกับแรงกระท าทางกายภาพมากมาย โดยเฉพาะตรง<br />

hinge points ของ cusps และ leaflets ท าให้เกิดการบาดเจ็บของลิ้นหัวใจและเกิดเป็น<br />

calcification ตามมาภายหลัง<br />

Calcific Aortic Stenosis<br />

เป็น most common of all valvular abnormalities และเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อย<br />

รองลงมาจากโรค hypertension และ coronary artery disease(1) ในประชากรทั่วไปพบ<br />

ได้ 4.9% ต่อปี(4) โดยมากเกิดจากการที่ลิ้นหัวใจ aortic ผ่านการใช้งานมานานแล้วและ<br />

เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังอันเนื่องมาจากการท างาน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า ageassociated<br />

"wear and tear"(2) ซึ่งจะเกิดกับลิ้นหัวใจที่เดิมทีปกติอยู่แล้วหรือลิ้นที่มี<br />

ความผิดปกติแต่ก าเนิด (congenitally bicuspid valves; พบได้ประมาณ 1% ของ<br />

ประชากรทั้งหมด) ความชุกของ aortic stenosis นั้นเพิ่มขึ ้นตามอายุ ซึ่ง aortic stenosis<br />

ที่เกิดกับลิ้นหัวใจที่ปกติอยู่แล้ว (senile calcific aortic stenosis) จะแสดงอาการช่วงอายุ<br />

ประมาณ 70-90 ปี ส่วน aortic stenosis ที่เกิดกับ bicuspid valves จะแสดงอาการช่วง<br />

อายุประมาณ 50-70 ปี<br />

จากการศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าสาเหตุของการเกิด calcific aortic<br />

stenosis นั้นมาจากกลไกที่คล้ายคลึงกับการเกิด atherosclerosis(3) ซึ่งการท างานของ<br />

aortic valve เป็นเวลานานจะส่งเสริมให้เกิดการบาดเจ็บทีละเล็กทีละน้อยของลิ้นหัวใจ<br />

ร่วมกับมีการสะสมของ calcium แบบ dystrophic calcification โดยที่ calcium จะสะสม<br />

มากในระยะท้าย ๆ ของโรค และพบในชั้นลึกของลิ้นหัวใจ(3) ซึ่งการสะสมของ calcium<br />

นี้เป็นกลไกหลักที่ท าให้ความสามารถในการท างานของลิ้นหัวใจลดลง(2) นอกจาก<br />

calcium แล้ว ยังพบว่ามี การสะสมของ hydroxyapatite และนอก จากนี้ภาว ะ<br />

hyperlipidemia, hypertension, inflammation, และภาวะอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิด<br />

163


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

atherosclerosis จะเป็นตัวส่งเสริมให้เกิด calcification ได้ง่ายขึ ้น แต่กลไกของ valve<br />

calcification นั้นต่างจากกลไกของ atherosclerosis กล่าวคือไม่พบการสะสมของ smooth<br />

muscle cells ในลิ้นหัวใจ แต่จะพบการเพิ่มของเซลล์ที่ท าหน้าที่คล้าย osteoblasts ซึ่ง<br />

สร้างและหลั่ง bone matrix proteins และส่งเสริมให้เกิด deposition ของ calcium<br />

salts(5)<br />

ลักษณะที่ส าคัญของ calcific aortic stenosis ที่ไม่ได้เกิดจาก rheumatic disease<br />

ทั้งใน tricuspid และ bicuspid aortic valves จะพบตุ่มหรือก้อนแคลเซียมอยู่ที่บริเวณของ<br />

aortic cusps โดยการเกิด calcification เริ่มจากที่บริเวณ valvular fibrosa ซึ่งเป็นบริเวณ<br />

ที่มีการหดตัวของลิ้นมากที่สุด ตุ่มนี้จะยื่นขึ ้นไปด้านทางออกของหลอดเลือด aorta และ<br />

ยื่นเข้าไปใน sinuses of Valsalva ท าให้ลิ้นหัวใจมีลักษณะแข็ง เปิดล าบาก ตรงบริเวณ<br />

ขอบบนของลิ้นจะไม่พบรอยโรค ในทางกลับกัน ลิ้นหัวใจที่เป็น rheumatic (และ<br />

congenital) aortic stenosis จะพบ fusion ของลิ้นหัวใจได้และพบการกระจายของ<br />

calcifications ไปที่ anterior mitral leaflet และยังพบการท าลายลิ้นหัวใจมากใน<br />

rheumatic aortic stenosis<br />

164


Valvular heart diseases<br />

รูปที่ 1 Calcific aortic stenosis<br />

ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010<br />

ผู้ป่วยที่เป็น severe calcific aortic stenosis จะเกิดภาวะ left ventricular<br />

obstruction ซึ่งจะมีการด าเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไปกินเวลานานหลายปี(6) การตีบ<br />

ของ aortic valve จะท าให้เกิดการอุดกั้นของ left ventricular outflow ซึ่งตามปกติแล้ว<br />

aortic orifice มีพื้นที่ประมาณ 4 cm 2 และจะเหลือพื้นที่ประมาณ 0.5 - 1 cm 2 ใน severe<br />

aortic stenosis การตีบแคบของ aortic orifice นี้จะท าให้เกิดแรงดันที่เพิ่มขึ ้นใน left<br />

ventricle ในช่วง systole ซึ่งส่งผลให้เกิด pressure overload ที่ left ventricle ในที่สุดก็จะ<br />

เกิด concentric left ventricular (pressure overload) hypertrophy ซึ่งเนื้อหัวใจที่โตขึ ้นนี้<br />

จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย(6) และเสี่ยงต่อการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

เนื่องมาจากการขาดเลือดเพราะว่าถึงแม้กล้ามเนื้อหัวใจจะโตขึ ้นแต่ปริมาณเลือดที่มา<br />

เลี้ยงเท่าเดิม ผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บอกแบบ angina pectoris ในที่สุดทั้ง systolic<br />

และ diastolic myocardial function ก็จะเสียไป ผู้ป่วยก็จะเป็น congestive heart failure<br />

ซึ่ง 50% ของผู้ป่วยที่เป็น angina จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี และ 50% ของผู้ป่วยที่เป็น<br />

165


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

congestive heart failure จะเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี หากไม่ได้รับการผ่าตัดแก้ไข การ<br />

รักษาด้วยยาจะไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่เป็น severe aortic stenosis<br />

รูปที่ 2 Calcific bicuspid aortic stenosis ศรชี้ส่วน raphe<br />

ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010<br />

Mitral Annular Calcification<br />

Idiopathic (degenerative) mitral annular calcification (MAC) เป็นความผิดปกติ<br />

ของหัวใจที่พบบ่อย และพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางส่วนที่คล้ายกับในโรค atherosclerosis<br />

อันได้แก่ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน(7) การเกิด degenerative<br />

calcific deposits สามารถพบได้ที่ peripheral fibrous ring (annulus) ของ mitral valve<br />

ลักษณะที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ irregular, stony hard หรือบางครั้งพบเป็น<br />

ulcerated nodules (มีความหนาประมาณ 2-5 mm) วางอยู่ด้านหลัง leaflets การเกิด<br />

calcification อาจลุกลามไปยัง myocardium หรือ papillary muscle ใกล้เคียงได้(8)<br />

รอยโรคเริ่มแรกยังไม่มีผลกระทบต่อการท างานของลิ้นหัวใจ และผู้ป่วยยังไม่<br />

แสดงอาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม การเกิด mitral annular calcification อาจท าให้เกิด 1)<br />

166


Valvular heart diseases<br />

regurgitation โดยไปรบกวนการหดตัวของ valve ring 2) stenosis และ 3) arrhythmias<br />

และ sudden death โดยเกิดจาก calcium ที่ deposits ไปรบกวนการท างานของ<br />

atrioventricular conduction system และเนื่องจาก calcific nodules สามารถหลุดออกไป<br />

เป็น emboli ได้ ผู้ป่วยที่เป็น mitral annular calcification จะเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะ<br />

หลอดเลือดในสมองอุดตัน และนอกจากนี้ calcific nodules จะเป็นแกนกลางของ<br />

infective endocarditis ได้ โรค mitral annular calcification นี้พบบ่อยในหญิงที่มีอายุ<br />

มากกว่า 60 ปีและพบในผู้ป่วยที่มีโรค mitral valve prolapse หรือพบร่วมกับโรคที่มี<br />

ความดันใน left ventricle เพิ่มมากขึ ้นเช่น systemic hypertension, aortic stenosis หรือ<br />

hypertrophic cardiomyopathy<br />

รูปที่ 3 Calcific mitral stenosis สังเกต mitral orifice มีลักษณะคล้ายปากปลา (fish mouth<br />

appearance) ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed.<br />

2010<br />

167


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Mitral valve prolapses<br />

Mitral valve prolapse (MVP) เป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรทั่วไป มีการ<br />

ประมาณไว้ว่าพบได้ตั้งแต่ 0.4 – 35% ในประชากรบางกลุ่ม(9) โรคนี้พบได้ประมาณ<br />

3% ของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนมากพบในผู้หญิง และมักพบโดยบังเอิญ<br />

จากการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง<br />

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ ้นนั้นท าให้เกิดการอ่อนแอของลิ้นหัวใจ ซึ่งส่วนมากไม่พบ<br />

พยาธิก าเนิดที่แน่ชัด ในผู้ป่วยบางรายนั้นพบว่าสัมพันธ์กับ Marfan syndrome(10) ซึ่งจะ<br />

พบว่ามี mutations ของ fibrillin-1 (FBN-1) ซึ่งการขาดหายไปของ FBN-1 จะท าให้เกิด<br />

การเปลี่ยนแปลงของ cell-matrix interactions และ dysregulation ของ transforming<br />

growth factor (TGF)-β signaling ซึ่งการที่มีปริมาณของ TGF-β มากเกินไปจะท าให้เกิด<br />

structural laxity และ myxomatous change ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(11)<br />

พยาธิสภาพที่พบนั้นจะพบว่าเกิดลักษณะ floppy และมีการยื่นของ mitral valve<br />

1 หรือ 2 ลิ้นขึ ้นไปใน left atrium ในช่วง systole ลักษณะทางจุลพยาธิที่ส าคัญคือการ<br />

พบลักษณะที่เรียกว่า myxomatous degeneration ของลิ้นหัวใจ โดยลักษณะที่<br />

เปลี่ยนแปลงไปของลิ้นหัวใจใน MVP คือ interchordal ballooning (hooding) ของ mitral<br />

leaflets และจะพบว่าลิ้นหัวใจมีลักษณะหนา ใหญ่และมีความยืดหยุ่นมากกว่าปกติ ส่วน<br />

ของ tendinous cord จะยาวและบางกว่าปกติ บางครั้งพบการฉีกขาดร่วมด้วย ในส่วน<br />

ของ mitral annulus ก็จะพบว่าขยายตัวออกมากขึ ้น อาจพบรอยโรคที่ tricuspid, aortic<br />

หรือ pulmonary valves ร่วมด้วย<br />

ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาจะพบว่าส่วน collagenous fibrosa layer ของ valve มี<br />

ความอ่อนแอมากผิดปกติ ร่วมกับมีการหนาตัวขึ ้นอย่างผิดปกติของ spongiosa layer<br />

และมีการสะสมของ mucoid (myxomatous) material จากการที่มีความผิดปกติของลิ้น<br />

หัวใจดังกล่าวจะท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ ้นที่ลิ้นหัวใจอันเนื่องมาจากการที่ลิ้นหัวใจที่<br />

ผิดปกตินั้นต้องเผชิญกับ stresses โดยการเปลี่ยนแปลงที่จะพบได้คือ<br />

1) fibrous thickening ของ valve leaflets โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ลิ้นหัวใจ<br />

กระทบกัน<br />

168


Valvular heart diseases<br />

2) linear fibrous thickening ของ left ventricular endocardial surface ตรง<br />

ต าแหน่งที่ long cords ไปกระแทก<br />

3) มีการหนาตัวของ mural endocardium ของ left ventricle หรือ atrium อันเป็น<br />

ผลมาจากการเสียดสีของลิ้นหัวใจที่ prolapsed<br />

4) thrombi บน atrial surfaces ของ leaflets หรือ atrial walls<br />

5) focal calcifications ที่ฐานของ posterior mitral leaflet<br />

ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด การตรวจร่างกายจะพบเสียง<br />

midsystolic click การวินิจฉัยท าได้โดยการท า echocardiography ผู้ป่วยที่มี mitral<br />

regurgitation จะพบ systolic murmur ผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บหน้าอกที่คล้ายกับ<br />

angina pectoris และประมาณ 3% ของผู้ป่วย MVP จะพบภาวะแทรกซ้อน 1 ใน 4 ข้อ<br />

ต่อไปนี้<br />

1) infective endocarditis<br />

2) mitral insufficiency อาจเกิดจาก chordal rupture<br />

3) stroke หรือ systemic infarct อื่น ๆ ที่เกิดจาก emboli<br />

4) arrhythmias ทั้ง ventricular และ atrial arrhythmias(12)<br />

โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้นน้อยมากในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและไม่มีอาการ<br />

แสดง และจะพบมากขึ ้นในผู้ป่วยที่มีอายุมาก เพศชาย และในผู้ป่วยที่มี arrhythmias<br />

หรือ mitral regurgitation ซึ่งในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้<br />

มักจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ<br />

169


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 4 Mitral valve prolapse พบความผิดปกติ ของ mitral valve มีลักษณะที่เรียกว่า<br />

parachute deformities ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8<br />

ed. 2010<br />

170


Acute rheumatic fever and rheumatic heart diseases<br />

Valvular heart diseases<br />

Acute rheumatic fever (ARF) เป็น postinfectious, nonsuppurative sequelae<br />

จากการติดเชื้อที่คอหอย เชื้อที่พบเป็นสาเหตุคือ Streptococcus pyogenes หรือ Group<br />

A β-hemolytic Streptococcus (GABHS) และมักเกิดตามหลังการอักเสบของคอหอย<br />

ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ความส าคัญของโรคนี้คือสามารถท าให้เกิดการอักเสบเรื้อรังขึ ้น<br />

ที่หัวใจ อันจะน าไปสู่การเป็น rheumatic heart disease (RHD) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะ<br />

หัวใจวายตามมา นอกจากนี้ยังพบว่า rheumatic heart disease นั้นเพิ่มโอกาสในการเกิด<br />

strokes, endocarditis และการเสียชีวิตได้(13)<br />

Acute rheumatic fever พบได้ 3% ของคนที่ติดเชื้อ group A streptococci และ<br />

มักเกิดตามหลังการติดเชื้อ group A streptococci ที่คอหอยซึ่งมีระยะเวลาได้ตั้งแต่ 10<br />

วันถึง 6 สัปดาห์ หลังจากการติดเชื้อ มักพบในประชากรกลุ่มอายุระหว่าง 5 ถึง 15 ปี<br />

โดยในปัจจุบันพบอุบัติการณ์ของ ARF และ RHD ลดลงในประเทศที่พัฒนาแล้วแต่ใน<br />

ประเทศที่ก าลังพัฒนานั้นพบว่ายังคงเป็นสาเหตุของการตายที่ส าคัญ มีการประมาณ<br />

การไว้ว่า ผู้ป่วย RHD นั้นมีประมาณ 15 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งแต่ละปีจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่<br />

ประมาณ 282,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 233,000 ราย(14)<br />

กลไกการเกิดโรค acute rheumatic fever นั้นเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิ<br />

ต้านทาน (antibody) ต่อเชื้อ group A streptococci แล้วภูมิต้านทานนั้นเกิด crossreaction<br />

ต่อเนื้อเยื่อของมนุษย์ โดย antibody ที่พบบ่อยจะเป็น antibody ต่อ M proteins<br />

ของเ ชื้อ streptococci ซึ่ง จะเ รียก M protein ที่ก่อ ให้เกิ ด ARF ได้ว่ าเป็ น<br />

“rheumatogenecity” หรือ “rheumatogenic M-types”(15) ซึ่งเมื่อร่างกายสร้าง<br />

antibody ขึ ้นมาแล้ว จากนั้น antibody สามารถไปจับกับ protein บางตัวของกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจ เช่น desmin, actin หรือ vimentin เป็นต้น แล้วกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ<br />

นอกจากนี้ CD4 + T cells ก็จะสร้าง cytokine ออกมากระตุ้นให้ macrophage เปลี่ยนตัว<br />

เองไปเป็น activate macrophages (ดังเช่นที่พบใน Aschoff bodies) และมีการท าลาย<br />

เนื้อเยื่อเกิดขึ ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการท าลายเนื้อเยื่อหัวใจนั้นเกิดจากผลของ antibody<br />

และ T cell-mediated reactions<br />

171


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รูปที่ 5 พยาธิก าเนิดของ acute rheumatic fever<br />

ที่มา: Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010<br />

ลักษณะทางพยาธิวิทยาที่พบแบ่งออกเป็นสองช่วง โดยในช่วง ARF จะพบ หย่อม<br />

ของการอักเสบในเนื้อเยื่อหลายชนิด รอยโรคที่หัวใจจะพบเป็น Aschoff bodies ซึ่ง<br />

ประกอบด้วยหย่อมของ lymphocytes (โดยเฉพาะ T cells) ปะปนกับ plasma cells และ<br />

plump activated macrophages ที่เรียกว่า Anitschkow cells (เซลล์นี้จัดเป็น<br />

pathognomonic ส าหรับ RF) ซึ่งลักษณะของ macrophage นี้จะพบว่ามีปริมาณ<br />

cytoplasm มากและมี central round-to-ovoid nuclei ที่มี chromatin กระจายตัว<br />

บางครั้งพบเซลล์ macrophages ที่มีลักษณะ slender, wavy ribbon มองดูคล้ายตัว<br />

หนอน เรียกเซลล์นี้ว่า "caterpillar cells" และนอกจากนี้อาจพบว่าเซลล์ machrophage<br />

172


Valvular heart diseases<br />

มีหลายนิวเคลียสได้ โดยพบการอักเสบและ Aschoff bodies ในทุกชั้นของหัวใจ ท าให้<br />

เกิด pericarditis, myocarditis หรือ endocarditis (การอักเสบในทุกชั้นของหัวใจเรียกว่า<br />

pancarditis)<br />

การอักเสบของ endocardium และลิ้นหัวใจด้านซ้าย จะท าให้เกิด fibrinoid<br />

necrosis ภายใน cusps หรือตามแนวของ tendinous cords ต าแหน่งที่มีเนื้อตายจะพบ<br />

เป็น vegetation ขนาดเล็ก (1 ถึง 2 mm) เรียก verrucae ซึ่งจะวางตัวตามแนวของ lines<br />

of closure ของลิ้นหัวใจ การที่มี vegetation นี้จะท าให้โรค RHD ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ<br />

vegetative valve disease ซึ่งโรคในกลุ่มนี้จะมีลักษณะของ vegetation ที่แตกต่างกัน<br />

ออกไป นอกจากนี้อาจพบ subendocardial lesions ที่ left atrium เนื่องจากมี regurgitant<br />

jets จาก left ventricle ไปกระแทก endothelium ของ left atrium ท าให้ผนังหัวใจส่วนนั้น<br />

หนาและขรุขระขึ ้น เรียกว่า MacCallum plaques<br />

หาก ARF มีการด าเนินโรคต่อ จะเกิดเป็น chronic RHD ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่พบ<br />

ใน mitral valve ของ chronic RHD คือ leaflet thickening, commissural fusion และ การ<br />

หนาตัว หดสั้นและ fusion ของ chordae tendinae โดยจะพบรอยโรคเฉพาะที่ mitral<br />

valve ได้ประมาณ 65% ถึง 70% และพบรอยโรคที่ aortic valve และ mitral valve<br />

ร่วมกันได้ 25% ส่วนรอยโรคที่ tricuspid valve และ pulmonary valve พบได้น้อย การ<br />

หนาตัวของลิ้น mitral valve และการเกิด fibrous bridging ข้าม valvular commissures<br />

ร่วมกับเกิด calcification ท าให้เห็นลักษณะของลิ้นหัวใจเป็น "fish mouth" หรือ<br />

"buttonhole" appearance<br />

การเกิดภาวะ mitral stenosis ไปนาน ๆ จะท าให้หัวใจห้อง left atrium ขยาย<br />

ขนาดขึ ้นและอาจพบว่ามี mural thrombi อยู่ภายในได้ และนอกจากนี้เลือดที่ไหลท้น<br />

กลับไปที่ปอดก็จะท าให้เกิด pulmonary edema และเกิด pulmonary hypertension จนใน<br />

ที่สุดเกิด right ventricular hypertrophy ส าหรับการเปลี่ยนแปลงใน left ventricles นั้น<br />

มักไม่ค่อยพบ<br />

ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของลิ้นหัวใจจะพบ organization ของ acute<br />

inflammation และ subsequent diffuse fibrosis ร่วมกับ neovascularization ที่ท าให้<br />

173


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

โครงสร้างตามปกติของลิ้นหัวใจเสียไป และเราจะไม่พบ Aschoff bodies ในลิ้นหัวใจที่<br />

เป็น chronic RHD เนื่องจากว่าเนื้อเยื่อนั้นถูกแทนที่ด้วย fibrosis<br />

รูปที่ 6 Aschoff body<br />

ที่มา: ดัดแปลงจาก Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010<br />

รูปที่ 7 Verrucae ที่เกิดขึ้นบนลิ้นหัวใจของผู้ป่วย acute rheumatic fever<br />

ที่มา: http://drsvenkatesan.wordpress.com/2011/11/18/mechanisms-of-rheumatic-mitralregurgitation/<br />

(22)<br />

174


Valvular heart diseases<br />

การวินิจฉัย acute rheumatic fever จะใช้ Jones criteria (13) ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกในปี<br />

1944 (16) และมีการปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมาในปี 1965 (17), 1984 (18), 1992 (19) และ<br />

