18.04.2014 Aufrufe

บทที่ 2 ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

บทที่ 2 ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

บทที่ 2 ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

MEHR ANZEIGEN
WENIGER ANZEIGEN

Erfolgreiche ePaper selbst erstellen

Machen Sie aus Ihren PDF Publikationen ein blätterbares Flipbook mit unserer einzigartigen Google optimierten e-Paper Software.

แผนการบริหารการสอนประจํา<strong>บทที่</strong> 2<br />

หัวขอเนื้อหา<br />

1. ประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน<br />

2. ประวัติการกระจายเสียงสากล<br />

ยุคการคิดคนโทรเลขและโทรศัพท<br />

ยุคการคิดคนวิทยุโทรเลข<br />

ยุคการคิดคนวิทยุกระจายเสียง<br />

ยุคการคิดคนวิทยุโทรทัศน<br />

3. ประวัติการกระจายเสียงในประเทศไทย<br />

ยุคเริ่มตนของวิทยุโทรเลข...วิทยุโทรศัพทถึงวิทยุกระจายเสียง<br />

ยุคบุกเบิกทดลองสงวิทยุกระจายเสียง<br />

ยุคกอตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

ยุคการขยายตัวของกิจการวิทยุกระจายเสียง<br />

ยุคการจัดตั้งสถานีวิทยุในรูปแบบการคา<br />

ยุคการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียง<br />

ยุคองคการสื่อสารมวลชนแหงประเทศไทย<br />

วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม<br />

เมื่อศึกษา<strong>บทที่</strong> 2 จบแลว ผูเรียนสามารถ<br />

1. อธิบายประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศนไดอยางถูกตอง<br />

2. อธิบายแยกแยะปจจัยที่มีอิทธิพลตอวิวัฒนาการของการกระจายเสียงได<br />

3. อธิบายถึงความเปนมาของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศนทั้งในสากลและในไทยได


22<br />

วิธีสอน<br />

1. ใหผูเรียนอานเอกสารประกอบการสอนลวงหนา<br />

2. บรรยายซักถามผูเรียนในระหวางการเรียนการสอน<br />

3. เปดโอกาสใหผูเรียนซักถามผูสอน<br />

4. สรุปทายคาบ<br />

กิจกรรมการเรียนการสอน<br />

1. ผูสอนบรรยายโดยใชแผนใส หรือ ใช power point ประกอบ<br />

2. ฉายวิดีทัศนเรื่องความเปนมาของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศนสากลและใน<br />

ประเทศไทย<br />

สื่อการเรียนการสอน<br />

1. แผนใส<br />

2. power point<br />

3. เทปวิดีทัศน<br />

การวัดและการประเมินผล<br />

1. สังเกตจากความสนใจ การตอบคําถาม และการแสดงความคิดเห็น<br />

2. ตรวจงานที่มอบหมาย


23<br />

<strong>บทที่</strong> 2<br />

ประวัติและวิวัฒนาการ<br />

ของวิทยุการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน<br />

ในสมัยโบราณ การติดตอสื่อสารยังอยูในวงจํากัด เปนเพียงการติดตอกันภายในสังคม<br />

ชุมชนเล็กๆ หรือภายในประเทศเทานั้น วิธีการในการติดตอสื่อสารก็ไมไดมีความสลับซับซอน<br />

มากมาย อาทิ วิธีการใชควันไฟ สัญญาณกลอง การทําสัญลักษณไวในถ้ํา เปนตน ซึ่งสัญญาณ<br />

เหลานี้จะตองมีการตกลงรับรูรวมกันระหวางผูสงสารและผูรับสารเพื่อใหเปนที่เขาใจในความหมาย<br />

ที่ตองการสื่อสาร แตเมื่อสังคมขยายกวางขึ้น หากจะใหการติดตอประสานงานดําเนินไปอยางมี<br />

ประสิทธิภาพนั้น จําเปนอยางยิ่งที่จะตองอาศัยวิธีดําเนินการสงขาวสารที่สะดวกรวดเร็ว สามารถ<br />

สงขาวสารไปไดในระยะทางไกลๆ และสามารถเชื่อถือไดแนนอน อาจกลาวไดวายิ่งสังคมมีความ<br />

เจริญมากขึ้นมากเทาไร ความจําเปนที่ตองการใหมีการติดตอที่รวดเร็วสะดวกและเชื่อถือได ก็มี<br />

เพิ่มมากขึ้นตามลําดับเทานั้น ในบทนี้จะกลาวถึงประวัติและวิวัฒนาการตั้งแตเริ่มตนของ<br />

วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน หรือการกระจายเสียงในสากลและในไทยนั่นเอง<br />

ประวัติการกระจายเสียงสากล<br />

จากการที่สังคมมนุษยขยายมากขึ้น ทําใหมนุษยหลายเผาพันธตางก็พยายามคิดคนและ<br />

ทดลองเพื่อใหไดประดิษฐกรรมใหมที่จะทําใหการติดตอสื่อสารในสังคมมีความรวดเร็วและ<br />

นาเชื่อถือ สําหรับวิธีการสื่อสารดวยระบบการกระจายเสียงในยุคเริ่มตนนั้น อาจกลาวไดวา การ<br />

วิวัฒนาการทางดานเทคนิคของการกระจายเสียง เปนเหตุผลเนื่องมาจาก การปฏิวัติอุตสาหกรรม ใน<br />

สมัยศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปนสมัยที่สังคมตะวันตกมีการเปลี่ยนแปลงไปอยางมาก เริ่มมีการขยาย<br />

อํานาจเพื่อจะสรางอาณาจักร คือจักรวรรดินิยม เนื่องมาจากความตองการที่จะแสวงหาวัตถุดิบที่จะ<br />

มาปอนโรงงานอุตสาหกรรมตลาดการคาที่เริ่มขยายขอบเขตกวางขึ้น วิธีการติดตอซื้อขาย<br />

แลกเปลี่ยนสินคา ซึ่งจําเปนจะตองมีการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงหาวิธีการใหมที่เหมาะสม เพราะถา<br />

จะใชวิธีการแบบเดิม เชน การใชมาหรือรถลากเพื่อบรรทุกสินคา พรอมกับอาศัยเปนพาหนะใน<br />

การสงขาวสารจากแหลงหนึ่งไปยังอีกแหลงหนึ่งนั้น เปนวิธีการที่ไมเหมาะสมกับกาลสมัยเสียแลว<br />

ดวยเหตุนี้เองจึงเปนที่คาดหวังกันโดยทั่วไปวา หากมีผูที่สามารถคนคิดวิธีการติดตอที่เหมาะสม<br />

และสามารถใชไดดีเพื่อเปนการแกไขปญหาดังกลาว ก็จะเปนประโยชนอยางยิ่งใหญตอสังคม ดวย


24<br />

แรงดลใจเชนนี้ ทําใหผูที่มีความรูพื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของกระแสไฟฟา เริ่มหันมาสนใจจะนํา<br />

ประโยชนจากคุณสมบัติของกระแสไฟฟา มาดัดแปลงใชในการสงสัญญาณติดตอสื่อสาร การ<br />

ประดิษฐคิดคนจึงไดเริ่มขึ้นนับแตนั้นเปนตนมา โดยจะแบงการกระจายเสียงสากลเปนยุคดังนี้<br />

1. ยุคการคิดคนโทรเลขและโทรศัพท<br />

ตั้งแตสมัยกรีก จนถึงตนศตวรรษที่ 18 มนุษยมีความรูเบื้องตนเกี่ยวกับไฟฟาสถิต<br />

(static electricity) แตพบปญหาในเรื่องของการไมสามารถเก็บไฟฟาสถิตที่เกิดขึ้นไวใชได มีบุคคล<br />

หลายคนที่พยายามแกไขปญหาอันนี้ไดในเวลาอันใกลเคียงกัน โดยเริ่มจากการคิดวัสดุที่เรียกวา<br />

