18.08.2013 Views

cache

cache

cache

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วิทยานิพนธ<br />

เรื่อง<br />

อิทธิพลของอินูลินในลูกกวาดแบบแข็ง<br />

Effect of Inulin as an Ingredient in Hard Candy<br />

โดย<br />

นางสาวชีพหทัย ชีพจําเปน<br />

เสนอ<br />

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร<br />

เพื่อความสมบูรณแหงปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต<br />

(เทคโนโลยีชีวภาพ)<br />

พ.ศ. 2549<br />

ISBN 974-16-2143-4


กิตติกรรมประกาศ<br />

ขาพเจาขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย ดร.สาวิตรี จันทรานุรักษ ประธานกรรมการที่<br />

ปรึกษา และรองศาสตราจารย ดร.สิรี ชัยเสรี กรรมการที่ปรึกษาวิชารอง<br />

ที่ไดชวยเหลือในการวางแผน<br />

งานวิจัยในวิทยานิพนธฉบับนี้<br />

ตลอดจนการใหคําปรึกษาแนะนําและตรวจแกไขขอบกพรองตางๆ ขอ<br />

กราบขอบพระคุณรองศาสตราจารย ดร.สาโรจน ศิริศันสนียกุล กรรมการที่ปรึกษาวิชาเอกและผูชวย<br />

ศาสตราจารย ดร.รวิพิมพ ฉวีสุข ผูแทนบัณฑิตวิทยาลัยที่กรุณาตรวจแกไขวิทยานิพนธฉบับนี้ใหถูกตอง<br />

สมบูรณยิ่งขึ้น<br />

ขอกราบขอบพระคุณคุณพอ คุณแม และขอขอบคุณพี่ๆ<br />

นองๆและเพื่อนๆทุกคน<br />

ที่คอยให<br />

ความชวยเหลือ กําลังใจ และสนับสนุนการทําวิทยานิพนธจนสําเร็จลุลวงได<br />

ขอกราบขอบพระคุณ ดร.พิลาณี ไวถนอมสัตย หัวหนาฝายเอนไซมและการจัดการของเสีย ตึก<br />

ปฏิบัติการวิจัยกลางที่ใหความชวยเหลือและอํานวยความสะดวกในการใชเครื่อง<br />

HPLC ที่ใชในงานวิจัย<br />

และขอขอบคุณบริษัทเฮลมมหาบุญ จํากัด และคุณจารุวรรณ พัฒนอริยางกูล ที่อนุเคราะหอินูลิน<br />

ที่ใช<br />

ในการศึกษาครั้งนี้<br />

ขอขอบคุณบริษัทเมลเลอร โทเลโด คุณทรงพล ทรงสิทธิโชค คุณฉัตรีญา สวมสูง และคุณ<br />

อนันต ตั้งเสถียรกิจ<br />

ที่อนุเคราะหและใหความชวยเหลือในการใชเครื่อง<br />

Diffrential Scaning<br />

Calorimetry (DSC) และเครื่อง<br />

Karl Fisher และขอขอบคุณสถาบันเทคโนโลยีโลหะและวัสดุแหงชาติ<br />

ที่ชวยอํานวยความสะดวกในการวิเคราะห<br />

ดวยเครื่อง<br />

Diffrential Scaning Calorimetry (DSC) ที่ใชใน<br />

งานวิจัย<br />

หากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีประโยชนและสามารถนําไปใชได<br />

ขาพเจาขอมอบใหแดทุกทานที่<br />

มีพระคุณ หากมีขอผิดพลาดประการใดใหถือเปนความบกพรองของขาพเจาเพียงผูเดียวและขออภัยมา<br />

ณ ที่นี้ดวย<br />

ชีพหทัย ชีพจําเปน<br />

มีนาคม 2549


สารบัญ<br />

สารบัญ<br />

หนา<br />

(1)<br />

สารบัญตาราง (2)<br />

สารบัญภาพ (4)<br />

คํานํา 1<br />

วัตถุประสงค 3<br />

การตรวจเอกสาร 4<br />

อินูลิน 4<br />

ลูกกวาด 20<br />

วิตามินซี 28<br />

อุปกรณและวิธีการ 32<br />

อุปกรณ 32<br />

วิธีการ 34<br />

ผลและวิจารณการทดลอง 39<br />

สรุปผลการทดลอง 62<br />

ขอเสนอแนะ 65<br />

เอกสารและสิ่งอางอิง<br />

66<br />

ภาคผนวก 72<br />

ภาคผนวก ก 73<br />

ภาคผนวก ข 82<br />

ภาคผนวก ค 84<br />

(1)


สารบัญตาราง<br />

่<br />

่<br />

ตารางที<br />

หนา<br />

1 เปอรเซ็นตอินูลินที่มีในน้ําหนักสดของแหลงอาหารที่สําคัญบางชนิด<br />

5<br />

2 อิทธิพลของอุณหภูมิและความเขมขนของอินูลินตอการเกิดเจล 7<br />

3 อิทธิพลของการบริโภค sucrose, Inulin และ oligofructose 15 กรัม/วัน<br />

ที่มีตอสัดสวนชนิดของจุลินทรียในลําไสของมนุษย<br />

11<br />

4 ตัวอยางของอาหารที่มีอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดในตลาดยุโรป<br />

15<br />

5 ลักษณะทางเคมี-กายภาพของอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดในทางการคา 18<br />

6 ตัวอยางลูกกวาดและองคประกอบหลักทั้งหมดที่ทําในการทดลอง<br />

34<br />

7 ผลของอุณหภูมิสุดทายที่กําหนดที่ใชในการผลิตลูกกวาดสูตรตางๆในการทดลอง<br />

39<br />

8 คาสี L ของลูกกวาดทุกตัวอยางที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

47<br />

9 คาสี a ของลูกกวาดทุกตัวอยางที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

48<br />

10 คาสี b ของลูกกวาดทุกตัวอยางที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

49<br />

11 การเปรียบเทียบคา Tg ของลูกกวาดผสมอินูลินกับลูกกวาดสูตรพื้นฐานที<br />

อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

52<br />

12 ความสัมพันธระหวางคา Tg และคาเปอรเซ็นตความชื้นของลูกกวาดที่อุณหภูมิ<br />

สุดทายตางๆ 54<br />

13 คะแนนความชอบตอความเปรี้ยวของปริมาณน้ํามะนาวเขมขนที่เติมลงในตัวอยางลูกกวาด<br />

ผสมอินูลินจากการทดสอบทางประสาทสัมผัส 55<br />

14 คะแนนความชอบตอคุณลักษณะดานตางๆในลูกกวาดที่ทดสอบทางประสาทสัมผัส<br />

56<br />

15 คา Tg ของตัวอยางสูตรพื้นฐานและตัวอยางลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

เมื่อเก็บรักษาที่คาERH<br />

ตางๆเปนเวลา 1 เดือน 58<br />

16 คาเปอรเซ็นตความชื้นของตัวอยางสูตรพื้นฐาน<br />

1และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1<br />

เมื่อเก็บรักษาที่คา<br />

ERH ตางๆเปนเวลา 1 เดือน 59<br />

17 การเปลี่ยนแปลงปริมาณวิตามินซีในลูกกวาดผสมอินูลินระหวางการเก็บ<br />

รักษาที่อุณหภูมิหองในเดซิเคเตอรทุกสัปดาหเปนเวลา<br />

1 เดือน 60<br />

(2)


สารบัญตาราง (ตอ)<br />

่ ตารางผนวกที<br />

หนา<br />

ข1 คา Response factor ของอินูลิน 82<br />

ข2 คา Response factor ของน้ําตาลซูโครส<br />

82<br />

ข3 คา Response factor ของน้ําตาลกลูโคส<br />

83<br />

ข4 คา Response factor ของน้ําตาลฟรุกโทส<br />

83<br />

ค1 เวลาโดยเฉลี่ยที่ใชในการละลายสวนผสมของตัวอยางลูกกวาดจากอุณหภูมิเริ่มตน<br />

27 o C จนถึงอุณหภูมิสุดทายที่กําหนด<br />

84<br />

(3)


สารบัญภาพ<br />

่<br />

่<br />

ภาพที<br />

หนา<br />

1 โครงสรางของอินูลิน 4<br />

2 ความสามารถในการละลายของอินูลินเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น<br />

6<br />

3 คุณสมบัติที่เปนประโยชนของ<br />

bifidobacteria ที่ชวยสงเสริมสุขภาพในมนุษย<br />

11<br />

4 พฤติกรรมของอินูลินเมื่อเปนพรีไบโอติกในลําไสมนุษย<br />

12<br />

5 การผลิตอินูลินและโอลิโกฟรุกโทสทางอุตสาหกรรม 13<br />

6 (a) การผลิตและโครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดเมื่อใชซูโครสเปนวัตถุดิบ<br />

(b) การผลิตและโครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดเมื่อใชอินูลินเปนวัตถุดิบ<br />

16<br />

7 โครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด ทั้ง<br />

2 แบบ 17<br />

8 แผนภาพการผลิตลูกกวาด 21<br />

9 วิธีการผลิตลูกกวาดจาก State Diagram ของระบบซูโครสกับน้ํา<br />

22<br />

10 สัณฐานวิทยาของโพลีเมอรแสดงสวนที่เปนผลึกและอสัณฐาน<br />

24<br />

11 Moisture Sorption Isotherms 28<br />

12 ออกซิเดชั่นและรีดักชั่นของกรดแอสคอรบิค<br />

29<br />

13 แผนผังแสดงการวิจัยโดยรวม 33<br />

14 แสดงกระบวนการผลิตลูกกวาด 35<br />

15 ลักษณะเจลของอินูลินที่เกิดขึ้นหลังจากใหความรอนที<br />

90 o C และทิ้งใหเย็นที่อุณหภูมิหอง<br />

41<br />

16 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

1 42<br />

17 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

2 42<br />

18 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาด<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 43<br />

19 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาด<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 44<br />

20 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลอินูลิน<br />

ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาด<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 45<br />

21 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลอินูลิน<br />

ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาด<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 45<br />

(4)


สารบัญภาพ (ตอ)<br />

่ ภาพที<br />

หนา<br />

22 ลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1<br />

ที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

51<br />

23 เปอรเซ็นตความชื้นของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินกับลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

ที่อุณหภูมิสุดทายของการผลิตแตกตางกัน<br />

53<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก1 อินูลิน (Frutafit ®HD) จากบริษัทเฮลมมหาบุญ จํากัด 73<br />

ก2 เครื่องDSC<br />

รุน<br />

Mettler Toledo DSC822 e ่<br />

74<br />

ก3 เครื่องคูลซิเบิ้ลใชปดฝาอะลูมิเนียมแพนที่ใสตัวอยางกอนเขาเครื่อง<br />

DSC 75<br />

ก4 แสดงโครมาโตแกรมที่ไดจากเครื่อง<br />

DSCของลูกกวาดทางการคา 75<br />

ก5 แสดงโครมาโตแกรมที่ไดจากเครื่อง<br />

DSCของลูกกวาดผสมอินูลิน 76<br />

ก6 เครื่อง<br />

Karl fisher รุน<br />

DL 38 77<br />

ก7 เครื่อง<br />

HPLC ของบริษัท Shimadzu 79<br />

ค1 กราฟเปรียบเทียบคา Tg ของตัวอยางสูตรพื้นฐานและลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

เมื่อเก็บรักษาที่คาความชื้นสัมพัทธ<br />

ตางๆเปนเวลา 1 เดือน 84<br />

ค2 กราฟเปอรเซ็นตความชื้นของลูกกวาดสูตรพื้นฐานและลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

เมื่อเก็บรักษาที่คาความชื้นสัมพัทธ<br />

ตางๆเปนเวลา 1 เดือน 85<br />

ค3 กราฟการเปลี่ยนแปลงปริมาณวิตามินซีในลูกกวาดจากตารางที<br />

17 85<br />

(5)


อิทธิพลของอินูลินในลูกกวาดแบบแข็ง<br />

Effect of Inulin as an Ingredient in Hard Candy<br />

คํานํา<br />

อินูลิน (inulin) เปนคารโบไฮเดรตกลุม<br />

fructan พบในพืชธรรมชาติทั่วไปหลายชนิด<br />

ถูกใชเปน<br />

สารแทนน้ําตาลและไขมันในผลิตภัณฑอาหารหลายอยาง<br />

ปจจุบันไดรับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเพราะ<br />

จากการศึกษาวิจัยพบวา อินนูลินมีสมบัติเปนพรีไบโอติก (Prebiotic) คือไมสามารถถูกยอยดวยน้ํายอย<br />

ในระบบทางเดินอาหารของมนุษยแตถูกใชในกระบวนการหมักของแบคทีเรียที่มีประโยชนในลําไส<br />

เชนบิฟโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และแลกโทบาซิลัส ( lactobacilli ) ทําใหเกิดประโยชนตอสุขภาพ<br />

เชนชวยรักษาสมดุลของจุลินทรียในลําไส ชวยรักษาอาการไมสามารถยอยน้ําตาลแลกโตส<br />

ปองกันเนื้อ<br />

งอกในลําไส ชวยลดระดับคอเลสเทอรอลในซีรัม ชวยกระตุนภูมิคุมกันของรางกาย<br />

ชวยสังเคราะห<br />

วิตามินบีชวยดูดซึมแคลเซียมไดดีขึ้น<br />

และไมเปนสาเหตุใหฟนผุ และมีสมบัติเปนใยอาหาร (dietary<br />

fiber ) (Kolida et al, 2002; Tuohy et al, 2001)<br />

ในอุตสาหกรรมการผลิตลูกกวาดและช็อกโกเเลต (Confectionery) เปนการแปรรูปในขั้นทุติย<br />

ภูมิ ซึ่งปจจุบันมีความสนใจอยูที่การใชสารใหความหวานชนิดอื่นแทนน้ําตาลซูโครสและกลูโคสซีรัป<br />

ในสูตร confectionery แบบดั้งเดิม<br />

เนื่องจากผูบริโภคมีความตองการอาหารที่เปนประโยชนตอสุขภาพ<br />

(functional food) และตองการอาหารที่มีพลังงานแคลอรี่ต่ํา<br />

และสะดวกในการบริโภค จึงมีแนวคิดที่จะ<br />

ผลิตลูกกวาดใหเปนผลิตภัณฑเพื่อสุขภาพ<br />

(functional food product) เพราะวาเปนผลิตภัณฑที่รูจักและ<br />

ไดรับการยอมรับมานาน สามารถพกติดตัวไดงาย เก็บรักษางาย และมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน<br />

จึง<br />

เลือกใช Frutafit ® HD ซึ่งเปนอินูลินที่สกัดมาจาก<br />

chicory root และใชน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ซึ่งเปน<br />

การแปรรูปในขั้นปฐมภูมิเปนสวนผสมในการผลิตลูกกวาดโดยน้ํามะนาวเขมขนใหรสเปรี้ยว<br />

และให<br />

คุณคาจากวิตามินซีซึ่งเปนวิตามินที่รางกายตองการในปริมาณมากที่สุด<br />

(35-80 มิลลิกรัม/วัน) และใชอิ<br />

นูลินแทนกลูโคสซีรัปเนื่องจากละลายน้ําแลวใหความหนืด<br />

และมีสมบัติเปนใยอาหาร (dietary fiber)<br />

ซึ่งรางกายตองการวันละ<br />

25 กรัม/วัน และสมบัติพรีไบโอติก โดยขนาดรับประทานที่สงผลดีตอสุขภาพ<br />

คือ รับประทาน 5-20 กรัม/วัน ซึ่งสวนใหญพบวาผูบริโภคมักบริโภคใยอาหารเพียง<br />

10-20 กรัม/วัน<br />

เนื่องจากความนิยมรับประทานอาหารจานดวนและบริโภคอาหารไมครบ<br />

5 หมูในปจจุบัน<br />

ซึ่งใยอาหาร<br />

1


จะชวยระบบขับถายใหมีประสิทธิภาพ และรักษาสมดุลในรางกาย โดยผลิตภัณฑเสริมใยอาหารสวน<br />

ใหญอยูในพวกเครื่องดื่ม<br />

ผลิตภัณฑนมและขนมอบ ซึ่งสวนใหญมีอายุการเก็บรักษาสั้นและไมสะดวก<br />

ตอการพกพา<br />

ถึงแมวาคุณสมบัติทางดานโภชนาการของอินูลินไดมีการรายงานไวมาก โดยมีการนําไปใช<br />

เปนสารผสมอาหาร (food ingredients) ในอาหารหลายชนิด แตวาลักษณะทางเคมีกายภาพและบทบาท<br />

ในอาหารยังมีการศึกษาไมมาก โดยเฉพาะการทําปฏิกิริยากับองคประกอบของอาหารอื่น<br />

ๆ และ<br />

อิทธิพลตอเนื้อสัมผัสและอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑดังนั้นขอบเขตที่จะศึกษาคือการศึกษาอิทธิพลของ<br />

อุณหภูมิในการผลิตลูกกวาดผสมอินูลิน ตอการละลายสวนผสม (ซูโครสและอินูลิน) การเปลี่ยนแปลง<br />

ปริมาณน้ําตาลกลูโคส<br />

ฟรุกโทส ซูโครสและอินูลิน และการเปลี่ยนแปลงคาสีของลูกกวาดเปรียบเทียบ<br />

กับตัวอยางสูตรพื้นฐานเพื่อหาชวงอุณหภูมิการผลิตที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตลูกกวาดแบบแข็ง<br />

ผสมอินูลิน ความชอบตอความเปรี้ยวเมื่อเติมน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ในลูกกวาด และความคงตัวของ<br />

ลูกกวาดสูตรที่ใชอินูลินแทนกลูโคสซีรัประหวางการเก็บรักษาที่อุณหภูมิหองที่คาความชื้นสัมพันธที่<br />

สภาวะสมดุลตางๆ<br />

2


วัตถุประสงค<br />

1. การเลือกชวงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

2. ศึกษาปริมาณการใชน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ในลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินใหเปนที่ยอมรับ<br />

ของผูบริโภค<br />

3. ความคงตัวของตัวอยางลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินเมื่อเก็บที่อุณหภูมิหองเปนเวลา<br />

1 เดือน<br />

3


1. โครงสรางและองคประกอบทางเคมี<br />

glucose<br />

fructose<br />

fructose<br />

fructose<br />

fructose<br />

การตรวจเอกสาร<br />

อินูลิน<br />

ภาพที่<br />

1 โครงสรางของอินูลิน<br />

ที่มา: Montserrat et al . (2001)<br />

อินูลิน (inulin) เปนคารโบไฮเดรตกลุมฟรุกแทน คือประกอบดวยพันธะ fructosyl-fructose<br />

linkage จํานวนมาก โดยในอินูลินสวนใหญเปนพันธะ β(2-1) fructosyl-fructose linkage เชื่อมระหวาง<br />

โมเลกุลของฟรุกโทส และสวนมากพบวามีโมเลกุลของกลูโคสที่ปลายสายของหนวยฟรุกโทส ดังนั้น<br />

โครงสรางของอินูลินสวนมาก (ภาพที่1) จึงมีแผนภาพเปน G(F)n โดย G = glucose, F = fructose n =<br />

จํานวนโมโนเมอรของอินูลิน ดังนั้นความยาวของอินูลินแปรผันตามจํานวนโมเลกุลของฟรุกโทสที่มา<br />

เชื่อมตอกัน โดยมีความยาวอยูระหวาง 2-60 หนวยฟรุกโทสและมีคาเฉลี่ย Degree of polymerization<br />

(DP) ประมาณ 13<br />

4


2. แหลงของอินูลิน<br />

อินูลินเปนคารโบไฮเดรตที่พบในพืชธรรมชาติและในอาหารทั่วไปหลายชนิดของมนุษย เชน<br />

ผลไม ผัก นม และน้ําผึ้งสวนมากพบอยูในพืชตระกูล mono และ dicotyledonous เชน Liliaceae,<br />

Amaryllidaceae, Gramineae, และ Compositae และสวนหนึ่งอยูในพืชชนิดอื่น เชน หนอไมฝรั่ง,<br />

กระเทียม, หัวหอม, Jerusalem artichoke, chicory เปนตน ตารางที่ 1 แสดงเปอรเซนตอินูลินที่พบใน<br />

พืชเหลานี้<br />

ตารางที่ 1 เปอรเซ็นตอินูลินที่มีในน้ําหนักสดของแหลงอาหารที่สําคัญบางชนิด<br />

Source Inulin (%)<br />

Garlic 15-20<br />

Asparagus root 10-15<br />

Salisfy 15-20<br />

Jerusalem artichoke 15-20<br />

Dahlia tubers 15-20<br />

Chicory root 15-20<br />

ที่มา:<br />

Narinder and Gupta (2002)<br />

อยางไรก็ตามมีเพียงพืชบางชนิดเทานั้นที่มีความเหมาะสมสําหรับการใชงานในอุตสาหกรรม<br />

อาหาร เพราะมีฟรุกแทนที่ประกอบดวยอินูลินเปนสวนใหญโดยไมมีองคประกอบอื่นที่ปนเปอน ทําให<br />

สามารถทําการสกัดและทําใหบริสุทธิ์ไดงาย พืชอุตสาหกรรมเหลานี้ไดแก พืชพวก Liliaceae,<br />

Amaryllidaceae, และ Compositae ซึ่งเปนพืชที่เก็บฟรุกแทนอยูในสวนของ หัว (bulbs), หัวใตดิน<br />

(tubers) และราก (tuberousroots) ในปจจุบันมีพืช 2 ชนิดที่นิยมใชในการผลิตอินูลิน ในระดับ<br />

อุตสาหกรรม คือ Jerusalem artichoke (Helianthustuberosus) และ chicory (Cichorium intybus)<br />

3. สมบัติทางดานกายภาพของอินูลิน<br />

3.1 ปฏิสัมพันธระหวางน้ํากับอินูลิน<br />

5


Gennaro et al. (2000) ไดศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารละลายอินูลินโดยดูจากปฏิสัมพันธ<br />

ระหวางน้ํากับสารละลาย เนื่องจากน้ําเปนตัวกลางสําคัญในการขนสงรสชาติ น้ําจึงชวยกระตุนตอมรับ<br />

รสและมีผลตอการรับรูรสหวานของสารละลาย<br />

ปฏิสัมพันธระหวางน้ํากับสารละลายที่ทดสอบในการ<br />

ทดลองนี้ไดแก สมบัติที่สารนั้นมีความชอบตอน้ํา (water affinity) โดยใชเครื่อง Isentropic apparent<br />

specific compressibility เมื่อคานี้มากขึ้น แสดงวามีการรับรสไดดีขึ้น<br />

และสมบัติ hydrostatic packing<br />

โดยใชเครื่อง apparent specific volumes (ASV) โดยคาที่วัดไดจากเครื่อง<br />

ASV ที่ต่ํากวาแสดงถึง<br />

ลักษณะ hydrostatic packing ของตัวถูกละลายกับโมเลกุลของน้ําดีกวา จากผลการทดลองพบวา ที่<br />

ความเขมขน 2.5, 5, 10, 15, 17.5, 20 และ 25 กรัมในน้ํา 100 กรัม พบวา คา water affinity จะเพิ่มขึ้น<br />

ตามคา DP และความเขมขนของอินูลิน สวนคา hydrostatic packing ของอินูลินต่ํากวาสารละลาย<br />

ซูโครส<br />

3.2 ความสามารถในการละลายของอินูลิน (Solubility)<br />

Kim et al . (2001) ศึกษาความสามารถในการละลายของอินูลิน ในน้ําในชวงอุณหภูมิ 25<br />