2002 (20) ซึ่งนับ 2 major criteria หรือ 1 major ร่วมกับ 2 minor criteria โดยทั้งนี้ผู้ป่วย<br />

ต้องมี evidence ของการติดเชื้อ group A streptococcus ไม่ว่าจะเป็น(1) การท า<br />

pharyngeal swab เพื่อเพาะเชื้อ GABHS แล้วให้ผลบวก (2) ผลบวกต่อ rapid GABHS<br />

antigen test หรือ (3) มี antibody titers (antistreptolysin O [ASO], DNAse B, หรือ<br />

streptokinase) ต่อเชื้อ GABHS เพิ่มขึ ้นใน serum (19)<br />

Modified Jones’ criteria ได้แก่<br />

Major criteria<br />

1. Migratory polyarthritis ของ large joints<br />

2. Pancarditis (อาจพบเฉพาะ endocerditis, myocarditis หรือ pericarditis อย่างใด<br />

อย่างหนึ่งก็ได้)<br />

3. Subcutaneous nodules<br />

4. Erythema marginatum<br />

5. Sydenham chorea<br />

Minor criteria<br />

1. Fever (ไข้)<br />

2. Arthralgia (ปวดข้อ)<br />

3. มีการเพิ่มขึ ้นของ acute-phase reactants คือ erythrocyte sedimentation rate<br />

(ESR) และ C-reactive protein (CRP)<br />

4. First degree AV block โดยจะพบ prolonged PR interval (13)<br />

175


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

รายละเอียดลักษณะต่าง ๆ ของ major criteria มีดังนี้ (13)<br />

Polyarthitis<br />

ในผู้ป่วย ARF จะพบว่ามีการอักเสบของข้อ โดยเฉพาะข้อใหญ่ ๆ เช่นข้อศอก ข้อสะโพก<br />

หรือข้อเข่า และการอักเสบจะย้ายจากข้อหนึ่งไปยังอีกข้อหนึ่งได้ผู้ป่วยมักจะมีไข้ มีข้อ<br />

บวม ปวด เคลื่อนไหวล าบาก อาการเหล่านี้จะหายไปได้เองและไม่เหลือความผิดปกติ<br />

ของข้อ<br />

Carditis<br />

ที่พบบ่อยคือ valvulitis ซึ่งมักฟังได้ยินเสียง murmur ของ valvar regurgitationนอกจากนี้<br />

ยังพบ myocarditis และ pericarditis ได้ ในผู้ป่วยที่เป็น acute pericarditis นั้นจะตรวจพบ<br />

เสียง pericardial friction rubs (เป็นเสียงที่คล้ายกับเอากระดาษทรายถูกัน) ส่วนใน<br />

myocarditis จะพบ weak heart sounds, หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia), และ หัวใจเต้นผิด<br />

จังหวะ (arrhythmias) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจอาจท าให้เกิดการขยายตัวของห้อง<br />

หัวใจซึ่งจะท าให้เกิด functional mitral valve insufficiency และด าเนินต่อไปเป็น heart<br />

failure ได้<br />

Sydenham chorea หรือ St. Vitus’ dance<br />

เป็น rapid, uncontrolled movement ของล าตัวและแขนขา ซึ่งท าให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม<br />

เปลี่ยนไปได้<br />

Erythema marginatum<br />

เป็นผื่นที่เกิดขึ ้นชั่วคราว ลักษณะผื่นเป็นผื่นที่มีขอบสีแดง ตรงกลางจาง ขอบผื่นมี<br />

ลักษณะคดเคี้ยว (serpiginous (snake-like) borders) พบผื่นได้บ่อยที่ล าตัวและแขนขา<br />

Subcutaneous nodules<br />

เป็นตุ่มที่เกิดขึ ้นที่บริเวณ extensor surface ของแขนขา ลักษณะกลม ไม่เจ็บ<br />

176


Valvular heart diseases<br />

รูปที่ 8 Subcutaneous nodules<br />

ที่มา: Hahnam RG et al. Am Fam Physician. 2005 May 15;71(10):1949-1954. (21)<br />

ส าหรับ minor criteria จะพบ(13)<br />

1) arthralgia ซึ่งเป็นการปวดบริเวณข้อ มักเป็นหลายข้อ และพบว่าข้อที่ปวดมี<br />

ลักษณะบวมแดง พบการอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้<br />

2) ไข้ ต้องมีไข้อย่างน้อย 39°C พบไข้ได้บ่อยในระยะแรกของ ARF<br />

3) acute-phase reactants เป็น nonspecific laboratory markers ของการอักเสบ<br />

ในร่างกาย ที่พบบ่อยคือ erythrocyte sedimentation rate (ESR) และ C-reactive<br />

protein (CRP) สารทั้งสองชนิดนี้พบสูงขึ ้นในขณะที่มีการด าเนินโรคของ ARF<br />

4) first degree heart block วินิจฉัยโดยการตรวจพบ PR interval ยาวขึ ้นจาก<br />

electrocardiogram ซึ่งการพบ first degree heart block ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ป่วย ARF<br />

จะมีการด าเนินโรคต่อไปเป็น RHD<br />

หลังจากการเป็นโรคแต่ละครั้งนั้น ผู้ป่วยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคครั้ง<br />

ใหม่ขึ้นหากมีการติดเชื้อที่คอหอยอีก และจะท าให้รอยโรคที่เป็นอยู่เก่าแล้วทวีความ<br />

รุนแรงมากขึ ้น อาการของผู้ป่วยจะมากหรือน้อยขึ ้นอยู่กับว่ามีการท าลายของลิ้นหัวใจไป<br />

มากน้อยเพียงใด นอกจากจะพบว่ามี murmur แล้วก็อาจพบ hypertrophy และ dilation<br />

ของ heart รวมไปถึง heart failureได้ และอาจพบว่าผู้ป่วยมี arrhythmias (โดยเฉพาะ<br />

atrial fibrillation เนื่องจาก mitral stenosis) พบ thromboembolic complications และ<br />

infective endocarditis ได้<br />

177


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Infective endocarditis<br />

Infective endocarditis (IE) เป็นการติดเชื้อที่รุนแรง ที่พบ colonization หรือ<br />

invasion ของเชื้อก่อโรคบนลิ้นหัวใจหรือ mural endocardium โดยเชื้อก่อโรคท าให้เกิด<br />

เป็นก้อน vegetations ที่ประกอบไปด้วยเศษเซลล์ตาย ลิ่มเลือดและเชื้อ ร่วมกับมีการ<br />

ท าลายเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจ นอกจากลิ้นหัวใจแล้ว หลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น aorta<br />

หรือหลอดเลือดส่วนที่เกิดการโป่งพอง (aneurysmal sacs) และหลอดเลือดอื่น ๆ<br />

รวมทั้งลิ้นหัวใจเทียมก็มีโอกาสเกิดรอยโรคนี้ได้ เชื้อก่อโรคส่วนมากเป็นเชื้อแบคทีเรีย<br />

(bacterial endocarditis) แต่อย่างไรก็ตามเชื้อราและเชื้อก่อโรคกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถท า<br />

ให้เกิดรอยโรคได้เช่นกัน โรคนี้ต้องการการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นย ารวมทั้งการรักษา<br />

ที่เร่งด่วนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย<br />

ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นพบอุบัติการณ์ของ IE ได้ประมาณ 2-4 รายต่อ<br />

ประชากร 100,000 คน ในแต่ละปี(33) และในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ที่อายุมากขึ ้น<br />

ได้ โดยพบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยโรคนี้มีอายุมากกว่า 50 ปี(23)<br />

Infective endocarditis สามารถแบ่งออกหลัก ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ acute<br />

และ subacute endocarditis โดยอาศัยความรุนแรงของเชื้อก่อโรคและ โรคหัวใจที่ผู้ป่วย<br />

เป็นมาก่อนอยู่แล้ว<br />

Acute infective endocarditis<br />

มักเกิดพบเป็นการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจที่ปกติ อยู่แล้วและเกิดจากเชื้อก่อโรคที่มี<br />

ความสามารถในการก่อโรคสูง รอยโรคเป็นแบบ necrotizing, ulcerative และ<br />

destructive lesions ท าให้มีการด าเนินโรคที่รวดเร็วและรุนแรง รวมไปถึงพบอัตราตาย<br />

สูง การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมักไม่ได้ผลและต้องใช้การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเพื่อรักษา<br />

Subacute infective endocarditis<br />

มักเกิดกับลิ้นหัวใจที่มีพยาธิสภาพอยู่ก่อนแล้ว เชื้อก่อโรคมีความรุนแรงต่ า มีการด าเนิน<br />

โรคที่ช้า และสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ<br />

178


179<br />

Valvular heart diseases<br />

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ ้นกับลิ้นหัวใจที่มีพยาธิสภาพอยู่<br />

ก่อนแล้วหรือเกิดกับลิ้นหัวใจที่ปกติก็ได้ ในอดีตโรคหัวใจที่มักเป็นต้นเหตุของ IE คือ<br />

rheumatic heart disease แต่ปัจจุบันพบการเกิด IE กับโรค mitral valve prolapse,<br />

degenerative calcific valvular stenosis, bicuspid aortic valve (ทั้งที่มี calcification และ<br />

ไม่มี calcification), ลิ้นหัวใจเทียม และโรคลิ้นหัวใจพิการแต่ก าเนิดทั้งที่ผ่าตัดแก้ไขแล้ว<br />

และไม่ได้ผ่าตัดแก้ไข เชื้อก่อโรคที่พบจะแตกต่างกันไปตามแต่พยาธิสภาพเดิมของลิ้น<br />

หัวใจ ได้แก่<br />

1. Endocarditis ที่เกิดกับลิ้นหัวใจที่ผิดปกติอยู่แล้วเช่นในโรค rheumatic heart<br />

disease มักพบเชื้อก่อโรคกลุ่ม Streptococcus viridians (23) (ซึ่งเป็น normal flora ใน<br />

ช่องปาก) และพบได้ 50-60% ของ IE ทั้งหมด<br />

2. Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ที่ผิวหนังสามารถท าให้เกิดรอยโรค<br />

ได้ทั้งในลิ้นหัวใจที่ปกติหรือลิ้นหัวใจที่มีรอยโรคอยู่ก่อนแล้ว IE ที่เกิดจากเชื้อนี้พบได้<br />

10-20% ของ IE ทั้งหมด และ S. aureus ยังพบเป็นเชื้อก่อโรค IE ในกลุ่มผู้ที่ใช้ยาเสพ<br />

ติดชนิดฉีดเข้าเส้น เชื้อนี้มีความสามารถในการก่อโรคสูงและรุนแรง(47)<br />

3. เชื้อกลุ่ม HACEK group (Haemophilus, Actinobacillus, Cardiobacterium,<br />

Eikenella และ Kingella) ซึ่งพบได้ในช่องปากอยู่แล้ว(24)<br />

4. Prosthetic valve endocarditis เป็นการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจเทียม มักพบเชื้อก่อ<br />

โรคเป็น coagulase-negative staphylococci เช่น Staphylococcus epidermidis เป็นต้น<br />

(25)<br />

5. เชื้อกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ gram-negative bacilli เช่น Pseudomonas aeruginosa<br />

(34) และเชื้อรา Candida (35)<br />

6. ประมาณ 10% ถึง 15% ของผู้ป่วยที่เป็น IE จะไม่สามารถเพาะเชื้อจากกระแส<br />

เลือดได้ เราเรียกว่า "culture-negative" endocarditis ซึ่งส่วนมากเป็นเชื้อในกลุ่ม<br />

Bartonella, Chlamydia psittaci และ Coxiella (26) หรือในกลุ่ม HACEK<br />

พยาธิก าเนิดที่ส าคัญของการเกิด IE คือการท าหัตถการที่ท าให้เกิด bacteremia<br />

ขึ ้นมาเช่นการถอนฟันหรือการผ่าตัดรวมไปถึงการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดด า


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

แล้วเชื้อก่อโรคไปเกาะติดที่ลิ้นหัวใจจากนั้นเชื้อมีการเพิ่มจ านวนและท าลายลิ้นหัวใจ(32)<br />

หากเป็นเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรงสูงก็จะสามารถท าลายลิ้นหัวใจที่ไม่เคยมีพยาธิสภาพ<br />

มาก่อนได้ แต่หากเป็นเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรงต่ าก็มักจะท าให้เกิด IE ในลิ้นหัวใจที่มี<br />

พยาธิสภาพอยู่ก่อนแล้ว เช่น ลิ้นหัวใจของผู้ป่วย RHD หรือในผู้ป่วยที่เป็น mitral valve<br />

prolapsed(27)<br />

ลักษณะที่ส าคัญที่สุดของ IE คือการเกิด vegetations ขนาดใหญ่ที่ heart valves<br />

ซึ่ง vegetations ประกอบไปด้วย fibrin, inflammatory cells และ bacteria หรือเชื้อก่อ<br />

โรคอื่น ๆ โดยพบว่า vegetation นั้นเปราะ และหลุดลอกออกเป็นชิ้น ๆ ได้ง่าย ลิ้นหัวใจ<br />

ที่พบรอยโรคได้บ่อยคือ aortic และ mitral valves อาจพบรอยโรคได้ที่ลิ้นหัวใจห้องขวา<br />

โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดด า<br />

สามารถพบ vegetations ได้อันเดียวหรือหลาย ๆ อัน และรอยโรคอาจเกิดที่ลิ้น<br />

หัวใจเพียงลิ้นเดียวหรือหลาย ๆ ลิ้นก็ได้ ตัว vegetation อาจลุกลามท าลายกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจและท าให้เกิดเป็นฝีได้ (ring abscess) นอกจากนี้ vegetation เองก็อาจจะหลุด<br />

ออกไปเป็น emboli แล้วลอยไปอุดตันหลอดเลือดของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่ง emboli นี้จะ<br />

ประกอบไปด้วยเชื้อก่อโรคเป็นจ านวนมาก เมื่อลอยไปอุดตันที่ใดก็สามารถท าให้เกิด<br />

septic infarcts หรือ mycotic aneurysms ได้<br />

ส าหรับ vegetations ที่พบใน subacute endocarditis จะพบการท าลายของหลอด<br />

เลือดน้อยกว่าใน acute endocarditis<br />

ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาจะพบว่า vegetation ของ typical subacute IE<br />

ประกอบไปด้วย granulation tissue ที่ฐานของรอยโรคอันบ่งชี้ถึงขบวนการซ่อมแซม<br />

เนื้อเยื่อที่เกิดร่วมกับการท าลายเนื้อเยื่อ และอาจพบ fibrosis, calcification รวมไปถึง<br />

chronic inflammatory cell infiltration ได้<br />

180


Valvular heart diseases<br />

รูปที่ 9 Infective endocarditis ของ aortic valve พบ vegetation ที่ลิ ้นหัวใจ aortic<br />

ที่มา http://library.med.utah.edu/WebPath/CVHTML/CV038.html (28)<br />

รูปที่ 10 Infective endocarditis พบ colonization ของเชื้อแบคทีเรีย (สีน้าเงินเข้ม) ร่วมกับการ<br />

ลุ ก ล า ม ข อ ง เ ชื้ อ แ บ ค ที เ รี ย เ ข้ า ไ ป ยั ง เ นื ้ อ เ ยื่ อ ข อ ง ลิ้ น หั ว ใ จ ที่ ม า :<br />

http://library.med.utah.edu/WebPath/CVHTML/CV042.html (29)<br />

181


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

อาการที่ส าคัญของ infective endocarditis ได้แก่ ไข้ (fever) โดยใน acute<br />

endocarditis จะพบว่าผู้ป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น ส่วน subacute endocarditis นั้นจะเป็นไข้<br />

ต่ า ๆ แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีอายุมากอาจไม่มีไข้ นอกจากอาการไข้แล้วก็อาจพบ<br />

อาการอื่น ๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย น้ าหนักลด เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของ<br />

IE มักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกซึ่งอาจเป็น immunologically mediated เช่น<br />

glomerulonephritis (เกิดจาก deposition ของ antigen-antibody complexes)<br />

ผู้ป่วยเกือบทุกรายจะฟังได้ยินเสียง murmur ซึ่งหากมีการตรวจร่างกายอย่าง<br />

ต่อเนื่องจะพบว่าเสียงของ murmur นั้นเปลี่ยน grade ของความรุนแรงให้มากขึ ้นได้ เรา<br />

ใช้ Duke criteria(30,31) (ตารางที่ 2) ในการวินิจฉัย IE ซึ่งอาศัยทั้งประวัติ การตรวจ<br />

ร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยที่รวดเร็ว รวมทั้งการรักษาที่มี<br />

ประสิทธิภาพจะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตได้<br />

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็น IE อาจพบ embolic phenomenon ได้ ซึ่ง embolic<br />

phenomenon คือภาวะที่ septic emboli ลอยไปอุดตามอวัยวะต่าง ๆ แล้วท าให้เกิดความ<br />

ผิดปกติขึ้น เช่น splinter หรือ subungual hemorrhages เป็นจุดเลือดออกรูปเปลว<br />

ไฟที่ตัวเล็บ Janeway lesions เป็น erythematous หรือ hemorrhagic lesions ที่ฝ่ามือ<br />

หรือฝ่าเท้า รอยโรคนี้ไม่เจ็บ Osler nodes เป็น subcutaneous nodules ที่ pulp of the<br />

digits รอยโรคนี้เจ็บ และ Roth spots เป็นจุดเลือดออกที่จอประสาทตา ในผู้ป่วยบาง<br />

รายจะพบว่าเกิด embolic stroke อันจะน าไปสู่การเกิด intracerebral hemorrhage<br />

และ multiple microabscesses ได้(36)<br />

182


Valvular heart diseases<br />

ตารางที่ 2 Diagnostic Criteria for Infective Endocarditis (ดัดแปลงจาก Schoen FJ<br />

et al. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. 2010)<br />

PATHOLOGIC CRITERIA<br />

Microorganisms, demonstrated by culture or histologic examination, in a vegetation,<br />

embolus from a vegetation, or intracardiac abscess<br />

Histologic confirmation of active endocarditis in vegetation or intracardiac abscess<br />

CLINICAL CRITERIA<br />

Major<br />

Minor<br />

Blood culture(s) positive for a characteristic organism or persistently positive for an<br />

unusual organism<br />

Echocardiographic identification of a valve-related or implant-related mass or abscess,<br />

or partial separation of artificial valve<br />

New valvular regurgitaion<br />

Predisposing heart lesion or intravenous drug use<br />

Fever<br />

Vascular lesions, including arterial petechiae, subungual/splinter hemorrhages, emboli,<br />

septic infarcts, mycotic aneurysm, intracranial hemorrhage, Janeway lesions<br />

Immunological phenomena, including glomerulonephritis, Osler nodes, Roth spots,<br />

rheumatoid factor<br />

Microbiologic evidence, including a single culture positive for an unusual organism<br />

Echocardiographic findings consistent with but not diagnostic of endocarditis, including<br />

worsening or changing of a preexistent murmur<br />

Diagnosis by these guidelines requires either pathologic or clinical criteria; if clinical criteria are<br />

used, 2 major, 1 major + 3 minor, or 5 minor criteria are required for diagnosis.<br />

183


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Noninfective vegetations<br />

Noninfected (sterile) vegetation ที่พบบ่อย ได้แก่ Nonbacterial thrombotic<br />

endocarditis และ Endocarditis of systemic lupus erythematosus หรือที่เรียกว่า<br />

Libman-Sacks endocarditis<br />

- Nonbacterial Thrombotic Endocarditis (NBTE)<br />

NBTE หรือ marantic endocarditis(40) มีลักษณะคือพบ deposition ของ small<br />

sterile thrombi บน leaflets of ของ cardiac valves ที่ไม่เคยได้รับความเสียหายมาก่อน<br />

โดยที่ผู้ป่วยไม่มีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด(37) รอยโรคมีขนาดประมาณ 1 mm ถึง<br />

5 mm และพบเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ ต าแหน่งที่พบมักเป็นที่ line of closure<br />

ของ leaflets หรือ cusps ลิ้นหัวใจที่พบบ่อยตามล าดับคือ aortic valve, mitral valve<br />

หรือพบบนลิ้นหัวใจทั้งสองต าแหน่งพร้อมกัน(37) ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาจะพบว่า<br />

vegetation ประกอบไปด้วยลิ่มเลือดที่ยึดเกาะกับลิ้นหัวใจอย่างหลวม ๆ ไม่พบการ<br />

ท าลายเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจและไม่พบเซลล์อักเสบ(38) อย่างไรก็ตาม vegetation นี้อาจหลุด<br />

ออกไปเป็น emboli ได้ ซึ่งมักพบว่า vegetation หลุดลอยไปอุดที่เส้นเลือดต่าง ๆ และ<br />

เป็นอาการที่พบได้ถึง 50% ในผู้ป่วย NBTE หลอดเลือดที่ emboli มักไปอุดได้แก่<br />

cerebral, coronary, renal และ mesenteric circulations(37)<br />

NBTE มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งปอด(39) มะเร็งตับอ่อนชนิด<br />

mucinous adenocarcinoma(40) หรือมะเร็งรังไข่(41) และมักพบร่วมกับ deep venous<br />

thromboses, pulmonary emboli หรือโรคอื่น ๆ ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวง่ายผิดปกติ<br />

(systemic hypercoagulable state)<br />

184


Valvular heart diseases<br />

รูปที่ 11 ลักษณะของ vegetation ที่พบใน NBTE<br />

ที่มา: Asopa S et al.Eur J Cardiothorac Surg (2007) 32 (5): 696-701. (42)<br />

รูปที่ 12 ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของ NBTE พบ uniform eosinophilic thrombi ที่ไม่มีการ<br />

อักเสบและเชื้อก่อโรค เกาะอยู่บนลิ้นหัวใจ (ที่มา: Asopa S et al.Eur J Cardiothorac Surg (2007)<br />