Leyden Jar เปนที่เก็บบรรจุไฟฟา ผูที่นํา Leyden Jar มาใชก็คือ เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin<br />

Franklin) วิวัฒนาการขั้นตอไปนั้นเปนการเก็บบรรจุไฟฟาไวในแบตเตอรี่ โดย อเล็กซานโดร โวลตา<br />

(Alexsandro Volta) หลังจากนั้นมีบุคคลอีกหลายคนพยายามที่จะประดิษฐเครื่องมือในการผลิต<br />

กระแสไฟฟา อาทิ ไมเคิล ฟาราเดย (Michael Faraday) เปนตน<br />

ขั้นตอนทางดานเทคนิคที่จะนําไปสูการประดิษฐโทรเลขไฟฟา เริ่มตนตั้งแตทศวรรษที่<br />

1820 อังกฤษเปนชาติแรกที่คิดคนและประดิษฐเครื่องรับสงโทรเลขไฟฟาเพื่อความสะดวกในกิจการ<br />

เดินรถไฟ ตอมาในระยะป ค.ศ.1830 การคนควาที่นํามาสูการประดิษฐโทรเลขไฟฟาไดเกิดขึ้น<br />

มากมายในวงการวิทยาศาสตร จนกระทั่งชาวอเมริกันชื่อ แซมมวล เอฟ บี มอรส (Samuel F.B.<br />

Morse) ไดคิดประดิษฐโทรเลขไฟฟาซึ่งสามารถใชไดผลดีที่สุด สําเร็จในป 1835 วิธีการสงโทรเลข<br />

นั้นสงในลักษณะสัญญาณ (Code) สั้นๆ ยาวๆ (dots and dashes) ซึ่งในสมัยตอมาเปนที่รูจักกันดีใน<br />

ชื่อของรหัสมอรส (Morse Code)<br />

ภาพที่ 2.1 เครื่องโทรเลขไฟฟาของ แซมมวล เอฟ.บี.มอรส (Samuel F.B.Morse)<br />

ที่มา (Odyssey Maritime Discovery Center, 2006)


25<br />

ทันทีที่ประสบความสําเร็จ มอรส ไดเสนอขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อเปนทุนใน<br />

การปรับปรุงเครื่องมือใหสมบูรณและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น รัฐบาลไดตกลงใหความสนับสนุน<br />

ทางการเงินในการสรางโทรเลข ระหวางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กับ บัลติมอร รัฐแมรี่แลนด ขอความ<br />

แรกในการสงโทรเลขก็คือ “What Hath Cod Wrought (What has done and made?)” ขอความ<br />

ดังกลาวไดทําการสงโทรเลข เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1844 ซึ่งเปนที่ยอมรับโดยทั่วกันวา<br />

เทากับเปนการเปดศักราชใหมของการติดตอดวยพลังกระแสไฟฟา แตเนื่องจากการสงโทรเลขดวย<br />

รหัสมอรสมีความยุงยาก เพราะตองเขารหัส (encode) และถอดรหัส (decode) นักประดิษฐรุนตอมา<br />

จึงทุมเทคิดคนเครื่องมือที่สื่อสารกันไดดวยคําพูดแทนการใชรหัส ในป 1876 อเลกซานเดอร เก<br />

รแฮม เบลล (Alexander Graham Bell) และคณะผูชวยไดประสบความสําเร็จในการทดลองสงเสียง<br />

ของมนุษยผานสายไฟฟา สิ่งที่คนพบใหมของเบลล เรียกวา “โทรศัพท” และเปนผูยื่นขอจด<br />

ทะเบียนลิขสิทธิ์โทรศัพทเครื่องแรกในอเมริกา แตอยางไรก็ตามถึงแมวาโทรศัพทจะเปน<br />

เทคโนโลยีที่กาวหนากวาโทรเลข แตการติดตอสื่อสารทั้งคูตางก็ตองใชสายเปนตัวนําสัญญาณไป<br />

ถึงปลายทาง ทําใหถูกจํากัดใหติดตอกันไดระหวางผูสงสารและผูรับสารเทานั้น ไมสามารถ<br />

แพรกระจายขาวสารไปสูผูรับสารจํานวนมากได จึงทําใหเกิดการคนควาทดลองตอไป<br />

2. ยุคการคิดคนวิทยุโทรเลข<br />

ในชวงระยะเวลาเดียวกันกับที่โทรเลขและโทรศัพทกําลังพัฒนาการไปเรื่อยๆ นั้น ไดมี<br />

นักวิทยาศาสตรมากมายไดศึกษาคนควาเพื่อใหเกิดความเขาใจอยางลึกซึ้งถึงคุณสมบัติดานอื่นๆ<br />

ของพลังไฟฟา เชน การเรียนรูเรื่องการกระจายกระแสไฟฟา การเก็บสะสม การวัด การแปลง การ<br />

ขยายและอํานาจตางๆ ของไฟฟา ความรูตางๆ เหลานี้เองกอใหเกิดแนวความคิดที่บุคคลหลายคน<br />

นําไปใชในการทดลองประดิษฐวิทยุโทรเลขในเวลาตอมา<br />

ภาพที่ 2.2 เจมส คลาก แมกซเวล (James Clerk Maxwell)<br />

ที่มา (Heritage & Culture, 2006)


26<br />

เริ่มจากในป ค.ศ.1873 เจมส คลาก แมกซเวล (James Clerk Maxwell) ศาสตราจารยทาง<br />

ฟสิกสชาวสก็อตแลนด ไดรับการยกยองอยางมากวาเปนผูคนพบถึงความลี้ลับของคลื่น<br />

แมเหล็กไฟฟา โดยอาศัยทฤษฎีทางคณิตศาสตร เขาไดตีพิมพขอความในหนังสือ Treatise on<br />

Electricity and Magnetism วาพลังงานไฟฟานั้นมีจริงและสามารถพิสูจนไดดวยการคํานวณและ<br />

การสังเกตทําใหสามารถมองเห็นวารูปรางของพลังงานมีลักษณะอยางไร แมกซเวล ตั้งสมมุติฐาน<br />

ไววาความเร็วของแมเหล็กไฟฟานั้นนาจะเทากับความเร็วของแสง ซึ่งทฤษฎีของเขาไดรับความ<br />

สนใจอยางมาก<br />

อีก 10 ปตอมา ทฤษฎีของแมกซเวล ไดรับการพิสูจนโดย ไฮนริค เฮิรตซ (Heinrich Hertz)<br />

นักฟสิกสชาวเยอรมัน ไดทําการสาธิตใหเห็นถึงสภาพแทจริงของคลื่นแมเหล็กไฟฟา ดวยการ<br />

สรางเครื่องมือในหองทดลอง เพื่อศึกษาถึงการกระจายเสียงของกระแสไฟฟา ผลจากการสาธิต<br />

พิสูจนใหเห็นวาคลื่นแมเหล็กไฟฟามีอยูจริงและมีลักษณะเชนเดียวกับคลื่นแสง เฮิรตซตีพิมพบท<br />

พิสูจนของเขาในหนังสือ Electro – Magnetic Wave and Their Reflection ผลจากการคนพบครั้งนี้<br />

ทําใหเขาไดรับการยกยองวา เปนผูคนพบคุณลักษณะของคลื่นวิทยุ (radio wave) ซึ่งตอมาไดตั้งชื่อ<br />

เปนเกียรติแกเขาวา Hertzian Waves รวมทั้งนําชื่อของเขามาเรียกเปนชื่อของหนวยความถี่วิทยุดวย<br />

1 เฮิรตซเทากับ 1 ไซเกิลตอวินาที (1 Hertz = 1 cycle / second) ซึ่งผลของการสาธิตของเฮิรตซ<br />

เปนที่สนใจและสรางความตื่นเตนแกวงการวิทยาศาสตรอยางมากและไดมีการนําไปสาธิตทดลอง<br />