– 90 o C โดยเติมอินูลินในน้ําทีละ 1 กรัม คนอยางตอเนื่องดวย stirer ที่<br />

150 rpm เปนเวลา 2 นาที<br />

กําหนดใหความเขมขนอิ่มตัวของอินูลินคือเมื่อมีอนุภาคของอินูลินที่ไมละลายหลังจากคนอยางตอเนื่อง<br />

2 นาที จากผลการทดลองพบวาความสามารถในการละลายของอินูลินที่อุณหภูมิ 70 80 และ 90 o C มีคา<br />

เทากับ 14, 24 และ 34 % (w/v) ตามลําดับ ดังแสดงในภาพที่ 2<br />

Water solubility (%w/v)<br />

45<br />

40<br />

35<br />

30<br />

25<br />

20<br />

15<br />

10<br />

5<br />

0<br />

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

ภาพที่<br />

2 ความสามารถในการละลายของอินูลินเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น<br />

ที่มา:<br />

Kim et al. (2001)<br />

6


3.3 ความสามารถในการเกิดเจลของอินูลิน<br />

Kim et al. (2001) ไดศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิและความเขมขนของอินูลินตอการเกิดเจล<br />

(volumetric gel index; VGI) โดยการใหความรอนแกอินูลินที่ความเขมขนตางๆ 5 นาที แลวปลอยให<br />

เย็นที่อุณหภูมิหอง<br />

จากนั้นจึงวัดคา volumetric gel index ตามสูตร<br />

volumetric gel index = 100 x volume of gel / total volume<br />

จากผลการทดลอง (ตารางที่<br />

2) พบวาความสามารถในการเกิดเจลของอินูลินพบวาขึ้นอยู<br />

กับอุณหภูมิและความเขมขนของอินูลิน โดยที่อุณหภูมิต่ําเชน<br />

20-30 o C ไมเกิดเจล เพราะอินูลินละลาย<br />

น้ําไดนอยและถาความเขมขนอินูลินต่ําเชน<br />

5 % ไมสามารถเกิดเจลไดทุกอุณหภูมิเพราะวาโครงสราง<br />

ของอินูลินไมหนาแนนพอที่จะทําใหเกิดเจล<br />

ดังนั้นสภาวะที่ดีที่สุดในการเกิดเจลของอินูลินในการ<br />

ทดลองนี้คือ ความเขมขนของอินูลินอยูระหวาง<br />

20-30 % (w/v) เมื่อใหความรอน<br />

80-90 o C เปนเวลา 3-<br />

5 นาที<br />

ตารางที่ 2 อิทธิพลของอุณหภูมิและความเขมขนของอินูลินตอการเกิดเจล<br />

ความเขมขน<br />

ของอินูลิน (%<br />

(w/v))<br />

5<br />

10<br />

15<br />

20<br />

25<br />

30<br />

35<br />

40<br />

ที<br />

volumetric gel index (VGI %)<br />

25 oC 30 oC 40 oC 50 oC 60 oC 70 oC 80 oC 90 oC 100 oC 0<br />

0<br />

0<br />

่มา: Kim et al. (2001)<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

100<br />

0<br />

0<br />

100<br />

0<br />

80<br />

100<br />

0<br />

100<br />

100<br />

100<br />

0<br />

12.5<br />

75<br />

100<br />

100<br />

0<br />

0.5<br />

15<br />

75<br />

100<br />

100<br />

100<br />

0<br />

0.25<br />

7.5<br />

13.25<br />

30<br />

45<br />

98.75<br />

100<br />

7


3.4 การไฮโดรลิซิสของอินูลิน<br />

Shu et al. (1998 ) ไดศึกษาการไฮโดรลิซีสของอินูลินเปนฟรุกโทสในสารละลาย ดวยการ<br />

วัดปริมาณน้ําตาลรีดิวซโดยใชเครื่อง spectrophotometer ที่ OD 570 nm โดยมีฟรุกโทสเปน standard<br />

curve พบวา อินูลิน 1 กรัมในน้ํา 50 มิลลิลิตรที่อุณหภูมิ<br />

150 o C อินูลินูลินถูกไฮโดรไลซเปนฟรุกโทส<br />

ประมาณ 40 % ของอินนูลินเริ่มตน และที่อุณหภูมิ 90 o C ในเวลา 2 ชั่วโมง อินูลินูลินถูกไฮโดรลิซีส<br />

เปนฟรุกโทสประมาณ 10 % ของอินนูลินเริ่มตน แตถาใหความรอนสูงเกินอุณหภูมิ 180 o C เปนเวลา 30<br />

นาที สารละลายอินูลินจะถูกไฮโดรลิซีสและตามมาดวยปฏิกิริยาคาราเมลไรเซชั่น (silva, 1997)<br />

Kim et al. (2001) ไดศึกษาอิทธิพลของพีเอช 1-10 ตอการเกิดเจลของสารละลายอินูลิน<br />

25% (w/v) เมื่อใหความรอน<br />

80 o C เปนเวลา 5 นาทีพบวาสารละลายอินูลินที่พีเอช 1-3 ไมเกิดเจลเนื่อง<br />

จากเกิดน้ําตาลโมเลกุลเดี่ยวมากซึ่งเปนสารโมเลกุลต่ําที่ไมทําใหเกิดเจล แตสารละลายอินูลินที่พีเอช 4-<br />

10 สามารถเกิดเจลไดซึ่งแสดงวาสารละลายอินูลินไมถูกไฮโดรไลซที่พีเอชสูงๆ<br />

ดังนั้นสารละลายอินูลินสามารถถูกไฮโดรไลซเมื่อใหความรอนสูงหรืออยูในสารละลายที่<br />

มีพีเอชต่ํากวา 3 โดยขึ้นอยูกับปริมาณน้ําอิสระในระบบดวย<br />

4. ประโยชนของอินนูลิน<br />

จากองคประกอบที่กลาวมาทั้งหมดของอินูลินจึงทําใหอินูลินมีสมบัติเดน ที่ไดรับการยอมรับ<br />

อยางกวางขวางใหเปนสวนผสมอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหาร ดานใยอาหาร (Dietary fiber), พรีไบโอ<br />

ติก (Prebiotic) ดังนี้<br />

4.1 อินูลินเปนใยอาหาร<br />

ใยอาหาร คือเซลลของพืชสวนที่เปนโพลีแซ็คคาไรดซึ่งสามารถทนตอการยอยโดย<br />

เอนไซมในตับออนของมนุษย แตสามารถถูกยอยไดโดยจุลลินทรียในลําไสใหญ ใยอาหารจึงมี<br />

ประโยชนตอสุขภาพเมื่อผานกระบวนการทางสรีรวิทยา<br />

โดยมีสมบัติที่เกี่ยวกับทางชีววิทยา,<br />

ทางเคมี<br />

และทางกายภาพที่สงผลดีตอสุขภาพของลําไสเล็กและลําไสใหญ<br />

เชน ความสามารถกระจายตัวไดใน<br />

น้ํา จึงถูกยอยโดยจุลินทรียไดมากกวา เมื่อถูกยอยจะมีความหนืดเพิ่มขึ้น<br />

โดยจะความหนืดจะเพิ่มขึ้น<br />

8


ตามคาการละลาย และความสามารถดูดซับจับสารประกอบตัวอื่น<br />

เชน แคลเซียม เปนตน (Cherbut et<br />

al. , 2002)<br />

อินูลินเปนคารโบไฮเดรตสะสม (storage carbohydrate) ในผัก ผลไม และเมล็ดที่สมบูรณ อิ<br />

นูลินสามารถทนทานตอการยอยและการถูกดูดซึมในทองและลําไสเล็กของมนุษยเนื่องจากเอนไซมที่<br />

ใชในการยอยอาหารของมนุษย (เชน α-glucosidase, maltase, isomaltase และ sucrase ) มีความจําเพาะ<br />

ตอ α -glucosidic bonds เทานั้น เอนไซมที่ใชในระบบยอยอาหารของมนุษยจึงไมสามารถยอยพันธะ<br />

β (2-1) fructosyl-fructose linkage ใน fructose monomers ของอินนูลินได จากการทดลองของ<br />

Ellegard et al. (1997) ไดทําการศึกษาความสามารถของอินูลินตอการทนทานตอการยอยและการถูกดูด<br />

ซึมในทองและลําไสเล็กของมนุษย โดยใชวิธีศัลยกรรมสรางทางผานเขาไปในลําไสเล็กทอนปลายโดย<br />

ผานผนังชองทอง (ileostomy) ของอาสาสมัคร พบวาอินูลิน (ความเขมขน 10, 17, 30 กรัม) ที่ถูกปลอย<br />

ออกมาจากลําไสเล็กมีปริมาณ ถึง 86-88 % แสดงใหเห็นวาในทางปฏิบัติอินูลินไมสามารถถูกยอยได<br />

ในลําไสเล็กของมนุษย และการสูญเสียอินนูลินเล็กนอยระหวางการเดินทางผานลําไสเล็กอาจ<br />

เนื่องมาจากการถูกหมักโดยแบคทีเรียที่สวนปลายสุดของลําไสเล็ก (ileum) ซึ่งจํานวนแบคทีเรียในผูที่<br />

ผาตัดเปดลําไสเล็กสวนปลายจะมากกวาในคนปกติ เปน 100 เทา<br />

นอกจากนี้การบริโภคอินูลินชวยใหอุจจาระมีความออนนุมและถายไดงายขึ้นเนื่องจากเพิ่มมวล<br />

จุลินทรียและปริมาณน้ําในเซลลของแบคทีเรีย ดังนั้นอินูลินจึงชวยปรับปรุงการระบาย โดยเฉพาะอยาง<br />

ยิ่งในผูที่มีอาการทองผูก มีรายงานวาอินูลิน 1 กรัมที่บริโภคเขาไปจะชวยเพิ่มมวลอุจจาระ (Bulking<br />

capacity) 1.2 - 2.1 กรัม นอกจากนั้น คุณสมบัติในการหมักไดของอินูลินโดยจุลินทรียในลําไสใหญ จะ<br />

ชวยเสริมการปองกันเยื่อบุผิวของลําใสและลดความเสี่ยงตอการเกิดโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและ<br />

ลําไส เพราะจุลินทรียที่ทําใหเกิดโรคจะมีจํานวนลดลง และลําไสเคลื่อนไหวไดสะดวกขึ้น<br />

เนื่องจากอินูลินไมถูกยอยในลําไสเล็กแตถูกหมักไดในลําไสใหญ คาพลังงานของอินูลิน จึง<br />

ขึ้นอยูกับความสามารถในการหมักในลําไสใหญ คาพลังงานของอินูลินจะสูญเสียไปกับการเปนมวล<br />

ชีวภาพของจุลินทรีย, กาซไฮโดรเจน, กาซมีเทน, ความรอนจากการหมัก, กรดไขมันสายโซสั้น<br />

และ<br />

กรดแลคติก จากการวัดคาพลังงานของอินูลินที่ถูกเผาผลาญในรางกายโดยตรงดวยเครื่อง calorimeter<br />

พบวาคาพลังงานของอินูลิน มีคาเฉลี่ย 12 kJ/g เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ไดจากคารโบไฮเดรตที่<br />

สามารถยอยได ซึ่งมีคา 17 kJ/g พบวาพลังงานจากอินูลินมีคาต่ํากวา<br />

9


ดังนั้นอินนูลินจึงถูกจัดเปนใยอาหารเพราะสามารถผานกระเพาะอาหารและลําไสสวนบนไปสู<br />

ลําไสใหญไดโดยไมถูกยอยและสามารถถูกหมักไดโดยจุลินทรียในลําไสใหญ<br />

4.2 อินูลินเปนพรีไบโอติก<br />

พรีไบโอติก คือ อาหารที่ไมถูกยอยตั้งแตปากจนถึงลําไสเล็ก แตจะถูกหมักในลําไสใหญ<br />

และกลายเปนอาหารใหแกโปรไบโอติก โดยโปรไบโอติกเปนจุลินทรียชนิดที่มีประโยชนที่มีอยูใน<br />

ลําไสใหญ เมื่อไดรับสารอาหารพรีไบโอติก โปรไบโอติกจะมีการเจริญและมีกิจกรรมของจุลินทรียที่<br />

มากขึ้นจนสามารถแยงพื้นที่ในการเกาะลําไสของจุลินทรียเชื้อโรค (pathogens) ทําใหจุลินทรียเชื้อโรค<br />

ลดลงจํานวนลง ดังนั้นพรีไบโอติก จึงสามารถชวยปรับปรุงสุขภาพของผูบริโภคได ดวยการเพิ่ม<br />

สัดสวนของจุลินทรียที่มีประโยชนและมีอยูแลวในลําไสของมนุษยเชน bifidobacteria และ lactobacilli<br />

ใหมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ชวยลดจุลินทรียเชื้อโรคลง สวนผสมอาหาร ที่จัดวาเปนพรีไบโอติกจะตอง<br />

มีมาตรฐานดังนี้ (Kolida et al. , 2002)<br />

4.2.1 ไมถูกไฮโดรไลซหรือถูกดูดซึม ในบริเวณทางเดินของกระเพาะอาหารและลําไสเล็ก<br />

4.2.2 ถูกยอยไดโดยแบคทีเรียบางชนิดที่เปนประโยชนในลําไสใหญอาทิ<br />

bifidobacteria<br />

และ lactobacilli ซึ่งถูกกระตุนใหเจริญเติบโตและเกิดเมแทบอลิซึมได<br />

4.2.3 ตองสามารถชวยเปลี่ยนแปลงจํานวนสัดสวนของกลุมจุลินทรียในลําไสใหญ<br />

(colonicmicroflora) โดยชวยสนับสนุนชนิดที่เปนประโยชน เชนเพิ่มจํานวนของจุลินทรียบางประเภท<br />

ขณะเดียวกันชวยลดจํานวนจุลินทรียซึ่งเปนอันตราย<br />

การศึกษาของ Gibson (1995) พบวา อินูลินที่ทดลองในสิ่งมีชีวิต (in vivo) สามารถปรับ<br />

สัดสวนชนิดของแบคทีเรีย โดยกระตุนการการเจริญของ bifidobacteria และยังลดจํานวน bacterids,<br />

fusobacteria และ clostridia (ตารางที่ 3) โดย bifidobacteria จะไปแขงขันการใชสับสเตรทหรือไปแยง<br />

เกาะที่เยื่อบุผิวภายในลําไส<br />

หรือไปกระตุนระบบภูมิคุมกัน นอกจากนี้อินูลินยังชวยในการดูดซึมแรธาตุ<br />

และสังเคราะหวิตามินบี<br />

10


ตารางที่ 3 อิทธิพลของการบริโภค sucrose, inulin และ oligofructose 15 กรัม/วัน ที่มีตอสัดสวนชนิด<br />

ของจุลินทรียในลําไสของมนุษย<br />

Feed<br />

Microflora Sucrose Oligofructose Inulin<br />

Bacteroids<br />

Bifidobacteria<br />

Clostridia<br />

Fusobacteria<br />

ที<br />

72<br />

17<br />

2<br />

9<br />

่มา: Kathy and Niness (1999)<br />

จากการทดลองของ Menne et al. (2000) พบวาโอลิโกฟรุกโทสชนิด GFn สามารถเปนพรีไบ<br />

โอติกในมนุษยไดดีพอๆกับ fructans ชนิด Fn และการเพิ่มจํานวน bifidobacteria แสดงคุณสมบัติที่<br />

เปนประโยชน ที่ชวยสงเสริมสุขภาพในมนุษยดังภาพที่ 3<br />

Reduced blood ammonia level Lower blood chlesterol level Act as immuno modulations<br />

Bifidobacteria<br />

Produce Vitamin of B group and Restore the normal intestinal flora Inhibit the growth of<br />

Therapy Folic acid etc during antibiotic thrapy Potential pathogens<br />

ภาพที่<br />

3 คุณสมบัติที่เปนประโยชนของ bifidobacteria ที่ชวยสงเสริมสุขภาพในมนุษย<br />

ที่มา:<br />

Narinder and Gupta (2002)<br />

ดังนั้นอินูลินจึงมีคุณสมบัติเปนพรีไบโอติก ซึ่งสามารถสรุปพฤติกรรมของอินูลินในทางเดิน<br />

กระเพาะอาหารและลําไสของมนุษยดังภาพที่ 4 จากภาพพบวาอินูลินเมื่อผานระบบการยอยอาหารของ<br />

มนุษยเริ่มตั้งแตในปาก พบวาไมถูกไฮโดรไลซจากเอนไซมในปาก เมื่อผานไปถึงกระเพาะอาหารก็ไม<br />

ถูกไฮโดรไลซจากกรดในกระเพาะอาหารและไมถูกดูดซึมในนี้ จากนั้นเมื่อมาถึงลําไสเล็กก็ไมถูก<br />

16<br />

82<br />

1<br />

1<br />

26<br />

71<br />

0.3<br />

3<br />

11


ไฮโดรไลซจากเอนไซมในลําไสเล็กและไมถูกดูดซึมในนี้<br />

เมื่อมาถึงลําไสใหญจะถูกหมักโดยแบคทีเรีย<br />

บางชนิดเชน bifidobacteria และ lactobacilli การหมักนี้เกิดขึ้นอยางสมบูรณเพราะไมพบอินูลินและโอ<br />

ลิโกฟรุกโทสในอุจจาระที่ปลอยออกมา<br />

Mouth-no hydrolysis,<br />

minimal bacterial breakdown<br />

Stools-no prebiotic<br />

excretion<br />

body<br />

ภาพที่<br />

4 พฤติกรรมของอินูลินเมื่อเปนพรีไบโอติกในลําไสมนุษย<br />

ที่มา:<br />

Kolida et al. (2002)<br />

5. การผลิตอินูลินในอุตสาหกรรม<br />

Stomach -no acid<br />

hydrolysis, no absorption<br />

Small intestine-no enzymatic<br />

hydrolysis, no absorption<br />

Colon-bacterial fermentation<br />

by bifidobacteria and<br />

lactobacilli<br />

อินูลินที่สกัดจาก chicory roots จะประกอบดวยฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดบางสวนและโพ<br />

ลีแซ็กคาไรดเปนสวนใหญ โดยโอลิโกแซ็กคาไรดที่มีสายยาวกวาใชเปนสารทดแทนไขมัน โดยรูปการ<br />

ผลิตอินูลินและโอลิโกฟรุกโทสทางอุตสาหกรรม จาก chicory roots แสดงในภาพที่ 5<br />

12


Spray - drying<br />

Standard inulin<br />

Chicory roots<br />

Hot water extration<br />

Purification<br />

ภาพที่<br />

5. การผลิตอินูลินและโอลิโกฟรุกโทสทางอุตสาหกรรม<br />

ที่มา:<br />

Franck (2002)<br />

6. การประยุกตใชอินูลินในอุตสาหกรรมอาหาร<br />

อินูลินเปนสวนผสมอาหารถูกพัฒนาขึ้นมาใหม อินูลินถูกใชในผลิตภัณฑอาหารดวยเหตุผล<br />

หลัก 2 ประการ คือ<br />

6.1 สารแทนน้ําตาลและไขมัน<br />

Removal of low<br />

Spray - drying<br />

High performance inulin<br />

Partial enzymatic<br />

hydrolysis<br />

Purification<br />

Evaporation<br />

Spray - drying<br />

Oligofructose syrup Oligofructose<br />

น้ําตาลและไขมันเปนสวนผสมหลักที่สําคัญในผลิตภัณฑอาหารหลายชนิดเชน นม ชีส<br />

เนยแข็ง ไอศกรีม โยเกริต และขนมปง เปนตน เนื่องจากอินูลินเมื่อรวมกับน้ําสามารถสรางเนื้อสัมผัส<br />

และความรูสึกในปากเหมือนอาหารที่มีไขมันเปนสวนประกอบหลัก โดยทั่วไปไขมัน<br />

1 กรัม สามารถ<br />

ทดแทนโดยใชอินูลิน 0.25 กรัม ในผลิตภัณฑประเภทแยมทาขนมปง (spreads) พบวา สามารถใช<br />

13


อินูลินแทนไขมันไดตั้งแต 2- 24 % ขึ้นกับปริมาณไขมันที่ตองการใหมีปริมาณลดลง และอินูลินยังถูก<br />

ใชแทนน้ําตาลในผลิตภัณฑช็อกโกแล็ตและลูกกวาด<br />

ดังนั้นอินูลินจึงชวยลดการใชไขมันหรือน้ําตาล<br />

ในผลิตภัณฑตางๆได (Phillips, 2000)<br />

6.2 คุณสมบัติดานอื่นๆในอาหาร<br />

คุณสมบัติดานอื่นๆในอาหารของอินูลินไดแก อินูลินมีความสามารถในการจับกับน้ํา<br />

ประมาณ 2 ตอ 1 ใหรสชาติและสีที่เปนกลาง ทําใหอินูลินสามารถการปรับปรุงเนื้อสัมผัสใหมี<br />

ลักษณะเฉพาะ เชนสามารถปรับปรุงสมบัติการเคลื่อนที่ของอาหารและชวยปรับปรุงความรูสึกในปาก<br />

และเนื้อสัมผัสใหดีขึ้น และสามารถเกิดอีมัลชั่นในระบบ<br />

อินูลิน-น้ํา-น้ํามัน และระบบอินูลิน-น้ํา-กัม<br />

เมื่อเรารับประทานอินูลิน อินูลินจะผานระบบการยอยพื้นฐานของรางกายเราโดยไมมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งถึงลําไสใหญซึ่งเปนแหลงที่กลุมจุลินทรียที่อยูในนั้นจะทําการหมักอินูลินเพื่อ<br />

ผลิตเปนผลิตภัณฑที่เกิดจากการสันดาปและผลิตภัณฑสุดทาย ทําใหอินูลินมีคุณสมบัติเปนใยอาหาร<br />

และเปนพรีไบโอติก จึงถูกใชเปนสวนผสมในอาหารในผลิตภัณฑหลายชนิด<br />

จากคุณสมบัติที่มีอิทธิพลที่เปนประโยชนตอสุขภาพ ผลิตภัณฑที่เติมพรีไบโอติกจึงเริ่มไดรับ<br />

การยอมรับมากขึ้นและขยายตัวอยางรวดเร็ว โดยในตารางที่<br />

4 แสดงตัวอยางของอาหารที่มีอินูลินและ<br />

ฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดหรือโอลิโกฟรุกโทสที่เริ่มเปนที่ยอมรับในตลาดยุโรป<br />

นอกจากตัวอยางที่แสดงในตารางที่ 4 ยังมีการใชอินูลินในผลิตภัณฑอื่น ๆ อีกมากมาย เชน<br />

ผลิตภัณฑอาหารเสริมและผลิตภัณฑอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งสามารถหาซื้อไดตามรานขายอาหารเพื่อ<br />

สุขภาพทั่วไป<br />

14


ตารางที่ 4 ตัวอยางของอาหารที่มีอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดในตลาดยุโรป<br />

Product Company Active Ingredients<br />

Symbalance (yogurt)<br />

Jour après Jour (milk)<br />

Probiotic plus Oligofructose (yogurt)<br />

Actiline (spread)<br />

Ligne Bifide dietetic range (biscuits,ready<br />

meals)<br />

Aviva (biscuits,chocolate drink)<br />

Low-sugar sorbet<br />

Fysiq (dairt drink)<br />

ที่มา:<br />

Young (1998)<br />

7. ประโยชนอื่นๆของอินูลิน<br />

Tonilait (Switzerland)<br />

Lactel (France)<br />

Baucer (Germany)<br />

Vamdermoortele<br />

Vivis (France)<br />

Novartis (Switzerland)<br />

Thiriet (France)<br />

Mona (Holland)<br />

Three Lactobacillus strains plus inulin<br />

Vitamins plus oligofructose (from<br />

sucrose)<br />

Two Lactobacillus strains plus<br />

oligofructose<br />

Inulin<br />

Oligofructose (from sucrose)<br />

Oligofructose (from sucrose)<br />

Oligofructose (from sucrose)<br />

L.acidophilus plus inulin<br />

อินูลินที่สกัดมาจาก chicory roots สามารถนํามาใชเปนวัตถุดิบในการผลิตฟรุกโทโอลิโกแซ็ก<br />