32 (5): 696-701.)(42)<br />

185


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

- Endocarditis of Systemic Lupus Erythematosus (Libman-Sacks<br />

Disease)<br />

Libman และ Sacks ได้บรรยายพยาธิสภาพของโรคนี้ไว้เมื่อปี 1924 ว่า<br />

“endocarditis with atypical, sterile, verrucous vegetations”(43) โรคนี้พบบ่อยที่ mitral<br />

และ aortic valve แต่ลิ้นหัวใจอื่น ๆ ก็อาจจะพบได้(44) และมักพบร่วมกับ SLE(43) รอย<br />

โรคมักมีขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-4 mm) มีสีชมพูหรือแดงอ่อน ไม่พบ<br />

การติดเชื้อร่วมด้วย อาจพบเดี่ยว ๆ หรือ หลาย vegetation ได้ บางครั้งมีลักษณะเป็น<br />

verrucous appearance รอยโรคอาจเกิดที่ undersurfaces ของ atrioventricular valves,<br />

valvular endocardium, chords หรือบน mural endocardium ของ atria หรือ ventricles<br />

ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาจะพบว่า vegetation ประกอบไปด้วย finely granular,<br />

fibrinous eosinophilic material ที่อาจมี hematoxylin bodies (เป็น homogeneous<br />

remnants ของ nuclei ที่ถูกท าลายโดย anti-nuclear antibodies) นอกจากนี้อาจพบการ<br />

อักเสบของลิ้นหัวใจที่มี fibrinoid necrosis รอยโรคที่ยัง active อยู่มักจะแยกยากจาก<br />

infective endocarditis<br />

รูปที่ 13 Libman-Sacks endocarditis พบ small granular vegetation บนลิ้นหัวใจ mitral (ที่มา:<br />

http://library.med.utah.edu/WebPath/CVHTML/CV122.html)(45)<br />

186


Complications of artificial valves<br />

Valvular heart diseases<br />

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยลิ้นหัวใจเทียมนั้นเป็นการผ่าตัดที่ช่วยยืดอายุให้กับผู้ป่วย<br />

ได้มาก ลิ้นหัวใจเทียมที่น ามาเปลี่ยนนั้นมีอยู่ด้วยกันสองชนิด(46) คือ<br />

1) Mechanical prostheses เป็นลิ้นหัวใจเทียมที่เป็นโลหะ อาจมีลักษณะเป็น<br />

caged balls, tilting disks, หรือ hinged semicircular flaps<br />

2) Tissue valves ส่วนมากเป็น bioprostheses ประกอบไปด้วย chemically<br />

treated animal tissue ส่วนมากเป็นเนื้อเยื่อจากหมู ลิ้นหัวใจชนิดนี้ จะ flexible กว่าแบบ<br />

แรกและท าหน้าที่ได้ดีพอ ๆ กับ natural semilunar valves<br />

ประมาณ 60% ของผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมจะเกิดปัญหาภายใน 10 ปี<br />

ขึ ้นอยู่กับว่าใช้ลิ้นหัวใจชนิดใด ปัญหาที่เกิดขึ ้น ได้แก่ (46, 47)<br />

Thromboembolic complications การเกิดลิ่มเลือดอาจท าให้เกิดการอุดตัน<br />

ของลิ้นหัวใจหรือเกิดเป็น thromboemboli ลอยไปอุดตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัญหานี้<br />

พบมากที่สุดใน mechanical valves การใช้ยา anticoagulant จะช่วยลดโอกาสการเกิด<br />

ภาวะแทรกซ้อนนี้ได้ แต่การใช้ยากลุ่มนี้กลับเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกที่<br />

อวัยวะส าคัญต่าง ๆ เช่น สมอง<br />

Infective endocarditis จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส าคัญ เกิดได้ทั้งกับ<br />

mechanical valve และ tissue valve เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยเป็น S. epidermidis<br />

Structural deterioration ไม่ค่อยท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับ mechanical<br />

valves มากเท่าใดนัก แต่ใน bioprostheses จะเป็นสาเหตุที่ส าคัญที่สุดที่ท าให้ผู้ป่วยต้อง<br />

กลับมาเปลี่ยนลิ้นหัวใจอีกครั้ง เนื่องจากว่าเกิด calcification และ/หรือเกิดการฉีกขาด<br />

ของลิ้นหัวใจ<br />

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น การเกิด hemolysis (46) อันเนื่องมาจาก<br />

เม็ดเลือดแดงไหลผ่านลิ้นหัวใจเทียม แล้วถูกตัดขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, เกิดการหลุดรั่ว<br />

ของลิ้นหัวใจเทียมที่ใส่เข้าไป หรือการเกิด fibrosis ของลิ้นหัวใจเทียม<br />

187


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

References<br />

1. Kameswari Maganti, Vera H. Rigolin, Maurice Enriquez Sarano, and Robert O.<br />

Bonow. Valvular Heart Disease: Diagnosis and Management. Mayo Clin Proc.May<br />

2010;85(5):483-500<br />

2. Aaron L Sverdlov, Doan TM Ngo, Matthew J Chapman, et al. Pathogenesis of<br />

aortic stenosis: not just a matter of wear and tear. Am J Cardiovasc Dis<br />

2011;1(2):185-199.<br />

3. Otto CM, Kuusisto J, Reichenbach DD, Gown AM, O'Brien KD. Characterization of<br />

the early lesion of ‘degenerative’ valvular aortic stenosis. Histological and<br />

immunohistochemical studies. Circulation.1994;90:844–853.<br />

4. Gry Wisthus Eveborn, Henrik Schirmer, Geir Heggelund, Per Lunde, Knut<br />

Rasmussen.The evolving epidemiology of valvular aortic stenosis. The Tromsø Study.<br />

Heart 2013;99:396-400<br />

5. Mohler ER, Gannon F, Reynolds C, Zimmerman R, Keane MG, Kaplan FS. Bone<br />

formation and inflammation in cardiac valves. Circulation. 2001;103:1522–1528.<br />

6. Nalini M Rajamannan, Bernard Gersh, Robert O Bonow. Calcific aortic stenosis:<br />

From bench to the bedside-Emerging clinical and cellular concepts. Heart. 2003<br />

July; 89(7): 801–805.<br />

7. Fox CS, Vasan RS, Parise H, Levy D, O'Donnell CJ, D'Agostino RB, Benjamin EJ.<br />

Mitral annular calcification predicts cardiovascular morbidity and mortality: the<br />

Framingham Heart Study. Circulation. 2003;107:1492–1496.<br />

8. Jagdish Butany, Pradeep Vaideeswar, Vidya Dixit, Christopher Feindel. Massive<br />

mitral annular calcification: A stone in the heart. Can J Cardiol. 2009 January; 25(1):<br />

e18.<br />

188


Valvular heart diseases<br />

9. Warth DC, King ME, Cohen JM, Tesoriero VL, Marcus E, Weyman AE. Prevalence<br />

of mitral valve prolapse in normal children. J Am Coll Cardiol. 1985 May; 5(5):1173-<br />

7.<br />

10. Judge DP, Rouf R, Habashi J, Dietz HC. Mitral valve disease in Marfan<br />

syndrome and related disorders. J Cardiovasc Transl Res. 2011 Dec; 4(6):741-7.<br />

Epub 2011 Aug 25.<br />

11. Connie M. Ng, Alan Cheng, Loretha A. Myers, Francisco Martinez-Murillo,<br />

Chunfa Jie, Djahida Bedja, Kathleen L. Gabrielson, Jennifer M.W. Hausladen, Robert<br />

P. Mecham, Daniel P. Judge,Harry C. Dietz. TGF-β–dependent pathogenesis of<br />

mitral valve prolapse in a mouse model of Marfan syndrome<br />

J Clin Invest. 2004 December 1; 114(11): 1586–1592.<br />

12. E. E. van der Wall, M. J. Schalij. Mitral valve prolapse: a source of arrhythmias?.<br />

Int J Cardiovasc Imaging. 2010 February; 26(2): 147–149.<br />

13. Michael D Seckeler and Tracey R Hoke. The worldwide epidemiology of acute<br />

rheumatic fever and rheumatic heart disease. Clin Epidemiol. 2011; 3: 67–84.<br />

14. Carapetis JR, Steer AC, Mulholland EK, Weber M. The global burden of group A<br />

streptococcal diseases. Lancet Infect Dis. 2005;5:685–694.<br />

15. E L Kaplan. Pathogenesis of acute rheumatic fever and rheumatic heart disease:<br />

evasive after half a century of clinical, epidemiological, and laboratory investigation.<br />

Heart. 2005 January; 91(1): 3–4.<br />

16. Jones TD. Diagnosis of rheumatic fever. JAMA. 1944;126:481–484.<br />

17. Jones criteria (revised) for guidance in the diagnosis of rheumatic fever.<br />

Circulation. 1965;32:664–668.<br />

18. Jones criteria (revised) for guidance in the diagnosis of rheumatic fever.<br />

Circulation. 1984;69:204A–208A.<br />

189


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

19. Special Writing Group of the Committee on Rheumatic Fever, Endocarditis and<br />

Kawasaki Disease of the Council on Cardiovascular Disease in the Young of the<br />

American Heart Association Guidelines for the diagnosis of rheumatic fever. Jones<br />

Criteria, 1992 Update. JAMA. 1992;268:2069–2073.<br />

20. Ferrieri P for the Jones Criteria Working Group Proceedings of the Jones Criteria<br />

Workshop. Circulation. 2002;106:2521–2523.<br />

21. Ricardo G. Hahn, Lynda M. Knox, Todd A. Forman. Evaluation of<br />

Poststreptococcal Illness. Am Fam Physician. 2005 May 15;71(10):1949-1954.<br />

22. http://drsvenkatesan.wordpress.com/2011/ 11/18/ mechanisms-of-rheumaticmitral-regurgitation/)<br />

23. Murdoch, DR; et. al. Clinical presentation, etiology, and outcome of infective<br />

endocarditis in the 21st century: the International Collaboration on Endocarditis-<br />

Prospective Cohort Study. Archives of Internal Medicine 169 (5): 463–73.<br />

24. Mirabelle Kelly, MD (June 7, 2005). HACEK Group Infections.<br />

http://emedicine.medscape.com/article/218158-overview<br />

25. P J van den Broek, A S Lampe, G A Berbée, J Thompson, R P Mouton.<br />

Epidemic of prosthetic valve endocarditis caused by Staphylococcus epidermidis. Br<br />

Med J (Clin Res Ed). 1985 October 5; 291(6500): 949–950.<br />

26. Lamas, CC; Eykyn, SJ. Blood culture negative endocarditis: analysis of 63 cases<br />

presenting over 25 years. Heart 89 (3): 258–262.<br />

27. Sanabria TJ, Alpert JS, Goldberg R, Pape LA, Cheeseman SH: Increasing<br />

frequency of staphylococcal infective endocarditis: experience at a university<br />

hospital, 1981 through 1988. Arch Intern Med 1990;150 (6) 1305- 1309.<br />

28. http://library.med.utah.edu/WebPath/CVHTML/CV038.html<br />

29. http://library.med.utah.edu/WebPath/CVHTML/CV042.html<br />

190


191<br />

Valvular heart diseases<br />

30. Durack D, Lukes A, Bright D. New criteria for diagnosis of infective endocarditis:<br />

utilization of specific echocardiographic findings. Duke Endocarditis Service. Am J<br />

Med 96 (3): 200–9<br />

31. Li, J. S. Sexton, D. J. Mick, N. Nettles, R. Fowler, V. G. Ryan, T. Bashore, T.<br />

Corey, G. R. (2000). Proposed Modifications to the Duke Criteria for the Diagnosis of<br />

Infective Endocarditis. Clinical Infectious Diseases 30 (4): 633.<br />

32. Mylonakis E, Calderwood SB. Infective endocarditis in adults. N Engl J Med. Nov<br />

1 2001;345(18):1318-30.<br />

33. Tleyjeh IM, Steckelberg JM, Murad HS, Anavekar NS, Ghomrawi HM, Mirzoyev<br />

Z, et al. Temporal trends in infective endocarditis: a population-based study in<br />

Olmsted County, Minnesota. JAMA. Jun 22 2005;293(24):3022-8.<br />

34. Reyes MP, Ali A, Mendes RE, Biedenbach DJ. Resurgence of Pseudomonas<br />

endocarditis in Detroit, 2006-2008. Medicine (Baltimore). Sep 2009;88(5):294-<br />

301.<br />

35. Baddley JW, Benjamin DK Jr, Patel M, Miró J, Athan E, Barsic B, et al. Candida<br />

infective endocarditis. Eur J Clin Microbiol Infect Dis. Jul 2008;27(7):519-29.<br />

36. Epaulard O, Roch N, Potton L, Pavese P, Brion JP, Stahl JP. Infective<br />

endocarditis-related stroke: diagnostic delay and prognostic factors. Scand J Infect<br />

Dis. 2009;41(8):558-62.<br />

37. El-Shami K, Griffiths E, Streiff M. Nonbacterial thrombotic endocarditis in cancer<br />

patients: pathogenesis, diagnosis and treatment. Oncologist. 2007;12:518–523.<br />

38. Gross L, Friedberg CK. Nonbacterial thrombotic endocarditis. Classification and<br />

general description. Arch Intern Med 1936;58:620-640.<br />

39. Herrera de Pablo P, Esteban Esteban E, Giménez Soler JV, Pareja Martínez A,<br />

Moscoso del Prado J. Nonbacterial thrombotic endocarditis as initial event of lung<br />

cancer. An Med Interna. 2004 Oct;21(10):495-7.


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

40. Jameson GS, Ramanathan RK, Borad MJ, Downhour M, Korn R, Von Hoff D.<br />

Marantic Endocarditis Associated with Pancreatic Cancer: A Case Series<br />

Case Reports in Gastroenterology. 3(1)67-71<br />

41. Arash Aryana, Dennis J Esterbrooks, Peter C Morris. Nonbacterial Thrombotic<br />

Endocarditis with Recurrent Embolic Events as Manifestation of Ovarian Neoplasm. J<br />

Gen Intern Med. 2006 December; 21(12): C12–C15.<br />

42. Sanjay Asopa, Anish Patel, Omar A. Khan, Rajan Sharma, Sunil K. Ohri. Nonbacterial<br />

thrombotic endocarditis. Eur J Cardiothorac Surg (2007) 32 (5): 696-701.<br />

43. Libman E, Sacks B. A hitherto undescribed form of valvular and mural<br />

endocarditis. Arch Intern Med. 1924;33:701-37.<br />

44. Moaref AR, Afifi S, Rezaian S, Rezaian GR. Isolated tricuspid valve Libman-<br />

Sacks endocarditis and valvular stenosis: unusual manifestations of systemic lupus<br />

erythematosus. J Am Soc Echocardiogr. Mar 2010;23(3):341.e3-5.<br />

45. http://library.med.utah.edu/WebPath/CVHTML/CV122.html<br />

46. Vongpatanasin W, Hillis LD, Lange RA. Prosthetic heart valves. N Engl J Med<br />

1996; 335:407.<br />

47. Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia:<br />

Elsevier; 2010. p. 529-87<br />

192


Heart failure<br />

Heart failure<br />

สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร, MD FRCPath PhD<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) เป็นกลุ่มอาการอันเนื่องมาจากความ<br />

บกพร่องในการท างานของหัวใจ (cardiac dysfunction) ซึ่งมีสาเหตุจากโรคหัวใจและ<br />

หลอดเลือด หรือโรคของระบบอื่นที่มีผลต่อหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวถือว่าเป็น final<br />

common pathway ของโรคที่ท าให้หัวใจท างานบกพร่อง จากรายงานของ The<br />

Framingham Study(1) พบว่า โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) และความ<br />

ดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นสองสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วย<br />

ที่มีภาวะนี้มักมีอาการ/อาการแสดงของการคั่งของน้ า เช่น หายใจหอบ นอนราบไม่ได้<br />

ขาบวม ตับโต หรือมีอาการ/อาการแสดงของการขาดออกซิเจน เนื่องจากหัวใจขาด<br />

ความสามารถในการสูบฉีดเลือดในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น<br />

เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลวถือเป็นปัญหาส าคัญทั่วโลก ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า 1-<br />

2%ของประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว(2)<br />

ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ.2000 พบว่าอุบัติการณ์<br />

ของภาวะหัวใจล้มเหลวพบได้สูงถึง 12.7% ในประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และคาด<br />

ว่าจะเพิ่มเป็น 16.5% ในปี ค.ศ.2020(3) ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย<br />

โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยตลอดชีวิต ทั้งในและนอก<br />

โรงพยาบาล นอกจากนี้อุบัติการณ์ของภาวะหัวใจล้มเหลวยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ ้นอย่าง<br />

ต่อเนื่องในประเทศก าลังพัฒนาด้วย สาเหตุหนึ่งที่อาจอธิบายสถานการณ์ดังกล่าวคือ<br />

ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ท าให้คนมีอายุยืนมากขึ ้น และการรักษาโรคหลอดเลือด<br />

และหัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีประสิทธิภาพมากขึ ้น<br />

ส่งผลให้มีผู้รอดชีวิตจ านวนมากขึ ้น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการ<br />

พัฒนาไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว(4)<br />

193


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ผู้ป่วยที่มีอาการ/อาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม<br />

จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 44.5% ในปีแรก(5) ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก sudden cardiac<br />

death หรือจากการท างานล้มเหลวของอวัยวะอื่นๆ (end-organ failure) เนื่องจาก<br />

worsening heart failure แต่เมื่อไรก็ตามที่ผู้ป่วยมีภาวะ acute decompensation heart<br />

failure หรือ NYHA functional class IV อัตราการเสียชีวิตจะพุ่งสูงขึ ้นถึง 80% ต่อปี(6)<br />

The Framingham Heart Study(7) รายงานว่าอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจ<br />

ล้มเหลวมีแนวโน้มว่าดีขึ ้นประมาณ 12% ทุกๆ 10 ปี (Figure 1) ซึ่งอาจเนื่องมาจาก<br />

ความก้าวหน้าในการรักษาโดยเฉพาะการค้นพบยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ<br />

Figure 1 แนวโน้มการรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในช่วง 40 ปี (1950 – 1999)<br />

ที่มา: Levy D at al. The New England journal of medicine. 2002;347:1397-402.(7)<br />

แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมากกว่า 50% ก็ยังเสียชีวิตภายใน 5 ปีหลังเริ่มมีอาการ<br />

หัวใจล้มเหลว แสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวยังต้องการมาตรการที่ดีขึ ้นทั้ง<br />

แง่การรักษา และยังรวมไปถึงป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในรายที่มีความเสี่ยงสูง<br />

ในความเป็นจริงแล้ว การป้องกันโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะท าให้เกิดภาวะ<br />

หัวใจล้มเหลว ถือว่ามีความส าคัญมากกว่าการรักษา เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวเป็น<br />

ภาวะที่โอกาสรักษาให้หายขาดแทบไม่มี นอกจากนี้การด าเนินโรคโดยธรรมชาติมักเป็น<br />

แบบก้าวหน้า คือแย่ลงเรื่อยๆ และยังเป็นภาวะที่มีความซับซ้อน มีผลกระทบต่อระบบ<br />

อื่นๆของร่างกายอีกมากมาย ท าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้สูง ดังนั้นการควบคุม<br />

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน<br />

194


195<br />

Heart failure<br />

ในเส้นเลือดสูง จึงมีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในรายที่ยังไม่มีพยาธิสภาพ<br />

รุนแรงเกิดกับหัวใจและหลอดเลือด หรือในรายที่ยังไม่มี cardiac dysfunction<br />

Definition of Heart Failure<br />

ปัจจุบันยังไม่มีค านิยามใดค านิยามหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว ที่ได้การยอมรับ<br />

อย่างเป็นเอกฉันท์ เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวมีความซับซ้อน การวินิจฉัยอาศัยอาการ<br />

และอาการแสดงเป็นหลักซึ่งมีความหลากหลาย รวมทั้งตัวภาวะหัวใจล้มเหลวเองยังถูก<br />

แบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มต่างๆ และไม่สามารถใช้การตรวจวัดชนิดในชนิดหนึ่งในการยืนยัน<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลวประเภทต่างๆได้ทั้งหมด(4) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องใน<br />

การท างานของหัวใจ (cardiac dysfunction) จากการตรวจวัด อาจยังไม่มีอาการหรือ<br />

อาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว หรือถ้ามี ความรุนแรงของอาการ/อาการแสดงอาจ<br />

ไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของ cardiac dysfunction ที่ได้จากการตรวจวัด(8) ข้อควรจ า<br />

คือ “heart failure” กับ “cardiac dysfunction” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน heart failure เป็นกลุ่ม<br />

อาการ/อาการแสดง ที่เกิดจาก cardiac dysfunction ซึ่งได้จากการตรวจวัด<br />

ที่ผ่านมามีการให้ค าจ ากัดความของภาวะหัวใจล้มเหลวไว้มากมาย ส่วนใหญ่มัก<br />

อยู่บนพื้ นฐาน ของ hemodynamic derangement แล ะ left ventricular systolic<br />

dysfunction(9-12) แต่ในช่วงหลัง left ventricular diastolic dysfunction เริ่มมีบทบาท<br />

และมีการศึกษามากขึ ้นจึงถูกเพิ่มเข้ามาในค าจ ากัดความ(4, 8)<br />

The joint American College of Cardiology/American Heart Association task<br />

force ได้ให้ค าจ ากัดความของภาวะหัวใจล้มเหลวไว้ว่า “a complex clinical syndrome<br />

that can result from any structural or functional cardiac disorder that impairs the<br />

ability of the ventricular to fill with or eject blood”(4)<br />

Terminology<br />

Acute vs Chronic Heart Failure: Acute heart failure ภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการ/<br />