ในตางประเทศอีกหลายแหง<br />

ตอมา กูกลิเอลโม มารโคนี่ (Guglielmo Marconi) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเปนนักศึกษาของ<br />

มหาวิทยาลัยหนึ่ง เปนบุคคลหนึ่งที่มีความสนใจผลงานของเฮิรตซอยางมาก จึงไดเริ่มศึกษาถึงผล<br />

การทดลองของเฮิรตซเปนตนมาตั้งแตป ค.ศ.1896 มารโคนี่ อาศัยทฤษฎีของแมกซเวลและผลการ<br />

คนควาของเฮิรตซมาประดิษฐเครื่องวิทยุที่สามารถใชติดตอแบบเครื่องสงและเครื่องรับได ซึ่ง<br />

วิทยุไรสายในตอนแรก เรียกวา วิทยุโทรเลข (radio telegraph) เพราะยังตองรับสงกันดวยสัญญาณ<br />

โทรเลขรหัสมอรส และติดตอไดเฉพาะสถานีสงและสถานีรับเทานั้น ตอมาเขาไดเดินทางไปยัง<br />

อังกฤษ เพื่อขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์ผลการทดลองของเขา ตอมาเขาไดตั้งบริษัท บริติช มารโคนี่<br />

(British Marconi) ขึ้น เพื่อจะนําเครื่องมือมาใชเปนประโยชนตอไป มารโคนี่ไดคนควาและ<br />

ประดิษฐวิทยุของเขาจนสามารถสงขาวสารขามชองแคบอังกฤษไดสําเร็จในป ค.ศ.1901 และสง<br />

ขาวสารขามมหาสมุทรแอตแลนติกไดในปตอมา มารโคนี่ประเมินความสําเร็จของเขาวามี<br />

ประโยชนตอการเดินเรือ จึงไดเดินทางไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์เครื่องรับวิทยุของเขาที่ประเทศ<br />

อังกฤษในป ค.ศ.1896 เพราะอังกฤษเปนเจาแหงการเดินเรือทะเลในขณะนั้น หลังจากนั้นเขาไดตั้ง<br />

บริษัทชื่อ บริษัท บริติช มารโคนี่ เพื่อผลิตเครื่องรับสงวิทยุ อุปกรณสําหรับวิทยุ รวมทั้งรับจาง


27<br />

ใหบริการติดตอสื่อสารทางวิทยุระหวางเรือกับเรือ เรือกับสถานีบนฝงใหกับสาธารณชนทั่วไป<br />

ตอมาบริษัท บริติช มารโคนี่ ก็ไดขยายสาขาขึ้นในอเมริกาชื่อ บริษัท อเมริกัน มารโคนี่ (American<br />

Marconi) บริษัทนี้ไดตอสูกับการละเมิดสิทธิกับบริษัท เดอ ฟลอเรสต (De Forest Company United<br />

Wireless) ซึ่งภายหลังบริษัท เดอ ฟลอเรสต ไดแพคดีกลายเปนบริษัทลมละลายอันเปนผลใหบริษัท<br />

อเมริกัน มารโคนี่ เพิ่มสถานีติดตอสื่อสารกับสถานีอื่นๆ ในทะเลอีก 800 สถานี และมีสถานี<br />

ภาคพื้นดินอีก 17 สถานี อีกทั้งสามารถผูกขาดการติดตอวิทยุเกือบเปนผลสําเร็จ จนกระทั่ง<br />

สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้น กองทัพเรือสหรัฐไดเริ่มตอสูกับการผูกขาดนี้ จนผลที่สุดบริษัท<br />

อเมริกัน มารโคนี่ ตองปดตลาดตัวเองในอเมริกา แตอยางไรก็ตามผลงานการคิดคนของเขาได<br />

กระตุนใหนักประดิษฐและนักวิทยาศาสตรคนอื่นๆ ไดสรางเครื่องมือใหมๆ ขึ้นมา แลวนําไปจด<br />

ทะเบียนลิขสิทธิ์กันอยางมากมายเพิ่มมากขึ้นทุกป<br />

ภาพที่ 2.3 กูกลิเอลโม มารโคนี่ (Guglielmo Marconi)<br />

ที่มา (Newgenevacenter, 2006)<br />

ในป ค.ศ.1911 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศตางๆตระหนักดีวาวิทยุไรสาย<br />

มีศักยภาพสูงและเปนประโยชนตอการทําสงคราม ดังนั้นรัฐบาลจึงสั่งยึดเครื่องสงและเครื่องรับ<br />

ทั้งหมดที่ประชาชนครอบครองอยู แลวมอบอํานาจใหกองทัพเรือเปนผูดูแล ใหการรับสงวิทยุเปน<br />

การใชในสงครามเทานั้น นอกจากนี้ยังสั่งระงับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทั้งหมดเปนการชั่วคราวดวย<br />

แตเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เทคโนโลยีทางดานวิทยุก็ไดรับการพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก<br />

3. ยุคการคิดคนวิทยุกระจายเสียง<br />

ในยุคเริ่มตนของการกระจายเสียงนั้น เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงยังมีคุณภาพไมดี<br />

เทาที่ควร ผูฟงจะตองใชเครื่องฟงครอบไวที่หู เปดฟงไดเฉพาะคนเดียว เปนเครื่องรับวิทยุแบบแร<br />

เสียงเบา คุณภาพเสียงไมชัดเจน ทั้งยังแยกคลื่นของสถานีตางๆไมคอยไดอีกดวย มีนักประดิษฐ<br />

หลายคนพยายามคนคิดวิธีการแกปญหาดังกลาว จนในที่สุดนักวิทยาศาสตรชาวอังกฤษ ชื่อ


28<br />

จอหน เอ เฟลมมิง (John A.Fleming) ไดทดลองนําเอาหลอดไฟฟาที่โทมัส เอดิสัน (Thomas<br />

Edison) เปนผูคนพบมาดัดแปลงใชกับเครื่องรับวิทยุแทนเครื่องรับวิทยุแบบแร คุณภาพของ<br />

วิทยุกระจายเสียงจึงดีขึ้นตามลําดับ<br />

ในป ค.ศ.1912 เกิดเหตุการณสําคัญที่ทําใหวิทยุกระจายเสียงเปนที่สนใจมากขึ้น เมื่อเดวิด<br />

ซารนอฟ (David Sarnoff) เด็กหนุมชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย นายสถานีโทรเลขของบริษัท<br />

อเมริกัน มารโคนี่ ไดรับสัญญาณขอความชวยเหลือจากเรือไททานิกหลังชนภูเขาน้ําแข็ง และเขา<br />

ไดสงขาวใหสื่อมวลชนนําไปตีพิมพเปนขาวใหญ ซารนอฟกลายเปนวีรบุรุษเพราะเปนครั้งแรกที่<br />

การรับขาวทางไกลสามารถทําไดอยางรวดเร็วผานเครื่องรับโทรเลขไรสาย ทําใหเขาไดกลายเปน<br />

ผูนําในวงการกระจายเสียงในอเมริกา และตอมาเขาไดรับตําแหนงประธานของบริษัทกระจายเสียง<br />

RCA เกือบ 40 ป นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสรางเครือขายวิทยุคนแรกอีกดวย<br />

ภาพที่ 2.4 เดวิด ซารนอฟ นายสถานีโทรเลขของบริษัท อเมริกัน มารโคนี่<br />

ที่มา (วิภา อุตมฉันท, 2546, หนา 27)<br />

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กฎหมายควบคุมการรับสงวิทยุถูกยกเลิก เอกชนไดรับอนุญาต<br />

ใหครอบครองและคนควาทดลองอีกครั้งหนึ่ง นักประดิษฐไมพอใจกับการสงวิทยุแบบเคาะรหัส<br />

จึงมีทั้งนักประดิษฐมืออาชีพและสมัครเลนพยายามคนควาทดลองในบานพัก จนในที่สุดก็ประสบ<br />