คาไรด โดยใชเอนไซม inulinase ยอย ผลิตภัณฑที่ไดมีคาเฉลี่ย DP 3-5 และมีโมโนแซ็กคาไรด<br />

(ฟรุกโทส) 2-10 หนวย เชื่อมกันดวยพันธะ<br />

β 21 –glycosidic linkage เชนเดียวกับอินูลิน<br />

การผลิตฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด ทําได 2 วิธี (ภาพที่ 6) คือ<br />

วิธีที่ 1. การผลิตฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดโดยใชน้ําตาลซูโครสเปนวัตถุดิบ<br />

(ภาพที่ 6a) การ<br />

สังเคราะหฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดจากน้ําตาลซูโครสนี้ใชเอนไซม<br />

β -fructosidase จากเชื้อ<br />

Aspergillus niger หรือ Fusarium oxysporum เอนไซมนี้มี<br />

transfructosylation activity ชวยในการ<br />

สังเคราะหฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด โดยฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดที่ไดจะมีโครงสรางของสาย<br />

ฟรุกโทสที่เชื่อมกันดวยพันธะ β 21 ระหวางโมเลกุลของฟรุกโทส และมีสวนปลายเปนโมเลกุลของ<br />

กลูโคส (GFn)<br />

15


วิธีที่ 2. การผลิตฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดโดยใชอินูลิน (ภาพที่ 6 b) การสังเคราะหฟรุกโทโอลิ<br />

โกแซ็กคาไรดจากอินูลินนี้ใชเอนไซม<br />

inulinase ยอยอินูลิน โครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็ก<br />

คาไรดที่ผลิตไดจากวิธีนี้จะมีทั้งสายของฟรุกโทสสั้น<br />

ๆ (Fm) และสายของฟรุกโทสที่มีปลายเปน<br />

กลูโคส (GFn) โดยมีพันธะ β 21 ระหวางโมเลกุลของฟรุกโทสและโครงสรางทั้งคูใหประโยชน<br />

ทางสารอาหารเหมือนกัน โดยภาพที่ 7 แสดงโครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดทั้ง 2 แบบ<br />

Sucrose<br />

α-D- Glu-(1-2) β -D - Fru<br />

Oligofructose<br />

α -D- Glu-(1-2)-[ β -D – Fru- (1-2)-]n where n = 2-4<br />

Transfructosylation by ≤-fructofuranosidase<br />

(a)<br />

Inulin<br />

α -D- Glu-(1-2)-[ β -D – Fru- (1-2)-]n where n = 2-65<br />

Oligofructose<br />

β -D – Fru- (1-2) - [β -D – Fru- (1-2)-]n where n = 1-9<br />

and<br />

α -D- Glu-(1-2)-[ β -D – Fru- (1-2)-]n where n = 2-9<br />

16<br />

Controlled enzymatic hydrolysis using inulinase<br />

(b)<br />

ภาพที่<br />

6 แผนภาพการผลิตและโครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดเมื่อใชซูโครสเปนวัตถุดิบ (a)<br />

และ เมื่อใชอินูลินเปนวัตถุดิบ (b) โดย Glu แทน glucosyl, Fru แทน fructosyl monomer, และ n<br />

เปนจํานวนของ monomer<br />

ที่มา:<br />

Marcel and Roberfroid (2002)


ภาพที่<br />

7 โครงสรางทางเคมีของฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด ทั้ง<br />

2 แบบ , G:glucose ;<br />

F:fructose; n or m เปนจํานวนของ fructose moieties ในโมเลกุล.<br />

ที่มา:<br />

Marcel และคณะ (1997)<br />

จากภาพที่<br />

7 ฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดที่มีโครงสรางแบบ GFn คือสวนปลายเปนโมเลกุลของ<br />

กลูโคสตอดวยสายโซของโมเลกุลฟรุกโทส โดยฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดที่สังเคราะหขึ้นจากซูโครส<br />

จะพบโครงสรางแบบนี้เทานั้น สวนฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดที่ผลิตมาจากอินูลินจะมีโครงสรางทั้ง 2<br />

แบบ คือ แบบ GFn และ Fm โดยทั้งคูมีพันธะ β 21 ระหวางโมเลกุลของฟรุกโทสเชนเดียวกัน<br />

อินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดมีความแตกตางกันที่ความยาวของสายโซฟรุกโทส<br />

ทําให<br />

มีสมบัติในการใชงานที่ตางกัน ดังนั้นการตัดสินใจใชอินูลินหรือฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด<br />

จึงขึ้นอยู<br />

กับผลิตภัณฑสุดทายที่ตองการ<br />

เชน การใชอินูลินที่มีน้ําหนักโมเลกุลสูงจะใชในสูตรอาหารที่เปนครีม<br />

ไขมันต่ําและไมมีความหวาน สวนฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดจะใชในผลิตภัณฑโยเกิรตผลไมไขมัน<br />

ต่ํา สามารถชวยเสริมรสชาติของผลไมใหเดนชัดและปดบังรสชาติที่ไมตองการ<br />

(Narinder Kaur et al.<br />

, 2002) โดยตารางที่<br />

5 เปรียบเทียบลักษณะทางเคมี-กายภาพของอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด<br />

ทางการคา<br />

17


ตารางที่ 5 ลักษณะทางเคมี-กายภาพของอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดในทางการคา<br />

Standard inulin High performance inulin Oligofructose powder<br />

Chemical structure GFn (2


8. สถานะทางกฎหมายและความปลอดภัยในการบริโภค<br />

ในยุโรป สามารถหาซื้ออินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด ไดตามทองตลาดมานานกอนที่<br />

กฎหมายอาหาร (Novel Foods Regulation (EC 258/97)) จะเขามามีบทบาท ในยุโรปเมื่อป<br />

ค.ศ.1995<br />

และในอเมริกา เมื่อป 1992 มีการจัดสถานภาพของอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด ใหเปน<br />

สวนผสมอาหาร (food ingredients) สําหรับประเทศไทยอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรด จัดเปน<br />

อาหารตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เมื่อนําไปใชในสูตรอาหารการแสดงฉลากโภชนาการจะ<br />

แสดงเปนปริมาณใยอาหาร และการกลาวอางในลักษณะบทบาทที่เปนประโยชน (Nutrient-function)<br />

กระทําไดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 (พ.ศ.2541) เรื่อง<br />

ฉลากโภชนาการ<br />

ขอจํากัดในการบริโภคอินูลินและฟรุกโทโอลิโกแซ็กคาไรดคือการทําใหเกิดแกสไอโดรเจนใน<br />

ลําไสใหญ แตจากการศึกษาความเปนพิษในสัตวทดลอง พบวา ระดับที่ใชในอาหารจะไมสงผลราย<br />

ใด ๆ จากการทดสอบของ Orafti และจากประสบการณหลายอยาง พบวา อาจเกิดอาการอึดอัดไม<br />

สบายทอง อาการทองเสีย อาการปวดทอง และการเคลื่อนไหวของลําไสที่ผิดปกติ สําหรับคนที่มีความ<br />

ไวตอ คารโบไฮเดรตที่ถูกหมักในลําไสใหญ โดยความไวตออินูลินขึ้นอยูกับเพศหรืออายุ<br />

แตมี<br />

แนวโนมขึ้นอยูกับน้ําหนักรางกายเล็กนอย อาจแบงคนออกเปน 3 กลุมตามความออนไหวตออินูลิน<br />

ดังนี้ (Paul and Coussement ,1999)<br />

1. กลุมที่ไมมีความไวตออินูลิน<br />

สามารถบริโภคไดมากกวา 30 กรัม/วัน โดยไมมีผลขางเคียงใด ๆ ที่<br />

ไดอธิบายไวขางบน<br />

2. กลุมที่มีความไวตออินูลิน สามารถบริโภคได 10 กรัม/วัน โดยไมมีผลขางเคียงแตอาจจะมี<br />

ผลขางเคียงบางเมื่อบริโภคมากกวา 20 กรัม/วัน<br />

3. กลุมที่มีความไวตออินูลินอยางมาก สามารถเกิดผลขางเคียงเมื่อบริโภคนอยกวา<br />

10 กรัม/วัน<br />

19


1. ความหมาย<br />

ลูกกวาด<br />

ลูกกวาด ในพจนานุกรมหมายถึง ของหวานทําดวยน้ําตาล มีลักษณะแนนแข็งกลม ๆ บางอยาง<br />

มีถั่วหรือสิ่งอื่นอยูขางใน ใชเคี้ยวหรืออมใหคอย<br />

ๆ ละลายไปเอง (คําวาลูกกวาดเปนคําแปลของคําวา<br />

confection ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงการปรุง การผสมดวยน้ําตาล ไดแกการทําช็อกโกเลตและ<br />

ลูกกวาด ซึ่งอาจจะไมมีลักษณะแนนแข็งกลม ๆ เสมอไป โดยเฉพาะถาเปนลูกกวาดชนิดเนื้อแข็ง<br />

สามารถหยอดขึ้นรูปตาง ๆ เชน สี่เหลี่ยม รูปไข หรือรูปดอกไม ไดตามแมพิมพที่ใช) แตในมาตรฐาน<br />

ผลิตภัณฑอุตสาหกรรม ใหความหมายวาลูกกวาด (hard candy) หมายถึงผลิตภัณฑทําดวยน้ําตาลมี<br />

ลักษณะเนื้อแข็ง เมื่อเคี้ยวจะแตก<br />

ผลิตโดยละลายน้ําตาล กลูโคสซีรัป น้ํา นํามาเคี่ยวจนไดที่ นวดผสม<br />

รีดอัดเปนเม็ด แลวทําใหเย็นลง ในระหวางกรรมวิธีอาจเติมสวนประกอบอื่น<br />

ๆ อีกก็ได<br />

2. ลูกกวาดเนื้อแข็ง (Hard candy)<br />

ผลิตภัณฑลูกกวาดเนื้อแข็งนี้เปนผลิตภัณฑที่รูจักกันดี มีจําหนายอยูทั่วไปตามทองตลาดมาก<br />

ที่สุด โดยมีลักษณะคลาย ๆ กันคือ เนื้อแข็งมาก เม็ดใสหรือขุน กัดเคี้ยวไมได ตองอมใหละลายชาๆ ทํา<br />

รูปแบบตาง ๆ กัน เชน เปนเม็ดรูปไข เม็ดสี่เหลี่ยม เม็ดกลมรูปดอกไม รูปหัวใจ รูปทรงกลม [ตัวอยาง<br />

คืออมยิ้ม (lollipops)] และรูปไมเทา (candy canes) เปนตน การทําผลิตภัณฑนี้ตองตมเคี่ยวน้ําตาลที่<br />

อุณหภูมิสูง จึงจัดอยูในพวก high-boiled sweets ถือวาเปนผลิตภัณฑที่มีประโยชนในทางการแพทยดวย<br />

เนื่องจากลูกกวาดละลายไดชาทําใหตัวยาที่ผสมลงไปในสวนผสม (เปน medicated confectionery) ของ<br />

ลูกกวาด ออกฤทธิ์ไดนานขึ้น<br />

กรรมวิธีการผลิตตองอาศัยความรูความชํานาญอยางยิ่งในการที่จะรูวา<br />

ตองตอมเคี่ยวน้ําตาลเพียงใดจึงจะไดผลดี นับเปนจุดที่สรางความสนใจเชิงวิทยาศาสตร<br />

จนทําใหมี<br />

การศึกษาคนควาเกี่ยวกับเรื่องน้ําตาลกันอยางลึกซึ้ง ในระหวางศตวรรษที่ 16 และ 17 ผูคนนิยมใชรูป<br />

ปนที่ทําจากน้ําตาลเคี่ยวประดับตกแตงโตะอาหารในงานเลี้ยงหรูหรา<br />

และชางสเปนไดชื่อวามีฝมือ<br />

ทางดานนี้<br />

จุดที่นาสนใจในแงฟสิกสเคมีของลูกกวาดเนื้อแข็งนี้คือ<br />

เปนผลิตภัณฑที่ประกอบดวยน้ําตาล<br />

เกือบทั้งหมด โดยมีความเขมขนของน้ําตาลในสารละลายสูงเกินจุดอิ่มตัวของน้ําตาลแตไมมีผลึกน้ําตาล<br />

อยูในเนื้อ (non crystalline) ลักษณะภายนอกที่มองเห็นคือ<br />

เปนของแข็ง แทจริงแลวคือสถานะที่เปน<br />

ของเหลวเย็นตัวยวดยิ่ง<br />

(super-cooled liquid) ซึ่งเปนสถานะที่มีความใสมากที่สุดเหมือนแกวที่หลอม<br />

20


โดยปกติเมื่อตมน้ําเชื่อมซึ่งมีสวนผสมของน้ําตาลทรายกับกลูโคสซีรัปจนเดือดแลวตมตอไปอีก<br />

ความ<br />

เขมขนของน้ําเชื่อมนั้นจะเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นอิ่มตัวแลวอิ่มตัวยวดยิ่ง<br />

คือน้ําเชื่อมนั้นจะมีน้ําตาลมากกวา<br />

66 สวน ละลายอยูในน้ํา<br />

34 สวนโดยน้ําหนัก (ที่อุณหภูมิ<br />

20 o C) ซึ่งเปนสภาวะที่ไมคงตัว<br />

ไมเปน<br />

ธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อปลอยทิ้งไวใหเย็นลง น้ําตาลในน้ําเชื่อมจะตองตกผลึกออกมา<br />

ซึ่งเปนสิ่งที่ไม<br />

ตองการในผลิตภัณฑชนิดนี้ จึงตองหาวิธีการที่จะรักษาสภาวะที่น้ําตาลยังคงละลายอยูในน้ําไวได<br />

ในขณะที่ตมเคี่ยวน้ําเชื่อมอยูนั้น<br />

น้ําในน้ําเชื่อมจะระเหยออกไป<br />

ทําใหน้ําเชื่อมหนืดมากขึ้น น้ําตาลไม<br />

สามารถมารวมตัวกันเพื่อตกผลึกได<br />

ทั้งกลูโคสซีรัปที่ใสลงไปก็มีความหนืดคอนขางสูง<br />

เมื่อเคี่ยวจน<br />

ผลิตภัณฑสุดทายมีความชื้นต่ํา (ไมเกินรอยละ 3) จึงชวยทําหนาที่ปองกันการตกผลึกไดอีกทางหนึ่งเปน<br />

อยางดี เมื่อปลอยใหน้ําเชื่อมที่ขนหนืดเย็นตัวลงจนถึงอุณหภูมิที่มันควรจะเปนของแข็ง<br />

ก็จะไดลักษณะ<br />

ที่เรียกวา<br />

Liquid sugar glass ตามตองการ โดยขั้นตอนการผลิตลูกกวาดโดยทั่วไปเปนดังแผนภาพใน<br />

ภาพที่<br />

8 คือเริ่มจาก นําวัตถุมาผสมเขาดวยกันและใหความรอนจนแนใจวาน้ําตาลทั้งหมดละลายเขา<br />

ดวยกัน และทําใหน้ําเชื่อมมีความเขมขนเพิ่มมากขึ้นอยางรวดเร็วโดยใหความรอนตอไปจน<br />

สารละลายน้ําตาลเดือดที่อุณหภูมิสูง (120-130 o C) ดังนั้นความเร็วในการทําใหสารละลายน้ําตาลเขมขน<br />

เปนจุดสําคัญที่ทําใหเกิดความคงตัวในสภาวะ<br />

sugar glass ถาระเหยน้ําชาเกินไป อาจจะเกิดการตก<br />

ผลึกขึ้นแทนได จากนั้นทําใหเนื้อน้ําตาลที่เขมขนนี้เย็นลงอยางรวดเร็วประมาณ<br />

70-80 o C และจากนั้น<br />

เทใสพิมพหรือตัดตามรูปแบบที่ตองการและปลอยใหเย็นที่อุณหภูมิหองหรืออธิบายไดดัง<br />

Phase<br />

diagram ในภาพที่ 9.<br />

การทําลูกกวาดแบบทั่วไป น้ํา + กลูโคสซีรัป+ ซูโครส<br />

ใหความรอนจนสารละลายทั้งหมดละลายเขาดวยกัน<br />

ทําใหน้ําเชื่อมเขมขนขึ้นอยางรวดเร็ว<br />

โดยทําใหสารละลายน้ําตาลเดือดที่อุณหภูมิ<br />

120-130 oC ทําใหสารละลายเย็นตัวลงอยางรวดเร็วที่อุณหภูมิ 70-80 o C<br />

เทใสพิมพ ทิ้งใหเย็นที่อุณหภูมิหอง<br />

หอทันที<br />

ภาพที่ 8 แผนภาพการผลิตลูกกวาด<br />

ที่มา: Richard (2006)<br />

21


ภาพที่<br />

9 วิธีการผลิตลูกกวาดจาก State Diagram ของระบบซูโครสกับน้ํา<br />

ที่มา:<br />

Richard (2006)<br />

การผลิตลูกกวาดแบบแข็งใน phase diagram เปนดังนี้<br />

เมื่อน้ําตาลมีความเขมขนถึงจุดหนึ่ง<br />

ตองทําใหเย็นตัวอยางรวดเร็วเพื่อปองกันการตกผลึก<br />

อยางไรก็ตาม มวลของน้ําตาลนี้ตองคงอยูในรูป<br />

ของไหล (fluid) และออนตัว (pliable) เพื่อสามารถขึ้นรูปตามรูปรางและขนาดที่ตองการ<br />

ที่อุณหภูมิ<br />

75-80 o C เปนอุณหภูมิที่มวลน้ําตาลมีความหนืดเพียงพอที่ยั้บยั้งการตกผลึกไดเปนเวลานาน<br />

แตยังคง<br />

อยูในรูปของไหลที่สามารถขึ้นรูปไดตามรูปแบบที่ตองการ ดังนั้นลูกกวาดตองถูกทําใหเย็นตัวลงภายใต<br />

glass transition temperature (Tg) ภายหลังการขึ้นรูปและการบรรจุเพื่อใหแนใจวาผลิตภัณฑมีความคง<br />

ตัว หากมวลของน้ําตาลอยูในสภาวะที่อุณหภูมิสูงกวา<br />

Tg เปนเวลานานจะเกิดผลึกขนาดใหญ (การตก<br />

ผลึกของซูโครส) เพิ่มขึ้น<br />

และทําใหมวลของน้ําตาลที่เหลือจากการระเหยเย็นตัวลงและกวนเบาๆเพื่อ<br />

ปองกันการตกผลึก<br />

3. ปจจัยที่มีผลตอลักษณะของลูกกวาด<br />

ปจจัยสําคัญที่มีผลตอลักษณะผลิตภัณฑสุดทายของลูกกวาดคือ องคประกอบของลูกกวาด โดย<br />

ที่ซูโครสและกลูโคสซีรัปเปนองคประกอบหลักในลูกกวาด<br />

ดังนั้นปริมาณและชนิดของซูโครสและ<br />

กลูโคสซีรัปในสูตรจึงเปนปจจัยสําคัญในการกําหนดลักษณะตางๆประกอบดวย ความหวาน<br />

(sweetness) ความรูสึกในปาก<br />

(mouthfeel) การดูดความชื้น<br />

(hygroscopicity) และแนวโนมการตก<br />

ผลึก (graining defect) ของลูกกวาดระหวางการเก็บรักษา ดังนี้<br />

22


3.1 ปริมาณของซูโครส ถามีปริมาณซูโครสมากชวยเพิ่มความหวาน<br />

ชวยเพิ่มกลิ่นรส แตมี<br />

แนวโนมการตกผลึกเพราะคา Tg ต่ํากวา<br />

3.2 ปริมาณและชนิดของกลูโคสซีรัป<br />

การเติมกลูโคสซีรัปชวยปองกันการตกผลึกของน้ําตาลในลูกกวาด<br />

ถาลูกกวาดในสูตรที่มี<br />

กลูโคสซีรัปมากก็จะมีความหวานลดลง ทําใหกลิ่นรสลดลง แตมีคา Tg สูงกวา<br />

ชนิดของกลูโคสซีรัปแบงตามคา dextrose equivalent (DE) คือรอยละโดยน้ําหนักแหงของ<br />

น้ําตาลรีดิวซ<br />

ถากลูโคสซีรัปมีคา DE สูง ใหความหวานมากกวา ชวยเพิ่มกลิ่นรสรสมากกวา<br />

แตมีความ<br />

หนืดนอยกวา เพราะมีน้ําตาลที่มีคามวลโมเลกุลต่ําอยูมากซึ่งทําใหคา<br />

Tg ของผสม (กลูโคสซีรัปกับ<br />

ซูโครส) ต่ํากวา<br />

กลูโคสซีรัปที่มีคา DE ต่ํา ใหความหวานนอยกวา ชวยเพิ่มกลิ่นรสรสไดนอยกวา<br />

ซึ่งสวน<br />

ใหญประกอบดวยโพลิเมอรของกลูโคสมีน้ําตาลโมเลกุลเดี่ยวอยูเล็กนอย<br />

ซึ่งทําใหคา Tg ของสวนผสม<br />

(กลูโคสซีรัปกับซูโครส) เพิ่มขึ้น<br />

4. ผลึก (Crystalline) และ อสัณฐาน (Amorphous)<br />

ผลึกหมายถึงโพลีเมอรที่มีสัณฐานการเรียงตัวเปนระเบียบ ทําใหมีความหนาแนนสูง โดยจะ<br />

เรียกอุณหภูมิที่ผลึกเกิดการหลอมเหลววาจุดหลอมเหลว (melting temperature, T m)<br />

อสัณฐานคือโพลีเมอรที่ไมมีการจัดเรียงตัวและมีชองวางระหวางโซสูง (ความหนาแนนต่ํา) มี<br />

รูปรางที่เรียกวา "random coil" โดยจะเรียกอุณหภูมิที่สวนอสัณฐานเปลี่ยนเปนของเหลววาอุณหภูมิ<br />

คลายแกว (glass transition temperature, Tg) โพลีเมอรบางชนิดอาจจะมีสวนทั้งที่เปนทั้งอสัณฐานและผลึกเรียก"Semi-crystalline polymer"<br />

ซึ่งมีทั้ง<br />

Tg และ Tm โดยภาพที่ 10 แสดงสัณฐานวิทยาของสวนที่เปนผลึกและอสัณฐาน<br />

23


ผลึก<br />

ภาพที่<br />

10 สัณฐานวิทยาของโพลีเมอรแสดงสวนที่เปนผลึกและอสัณฐาน<br />

ที่มา:<br />

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ (ม.ป.ป.)<br />

5. Glass Transition (Tg)<br />

Tg คืออุณหภูมิ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ<br />

ระหวางของเหลวเย็นตัวยวดยิ่ง (super-cooled<br />

liquid หรือ rubber state) เปนของแข็งที่เรียกวา glass ของมวลอสัณฐาน หรืออุณหภูมิที่ทําใหโพลี<br />

เมอรของแข็งที่มีสภาพคลายแกว (glass) เมื่อไดรับความรอน เปลี่ยนสภาพเปนโพลีเมอรที่มีลักษณะ<br />

ออนนิ่มคลายยาง<br />

Tg เปนอุณหภูมิที่มีความสําคัญเพราะเปนจุดที่โพลีเมอรมีการเปลี่ยนแปลงของสมบัติเกิดขึ้น<br />

มาก เชนเปลี่ยนรูปรางไดงายขึ้นและสามารถดัดใหโคงงอได โดยจะเปนผลดีหรือผลเสียก็ขึ้นอยูกับ<br />

