13.07.2015 Aufrufe

คําชี้แจงเกี่ยวกับ คําชี้แจงเกี่ยวกับความเป - โรงเรียนนายเรือ

คําชี้แจงเกี่ยวกับ คําชี้แจงเกี่ยวกับความเป - โรงเรียนนายเรือ

คําชี้แจงเกี่ยวกับ คําชี้แจงเกี่ยวกับความเป - โรงเรียนนายเรือ

MEHR ANZEIGEN
WENIGER ANZEIGEN
  • Keine Tags gefunden...

Erfolgreiche ePaper selbst erstellen

Machen Sie aus Ihren PDF Publikationen ein blätterbares Flipbook mit unserer einzigartigen Google optimierten e-Paper Software.

1<strong>คําชี้แจงเกี่ยวกับ</strong>ความเป็นมาของความเป็นมาของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต1. ความเป็นมาจากการที่ กห. มีนโยบายให้ รร.จปร. รร.นร. และ รร.นอ. ปรับหลักสูตรการศึกษา จากหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี เป็น 4 ปี นั้น ทําให้ รร.นร. ต้องเน้นการศึกษาด้านวิชาการอุดมศึกษาในช่วง 4 ปีดังกล่าว และลดการศึกษาด้านวิชาชีพทหารเรือลงโดยยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นชาวเรือไว้คือให้สามารถเดินเรือได้ และปรับวัตถุประสงค์ของการศึกษาในด้านวิชาชีพทหารเรือเป็น "ให้ความรู้และประสบการณ์ในการเดินเรือและพื้นฐานวิชาชีพทหารเรือเพียงพอที่จะศึกษาต่อด้านวิชาชีพทหารเรือชั้นสูงตามพรรค-เหล่าต่างๆ ต่อไป" ด้วยเหตุนี้ การศึกษาด้านวิชาชีพทหารเรือจึงต้องลดเนื้อหาในด้านการปฏิบัติการทางเรือลง และได้จัดทําหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิทยาการทหารเรือขึ้นอีก 1 ปี ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากหลักสูตรการศึกษาของ<strong>โรงเรียนนายเรือ</strong> ระดับปริญญาตรี 4 ปี เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านวิชาชีพทหารเรือในแต่ละพรรค-เหล่าต่อไป2. จุดมุ่งหมายหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานายทหารสัญญาบัตรซึ่งสําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนาย ให้มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญในด้านวิชาชีพทหารเรือชั้นสูงตามพรรค-เหล่าต่างๆพร้อมที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ตามพรรค-เหล่าต่าง ๆ ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 พรรค-เหล่า คือ พรรคนาวินพรรคกลิน และพรรคนาวิกโยธิน โดยแต่ละพรรค-เหล่า มีจุดมุ่งหมายดังนี้พรรคนาวิน เพื่อให้นายทหารพรรคนาวินที่สําเร็จการศึกษาจาก<strong>โรงเรียนนายเรือ</strong> มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาชีพทหารเรือในส่วนของพรรคนาวินอย่างเพียงพอ พร้อมที่จะปฏิบัติงานในเรือหลวงของกองทัพเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพพรรคกลิน เพื่อให้นายทหารพรรคกลินที่สําเร็จการศึกษาจาก<strong>โรงเรียนนายเรือ</strong> มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาชีพทหารเรือในส่วนของพรรคกลินอย่างเพียงพอ พร้อมที่จะปฏิบัติงานในเรือหลวงของกองทัพเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพพรรคนาวิกโยธิน เพื่อให้นายทหารพรรคนาวิกโยธินที่สําเร็จการศึกษาจาก<strong>โรงเรียนนายเรือ</strong> มีความรู้ความเข้าใจในวิชาการของทหารนาวิกโยธิน และเสริมสร้างความเป็นผู้นําจนสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นําหน่วยระดับผู้บังคับกองร้อยปืนเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. มาตรฐานหลักสูตรการจัดทําหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตได้คํานึงถึงข้อกําหนดทางวิชาการตามที่สภาการศึกษาวิชาการทหาร และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต พ.ศ.2533 ((ปัจจุบันใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ พ.ศ.2548 โดยอยู่ความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) นอกจากนี้ด้านวิชาชีพทหารเรือเรื่องการเดินเรือและนําเรือได้ใช้แนวทางตามที่องค์การทางทะเลต่างประเทศ (International MaritimeOrganization - IMO) กําหนด เมื่อสําเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิทยาการทหารเรือ


24. การจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิทยาการทหารเรือ มีระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปี จัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค ภาคการศึกษาละ 18 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อนประมาณ 16 สัปดาห์ ตลอดหลักสูตรมีหน่วยกิตรวม 42 หน่วยกิต โดยมีโครงสร้างหลักสูตรดังนี้หมวดวิชาทั่วไป จํานวน 7 หน่วยกิต ศึกษาทุกพรรค-เหล่า ใช้เวลาศึกษาประมาณ 8 สัปดาห์หมวดวิชาเฉพาะพรรค-เหล่าเหล่า จํานวน 35 หน่วยกิต แบ่งเป็นภาคทฤษฎี 29 หน่วยกิต และการฝึกงาน 6หน่วยกิต จัดการศึกษาโดยแยกศึกษาตามพรรค-เหล่าต่างๆ โดยศึกษาในภาคต้นประมาณ 10 สัปดาห์ ภาคปลายประมาณ 18 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อนประมาณ 16 สัปดาห์5. หน่วยควบคุมและหน่วยดําเนินการรร.นร. จะเป็นหน่วยควบคุมการศึกษา เนื่องจาก รร.นร. เป็นหน่วยประสาทวุฒิบัตร/ปริญญา สําหรับหน่วยดําเนินการศึกษาและการฝึกนั้นยังไม่ได้กําหนด แต่มีแนวทางดังนี้(1) รร.นร. ดําเนินการทั้งหมด โดยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยต่างๆเช่น กร. นร. อร. อล. ฯลฯ(2) รร.นร. ดําเนินการศึกษาเฉพาะหมวดวิชาทั่วไป (7 หน่วยกิต 3 เดือน) สําหรับการศึกษาและฝึกเฉพาะด้านในแต่ละพรรค-เหล่านั้น ให้หน่วยผู้ใช้นําไปศึกษาและฝึกเอง ตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตรโดย รร.นร. เป็นหน่วยประสานและควบคุมให้เป็นไปตามหลักสูตรอนึ่ง แนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับการศึกษาและการฝึกในหลักสูตรอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บังคับบัญชาและสถานการณ์ต่างๆในขณะนั้น6. การดําเนินการจนถึงปัจจุบันหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิทยาการทหารเรือได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตรการศึกษา รร.นร. (เสธ.ทร.เป็นประธาน) และ ทร. รวมทั้งได้รับการอนุมัติจากสภาการศึกษาวิชาการทหาร(กห.)แล้ว เมื่อปี 2547หลักสูตรนี้เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่ เม.ย.49 โดยรับนายทหารที่สําเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษารร.นร. พ.ศ.2545 เข้าศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งนอกจาก รร.นร. จะจัดคณาจารย์เพื่อให้การศึกษาตามรายวิชาของหลักสูตรแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนอาจารย์ผู้สอนและทรัพยากรการศึกษา/การฝึกจากหน่วยต่างๆเป็นอย่างดีต่อมาในปี 2551 ได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงสถานที่การเรียนการสอนส่วนใหญ่ไปให้หน่วยต่างๆใน ทร.รับผิดชอบดูแลการเรียนการสอนและการฝึก ภายใต้การกํากับดูแลและควบคุมการศึกษาของ รร.นร.ประกอบด้วย กฝร.กร. ศฝ.นย. อร. และ อล.ทร. ซึ่งในช่วงเดียวกันนี้ กร. ได้ขออนุมัติ ทร. จัดกองเรือฝึกเพื่อนํา นทน.ป.บัณฑิตไปฝึกภาคต่างประเทศ ภายใต้การควบคุมและดําเนินการของ กร.ต่อมาในปี 2552 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายให้นํา นทน.ป.บัณฑิต กลับมาอยู่ในการดําเนินการของรร.นร. (รวมทั้งการฝึกภาคต่างประเทศ) โดยจะส่งเฉพาะ นทน. พรรคนาวิกโยธิน ไปรับการฝึกเฉพาะทางที่ศฝ.นย. ตามช่วงเวลาที่กําหนด และจัด นทน. ทุกนายไปฝึกภาคต่างประเทศ