ผลสําเร็จ ผูที่อยูในรัศมีใกลเคียงสามารถรับสัญญาณได เมื่อการสงวิทยุกระจายเสียงไดพัฒนาจน<br />

ออกอากาศรายการเปนประจําแลว จึงเกิดสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น สถานีวิทยุแหงแรกของโลก<br />

คือ สถานีวิทยุ KDKA ในอเมริกา ออกอากาศในป ค.ศ.1920 อีก 2 ปตอมา ประเทศรัสเซียก็ได<br />

จัดตั้งสถานีวิทยุขึ้น ตลอดทศวรรษที่ 1920 วิทยุกระจายเสียงในประเทศตะวันตกตางคลั่งไคล<br />

วิทยุกระจายเสียงเปนอยางยิ่ง ในอเมริกา เพียง 2 ปแรกมีผูสนใจไปขอรับใบอนุญาตเปน<br />

ผูประกอบการกระจายเสียงถึง 600 ราย และในป ค.ศ.1923 จํานวนเครื่องรับในอเมริกาก็นับไดถึง<br />

เกือบหนึ่งลานเครื่อง (Summers & Summers, 1966) เมื่อสิ้นทศวรรษที่ 1920 เกือบครึ่งหนึ่งของ


29<br />

ครัวเรือนชาวอเมริกันตางก็มีเครื่องรับวิทยุไวในครอบครอง สวนอีก 40 ประเทศทั่วโลกก็<br />

ออกอากาศกระจายเสียงตั้งแตทศวรรษที่ 1930<br />

ทศวรรษที่ 1940 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วิทยุกระจายเสียงแพรหลายจนกลายเปน<br />

สื่อมวลชนแขนงหนึ่งที่มีอิทธิพลตอสังคมสูงมาก รัฐบาลจึงขอความรวมมือใหสถานี<br />

วิทยุกระจายเสียงเผยแพรขาว โฆษณาชวนเชื่อ และปลุกเราประชาชน แมกระทั่งการที่ผูนํา<br />

ประเทศไปจัดรายการวิทยุพูดคุยกับประชาชนโดยตรง อิทธิพลของวิทยุในภาวะสงครามจึงเห็น<br />

เดนชัดมาก แตเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีดานวิทยุโทรทัศน ทําใหวิทยุกระจายเสียงตองปรับตัว<br />

และแสดงบทบาทในปจจุบัน<br />

4. ยุคการคิดคนวิทยุโทรทัศน<br />

สําหรับวิวัฒนาการของความกาวหนาทางเทคโนโลยีของโทรทัศนนั้นก็พัฒนาควบคู<br />

และอาศัยหลักการพื้นฐานบางอยางรวมกับวิทยุ ผลงานทางวิทยาศาสตรที่เริ่มวางรากฐานใหกับ<br />

ระบบโทรทัศนเริ่มขึ้นตั้งแตป ค.ศ.1817 จาคอบ เบอรเซเลียส (Jacob Berzelius) ไดคนพบธาตุชนิด<br />

หนึ่ง คือซีลีเนียม ตอมา เขาไดนําธาตุชนิดนี้ไปประดิษฐเปน โฟโตอิเล็กทริกเซล ซึ่งสามารถ<br />

เปลี่ยนพลังงานงานแสงใหเปนพลังงานไฟฟาไดและเซลไฟฟานี้เองที่ทําใหเกิดโทรทัศนขึ้น<br />

ในระยะเวลาใกลๆ กัน วิลเลียม ครุก (William Crook) ไดประดิษฐหลอดไฟฟาชนิดหนึ่ง<br />

เรียกวาหลอด Crook ซึ่งนับวาเปนตนกําเนิดของหลอดรังสีแคโธคในปจจุบันนี้ ตอมามี<br />

นักวิทยาศาสตรเยอรมันไดทําการทดลองเรื่องโทรทัศน โดยไดรวบรวมเอาความคิดเห็นและ<br />

ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร เชน จอหน เฟลมิ่ง, โทมัส เอดิสัน รวมทั้งงานคนพบของ แมกซเวล<br />

และเฮิรตซ ในสวนที่เกี่ยวกับการนําเอาคลื่นแมเหล็กไฟฟามาเปนตัวนําคลื่นวิทยุและนําทั้งคลื่น<br />

เสียงและภาพในโทรทัศน<br />

ยุคสมัยของการคนพบหลักการเบื้องตนของโทรทัศนเริ่มขึ้นเมื่อ ปอล นิพโกว (Paul<br />

Nipkow) ชาวเยอรมัน ไดคนพบวิธีที่จะทําใหภาพเปนเสน ปรากฏบนจอไดในป 1884 และเริ่ม<br />

ทดลองแพรภาพดวยเทคโนโลยีแบบจักรกล โดยนําวัตถุที่จะออกอากาศมาวางไวหลังจานรูปทรง<br />

กลม แลวใชเครื่องจักรทําใหจานหมุนดวยความเร็วสูงมาก แสงสวางขางหลังจานรูปทรงกลมจะ<br />

สองไปที่วัตถุแลวสงภาพของวัตถุผานรูเล็กๆที่เจาะอยูบนจานลอดออกไป นิพโกวพิสูจนวาแสง<br />

สวางจากไฟฟากําลังสูงที่ลอดผานจานสงภาพที่หมุนเร็ว แสงสวางจะถูกแปลงเปนกระแสไฟฟา<br />

และเมื่อเชื่อมตอไปยังจานรูปทรงกลมอีกใบหนึ่งซึ่งทําหนาที่เปนเครื่องรับภาพ จานกลมใน<br />

เครื่องรับซึ่งหมุนในอัตราความเร็วที่สัมพันธกับจานกลมในเครื่องสง ก็จะแปลงกระแสไฟฟาให<br />

กลายเปนภาพปรากฏบนจอเครื่องรับอีกครั้ง ถึงแมจะไดหลักการพื้นฐานแลวก็ตาม แตก็ยังพัฒนา


30<br />

เทคโนโลยีอีกมาก เนื่องจากภาพที่ไดจากโทรทัศนแบบจักรกลโดยใชจานหมุนจะออกมาพรามัว<br />

และเครื่องรับก็มีขนาดใหญเทอะทะ เสียงดัง มีปญหามากในการรักษาจังหวะการหมุนของจานสง<br />

และจานรับใหสัมพันธกัน<br />

ภาพที่ 2.5 โทรทัศนแบบจักรกล<br />

ที่มา (วิภา อุตมฉันท, 2546, หนา 28)<br />

ตอมาฟรานซิส เจนกินส (Francis Jenkins) ไดพยายามพัฒนาโทรทัศนแบบจักรกลของ<br />

นิพโกวใหดีขึ้น เจนกินส สามารถนําเทคโนโลยีของฟลมภาพยนตรกับวิทยุมารวมกัน และไดนํา<br />

ชุดอุปกรณที่เรียกวา วิทยุภาพ (radio vision) ซึ่งเขาไดประดิษฐขึ้นออกแสดงเปนครั้งแรกในป ค.ศ.<br />

1925<br />

ในป 1923 จอหน โลจี แบรด (John Logie Baird) นักวิทยาศาสตรชาวอังกฤษไดอาศัย<br />

ทฤษฎีของนิพโกว คนควาทดลองจนสามารถแสดงใหนักวิทยาศาสตรและบุคคลชั้นนําของ<br />

อังกฤษไดรับชม เขาสามารถที่จะจับภาพเขาเครื่องสงแลวสงออกมาที่จอภาพของเครื่องรับ<br />

โทรทัศนไดสําเร็จในป ค.ศ.1926<br />

ในป ค.ศ.1934 โทรทัศนแบบอิเล็กทรอนิกสไดเขามาแทนที ่โทรทัศนแบบจักรกล นัก<br />

ประดิษฐชาวอเมริกัน คือ ไฟโล ฟารนสเวิรธ (Philo Farnsworth) และ ดร.วลาดิเมียร ซวอริกิน<br />