วัตถุประสงคการนําโพลีเมอรนั้นไปใชงาน<br />

การผลิตลูกกวาดแบบแข็ง ตองทําใหลูกกวาดอยูในสภาวะ Glassy state เพราะ<br />

1. ลูกกวาดสามารถละลายไดอยางรวดเร็วในปาก เมื่อเปรียบเทียบกับรูปผลึก (crystalline state)<br />

2. ชวยใหสีและกลิ่นกระจายตัวในรูปแบบเดียวกัน<br />

อสัณฐาน<br />

3. ในสภาวะอสัณฐาน (amorphous) สามารถเทเนื้อลูกกวาดใสพิมพตามรูปแบบที่ตองการได<br />

24


โดยปกติแลวอายุการเก็บรักษาของลูกกวาดจะถูกจํากัดดวยความชื้น<br />

(เพราะลูกกวาดมีการดูด<br />

ความชื้น) หรืออาจดวยอุณหภูมิในบางกรณี แตจุดประสงคในการผลิตลูกกวาดแบบแข็งที่ดีคือ<br />

การทํา<br />

ใหคา Tg ของลูกกวาดมีคาสูงกวาอุณหภูมิหอง (หรือสามารถเก็บไวที่อุณหภูมิไมเกิน<br />

35-40 o C) และมี<br />

การดูดความชื้นที่ต่ํา (hygroscopicity) แตปญหาคือ แมวาในตอนแรกผลิตภัณฑจะมีความคงตัว เพราะ<br />

มีคา Tg ที่สูงกวา<br />

อุณหภูมิหอง ก็ตาม แตถาความชื้นหรืออุณหภูมิหองมีการเปลี่ยนแปลงเชนมีคา<br />

เพิ่มขึ้น ลูกวาดก็จะเกิดความไมเสถียรไดในภายหลัง เชนเมื่อเก็บไวในที่มีความชื้นสูง<br />

ลูกกวาดจะดูด<br />

ซับน้ําไดมากขึ้น<br />

คา Tg ของลูกกวาดจึงอาจลดลง จนต่ํากวาอุณหภูมิหองได<br />

หรือ เมื่อเก็บรักษา<br />

ลูกกวาด ไวในหองที่มีอุณหภูมิสูง Tg (แมวา ความชื้นจะมีคาที่คงที่<br />

ก็ตาม) ดังนั้น การเก็บรักษา<br />

ลูกกวาดจะทําไดดีแคไหน ก็ขึ้นกับคา Tg ของลูกกวาด ความชื้นของอากาศ และอุณหภูมิหอง นั่นเอง<br />

5. ปจจัยที่มีผลตอคา Tg ของลูกกวาด<br />

5.1. ปริมาณน้ําในวัตถุดิบ<br />

น้ําเปน plasticizer ที่ดี ขององคประกอบในอาหารตางๆ (แปง โปรตีน น้ําตาล) โดยปกติน้ํา<br />

ทําใหคา Tg ลดลง เชนคา Tg ของซูโครสบริสุทธิ์ โดยปรกติมีคาอยูระหวาง<br />

65-70 o C แตเมื่อเพิ่มน้ํา<br />

เพียง 2 % คา Tg ของสารละลายซูโครสจะลดลงเหลือ 50 o C และเมื่อเพิ่มน้ํา 5 % ทําใหTg ลดลงได<br />

ต่ํากวาอุณหภูมิหอง ดังนั้นปริมาณความชื้นที่สูงขึ้นเพียงเล็กนอยทําให sugar glass ไมเสถียร เพราะคา<br />

Tg ต่ํากวาอุณหภูมิหองนั่นเอง<br />

5.2 . องคประกอบของลูกกวาด<br />

ปรกติกลูโคสซีรัปที่มีคา DE ต่ํา<br />

จะประกอบดวยโพลีแซคคาไรดสายโชยาวจํานวนมาก ดังนั้น<br />

เมื่อนํากลูโคสซีรัปนี้มาผสมกับซูโครส<br />

จะทําใหคา Tg ของลูกกวาดมีคาสูงขึ้น<br />

ในทางตรงกันขาม<br />

กลูโคสซีรัปที่มีคา DE สูง จะประกอบดวยปริมาณกลูโคส อยูมาก<br />

(กลูโคสมีคา Tg ประมาณ 30 o C)<br />

ดังนั้นเมื่อนํากลูโคสซีรัปนี้มาผสมกับซูโครส จะทําใหคา Tg ของลูกกวาดมีคาลดลง<br />

5.3. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นระหวางการผลิต<br />

25


ตัวอยางของการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่อาจเกิดขึ้นระหวางการผลิต<br />

และมีผลตอความคงตัวของ<br />

ลูกกวาดแบบแข็ง เชนอุณหภูมิที่สูงขึ้นในสภาวะที่เปนกรด<br />

จะกระตุนใหเกิดการไฮโดรลิซีสของ<br />

ซูโครส หรือการเกิดอินเวิรทชั่น<br />

(กลาวคือการที่ซูโครสถูกไฮโดรไลซเปนกลูโคสและฟรุกโทส)<br />

ทําให<br />

คาเฉลี่ยมวลโมเลกุลของระบบลดลง<br />

ดังนั้นคา Tg จึงลดลง นั่นคือการเกิดอินเวิรทชั่นอยางมากใน<br />

ระหวางกระบวนการผลิตอาจทําใหลูกกวาดแบบแข็งมีความคงตัวลดลง<br />

6. ความสัมพันธระหวางคา a w ความชื้นสัมพัทธ และความชื้นในลูกกวาด<br />

6.1 ความสัมพันธระหวางคา a w กับความชื้นสัมพัทธ<br />

aw หรือกิจกรรมน้ํา (Water activity) เปนสัดสวนระหวางความดันไอของสารละลายตอความ<br />

ดันไอของน้ําที่อุณหภูมิเดียวกัน<br />

P<br />

a w [<br />

P<br />

o<br />

เมื่อ<br />

P = ความดันไอของสารละลาย<br />

Po = ความดันไอของน้ําที่อุณหภูมิเดียวกัน<br />

คา aw ของผลิตภัณฑสามารถวัดไดจากคาความชื้นสัมพัทธของอากาศที่อยูในสภาวะสมดุล (<br />

Equilibrium Relative Humidity : ERH ) กับผลิตภัณฑนั้น<br />

ดังนั้นการวัดคา aw ผลิตภัณฑจะตองถูกวาง<br />

ไวในระบบปด เพื่อใหเกิดความสมดุลได<br />

จุดที่เกิดความสมดุลคือจุดที่ aw ของตัวอยางมีคาเทากับ<br />

ความชื้นสัมพัทธในอากาศนั่นเอง<br />

ความชื้นสัมพัทธ เปนคารอยละของความชื้นในอากาศ ที่แสดงถึงความสามารถของอากาศที่จะ<br />

เก็บไอน้ําไวได ณ อุณหภูมินั้น ความชื้นสัมพัทธจะระบุวาในขณะนั้นอากาศมีความชื้นตางจากคา<br />

ความชื้นอิ่มตัวเพียงใด<br />

โดยเรียกวาไอน้ําที่มีอยูในบรรยากาศอยางเต็มที่วา "อากาศอิ่มตัว" (saturation)<br />

หรืออากาศที่มีความชื้นสัมพัทธรอยละรอยนั่นเอง<br />

ดังนั้นผลิตภัณฑอาหารที่มีคา aw เทากับ 0.70 จะไดคาความชื้นสัมพัทธเทากับ 70 % นอกจาก<br />

การวัดคา aw โดยการวัดความชื้นสัมพัทธสมดุลแลวยังมีเครื่องมือวัดคา<br />

aw โดยตรงเพื่อความสะดวกใน<br />

การใชงานดวย<br />

26


6.2 ความสัมพันธระหวางคา a w กับความชื้น<br />

ปริมาณน้ําที่มีอยูในอาหารทั้งหมดประกอบดวย<br />

2 สวนไดแก น้ําที่เกาะติดกับอาหาร<br />

หรือถูกใช<br />

ไปในการสรางพันธะตาง ๆ เชน พันธะไอออนิก พันธะไฮโดรเจน และปริมาณน้ําอิสระที่ไมไดถูก<br />

นําไปใชในการเกิดพันธะใด ๆ โดยจะอยูภายในชองวางของอาหาร<br />

ปริมาณความชื้น (Moisture Content) เปนปริมาณน้ําทั้งหมดที่มีอยูในอาหาร โดยจะรวมน้ําทั้ง<br />

สองสวนนี้เขาดวย ในขณะที่ aw เปนโมเลกุลของน้ําที่พรอมจะเปลี่ยนสภาวะจากของเหลวไปเปนไอ<br />

จึง<br />

เปนสวนของน้ําอิสระเทานั้น ซึ่งสามารถระเหยออกไป ในการทําใหขนหรือการทําแหง สวนการเติม<br />

เกลือ น้ําตาล หรือสวนผสม (Ingredient) อื่น<br />

ๆ ลงไป โมเลกุลของสารเหลานั้นจะไปจับพันธะกับน้ํา<br />

อิสระทําใหคา aw ลดลงไปดวย สามารถหาความสัมพันธระหวางปริมาณความชื้น และคา aw ของ<br />

ผลิตภัณฑหนึ่ง ๆ ไดจากการทดลองวัดคาทั้งสองของผลิตภัณฑแตละชนิด ณ อุณหภูมิที่คงที่คาหนึ่ง<br />

เทานั้น แลวบันทึกคาทั้งสองเปรียบเทียบกันในรูปกราฟ เรียกกราฟความสัมพันธที่ไดวา Moisture<br />

Sorption Isotherms ดังภาพที่ 11 ซึ่งวิธีการหากราฟความสัมพันธสามารถทําไดงาย ๆ โดยนําอาหารไป<br />

ใสในภาชนะที่ทราบคาความชื้นสัมพัทธ ซึ่งควบคุมความชื้นสัมพัทธโดยใชสารละลายเกลืออิ่มตัวชนิด<br />

ตาง ๆ ใสลงไปในภาชนะแตละใบ ภาชนะที่ใชตองสามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธไดเปนอยางดี<br />

เพื่อใหมีความชื้นสัมพัทธ ณ จุดตาง ๆ จากนั้น ตั้งอาหารทิ้งไวจนเขาสูสภาวะสมดุล ซึ่ง ณ จุดสมดุลนี้<br />

จะทราบคาawจากนั้นวัดคาปริมาณความชื้นแลวนําคาทั้งสองไปสรางกราฟความสัมพันธ ภาพที่<br />

11 Moisture Sorption Isotherms<br />

ที่มา:<br />

เครือขายขอมูลวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว (2545)<br />

27


จากกราฟจะพบวาเมื่อปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น คา a w มักเพิ่มขึ้นดวย แตเปนการเพิ่มแบบไม<br />

เปนเสนตรง นอกจากนี้กราฟ Moisture Sorption Isotherms ของผลิตภัณฑคนละชนิดจะมีลักษณะที่<br />

แตกตางกัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับความดันไอของโมเลกุลของน้ําในชองวางเหนือผลิตภัณฑ และพลังงานของ<br />

การจับพันธะของน้ําในผลิตภัณฑแตละชนิด<br />

ในผลิตภัณฑลูกกกวาดแบบแข็ง คาความชื้นสัมพัทธที่สภาวะสมดุล<br />

( ซึ่งคือคา<br />

aw ในอีก<br />

หนวยหนึ่งดวย)<br />

ของลูกกวาดจะขึ้นอยูกับอัตราสวนระหวางน้ําตาลซูโครสกับกลูโครสซีรัปและ<br />

ความชื้นสุดทายของผลิตภัณฑ<br />

ซึ่งสามารถคํานวณไดจากสมการคณิตศาสตร<br />

โดยปกติลูกกกวาดแบบ<br />

แข็งจะมีคาความชื้นสัมพัทธที่สภาวะสมดุลประมาณรอยละ 30 ดังนั้นถาเก็บในบรรยากาศที่มีความชื้น<br />

สูงกวานี้<br />

ลูกกวาดจะดูดซับไอน้ําเขาหาตัว<br />

ดังนั้นการเก็บรักษาที่ไมดี นอกจากจะทําใหลูกกวาดเกิด<br />

ความเหนียวจนยึดติดกันได แลวยังอาจเกิดการตกผลึกของน้ําตาล<br />

(graining)ได อันทําใหลูกกวาด<br />

สูญเสียความแวววาว และผิวจะออนตัวลงจนอาจใชเล็บจิกเขาไปได และถาผาครึ่ง<br />

จะเห็นมีชั้นของผลึก<br />

น้ําตาลเขยายจากผิวดานนอกเขาหาตรงกลาง<br />

ทั้งนี้การดูดซับไอน้ําที่ผิวของลูกกวาด<br />

จะทําใหน้ําตาลใน<br />

สภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งในเนื้อลูกกวาดละลายออกมาบาง ดังนั้นการเก็บรักษาลูกกวาดควรหอดวยวัสดุที่กัน<br />

ความชื้น และควรทําการหอลูกกวาดทันทีเมื่อเคาะออกจากแมพิมพ<br />

หรือนําไปเก็บไวในหองที่แหงกอน<br />

เพื่อกันไมใหลูกกวาดดูดความชื้นจากอากาศ<br />

ในโรงงานผลิตมักสงผานผลิตภัณฑลูกกวาดที่เย็นตัวแลว<br />

เขาไปในหองบรรจุซึ่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ<br />

และอุปกรณดูดความชื้น (dehumidifier) ดวย หรืออาจ<br />

ใชเทคนิคการตมเคี่ยวอยางรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความหนืดของสวนผสมใหมีลักษณะเปนพลาสติกจนทําให<br />

ปฏิกิริยาตางๆ เกิดไดชาลง และทําใหอุณหภูมิในขณะนั้น<br />

มีคาใกลเคียงกับจุด Tg ในสภาวะปรกติ ทํา<br />

ใหเมื่อเก็บผลิตภัณฑไวในอุณหภูมิหอง ปฏิกิริยาดังกลาวจะไมเกิดขึ้นไดอีก (สุวรรณา, 2543)<br />

1. องคประกอบทางเคมีของวิตามินซี<br />

วิตามินซี (Vitamin C)<br />

วิตามินซี หรือ กรดแอสคอรบิค (ascorbic acid) มีลักษณะโมเลกุลคลายกับน้ําตาลกลูโคส<br />

ธรรมชาติของวิตามินซีเปน L-ascobic acid (น้ําหนักโมเลกุล 176) มีคุณสมบัติเปนสารที่มีฤทธิ์รีดิวสอ<br />

ยางแรง วิตามินซีในรางกายจะอยูในสภาพรีดิวส แตเมื่อถูกออกซิไดสแลวจะเปลี่ยนไปเปน<br />

Ldehydroascorbic<br />

acid โดยสารประกอบทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถเปลี่ยนกลับไปมาระหวางกันได ดวย<br />

28


ปฏิกิริยา oxidation-reduction (ภาพที่ 12) ที่ถูกกระตุนโดยเอนไซมแอสคอรบิคออกซิเดสและกลูตาไธ<br />

โอนดีฮัยโดรจีเนส ทั้ง กรดแอสคอรบิค และ dehydroascorbic acids ตางมีฤทธิ์เปนวิตามิน<br />

Szent and Gyorgyi (1907) เปนผูแยกวิตามินนี้ไดเปนครั้งแรกจากตอมแอดรีนัลและสม และตั้ง<br />

ชื่อวา hexuronic acid ตอมา Glennking (1932) ทําการแยกไดจากมะนาวและพบวา กรด hexuronic นี้<br />

เหมือนวิตามินซี ในดานการมีฤทธิ์ปองกันและรักษาหนูตะเภาที่เปนโรคลักปดลักเปดได จึงตั้งชื่อวา<br />

วิตามินซี (สมทรง, 2543)<br />

HO OH O O<br />

C C OH [O] H2O C C OH<br />

O C C CH O C C CH<br />

O CH2OH GSSG 2 GSH O CH2OH Ascorbic acid Glutathione dehydrogenase Dehydroascorbic acid<br />

ภาพที่<br />

12 ออกซิเดชั่นและรีดักชั่นของกรดแอสคอรบิค<br />

ที่มา:<br />

Basu and Schorah (1982)<br />

2. คุณสมบัติทางฟสิกสและทางเคมีของวิตามินซี<br />

วิตามินซีเปนสารอินทรียที่มีปฏิกิริยาเปนกรด น้ําหนักโมเลกุล 176.13 มีจุดหลอมเหลวที่ 192 o<br />

C วิตามินซีเปนวิตามินที่สลายหรือถูกทําลายไดงายกวาวิตามินตัวอื่น<br />

ๆ ไมเสถียรเมื่อไดรับความรอน<br />

แสงสวาง ในสภาพที่เปนดาง และมีเอนไซม ในการเก็บรักษาวิตามินซีจึงควรเก็บไวในสภาพที่เปนกรด<br />

และเก็บไวในที่เย็น (จินตนา, 2543)<br />

ในธรรมชาติวิตามินซีอยูใน<br />

2 ลักษณะคือ L-Ascobic acid ซึ่งเปนรูปรีดิวซ<br />

และ L-<br />

Dehydroascorbic acid ซึ่งเปนรูปออกซิไดส เนื่องจากวิตามินซีที่มีประสิทธิภาพสูงในการเปนตัวรีดิวซิ่ง<br />

(Reducing agent ) เปน Levorotary ดังนั้นสารที่มีประสิทธิภาพสูงจึงอยูในรูป L-form มากกวา D-form<br />

เนื่องจากวิตามินซีเปนเปนสารรีดิวซิ่งอยางแรงจึงถูกออกซิไดสไดงายในอากาศ โดยโลหะที่ชวยเรงให<br />

วิตามินซีถูกทําลายไดดีขึ้นไดแก<br />

เหล็ก (Fe 2- ) และทองแดง (Cu 2+ ) วิตามินซีบริสุทธิ์มีลักษณะเปนผลึกสี<br />

ขาว เมื่ออยูในรูปผลึกมีความคงทนมาก วิตามินซีสามารถละลายน้ําไดดีโดยวิตามินซี 1 กรัมจะละลาย<br />

29


ในน้ํา 3 มิลลิกรัม และสามารถละลายในแอลกอฮอลและกลีเซอรอลไดเล็กนอยแตไมละลายในอีเทอร<br />

คลอโรฟอรมและเบนซิน แตถาอยูในรูปสารละลายจะถูกทําลายไดงายดวยความรอน<br />

แสงแดด และถูก<br />

ออกซิไดสไดงาย วิตามินซีถาละลายในน้ําดางจะเสื่อมเร็วขึ้น<br />

แตถาอยูในสารละลายที่มีพีเอชต่ํากวา 7<br />

จะไมถูกออกซิไดสดวยอากาศหรือแสงสวาง และถาอยูในสารละลายที่มีทองแดง ทองแดงจะไปเรง<br />

ปฏิกิริยาทําใหเกิดออกซิไดสไดเปน Dehydroascorbic acid ซึ่งสารละลายนี้เสถียรพอควรในสารละลาย<br />

ที่มีพีเอชต่ํากวา 4 ดังนั้นไมควรหุงตมวิตามินซีในภาชนะทองแดง<br />

3. หนาที่ของวิตามินซี<br />

3.1 เปน antioxidant ชวยปองกันการสูญเสียวิตามิน A, E<br />

3.2 เปนโคเอนไซมในปฏิกิริยา hydroxylation เชน<br />

3.2.1 collagen tissue synthesis ไดแกปฏิกิริยา hydroxylation ของ proline เปน<br />

hydroxyproline<br />

3.2.2 เกี่ยวของกับเมตาบอลิซึมอื่นๆ เชนออกซิเดชันของ phenylalanine และ tyrosine<br />

และชวยดูดซึมเหล็กจากลําไสและใหเหล็กอยูในลักษณะ Fe ++<br />

4. ความตองการวิตามินซี<br />

ความตองการวิตามินซีของรางกายจะแตกตางกันไปตามสภาพความเปนอยูของประชากรใน<br />

แตละประเทศในสหรัฐอเมริกาไดมีการกําหนดคาความตองการวิตามินซีไว ดังนี้<br />

เด็ก 35 ม.ก.ตอวัน<br />

ผูใหญ 60 ม.ก.ตอวัน<br />

หญิงตั้งครรภ 100 ม.ก.ตอวัน<br />

นอกจากนี้ความตองการวิตามินซียังขึ้นอยูกับสภาวะโภชนาการ กระบวนการเมแทบอลิซึมที<br />

่<br />

ตองใชวิตามินซี การขับถายออกจากรางกาย ตลอดจนสภาพเมแทบอลิซึมที่เปลี่ยนแปลงไปของแตละ<br />

คน ทําใหความตองการวิตามินซีแตกตางกันไปได เชน ในหญิงตั้งครรภ การติดเชื้อ คนที่ดื่มสุราจัดมาก<br />

30


การสูบบุหรี่และภาวะเครียดตาง<br />

ๆ และการขาดวิตามินซี พบมากในผูสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และคนที่มีความ<br />

ผิดปกติทางดานจิต (สมทรง, 2543)<br />

5. ภาวะบกพรองวิตามินซี<br />

เปนที่ทราบทั่วไปวาการขาดวิตามินซีทําใหเกิดโรคลักปดลักเปด (scurvy) ซึ่งเปนโรคที่รูจักกัน<br />

มานาน ในศตวรรษที่ 15 ที่ยุโรปมีคนเปนโรคนี้กันมาก พบบอยในพวกกลาสีเรือที่เดินทางไปกับเรือ<br />

ไกล ๆ และไมไดขึ้นบกเปนเวลานาน ทําใหขาดอาหารประเภทผักสดและผลไมสดซึ่งเปนตนตอที่<br />

สําคัญ ซึ่งจะมีอาการดังนี้<br />

ถาเปนในเด็ก จะมีอาการกระวนกระวาย (irritability) เบื่ออาหาร ปวดแขนขา เนื่องจากบวม<br />

และเลือดออกใตผิวกระดูก (subperiosteal hemorrhage) โดยเฉพาะบริเวณเขา ขอศอก เด็กมักจะนอน<br />

แบะทากบ (frog position) เหงือกบวมแดง เลือดออก ฟนหลุด รอยตอกระดูกซี่โครงกับกระดูกออนจะมี<br />

ตุมเรียก Scorbutic beads ผิวหนังและรางกายมีจุดเลือดออกซึ่งอาจจะรุนแรงถึงตายได<br />

อาการขาดวิตามินซีในผูใหญ ระยะแรกจะพบจุดเลือดออกตามผิวหนัง (petichial spots) จุด<br />

เลือดออกอาจจะโตขนาดจ้ําเลือดออกตามขุมขน (perifollicular petichiae) ผิวหยาบแหง ขนรวง เหงือก<br />

บวม เลือดออกตามไรฟน ฟนหลุดและอาจมีอารมณเปลี่ยนแปลงเศราซึม<br />

วิตามินซีสวนใหญมีตนตอมาจากอาหารที่เปนพืช ในสัตวมีนอยมาก ยกเวนที่ไต อาหารที่มีมาก<br />

ไดแก สม มะนาว มะขามปอม ลําไย มะเขือเทศ พริกหยวกและผักใบสีเขียว ในน้ํานมคนมีนอยแตยังมี<br />

มากกวาในน้ํานมวัว 3-4 เทา อาหารที่จัดวามีวิตามินซีนอยมาก หรือไมมีเลยไดแก เนื้อสัตว ไข ขาว เปน<br />