อาการแสดงแบบเฉียบพลัน อันเนื่องมาจากการท างานผิดปกติของหัวใจ(13) อาจเป็น<br />

แบบเกิดขึ ้นครั้งแรกโดยไม่เคยมีความผิดปกติของหัวใจมาก่อน เรียกว่า acute de novo<br />

heart failure หากเกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่แล้วแต่มีการก าเริบของอาการ


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

แบบเฉียบพลัน เรียกว่า acute decompensation heart failure (ADHF) สาเหตุที่พบบ่อย<br />

ที่สุดของ acute heart failure คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease)(13)<br />

Chronic heart failure (CHF) คือ ภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการ/อาการแสดงแบบ<br />

เรื้อรังหรือต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการท างานผิดปกติของหัวใจ ในทางคลินิก chronic<br />

heart failure จะเป็นรูปแบบของ heart failure ที่ได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุด(12) ดังนั้น<br />

โดยทั่วไปแล้วหากเห็นค าว่า “heart failure” เดี่ยวๆ โดยมากมักจะหมายถึง chronic<br />

heart failure<br />

Congestive Heart Failure: เนื่องจาก heart failure มักสัมพันธ์กับภาวะน้ าเกิน<br />

(volume overload) ซึ่งท าให้เกิดอาการ/อาการแสดงทางคลินิกของการคั่งของน้ าใน<br />

หลอดเลือดด า (congestive symptoms/signs) เช่น หายใจหอบเหนื่อยจากการคั่งของน้ า<br />

ในหลอดเลือดที่ปอด และ ตับโต ขาบวม จากการคั่งของน้ าใน systemic veins เป็นต้น<br />

จึงเป็นที่มาของค าว่า “congestive heart failure” แต่ในระยะหลังพบว่าภาวะน้ าเกินไม่ได้<br />

ตรวจพบในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว จึงมีการเสนอว่า<br />

น่าจะใช้ค าว่า “heart failure” เฉยๆจะดีกว่าค าว่า “congestive heart failure” เพื่อ<br />

หลีกเลี่ยงความสับสน(4)<br />

Systolic vs Diastolic Heart Failure: เป็นการแบ่งภาวะหัวใจล้มเหลวตาม cardiac<br />

cycle ว่ามีปัญหาในการบีบตัว (systole) หรือ คลายตัว (diastole) มักใช้กับหัวใจห้องล่าง<br />

ซ้าย (left ventricle)<br />

Left ventricular systolic dysfunction มักได้รับการวินิจฉัยโดยการตรวจคลื่นเสียง<br />

ความถี่สูง (echocardiography) พบว่ามีการลดลงของ ejection fraction หากมีอาการ/<br />

อาการแสดงจะได้รับการวินิจฉัยเป็น (left ventricular) systolic heart failure<br />

ผู้ป่วยที่มีอาการ/อาการแสดงของ heart failure และ left ventricular ejection<br />

fraction ปกติ (โดยทั่วไปคือมากกว่า 45-50%)(14-16) เรียกว่า “heart failure with<br />

preserved ejection fraction” ในกรณีนี้จะสงสัยว่าเป็น (left ventricular) diastolic heart<br />

failure การจะให้การวินิจฉัย (definite diagnosis) ต้องตรวจพบหลักฐานของ abnormal<br />

LV relaxation, abnormal diastolic distensibility หรือ diastolic stiffness(12) และไม่ควร<br />

พบสิ่งเหล่านี้ (exclusion criteria) ซึ่งได้แก่<br />

196


1. ไม่พบความผิดปกติของลิ้นหัวใจ<br />

197<br />

Heart failure<br />

2. ไม่พบความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจหรือการเต้นของหัวใจผิดจังหวะร้ายแรง<br />

3. ไม่พบภาวะ pericardial restriction<br />

4. ไม่พบความผิดปกติของ right ventricular function<br />

5. ไม่พบโรคปอดที่อธิบายการเกิด heart failure ได้<br />

Diastolic heart failure มักพบในเพศหญิง สัมพันธ์กับความอ้วน, สูงอายุ, ความ<br />

ดันโลหิตสูง, เบาหวาน พยาธิสภาพที่หัวใจจะพบ left ventricular hypertrophy, ความ<br />

หนาของผนัง left ventricular เพิ่มขึ ้น และพบ fibrosis ในผนังกล้ามเนื้อหัวใจ(12, 17)<br />

หมายเหตุ: Combined systolic and diastolic dysfunction is very common.<br />

Left-sided vs Right-sided Heart Failure: ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดจากความ<br />

ผิดปกติในหน้าที่และพยาธิสภาพของหัวใจซีกซ้าย หรือซีกขวา ซึ่งการแบ่งเช่นนี้จะท าให้<br />

เข้าใจถึงความรู้พื้นฐานในการท างานของหัวใจ และเข้าใจถึงพยาธิสรีรวิทยาเมื่อเกิดโรค<br />

กับหัวใจแต่ละซีก จ าเป็นส าหรับการปูพื้นฐานในการเรียนรู้ แต่ผู้เรียนต้องเข้าใจว่า ไม่ว่า<br />

ซีกซ้ายหรือขวาก็คืออวัยวะเดียวกัน เมื่อเกิดพยาธิสภาพของซีกใดซีกหนึ่ง ก็จะมี<br />

ผลกระทบกับอีกซีกที่เหลือ ในความเป็นจริงพยาธิสภาพเริ่มต้นมักจะเกิดกับหัวใจซีก<br />

ซ้ายบ่อยกว่าซีกขวามาก และผู้ป่วยอาจไม่ได้มาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการเริ่มต้น<br />

บ่อยครั้งอาจมาด้วยอาการล้มเหลวของหัวใจทั้งสองซีก ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจาก<br />

พยาธิสภาพที่หัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) ท าให้บีบเลือดออกจาก left ventricular<br />

chamber ได้ไม่ดี จึงมีปริมาณเลือดค้างใน left ventricular chamber มากกว่าปกติ เกิด<br />

การคั่งของเลือดหรือ congestion ซึ่งมักเริ่มจาก ‘pulmonary circulation’ เมื่อ left<br />

ventricle ท างานไม่ดีอย่างต่อเนื่อง ท าให้เลือดคั่งย้อนกลับสู่หัวใจซีกขวา และ ‘systemic<br />

veins’ ในที่สุด ซึ่งอาการ/อาการแสดงจะมาพร้อมกันหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะที่มี<br />

both-sided heart failure แล้ว<br />

หากเกิดจากการคั่งของน้ าใน pulmonary circulation จะเกิดอาการเช่นหายใจ<br />

หอบเหนื่อยเมื่อนอนราบ จะบ่งชี้ถึงภาวะล้มเหลวของหัวใจซีกซ้าย จึงเรียกว่า left-sided<br />

heart failure แต่หากเกิดจากการคั่งของน้ าใน systemic veins จะแสดงอาการเช่นขา


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

บวม ตับโต จะบ่งชี้ถึงภาวะล้มเหลวของหัวใจซีกขวาจึงเรียกว่า right-sided heart<br />

failure ที่ส าคัญก็คือการเรียกว่า right-sided หรือ left-sided heart failure ไม่ได้บอก<br />

เสมอไปว่าพยาธิสภาพต้นเหตุเกิดที่หัวใจซีกใด แต่บอกว่า congestive symptoms/signs<br />

มาจาก pulmonary หรือ systemic veins<br />

Others: ยังมีค าศัพท์อื่นๆ ที่ใช้เรียก heart failure เช่น high and low-output, forward<br />

and backward, overt, treated and undulating(13) แต่การน าศัพท์ต่างๆเหล่านี้มาใช้ทาง<br />

คลินิกยังต้องมีการตกลงกันอีกพอสมควรในแง่ของนิยาม และ criteria เพื่อให้เข้าใจได้<br />

ตรงกัน ในบรรดาแพทย์ บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยและศึกษาวิจัยภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

ในทางคลินิก อาจแบ่งกลุ่ม heart failure ตามความรุนแรงของอาการและอาการ<br />

แสดง เป็น mild, moderate or severe heart failure(13) โดย mild heart failure หมายถึง<br />

ผู้ป่วยที่มีอาการและ/หรืออาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่สามารถใช้<br />

ชีวิตประจ าวันได้ตามปกติโดยไม่มีข้อจ ากัด ในขณะที่ severe heart failure หมายถึง<br />

ผู้ป่วยที่มีอาการและ/หรืออาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวชัดเจน มีข้อจ ากัดของการ<br />

ใช้ชีวิตประจ าวันได้อย่างปกติ ซึ่งต้องอาศัยการดูแลทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดหรือต้อง<br />

พบแพทย์บ่อย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่าง mild และ severe จะจัดเป็น moderate heart<br />

failure<br />

Cardiac remodeling: หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของหัวใจ แบ่งเป็น<br />

- การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง (structural cardiac remodeling) หมายถึงการ<br />

เปลี่ยนแปลงของขนาด รูปร่างและส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ รวมไปถึงการ<br />

เปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

- การเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ (functional cardiac remodeling or cardiac dysfunction)<br />

ซึ่งน าไปสู่การแสดงออกของอาการทางคลินิก<br />

โดยธรรมชาติแล้ว cardiac remodeling เป็นภาวะที่ถือว่าเป็น progressive<br />

disorder หากปล่อยไว้จะมีโอกาสพัฒนาความรุนแรงขึ ้นเรื่อยๆ แต่ความรุนแรงของ<br />

structural cardiac remodeling ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่แม่นย าถึงความรุนแรงของ cardiac<br />

dysfunction และที่น่าสนใจคือทั้ง structural cardiac remodeling และ functional cardiac<br />

198


Heart failure<br />

remodeling (cardiac dysfunction) ก็ไม่ได้สัมพันธ์กับอาการทางคลินิกเสมอไป ดังนั้น<br />

การดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวต้องอาศัยอาการและอาการแสดงเป็นหลัก ร่วมกับความ<br />

ผิดปกติที่ตรวจพบควบคู่กันไปเสมอ (Figure 2)<br />

Figure 2 Relationship between cardiac dysfunction and heart failure<br />

ที่มา: Nieminen MS et al. Eur Heart J. 2005;26:384-416.(13)<br />

Mechanisms of Cardiac Dysfunction<br />

กลไกที่ท าให้หัวใจท างานผิดปกติแบ่งออกเป็น 5 กลไกหลัก(18) คือ<br />

1. Failure of the pump ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถบีบเลือดออกจากหัวใจห้อง<br />

ล่างซ้าย (systolic dysfunction) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ในบางครั้งอาจเกิด<br />

จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถคลายตัวได้อย่างปกติ (diastolic dysfunction)<br />

ท าให้รับเลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้ายได้น้อยลง ทั้งสองภาวะนี้ส่งผลให้ปริมาณเลือด<br />

ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้น้อยลง<br />

199


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

2. An obstruction to flow เกิดจากพยาธิสภาพที่ท าให้หัวใจต้องท างานหนักขึ ้นในการ<br />

บีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย สาเหตุอาจมาจากการตีบของลิ้นหัวใจ aortic<br />

(aortic valve stenosis) เกิดจากพยาธิสภาพของหลอดเลือด เช่น systemic<br />

hypertension และ coarctation of aorta เป็นต้น<br />

3. Regurgitation flow เกิดจากการไหลย้อนกลับของเลือดเมื่อหัวใจบีบตัวแต่ละครั้ง<br />

ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ ้นนี้จะท าให้หัวใจท างานหนักขึ ้นในการบีบตัวครั้งต่อๆไป สาเหตุ<br />

ที่พบบ่อย คือ mitral regurgitation และ aortic regurgitation<br />

4. Disorders of cardiac conduction การผิดปกติในการน าไฟฟ้าของหัวใจ เช่น ภาวะ<br />

heart block การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ(arrhythmias) ท าให้ประสิทธิภาพในการ<br />

ท างานของหัวใจลดลง<br />

5. Disruption of the continuity of the circulatory system ภาวะที่มีการรั่วไหลของ<br />

เลือดออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น มีการทะลุของเส้นเลือด aorta ซึ่งอาจเกิด<br />

การแตกของ aortic aneurysm หรือเกิดจากอุบัติเหตุ<br />

โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคหลอดเลือดและหัวใจ เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่<br />

เพียงแต่จ านวนปัจจัยที่ปรากฏ แต่การผสมผสานและการส่งผลซึ่งกันและกันของแต่ละ<br />

ปัจจัย ก็มีผลต่อการพัฒนาและก้าวหน้าของโรคได้เช่นกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดจึง<br />

เรียกได้ว่าเป็น multifactorial disease ที่มักมีผลมาจากส่วนประกอบหลักๆ คือ ปัจจัย<br />

ทางพันธุกรรม และ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม<br />

Pathophysiology of Heart Failure<br />

กลไกหลัก 2 กลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิด heart failure คือ Neurohormonal<br />

activation และ Hemodynamic derangements<br />

Neurohormonal activation พบ ได้ ทั้ งใ นภ าว ะ cardiac dysfunction แ ล ะ<br />

symptomatic heart failure จากการศึกษายังยืนยันว่า neurohormonal factors มีส่วน<br />

เกี่ยวข้องกับการเกิด pathological structural remodeling โดยพบว่าการให้ยายับยั้ง<br />

neurohormonal factors สามารถป้องกัน cardiac remodeling ได้(19)<br />

200


Heart failure<br />

Neurohormones ที่ส าคัญใน pathophysiology ของ heart failure ประกอบด้วย 5<br />

ระบบ ดังต่อไปนี้<br />

1. The Renin-Angiotensin-Aldosterone System (RAAS)<br />

2. The Sympathetic Nervous System (SNS)<br />

3. The Natriuretic Peptide System เช่น atrial natriuretic peptide (ANP) เป็น<br />

ฮอร์โมนที่หลั่งจาก atria เมื่อผนังของ atria ยืดขยายออก ANP ออกฤทธิ์ใน<br />

การขับน้ าและโซเดียมออกจากร่างกายเพื่อลดภาวะน้ าเกิน และท าให้หลอด<br />

เลือดขยายตัว (vasodilation)<br />

4. The Endothelin System<br />

5. The Arginine Vasopressin (AVP) System<br />

ในภาวะ heart failure เลือดที่ไปเลี้ยงไตมักลดลง (decreased renal blood flow)<br />

สิ่งที่ตามมามีดังต่อไปนี้<br />

1. macula densa [ส่วนประกอบของ juxtaglomerular apparatus อยู่บริเวณขั้วของ<br />

glomerulus (Figure 3)] ซึ่งเป็น distal tubular cell ที่ท าหน้าที่พิเศษ ตรวจจับปริมาณ<br />

โซเดียมหรือคลอไรด์ผ่าน distal tubule หากลดลง (เป็นผลมาจาก glomerular flow<br />

ที่ล ดล ง ท าให้ โ ซเ ดี ยมผ่ าน glomerular filtration ล ด ลง ) จ ะกระตุ้น ใ ห้<br />

juxtaglomerular (JG) cells มีการหลั่ง renin<br />

2. sympathetic outflow ที่เพิ่มขึ ้นในภาวะ heart failure สามารถกระตุ้น β1-<br />

adrenoceptors บนผิว JG cells ท าให้เซลล์หลั่ง renin<br />

3. เนื่องจากเลือดที่ผ่าน afferent arteriole ลดลง JG cells ซึ่งท าหน้าที่เป็น<br />

mechanoreceptor มีต าแหน่งอยู่รอบ glomerular afferent arteriole (Figure 3) จะ<br />

รับรู้ถึงความดันเลือดผ่าน afferent arteriole ลดลง และมีการตอบสนองโดยการ<br />

หลั่งสาร renin ออกมา<br />

201


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 3 Juxtaglomerular apparatus<br />

Modified from: http://en.wikipedia.org/wiki/File:Renal_corpuscle.svg.(20)<br />

จากนั้น renin จะไปเปลี่ยน angiotensinogen ให้เปลี่ยนเป็น angiotensin I ซึ่ง<br />

angiotensin I นี้จะถูก angiotensin-converting enzyme เปลี่ยนเป็น angiotensin II อีก<br />

ทอดหนึ่ง การเพิ่มของ angiotensin II ท าให้เกิด การหดตัวของหลอดเลือ ด<br />

(vasoconstriction)<br />

- Systemic vasoconstriction จะเพิ่มความดันเลือด เพื่อให้เลือดมาที่ไตเพิ่มขึ ้น<br />

- Glomerular vasoconstriction จะออกฤทธิ์เด่นที่ efferent arteriole(21)<br />

นอกจากนี้ เมื่อ glomerular blood flow ลดลง โซเดียมและน้ าที่ผ่าน distal<br />

tubule ลดลง จะส่งสัญญาณให้มีการหลั่ง vasopressin จาก posterior pituitary gland<br />

ท าให้ collecting system เพิ่มการดูดน้ ากลับ ร่วมกับ angiotensin II กระตุ้นให้มีการหลั่ง<br />

aldosterone จากต่อมหมวกไตมากขึ ้น ซึ่งออกฤทธิ์ท าให้มีการดูดกลับโซเดียมเพิ่มขึ ้น<br />

เกิดการดูดกลับน้ าตามมา ส่งผลให้ intravascular volume เพิ่มขึ ้น<br />

การตอบสนองโดยรวมข้างต้นหรือที่เรียกว่า Tubuloglomerular feedback (TGF)<br />

เป็นส่วนหนึ่งของ renal autoregulation ซึ่งเป็นกลไกของไตที่จะรักษาระดับ glomerular<br />

hydrostatic pressure<br />

202


Heart failure<br />

ในภาวะ hypovolemia ขบวนการ renal autoregulation สามารถแก้ไขให้ร่างกาย<br />

กลับสู่ภาวะปกติได้โดยมีการเพิ่ม intravascular volume เพื่อให้ renal blood flow มาก<br />

ขึ้น แต่ในภาวะ heart failure หัวใจมักไม่สามารถบีบตัวเพิ่มปริมาณ blood flow ได้แม้ว่า<br />

intravascular volume จะเพิ่มขึ ้นก็ตาม ร่วมกับ systemic venous congestion ซึ่งพบที่ไต<br />

ด้วย ท าให้ renal autoregulation ไม่ประสบความส าเร็จในการเพิ่ม glomerular blood<br />

flow ส่งผลให้เกิ ดการกระตุ้ น neurohormonal factors อย่าง ต่อเนื่อง ( chronic<br />

neurohormonal activation) สิ่งที่ตามมาคือ มีการสะสมของโซเดียมและน้ า (salt and<br />

water retention) มากขึ ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นภาวะ volume overload เมื่อไม่ได้รับการ<br />

แก้ไข หัวใจที่ท างานแย่อยู่แล้วจะแย่ลงเรื่อยๆ ตามกฎ Frank-Starling mechanism เมื่อ<br />

ร่วมกับ systemic vasoconstriction สิ่งที่ตามมาคือ glomerular blood flow ยิ่งลดลง<br />

กระตุ้นให้ความรุนแรงของ chronic neurohormanal activation มากขึ ้นไปอีก วนเวียน<br />

เป็นวัฎจักรไม่สิ้นสุด (vicious cycle) ซึ่งผลลัพธ์คือ heart failure แย่ลงเรื่อยๆจาก<br />

volume overload เป็นส าคัญ ผู้ป่วยบางรายอาจแสดงออกเป็น acute decompensation<br />

heart failure และสิ่งที่ท าให้พยากรณ์โรคแย่ที่สุดคือในรายที่ดื้อต่อการรักษา (refractory<br />

congestive heart failure) ผู้ป่วยเหล่านี้น้อยกว่า 50% จะมีโอกาสรอดชีวิตถึง 6 เดือน<br />

(17)<br />

นอกจาก volume overload แล้ว heart failure progression ยังเป็นผลมาจาก<br />

ขบวนการ pathologic cardiac (structural and functional) remodeling ที่เกิดอย่าง<br />

ต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ ้นเรื่อยๆ (Figure 4)<br />

Note:<br />

- vasoconstriction เกิด จาก neurohormonal factors หล ายตัว (22) ได้แ ก่<br />

catecholamines, angiotensin II, aldosterone และ endothelin-1<br />

- แม้ว่า natriuretic peptides จะท าหน้าที่ขับน้ าออกจากร่างกาย แต่มักไม่สามารถ<br />

เอาชนะผลของ neurohormonal systems อื่นๆที่ท างานร่วมไปในทางเดียวกันได้<br />

ในภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

203


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 4 Vicious cycle of cardiac remodeling<br />

ในช่วงแรกของ cardiac pump dysfunction จะมีการกระตุ้นระบบ neurohormones จุดประสงค์เพื่อ<br />

เพิ่ม cardiac output & blood pressure ซึ่งถือเป็น adaptive response แต่มักไม่ได้ผลเนื ่องจาก<br />

กล้ามเนื ้อหัวใจล้มเหลว ท าให้ neurohormonal activation เกิดอย่างต่อเนื ่อง น าไปสู่การ<br />

เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็น maladaptive process เช่น fibrosis และ apoptosis เป็นต้น (Blue boxes =<br />

การรักษาด้วยยา; Green boxes = device-based therapies เพื่อหยุด vicious cycle. CO, cardiac<br />

output; BP, blood pressure; NE, norepinephrine; EPI, epinephrine; DA, dopamine; Ang I/II,<br />

angiotensin I and II; CCM, cardiac contractility modulating; CRT, cardiac resynchronization<br />

therapy; ICD, implantable cardioverter-defibrillator; HR, heart rate; and LV, left ventricle.<br />

*Orqis, continuous aortic flow augmentation with femoral-to-aorta blood shunting) ที่มา:<br />

Mancini D et al. Circulation. 2005;112:438-48.(23)<br />

Classification of Heart Failure<br />

ในทางคลินิก Pathophysiology ของ heart failure (ในที่นี้คือ Chronic heart failure)<br />