(Dr.Vladimir Sworykin) นักวิทยาศาสตรชาวรัสเซียที่โอนสัญชาติมาเปนอเมริกัน เขาไดคิดคน<br />

อุปกรณที่เรียกวาปนอิเล็กตรอน (electron gun) ใชคูกับหลอดภาพสุญญากาศ (vacuum tube) ซึ่ง<br />

เปนรากฐานของการทํางานของโทรทัศนในระบบปจจุบัน โดยปนอิเล็กตรอนในเครื่องจะจับภาพ<br />

และยิงภาพออกไปเปนลําแสงเล็กๆแทนที่จะใชจานหมุน หลอดวิทยุที่มีความไวตอภาพ ก็จะแปลง<br />

ลําแสงเหลานั้นใหกลายเปนคลื่นไฟฟาสงไปตามคลื่นวิทยุในการออกอากาศ จากนั้นภาพจะถูก


31<br />

สรางขึ้นใหมอีกครั้งในเครื่องรับ โดยปนอิเล็กตรอนภายในเครื่องรับทําหนาที่สาดอิเล็กตรอนลงไป<br />

บนพื้นผิวดานหลังของจอรับภาพ กระบวนการทํางานในลักษณะนี้ทําใหสามารถบรรจุเสนกวาด<br />

ภาพบนจอ (scanning line) ไดมากกวา ภาพที่ออกมาจะมีความคมชัดขึ้น โทรทัศนอิเล็กทรอนิกส<br />

ไดรับการปรับปรุงใหดีขึ้นเรื่อยๆในยุคตอมา แตหลักการพื้นฐานยังคงเหมือนเดิม<br />

ในชวงของการทดลองออกอากาศ บรรษัทกระจายเสียงแหงประเทศอังกฤษ หรือ บีบีซี.<br />

(BBC.-British Broadcasting Corporation) ไดเริ่มแพรภาพทางโทรทัศน โดยการนําสิ่งประดิษฐ<br />

ของแบรด ไปทดลองออกอากาศใหคนอังกฤษไดชมเมื่อวันที่ 30 กันยายน 1929 ในป ค.ศ.1934<br />

สหภาพโซเวียตเริ่มตนแพรภาพทางโทรทัศนเชนกัน ตอมา บรรษัทกระจายเสียงแหงญี่ปุนหรือ<br />

เอ็นเอชเค. (NHK.-Nippon Hoso Kyokai) ไดแพรภาพทางโทรทัศนครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม<br />

ค.ศ.1939 สวนอเมริกาใชเวลาในการปรับปรุงคุณภาพและตั้งมาตรฐานทางเทคนิคอยูจนถึงป ค.ศ.<br />

1941 จึงไดเริ่มตนแพรภาพ อยางไรก็ตามการแพรภาพของสถานีโทรทัศนตางๆก็ยังไมสม่ําเสมอ<br />

และใชเวลาในการออกอากาศในชวงสั้นๆเทานั้น เพราะไมกี่ปตอมาก็ไดเขาสูภาวะสงครามโลก<br />

ครั้งที่ 2<br />

สถานีโทรทัศนแหงแรกของโลกที่แพรภาพออกสูประชาชนเปนทางการ ครั้งแรก คือ บีบีซี<br />

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1936 ไดมีพิธีเปดแพรภาพเปนครั้งแรก ที่พระราชวังอเล็กซานดรา ใน<br />

กรุงลอนดอน ในขณะทั่วประเทศอังกฤษมีเครื่องรับเพียง 100 เครื่องเทานั้น แพรภาพครั้งหนึ่งไม<br />

เกิน 3 ชั่วโมง จัดเปนชวงแพรภาพ 2 ชวง ภาพที่เครื่องรับกวาง 10 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ราคาเครื่องละ<br />

ประมาณ 6,000 บาท ในสมัยนั้นนับวาแพงมาก แตในชวงระยะเวลา 2 ป ในอังกฤษมีเครื่องรับ<br />

โทรทัศนถึง 3,000 เครื่อง จากนั้นความนิยมโทรทัศนไดแพรไปทั่วโลกอยางรวดเร็วและประเทศ<br />

ไทยเปนประเทศแรกในเอเชียอาคเนย ที่ดําเนินกิจการโทรทัศน<br />

ประวัติการกระจายเสียงในประเทศไทย<br />

จากจุดเริ่มตนในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของโลก ตั้งแตการคนพบคลื่น<br />

แมเหล็กไฟฟา การประดิษฐคิดคนโทรเลข โทรศัพท วิทยุโทรเลข วิทยุกระจายเสียง และวิทยุ<br />

โทรทัศนของโลก จนเผยแพรเขามายังประเทศไทย ในที่นี้จะกลาวแยกประวัติและวิวัฒนาการของ<br />

วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศนในแตละยุค เพื่อใหเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น<br />

1. ยุคเริ่มตนของวิทยุโทรเลข….วิทยุโทรศัพทถึงวิทยุกระจายเสียง<br />

วิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงไทยเริ่มตนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว จากการที่หางบี กริมม ซึ่งเปนผูแทนบริษัทวิทยุโทรเลข “เทเลฟุงเกน” ของ


32<br />

เยอรมัน ไดแจงตอกระทรวงโยธาธิการขออนุญาตทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขชั่วคราวขึ้นที่<br />

กรุงเทพฯบริเวณภูเขาทอง วัดสระเกศ (ภายหลังยายไปตั้งที่ปอมเพชร) และที่เกาะสีชังอีกแหงหนึ่ง<br />

หางกันราว 80 กิโลเมตร เพื่อแสดงใหเห็นถึงการสงและการรับวิทยุโทรเลข การทดลองได<br />

กระทําอยูหลายวันแตไมไดผลดีเทาที่ควร<br />

ในป พ.ศ.2450 กรมทหารเรือ ซึ่งมีสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาบริพัตรสุขุมพันธ<br />

กรมพระนครสวรรควรพินิต เปนผูบัญชาการในขณะนั้น ไดนําเครื่องสงวิทยุโทรเลขแบบ มารโค<br />

นี่ของอังกฤษ มาใชในราชการทหารเปนครั้งแรก และในปเดียวกันนี้ เจาพระยาวงษานุประพัทธ<br />

(ม.ร.ว.สทาน สนิทวงศ) ซึ่งในขณะนั้นเปนเสนาธิการทหารบก ไดนําเครื่องวิทยุโทรเลขสนามแบบ<br />

มารโคนี่มาใชในราชการดวย<br />

ตอมาในป พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ<br />

ใหกระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวรขึ้น 2 สถานี ที่ตําบลศาลาแดง มุมถนนวิทยุตัด<br />

กับถนนพระราม 4 (ปจจุบันเปนสวนหนึ่งของโรงเรียนรวมเหลา) สวนอีกที่หนึ่งก็คือ ที่ชายทะเล<br />

จังหวัดสงขลา โดยใชเครื่องบริษัท เทเลฟุงเกน เมื่อการสรางสถานีวิทยุโทรเลขทั้งสองแหงนี้<br />

สําเร็จลงแลว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวไดเสด็จพระราชดําเนินไปทรงเปดสถานี<br />

วิทยุโทรเลขแหงแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2456 และไดทรงวิทยุโทรเลข<br />

ฉบับปฐมฤกษถึงสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟากรมหลวงลพบุรีราเมศร ซึ่งขณะนั้นประทับอยูที่<br />

สถานีวิทยุโทรเลขจังหวัดสงขลา ตอมากรมไปรษณียโทรเลขไดรับโอนกิจการสถานีวิทยุโทร<br />

เลขที่ศาลาแดง กับสถานีวิทยุโทรเลขที่สงขลามาจากกระทรวงทหารเรือ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม<br />