ตน ปจจุบันนี้มีการเติมวิตามินซีลงในเครื่องดื่มเปนแอนติออกซิแด็นท<br />

(antioxidant) เพื่อคงสภาพของ<br />

รสชาติเดิมเอาไว หรือเติมลงในเนื้อสัตว ขนมปง และอาหารอื่นๆ<br />

เพื่อชวยในการเก็บรักษาไมใหเสื่อม<br />

คุณภาพ ดังนั้นในอาหารที่เสริมวิตามินซีดังกลาวจึงเปนแหลงวิตามินซีที่ดีสําหรับผูบริโภค (Basu,<br />

1982)<br />

31


1. วัตถุดิบ<br />

อุปกรณและวิธีการ<br />

อุปกรณ<br />

1.1 อินูลิน (Frutafit ®HD) จากบริษัทเฮลมมหาบุญ จํากัด<br />

1.2 น้ําตาลซูโครส<br />

(น้ําตาลทราย)<br />

ของบริษัท น้ําตาลมิตรผลจํากัด<br />

1.3 กลูโคสซีรัปเกรดทั่วไป<br />

(DE 42)<br />

1.4 น้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % เตรียมตามสูตรของอรุณรัศมี (2546) โดยใชมะนาวพันธุแปน<br />

(Citrus aurantifolia)<br />

2. เครื่องมือที่ใชในการทดลอง<br />

1.1 เตาไฟฟา (Electric hot plate)<br />

1.2 เทอรโมมิเตอร (Thermometer)<br />

1.3 เครื่องชั่งชนิดละเอียด<br />

1.4 เครื่องชั่งชนิดหยาบ<br />

1.5 เครื่องวัดคาสี<br />

(Minolta Spectrophotometer model CM-3500d)<br />

1.6เครื่องลิควิดโครมาโตรกราฟประสิทธิภาพสูง<br />

(High Performance Liquid Chromatography;<br />

HPLC) ประกอบดวยคอลัมน Aminex HPX-87× (Bio-Rad) anion exchange<br />

1.7 เครื่องวัดปริมาณน้ํา<br />

(Karl Fisher) รุน<br />

DL 38 ของบริษัทเมลเลอร โทเลโด<br />

1.8 เครื่องวัดคา<br />

Tg (Diffrential Scaning Calorimetry ; DSC) รุน<br />

Mettler Toledo DSC822 e<br />

ของบริษัทเมลเลอร โทเลโด<br />

1.9 เครื่องแกวและอุปกรณอื่น<br />

ๆ ที่จําเปน<br />

32


แผนการวิจัยโดยรวม<br />

คัดเลือกอุณหภูมิและอัตราสวนน้ําตาลซูโครสและอินูลินที่เหมาะสมในการผลิตลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน เปรียบเทียบกับตัวอยางสูตรพื้นฐานที่อัตราสวนเหมือนกันจากอุณหภูมิสุดทายที่<br />

กําหนดคือ 135 140 145 150 155 160 o C โดยดูอุณหภูมิที่สวนผสมละลายเขากันหมด,<br />

ปริมาณ<br />

องคประกอบน้ําตาลที่ถูกไฮโดรไลซที่อุณหภูมิตางๆของตัวอยางลูกกวาดดวยเครื่อง<br />

HPLC, วัดคาสีดวย<br />

เครื่อง<br />

Minolta cm 3500 d, วัดคา Tg ดวยเครื่อง<br />

DSC และเปอรเซ็นตความชื้นดวยเครื่อง<br />

Karl Fisher<br />

จากนั้นนําตัวอยางลูกกวาดที่ผานการคัดเลือกมาหาปริมาณน้ํามะนาวเขมขนที่เหมาะสมที่จะใชเติมเปน<br />

รสชาติเปรี้ยวของลูกกวาดโดยประเมินผลทางประสาทสัมผัสและทดสอบผลทางประสาทสัมผัส<br />

ลักษณะดานอื่นๆ<br />

คือ ความหวาน ความแข็ง การละลายในปาก และความชอบรวมโดยใชวิธีทดสอบ<br />

Hedonic Scoring คะแนน 9 ระดับ จํานวนผูทดสอบ<br />

50 คนและความคงตัวของผลิตภัณฑเมื่อเก็บไวที่<br />

อุณหภูมิหองเปนเวลา 1 เดือนโดยวัดคา Tg และปริมาณความชื้นที่เปลี่ยนแปลงไป<br />

การคัดเลือกอุณหภูมิการผลิตและตัวอยางลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลินที่เหมาะสม<br />

1. อุณหภูมิที่สวนผสมละลายได<br />

2. การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาล<br />

3. วัดคาสี<br />

4. วัดคา Tg และเปอรเซ็นตความชื้น<br />

ทดสอบลักษณะความชอบดานอื่นๆ<br />

1.ความหวาน 2.ความแข็ง 3.การละลายในปาก 4.ความชอบรวม<br />

ภาพที่<br />

13 แผนผังแสดงการวิจัยโดยรวม<br />

33<br />

ผลิตตัวอยางลูกกวาดที่<br />

อุณหภูมิที่ผาน<br />

การคัดเลือก<br />

ศึกษาปริมาณการใชน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ใน<br />

ลูกกวาดผสมอินูลินที่เปนที่ยอมรับของผูบริโภค<br />

ความคงตัวของลูกกวาด<br />

1.วัดคา Tg และ<br />

เปอรเซ็นตความชื้น<br />

2. วัดปริมาณวิตามินซี


วิธีการ<br />

1. การเลือกชวงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1.1 อุณหภูมิที่สามารถผลิตตัวอยางลูกกวาดจากอุณหภูมิสุดทายที่กําหนดได<br />

จากการละลาย<br />

เขากันหมดของสวนผสมในการผลิตลูกกวาดและการคงรูปหลังแกะออกจากแมพิมพ<br />

จากการทดลองไดผลิตลูกกวาด โดยใชอินูลินแทนกลูโคสซีรัปทั้งหมด<br />

ซึ่งลูกกวาดที่ทําการ<br />

ทดลองมีสวนผสมระหวางซูโครสและอินูลินรอยละ 75 มีน้ํารอยละ<br />

25 ทําการทดลองผลิตที่อัตราสวน<br />

เดียวกับลูกกวาดสูตรพื้นฐานซึ่งเปนสูตรที่ใชในการผลิตลูกกวาดทั่วไปในระบบเปดแสดงผลดังตาราง<br />

ที่<br />

6<br />

ตารางที่<br />

6 ตัวอยางลูกกวาดและองคประกอบหลักทั้งหมดที่ทําในการทดลอง<br />

ชื่อตัวอยาง<br />

ลูกกวาดกลุมที่<br />

1 ลูกกวาดกลุมที่<br />

2<br />

ความเขมขนรวมของ น้ําตาลทั้งหมด<br />

(w/w) ความเขมขนรวมของ น้ําตาลทั้งหมด<br />

(w/w)<br />

64.3 % 75 % 67.7% 75 %<br />

สูตรน้ําตาล<br />

ลวน1<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1<br />

องคประกอบ S<br />

S:G<br />

6 : 4<br />

ซูโครส 45 g 45 g<br />

(64.3%) (45%)<br />

กลูโคสซีรัป<br />

อินูลิน<br />

(Frutafit<br />

- 30 g<br />

(30%)<br />

@ HD)<br />

สูตร<br />

ดัดแปลง<br />

อินูลิน 1<br />

S:I<br />

6 : 4<br />

45 g<br />

(45%)<br />

หมายเหตุ S, G , I หมายถึง น้ําตาลซูโครส,<br />

กลูโคสซีรัป และอินูลินตามลําดับ<br />

สูตรน้ําตาล<br />

ลวน2<br />

S<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2<br />

S:G<br />

7: 3<br />

52.5 g<br />

(52.5%)<br />

สูตรดัดแปลง<br />

อินูลิน 2<br />

S:I<br />

7: 3<br />

52.5 g<br />

(52.5%)<br />

-<br />

-<br />

52.5 g<br />

(67.7%)<br />

- 22.5<br />

(22.5%)<br />

- - 30 g - - 22.5<br />

(30%)<br />

(22.5%)<br />

น้ํา<br />

25 g 25 g 25 g 25 g 25 g<br />

25 g<br />

(35.7)% (25%) (25%) (32.3%) (25%) (25%)<br />

รวม 70 g 100 g 100 g 77.5 g 100 g 100 g<br />

34


กระบวนการผลิตตัวอยางลูกกวาด (แสดงดังภาพที่<br />

14) โดยชั่งน้ําหนักน้ําตาลซูโครสและอิ<br />

นูลินที่ความเขมขนและอัตราสวนที่จะทําการวิเคราะหดังตารางที่<br />

6 เทลงในบีกเกอรขนาด 250<br />

มิลลิลิตรจากนั้นเติมน้ําลงไป<br />

นําบีกเกอรที่มีตัวอยางไปใหความรอนดวยเตาไฟฟาที่มีแทนคนเมกเนติก<br />

บาร ใชไฟปานกลาง คนตัวอยางดวยแทนคนเมกเนติกบารเบอร1 พล็อตกราฟระหวางเวลากับอุณหภูมิ<br />

ที่เปลี่ยนแปลงไป<br />

โดยใหเวลานาทีที่<br />

0 นาที เปนเวลาที่เริ่มวางบีกเกอรลงบนเตาไฟฟาสุมตัวอยางที่<br />

อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆดังนี้<br />

135, 140, 145, 150, 155 และ 160 o C โดยดูจากการละลายเขากัน<br />

หมดของมวลน้ําตาล<br />

ตักตัวอยางหยอดใสพิมพอะลูมิเนียม ทิ้งใหเย็นที่อุณหภูมิหอง<br />

เก็บตัวอยางในเด<br />

ซิเคเตอรเพื่อวิเคราะหดานอื่นๆตอไป<br />

เติมน้ํามะนาว<br />

ภาพที่<br />

14 กระบวนการผลิตลูกกวาด<br />

ชั่งน้ําหนัก<br />

สวนผสมตางๆ<br />

ซูโครส อินูลิน/กลูโคสซีรัป น้ํา<br />

ใสในบีกเกอร<br />

ใหความรอนบนเตาไฟฟาจนถึงอุณหภูมิสุดทายที่กําหนด<br />

คนดวยเมกเนติกบารเบอร1<br />

เทใสพิมพ และตั้งทิ้งไวให<br />

เย็นที่อุณหภูมิหอง<br />

เก็บตัวอยางใสในเดซิเคเตอร<br />

35


1.2 การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาลซูโครส,<br />

อินูลิน, กลูโคส และฟรุกโทส ระหวางการใหความ<br />

รอนที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆโดยใช<br />

HPLC<br />

ผลิตตัวอยางลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินตามสูตรจากตารางที่<br />

6 และกระบวนการผลิตดังภาพ<br />

ที่<br />

14 ที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายที่คัดเลือกไดจากขอ<br />

1.1 เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาล<br />

ชนิดตางๆ ไดแก น้ําตาลซูโครส,<br />

อินูลิน, กลูโคส และฟรุกโทส ระหวางการใหความรอนที่อุณหภูมิ<br />

การผลิตสุดทายตางๆ ที่สามารถผลิตลูกกวาดไดในแตละตัวอยางลูกกวาด<br />

โดยใชเครื่อง<br />

HPLC<br />

เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาลในลูกกวาดสูตรพื้นฐานและลูกกวาดที่ประกอบดวย<br />

น้ําตาลซูโครสลวนอยางเดียว<br />

1.3 คาสีของตัวอยางลูกกวาดที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

ผลิตตัวอยางลูกกวาดตามสูตรจากตารางที่<br />

6 และกระบวนการผลิตดังภาพที่<br />

14 ที่อุณหภูมิการ<br />

ผลิตสุดทายที่คัดเลือกไดจากขอ<br />

1.1 เพื่อวัดคาสีที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

ที่สามารถผลิตลูกกวาด<br />

ไดในแตละตัวอยางโดยวัดคาสีดวยเครื่อง<br />

Minolta cm 3500 d<br />

1.4 คา Tg และความชื้นในลูกกวาดแบบแข็งที่อุณหถูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

ทําการผลิตตัวอยางลูกกวาดที่อัตราสวนตางๆตามตารางที่<br />

6 ตรวจสอบอุณหภูมิสุดทายที่<br />

กําหนดที่ผลิตเปนลูกกวาดไดโดย<br />

วัดคา Tg ของตัวอยางหลังจากการผลิตได 24 ชั่วโมง<br />

โดยเก็บรักษา<br />

ตัวอยางในเดซิเคเตอร ดวยเครื่อง<br />

DSC และวัดปริมาณน้ําของตัวอยางดวยเครื่อง<br />

Karl Fisher โดย<br />

ทั้งหมดนี้ทําการเปรียบเทียบกับตัวอยางสูตรพื้นฐานที่อัตราสวนเดียวกันกับลูกกวาดสูตรดัดแปลงอิ<br />

นูลิน<br />

2. ศึกษาปริมาณการใชน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ในลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินใหเปนที่ยอมรับ<br />

ของผูบริโภค<br />

36


เลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทําลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

โดยดูทั้งจากการ<br />

เปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาลจากขอ<br />

1.3 และความคงตัวของลูกกวาด (คา Tg) จากขอ 1.4<br />

ผลิตลูกกวาดซูโครสผสมอินูลินที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายที่คัดเลือกไดจากขอ<br />

1 เติมน้ํา<br />

มะนาวเขมขนตามสูตรของอรุณรัศมี (2546) โดยเติมที่ระดับ<br />

4 , 5 และ 6 % ของความเขมขน<br />

ทั้งหมดของน้ําตาล<br />

ประเมินผลทางประสาทสัมผัสเพื่อประกอบการพิจารณาหาแนวโนมปริมาณ<br />

น้ํามะนาวเขมขนที่เหมาะสมและการยอมรับผลิตภัณฑลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

โดยใชวิธี<br />

ทดสอบ Hedonic Scoring คะแนน 9 ระดับ จํานวนผูทดสอบ<br />

50 คน ลักษณะที่ทําการประเมินผล<br />

คือ ความเปรี้ยว<br />

ความหวาน ความแข็ง การละลายในปาก และความชอบรวม<br />

3. ศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑเมื่อเก็บผลิตภัณฑที่อุณหภูมิหองเปนเวลา<br />

1 เดือน<br />

3.1 ศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑที่คาความชื้นสัมพัทธที่สภาวะสมดุล<br />

(ERH) ตางๆ<br />

เก็บตัวอยางลูกกวาดสูตรพื้นฐานและลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินในเดซิเคเตอรที่บรรจุ<br />

สารละลายอิ่มตัวของเกลือชนิดตางๆ<br />

ซึ่งมีคา<br />

ERH ตางๆกัน เชน P2O5 ใหคา ERH = 0 %, MgCl2 ใหคา ERH = 33 % , NaCl ใหคา ERH =75 % และ KNO3 ใหคา ERH = 93 % ตามลําดับที่อุณหภูมิ<br />

25 o C เก็บตัวอยางไวอยางนอย 3 อาทิตยจนกระทั่งตัวอยางถึงจุดสมดุล<br />

แลวทําการวิเคราะหดังนี้<br />

1. วัดคา Tg ของตัวอยางดวยเครื่อง<br />

DSC เปรียบเทียบกับตัวอยางสูตรพื้นฐาน<br />

2. วัดปริมาณน้ําของตัวอยางดวย<br />

Kart Fisher method เปรียบเทียบกับตัวอยางสูตรพื้นฐาน<br />

3.2 ศึกษาความคงตัวของวิตามินซีในน้ํามะนาวที่เติมลงในลูกกวาดเมื่อเก็บตัวอยางที่<br />

อุณหภูมิหองในเดซิเคเตอร<br />

4. การวางแผนการทดลอง<br />

การทดลองในขอ 1-3 ใชแผนการทดลองแบบสุมในบล็อคสมบูรณและวิเคราะหขอมูลโดย<br />

โปรแกรม SPSS ที่ระดับความเชื่อมั่นรอยละ<br />

95<br />

37


5. สถานที่ทําการทดลอง<br />

หองปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หองปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ คณะ<br />

อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร บางเขน<br />

หองปฎิบัติการ บริษัทเมลเลอรโทเลโด ซอยศูนยวิจัย 4 ถนนพระรามเกา กรุงเทพฯ<br />

ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยา<br />

เขตบางเขน<br />

หองปฎิบัติการ ฝายเอนไซมและการจัดการของเสีย ชั้น7<br />

ตึกปฏิบัติการวิจัยกลาง<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตบางเขน<br />

6. ระยะเวลาดําเนินการวิจัย<br />

ระยะเวลาเริ่มตั้งแต<br />

มกราคม 2548 – มีนาคม 2549<br />

38


ผลและวิจารณผลการทดลอง<br />

1. ศึกษาการเลือกชวงอุณหภูมิที่เหมาะสมในผลิตลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1.1 อุณหภูมิที่สามารถผลิตลูกกวาดแบบแข็งจากอุณหภูมิสุดทายที่กําหนดได<br />

จากการละลาย<br />

เขากันหมดของสวนผสมในการผลิตลูกกวาดและการคงรูปหลังแกะออกจากแมพิมพ<br />

ขั้นตอนการละลายน้ําตาลและตมเคี่ยวใหถึงอุณหภูมิที่กําหนดเปนขั้นตอนสําคัญในการผลิต<br />

ลูกกวาดแบบแข็งเพื่อใหไดลูกกวาดที่มีคุณภาพดีน้ําตาลซูโครสและอินูลินตองละลายเขากันหมดเพื่อ<br />

ปองกันการตกผลึกจากการทดลองพบวา ลูกกวาดที่มีสวนผสมของอินูลินเมื่อใหความรอนรวมกับ<br />

ซูโครสสามารถผลิตเปนมวลลูกกวาดไดที่อุณหภูมิแตกตางจากกลูกกวาดสูตรพื้นฐานดังตารางที่<br />

7<br />

ตารางที่<br />

7 ผลของอุณหภูมิสุดทายที่กําหนดใชในการผลิตลูกกวาดสูตรตางๆในการทดลอง<br />

ตัวอยาง<br />

อุณหภูมิ (องศาเซลเซียล)<br />

135 140 145 150 155 160<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 × ↔ ↔ ↔ ↔ ↔<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 × ↔ ↔ ↔ ↔ ↔<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 • • • • ↔ ↔<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 • • • ↔ ↔ ↔<br />

× หมายถึงไมสามารถผลิตลูกกวาดแบบแข็งที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายที่กําหนดไดเนื่องจาก<br />

ตัวอยางสูตรพื้นฐานไมแข็งหลังจากแกะจากแมพิมพ<br />

• หมายถึงไมสามารถผลิตลูกกวาดแบบแข็งที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายที่กําหนดไดเนื่องจากอิ<br />

นูลินยังละลายไมหมด<br />

↔ หมายถึงสามารถผลิตลูกกวาดแบบแข็งที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายที่กําหนดได<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 7:3<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 7:3<br />

39


จากผลการทดลองพบวา อุณหภูมิที่สามารถใชละลายสวนผสมของลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 และ<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 เพื่อผลิตลูกกวาดแบบแข็งได<br />

คืออุณหภูมิในชวง 140-160 o C แตอุณหภูมิที่สามารถใช<br />

ละลายสวนผสมของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 และสูตรดัดแปลงอินูลิน 2 ตองใชอุณหภูมิสูงกวา<br />

ลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

คือตองใชอุณหภูมิในชวง 150-160 o C โดยที่ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

2<br />

สามารถผลิตเปนลูกกวาดแบบแข็งจากการละลายสวนผสมเขากันหมดไดกอนลูกกวาดสูตรดัดแปลงอิ<br />

นูลิน 1 คือเริ่มที่อุณหภูมิสุดทายที่กําหนด<br />

150 o C แตลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 ซึ่งมีสัดสวนอิ<br />

นูลินมากกวาจะเริ่มผลิตเปนลูกกวาดแบบแข็งจากการละลายสวนผสมเขากันหมดที่อุณหภูมิสุดทายที่<br />

กําหนด 155 o C แสดงวาอินูลินมีผลตอระบบการผลิตลูกกวาดโดยไปขัดขวางทําใหการละลายน้ําของ<br />

มวลน้ําตาลโดยรวมยากขึ้นจึงตองใชอุณหภูมิสูงกวาระบบลูกกวาดสูตรพื้นฐานและยิ่งมีสัดสวนอินูลิน<br />

มากยิ่งตองใชอุณหภูมิสูงขึ้นในการละลายอินูลิน<br />

เนื่องจากโครงสรางของอินูลินเปนโพลีเมอรสายโซ<br />

ยาวที่ละลายน้ําไดไมดี<br />

แตสามารถละลายน้ําไดดีขึ้นเมื่อใหความรอนและการละลายน้ําของอินูลินจะ<br />

เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่สูงขึ้นโดย<br />

Kim et al. (2001) ไดศึกษาการละลายของอินูลินที่อุณหภูมิระหวาง<br />

25<br />

- 90 o C พบวา ความสามารถในการละลายของอินูลินที่อุณหภูมิ<br />

90 o C มีคา 34 % (w/v) ซึ่งนอยกวา<br />

ซูโครสที่สามารถละลายเพิ่มมากขึ้นอยางมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นคือ<br />

294-378 % (w/v) ที่อุณหภูมิ<br />

90 o C<br />

ดังนั้นการละลายของอินูลินที่อุณหภูมิสูงขึ้นในระบบที่มีน้ํานอยในกระบวนการผลิตลูกกวาดนี้จึงเกิด<br />

จากการหลอมเหลวของอินูลินซึ่งปกติอินูลินมีอุณหภูมิในการหลอมเหลวสูงกวาน้ําตาลซูโครสคือ<br />

178<br />

o o<br />

C สวนซูโครสมีอุณหภูมิหลอมเหลว 173 C (Roos, 1993) ซึ่งมีคาใกลเคียงกันสวนปริมาณน้ําที่<br />

เหลืออยูในระบบ<br />

(ที่เหลือจากการละลายซูโครสและที่เหลือจากการระเหย)<br />

ทําใหอุณหภูมิในการ<br />

หลอมเหลวของอินูลินต่ําลง<br />

และอินูลินจะละลายหมดเมื่ออุณหภูมินั้นเปนจุดหลอมเหลวใหมของ<br />

สารละลายอินูลินในลูกกวาด และขณะทําการทดลองพบวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินมวลน้ําตาลมี<br />

ความหนืดมากกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐานเนื่องจากอินูลินมีสมบัติทําใหเกิดเจล<br />

ซึ่งตรงกับผลการทดลอง<br />

ของ Niness et al. (1999) ไดทําการทดลองวัดความหนืดของสารละลายอินูลินในน้ําพบวาสารละลายอิ<br />

นูลินที่ความเขมขนต่ํากวา<br />

15 % เมื่อวัดความหนืดของสารละลายอินูลินพบวาสารละลายมีความหนืด<br />

คอยๆเพิ่มขึ้นทีละนอยตามปริมาณอินูลิน<br />

แตความเขมขนของสารละลายอินูลินที่ระดับ<br />

15-25 %<br />

สารละลายจะเริ่มมีลักษณะขน<br />

(Thicken) ในขณะที่ความเขมขนของอินูลินที่ระดับสูงกวา<br />

25 %<br />

สารละลายจะเริ่มอยูในรูปของอนุภาคเจลซึ่งมีลักษณะเรียบและลื่น<br />

และที่ความเขมขนมากกวา<br />

50 %<br />

เจลยังคงมีเนื้อสัมผัสเรียบและลื่นแตจะมีเนื้อสัมผัสที่แข็งขึ้นเหมือนเนยแข็งดังภาพที่<br />

15<br />

40


20% w/v<br />

30 %w/v 40 %w/v 50 %w/v<br />

ภาพที่<br />

15 ลักษณะเจลของสารละลายอินูลินที่เกิดขึ้นหลังจากใหความรอนที่<br />

90 o C และทิ้งใหเย็นที่<br />

อุณหภูมิหอง<br />

1.2 เปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาลอินูลิน<br />

ซูโครส กลูโคสและฟรุกโทสใน<br />

ลูกกวาดขณะใหความรอน<br />

การทดลองนี้ตรวจสอบความสัมพันธระหวางอุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆกับปริมาณ<br />