แบ่งเป็น 4 ระยะ ตามล าดับเวลา (Figure 5)(4)<br />

204


Heart failure<br />

Stage A: ผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูงต่อการเกิด heart failure เช่น มีภาวะความดัน<br />

โลหิตสูง, เบาหวาน, atherosclerosis, และมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ แต่ตัว<br />

ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ และยังไม่มีอาการ/อาการแสดง<br />

ของ heart failure<br />

Stage B: ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ แต่ยังไม่มีอาการ/อาการ<br />

แสดงของ heart failure<br />

Stage C: ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ และมีอาการ/อาการ<br />

แสดงของ heart failure (เช่น dyspnea, fatigue, exercise intolerance).<br />

Stage D: ผู้ป่วยมีอาการ/อาการแสดงของ heart failure ขั้นรุนแรงและดื้อต่อการ<br />

รักษา (refractory heart failure) ต้องการการรักษาพิเศษ<br />

Clinical/pathophysiology-based classification นี้ก่อตั้งขึ ้นมาโดย The American<br />

College of Cardiology (ACC) and the American Heart Association (AHA) เพื่อที่จะ<br />

น ามาใช้เติมเต็ม The New York Heart Association (NYHA) classification ซึ่งเป็น<br />

function-based classification เท่านั้น โดย NYHA classification จะแบ่งผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม<br />

(class I to IV) ตามความรุนแรงของโรคโดยดูจากอาการว่ามีการรบกวนการใข้<br />

ชีวิตประจ าวันของผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด<br />

แต่ใน Clinical/pathophysiology-based classification นี้จะรวมเอาระยะก่อนมี<br />

อาการเข้ามาด้วย (pre-symptomatic HF categories) โดย stages A and B ซึ่งมี<br />

cardiovascular risk factors และ cardiac remodeling ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการพัฒนาไป<br />

เป็น heart failure ในระยะต่อไปนั้น ถือว่าเป็นระยะที่การรักษาน่าจะได้ประโยชน์<br />

มากกว่าที่จะรอจนปรากฏอาการของหัวใจล้มเหลว(24)<br />

205


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 5 Development and progression of heart failure<br />

LVH - left ventricular hypertrophy; LV dilatation - left ventricular dilatation; ACE inhibitors -<br />

angiotensin converting enzyme inhibitors; ARBs - angiotensin receptor blockers. ที่มา:<br />

Lekawanvijit S. Cardiorenal Syndrome: Pathophysiology, Role of Protein-Bound Uraemic<br />

Toxins. Melbourne: Monash University; 2012.(25) ดัดแปลงจาก Hunt SA et al. Circulation.<br />

2005;112:e154-235.(4) และ Schocken DD et al. Circulation. 2008;117:2544-65.(24)<br />

206


Heart failure<br />

Pathological Features of Heart failure(18)<br />

พยาธิสภาพที่พบในหัวใจของผู้ป่วย heart failure มักเรียกรวมๆ ว่า “structural<br />

cardiac remodeling” ซึ่งแบ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างระดับมหภาค<br />

(macroscopic changes), ระดับจุลภาค (microscopic changes) และระดับโมเลกุล<br />

(molecular changes)<br />

Macroscopic changes<br />

ในภาวะ Heart failure จะพบว่าขนาดของหัวใจมักจะใหญ่หรือมีน้ าหนักมากขึ ้น<br />

อาจเพิ่มถึงสองเท่าในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ 2-3 เท่าในภาวะความดัน<br />

โลหิตสูง, aortic stenosis, mitral regurgitation และ dilated cardiomyopathy หรืออาจ<br />

เพิ่มขึ ้นมากกว่าสามเท่าใน aortic regurgitation และ hypertrophic cardiomyopathy<br />

ส่วนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหัวใจมักขึ ้นอยู่กับกลไกหากเกิดจาก pressure<br />

overload ผนังกล้ามเนื้อหัวใจจะหนาตัวโดยรอบ และช่องว่างในหัวใจห้องล่างซ้าย (left<br />

ventricular (LV) chamber) อาจมีขนาดเล็กลง ลักษณะของหัวใจดังกล่าวเรียกว่า<br />

concentric hypertrophy (Figure 6, right) พบได้บ่อยในภาวะความดันโลหิตสูง, aortic<br />

stenosis<br />

กรณี volume overload ในระยะแรกผนังกล้ามเนื้อหัวใจจะหนาตัวขึ ้น ขนาดของ<br />

LV chamber ขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า eccentric hypertrophy เมื่อเวลา<br />

ผ่านไป LV chamber จะขยายเพิ่มขึ ้นเรื่อยๆ ผนังกล้ามเนื้อหัวใจอาจจะหนากว่า เท่ากับ<br />

หรือแม้แต่บางกว่าปกติก็ได้ ลักษณะนี้อาจถูกเรียกว่า LV dilation หรือ dilated<br />

cardiomyopathy (Figure 6, middle)<br />

207


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 6 Cardiac hypertrophy<br />

ที่มา: Schoen FJ. The Heart. In: Kumar V, Abbasm AK, Fausto N, editors. Robbin and Cotran<br />

Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier; 2005. p. 555-618.(18)<br />

การวินิจฉัยภาวะหัวใจโตทางคลินิกมักใช้วิธีฉายภาพรังสี (x-ray) เป็นการดูเงา<br />

ของหัวใจซึ่งประเมินได้แค่ขนาดโดยรวมของหัวใจ ไม่สามารถดูลักษณะ LV chamber ได้<br />

ซึ่งต้องอาศัยการตรวจโดยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) จะให้รายละเอียด<br />

ได้มากขึ ้น รวมทั้งยังสามารถประเมินการท างานของหัวใจได้อีกด้วย<br />

Microscopic changes<br />

มีดังต่อไปนี้<br />

1. Cardiomyocyte hypertrophy (Figure 7, right) เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะมีการสร้าง<br />

โปรตีนมากขึ ้นขนาดของเซลล์จะใหญ่ขึ ้น โดยจะเห็นได้จาก cross-sectional area<br />

ของเซลล์เพิ่มขึ ้น ขนาดนิวเคลียสจะใหญ่ขึ้น เมื่อเทียบกับเซลล์ปกติ (Figure 7, left)<br />

จะไม่พบการแบ่งตัวของเซลล์แต่อาจพบลักษณะของ binucleation ได้ (Figure 7,<br />

right ลูกศรสีด า) เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจขาดคุณสมบัติในการเพิ่มจ านวน<br />

2. Fibrosis ในภาวะ heart failure การตอบสนองหนึ่งซึ่งจัดว่าเป็น maladaptive หรือ<br />

pathological response คือการสร้าง extracellular matrix เพิ่มขึ ้น เพื่อเพิ่มความ<br />

แข็งแรงของ myocardium แต่ extracellular matrix มีผลเสียไปรบกวนการน า<br />

กระแสไฟฟ้าของหัวใจ เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ extracellular<br />

matrix จะสะสมใน interstitium เริ่มจากรอบๆเซลล์ อาจเห็นลักษณะเซลล์แต่ละ<br />

208


Heart failure<br />

เซลล์จะไม่อยู่ชิดกันเหมือนปกติ ซึ่งเมื่อสะสมมากขึ ้นก็จะเห็นได้ชัดเจนขึ ้น การย้อม<br />

พิเศษเพื่อดู collagen หรือ fibrosis จะช่วยให้เห็นได้ง่ายขึ ้น (Figure 8)<br />

3. Decreased capillary density เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาขึ ้นท าให้ความหนาแน่น<br />

ของเส้นเลือด capillary ลดลง<br />

4. Apoptosis ใน heart failure จะกระตุ้นขบวนการ apoptosis นอกจากนี้อาจพบการ<br />

ตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเซลล์เดียวซึ่งอาจเห็นได้จาก microscopic slide (Figure<br />

7, right ลูกศรสีขาว) หรือตายเป็นหย่อมเล็กๆได้<br />

Figure 7 Cardiomyocyte hypertrophy<br />

ที่มา: Lekawanvijit S. Cardiorenal Syndrome: Pathophysiology, Role of Protein-Bound Uraemic<br />

Toxins. Melbourne: Monash University; 2012. (25)<br />

209


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 8 Cardiac fibrosis<br />

ภาพตัดขวางของ Left ventricular (LV) แสดงให้เห็นว่าหัวใจในรูปด้านขวามีขนาดใหญ่ขึ้น ผนัง<br />

กล้ามเนื ้อหัวใจหนาตัวขึ้น และ ปริมาณ interstitial fibrosis (ย้อมติดสีแดง ด้วย Picrosirius red<br />

staining) เมื่อเทียบกับหัวใจที่ปกติในรูปด้านซ้าย ที่มา: Lekawanvijit S. Cardiorenal Syndrome:<br />

Pathophysiology, Role of Protein-Bound Uraemic Toxins. Melbourne: Monash University;<br />

2012.(25)<br />

Molecular changes<br />

ความผิดปกติระดับโมเลกุลที่พบในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว มักเกี่ยวข้อง<br />

โดยตรงกับความผิดปกติของโปรตีน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากการเปลี่ยนแปลงในการ<br />

แสดงออกของสารพันธุกรรม ความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นไปในลักษณะที่มีการสร้าง<br />

โปรตีนที่ พบใ นระยะพัฒน าการข องหั วใจ ทารกใ นครรภ์ (re-expression of<br />

embryonic/fetal forms) ขึ ้นมาใหม่อีกครั้ง หรือมีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติ หรือ อาจ<br />

เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่มีการสร้างเพิ่มขึ ้น การเปลี่ยนแปลงในระดับของยีนส์และ<br />

โปรตีนเหล่านี้มีความเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างและหน้าที่<br />

ตามล าดับ ตัวอย่างของ molecular changes เช่น<br />

Re-expression ของ fetal genes เช่น atrial natriuretic peptide (ANP), β-myosin<br />

heavy chain และ α-skeletal muscle actin เป็นต้น ท าให้ผู้ป่วย heart failure มีระดับ<br />

ของโปรตีนเหล่านี้มากกว่าคนปกติ<br />

210


Heart failure<br />

มีการเพิ่มขึ ้นของ pro-fibrotic gene and protein expression ท าให้เกิดการสะสมของ<br />

extracellular matrix เช่น transforming growth factor-β, connective tissue growth<br />

factor และ collagen โปรตีนเหล่านี้จะท าให้เกิด fibrosis ซึ่งท าให้กล้ามเนื้อหัวใจมี<br />

ภาวะ stiffness ขาดคุณสมบัติความยืดหยุ่น และยังเป็นตัวขัดขวางการส่งสัญญาน<br />

ไฟฟ้าท าให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้<br />

มีการเพิ่มขึ ้นของ pro-inflammatory cytokine gene and protein expression<br />

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวมีความสัมพันธ์กับ<br />

inflammatory activation ทั้งในหัวใจและในกระแสเลือด ซึ่งมักแสดงออกโดยระดับ<br />

cytokines ที่เพิ่มขึ ้น pro-inflammatory cytokines ที่ส าคัญมี 3 ชนิดได้แก่ tumor<br />

necrosis factor-α, interleukin-6 และ interleukin-1β การเพิ่มของระดับ cytokines<br />

พบว่ามีความสัมพันธ์กับการด าเนินโรคที่แย่ลงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว<br />

หรือ progression of heart failure (26-29)<br />

เพื่อให้ง่ายต่อการท าความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ ้นในภาวะ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว รวมทั้งพยาธิสภาพที่อวัยวะอื่นๆซึ่งเป็นผลจากภาวะหัวใจ<br />

ล้มเหลว รวมทั้งอาการที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจแบ่งภาวะกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจล้มเหลวตามพยาธิสภาพว่าเกิดจากหัวใจซีกซ้ายหรือซีกขวาเป็น left-sided heart<br />

failure และ right-sided heart failure ในความเป็นจริงเนื่องจากระบบหัวใจและหลอด<br />

เลือดถือเป็นระบบเดียวกัน (closed circuit) ไม่ว่าผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยอาการของ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจวายซีกซ้ายหรือขวา หากปล่อยไว้หรือการด าเนินโรคเกิดอย่างต่อเนื่อง ก็<br />

จะเกิดผลกระทบกับหัวใจอีกด้านหนึ่งเสมอ<br />

Left-sided heart failure<br />

สาเหตุที่พบบ่อยของ Left-sided heart failure ได้แก่<br />

- Ischemic heart disease<br />

- Hypertension<br />

211


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

- Aortic and/or mitral valvular disease<br />

- Nonischemic myocardial diseases<br />

ความผิดปกติ รวมทั้งอาการ/อาการแสดงเกิดจาก<br />

1. Congestion of pulmonary circulation<br />

2. Diminished peripheral blood pressure and flow<br />

Heart: การเปลี่ยนแปลงที่หัวใจขึ ้นอยู่กับสาเหตุ (เช่น พบบริเวณกล้ามเนื้อตายในรายที่<br />

มีสาเหตุจาก myocardial infarction) และระยะของโรค (เช่น ใน hypertension ช่วงแรก<br />

มักพบว่าผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวและ left ventricular chamber เล็กลง แต่ในระยะ<br />

ท้ายของโรค หัวใจจะมีลักษณะของ dilated cardiomyopathy ได้) แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะ<br />

สาเหตุใดก็ตาม microscopic findings มักจะพบ myocardial hypertrophy และ fibrosis<br />

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น<br />

การเปลี่ยนแปลงที่ตามมาเนื่องจาก left ventricular failure คือ left atrium<br />

enlargement ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด atrial fibrillation หรือความผิดปกติในการบีบ<br />

ตัวของ atrium ท าให้เลือดที่ค้างอยู่เกิด thrombus formation ได้ โดยเฉพาะในส่วนของ<br />

atrial appendage ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาหากก้อน thrombus หลุดลอยเข้าไปใน<br />

กระแสเลือด (embolus) แล้วเกิดการอุดตัน ท าให้เกิดการขาดเลือดของอวัยวะนั้นๆ เช่น<br />

เส้นเลือดสมองอุดตัน (stroke)<br />

Lung: จาก left ventricular failure เลือดที่ค้างจะท าให้เกิด left atrial enlargement<br />

จากนั้นเลือดที่ค้างมากขึ ้นเรื่อยๆก็ท าให้เกิดการคั่งของเลือดใน pulmonary circulation<br />

โดยจะพบว่าความดันใน pulmonary veins จะเพิ่มขึ ้นก่อน และตามด้วย pulmonary<br />

capillaries และ arteries ภาวะดังกล่าวเรียกว่า pulmonary congestion ถ้าของเหลวใน<br />

capillary ซึมออกสู่ถุงลมจะเรียกว่า pulmonary edema ท าให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจน<br />

ไม่เกิดขึ ้น ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อย (dyspnea) มักมีอาการเมื่อนอนราบ<br />

(orthopnea) แต่อาการจะดีขึ้นในท่านั่ง ผู้ป่วยมักให้ประวัติว่านอนกลางคืนแล้วตื่นขึ ้นมา<br />

หายใจหอบเป็นช่วงๆ (paroxysmal nocturnal dyspnea) หรือ ไอมีเสมหะเป็นฟองๆสีชมพู<br />

212


Heart failure<br />

ปอดจะมีน้ าหนักมากขึ ้น แน่น หรือที่เรียกว่า wet lung เนื่องจากมี congestion<br />

และ transudate fluid ในถุงลมซึ่งจะเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ จะเห็น<br />

“heart failure cells” หรือ “siderophages” ในถุงลม ซึ่งก็คือ macrophages ที่เข้ามาเก็บ<br />

กินของเหลวและเม็ดเลือดแดงที่รั่วออกมา hemoglobin ในเม็ดเลือดแดงจะถูก<br />

เปลี่ยนเป็น hemosiderin เห็นเป็นสีน้ าตาล ส่วนใน macrophages ที่กินของเหลวเข้าไป<br />

ท าให้มีลักษณะ foamy cytoplasm<br />

Renal: เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวได้ไม่ดี ท าให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง เกิดการกระตุ้น<br />

การท างานของ neurohormones โดยเฉพาะ The Sympathetic Nervous System และ<br />

Renin-Angiotensin-Aldosterone System ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมามักท าให้<br />

เกิด systemic fluid retention มากขึ ้น แม้ว่าจะมี natriuretic peptides เพื่อขับน้ าออกจาก<br />

ไต มาต่ อ ต้าน น อ ก จากนี้ neurohormonal activation ยั ง ท าใ ห้ เกิ ด systemic<br />

vasoconstriction มากขึ ้น ดังนั้น renal blood flow จึงลดลงอีก ท าให้การท างานของไตแย่<br />

ลงซึ่งแสดงออกมาในลักษณะมีความบกพร่องในการขับ nitrogenous products ที่ค้างใน<br />

เลือดออกจากร่างกาย เรียกลักษณะนี้ว่า prerenal azotemia<br />

จากการศึกษาในระยะหลังๆ พบว่าหัวใจกับไตมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ทั้ง<br />

สองอวัยวะมีการสื่อสารและท างานร่วมกัน เมื่อเกิดภาวะ heart failure จะท าให้การ<br />

ท างานของไตแย่ลง หรือเมื่อมีโรคของไตก็จะท าให้มีพยาธิสภาพในหัวใจเช่นกัน<br />

ความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า “Cardiorenal syndrome” (Figure 9)<br />

213


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 9 The relationship between heart failure and renal dysfunction<br />

ที่มา: Bock JS et al. Circulation. 2010;121:2592-600.(30)<br />

ใน heart failure นอกจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ fluid homeostasis และ<br />

vasoconstriction ที่ท าให้เกิดลักษณะของ prerenal azotemia แล้ว neurohormonal<br />

factors เองนั้น ยังท าให้เกิดพยาธิสภาพในไตได้โดยตรง เช่น angiotensin II และ<br />

aldosterone ที่เพิ่มในภาวะ heart failure นอกจากจะเป็นปัจจัยที่ท าให้เกิด fibrosis ใน<br />

กล้ามเนื้อหัวใจแล้ว ยังสามารถท าให้เกิด renal fibrosis ได้เช่นกัน(31-37)<br />

Brain: ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว heart failure เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด embolic stroke<br />

นอกจากนี้ในรายที่เป็นมีภาวะหัวใจล้มเหลวมานาน ท าให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง<br />

อาจเกิดภาวะที่เรียกว่า hypoxic encephalopathy ผู้ป่วยอาจมีอาการเช่น ความจ าและ<br />

สมาธิสั้นลง หากเป็นมากอาจมีอาการซึม หมดสติและโคมาได้<br />

Right-sided heart failure<br />

ปกติ right-sided heart failure เดี่ยวๆ พบได้ไม่บ่อย มักพบตามหลัง left-sided<br />

heart failure ซึ่งพบได้บ่อยกว่า กลไกที่ท าให้เกิด right-sided heart failure ตามหลัง<br />

left-sided heart failure เนื่องมาจากความดันที่เพิ่มขึ ้นใน pulmonary circulation ท าให้<br />

214


Heart failure<br />

ความดันใน right atrium และ right ventricle เพิ่มตามมาในที่สุด ดังนั้นสาเหตุใดๆก็<br />

ตามที่ท าให้เกิด left-sided heart failure ก็ถือว่าเป็นสาเหตุของ right-sided heart<br />

failure เช่นกัน<br />

Pure right-sided heart failure มักพบในภาวะที่ความดันในปอดเพิ่มขึ ้น หรือ<br />

pulmonary hypertension เช่น pulmonary embolism, chronic obstructive lung disease<br />

ผู้ป่วย pure right-sided heart failure มักพบ congestion ของ systemic veins เด่นกว่า<br />

ใน pulmonary congestion การเปลี่ยนที่พบบ่อยได้แก่<br />

Liver and Portal system: เมื่อหัวใจซีกขวาล้มเหลว เลือดจะไหลกลับเข้าหัวใจ<br />

น้อยลง เกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดด าของตับและท าให้ตับโตขึ ้น เรียกว่า<br />

congestive hepatomegaly ใน microscopic findings พบว่า congestion จะเริ่มจาก<br />

central vein ซึ่งอยู่ตรงกลาง hepatic lobule ล้อมรอบด้วยโซนที่สีซีดกว่าซึ่งอาจมี fatty<br />

change ของเซลล์ร่วมด้วย ลักษณะดังกล่าวเมื่อดูด้วยตาเปล่า อาจเห็นจุดสีน้ าตาลแดง<br />

ของส่วนที่เกิด congestion บนพื้นตับสีซีดกว่า ท าให้เกิดลักษณะคล้ายผิวของลูกจันทน์<br />

เรียกว่า nutmeg appearance (Figure 10A)<br />

ในรายที่มี left-sided heart failure ด้วยจะเกิดภาวะ hypoxia เนื่องจากเลือดมา<br />

เลี้ยงอวัยวะต่างๆได้น้อยลงจากการท างานที่บกพร่องของ left ventricle ซึ่งบริเวณที่<br />

เสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนในตับคือบริเวณรอบๆ central veins (ร่วมกับแรงดันใน<br />

central vein ที่เพิ่มขึ ้นจาก congestion ที่กล่าวข้างต้น) จึงอาจพบการตายของเซลล์ใน<br />

บริเวณดังกล่าว เรียกว่า centrilobular necrosis (Figure 10B) เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิด<br />

ขบวนการซ่อมแซมเกิด fibrosis ขึ ้นแทนบริเวณ central areas เกิดเป็น cirrhosis ซึ่ง<br />

เรียกว่า cardiac cirrhosis<br />

215


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 10 Chronic passive congestion of the liver<br />

ที่มา: Schoen FJ. The Heart. In: Kumar V, Abbasm AK, Fausto N, editors. Robbin and Cotran<br />

Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier; 2005. p. 555-618.(18)<br />

นอกจากตับแล้ว อาจพบม้ามโต (congestive splenomegaly), เกิดการบวมของ<br />

ผนังส าไส้ซึ่งอาจท าให้การดูดซึมสารอาหารแย่ลง เป็นสาเหตุของ cachexia ได้ และ<br />

venous congestion ในช่องท้องท าให้มีการรั่วของ transudate fluid เข้าสู่ช่องท้อง เกิด<br />