พ.ศ.2469 โดยรับโอนพนักงานวิทยุและชางวิทยุทหารเรือ มาเปนขาราชการพลเรือนใน<br />

กรมไปรษณียโทรเลขดวย และไดมีการจัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคมขึ้นในจังหวัดและอําเภอ ที่ไม<br />

สามารถขึงสายโทรเลขไปถึงหรือที่มีการเสียบอยๆ โดยใหติดตอโดยตรงกับสถานีวิทยุกลางใน<br />

ประเทศทุกสถานี รวม 50 สถานี ในขณะเดียวกันกรมไปรษณียโทรเลขไดเริ่มกิจการ<br />

วิทยุกระจายเสียงขึ้นอีกแขนงหนึ่ง มีการจัดตั้งกองชางวิทยุขึ้นดําเนินการขยายงานดานวิทยุ<br />

2. ยุคบุกเบิกทดลองสงวิทยุกระจายเสียง<br />

พระเจาบรมวงศเธอพระองคเจาบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน<br />

เสนาบดีกระทรวงพาณิชยและคมนาคม ทรงสนพระทัยในกิจการงานวิทยุเปนพิเศษ พระองคได<br />

ทรงจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบานดอกไม เพื่อเปนการคนควาสวน<br />

พระองค โดยการทดลองสงเสียงพูดและเสียงดนตรีออกอากาศ ในป พ.ศ.2470 ฝายกองชางวิทยุ<br />

กรมไปรษณียโทรเลข ซึ่งขณะนั้นอยูที่ตึกกรมไปรษณียโทรเลข ปากคลองโองอาง หนาวัดเลียบ


33<br />

(วัดราชบูรณะ) ก็ไดเตรียมการทดลองสงวิทยุขนาดเล็กเปนการภายใน และในป พ.ศ.2471 เมื่อ<br />

พระเจาบรมวงศเธอพระองคเจาบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เสด็จกลับจาก<br />

การดูงานดานการคมนาคมในทวีปยุโรปแลว ทรงดําริใหทดลองตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยสั่ง<br />

เครื่องสงวิทยุกระจายเสียงเขามา 1 เครื่อง กําลังสง 200 วัตต ขนาดความยาวคลื่น 36.42 เมตร ซึ่ง<br />

เปนคลื่นสั้น ทําการทดลองที่กรมไปรษณียโทรเลขปากคลองโองอาง จึงกลาวไดวาพระองคเปนผู<br />

บุกเบิกและริเริ่มใหมีการสงวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเปนครั้งแรก<br />

การสงวิทยุกระจายเสียงไดกระทํากันอยางจริงจัง เปนงานประจําของชางวิทยุ<br />

กรมไปรษณียโทรเลข เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2471 โดยใชคลื่นสั้นความถี่ 8.1 เมกะเฮิตซ<br />

ความยาวคลื่น 34 เมตร มีกําลังสง 200 วัตต ใชสัญญาณเรียกขาน (Call sign) ประจําสถานี<br />

วิทยุกระจายเสียงแหงนี้วา “4 พีเจ” นับไดวาเปนครั้งแรกที่ประเทศไทยไดมีการสง<br />

วิทยุกระจายเสียงเปนงานประจํา ซึ่งในขณะนั้นเครื่องรับวิทยุในประเทศไทยมีอยูประมาณไมเกิน<br />

10 เครื่อง (ไมนับรวมเครื่องรับวิทยุของทางราชการ)<br />

ตอมาทางกองชางกรมไปรษณียโทรเลข ไดยายกิจการทดลองสงวิทยุกระจายเสียงไป<br />

ดําเนินการใหมที่สถานีวิทยุศาลาแดง เปลี่ยนความยาวคลื่นเปน 29.5 เมตร ความถี่ 10.169<br />

เมกะเฮิรตซ กําลังสง 500 วัตต ใชสัญญาณเรียกขานวา “พี เจ” การสงกระจายเสียงดวยคลื่นสั้น<br />

(Short Wave) ไมไดผลดีเนื่องมาจากมีอาการจางหาย เจาหนาที่วิทยุศาลาแดงไดพยายามประกอบ<br />

เครื่องสงขึ้นอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งมีขนาดกําลังสง 1 กิโลวัตต และเปลี่ยนความยาวคลื่นเปน 320 เมตร<br />

หรือตรงกับความถี่ 971 กิโลเฮิรตซ ซึ่งเปนคลื่นขนาดกลาง (Medium Wave) ใชสัญญาณเรียกขาน<br />

วา 11 พีเจ (หนึ่ง หนึ่ง พีเจ) การใชชื่อสถานีวา “พี เจ” ในยุคนั้น ยอมาจากคําวา “บุรฉัตรไชยากร”<br />

อันเปนพระนามของพระเจาวรวงศเธอพระองคเจาบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน<br />

ตอมาในป พ.ศ.2472 ทางราชการเห็นสมควรสงเสริมบริการดานวิทยุกระจายเสียงให<br />

กวางขวางยิ่งขึ้น เพราะมีประชาชนสรางเครื่องรับวิทยุกันมากขึ้น แตก็เปนวิทยุแบบแรใชหูฟงเปน<br />

สวนมาก ผูที่มีความรูความชํานาญหนอยก็ทําวิทยุรูปแบบนี้ออกขาย พระเจาวรวงศเธอ<br />

พระองคเจาบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงสั่งเครื่องสงวิทยุกระจายเสียง<br />

ขนาด 2.5 กิโลวัตต ขนาดคลื่น 300 เมตร จากบริษัท ฟลลิปราดิโอ ประเทศฮอลันดา เขามาอีก<br />

เครื่องหนึ่ง เพื่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงที่วังพญาไท โดยไดเริ่มโครงการตั้งแตเดือนพฤษภาคม<br />

พ.ศ.2471 เหตุที่เลือกตั้งสถานีที่วังพญาไท เพราะปรากฏตามผลการทดลองวา ถาตั้งที่สถานีศาลา<br />

แดงรวมกับเครื่องสงวิทยุโทรเลขแลวจะถูกรบกวนจากเครื่องรับโทรเลขที่มีอยูหลายเครื่อง การตั้ง<br />

ที่สถานีพญาไทจะชวยทุนคาสรางหองสงไดทั้งยังไมมีปญหาการรบกวนจากเครื่องใชไฟฟาใหญอีก<br />

ดวย


34<br />

3. ยุคกอตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชสมัย<br />

ของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ทางราชการไดทําพิธีเปดสถานีวิทยุกระจายเสียง ถาวร<br />

เปนแหงแรกของประเทศไทยที่มีชื่อวา “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ไดมีการสงกระจายเสียง<br />

เปนปฐมฤกษ โดยอัญเชิญกระแสพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ซึ่ง<br />

พระราชทานแกพระบรมวงศานุวงศและขาทูลละอองธุลีพระบาทฝายหนาในพระราชพิธีนั้น จาก<br />

พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง โดยมีไมโครโฟนตั้งรับกระแสพระราชดํารัส<br />

ถายทอดไปตามสายเขาเครื่องสงวิทยุกระจายเสียงที่พญาไท แลวกระจายเสียงสูพสกนิกรที่มี<br />

เครื่องรับวิทยุในสมัยนั้นไดรับฟง นับเปนครั้งแรกที่มีการถายทอดเสียงทางวิทยุกระจายใน<br />

ประเทศไทย กระแสพระราชดํารัสเปดการสงวิทยุ กระจายเสียงครั้งแรกมีขอความดังนี้<br />

…การวิทยุกระจายเสียงที่ไดเริ่มจัดขึ้นและทําการทดลองตลอดมานั้น ก็ดวยความมุงหมาย<br />

วาจะสงเสริมการศึกษา การคาขายและการบันเทิงแกพอคาประชาชนเพื่อควบคุมการนี้ เรา<br />