น้ําตาลซูโครส,<br />

อินูลิน, กลูโคส และฟรุกโทสในลูกกวาด เพื่อเลือกอุณหภูมิที่อินูลินถูกไฮโดรไลซ<br />

เปนน้ําตาลฟรุกโทสนอยที่สุดเพื่อใหลูกกวาดยังคงมีสมบัติความเปนใยอาหารและสมบัติพรีไบโอติก<br />

จากอินูลินมากที่สุด<br />

และอุณหภูมิที่มีน้ําตาลโมเลกุลเดี่ยวนอยที่สุดเพื่อปองกันการดูดความชื้นจาก<br />

น้ําตาลโมเลกุลเดี่ยวซึ่งมีผลตอความคงตัวของลูกกวาด<br />

41


ปริมาณน้ําตาลชนิดตางๆ<br />

(กรัม)<br />

50<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 50 100 150 200<br />

ิอุณหภูมิ ( o C)<br />

ซูโครส กลูโคส ฟรุกโทส<br />

ภาพที่<br />

16 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

1<br />

ปริมาณน้ําตาลชนิดตางๆ<br />

(กรัม)<br />

60<br />

50<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 50 100 150 200<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

ซูโครส กลูโคส ฟรุกโทส<br />

ภาพที่<br />

17 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

2<br />

จากภาพที่<br />

16 - 17 พบวาลูกกวาดน้ําตาลลวน1<br />

และ 2 มีกราฟการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาล<br />

ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทสเหมือนกันคือ น้ําตาลซูโครสมีแนวโนมลดลงจากเริ่มตนในขณะที่มี<br />

42


เปอรเซ็นตการเกิดน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสเพิ่มขึ้นจากเริ่มตนเล็กนอย<br />

โดยปริมาณน้ําตาลซูโครส<br />

เริ่มตนของลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

1 ที่อุณหภูมิหองเทากับ<br />

45 กรัม เมื่อใหความรอนที่อุณหภูมิตางๆ<br />

มี<br />

เปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครสลดลงจากเริ่มตนอยูในชวง<br />

10.09-32.13 % สวน<br />

เปอรเซ็นตการเกิดน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสอยูในชวง<br />

0-2.87 % และ 0.24-0.67 % ตามลําดับ และ<br />

ปริมาณน้ําตาลซูโครสเริ่มตนของลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

2 ที่อุณหภูมิหองเทากับ<br />

52.5 กรัม เมื่อใหความ<br />

รอนที่อุณหภูมิตางๆ<br />

มีเปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครสลดลงจากเริ่มตนอยูในชวง<br />

11.57-<br />

19.55 % สวนเปอรเซ็นตการเกิดน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสอยูในชวง<br />

0.24-0.63 % และ 0.39-0.48 %<br />

ตามลําดับ สวนปริมาณน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสที่เกิดขึ้นในระหวางการใหความรอนที่อุณหภูมิ<br />

ตางๆ สามารถเปลี่ยนเปนสารโพลีเมอรไรซที่ทําใหเกิดสีหรือกลิ่นในลูกกวาดทําใหปริมาณน้ําตาล<br />

กลูโคสหรือฟรุกโทสที่วัดไดมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอย<br />

เชนที่อุณหภูมิ<br />

150 o C อาจทําใหน้ําตาล<br />

กลูโคส เปลี่ยนโครงสรางเปนโพลีแซ็กคาไรดและโอลิโกแซ็กคาไรดโดยปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นไดสูงสุด<br />

เมื่อน้ํา<br />

1 โมลทําปฏิกิริยากับน้ําตาล<br />

1 โมล (Sugisawa and Edo, 1966) สวนน้ําตาลฟรุกโทสที่เกิดขึ้น<br />

สามารถเกิดโพลีเมอรไรซทําใหเกิดสารประกอบที่ทําใหเกิดสี<br />

(สุวรรณา, 2543)<br />

ปริมาณน้ําตาลชนิดตางๆ<br />

(กรัม)<br />

60<br />

50<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 50 100 150 200<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

ซูโครส กลูโคส ฟรุกโทส<br />

ภาพที่<br />

18 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1<br />

43


ปริมาณน้ําตาลชนิดตางๆ<br />

(กรัม)<br />

60<br />

50<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 50 100 150 200<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

ซูโครส กลูโคส ฟรุกโทส<br />

ภาพที่<br />

19 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

2<br />

จากภาพที่<br />

18-19 พบวากราฟการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครส<br />

กลูโคส และฟรุกโทส ของ<br />

ลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1และสูตรพื้นฐาน<br />

2 มีลักษณะเหมือนกันคือน้ําตาลซูโครสมีแนวโนมลดลงจาก<br />

เริ่มตนในขณะที่มีเปอรเซ็นตการเกิดน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสเพิ่มขึ้นจากเริ่มตนเล็กนอยโดยปริมาณ<br />

น้ําตาลซูโครสเริ่มตนของลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 ที่อุณหภูมิหองเทากับ<br />

45 กรัม เมื่อผานอุณหภูมิตางๆ<br />

มีเปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครสลดลงจากเริ่มตนอยูในชวง<br />

6.67-26.59 % สวน<br />

เปอรเซ็นตการเกิดน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสอยูในชวง<br />

0.33-1.24 % และ 0.59-1.16 % ตามลําดับ และ<br />

ปริมาณน้ําตาลซูโครสเริ่มตนของลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

2 ที่อุณหภูมิหองเทากับ<br />

52.5 กรัม เมื่อผาน<br />

อุณหภูมิตางๆ มีเปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลซูโครสลดลงจากเริ่มตนอยูในชวง<br />

1.98-21.35 %<br />

สวนเปอรเซ็นตการเกิดน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสอยูในชวง<br />

0.32-2.39 % และ 0.55-2.88 %<br />

ตามลําดับ โดยปริมาณน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสที่เกิดขึ้นในระหวางการใหความรอนที่อุณหภูมิ<br />

ตางๆ สามารถเปลี่ยนเปนสารโพลีเมอรไรซที่ทําใหเกิดสีหรือกลิ่นในลูกกวาดทําใหปริมาณน้ําตาล<br />

กลูโคสหรือฟรุกโทสที่วัดไดมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอยเชนเดียวกับลูกกวาดน้ําตาลลวน<br />

1 และ 2<br />

44


ปริมาณน้ําตาลชนิดตางๆ<br />

(กรัม)<br />

60<br />

50<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 50 100 150 200<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

อินูลิน ซูโครส กลูโคส ฟรุกโทส<br />

ภาพที่<br />

20 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลอินูลิน<br />

ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน 1<br />

ปริมาณน้ําตาลชนิดตางๆ<br />

(กรัม)<br />

60<br />

50<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 50 100 150 200<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

อินูลิน ซูโครส กลูโคส ฟรุกโทส<br />

ภาพที่<br />

21 การเปลี่ยนแปลงของน้ําตาล<br />

อินูลิน ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทสของลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน 2<br />

45


จากภาพที่<br />

20 และ 21 พบวากราฟการเปลี่ยนแปลงของน้ําตาลอินูลิน<br />

ซูโครส กลูโคส และ<br />

ฟรุกโทสของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 และ 2 มีลักษณะเหมือนกันคือปริมาณน้ําตาลซูโครส<br />

ลดลงจากเริ่มตนเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น<br />

แตปริมาณน้ําตาลอินูลินมีแนวโนมคอนคงที่<br />

โดยจากผลการ<br />

ทดลองพบวาเปอรเซ็นตการลดลงของซูโครสจะมากกวาของอินูลิน ซึ่งตรงกับผลการรายงานของ<br />

Tony, 1996 รายงานไววาโครงสรางของอินูลินทนความรอนมากกวาน้ําตาลซูโครส<br />

โดยลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน 1 มีเปอรเซ็นตการลดลงของซูโครสจากเริ่มตนเทากับ<br />

12.35-33.64 % สวนอินูลินมี<br />

เปอรเซ็นตลดลงจากเริ่มตนเทากับ<br />

3.65-10.25 % และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 2 มีเปอรเซ็นตการ<br />

ลดลงของซูโครสจากเริ่มตนเทากับ<br />

3.94-16.81 % สวนอินูลินมีเปอรเซ็นตลดลงจากเริ่มตนเทากับ<br />

0.67-<br />

4.75 % ดังนั้นเปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงน้ําตาลฟรุกโทสที่เพิ่มขึ้นในลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินจึง<br />

มาจากการไฮโดรไลซน้ําตาลซูโครสมากกวาการไฮโดรไลซ<br />

อินูลิน ซึ่งสอดคลองกับการทดลองของ<br />

Ted et al . (2000) ไดศึกษาปฏิกิริยาคาราเมลไรเซซั่น<br />

ของอินูลิน และพบวาผลิตภัณฑสวนใหญที่<br />

เกิดขึ้นจะเปนโอลิโกแซ็คคาไรดที่อยูในรูป<br />

Di-D-fructose Dianhydrides ที่มีโครงสรางแตกตางกัน<br />

14<br />

แบบโดยโอลิโกแซ็คคาไรดเหลานี้มีสมบัติเปนพรีไบโอติกเชนกัน<br />

สวนปริมาณน้ําตาลกลูโคสและ<br />

ฟรุกโทสของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 เมื่อใหความรอนผานอุณหภูมิตางๆ<br />

มีเปอรเซ็นตการ<br />

เพิ่มขึ้นของน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสในชวง<br />

0.54-1.26 % และ 0.75-1.06 % ตามลําดับ สวน<br />

ปริมาณน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

2 เมื่อใหความรอนผานอุณหภูมิ<br />

ตางๆ มีเปอรเซ็นตการเพิ่มขึ้นของน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสในชวง<br />

0.47-2.43 % และ 0.53-0.90 %<br />

ตามลําดับ ซึ่งปริมาณน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสมีการเปลี่ยนแปลงเล็กนอยเมื่อเทียบกับปริมาณ<br />

น้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสเริ่มตนที่อุณหภูมิ<br />

25 o C<br />

ดังนั้นลูกกวาดอินูลินถึงแมจะผลิตที่อุณหภูมิสูงกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐานแตยังคงสมบัติที่เปน<br />

ประโยชนของอินูลินไวโดยอินูลินสวนใหญเมื่อถูกไฮโดรไลซจะอยูในรูป<br />

Di-D-fructose Dianhydrides<br />

(Ted et al., 2000) ซึ่งยังคงมีสมบัติเปนพรีไบโอติก<br />

และมีปริมาณน้ําตาลกลูโคสและฟรุกโทสนอยกวา<br />

ลูกกวาดสูตรพื้นฐานในชวงอุณหภูมิ<br />

150-155 o C ซึ่งจะชวยเพิ่มความคงตัวตอความชื้นของลูกกวาดอิ<br />

นูลินในระหวางการเก็บรักษา<br />

46


1.3 คาสีของตัวอยางลูกกวาดที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

ตารางที่<br />

8 ผลคาสี L ของลูกกวาดทุกตัวอยางที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

อุณหภูมิ ( คาสี L<br />

oC) สูตรพื้นฐาน<br />

1 สูตรดัดแปลง สูตรพื้นฐาน<br />

2 สูตรดัดแปลงอิ<br />

ตัวอยาง<br />

อินูลิน 1<br />

นูลิน 2<br />

135 - - - -<br />

140 20.40 aB - 31.80 aA -<br />

145 20.08 aB - 26.87 aA -<br />

150 18.32 bB - 25.98 aA 21.81 aA<br />

155 20.09 aB 19.87 aB 23.08 aA 21.31 aA<br />

160 18.90 bB 18.73 aB 25.50 aA 19.00 bB<br />

a,b ขอมูลที่มีอักษรกํากับตางกันในแนวตั้งเดียวกัน<br />

แตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


Wedzicha (1984) ไดรายงานไววาอัตราการเกิดสีน้ําตาลของกลูโคสและฟรุกโทสกับกรดอะมิโนใน<br />

สารละลายที่ไมมีบัฟเฟอรพบวาอัตราการเกิดสีน้ําตาลของฟรุกโทสมากกวากลูโคส<br />

สอดคลองกับผล<br />

ปริมาณฟรุกโทสของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินนอยกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

แสดงวาฟรุกโทสใน<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินถูกเปลี่ยนเปนสารที่ทําใหเกิดสีในปฏิกิริยาคาราเมลไรเซซั่น<br />

และ Ted et<br />

al. (2000) ไดศึกษาปฏิกิริยาคาราเมลไรเซซั่นของอินูลินซึ่งพบวาจะเกิดผลิตภัณฑในรูป<br />

Di-D-fructose<br />

Dianhydrides ซึ่งมีโครงสรางที่ตางกันถึง<br />

14 แบบ ซึ่งเรียกวาเปนฟรุกโทสคาราเมล<br />

ตารางที่<br />

9 ผลคาสี a ของลูกกวาดทุกตัวอยางที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

ตัวอยาง<br />

คาสี a<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 สูตรดัดแปลง สูตรพื้นฐาน<br />

2 สูตรดัดแปลง<br />

อินูลิน 1<br />

อินูลิน 2<br />

135 - - - -<br />

140 -0.27 b - -0.49 b -<br />

145 -0.64 b - -0.31 b -<br />

150 -0.70 b - -0.57 b -1.02 b<br />

155 -1.13 bA -0.04 bA -0.86 bA -0.87 bA<br />

160 0.77 aC 1.92 aA 0.90 aB 0.39 aD<br />

a,b ขอมูลที่มีอักษรกํากับตางกันในแนวตั้งเดียวกัน<br />

แตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


ลูกกวาดมีแนวโนมเปนสีเหลืองถึงสีน้ําตาล<br />

แตคาสี a แสดงถึงชวงสีแดงถึงสีเขียว ซึ่งไมใชชวงสีของ<br />

ตัวอยางลูกกวาด<br />

ตารางที่<br />

10 คาสี b ของลูกกวาดทุกตัวอยางที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

อุณหภูมิ ( คาสี b<br />

oC) ตัวอยาง<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 สูตรดัดแปลง<br />

อินูลิน 1<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 สูตรดัดแปลง<br />

อินูลิน 2<br />

135 - - - -<br />

140 0.34 dB - 2.51 cA -<br />

145 1.27 cB - 2.55 cA -<br />

150 1.59 cB - 3.44 cA 3.51 cA<br />

155 4.68 bB 5.51 bA 4.87 bC 4.16 bC<br />

160 6.28 aA 6.24 aA 6.48 aA 6.45 aA<br />

a, b, c, d ขอมูลที่มีอักษรกํากับตางกันในแนวตั้งเดียวกัน<br />

แตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


จากผลการทดลองตารางที่<br />

10 พบวาเมื่ออุณหภูมิการผลิตสุดทายสูงขึ้น<br />

ลูกกวาดทุกตัวอยางมี<br />

พิสัยแถบสีเหลืองเพิ่มขึ้น<br />

และเมื่อเปรียบเทียบลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 และ 2 พบวาลูกกวาดสูตร<br />

พื้นฐาน<br />

2 มีคาพิสัยแถบสีเหลืองมากกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ<br />

(p


ภาพที่<br />

22 ลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 ที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

1.4 ความสัมพันธระหวางอุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆกับคา Tg และเปอรเซ็นตความชื้นของ<br />

ลูกกวาด<br />

ลูกกวาดแบบแข็งเปนวัตถุดิบที่อยูในรูปอสัณฐาน<br />

(glass) ซึ่งคาTg<br />

เปนอุณหภูมิที่เฉพาะของ<br />

วัตถุดิบที่ยังคงอยูในรูปอสัณฐาน<br />

ดังนั้นลูกกวาดแบบแข็งที่มีคา<br />

Tg สูงกวาจึงมีความเสถียรมากกวาที่<br />

อุณหภูมิหองเดียวกัน เนื่องจากคา<br />

Tg ของลูกกวาดขึ้นอยูกับองคประกอบของลูกกวาดและความชื้นใน<br />

ลูกกวาด โดยลูกกวาดที่มีองคประกอบที่มีมวลโมเลกุลสูงกวาอยูจํานวนมากและความชื้นต่ํากวาจะมีคา<br />

Tg สูงกวา จากการเปรียบเทียบคา Tg ของลูกกวาดผสมอินูลินกับลูกกวาดสูตรพื้นฐานที่อุณหภูมิ<br />

สุดทายตางๆ แสดงผลในตารางที่<br />

11 ดังนี้<br />

51


ตารางที่<br />

11 การเปรียบเทียบคา Tg ของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินกับลูกกวาดสูตรพื้นฐานที่มี<br />

อุณหภูมิสุดทายของการผลิตแตกตางกัน<br />

คา Tg ( o ตัวอยาง<br />

C)<br />

อุณหภูมิ ( oC) 135 140 145 150 155 160<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 • 43.92 bA 49.33 abA 52.3 aA 51.57 aA 55.63 aB<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 • 39.13 cA 50.74 bA 52.90 bA 52.50 bA 60.50 aA<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 • • • • 53.84 aA 57.68 aB<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 • • • 51.97 bA 52.11bA 57.47aAB<br />

• หมายถึงอุณหภูมิการผลิตสุดทายที่ยังไมสามารถผลิตเปนลูกกวาดแบบแข็งได<br />

a ,b, c ขอมูลที่มีอักษรกํากับตางกันในแนวนอนเดียวกัน<br />

แตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


หนาที่เปน<br />

plasticizer ของอินูลินทําใหคา Tg ของอินูลินต่ําลงจึงทําใหลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

2<br />

มีตา Tg ต่ํากวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

2<br />

% ความชื้นในลูกกวาด<br />

5<br />

4<br />

3<br />

2<br />

1<br />

0<br />

140 145 150 155 160<br />

อุณหภูมิ ( o C)<br />

พื้นฐาน<br />

1 พื้นฐาน<br />

2 ดัดแปลงอินูลิน 1 ดัดแปลงอินูลิน 2<br />

ภาพที่<br />

23 เปอรเซ็นตความชื้นของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินกับลูกกวาดสูตรพื้นฐานที่มีอุณหภูมิสุด<br />

ทายของการผลิตแตกตางกัน<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 7:3<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 7:3<br />

จากภาพที่<br />

23 พบวาความสัมพันธระหวางอุณหภูมิการผลิตกับคาเปอรเซ็นตความชื้นของ<br />

ลูกกวาดทุกสูตรมีแนวโนมเหมือนกันคือเปอรเซ็นตความชื้นมีแนวโนมลดลงเมื่ออุณหภูมิการผลิต<br />

สูงขึ้น<br />

ยกเวนลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน1 กลับพบวาเปอรเซ็นตความชื้นมีคาเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิการ<br />

ผลิตสูงขึ้นดวย<br />

อาจเปนเพราะวาหลังจากการบดตัวอยางเพื่อรอการวิเคราะห<br />

ตัวอยางอาจมีการดูด<br />

ความชื้นเพิ่มขึ้นทําใหสูตรดัดแปลงอินูลิน1<br />

มีแนวโนมความชื้นเพิ่มขึ้น<br />

53


ตารางที่<br />

12 ความสัมพันธระหวางคา Tg และคาเปอรเซ็นตความชื้นของลูกกวาดที่อุณหภูมิตางๆ<br />

อุณหภูมิ สูตรพื้นฐาน<br />

1 สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 สูตรพื้นฐาน<br />

2 สูตรดัดแปลงอินูลิน 1<br />

ในการผลิต ( oC) คา Tg %น้ํา<br />

คา Tg %น้ํา<br />

คา Tg %น้ํา<br />

คา Tg %น้ํา<br />

135 - - - - - - - -<br />

140 43.92 4.05 - - 39.13 4.45 - -<br />

145 49.33 3.99 - - 50.74 4.09 - -<br />

150 52.3 3.28 - - 52.9 3.24 51.97 3.89<br />

155 51.57 4.01 53.84 3.4 52.5 4.35 52.11 3.49<br />

160 55.63 3.40 55.8 3.87 60.5 3.58 57.47 3.06<br />

- อุณหภูมิที่ไมผานการคัดเลือกเปนลูกกวาดแบบแข็ง<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 7:3<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 7:3<br />

จากตารางที่<br />

12 พบวาที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

คา Tg ของลูกกวาดมีความสัมพันธแบบ<br />

แปรผกผันกับกับคาเปอรเซ็นตความชื้นดวยคืออุณหภูมิที่มีคาเปอรเซ็นตความชื้นสูงก็จะมีคา<br />

Tg ของ<br />

ลูกกวาดต่ํากวาซึ่งเปนผลมาจากน้ําเปน<br />

plasticizer ทําใหคา Tg ของลูกกวาดต่ําลง<br />

ยกเวนลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน 1 ซึ่งพบวา<br />

คา Tg ของลูกกวาด ยังคงสูงขึ้นแมวาเปอรเซ็นตความชื้นจะสูงขึ้นก็ตาม<br />

ซึ่งเปนผลมาจากการที่ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1 มีอินูลินอยูปริมาณมากทําใหยังคงมีคา<br />

Tg สูงขึ้น<br />

เมื่ออุณหภูมิการผลิตสูงขึ้นแมวาเปอรเซ็นตความชื้นจะเพิ่มขึ้นดวย<br />

และเปอรเซ็นตความชื้นที่เพิ่มขึ้น<br />

ไมไดเพิ่มขึ้นมากเกิน<br />

5 % ทําใหลูกกวาดยังคงเปนลูกกวาดแบบแข็งอยู<br />

2. ศึกษาการใชน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ในลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินใหเปนที่ยอมรับของผูบริโภค<br />

เลือกอุณหภูมิและอัตราสวนซูโครสตออินูลินที่เหมาะสมในการทําลูกกวาดที่มีอินูลินเปน<br />

สวนผสมโดยดูทั้งจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ําตาล<br />

คา Tg และคาสีของตัวอยางลูกกวาดที่อุณหภูมิ<br />

การผลิตสุดทาย จากผลการทดลองพบวาเลือกลูกกวาดกลุมที่<br />

1 คือ ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 ที่<br />

54


อุณหภูมิการผลิตสุดทาย 155 o C เพราะที่อุณหภูมิ<br />

160 o C มีกลิ่นไหมมากแมจะมีคา<br />

Tg สูงกวา และ<br />

เลือกลูกกวาดกลุมที่<br />

2 คือ ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 2 ที่อุณหภูมิการผลิตสุดทาย<br />

160 o C เพราะมีคา<br />

Tg สูงสุดในกลุมเปนตัวอยางที่เหมาะสมในการทดสอบทางประสาทสัมผัสตอไป<br />

ซึ่งในการทดทองนี้<br />

ทําการทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยการเติมน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % เพื่อหาปริมาณน้ํามะนาวเขมขนที่<br />

เหมาะสมเปนตัวใหรสชาติของตัวอยางลูกกวาด (ความเปรี้ยว)<br />

ทดสอบสี ความหวาน ความแข็ง การ<br />

ละลายในปาก และความชอบรวม ของตัวอยางลูกกวาดดวยโดยวิธีทดสอบ Hedonic Scoring ระดับ<br />

คะแนนความชอบ 1-9 จํานวนผูทดสอบ<br />

50 คน<br />

2.1 ความเปรี้ยว<br />

จากผลการทดลองพบวาปริมาณน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ที่เติมลงในลูกกวาดที่ไดคะแนน<br />

ความชอบมากที่สุดคือ<br />

5 % ไมแตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


2.2 คะแนนความชอบของผลิตภัณฑลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินดานอื่นๆ<br />