การสะสมของน้ าในช่องท้อง (ascites)<br />

Kidneys: congestion ของหลอดเลือดด าในไตก็เป็นปัญหาสามารถน าไปสู่การลดลง<br />

ของ renal blood flow ได้เนื่องจากความดันในหลอดเลือดด าสูงขึ ้นท าให้ความดัน<br />

โดยรวมในไตมากขึ ้น renal blood flow ที่ลดลงนี้จะไปกระตุ้น neurohormonal<br />

processes น าไปสู่ prerenal azotemia เช่นเดียวกับที่พบใน left-sided heart failure จาก<br />

การศึกษาพบว่าความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ ้น (ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงความดันใน renal<br />

venous system ที่เพิ่มขึ ้น) จะสัมพันธ์กับ glomerular filtration rate และอัตราการสร้าง<br />

ปัสสาวะที่น้อยลง(30)<br />

Brain: พบการเปลี่ยนแปลงได้เหมือนที่พบใน left-sided heart failure<br />

Pleural and Pericardial Spaces: เกิดการสะสมของเหลว (รั่วจาก congested veins)<br />

ในช่องเยื่อหุ้มปอดโดยเฉพาะข้างขวา (pleural effusion) และช่องเยื่อหุ้มหัวใจ<br />

(pericardial effusion) สิ่งที่ควรสังเกตคือ pulmonary congestion and edema เกิดจาก<br />

left-sided heart failure แต่ pleural effusion เกิดจาก right-sided heart failure ซึ่งท าให้<br />

มีอาการหายใจหอบเหนื่อยได้เหมือนกัน<br />

216


Heart failure<br />

Subcutaneous Tissues: อาการ/อาการแสดงที่พบได้บ่อยทางคลินิก คือ มีการบวม<br />

น้ าของเนื้อเยื่อโดยเฉพาะในส่วนหลังเท้าและหน้าแข้ง (pedal and pretibial edema) ซึ่ง<br />

เป็นบริเวณรับแรงโน้มถ่วงมากที่สุดของร่างกาย ในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงอาการบวมจะ<br />

พบบริเวณก้นกบ (presacral edema)<br />

Complications of heart failure<br />

Cardiac complications:(17)<br />

- Mitral regurgitation<br />

- Intermittent ischemia or hibernating myocardium<br />

- Atrial and ventricular arrhythmias<br />

End organs:<br />

- Cardiorenal syndrome<br />

- Hypoxic encephalopathy<br />

- Stroke<br />

Management<br />

Heart failure เป็น progressive disorder คือหากไม่มีการรักษาการด าเนินของโรค<br />

มักจะแย่ลงเรื่อยๆ การรักษามักยึดหลักที่ได้จากการศึกษาที่พบว่า neurohormonal<br />

activation มีบทบาทในการก าเนิดและพัฒนาของ heart failure โดยเฉพาะ The RAAS<br />

และ SNS การใช้ยายับยั้งขบวนการเหล่านี้ เช่น angiotensin converting enzyme (ACE)<br />

inhibitors, angiotensin receptor blockers (ARBs), aldosterone antagonists and betablockers<br />

มีรายงานว่ามีประโยชน์ในการป้องกันและรักษา cardiac remodeling(17) และ<br />

heart failure ได้<br />

217


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

การควบคุม fluid homeostasis ไม่ว่าจะเป็น restriction of water intake และการ<br />

ใช้ยาขับปัสสาวะมีประโยชน์ในการลดอาการน้ าเกิน โดยเฉพาะในรายที่เป็น acute heart<br />

failure ในบางรายที่มีภาวะ refractory congestive heart failure หรือ ดื้อต่อยา (diuretic<br />

resistance) และมีอาการของ severe heart failure อาจใช้วิธี hemofiltration ซึ่งเป็นการ<br />

ใช้เครื่องมือในดึงน้ าออกจากเลือดโดยตรง<br />

นอกจากนี้ การควบคุม cardiovascular risk factors, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม<br />

ซึ่งจะมีประโยชน์มากต่อการรักษา cardiovascular diseases หรือ โรคที่เป็นสาเหตุของ<br />

heart failure ตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็จะเป็นการป้องกันการเกิด หรือชะลอการด าเนินโรค<br />

ของภาวะหัวใจล้มเหลวได้<br />

218


Heart failure<br />

References<br />

1. Ho KK, Pinsky JL, Kannel WB, Levy D. The epidemiology of heart failure: the<br />

Framingham Study. Journal of the American College of Cardiology. 1993<br />

Oct;22(4 Suppl A):6A-13A.<br />

2. Berry C, Murdoch DR, McMurray JJ. Economics of chronic heart failure. Eur J<br />

Heart Fail. 2001 Jun;3(3):283-91.<br />

3. Bundkirchen A, Schwinger RHG. Epidemiology and economic burden of chronic<br />

heart failure. European Heart Journal Supplements. 2004;6(Supplement<br />

D):D57-D60.<br />

4. Hunt SA, Abraham WT, Chin MH, Feldman AM, Francis GS, Ganiats TG, et al.<br />

ACC/AHA 2005 Guideline Update for the Diagnosis and Management of Chronic<br />

Heart Failure in the Adult: a report of the American College of<br />

Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines<br />

(Writing Committee to Update the 2001 Guidelines for the Evaluation and<br />

Management of Heart Failure): developed in collaboration with the American<br />

College of Chest Physicians and the International Society for Heart and Lung<br />

Transplantation: endorsed by the Heart Rhythm Society. Circulation. 2005 Sep<br />

20;112(12):e154-235.<br />

5. MacIntyre K, Capewell S, Stewart S, Chalmers JW, Boyd J, Finlayson A, et al.<br />

Evidence of improving prognosis in heart failure: trends in case fatality in 66<br />

547 patients hospitalized between 1986 and 1995. Circulation. 2000 Sep<br />

5;102(10):1126-31.<br />

6. Massie BM, Shah NB. Evolving trends in the epidemiologic factors of heart<br />

failure: rationale for preventive strategies and comprehensive disease<br />

management. Am Heart J. 1997 Jun;133(6):703-12.<br />

7. Levy D, Kenchaiah S, Larson MG, Benjamin EJ, Kupka MJ, Ho KK, et al. Longterm<br />

trends in the incidence of and survival with heart failure. The New England<br />

journal of medicine. 2002 Oct 31;347(18):1397-402.<br />

219


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

8. Lindenfeld J, Albert NM, Boehmer JP, Collins SP, Ezekowitz JA, Givertz MM, et<br />

al. HFSA 2010 Comprehensive Heart Failure Practice Guideline. J Card Fail.<br />

2010 Jun;16(6):e1-194.<br />

9. Braunwald E. Heart failure. Fishman AP, editor. New York: McGraw-Hill; 1978.<br />

10. Forrester JS, Waters DD. Hospital treatment of congestive heart failure.<br />

Management according to hemodynamic profile. The American journal of<br />

medicine. 1978 Jul;65(1):173-80.<br />

11. Denolin H, Kuhn H, Krayenbuehl HP, Loogen F, Reale A. The definition of heart<br />

failure. Eur Heart J. 1983 Jul;4(7):445-8.<br />

12. Swedberg K, Cleland J, Dargie H, Drexler H, Follath F, Komajda M, et al.<br />

Guidelines for the diagnosis and treatment of chronic heart failure: executive<br />

summary (update 2005): The Task Force for the Diagnosis and Treatment of<br />

Chronic Heart Failure of the European Society of Cardiology. Eur Heart J. 2005<br />

Jun;26(11):1115-40.<br />

13. Nieminen MS, Bohm M, Cowie MR, Drexler H, Filippatos GS, Jondeau G, et al.<br />

Executive summary of the guidelines on the diagnosis and treatment of acute<br />

heart failure: the Task Force on Acute Heart Failure of the European Society of<br />

Cardiology. Eur Heart J. 2005 Feb;26(4):384-416.<br />

14. Chen HH, Lainchbury JG, Senni M, Bailey KR, Redfield MM. Diastolic heart<br />

failure in the community: clinical profile, natural history, therapy, and impact of<br />

proposed diagnostic criteria. J Card Fail. 2002 Oct;8(5):279-87.<br />

15. Vasan RS, Larson MG, Benjamin EJ, Evans JC, Reiss CK, Levy D. Congestive<br />

heart failure in subjects with normal versus reduced left ventricular ejection<br />

fraction: prevalence and mortality in a population-based cohort. Journal of the<br />

American College of Cardiology. 1999 Jun;33(7):1948-55.<br />

16. Kitzman DW, Little WC, Brubaker PH, Anderson RT, Hundley WG, Marburger<br />

CT, et al. Pathophysiological characterization of isolated diastolic heart failure in<br />

comparison to systolic heart failure. JAMA. 2002 Nov 6;288(17):2144-50.<br />

17. Jessup M, Brozena S. Heart failure. The New England journal of medicine. 2003<br />

May 15;348(20):2007-18.<br />

220


221<br />

Heart failure<br />

18. Schoen FJ. The Heart. In: Kumar V, Abbasm AK, Fausto N, editors. Robbin and<br />

Cotran Pathologic Basis of Disease. 7 ed. Philadelphia: Elsevier; 2005. p. 555-<br />

618.<br />

19. Fraccarollo D, Galuppo P, Hildemann S, Christ M, Ertl G, Bauersachs J. Additive<br />

improvement of left ventricular remodeling and neurohormonal activation by<br />

aldosterone receptor blockade with eplerenone and ACE inhibition in rats with<br />

myocardial infarction. Journal of the American College of Cardiology. 2003 Nov<br />

5;42(9):1666-73.<br />

20. Juxtaglomerular apparatus. [cited 2012 July 12]; Available from:<br />

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Renal_corpuscle.svg.<br />

21. Hall JE, Guyton AC, Jackson TE, Coleman TG, Lohmeier TE, Trippodo NC. Control<br />

of glomerular filtration rate by renin-angiotensin system. Am J Physiol. 1977<br />

Nov;233(5):F366-72.<br />

22. Ronco C, Maisel A. Volume overload and cardiorenal syndromes. Congest Heart<br />

Fail. 2010 Jul;16 Suppl 1:Si-iv; quiz Svi.<br />

23. Mancini D, Burkhoff D. Mechanical device-based methods of managing and<br />

treating heart failure. Circulation. 2005 Jul 19;112(3):438-48.<br />

24. Schocken DD, Benjamin EJ, Fonarow GC, Krumholz HM, Levy D, Mensah GA, et<br />

al. Prevention of heart failure: a scientific statement from the American Heart<br />

Association Councils on Epidemiology and Prevention, Clinical Cardiology,<br />

Cardiovascular Nursing, and High Blood Pressure Research; Quality of Care and<br />

Outcomes Research Interdisciplinary Working Group; and Functional Genomics<br />

and Translational Biology Interdisciplinary Working Group. Circulation. 2008 May<br />

13;117(19):2544-65.<br />

25. Lekawanvijit S. Cardiorenal Syndrome: Pathophysiology, Role of Protein-Bound<br />

Uraemic Toxins [Thesis]. Melbourne: Monash University; 2012.<br />

26. Frantz S, Bauersachs J, Ertl G. Post-infarct remodelling: Contribution of wound<br />

healing and inflammation. Cardiovasc Res. 2008 Oct 31.<br />

27. Frangogiannis NG. The immune system and cardiac repair. Pharmacol Res.<br />

2008 Jun 24.


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

28. Mann DL. Inflammatory mediators and the failing heart: past, present, and the<br />

foreseeable future. Circ Res. 2002 Nov 29;91(11):988-98.<br />

29. Mann DL. Stress-activated cytokines and the heart: from adaptation to<br />

maladaptation. Annu Rev Physiol. 2003;65:81-101.<br />

30. Bock JS, Gottlieb SS. Cardiorenal syndrome: new perspectives. Circulation. 2010<br />

Jun 15;121(23):2592-600.<br />

31. Sun Y, Zhang J, Zhang JQ, Ramires FJ. Local angiotensin II and transforming<br />

growth factor-beta1 in renal fibrosis of rats. Hypertension. 2000<br />

May;35(5):1078-84.<br />

32. Weber KT, Anversa P, Armstrong PW, Brilla CG, Burnett JC, Jr., Cruickshank JM,<br />

et al. Remodeling and reparation of the cardiovascular system. Journal of the<br />

American College of Cardiology. 1992 Jul;20(1):3-16.<br />

33. Epstein M. Aldosterone and the hypertensive kidney: its emerging role as a<br />

mediator of progressive renal dysfunction: a paradigm shift. J Hypertens. 2001<br />

May;19(5):829-42.<br />

34. Widyantoro B, Emoto N, Nakayama K, Anggrahini DW, Adiarto S, Iwasa N, et<br />

al. Endothelial cell-derived endothelin-1 promotes cardiac fibrosis in diabetic<br />

hearts through stimulation of endothelial-to-mesenchymal transition. Circulation.<br />

2010 Jun 8;121(22):2407-18.<br />

35. Hocher B, Thone-Reineke C, Rohmeiss P, Schmager F, Slowinski T, Burst V, et<br />

al. Endothelin-1 transgenic mice develop glomerulosclerosis, interstitial fibrosis,<br />

and renal cysts but not hypertension. J Clin Invest. 1997 Mar 15;99(6):1380-9.<br />

36. Lekawanvijit S, Kompa AR, Zhang Y, Wang BH, Kelly DJ, Krum H. Myocardial<br />

infarction impairs renal function, induces renal interstitial fibrosis, and increases<br />

renal KIM-1 expression: implications for cardiorenal syndrome. Am J Physiol<br />

Heart Circ Physiol. 2012 May;302(9):H1884-93.<br />

37. Martin FL, Huntley BK, Harders GE, Sandberg SM, Chen HH, Burnett JC, Jr.<br />

Myocardial Infarction Mediates Renal Fibrosis and Activates Renal Molecular<br />

Remodeling in the Absence of Heart Failure. Circulation.<br />

2007;116:II_60(abstract).<br />

222


Pericardial diseases<br />

Pericardial diseases<br />

นีลยา สุค าวัง, MD FRCPath<br />

เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) เป็นเนื้อเยื่อชนิด fibrous ที่ห่อหุ้มหัวใจรวมถึงห่อหุ้ม<br />

ส่วน roots ของ great vessels ที่ออกจากหัวใจด้วย เยื่อหุ้มหัวใจจะอยู่ภายในช่องทรวง<br />

อก (mediastinal cavity) ต าแหน่งด้านหลัง sternum และซี่โครง (ribs) ซี่ที่ 3,4,5,6 และ<br />

7 (Figure 1)(1)<br />

Figure 1 Pericardium anatomy<br />

ที่มา: Moore KL. Clinically oriented anatomy. 3 rd ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1992.(1)<br />

เยื่อหุ้มหัวใจมีหน้าที่ช่วยในการป้องกันการขยายตัวของหัวใจอย่างเฉียบพลัน ลด<br />

การเสียดสีระหว่างหัวใจกับอวัยวะข้างเคียง ป้องกันการกระจายของเชื้อโรค จากภาวะ<br />

ติดเชื้อในทรวงอก (intrathoracic infection)<br />

เยื่อหุ้มหัวใจ แบ่งออกเป็นสองชั้นหลักๆคือ ชั้น fibrous pericardium และ serous<br />

pericardium (Figure 2)(2)<br />

223


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

1) ชั้น fibrous pericardium เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด มีลักษณะแข็ง และ เหนียว<br />

เนื่องจากชั้นนี้มีส่วนประกอบของ fibrous tissue และ collagen โดยเยื่อหุ้มหัวใจ<br />

ชั้นนี้จะยึดติดกับบริเวณตรงกลางของกระบังลม (diaphragm) และบริเวณ<br />

sternum โดย sternopericardial ligament<br />

2) ชั้น serous pericardium เป็นชั้นที่บางกว่า ส่วนบนสุดบุด้วย mesothelium ชั้น<br />

เดียว (Figure 3) โดยชั้นนี้ยังเรียกได้ว่าเป็น closed sac เนื่องจากสามารถแบ่ง<br />

ได้อีกเป็นสองชั้น คือ ชั้น parietal layer เป็นชั้นที่บุด้านในของ fibrous<br />

pericardium และ ชั้น visceral layer อีกชื่อหนึ่งคือ epicardium เป็นชั้นที่คลุม<br />

อยู่บริเวณด้านนอกของหัวใจ โดยบริเวณปลายสุดของ visceral และ parietal<br />

layer จะเชื่อมต่อกัน ท าให้เกิดเป็นช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial cavity) ซึ่ง<br />

ภายในบรรจุของเหลวใส ซึ่งในภาวะปรกติมีปริมาณ 15-20 มล.(3) ท าหน้าที่<br />

ช่วยในการหล่อลื่นในขณะที่หัวใจบีบตัว<br />

ชั้น visceral layer นี้จะประกอบไปด้วย เนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue)<br />

หลอดเลือด (vessel) และ เส้นประสาท (nerve) (Figure 4)<br />

Figure 2 Layers of the pericardium<br />

ที่มา: Moore KL. Clinically oriented anatomy. 3 rd ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1992.(1)<br />

224


Pericardial diseases<br />

Figure 3 Serous pericardium<br />

ลูกศรแสดงเยื่อบุชั้นเดียว ชนิด mesothelium.ที่มา: Billingham ME. Histology for pathologist. 2 nd<br />

ed. 1997.(2)<br />

Figure 4 Section of serous pericardium, visceral layer<br />

225


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Section of the epicardium showing the relationship of coronary vessels and nerves to the<br />

epicardium.ที่มา: Billingham ME. Histology for pathologist. 2 nd ed. 1997.(2)<br />

โรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial disease) ที่จะกล่าวถึงต่อไปนั้น เป็นชนิด<br />

ที่พบบ่อย อันได้แก่ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) และรวมถึง ภาวะของเหลวใน<br />

ช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion)<br />

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)<br />

หมายถึงการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericarditis) โดยเยื่อหุ้มหัวใจจะพบมี<br />

ปฏิกิริยาการอักเสบ คือพบมีการรวมกลุ่มของเซลล์อักเสบ แต่ในบางรายงานจะใช้ค าว่า<br />

pericardial heart disease แทน เนื่องจากพบว่าเยื่อหุ้มหัวใจที่ผิดปรกติเช่นที่พบในผู้ป่วย<br />

ที่มีภาวะ uremia จะมีเยื่อหุ้มหัวใจที่คลุมด้วย fibrin แต่ไม่พบปฏิกิริยาการอักเสบ (4) แต่<br />

ในที่นี้จะขอใช้ค าว่า pericarditis ดังเช่นในหนังสือและรายงานฉบับอื่นๆ การอักเสบของ<br />

เยื่อหุ้มหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ, cardiac disease, thoracic<br />

disorder, systemic disorder, การกระจายของมะเร็ง (metastasis), ภายหลังการผ่าตัด<br />

หัวใจ (post-cardiac surgery), อุบัติเหตุ (trauma) (Table 1)(3,5,6)<br />

Table 1 แสดงสาเหตุของ pericarditis (modified from Goyle KK, Walling AD.<br />

Diagnosing pericarditis. Am Fam Phys 2002; 66(9): 1695-702.(3))<br />

Idiopathic (nonspecific, probably viral)<br />

Infectious causes<br />

Viruses: coxackievirus A and B, hepatitis viruses, human<br />

immunodeficiency virus, measles virus, mumps virus, varicella virus<br />

Bacteria: gram-positive and gram-negative organisms; rarely,<br />

mycobacterium species (tuberculosis)<br />

Fungi (most often in immunocompromised patients): Blastomyces<br />

226


Pericardial diseases<br />

dermatitidis, Candida species, Histoplasma capsulatum<br />

Noninfectious causes<br />

Acute myocardial infarction*<br />

Renal failure †<br />

Malignancy: breast cancer, lung cancer, Hodgkin’s disease, leukemia,<br />

lymphoma by local invasion<br />

Radiation therapy (usually for breast or lung cancer)<br />

Autoimmune disorders: mixed connective tissue disorder, hypothyroidism,<br />

inflammatory bowel disease, rheumatoid arthritis, systemic lupus<br />

erythematosus, Wegener’s granulomatosis, Takayasu’s arteritis<br />

Trauma (including surgery): closed procedures and pacemaker<br />

implantation (puncture of myocardium)<br />

Drug ‡ : hydralazine (Apresoline), procainamide (Pronestyl), phenytoin<br />

(dilantin), isoniazid (e.g., Nydrazid); with rifampin (Rifamate),<br />

phenylbutazone, dantrolene (Dantrium), doxorubicin (Adriamycin,<br />

Rubex), methysergide (Sansert), penicillin, mesalamine (Rowasa)<br />

*Pericardial effusion may occur on the second to the forth day after acute myocardial infarction as a<br />

reaction to underlying necrotic myocardium in up to 25 percent of patients. It can also develop weeks to<br />

months after myocardial infarction in patients with postmyocardial infarction syndrome (Dressler’s<br />

syndrome); in this situation, pericarditis occurs because of a late autoimmune reaction stimulated by the<br />

entry of necrotic myocardial tissue into the circulation, where it acts as an antigen.<br />

†Pericarditis in uremia indicates a need for dialysis; pericarditis may also be associated with<br />

hemodialysis.<br />

‡Listed in relative order of frequency.<br />

227


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

ชนิดของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ขึ ้นอยู่<br />

กับวิธีการแบ่ง อาทิเช่น แบ่งตามระยะเวลาการด าเนินของโรค วิธีนี้สามารถแยกได้เป็น<br />

3 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลัน (acute) คือ เป็นโรคในช่วงเวลาน้อยกว่า 6 สัปดาห์, ชนิด<br />

subacute คือ เป็นโรคในช่วงเวลาตั้งแต่ 6 สัปดาห์จนถึง 6 เดือน, ชนิดเรื้อรัง (chronic)<br />