ใหแกไขพระราชบัญญัติ ดังที่ไดประกาศใชเมื่อเดือนกันยายนแลวและบัดนี้ไดสั่งเครื่อง<br />

กระจายเสียงอยางดีเขามาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไท เสร็จแลวเราจึงขอโอกาสสั่ง<br />

ใ หเปดใชเปนปฐมฤกษ ตั้งแตบัดนี้ไป<br />

สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ในขณะนั้นมีเครื่องสงที่สั่งมาจากตางประเทศ 2 เครื่อง คือ<br />

เครื่องสงคลื่นขนาดกลาง ขนาดคลื่น 350 เมตร กําลังสง 2.5 กิโลวัตตและเครื่องสงคลื่นสั้น ขนาด<br />

คลื่น 41 เมตร อีกเครื่องหนึ่ง ใชสัญญาณเรียกขานวา HSP 1 และ HSP 2 ตามลําดับ (อักษร HS เปน<br />

สัญญาณเรียกขานที่สหภาพโทรคมนาคมระหวางประเทศหรือ ITU (International<br />

Telecommunication Union) เปนผูกําหนดไวในกฎสากล สําหรับใชเรียกขานชื่อสถานี<br />

วิทยุกระจายเสียงที่ตั้งอยูในประเทศไทย สถานีวิทยุแหงนี้ดําเนินการสงกระจายเสียงเปนประจําทุก<br />

คืน ยกเวนคืนวันจันทร ปรากฏวาประชาชนสนใจและนิยมฟงวิทยุกระจายเสียงกันมาก รัฐบาลจึง<br />

ประกาศใชพระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข (แกไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2473 เพื่อควบคุมและคุมครองการวิทยุ<br />

โทรเลขและวิทยุโทรศัพทใหเหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้มีหลักการสําคัญคือ เปดโอกาสใหประชาชนมี<br />

เครื่องรับสงวิทยุกระจายเสียงได เพราะแตกอนนั้นไมอนุญาตใหเอกชนมีเครื่องรับวิทยุไวใน<br />

ครอบครอง ตอมาเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2475 สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไทไดเพิ่มการสง<br />

กระจายเสียงในคืนวันจันทรขึ้นอีก 1 วัน ทําใหประเทศไทยมีการสงวิทยุกระจายเสียงเปนประจํา<br />

ทุกคืนนับตั้งนั้นเปนตนมา<br />

สวนการทดลองสงกระจายเสียงของกองชางวิทยุจากสถานีวิทยุ ศาลาแดง ก็ยังคง<br />

ดําเนินงานตอไปตามปกติและไดมีการปรับปรุงสรางเครื่องสงขึ้นใหม มีกําลังสง 10,000 วัตต ใช


35<br />

ขนาดความยาว คลื่น 400 เมตร (ความถี่ 750 กิโลเฮิตซ) ใชสัญญาณเรียกขานวา 7 พีเจ ทดลองสง<br />

ภายในประเทศนอกเวลาสงกระจายเสียงของสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ พญาไท คือในคืนวันพุธกับวัน<br />

เสาร สวนการทดลองสงวิทยุกระจายเสียงภาคตางประเทศนั้น ไดใชความยาวคลื่น 25 เมตร<br />

(ความถี่ 12 เมกะเฮิรตซ) ใชสัญญาณเรียกขานวา 8 พีเจ สงจากสถานีวิทยุศาลาแดงเชนกัน<br />

4. ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจการโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงเปนผลสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่<br />

10 กุมภาพันธ พ.ศ.2474 ที่ประชุมเสนาบดีมีมติเห็นชอบใหกระทรวงพาณิชยและกระทรวง<br />

คมนาคม อนุญาตใหหางรานประกาศโฆษณาได โดยประกาศแจงสิ่งของที่หางรานนั้นขายโดยไม<br />

บรรยายถึงคุณภาพ เปนเพียงประกาศขาวสารใหประชาชนทราบ เพื่อเผยแพรการคามากกวาการ<br />

โฆษณาและรัฐจะไดคาธรรมเนียมกับคาตอบแทน เพื่อจะนําเงินจํานวนนี้มาชดเชยกับการที่กิจการ<br />

วิทยุกระจายเสียงขาดทุนราวเดือนละ 400 บาท<br />

ตอมาในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2475 แผนกวิทยุกระจายเสียงในกองชางวิทยุ<br />

กรมไปรษณียโทรเลข ไดเปดรับการโฆษณา “ประกาศการคาขายทํามาหากินในเชิงการคา<br />

อุตสาหกรรมและวิชาชีพโดยทางวิทยุกระจายเสียง” โดยใชวิธีนับคํานับขอความและคิด<br />

คาธรรมเนียม เหมือนการสงโทรเลขภายในประเทศ นับวาเปนการเริ่มตนของการโฆษณาธุรกิจ<br />

การคาทางวิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทย<br />

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 คณะราษฎรนําโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พัน<br />

เอกพระยาทรงสุรเดชและหลวงประดิษฐมนูธรรม ไดเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบ<br />

สมบูรณาญาสิทธิราชยมาเปนระบอบประชาธิปไตย วิทยุกระจายเสียงไดเขามามีบทบาทในฐานะ<br />

กระบอกเสียงที่แพรกระจายขาวสารไปสูประชาชนชาวไทยโดยทั่วถึงกัน<br />

ตอมาทางราชการไดยกวังพญาไทใหแกกิจการทหารบกเพื่อจัดสรางเปนโรงพยาบาล<br />

(โรงพยาบาลพระมงกุฎเกลาในปจจุบัน) สถานีเครื่องสงวิทยุพญาไท จึงไดยายไปรวมกิจการกับ<br />

สถานีเครื่องสงวิทยุที่ศาลาแดง โดยใชชื่อสถานีใหมวาสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง 7 พี เจ<br />

ตั้งแตวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2479 สงกระจายเสียงดวยเครื่องสงใหมขนาดคลื่น 400 เมตร กําลังสง<br />

10 กิโลวัตต เครื่องสงนี้พันเอกพระอรามรณชิต นายชางกํากับวิทยุกรมไปรษณียโทรเลข เปน<br />

ผูอํานวยการประกอบขึ้นเอง<br />

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไดมีการจัดตั้งสํานักงานโฆษณาการขึ้นในสํานัก<br />

นายกรัฐมนตรี เพื่อใหกิจการดานโฆษณาเผยแพรและใหความรูในการปกครองระบอบ<br />

ประชาธิปไตยแกประชาชนเปนไปโดยกวางขวางยิ่งขึ้น ตอมาภายหลังทางรัฐบาลไดพิจารณาเห็น


36<br />

วา กิจการวิทยุกระจายเสียงนั้นสมควรโอนไปอยูกับสํานักงานโฆษณาการ (ซึ่งภายหลังไดยกฐานะ<br />

เปนกรมโฆษณาการ และเปลี่ยนชื่อเปนกรมประชาสัมพันธในเวลาตอมา) จึงโอนกองทะเบียน<br />

เครื่องรับวิทยุ เครื่องกระจายเสียงจากกรมไปรษณียโทรเลขไปขึ้นอยูกับสํานักงานโฆษณาการ<br />

ตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2482 สวนการสงกระจายเสียงไปยังตางประเทศจากสถานีทดลองคลื่นสั้น 8 พี เจ<br />

โอนไปเฉพาะการจัดรายการ สวนงานชางทั้งหมดเกี่ยวกับเครื่องสงและหองสงนั้นอยูในความดูแล<br />

ของกรมไปรษณียโทรเลข<br />

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 กรมโฆษณาการไดเปลี่ยนชื่อเรียกเปนสถานี<br />

วิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทย มีฐานะเปนสถานีวิทยุกระจายเสียงแหงชาติ โดยมีกรม<br />

ประชาสัมพันธ สํานักนายกรัฐมนตรีเปนผูดําเนินงานจนถึงปจจุบัน หลั งจากที่ กิ จการ<br />