คะแนนความชอบของผลิตภัณฑลูกกวาดแบบแข็งสูตรดัดแปลงอินูลินดานอื่นๆ<br />

ที่<br />

ทดสอบไดแก สี ความหวาน ความแข็ง การละลายในปาก และความชอบรวม จากผลการทดลองพบวา<br />

ตารางที่<br />

14 แสดงผลคะแนนความชอบตอคุณลักษณะดานตางๆในตัวอยางลูกกวาดที่ทดสอบทาง<br />

ประสาทสัมผัส<br />

คุณลักษณะ<br />

คะแนนความชอบตอคุณลักษณะดานตางๆ<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 สูตรดัดแปลงอินูลิน 2<br />

สี 7.02 A 6.40 B<br />

ความหวาน 6.46 A 6.30 A<br />

ความแข็ง 5.34 A 5.98 A<br />

การละลายในปาก 6.37 B 6.98 A<br />

ความชอบรวม 7.32 A 6.44 A<br />

A,B ขอมูลที่มีอักษรกํากับตางกันในแนวนอนเดียวกัน<br />

แตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 มีผลความชอบคาความหวานมากกวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอิ<br />

นูลิน 2 ไมแตกตางอยางมีนัยสําคัญ (p


3.1 การทดสอบความคงตัวของลูกกวาดที่คา<br />

Equlibrium Relative Humidities (ERH) ตางๆ<br />

ตารางที่<br />

15 และ 16 แสดงผลจากการเก็บรักษาตัวอยางลูกกวาดทั้ง<br />

2 สูตรในสภาวะสมดุล<br />

ภายในเดซิเคเตอรที่บรรจุสารละลายของเกลืออิ่มตัวชนิดตางๆที่ใหคา<br />

ERH ตางๆกัน เพื่อเปรียบเทียบ<br />

ความคงตัวของลูกกวาด โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงคา<br />

Tg และเปอรเซ็นตความชื้นเปนเวลา<br />

1<br />

เดือน<br />

ตารางที่<br />

15 คา Tg ของตัวอยางสูตรพื้นฐานและตัวอยางลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินเมื่อเก็บ<br />

รักษาที่คา<br />

ERH ตางๆ เปนเวลา 1 เดือน<br />

คา ERH<br />

0 %<br />

33 %<br />

75 %<br />

93 %<br />

คา Tg ( o C)<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 สูตรดัดแปลงอินูลิน 1<br />

32.28<br />

41.24<br />

30.99<br />

37.78<br />

30.07<br />

36.42<br />

27.55<br />

35.75<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

ลูกกวาดมีสมบัติเปน hygroscopic คือสามารถดูดซับไอน้ําเขาหาตัวได<br />

โดยปกติลูกกวาดจะมี<br />

คาความชื้นสัมพัทธ<br />

(ซึ่งก็คือคา<br />

aw ที่ภาวะสมดุล)<br />

ประมาณรอยละ 30 โดยที่บรรยากาศปกติจะมี<br />

ความชื้นสัมพัทธ<br />

อยูระหวางรอยละ<br />

40-70 ดังนั้นเมื่อเก็บลูกกวาดไวที่บรรยายกาศปกติลูกกวาดจะดูด<br />

ซับไอน้ําเขาหาตัว<br />

จึงตองทําการหอหรือเคลือบ ผิวลูกกวาดเพื่อมิใหดูดซับความชื้นได<br />

จากผลการ<br />

ทดลองที่อุณหภูมิการเก็บรักษาคงที่พบวา<br />

เมื่อเติมน้ํามะนาวเขมขนทําใหคา<br />

Tg ของลูกกวาดลดลงเมื่อ<br />

เปรียบเทียบกับลูกกวาดที่ไมมีการเติมน้ํามะนาวเขมขน<br />

(ตารางที่<br />

11) เปนผลมาจากปริมาณน้ําที่ทํา<br />

หนาที่เปนตัว<br />

plasticizer เพิ่มขึ้นจากน้ํามะนาวเขมขน<br />

(ที่คา<br />

ERH = 0%) และเมื่อปลอยใหลูกกวาด<br />

สัมผัสกับความชื้นเปนระยะเวลาหนึ่ง<br />

ลูกกวาดทั้งสองชนิดมีคา<br />

Tg ลดลงเมื่อคา<br />

ERH เพิ่มขึ้น<br />

เนื่องจากน้ําที่ทําหนาที่เปนตัว<br />

plasticizer มีคาเพิ่มขึ้น<br />

เมื่อเปรียบเทียบระหวางลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1<br />

และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 ที่คา<br />

ERH เดียวกัน พบวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 มีคา Tg<br />

58


มากกวา ทั้งนี้เพราะโครงสรางอสัณฐานของลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1 มีการจัดเรียงตัวที่เปน<br />

ระเบียบมากกวา และมีความเสถียรมากกวา เนื่องจากโครงสรางอสัณฐานของลูกกวาดอินูลิน<br />

ประกอบดวยโอลิโกแซ็กคาไรดที่เปนโพลีเมอรสายโซยาวจํานวนมากที่ชวยในการลดชองวางที่เกิดจาก<br />

โพลีเมอรสายสั้นๆ<br />

ภายในโครงสรางอสัณฐาน โดยคา Tg ที่สูงกวานี้จะทําใหลูกกวาดยังคงอยูในสภาพ<br />

glass ไดดีที่อุณหภูมิหอง<br />

โดยในสภาพนี้<br />

ปฏิกิริยาตางจะเกิดขึ้นอยางชาๆ<br />

ทําใหมีการเปลี่ยนแปลงทาง<br />

กายภาพนอยมาก ดังนั้นอายุการเก็บรักษาจึงยาวนานขึ้น<br />

(Hinrichs et al., 2001)<br />

ตารางที่<br />

16 คาเปอรเซ็นตความชื้นของตัวอยางสูตรพื้นฐาน<br />

1 และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอิ<br />

นูลิน1เมื่อเก็บรักษาที่คา<br />

ERH ตางๆ เปนเวลา 1 เดือน<br />

คา ERH<br />

0 %<br />

33 %<br />

75 %<br />

93 %<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1<br />

เปอรเซ็นตความชื้น<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1<br />

8.89<br />

6.75<br />

9.14<br />

7.05<br />

9.48<br />

7.12<br />

11.66<br />

7.43<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

จากผลการทดลองพบวาความสัมพันธระหวางคาเปอรเซ็นตความชื้น<br />

กับคา ERH ของลูกกวาด<br />

ทั้งสอง<br />

พบวาเปอรเซ็นตความชื้นของลูกกวาดทั้งสองสูตรมีคาเพิ่มขึ้นตามคา<br />

ERH ที่สูงขึ้น<br />

แตที่คา<br />

ERH = 0 มีเปอรเซ็นตความชื้นเพิ่มขึ้นมากอาจมีผลมาจากการดูดความชื้นระหวางการรอการวิเคราะห<br />

ดวย แตที่คา<br />

ERH เดียวกันเปอรเซ็นตความชื้นในลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1 มีคานอยกวา เพราะวา<br />

จากการวิเคราะหองคประกอบน้ําตาลดวย<br />

HPLC พบวาที่อุณหภูมิการผลิต<br />

155 o C ลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน 1 มีการไฮโดรไลซไปเปนน้ําตาลโมเลกุลเดี่ยว<br />

เชนกลูโคส ฟรุกโทส นอยกวาลูกกวาด<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 ดังนั้นลูกสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1 มีองคประกอบของน้ําตาลโมเลกุลเดี่ยวนอยกวา<br />

จึงดูด<br />

ความชื้นไดนอยกวา<br />

นั่นคือความสามารถในการจับกับน้ํา<br />

(water-binding capacity) มีคานอยกวา<br />

ดังนั้นลูกกวาดสูตรพื้นฐานจึงมีแนวโนมที่จะถูกทําลายดวยความชื้นมากกวา<br />

จนเกิดสภาพ ผิวหนา<br />

59


เหนียวเยิ้ม<br />

มีคา Tg ที่ลดลง<br />

(Hinrichs et al., 2001; Zimeri et al., 2002; Smidova et al., 2003)<br />

นอกจากนั้นแลวการดูดความชื้นที่เพิ่มขึ้นนี้ยังชวยเรงใหเกิดการตกผลึกในลูกกวาดอีกดวย<br />

3.2 การเปลี่ยนแปลงปริมาณวิตามินซีในลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

การทดสอบความคงตัวของวิตามินซีในระหวางการเก็บรักษาที่อุณหภูมิหอง<br />

โดยใชตัวอยาง<br />

เปนลูกกวาดที่มีอุณหภูมิการผลิตสุดทายเปน<br />

155 o C ทําการเก็บในเดซิเคเตอร และทําการตรวจวัดคา<br />

วิตามินซีทุกสัปดาหเปนเวลา 1 เดือน โดยวิตามินซีที่เติมลงไปมาจากน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ที่มี<br />

ปริมาณวิตามินซีเริ่มตนเปน<br />

21 มิลลิกรัม / 100 มิลลิลิตร<br />

่<br />

จากผลการทดลองพบวาวิตามินซีในตัวอยางลูกกวาดมีคามากที่สุดหลังจากการผลิตใหมๆ<br />

และ<br />

มีคาลดลงในสัปดาหตอมาแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p


การเติมวิตามินซีลงไปในขณะที่ลูกกวาดมีอุณหภูมิสูงถึง<br />

150-160 oC เมื่อมวลน้ําตาลเย็นลงในภายหลัง<br />

จะมีความหนืดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งแข็งตัวเปนลูกกวาดในสภาพนี้วิตามินซีจะลูกกักเก็บไวใน<br />

สภาพของแข็ง ซึ่งยากตอการสลายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินซีในรูปสารละลายของน้ํา<br />

ดังนั้นจึง<br />

พบวาหลังจากนั้นปริมาณวิตามินซีในสัปดาหตางๆไมแตกตางกันมากนัก<br />

61


สรุปผลการทดลอง<br />

1. อุณหภูมิสุดทายที่กําหนดที่สามารถผลิตลูกกวาดไดจากการละลายน้ําตาลซูโครสและอิ<br />

นูลินจนเขากันหมดพบวา ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 หรือลูกกวาดที่มีสวนผสมของซูโครสตออิ<br />

นูลิน อัตราสวน 6 ตอ 4 มีอุณหภูมิสุดทายที่สามารถผลิตลูกกวาดไดอยูระหวาง<br />

155 - 160 o C สวน<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 2 หรือลูกกวาดที่มีสวนผสมของซูโครสตออินูลินอัตราสวน<br />

7 ตอ 3 มี<br />

อุณหภูมิสุดทายที่สามารถผลิตลูกกวาดไดอยูระหวาง<br />

150 - 160 o C<br />

2. จากการศึกษาเปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงน้ําตาลชนิดตางๆในลูกกวาดขณะใหความรอนที่<br />

อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ พบวา ลูกกวาดทุกชนิดมีเปอรเซ็นตการเปลี่ยนแปลงน้ําตาลซูโครสและอิ<br />

นูลินลดลงเมื่ออุณหภูมิการผลิตสูงขึ้น<br />

ยกเวนลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 และลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1<br />

มีสวนปริมาณกลูโคสและฟรุกโทสขณะใหความรอนที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

พบวา ลูกกวาด<br />

ทุกชนิดมีแนวโนมวามีปริมาณกลูโคสและฟรุกโทสสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิการผลิตสูงขึ้น<br />

และเมื่อ<br />

เปรียบเทียบระหวางลูกกวาดสูตรพื้นฐานและลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูพบวาปริมาณน้ําตาลกลูโคสที่<br />

เกิดจากลูกกวาดสูตรพื้นฐานจะมีปริมาณมากกวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

เชนเดียวกับปริมาณ<br />

น้ําตาลฟรุกโทสพบวาปริมาณน้ําตาลฟรุกโทสที่เกิดจากลูกกวาดสูตรพื้นฐานจะมีปริมาณมากกวา<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน ยกเวนที่อุณหภูมิ<br />

160 o C พบวาปริมาณน้ําตาลกลูโคสของลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลินมีปริมาณมากกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

3. การศึกษาคาสีของลูกกวาดที่อุณหภูมิการผลิตสุดทายตางๆ<br />

พบวา เมื่ออุณหภูมิการผลิต<br />

สุดทายสูงขึ้นลูกกวาดทุกตัวอยางมีแนวโนมคาความสวางลดลงโดยตัวอยางลูกกวาดในกลุมเดียวกัน<br />

พบวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินมีคาความสวางนอยกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

ตรงขามกับแนวโนม<br />

คาสีเหลืองของลูกกวาดซึ่งพบวาเมื่ออุณหภูมิการผลิตสูงขึ้นลูกกวาดทุกตัวอยางมีแนวโนมแสดงสีใน<br />

พิสัยแถบสีเหลืองเพิ่มขึ้น<br />

โดยในชวงอุณหภูมิการผลิตตั้งแต<br />

135 -155 o C พบวา ลูกกวาดสูตรดัดแปลง<br />

อินูลินมีคาพิสัยแถบสีเหลือง มากกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐานในกลุมเดียวกัน<br />

ยกเวนที่อุณหภูมิการผลิต<br />

160 o C ที่ลูกกวาดสูตรพื้นฐานมีคาพิสัยแถบสีเหลือง<br />

มากกวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน และในชวง<br />

อุณหภูมิการผลิตตั้งแต<br />

135 -155 o C พบวา ลูกกวาดทุกตัวอยาง แสดงสีในพิสัยแถบสีเขียว ยกเวนที่<br />

อุณหภูมิ 160 o C ซึ่งแสดงสีในพิสัยแถบสีแดง<br />

62


4. ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 มีคา Tg สูงกวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

1 ที่อุณหภูมิการผลิต<br />

เดียวกัน โดยมีคา Tg ในชวง 53.84 - 55.58 o C และมีเปอรเซ็นตความชื้นในชวง<br />

3.4 - 3.87 % สวน<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 2 มีคา Tg ต่ํากวาลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

2 ที่อุณหภูมิการผลิตเดียวกัน<br />

โดยมี<br />

คา Tg ในชวง 51.97 - 57.47 o C และมีเปอรเซ็นตความชื้นในชวง<br />

3.89 - 3.06 %<br />

จากขอ 2 และ 4 ตัวอยางลูกกวาดที่ผานการคัดเลือกเพื่อนํามาทดสอบทางประสาทสัมผัสคือ<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 ที่อุณหภูมิการผลิต<br />

155 o C และลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 2 ที่<br />

อุณหภูมิการผลิต 160 o C<br />

5. จากการศึกษาการเติมน้ํามะนาวเขมขน<br />

50 % ในปริมาณ 4, 5, และ 6% เพื่อเพิ่มวิตามินซีใน<br />

ลูกกวาด และหาแนวโนมความชอบตอรสเปรี้ยวในลูกกวาดแบบแข็งที่ใชอินูลินพบวา<br />

ปริมาณน้ํา<br />

มะนาว 5 % ในทั้ง<br />

2 สูตร ไดคะแนนความชอบมากที่สุดแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ<br />

(p


ประมาณ 2.3 เทาเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณวิตามินซีที่มีในน้ํามะนาวเขมขนเริ่มตนคือ<br />

21 มิลลิกรัม/<br />

100 มิลลิลิตร<br />

64


ขอเสนอแนะ<br />

1. จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน 1 ซึ่งมีอัตราสวนอิ<br />

นูลินมากกวาไดรับคะแนนความชอบตอคาความแข็ง และการละลายในปากนอยกวาลูกกวาดสูตร<br />

ดัดแปลงอินูลิน 2 เนื่องจากผูทดสอบใหเหตุผลวาลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

1 มีความแข็งมากไป<br />

และการละลายในปากไมดี เนื่องจากอินูลินที่ใชในการทดลองนี้มีคาเฉลี่ย<br />

DP เทากับ 13 ดังนั้นสามารถ<br />

แกไขไดดวยการใชอินูลินที่มีคาเฉลี่ย<br />

DP สูงขึ้น<br />

เพื่อเพิ่มโพลีเมอรสายโซสั้นๆและโอลิโกแซ็คคาไรด<br />

ทําใหการละลายในน้ําดีขึ้นและลดความหนืดของระบบลง<br />

2. เนื่องจากลูกกวาดแบบแข็งเมื่อถูกบดจะยิ่งดูดความชื้นไดงายขึ้น<br />

ดังนั้นระหวางการบด<br />

เตรียมตัวอยางควรทําอยางรวดเร็ว และเก็บในภาชนะที่กันความชื้น<br />

เพื่อปองกันการดูดความชื้นจาก<br />

ภายนอกซึ่งอาจจะมีผลตอการวิเคราะหตัวอยาง<br />

65


เอกสารอางอิง<br />

เครือขายขอมูลวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว.<br />

2545. Water Activity กับการควบคุมอายุการเก็บรักษา<br />

ผลิตภัณฑอาหาร. แหลงที่มา:<br />

http://www.phtnet.org/article/viewArticle.asp., 27 กุมภาพันธ<br />

2549.<br />

จินตนา ดํารงนุกูล. 2543. การวิเคราะหปริมาณวิตามินซีในน้ําผลไมสําเร็จรูป.<br />

วิทยานิพนธปริญญาโท,<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.<br />

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ. ม.ป.ป. โพลีเมอร. วิศวกรรมวัสดุ. Available Source: http://<br />

resource.wu.ac.th./2405-301/unit7_1. htm, 27 กุมภาพันธ 2549.<br />

สมทรง เลขะกุล. 2543. ชีวเคมีของวิตามิน. สํานักพิมพศุภวนิชการพิมพ, กรุงเทพฯ. 273 น.<br />

สุวรรณา สุภิมารส. 2543. เทคโนโลยีการผลิตลูกกวาดและช็อกโกเลต. สํานักพิมพจุฬาลงกรณ<br />

มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 493 น.<br />

อรุณรัศมี แสงศิลา. 2546. การพัฒนากรรมวิธีการผลิตน้ํามะนาวเขมขนและการประเมินอายุการเก็บ<br />

รักษา. วิทยานิพนธปริญญาโท, ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร,<br />

กรุงเทพฯ.<br />

AOAC. 1980. Official Methods of Analysis. 13 th Edition, Association of Official Analytical<br />

Chemists, Washington, D.C.<br />

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17 th Edition, Association of Official Analytical<br />

Chemists, Washington, D.C.<br />

Basu ,T.K. and C.J. Schorah. 1982. In: Vitamin C in Health and Disease. London: Croom Helm.<br />

66


Blaut, M., C. Criggs, M.D. Collins and G.W. Welling. 2002. Molecular biological methods for<br />

studying the gut microbiota: the EU human gut flora project. British journal of nutrition. 87,<br />

Suppl. 2, S203-S211.<br />

Bonet, F.R.J. 1993. Low-Calorie bulk sweetener: Nutrition and metabolism. pp.36-52. In F.R.J.<br />

Bonet (ed.). Low-Calorie Food and Food Ingredient. Blackie Academic Professional, New<br />

York.<br />

Cherbut, C. 2002. Inulin and oligofructose in the dietary fibre concept. British journal of nutrition.<br />

87, Suppl. 2, S159-S162.<br />

Crittenden, R.G. and M.J. Playne. 1996. Production, properties and applications of food-grade<br />

oligosaccharides. Trend in Food Sci. Technol. 7(11) : 353-360.<br />

Davies, C.G.A and T.P. Labuza. n.d. 1992. The Maillard Reaction Application to Confectionery<br />

Products. Department of Food Science and Nutrition University of Minnesota.<br />

Ellegard, L., H. Anderson and I. Bosaeus. 1997. Inulin and oligofructose do not influence the<br />

absorption of cholesterol or the excretion in ileostomy subjects. J. Clin. Nutrition. 51: 1-5.<br />

Franck, A. 2002. Technological functionality of inulin and oligofructose. British journal of<br />

nutrition. 87, Suppl. 2, S287-S291.<br />

Folkes, D.J.and Brookes A. Glucose Syrup: Science And Technology . 1983. Elsevier applied<br />

science pulishers London and New York. 197-245.<br />

Fujita, K., S. Hitahata, K. Hara and H. Hashimoto.1992. Production of Lactosucrose and Its<br />

Properties. Carbohydrate Research Laboratory, Ensuiko Sugar Refining Co., Ltd., Yokohama,<br />

Japan. 20 p.<br />

67


Fujiyama,T., T. Osawa, K.Mikuni, K. Hara, H.Hashimoto.and S.Kitahata. 1991a. Manufacturing of<br />

lactosucrose by using β–fructofuranosidase and its physical properties. Denpun Kagku<br />

38(1) : 1-7.<br />

Gennaro, S., G.G. Birch and B. Stancher. 2000. Studies on the physicochemical properties of inulin<br />

and inulin oligomers. Food Chemistry. Volume 68, Number 2, February, pp. 179-183(5)<br />

Gibson, G.R. and M.B. Roberfroid. 1995. Dietary modulation of the human colonic microflora:<br />

introducing the concept of prebiotics. Journal of nutrition. 125, 1401-1402.<br />

Hinrichs, W.L.J., M.G. Prinsen and H.W. Frijlink. 2001. Inulin glasses for the stabilization of<br />

therapeutic proteins. International Journal of Pharmaceutics. 215, 163-174.<br />

Ingram and H. Luthi. 1951. Microbiology of fruit juice. pp. 117-163. In D.K. Tressler and<br />

M.A.Joslyn (eds). Fruit and Vegetable Juice Processing Technology. AVI Publ. Co., Westport<br />

Connecticut.<br />

International Starch Institute. 1999. Equilibrium Relative Humidity.Available Sourse: http://starch<br />

equilibrium relative humidity.com, March 1, 2006.<br />

Jeanny J. 2003. European market developments in prebiotic and probiotic-containing foodstuffs.<br />

British journal of nutrition. 80, Suppl. 231-233.<br />

Kathy, R. and Niness. 1999. Inulin and oligofructose: What are they ? Nutritional and health<br />

benefits of inulin and oligofructose. American society for nutritional sciences. 1402S-<br />

1406S.<br />

Kefford, J.F. 1959. The chemical constituents of citrus fruits . Adv.Food Res. 9: 258-372.<br />

68


Kim, Y. and S.S. Wang. 2001. Kinetic study of thermally induced inulin gel. Journal of<br />

foodscience. 66(7), 991-997.<br />

Kolida, S., K. Tuohy and G. R. Gibson. 2002. Prebiotic effects of inulin and oligofructose. British<br />

journal of nutrition. 87, Suppl. 2, S193-S197.<br />

Marcel, B. and Roberfroid. 2002. Functional foods: concepts and application to inulin and<br />

oligofructose. British journal of nutrition. 87, Suppl. 2, S139-S143.<br />

Marcel, B., Roberfroid, A.E. Jan, van Loo and Glenn R. Gibson. 1997. The bifidogenic Nature of<br />

chicory insulin and its hydrolysis products. Critical review. American society for nutritional<br />

sciences. 11-19.<br />

Menne, E., N. Guggenbuhl and M. Roberfroid. 2000. Fn-type chicory inulin hydrolysate has prebiotic<br />

effect in humans. J. Nutrition. 130: 1197-1199.<br />

Montserrat, R. and S. Alicia. 2001. Oligosaccharides: application in infant food. Early human<br />

development, 65 suppl: S43-S52.<br />

Narinder, K. and A.K Gupta. 2002. Application of inulin and oligofructose in health and nutrition.<br />

J.Bioscience. 27 (7): 703-714.<br />

Niness, A.R. 1999. Inulin and Oligofrutose: what are they? J. Nutrition. 130: 1402S-1406S.<br />

Oku, T. 1994. Special physiological functions of newly developed mono-and oligosaccarides, pp.<br />

202-218. In I. Goldberg (ed.). Functional Foods. Chapman and Hall, New York.<br />