คือ เป็นโรคมากกว่า 6 เดือนขึ ้นไป (Table 2)(3)<br />

Table 2 แสดงสาเหตุของ pericarditis [modified from Goyle KK, Walling AD.<br />

Diagnosing pericarditis. Am Fam Phys 2002; 66(9):1695-702.](3)<br />

Classification of Pericarditis<br />

Acute pericarditis (6 weeks to 6 months)<br />

Chronic pericarditis (>6 months)<br />

Effusive<br />

Adhesive<br />

Effusive-adhesive<br />

Constrictive<br />

228


Pericardial diseases<br />

การแบ่งตามสาเหตุการเกิดโรค อาจจะแบ่งแยกเป็นประเภทดังนี้ infectious<br />

pericarditis ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (viral infection), pericarditis in<br />

systemic autoimmune disease, pericarditis in metabolic disorders, traumatic<br />

pericarditis, neoplastic pericardial disease(5)<br />

นอกจากนี้เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดเฉียบพลัน (acute pericarditis) ยังสามารถ<br />

แบ่งโดยใช้ลักษณะภายนอก (gross morphology) และ จุลพยาธิวิทยา (microscopic<br />

morphology) ของเยื่อหุ้มหัวใจที่เกิดความผิดปรกติได้ คือ แบ่งเป็นชนิด fibrinous<br />

pericarditis, serous pericarditis, purulent pericarditis, hemorrhagic pericarditis(6,7)<br />

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute pericarditis)<br />

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงชนิดของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดเฉียบพลัน (acute<br />

pericarditis)ที่แบ่งโดยลักษณะภายนอก (gross morphology) และ จุลพยาธิวิทยา<br />

(microscopic morphology) เป็นหลัก อันได้แก่<br />

Fibrinous pericarditis และ Serofibrinous pericarditis<br />

การอักเสบชนิดนี้ถือเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด โดยทั้งสองชนิดการอักเสบนี้จะมี<br />

ส่วนประกอบของสารน้ า (serous fluid) หรือ fibrin ที่มากน้อยต่างกันไป สาเหตุที่พบได้<br />

บ่อยคือ พบร่วมกับภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction), post<br />

infarction (Dressler) syndrome ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก autoimmune reaction สามารถพบได้<br />

ภายหลังการเกิด ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction)(3),<br />

ภาวะ uremia, การฉายรังสีบริเวณหน้าอก, ไข้รูมาติก (rheumatic fever), Systemic<br />

lupus erythematosus (SLE) และ การบาดเจ็บบริเวณหน้าอก (trauma)<br />

ลักษณะภายนอกของ ชนิด fibrinous pericarditis จะพบว่าผิวนอกของเยื่อหุ้ม<br />

หัวใจจะ แห้ง ขรุขระ เนื่องจากถูกคลุมไปด้วยเยื่อบางๆ (fibrin) (Figure 5,6) ส่วนชนิด<br />

serous pericarditis เนื่องจากชนิดนี้มีส่วนประกอบของ เซลล์อักเสบ (inflammatory<br />

cells) ที่มากกว่า และมี สารน้ า (fluid) ในปริมาณที่มากกว่าจึงท าให้พบว่าเยื่อหุ้มหัวใจมี<br />

ลักษณะถูกหุ้มด้วยเยื่อบางๆปนสารน้ าขุ่นสีน้ าตาล โดยในระยะท้ายๆของโรคอาจจะมี<br />

229


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

การสลายไปของเยื่อ (fibrin) และสารน้ าเหล่านี้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการจับตัว<br />

เป็นกลุ่มก้อน (organization) ท าให้เกิดกลายเป็นเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังชนิด<br />

adhesive pericarditis ในภายหลังได้<br />

เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิด fibrinous pericarditis นี้มีส่วนประกอบของ<br />

fibrin จ านวนมาก จึงท าให้เกิดเป็นเสียงเฉพาะเมื่อตรวจร่างกายโดยการใช้หูฟัง<br />

(stethoscope) เสียงที่ได้ยิน เรียกว่า pericardial friction rub เป็นเสียงที่ได้ยินตลอดทั้ง<br />

ในช่วงหัวใจบีบตัว (systolic) และคลายตัว (diastolic) เชื่อว่าเกิดจากการเสียดสีกันของ<br />

fibrous strand ที่แทรกยึดระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจชั้น parietal และ visceral pericardium (8)<br />

Figure 5 Fibrinous pericarditis<br />

The heart of a patient who died in uremia displays a shaggy, fibrinous exudate covering the<br />

visceral pericardium. ที่มา Saffitz JE et al. Rubins pathology: Clinicopathologic foundations of<br />

medicine. 5 th ed. 2008.(7)<br />

230


Pericardial diseases<br />

Figure 6 Fibrinous pericarditis<br />

Fibrinous pericardial exudate. The epicardial surface is edematous, inflamed, and covered with<br />

tentacles of fibrin. ที่มา Saffitz JE et al . Rubins pathology: Clinicopathologic foundations of<br />

medicine. 5 th ed. 2008.(7)<br />

Serous pericarditis<br />

สาเหตุมักเกิดจากกลุ่มโรคที่ไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ (noninfectious inflammatory<br />

disease) เช่น ไข้รูมาติก (rheumatic fever), SLE, scleroderma, เนื้องอก (tumor) และ<br />

ภาวะ uremia แม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อแต่ในผู้ป่วยบางราย<br />

โดยเฉพาะในช่วงอายุน้อย อาจพบว่ามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโดยมักพบร่วมกับ<br />

การอักเสบติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส (myocarditis) หากท าการตรวจ<br />

โดยกล้องจุลทรรศน์จะพบมีเซลล์อักเสบจ านวนไม่มากและส่วนใหญ่พบเป็นชนิด<br />

lymphocytes(6)<br />

231


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

คือ<br />

Purulent หรือ Suppurative pericarditis<br />

สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อ โดยเชื้อโรคสามารถเข้าสู่เยื่อหุ้มหัวใจได้หลายทาง<br />

1. การแพร่กระจายมาจากอวัยวะข้างเคียงที่ติดเชื้อ (direct extension) พบได้ในผู้ป่วยที่<br />

มีหนองในช่องปอด (empyema), ปอดอักเสบ (lobar pneumonia)<br />

2. การแพร่กระจายจากทางเลือด (hematogenous spread)<br />

3. การแพร่กระจายจากทางระบบน้ าเหลือง (lymphatic route)<br />

การอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย แต่มักมีอาการรุนแรงหากไม่ได้<br />

รับการรักษา อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอยู่ที่ประมาณ 40% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก<br />

สาเหตุ cardiac tamponade, toxicity และ constriction ปัจจัยเสี่ยงที่ท าให้เกิดโรคนี้คือ<br />

การที่มี pericardial effusion มาก่อน, ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง(immunosuppression),<br />

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น alcohol abuse, rheumatoid arthritis, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด<br />

หัวใจ (cardiac surgery) และ อุบัติเหตุที่ทรวงอก (chest trauma)<br />

ลักษณะภายนอก จะพบเยื่อหุ้มหัวใจถูกคลุมด้วย fibrin ปนกับของเหลวข้น ชนิด<br />

exudate อาจมีสีขุ่น จนถึงระดับหนองข้น (Figure 7) บางครั้งพบมีหนองร่วมด้วย<br />

ปริมาณมากถึง 500 มิลลิลิตร ปฏิกิริยาการอักเสบมักเป็นชนิดเฉียบพลัน (acute<br />

inflammatory reaction) ส่วนใหญ่ในระยะหลังๆจะเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน<br />

(organization) เกิดเป็นพังผืดหนา (scar)ในภายหลัง ท าให้กลายเป็น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ<br />

เรื้อรังชนิด constrictive pericarditis ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความส าคัญ(6,7)<br />

232


Pericardial diseases<br />

Figure 7 Acute suppurative pericarditis<br />

Lesion is arising from direct extension of a pneumonia. Extensive purulent exudate is evident.<br />

ที่มา Schoen FJ et al. Robbin and Cotran Pathologic basis of disease. 8 th ed. 2010.(6)<br />

233


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Hemorrhagic pericarditis<br />

ความผิดปกติชนิดนี้จะพบเยื่อหุ้มหัวใจถูกคลุมด้วยเลือด และสารน้ าชนิด<br />

exudate (Figure 8) ส่วนใหญ่พบว่ามีสาเหตุมาจากการกระจายของมะเร็งมาที่ช่องเยื่อ<br />

หุ้มหัวใจ (metastasis), การติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อวัณโรค, ผู้ป่วยที่มีปัญหา<br />

เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด (bleeding diathesis) และ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ(6)<br />

การกระจายของมะเร็งมาที่หัวใจที่พบบ่อย คือ มะเร็งปอด ในผู้ป่วยชาย และ<br />

มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยหญิง แม้ว่ายังมีมะเร็งอีกหลายชนิดที่สามารถกระจายมาที่หัวใจได้<br />

แต่มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านมนั้นถือเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ พบได้ถึง 10% ของ<br />

ผู้ป่วยที่มีการกระจายของมะเร็งมาที่หัวใจ สาเหตุเนื่องมาจากการกระจายของมะเร็ง<br />

โดยวิธี direct extension(4)<br />

Figure 8 Hemorrhagic pericarditis<br />

(a) Exterior view of the heart anteriorly. (b) Longitudinal section of the heart. The pericardial<br />

space over the left ventricle is obliterated. (c) adherence of the parietal pericardium to<br />

underlying visceral pericardium. (d) the epicardium showing many vascular channels,the<br />

presumed source of the hemorrhagic pericardial effusion. ที่มา Roberts WC. Proc (Bayl Univ<br />

Med Cent). 2005 January; 18(1): 38-55. (4)<br />

234


Pericardial diseases<br />

Caseous pericarditis<br />

การอักเสบชนิดนี้มักพบว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อวัณโรค พบรองลงไปคือเชื้อรา ส่วน<br />

ใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากปอด หรือต่อมน้ าเหลืองที่ขั้วปอด<br />

(tracheobronchial node) ในระยะท้ายๆของการอักเสบชนิดนี้ มักพบว่ามีการพอกสะสม<br />

ของหินปูน(fibrocalcific) เยื่อหุ้มหัวใจจะหนา แข็ง และขรุขระ คล้ายเปลือกแข็ง ท าให้<br />

เกิดเป็นเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังชนิด constrictive pericarditis ในภายหลังได้ (Figure 9)<br />

Figure 9 Tuberculous pericarditis<br />

(a) cardiomegaly and pericarditis. (b) the exterior of the heart showing fibrinous exudate (c)<br />

the left atrial appendage showing complete involvement of the epicardium by caseating<br />

granulomas and giant cells. Fibrinous pericardial exudate also covers most of its surface. (d)<br />

High-power view of granulomas ที่มา: Roberts WC. Proc (Bayl Univ Med Cent). 2005 January;<br />

18(1): 38-55.(4)<br />

235


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic pericarditis)<br />

ในผู้ป่วยหลายรายหลังจากเกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดเฉียบพลัน (acute<br />

pericarditis) แล้ว ในช่วง healing process มักจะมีการสร้างพังผืดแบบหนาคล้ายเปลือก<br />

แข็ง (plaque-like fibrous) หรืออาจเป็นพังผืดชนิดเส้นใยแบบ adhesion โดยการเกิด<br />

พังผืดเหล่านี้ จะท าให้เกิดลักษณะความผิดปรกติแตกต่างกันไป ในชนิดที่เกิดเป็นเส้นใย<br />

adhesion คลุมภายนอกเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า adhesive pericarditis มักจะไม่ท าให้เกิด<br />

คว ามผิ ด ป รก ติ ข อ ง ก ารท าง านของ หั ว ใ จ มากนั ก ย ก เ ว้ น ช นิ ด adhesive<br />

mediastinopericarditis และ constrictive pericarditis ดังจะได้กล่าวต่อไป<br />

Adhesive mediastinopericarditis<br />

มักเกิดตามหลังเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ, การ<br />

ผ่าตัดหัวใจ (cardiac surgery), การฉายแสงบริเวณทรวงอก โดยภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ<br />

จะถูกอัดแน่นไปด้วยพังผืด บริเวณภายนอกโดยเฉพาะชั้น parietal pericardium จะถูก<br />

คลุมด้วยเส้นใย adhesion และ มักจะโยงติดกับอวัยวะ หรือ เนื้อเยื่อข้างเคียง ท าให้<br />

หัวใจต้องท างานหนักขึ ้น เนื่องจากต้องต้านแรงดึงจากพังผืดที่ยึดกับ parietal<br />

pericardium และ อวัยวะข้างเคียง โดยเฉพาะในช่วงการบีบตัว ส่งผลให้หัวใจมีขนาดโต<br />

ขึ ้น (cardiac hypertrophy) และมีการขยายใหญ่ขึ้น (dilation)(6)<br />

Constrictive pericarditis<br />

สาเหตุส าคัญมักพบตามหลังเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อวัณโรค ในภาวะ<br />

นี้จะพบหัวใจถูกห่อหุ้มด้วยพังผืดแข็งคล้ายเปลือก บางครั้งอาจจะพบว่ามีหินปูนเป็น<br />

ส่วนประกอบด้วย (fibrocalcific) โดยเปลือกที่หนานี้ เมื่อห่อหุ้มหัวใจจะท าให้<br />

ความสามารถในการขยายตัวของหัวใจลดลง ในช่วงคลายตัว (diastolic) เปลือกที่หุ้ม<br />

หัวใจนั้นอาจพบว่ามีความหนาถึง 1 ซม มักพบพังผืดอุดแน่นอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ<br />

ลักษณะคล้ายแบบพิมพ์ปูนพลาสเตอร์ (plaster mold) (Figure 10,11)<br />

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเมื่อมีการห่อหุ้มหัวใจท าให้ประสิทธิภาพในการท างานของ<br />

หั ว ใ จ ใ น ช่ ว ง ค ล าย ตั ว ท าไ ด้ ไ ม่ เ ต็ ม ที่ ซึ่ ง จ ะแตกต่ าง จ าก ช นิ ด adhesive<br />

mediastinopericarditis คือจะไม่พบว่ามีการโตขึ ้นของหัวใจ (cardiac hypertrophy) และ<br />

236


Pericardial diseases<br />

การขยายใหญ่ (dilation) แต่จะท าให้เกิดภาวะ restricted venous inflow และส่งผลให้<br />

cardiac output ลดลง(6)<br />

Figure 10 Calcific constrictive pericardial heart<br />

(a) Exterior of the heart. (b) Radiograph of the heart showing residual calcific deposits over the<br />

ventricles. (c) right atrial dilatation and right ventricular hypertrophy. (d) Section of left ventricle<br />

compressed by overlying calcific deposit. ที่มา Roberts WC. Proc (Bayl Univ Med Cent). 2005<br />

January; 18(1): 38-55.(4)<br />

237


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Figure 11 Constrictive pericarditis<br />

The pericardial space has been obliterated, and the heart is encased in a fibrotic, thickened<br />

pericardium.ที่มา Saffitz JE et al . Rubins pathology: Clinicopathologic foundations of medicine.<br />

5 th ed. 2008.(7)<br />

ภาวะของเหลวในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial effusion)<br />

ในภาวะปรกติในช่องเยื่อหุ้มหัวใจจะมีของเหลวบรรจุอยู่ปริมาณไม่เกิน 50 มล.<br />

(7) ถ้าหากมีการเพิ่มขึ ้นของของเหลว (pericardial effusion) นี้ไม่ว่าจะเป็นชนิด<br />

transudate หรือ exudate ก็จะท าให้เกิดความผิดปรกติได้ การเพิ่มขึ ้นของของเหลว<br />

(pericardial effusion) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดร่วมกับ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ<br />

เฉียบพลัน (acute pericarditis), เกิดจากเนื้องอก, myxedema, โรคไต (renal<br />

insufficiency), ตั้งครรภ์, aortic rupture, cardiac rupture, อุบัติเหตุ (trauma) และภาวะ<br />

ที่มีการคั่งของโซเดียมและน้ าที่พบในผู้ป่วยที่เป็น congestive heart failure, nephrotic<br />

syndrome, hepatic cirrhosis (Table 3) (9)<br />

238


Pericardial diseases<br />

Table 3 ตารางรวบรวมสาเหตุ pericardial effusion (>50 mL)<br />

Serous effusion<br />

1. Congestive cardiac failure<br />

2. Hypoalbuminemia<br />

3. Irradiation<br />

Bloody effusion (hematocrit >10%)<br />

1. Iatrogenesis<br />

a. Cardiac operation<br />

b. Cardiac catheterization<br />

c. Trauma (penetrating and nonpenetrating)<br />

d. Anticoagulant agents<br />

e. Chemotherapeutic agents<br />

2. Neoplasm<br />

3. Trauma<br />

4. Acute myocardial infarction<br />

5. Cardiac rupture<br />

6. Rupture of ascending aorta or major pulmonary artery<br />

7. Coagulopathy<br />

a. Thrombocytopenia<br />

b. Hypoprothrombinemia<br />

c. Other (hemophilia, Gaucher’s diseases, etc.)<br />

8. Renal disease<br />

Lymphatic or chylous effusion<br />

1. Neoplasm<br />

2. Iatrogenesis: Cardiothoracic surgery<br />

3. Congenital condition<br />

4. Idiopathy (“primary chylopericardium”)<br />

5. Nonneoplastic obstruction of pulmonary hilum or superior vena cava<br />

Modified from Roberts WC. Pericardial heart diseases: its morphologic features and its causes.<br />

Proc (Bayl Univ Med Cent). 2005 January; 18(1): 38-55.(4)<br />

239


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

หากแบ่งตามชนิดของpericardial effusion อาจแบ่งได้ดังนี้<br />

Serous pericardial effusion<br />

การเพิ่มขึ ้นของสารน้ าชนิดนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากภาวะหัวใจวาย (congestive<br />

heart failure), โรคไตชนิด nephrotic syndrome โดยของเหลวที่เพิ่มขึ ้นนี้มักพบเป็นชนิด<br />

transudate(4,7)<br />

Chylous effusion<br />

คือของเหลวที่มี chylomicrons เป็นส่วนประกอบ มักเกิดจากการอุดตันในส่วน<br />

ของ lymphatic system จนถึงบริเวณ thoracic duct ซึ่งปรกติมีหน้าที่ช่วยในการระบาย<br />

effusion ของช่องเยื่อหุ้มหัวใจ โดยสาเหตุมักเกิดจากเนื้องอก หรือการติดเชื้อบางชนิด<br />

(4,7)<br />

Hemopericardium<br />

ของเหลวที่พบส่วนใหญ่จะมีเลือดเป็นส่วนประกอบ สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ การ<br />

แตกของผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง (ventricle) ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด<br />

(myocardial infarction) และอาจพบได้ในผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ (trauma), rupture of<br />

dissecting aneurysm of aorta, เนื้องอก และในผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของระบบการ<br />

แข็งตัวของเลือด (bleeding diathesis)(4,7)<br />

การเพิ่มขึ ้นของของเหลวจะท าให้เกิดอาการหรือไม่นั้นมักจะสัมพัน ธ์กับ<br />

ระยะเวลาการสะสมและเพิ่มขึ ้นของของเหลว ถ้าหากการเพิ่มขึ ้นนั้นใช้เวลานาน และ<br />

ค่อยเป็นค่อยไป มักจะไม่ท าให้เกิดอาการผิดปรกติ เนื่องจากช่องเยื่อหุ้มหัวใจมี<br />

ความสามารถในการขยาย และรองรับน้ าได้มากถึง 2000 มล. แต่ถ้าหากการเพิ่มขึ ้นนั้น<br />

เกิดอย่างรวดเร็ว จะท าให้เกิดการเพิ่มขึ ้นของความดันในช่องเยื่อหุ้มหัวใจอย่าง<br />

เฉียบพลัน หัวใจจะถูกกด ส่งผลให้ cardiac output ลดลง และอาจท าให้เกิดภาวะ<br />

cardiogenic shock ได้ ภาวะนี้เรียกว่า cardiac tamponade ถือเป็น life-threatening มี<br />

ความส าคัญอย่างมากทางคลินิก (Figure 12)(4,6)<br />

240


References<br />

Pericardial diseases<br />

1. Moore KL. Clinically oriented anatomy. 3 rd ed. Baltimore: Williams & Wilkins;<br />

1992. p. 79-80.<br />

2. Billingham ME. Normal heart. In: Sternberg SS, editor. Histology for<br />

pathologist. 2 nd ed. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1997. p. 747-82.<br />

3. Goyle KK, Walling AD. Diagnosing pericarditis. Am Fam Phys 2002; 66(9):<br />

1695-702.<br />

4. Roberts WC. Pericardial heart diseases: its morphologic features and its<br />

causes. Proc (Bayl Univ Med Cent). 2005 January; 18(1): 38-55.<br />

5. Maisch B, Seferovic PM, Ristic AD, et al. Guidelines on the diagnosis and<br />

management of pericardial diseases: executive summary. Eur Heart J.<br />

2004;25:587-610.<br />

6. Schoen FJ, Michell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran pathologic basis of disease. 8 th ed.<br />

Philadelphia: Elsevier; 2010. p. 581-3.<br />

7. Saffitz JE, The heart. In: Rubin R, Strayer DE, editors. Rubin pathology:<br />

Clinicopathologic foundations of medicine. 5 th ed. Philadelphia: Lippincott<br />

Williums&Wilkins; 2008. p. 477-9.<br />

8. Khandaker MH, Espinosa RE, Nishimura RA, et al. Pericardial disease:<br />

diagnosis and management. Mayo Clin Proc. 2010;85(6):572-93.<br />

9. Soler-Soler J, Sagrista-Sauleda J, Permanyer-Miralda G. Management of<br />

pericardial effusion. Heart 2001; 86:235-40.<br />

241


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Tumor of the heart and pericardium<br />