37. ปัญหาสําคัญที่ผ่านมา7.1 จํานวนหน่วยกิตที่มากเกินมาตรฐานหลักสูตร ตามข้อกําหนดของเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ป.บัณฑิตซึ่งมีระยะเวลาศึกษา 1 ปีนั้น กําหนดให้มีจํานวนหน่วยกิตในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และให้จัดการศึกษาโดยเน้นวัตถุประสงค์ในการคิดและวิเคราะห์ในเชิงวิชาการและวิชาชีพ แต่ด้วยเหตุที่การจัดทําหลักสูตร ป.บัณฑิตของ รร.นร. มีที่มาจากการลดระยะเวลาศึกษาของ นนร. ลงเหลือเพียง 4 ปี และมีแนวโน้มที่จะให้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทตามแนวคิดของผู้บังคับบัญชาระดับสูงในขณะนั้น จึงทําให้กระบวนวิชาในหลักสูตรมีมากถึง 42 หน่วยกิต(เท่ากับหลักสูตรปริญญาโท) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนมีเวลาศึกษาและค้นคว้าในเชิงวิเคราะห์ในวิชาการและวิชาชีพ ทําให้การเรียนการสอนที่ผ่านมาเน้นการเรียนในห้องเรียนและการฝึกปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่(ซึ่งหากเป็นลักษณะเช่นนี้ก็ไม่จําเป็นต้องจัดทําหลักสูตร ป.บัณฑิต)7.2 ค่าใช้จ่ายต่อหัวของ นทน.ป.บัณฑิตสูงมากจากการรวบรวมข้อมูลในช่วงปี 52-53 ค่าใช้จ่ายต่อหัวของนทน.พรรคนาวินประมาณ 9 แสนบาท นทน.พรรคกลินประมาณ 1 ล้านบาท นทน.พรรคนาวิกโยธินประมาณ2 ล้านบาท (ค่าสอน + ค่าใช้จ่ายในการฝึกเฉพาะพรรคเหล่า + ค่าใช้จ่ายในการฝึกภาคต่างประเทศ + ค่าวัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรสนับสนุนการศึกษา) สาเหตุเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการศึกษาและฝึกจากเดิมที่เคยกําหนดไว้ เช่น พรรคนาวินมีการฝึกเพิ่มเติมที่ กฝร.กร. ซึ่งต้องใช้บุคลากรและทรัพยากรในการฝึกมากยิ่งขึ้น พรรคนาวิกโยธินมีการฝึกเพิ่มเติมในภาคสนามซึ่งต้องใช้จํานวนบุคลากรสนับสนุนการฝึกและค่าใช้จ่ายในการฝึกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มการฝึกภาคทะเลต่างประเทศโดย นทน. ทุกนายเข้าร่วมการฝึก จากเดิมที่ไม่มีการกําหนดไว้ในหลักสูตร (หลักสูตรกําหนดให้ฝึกงานในหน่วยต่างๆจํานวน 40 วัน คิดเป็น 6 หน่วยกิต)7.3 ปรับปรุงกระบวนวิชาในหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา รร.นรนร. พ.ศ.2553 (ฉบับปรับปรุง(ฉบับปรับปรุง)เนื่องด้วยหลักสูตรการศึกษา รร.นร. มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตรแตกต่างจากหลักสูตร รร.นร.ในปี 2545 ค่อนข้างมาก โดยในส่วนพรรคนาวินนั้น นนร. ลดกระบวนวิชาวิศวกรรมลงและเพิ่มกระบวนวิชาด้านวิทยาการทางเรือให้สอดคล้องกับข้อกําหนดของ IMO มากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงจําเป็นต้องปรับปรุงกระบวนวิชาในหลักสูตร ป.บัณฑิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรของ นนร. เพื่อลดความซ้ําซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพของการศึกษาในหลักสูตร ป.บัณฑิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป-------------------------------------

Hurra! Ihre Datei wurde hochgeladen und ist bereit für die Veröffentlichung.

Erfolgreich gespeichert!

Leider ist etwas schief gelaufen!