Paul, A. and A. Coussement. 1999. Inulin and Oligofructose: Safe Intakes and legal status. American<br />

society for nutritional sciences. 1412S-1417S.<br />

69


Phillips, G.O. and P.A. Williams. 2002. Handbook of hydrocolloids.CRC Press Boca Raton Boston,<br />

New York Washigton, D.C. 397-402.<br />

Richard, W. 2006. Freezing and Qulity of Frozen foods. University of Wisconsin-Mandision. 38p.<br />

Roos, Y. 1993. Melting and glass transitions of low molecular weight carbohydrates. Carbohydrate<br />

Research. 238: 39-48.<br />

Sawamura M., K. Takemoto, Y. Matsuzaki, H. Ukeda and H.Kusunose. 1994. Indtification of two<br />

degradation products from aqueous dehydroascorbic acid. J. Agric. Food Chem. 42: 1200-<br />

1203.<br />

Shu, CK. 1998. Flavor components gernerated from inulin. J. Agric. Food Chem. 46: 1964-1965.<br />

Smidova, I., J. Copikova , M. Maryska and M.A. Coimbra. 2003. Crystals in Hard Candies. Czech J.<br />

Food Science. 21 (5): 185-191.<br />

Silva, R. 1997. Inulin a functional ingredient for the baking industry. American Institues of<br />

Baking Research Department Technical Bulletin.<br />

Tannock, G. 2002. Methodologies for quantification of faecal bacteria: application to Prebiotic<br />

effects. British journal of nutrition. 87, Suppl. 2, S199-S201.<br />

Ted, J. and MM. Harris. 2000. Kinetics of Formation of Di-D-fructose Dianhydrides during Thermal<br />

Treatment of Inulin. J. Agric. Food Chem. 48: 1823-1837.<br />

Tomomatsu, H. 1994. Health effects of oligosaccharides. Food Technol. 48 (10): 61-65.<br />

70


Tony, W.Y. 1996. Physicochemical properties of Inulin. Chemical and Biochemical Engineering,<br />

Rutgers University.<br />

Tuohy, KM., S. Kolida and GR. Gibson. 2001. The prebiotic effects of biscuits containing partially<br />

hydrolyzed guar gum and fructooligosaccharides. British journal of nutrition. 86, 341-348.<br />

Wedzicha, B.L. 1984. Chemistry of sulphur dioxide in foods. Elsevier. London.<br />

Young, J. 1998. European market developments in prebiotic and probiotic-containing foodstuffs.<br />

British journal of nutrition. 80, Suppl. 231-233.<br />

Zimeri, J.E. and J.L. Kokini. 2002. The ettect of moisture content on the crystallinity and glass<br />

transion temperature of inulin. Carbohydrate Polymers. 48, 299-304.<br />

71


ภาคผนวก<br />

72


ภาคผนวก ก<br />

อินูลิน (Frutafit ® HD) จากบริษัทเฮลมมหาบุญ จํากัด<br />

ประกอบดวย<br />

คารโบไฮเดรต<br />

อินูลิน (DP 2-60) 93.3 %<br />

ฟรุคโทส 2.7 %<br />

กลูโคส 0.6 %<br />

ซูโครส 3.5 %<br />

เถา 0.02%<br />

คาเฉลี่ยความยาวสายโซ<br />

(DP) DP 13<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก1 อินูลิน (Frutafit ®HD) จากบริษัทเฮลมมหาบุญ จํากัด<br />

73


1. การวิเคราะหคา Tg ของตัวอยางลูกกวาดโดยเครื่อง<br />

Diffrential Scaning Calorimetry ;DSC รุน<br />

Mettler Toledo DSC822 e<br />

การเตรียมตัวอยางและการวิเคราะห<br />

ชั่งตัวอยาง<br />

5-10 mg ใสในอะลูมิเนียมแพนปดฝาดวย crucibles sealing (ภาพที่<br />

3) วางในชอง<br />

ใสตัวอยางโดยมีแพนเปลาเปน reference เพิ่มอุณหภูมิจาก<br />

20 o C- 100 o C ดวยอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ<br />

เทากับ 10 o C/min ทดสอบภายใตบรรยากาศไนโตรเจนเพื่อปองกันตัวอยางเกิดการออกซิเดชั่น<br />

ขอ<br />

มูลคาการเปลี่ยนแปลงความจุความรอนจากตัวอยางถูกวิเคราะหดวยโปรแกรม<br />

STAR e version 8.10<br />

โดยที่คา<br />

Tg เปนการเปลี่ยนแปลงแบบ<br />

second-order transition เปนชวงที่มีการเปลี่ยนแปลง<br />

heat flow<br />

ใน DSC thermogram และจุดกึ่งกลางของ<br />

slope ที่มีการเปลี่ยนแปลงบน<br />

thermogram ถือวาเปนคา Tg<br />

ของตัวอยางที่ไดจากการวิเคราะห<br />

โดยรูปที่<br />

4 แสดงคา Tg บน thermogram จากเครื่อง<br />

DSC ของ<br />

ตัวอยางลูกกวาดทางการคา (รูปบน) และตัวอยางลูกกวาดผสมอินูลิน 75% อัตราสวน 7 ตอ 3 อุณหภูมิ<br />

155 o C (รูปลาง)<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก2 เครื่องDSC<br />

รุน<br />

Mettler Toledo DSC822 e<br />

74


ภาพผนวกที่<br />

ก3 เครื่องคูลซิเบิ้ลใชปดฝาอะลูมิเนียมแพนที่ใสตัวอยางกอนเขาเครื่อง<br />

DSC<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก4 แสดงโครมาโตรแกรมที่ไดจากเครื่อง<br />

DSC ของลูกกวาดทางการคา<br />

75


Tg 50.66<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก5 แสดงแสดงโครมาโตรแกรมที่ไดจากเครื่อง<br />

DSC ของลูกกวาดผสมอินูลิน<br />

2. การวิเคราะหปริมาณน้ําในตัวอยางลูกกวาดดวยเครื่อง<br />

Karl fisher รุน<br />

DL 38 ของบริษัทเมลเลอร<br />

โทเลโด<br />

<br />

หลักการคือการวิเคราะหหาปริมาณน้ําในตัวอยาง<br />

โดยเริ่มตนจากระบบการทํางานตองไตเตรต<br />

น้ําในตัวทําละลายใหหมดไปกอน<br />

(pretitration) จากนั้นหาอัตราการแพรของน้ําในอากาศวาเขาสู<br />

ระบบปริมาณเทาไหร (Drift หรือ Blank ของระบบ) จึงหาความเขมขนของ KF reagent และสุดทายถึง<br />

ทําการฉีดตัวอยาง การหาปริมาณน้ําในตัวอยางอาศัยสมการโดย<br />

R.W.Bunsen เปนผูคนพบ<br />

I2 + SO2 + 2H2O 2HI + H2SO4 ทําใหสมการนี้สามารถใชหาปริมาณน้ําในตัวอยางที่ในระบบ<br />

non-aqueous system ที่มีซัลเฟอรได<br />

ออกไซดมากเกินพอ โดยเมทานอลเปนตัวทําละลายที่ถูกพิสูจนวาเหมาะสม<br />

โดยใชไพริมิดีนเปนตัว<br />

neutralize กรดที่เกิดขึ้น<br />

(HI และ H2SO4 ) ดังนั้นสมการใน<br />

Karl fisher จึงแบงเปน 2 ขั้นตอน<br />

I2+ SO2 + 3Py + H2O 2Py-H + I - + Py SO3 Py SO3 + CH3OH Py-H + -<br />

CH3SO4 ตามสมการเหลานี้ปฏิกิริยาระหวางไอโอดีนและน้ําเกิดขึ้นในอัตราสวน<br />

1 ตอ 1<br />

76


การเตรียมตัวอยางและการวิเคราะห<br />

ลูกกวาดถูกบดอยางละเอียด ชั่งตัวอยางลูกกวาดที่ถูกบดแลวมา<br />

0.1 กรัม ใสในขวดแกวที่<br />

บรรจุตัวทําละลาย (titration beaker) ในที่นี้ใชฟอรมาไมดและเมทานอลอยางละ<br />

20 มิลลิลิตร ตั้งเวลาสั่ง<br />

เครื่องให<br />

stir 420 วินาที เมื่อเครื่องไตเตรทเสร็จรายงานปริมาณน้ําของตัวอยางลูกกวาดเปนเปอรเซ็นต<br />

ภาพที่ผนวก<br />

4 แสดงเครื่อง<br />

Karl fisher รุน<br />

DL 38<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก6 เครื่อง<br />

Karl fisher รุน<br />

DL 38<br />

3. การวิเคราะหปริมาณน้ําตาลในตัวอยางลูกกวาดดวยเครื่อง<br />

HPLC<br />

3.1 การเตรียมตัวอยาง<br />

เตรียมสารละลายลูกกวาด 0.2 มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร โดยชั่งตัวอยางลูกกวาด<br />

0.02 กรัม ในน้ํา<br />

กลั่นที่ผานการ<br />

deionize 100 มิลลิลิตร และกรองผานเมมเบรนที่มีความพรุน<br />

0.45 ไมครอน เก็บ<br />

สารละลายที่ไดไวในหลอดขนาด<br />

4 มิลลิลิตร ถาหากเก็บตัวอยางสารละลายลูกกวาดผสมอินูลินไวใน<br />

77


ตูเย็น<br />

อาจทําใหฟรุกแทนที่เปนสวนประกอบของอินูลินตกตะกอนไดใหนําไปอุนในหมออังน้ําที่<br />

อุณหภูมิ 80 o C กอนการวิเคราะห ดูดตัวอยางมา 0.9 มิลลิลิตรผสมกับ Internal standard 0.1 มิลลิลิตร<br />

ใสในขวด vial เพื่อเตรียมวิเคราะห<br />

3.2 วิธีการวิเคราะห<br />

การวิเคราะหหาปริมาณน้ําตาลโดยใชเครื่อง<br />

Shimadzu-HPLC ซึ่งประกอบดวย<br />

Shimadzu<br />

CBM-101 controller, Shimadzu LC-10AD pump และ Shimadzu In –Line Degasser ใชคอลัมนชนิด<br />

Carbohydrate Analysis Colum ขนาด 7.8 x 300 มิลลิเมตร (Aminex HPX-87C) โดยมีสวนของ Guard<br />

column (Gemini 5u 18.110A) และฉีดสารตัวอยางเขาสูคอลัมนดวยเครื่องฉีดสารอัตโนมัติ<br />

(Shimadzu<br />

Shimadzu SIL–10A Autosampler) ตรวจวัดปริมาณสารตัวอยางดวย Shimadzu RID-10A และควบคุม<br />

การทํางานของเครื่องโดยใชโปรแกรม<br />

Class LC 10 บนเครื่องคอมพิวเตอร<br />

ของ Dell ที่ตอพวงกับ<br />

เครื่อง<br />

HPLC สภาวะที่ใชวิเคราะหดังนี้<br />

Mobile phase น้ํากลั่น<br />

deionize<br />

Detector temperature 40 องศาเซลเซียล<br />

Column temperature 80 องศาเซลเซียล<br />

Inject volumn 20 ไมโครลิตร<br />

Flow rate 0.6 มิลลิลิตรตอนาที<br />

Analysis time 30 นาที<br />

Detector RI detector<br />

Calibration Internal standard calibration<br />

3.3 การเตรียมสารละลายน้ําตาลมาตรฐาน<br />

เตรียม stock สารละลายน้ําตาลมาตรฐานของน้ําตาลฟรุกโทส,<br />

กลูโคส, ซูโครส และอินูลิน 0.3<br />

มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร โดยชั่งน้ําหนักน้ําตาลดังกลาวชนิดละ<br />

0.03 กรัม ± 0.0001 กรัม และละลายดวย<br />

น้ํากลั่น<br />

deionize ปรับปริมาตรเปน 100 มิลลิลิตร เจือจางใหมีความเขมขน 20 40 60 จนถึง 260<br />

มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร ตามลําดับ สวนสารละลายน้ําตาลมาตรฐาน<br />

Internal standard ใชน้ําตาลไซลิทอล<br />

78


1 มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร เตรียมโดยชั่งน้ําหนักน้ําตาลไซลิทอล<br />

0.1 กรัม ± 0.0001 กรัม และละลายดวย<br />

น้ํากลั่น<br />

deionize ปรับปริมาตรเปน 100 มิลลิลิตร นําสารละลายน้ําตาลมาตรฐานทุกชนิดและทุกความ<br />

เขมขนกรองผานเมมเบรนที่มีความพรุน<br />

0.45 ไมครอน เก็บในขวดใสตัวอยางขนาด 4 มิลลิลิตร แลว<br />

นําไปวิเคราะหดวยเครื่อง<br />

HPLC โดยสภาวะการวิเคราะหเหมือนกับตัวอยาง คํานวณความเขมขนที่<br />

แทจริง (ตัวอยางการคํานวณแสดงดังภาคผนวก ข)<br />

ภาพผนวกที่<br />

ก7 เครื่อง<br />

HPLC ของบริษัท Shimadzu<br />

4. การวิเคราะหปริมาณวิตามินซีในตัวอยางลูกกวาดดวยวิธีไทเทรต (A.O.A.C., 2000)<br />

4.1 การเตรียมสารละลาย<br />

4.1.1 สารละลายกรดเมตาฟอสฟอริกเขมขนรอยละ 3 เตรียมโดยละลายกรดเมตา<br />

ฟอสฟอริก (HPO3) 15 กรัม ดวยน้ํากลั่นที่ตมรอนประมาณ<br />

60 o C ในขวดรูปชมพู ขนาด 500<br />

มิลลิลิตร ทิ้งใหเย็นแลวเติมกรดอะซีติก<br />

(CH3COOH) 40 มิลลิลิตร ปรับปริมาตดวยน้ํากลั่นจนครบ<br />

(เตรียมทิ้งไวไมเกิน<br />

1 สัปดาหและเก็บไวในตูเย็น)<br />

79


4.1.2 สารละลาย Dye เขมขนรอยละ 0.025 เตรียมโดยละลายเกลือโซเดียมของ<br />

2, 6- dichlorophenol indophenol Na salt 50 มิลลิกรัม ในน้ํากลั่นที่ตมรอน<br />

ประมาณ 60 o C ปริมาตร<br />

150 มิลลิลิตร ซึ่งมีโซเดียมไฮโดรเจนคารบอเนต<br />

(NaHCO3) ละลายอยูกอนแลว<br />

42 มิลลิกรัม ทําใหเย็น<br />

และปรับปริมาตรจนได 200 มิลลิลิตร กรองดวยกระดาษกรองเบอร 1 แลวเก็บในขวดสีชา (เตรียมทิ้ง<br />

ไวไมเกิน 1 สัปดาหและเก็บไวในตูเย็น)<br />

4.1.3 สารละลายกรดแอสคอรบิกมาตรฐาน (1มิลลิกรัมตอมิลลิลิตร) เตรียมโดยละลาย<br />

สารมาตรฐานกรดแอสคอรบิก 50 มิลลิกรัม ดวยสารละลายกรดเมตาฟอสฟอริกเขมขนรอยละ 3<br />

พอประมาณในขวดปรับปริมาตรขนาด 50 มิลลิลิตร แลวปรับปริมาตรจนครบ 50 มิลลิลิตรดวย<br />

สารละลายเดิม<br />

ปเปตสารละลายกรดแอสคอรบิก 2 มิลลิลิตร ลงในขวดรูปชมพูปริมาตร<br />

125<br />

มิลลิลิตร เติมกรดเมตาฟอสฟอริกเขมขนรอยละ 3 ลงไป 5 มิลลิลิตร ไทเทรตดวยสารละลายสี 2,6 ได<br />

คลอโรฟนอล อินโดฟนอล จนเกิดสีชมพูคงตัว 15 วินาที<br />

คํานวณแฟคเตอรสี (F) = 1*ปริมาตรสารละลายกรดแอสคอรบิกที่ใช<br />

(มิลลิลิตร)<br />

ปริมาตรสารละลายสีที่ใชไทเทรต<br />

หาปริมาตรสี 2,6 ไดคลอโรฟนอล อินโดฟนอลที่ใชในการไทเทรตสารละลาย<br />

blank ซึ่งประกอบดวย<br />

สารละลายกรดเมตาฟอสฟอริกเขมขนรอยละ 3 จํานวน 7 มิลลิลิตรและเติมน้ําลงไป<br />

15 มิลลิลิตร<br />

จากนั้นจดปริมาตรสีที่ทําใหสารละลาย<br />

blank เปลี่ยนเปนสีชมพู<br />

(B)<br />

4.2 การเตรียมตัวอยาง<br />

บดตัวอยางลูกกวาดและ ชั่งตัวอยางลูกกวาด<br />

5 กรัม ละลายดวยสารละลายกรดเมตาฟอสฟอริก<br />

เขมขนรอยละ 3 จํานวน 40 มิลลิลิตร ปเปตตัวอยางมา 10 มิลลิลิตร ใสลงในขวดรูปชมพูปริมาตร<br />

125<br />

มิลลิลิตร ไทเทรตดวยสารละลายสี 2,6- ไดคลอโรฟนอล อินโดฟนอล จนเกิดสีชมพูคงตัว 15 วินาที<br />

80


4.3 การคํานวณหาปริมาณกรดแอสคอรบิก<br />

ปริมาณกรดแอสคอรบิก (มิลลิกรัม/กรัม) = (X-B) x (F/E) x (V/Y)<br />

โดยที่<br />

X = ปริมาตรของสารละลายสีที่ใชไทเทรตตัวอยาง<br />

B = ปริมาตรของสารละลายสีที่ใชไทเทรต<br />

blank<br />

F = คาแฟคเตอรสี<br />

E = จํานวนกรัมของตัวอยางที่ใชทดสอบ<br />

V = ปริมาตรของสารละลายกรดเมตาฟอสฟอริกเขมขนรอยละ 3 ที่เจือจางตัวอยาง<br />

Y = ปริมาตรของสารละลายตัวอยางที่ถูกไทเทรต<br />

81


ภาคผนวก ข<br />

1. การคํานวณปริมาณน้ําตาลในตัวอยางลูกกวาดจากการวิเคราะหดวยเครื่อง<br />

HPLC<br />

1. 1 การหาคา Response factor (RF ) ของน้ําตาล<br />

Standard<br />

่<br />

่<br />

RF = (As*Ci)<br />

(Ai*Cs)<br />

As = พื้นที<br />

peak ของน้ําตาลตัวอยาง<br />

Ai = พื้นที<br />

peak ของ internal standard<br />

Cs = ความเขมขนของน้ําตาลแตละชนิดหนวยเปน<br />

ppm<br />

Ci = ความเขมขนของ xylitol เปน internal standard หนวยเปน ppm<br />

ตารางผนวกที่<br />

ข1. คา Response factor ของอินูลิน Retention Time 7.138<br />

As Ci Ai Cs RF RF เฉลี่ย<br />

37103 100 205243 18 1.00 1.01<br />

68864 100 207742 36 0.92<br />

113154 100 193717 54 1.08<br />

150598 100 202930 72 1.03<br />

187271 100 204212 90 1.02<br />

ตารางผนวกที่<br />

ข2. คา Response factor ของน้ําตาลซูโครส<br />

Retention Time 9.322<br />

As Ci Ai Cs RF RF เฉลี<br />

่ย<br />

260978 100 245938 90 1.18 1.16<br />

253451 100 205593 108 1.14<br />

312197 100 211254 126 1.17<br />

372747 100 220102 144 1.18<br />

380215 100 207286 162 1.13<br />

82


ตารางผนวกที่<br />

ข3. คา Response factor ของน ำตาลกลูโคส Retention Time 11.475<br />

As Ci Ai Cs RF RF เฉลี่ย<br />

9875 100 235310 4.5 0.93 0.87<br />

24500 100 225187 9 1.21<br />

34927 100 232833 18 0.83<br />

59845 100 235310 36 0.71<br />

84156 100 225963 54 0.69<br />

ตารางผนวกที่<br />

ข4. คา Response factor ของน ำตาลฟรุกโทส Retention Time 14.818<br />

As Ci Ai Cs RF RF เฉลี่ย<br />

7308 100 211570 4.5 0.77 0.99<br />

19908 100 221343 9 1.00<br />

41908 100 221570 18 1.05<br />

83164 100 238675 36 0.97<br />

127831 100 204852 54 1.16<br />

1.2 การคํานวณหาปริมาณน้ําตาลในตัวอยาง<br />

Cs = (As*Ci)<br />

(Ai*RF)<br />

่<br />

่<br />

Cs = ความเขมขนของน้ําตาลที่ตองการหาหนวยเปน<br />

ppm<br />

Ci = ความเขมขนของ internal standard หนวยเปน ppm<br />

As = พื้นที<br />

peak ของน้ําตาลที่ตองการหา<br />

Ai = พื้นที<br />

peak ของ internal standard<br />

RF = Response Factor เฉลี่ยของน้ําตาล<br />

83


ภาคผนวก ค<br />

ตารางผนวกที่<br />

ค1 เวลาโดยเฉลี่ยที่ใชในการละลายสวนผสมของตัวอยางลูกกวาดจากอุณหภูมิเริ่มตน<br />

27 o Cจน ถึงอุณหภูมิการผลิตสุดทายที่กําหนด<br />

อุณหภูมิ<br />

เวลา (นาที)<br />

( oC) พื้นฐาน<br />

1 พื้นฐาน<br />

2 ดัดแปลงอินูลิน 1 ดัดแปลงอินูลิน 2<br />

135 19.14 19.02 - -<br />

140 19.39 19.59 - -<br />

145 17.15 18.02 - -<br />

150 17.51 19.05 - 18.25<br />

155 17.34 19.12 22.45 21.51<br />

160 20.12 20.42 20.27 18.28<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

1 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 6:4<br />

สูตรพื้นฐาน<br />

2 = ลูกกวาดซูโครสตอกลูโคสซีรัปอัตราสวน 7:3<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 1 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 6:4<br />

สูตรดัดแปลงอินูลิน 2 = ลูกกวาดซูโครสตออินูลินอัตราสวน 7:3<br />

Tg ( o C)<br />

40<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

0 20 40 60 80 100<br />

Relative Humidity (%)<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

ลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

ภาพผนวกที่<br />

ค1 กราฟเปรียบเทียบคา Tg ของตัวอยางสูตรพื้นฐานและลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลินเมื่อ<br />

เก็บรักษาที่คาความชื้นสัมพัทธ<br />

ตางๆเปนเวลา 1 เดือน<br />

84


moisture content (%dry basis)<br />

12<br />

10<br />

8<br />

6<br />

4<br />

2<br />

0<br />

0<br />

33 75 93<br />

ERH (%)<br />

ภาพผนวกที่<br />

ค2 กราฟเปอรเซ็นตความชื้นในลูกกวาดสูตรพื้นฐานและลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

เมื่อเก็บรักษาที่คา<br />

ERH ตางๆ เปนเวลา 1 เดือน<br />

ปริมาณวิตามินซี<br />

(mg/100ml)<br />

10<br />

8<br />

6<br />

4<br />

2<br />

0<br />

วิตามินซี<br />

ลูกกวาดสูตรพื้นฐาน<br />

ลูกกวาดสูตรดัดแปลงอินูลิน<br />

0 1 2 3 4<br />

สัปดาหที่<br />

ภาพผนวกที่<br />

ค3 กราฟการเปลี่ยนแปลงปริมาณวิตามินซีในลูกกวาดจากตารางที่<br />

17<br />

85


ประวัติการศึกษาและการทํางาน<br />

ชื่อ<br />

- สกุล นางสาวชีพหทัย ชีพจําเปน<br />

วัน เดือน ป เกิด 13 ตุลาคม 2522<br />

สถานที่เกิด<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

ประวัติการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร<br />

วิทยาเขตบางเขน<br />

สถานที่ทํางานปจจุบัน<br />

-

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!