ศราวุธ คงการค้า, MD FRCPath<br />

เนื้องอกที่พบในหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจาก<br />

อวัยวะอื่น เนื้องอกปฐมภูมิของหัวใจพบน้อยมาก และประมาณร้อยละ 80 ถึง 90 เป็น<br />

ชนิดไม่ร้ายแรง (benign) (1), (2)<br />

Myxoma<br />

เป็นเนื้องอกปฐมภูมิของหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด(3) ประมาณร้อยละ 75 เกิดใน<br />

ห้องหัวใจ left atrium(4) ส่วนใหญ่พบเป็นเพียงก้อนเดียว รายงานจากโรงพยาบาล<br />

มหาราชนครเชียงใหม่พบระหว่างปี 2549 ถึง 2556 ทั้งสิ้น 20 ราย เป็นชาย 9 ราย,<br />

หญิง 11 ราย พบในห้องหัวใจ left atrium 15 ราย, right atrium 2 ราย และต าแหน่งอื่นๆ<br />

3 ราย<br />

Myxoma เป็นก้อน sessile หรือ pedunculated ขนาดประมาณน้อยกว่า 1 ถึง<br />

มากกว่า 10 เซนติเมตร มีลักษณะนุ่ม หยุ่น หรือแข็ง ผิวนอกเป็นมันวาว หน้าตัดมี<br />

ลักษณะเป็นเมือก (myxoid) หรือคล้ายวุ้น (gelatinous)<br />

Figure 1 Cardiac myxoma The left atrium contains a large, polypoid tumor that protrudes<br />

into the mitral valve orifice. ที่มา: Emanuel R, Howard MR. Essential of Rubin’s Pathology, 5<br />

ed, Lippincott Williams & Wilkins; 2009. p. 237-238. (2)<br />

242


Tumor of the heart and pericardium<br />

ลักษณะทางจุลทรรศน์วิทยาพบเซลล์เนื้องอกรูปร่าง stellate หรือ globular<br />

กระจายอยู่ใน matrix ซึ่งเป็นสารประเภท mucopolysaccharide ปริมาณมาก สิ่งตรวจ<br />

พบจ าเพาะประการหนึ่งคือโครงสร้างที่คล้ายหลอดเลือดหรือคล้ายต่อม (peculiar<br />

vessel-like or gland-like structures) นอกจากนั้น อาจพบ mononuclear inflammatory<br />

cells หรือจุดเลือดออกในก้อนเนื้องอกได้<br />

Myxoma ชนิด pedunculated อาจแกว่งไปมาในห้องหัวใจหรือแม้แต่ผ่านเข้าสู่<br />

หัวใจห้องอื่นขณะ systole เกิดการอุดกั้นทางเดินเลือดแบบ ball-valve ท าให้ผู้ป่วยมี<br />

อาการหลากหลาย ตั้งแต่เป็นลม หน้ามืด, หายใจหอบเหนื่อย(5), หัวใจล้มเหลว(4), หัว<br />

ใจเต้นผิดปกติ, หรือแม้แต่เสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้ก้อนเนื้องอกอาจเกิด<br />

wrecking-ball effect ท าลายลิ้นหัวใจไปทีละน้อย โดยเฉพาะ mitral valve หรือเกิด<br />

embolization กระจายไปอุดเส้นเลือดในต าแหน่งอื่นได้(6)<br />

ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วย myxoma จะพบความผิดปกติอื่นร่วมด้วย<br />

เรียกว่า Carney complex ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant<br />

โดยจะพบเนื้องอก myxoma ได้หลายๆ ก้อนในหัวใจและที่ผิวหนัง, pigmented skin<br />

lesions, และ endocrine overactivity มีรายงานว่าพบ myxoma ร่วมกับเนื้องอกปฐมภูมิ<br />

ของหัวใจชนิดอื่นเช่น Papillary fibroelastoma ได้(7)<br />

Papillary fibroelastoma<br />

Papillary fibroelastoma เป็นเนื้องอกที่พบได้น้อยมาก รูปร่างคล้ายดอกไม้ทะเล<br />

อาจคล้าย lambl excrescences มักตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น จากการตรวจศพ ต าแหน่ง<br />

ที่พบได้บ่อยคือ ventricular surface ของ semilunar valve และ atrial surface ของ<br />

atrioventricular valve<br />

เมื่อดูก้อนเนื้องอกด้วยตาเปล่า ผิวนอกจะมีโครงสร้างคล้ายเส้นผมหลายๆ เส้น<br />

ยื่นออกมาจ านวนมาก มีความยาวได้ถึง 1 เซนติเมตรและกว้างได้หลายเซนติเมตร<br />

ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาประกอบด้วยแกนกลางเป็น myxoid connective tissue ที่มี<br />

mucopolysaccharide ปริมาณมากกับ elastic fibers ผิวนอกคลุมด้วย endothelium<br />

243


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

Rhabdomyoma<br />

เป็นเนื้องอกปฐมภูมิของหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุต่ ากว่า 1 ขวบ ร้อยละ<br />

50 ของผู้ป่วยสัมพันธ์กับ tuberous sclerosis(8) ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเนื้องอกชนิดนี้<br />

เป็น hamartoma หรือ true neoplasm เนื่องจากมักพบเป็น nodular masses ฝังใน<br />

myocardium โดยเฉพาะห้องหัวใจ left ventricle จ านวนหลายๆ ก้อน<br />

Rhabdomyoma เมื่อดูด้วยตาเปล่า มีลักษณะเป็นก้อนสีซีด ขนาดตั้งแต่ 1<br />

มิลลิเมตรจนถึงหลายเซนติเมตร ลักษณะทางจุลทรรศน์วิทยาประกอบด้วยเซลล์<br />

กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ รูปร่างแปลก cytoplasm ของเซลล์อาจยืดยาวออกกลายเป็นเส้น<br />

เล็กๆ ท าให้เห็นเซลล์เนื้องอกคล้ายแมงมุม (spider cells)<br />

ผู้ป่วยมักไม่มีอาการเนื่องจากก้อนอาจ regress ไปเอง ยกเว้นผู้ป่วยมีอาการอุด<br />

กั้นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ(9)<br />

Lipoma<br />

เป็นเนื้องอกปฐมภูมิของหัวใจที่พบไม่บ่อย ก้อนมีขอบเขตชัดเจน พบได้ในชั้น<br />

subendocardium, subepicardium, หรือ myocardium ประกอบด้วย mature fat cells<br />

ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ หรืออาจมีอาการ ball-valve obstruction คล้าย myxoma(10)<br />

Metastatic tumors to the Heart and Pericardium<br />

ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตพบว่ามีการแพร่กระจายมายังหัวใจ ที่พบ<br />

บ่อยได้แก่มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, melanoma, lymphoma, และ leukemia เป็นต้น<br />

มะเร็งทีแพร่มายัง myocardium อาจท าให้มีลักษณะทางคลินิกคล้าย restrictive<br />

cardiomyopathy ได้ โดยเฉพาะถ้ามะเร็งนั้นสัมพันธ์กับการเกิด extensive fibrosis<br />

244


References<br />

245<br />

Tumor of the heart and pericardium<br />

1. Schoen FJ, Mitchell RN. The heart. In: Kumar V, Abbasm KA, Fausto N, Aster<br />

JC, editors. Robbin and Cotran Pathologic Basis of Disease. 8 ed. Philadelphia:<br />

Elsevier; 2010. p. 529-87.<br />

2. Emanuel R, Howard MR. Essential of Rubin’s Pathology, 5 ed, Lippincott<br />

Williams & Wilkins; 2009. p. 237-238.<br />

3. Wang JG, Liu H, Yu WJ, Li YJ, Xin FJ. Primary cardiac neoplasms: a<br />

clinicopathologic analysis of 81 cases. Zhonghua Bing Li Xue Za Zhi. 2012<br />

Dec;41(12):808-12.<br />

4. Simsek E, Durdu S, Hodo B, Yazicioqlu L, Uysalel A. Left ventricular myxoma<br />

producing cardiac failure. Heart Surg Forum. 2013 Feb 1;16(1):E57-9.<br />

5. Porapakkham P, Porapakkham P, Petchyungtong P. Cardiac myxoma: sixteenyear<br />

experience in Central Chest Institute of Thailand. J Med Assoc Thai. 2012<br />

Dec;95(12):1509-16.<br />

6. Jung J, Hong YS, Lee CJ, Lim SH, Choi H, Lee S. Successful surgical treatment<br />

of a right atrial myxoma complicated by pulmonary embolism. Korean J Thorac<br />

Cardiovasc Surg. 2013 Feb;46(1):63-7.<br />

7. Roque J, Silva F, Arruda Pereira R, Cravino J. Multiple causes for an ischemic<br />

stroke: myxoma, papillary fibroelastomas and patent foramen ovale. HSR Proc<br />

Intensive Care Cardiovasc Anesth. 2012;4(3):187-91.<br />

8. Kocabas A, Ekici F, Cetin Li, Emir S, Demir HA, An ME, et al. Cardiac<br />

rhabdomyomas associated with tuberous sclerosis complex in 11 children:<br />

presentation to outcome. Pediatr Hematol Oncol. 2013 Mar;30(2):71-9.<br />

9. Benyounes N, Fohlen M, Devys JM, Delalande O, Moures JM, Cohen A. Cardiac<br />

rhabdomyomas in tuberous sclerosis patients: a case report and review of the<br />

literature. Arch Cardiovasc Dis. 2012 Aug-Sep;105(8-9):442-5.<br />

10. Singh B, Bhairappa S, Shankar SK, Prasad NM, Manjunath CN. Cardiac lipoma<br />

at unusual location – Mimicking atrial myxoma. Echocardiography. 2013 Jan 11.


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

INDEX<br />

acute coronary syndrome ..................... 131<br />

acute de novo heart failure................... 195<br />

acute decompensation heart failure ...... 195<br />

acute myocardial infarction .................. 229<br />

acute plaque change .............127, 131, 135<br />

acute rheumatic fever ...........................171<br />

adhesive mediastinopericarditis............ 236<br />

adhesive pericarditis............................ 236<br />

amyloidosis ............................93, 100, 104<br />

angina pectoris ..................................... 132<br />

angioblastic blood islands.......................... 1<br />

anterior cardinal veins ............................. 6<br />

anthracyclines ............................... 92, 103<br />

aortic stenosis ........................................ 71<br />

aortic vestibule .......................................24<br />

aorticopulmonary septum .......................24<br />

area at risk .................................. 136, 146<br />

arrhythmia ....................... 76, 91, 116, 149<br />

arrhythmogenic right ventricular<br />

cardiomyopathy................................94<br />

arterial switch operation ........................ 63<br />

artificial valve ....................................... 187<br />

ascending aorta......................................24<br />

asplenia .................................................48<br />

asymmetric septal hypertrophy ............. 99<br />

atherosclerosis...................................... 130<br />

atrial fibrillation...............................97, 212<br />

atrial septostomy ................................... 63<br />

atrial septum defect .............................. 38<br />

atrioventricular canal defect....................48<br />

atrioventricular septal defect .................. 48<br />

berry aneurysm .....................................69<br />

bleeding diathesis ................................ 234<br />

bradykinin ..............................................28<br />

brain abscess ......................................... 76<br />

bulbar ridges.......................................... 24<br />

bulbus cordis............................................9<br />

calcific aortic stenosis ........................... 163<br />

cardiac biomarker ........................ 125, 139<br />

cardiac cirrhosis ................................... 215<br />

cardiac dysfunction....................... 195, 198<br />

cardiac hypertrophy .............................236<br />

cardiac loop .............................................9<br />

cardiac remodeling .............. 198, 204, 207<br />

cardiac tamponade............................... 240<br />

cardiac troponin ........................... 125, 138<br />

cardinal veins ...........................................6<br />

cardiocutaneous syndrome .....................95<br />

cardiogenic shock ................................. 240<br />

cardiomyocyte hypertrophy ........... 99, 208<br />

cardiorenal syndrome ................... 154, 213<br />

cardiovascular risk factors .................... 128<br />

carney complex.................................... 243<br />

central cyanosis .....................................63<br />

cerebrovascular accident ........................ 76<br />

chagas disease .....................................119<br />

chordae tendinae ................................... 19<br />

chronic heart failure ............................. 196<br />

clinodactyly ............................................ 73<br />

coagulative necrosis ............................. 142<br />

246


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

coarctation of aorta ............................... 69<br />

concentric hypertrophy .................. 99, 207<br />

congenital heart diseases with obstructive<br />

lesion .............................................. 69<br />

congenital rubella infection..................... 52<br />

congestive cardiomyopathy .................... 91<br />

congestive heart failure ............... 196, 238<br />

congestive hepatomegaly ..................... 215<br />

constrictive pericarditis ........ 100, 232, 236<br />

contraction band necrosis...................... 104<br />

conus arteriosus ...................................... 9<br />

conus cordis ............................................ 9<br />

coronary artery bypass grafting ............ 126<br />

coronary artery disease ........................ 128<br />

coronary heart disease ................. 128, 193<br />

coxsackievirus ...................................... 118<br />

crista terminalis ...................................... 18<br />

cytokine ................................................211<br />

dehydrogenase .....................................141<br />

desmosomes ..........................................94<br />

diastolic heart failure ............................ 196<br />

dilated cardiomyopathy .................. 91, 119<br />

dilation ................................................ 236<br />

dorsal aorta............................................. 6<br />

ductus arteriosus ............................. 26, 28<br />

dyspnea ....................................... 138, 212<br />

dystrophin ............................................. 92<br />

eccentric hypertrophy ...........................207<br />

egg-on-a-string ................................... 63<br />

Eisenmenger syndrome ............. 40, 44, 74<br />

elastin gene ...........................................73<br />

elfin facies ............................................. 73<br />

embryonic circuits ....................................6<br />

empyema ............................................232<br />

endocardial cushion ................................ 13<br />

endocardial cushion defect ..................... 48<br />

endocardial fibroelastosis .......................101<br />

endocardial heart tubes............................ 1<br />

endocarditis of systemic lupus<br />

erythematosus ............................... 186<br />

endocardium ............................................ 5<br />

endomyocardial fibrosis .........................101<br />

epicardium .......................................5, 224<br />

eustachian valve ....................................26<br />

extracellular matrix ....... 92, 150, 208, 210<br />

extraembryonic circuits.............................6<br />

fetal circulation.......................................25<br />

fibrinous pericarditis .............................229<br />

fibrocalcific ...........................................235<br />

fibrosis ......................................... 214, 208<br />

fibrous pericardium ..............................223<br />

floor of fossa ovalis.................................28<br />

foramen ovale........................................28<br />

foramen primum .................................... 13<br />

foramen secondum................................. 13<br />

GATA4 ...................................................35<br />

gene mutation........................... 35, 36, 91<br />

giant cell myocarditis.............................119<br />

heart failure .................. 97, 105, 195, 206<br />

heart failure cells ................................. 212<br />

heart failure with preserved ejection<br />

fraction .......................................... 196<br />

247


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

heart tube ................................................ 1<br />

hepatic cirrhosis .................................. 238<br />

heterotaxy .............................................48<br />

hibernation ........................................... 147<br />

Holt-Oram syndrome ............................ 38<br />

hypertrophic cardiomyopathy................. 95<br />

hypertrophic osteoarthropathy ................76<br />

hypoplastic left heart syndrome .............. 71<br />

hypoxic spells........................................ 60<br />

ibuprofen............................................... 55<br />

indomethacin......................................... 55<br />

infectious pericarditis ........................... 229<br />

Infective endocarditis ............................ 178<br />

infundibular stenosis ...............................57<br />

infundibulum ..........................................24<br />

interstitial fibrosis............ 94, 100, 101, 150<br />

interventricular septum ........................... 21<br />

intraventricular hemorrhage....................54<br />

iron overload cardiomyopathy ............... 105<br />

ischemic cardiomyopathy.............. 130, 133<br />

ischemic heart disease ..................116, 123<br />

Jones criteria ........................................ 175<br />

lambl excrescences ..............................243<br />

left atrium enlargement ........................ 212<br />

left ventricular non-compaction ............ 102<br />

left-sided heart failure ......................... 198<br />

left-to-right shunt ................................. 38<br />

Libman-Sacks Disease ......................... 186<br />

ligametum teres .................................... 28<br />

limbus fossa ovalis................................. 28<br />

lipoma..................................................244<br />

lobar pneumonia ................................. 232<br />

248<br />

Loeffler endomyocarditis........................101<br />

Marfan syndrome................................. 168<br />

medial umbilical ligaments......................29<br />

metastasis ...........................................226<br />

missense mutation .................................82<br />

mitral annular calcification .................... 166<br />

mitral valve prolapse............................ 168<br />

monosomy X .......................................... 37<br />

mural thrombi ........................................ 91<br />

murmur ................................................. 54<br />

myocardial infarction .................... 124, 132<br />

myocardial stunning ............................. 147<br />

myocarditis ...........................................116<br />

myocardium ............................................. 5<br />

myxedema ..........................................238<br />

myxoma .............................................. 242<br />

Naxos syndrome ....................................95<br />

necrotizing enterocolitis .......................... 54<br />

neonatal circulation ................................25<br />

neoplastic pericardial disease ...............229<br />

nephrotic syndrome..............................238<br />

neurohormonal activation ..... 200, 213, 217<br />

neuromuscular disorder ..........................92<br />

NKX2-5 .................................................35<br />

nonbacterial Thrombotic Endocarditis .... 184<br />

organization .........................................232<br />

ostium primum ....................................... 13<br />

ostium secundum ................................... 13<br />

overriding aorta...................................... 57<br />

papillary fibroelastoma ......................... 243<br />

papillary muscle ..................................... 19<br />

paradoxical embolization ........................ 42


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

paroxysmal hyperpnea .......................... 60<br />

partial anomalous of pulmonary venous<br />

return.............................................. 39<br />

partitioning ............................................. 13<br />

patent ductus arteriosus ........................ 52<br />

pectinate muscle .................................... 18<br />

pectus excavatum ..................................73<br />

percutaneous coronary intervention....... 125<br />

pericardial cavity ..................................... 6<br />

pericardial effusion .............................. 238<br />

pericardial friction rub .......................... 230<br />

pericarditis .......................................... 226<br />

peripartum cardiomyopathy ................... 93<br />

plaster mold ........................................ 236<br />

polycythemia..........................................75<br />

polysplenia syndrome .............................48<br />

post infarction (Dressler) syndrome ...... 229<br />

posterior cardinal veins ............................ 6<br />

preconditioning ..................................... 147<br />

primary cardiomyopathies ..................... 86<br />

Prinzmetal variant angina ..................... 132<br />

prostacyclin I2 ........................................27<br />

prostaglandin E2.....................................27<br />

pulmonary atresia ..................................70<br />

pulmonary congestion................... 138, 212<br />

pulmonary edema ................................ 212<br />

pulmonary stenosis.................................70<br />

pulmonary trunk .....................................24<br />

pulmonary vascular obstructive disease .. 74<br />

renal insufficiency ................................ 238<br />

reperfusion ........................................... 146<br />

restrictive cardiomyopathy ................... 100<br />

rhabdomyoma...................................... 244<br />

rheumatic fever ...................................229<br />

rheumatic heart disease ........................ 171<br />

right-sided aortic arch............................ 57<br />

right-sided heart failure ....................... 198<br />

right-to-left shunt.................................. 57<br />

round ligament of liver ...........................28<br />

sarcomeric protein..................................95<br />

sarcomeric proteins ................................82<br />

secondary cardiomyopathies ..................86<br />

septum primum...................................... 13<br />

septum secondum .................................. 13<br />

septum spurium ..................................... 18<br />

serofibrinous pericarditis .......................229<br />

serous pericardium...............................223<br />

siderophages ....................................... 212<br />

sinus venarum ....................................... 18<br />

sinus venosus..................................... 9, 16<br />

snowman appearance ............................68<br />

stroke .................................................. 212<br />

subendocardial infarction ...................... 137<br />

subvalvular aortic stenosis ...................... 73<br />

sudden cardiac death ...... 94, 96, 98, 106,<br />

116, 133, 194<br />

sulcus terminalis..................................... 18<br />

superior vesical arteries..........................29<br />

supravalvular aortic stenosis ................... 73<br />

systemic lupus erythematosus ..............229<br />

systolic heart failure ............................. 196<br />

Takotsubo cardiomyopathy ........... 102, 104<br />

249


พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ<br />

TBX5..................................................... 35<br />

Tet spells .............................................. 60<br />

Tetralogy of Fallot...................................57<br />

thalidomide ........................................... 35<br />

thrombus.............................................. 212<br />

total anomalous pulmonary venous return<br />

....................................................... 66<br />

transcatheter closure .............................. 47<br />

transcription factor........................... 35, 36<br />

transmural infarction ............................. 137<br />

transposition of great arteries ................. 61<br />

transudate............................................240<br />

transverse pericardial sinus...................... 6<br />

traumatic pericarditis ........................... 229<br />

tricuspid atresia ......................................64<br />

triphenyltetrazolium chloride ..................141<br />

trisomies ............................................... 35<br />

trisomy............................................ 37, 52<br />

truncal ridges ......................................... 24<br />

truncus arteriosus.............................. 9, 65<br />

Trypanosoma cruzi ................................119<br />

Turner syndrome.................................... 37<br />

uremia .................................................226<br />

valve of foramen ovale...........................28<br />

valvular aortic stenosis ........................... 71<br />

valvular heart disease ...........................161<br />

ventricular arrhythmia ............................ 97<br />

ventricular fibrillation .............................. 94<br />

ventricular septal defect ......................... 43<br />

ventricular tachycardia .................... 94, 98<br />

ventriculoarterial discordant .................... 61<br />

vitelline arteries........................................ 7<br />

vitelline veins ........................................... 7<br />

volume overload ......................... 203, 207<br />

Williams syndrome ................................. 73<br />

250

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!