วิทยุกระจายเสียงโอนมาอยูในสังกัดของกรมโฆษณาการไดเพียง 2 ป ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2<br />

ขึ้น ซึ่งมีผลกระทบตอกิจการวิทยุอยางมากกลาวคือ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุนไดสงกําลัง<br />

ทหารบุกประเทศไทย รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เปนนายกรัฐมนตรีไดลงนามในสัญญา<br />

รวมกับญี่ปุนและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จึงเปนผลใหประเทศไทยถูกโจมตี<br />

ทางอากาศจากเครื่องบินสัมพันธมิตรบอยครั้ง หนวยราชการตางๆ ตองเคลื่อนยายออกไป ทั้งนี้<br />

รวมทั้งการทดลองวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นและคลื่นยาวที่สถานีวิทยุศาลาแดง ตองยายไปอยูที่<br />

สถานีวิทยุหลักสี่ การกระจายเสียงในระยะเวลาดังกลาวจึงมีปญหาและอุปสรรคเพราะขาดอุปกรณ<br />

ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2488 โรงจักรไฟฟาในพระนครทั้ง 2 โรงคือ โรงจักรไฟฟา<br />

วัดเลียบกับโรงไฟฟาหลวงสามเสนถูกทิ้งระเบิดเสียหายมาก ไมสามารถจายกระแสไฟฟาได<br />

การติดตอทางวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพทกับตางประเทศและในประเทศทุกสาย รวมทั้งการสง<br />

วิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการตองหยุดชะงักหมด จนกระทั่งไดจัดหาเครื่องกําเนิดไฟฟามา<br />

ทําไฟฟาใชเองไดแลว จึงดําเนินงานติดตอทางวิทยุและสงวิทยุกระจายเสียงไดใหม ดวยเหตุนี้<br />

รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมในสมัยนั้น จึงไดมีคําสั่งใหกรมไปรษณียโทรเลขเตรียมการใหมี<br />

เครื่องสงวิทยุกระจายเสียงไวสํารอง<br />

กองชางวิทยุ กรมไปรษณียโทรเลขไดรื้อฟนการทดลองวิทยุกระจายเสียงขึ้นอีกครั้ง โดย<br />

แผนกชางวิทยุเปนผูรับผิดชอบดําเนินการ ดวยการนําเอาเครื่องสงวิทยุโทรศัพทแบบที่ใชทํางาน<br />

วิทยุโทรศัพทภายในประเทศมาดัดแปลงทดลองสงที่ตึกกรมไปรษณียโทรเลขหนาวัดเลียบ การ<br />

ทดลองเครื่องสงวิทยุกระจายเสียงครั้งนี้กระทําเปนภายในเปนครั้งคราว


37<br />

5. ยุคการขยายตัวของกิจการวิทยุกระจายเสียง<br />

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง กิจการวิทยุกระจายเสียงของไทยก็นับวันที่จะขยายตัว<br />

เพิ่มมากขึ้นตามลําดับ กลาวคือ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2489 สถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ไดเริ่มสง<br />

กระจายเสียงเปนประจําสัปดาหละ 2 วันๆ ละ 1 ชั่วโมง ในตอนค่ํา ตอมาในเดือนสิงหาคม<br />

พ.ศ.2489 สถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ไดเพิ่มเครื่องสงวิทยุกระจายเสียงขึ้นอีก 1 เครื่อง ใชความถี่<br />

7,022 กิโลเฮิรตซ มีกําลังสง 80 วัตต เปนเครื่องสงวิทยุแบบเดียวกับเครื่องแรก ในวันที่ 24 ตุลาคม<br />

พ.ศ.2489 ไดเพิ่มเครื ่องสงวิทยุกระจายเสียงขึ้นอีก 1 เครื่อง ใชความถี่ปานกลาง 950 กิโลเฮิรตซ มี<br />

กําลังสง 50 วัตต ตอมาไดเพิ่มกําลังสงขึ้นเปนขนาด 500 วัตตหมดทุกเครื่อง และยังไดเพิ่ม<br />

เครื่องสงวิทยุคลื่นสั้นใชความถี่ 5,955 กิโลเฮิรตซอีก 1 เครื่อง สงกระจายเสียงรายการเดียวกัน<br />

พรอมกันทั้ง 4 ขนาดคลื่น เพื่อทดลองวาผลการรับฟงคลื่นวิทยุใดไดผลดี ปรากฏวาผูฟงสามารถ<br />

รับฟงการกระจายเสียงของสถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ไดทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย ดวยการ<br />

เลือกรับฟงความถี่ขนาดตางๆ กัน<br />

นับแตสถานีวิทยุทดลอง 1 ป.ณ. ไดดําเนินการกระจายเสียงตั้งแต ป พ.ศ.2489 เปนตนมา<br />

ไดเพิ่มวันและเวลาทดลองการสงวิทยุกระจายเสียงมากขึ้น จนเปนการสงวิทยุกระจายเสียงทุกวัน<br />

วันละ 6 ชั่วโมง จึงนับไดวา สถานีทดลอง 1 ป.ณ. ของกรมไปรษณียโทรเลขเปนสถานีวิทยุแหงแรก<br />

ที่สงวิทยุกระจายเสียงคูกันไปกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทยของกรมโฆษณาการ<br />

สวนการโฆษณา เริ่มมีขึ้นประปรายตั้งแตวันที่ 1 กันยายน 2490 ในขั้นตนมีรายไดจากคาบํารุง<br />

เล็กนอย ตอมาจึงมีเพิ่มมากขึ้นเปนลําดับจนสามารถเลี้ยงตัวได<br />

เมื่อประมาณกลางป พ.ศ .2492 ไดมีสถานีวิทยุทดลองสงกระจายเสียงของ<br />

กรมไปรษณียโทรเลขขึ้นอีก 1 สถานี ใชชื่อวา “สถานีวิทยุทดลองหลักสี่” สงกระจายเสียงดวย<br />

ขนาดคลื่น 1,060 กิโลเฮิรตซ มีกําลังสงเริ่มตนตั้งแต 100 วัตต แลวเพิ่มกําลังสงขึ้นไปเปนลําดับ<br />

จนถึง 5 กิโลวัตต ซึ่งนับไดวาคอนขางสูงมากในยุคนั้น รายการที่สงกระจายเสียงมีเฉพาะรายการ<br />

สารคดีและรายการบันเทิง ไมมีโฆษณา<br />

ในระยะแรกกิจการวิทยุกระจายเสียงไทยจํากัดอยูเพียง 2 หนวยงาน คือ กรมไปรษณีย<br />

โทรเลขและกรมประชาสัมพันธ จนกระทั่งป 2492 เปนตนมารัฐบาลมองเห็นความสําคัญของวิทยุ<br />

อยางมาก จึงตัดสินใจยกเลิกการจดทะเบียนวิทยุในปนี้ และยังอนุญาตใหหนวยงานราชการอื่นๆ<br />

ตั้งสถานีวิทยุขึ้นได ตั้งแตบัดนั้นเปนตนมากิจการวิทยุกระจายเสียงก็ไดรับความนิยมอยางรวดเร็ว<br />

หนวยราชการตาง ๆ โดยเฉพาะหนวยราชการทหารไดจัดตั้งสถานีวิทยุในเขตกรุงเทพฯและ<br />

ตางจังหวัดขึ้นอีกหลายสถานี


38<br />

สถานีวิทยุเหลานั้น นอกจากจะเปนสื่อที่ใหความบันเทิง ขาวสารและความรูแกประชาชน<br />

ทั่วไป ยังมีฐานะเปนเครื่องมือที่สําคัญยิ่งในทางการเมือง ดังจะเห็นไดจากประวัติศาสตรการเมือง<br />

ของไทย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2494 เกิดกบฏแมนฮัตตัน วิทยุกระจายเสียงไดเขามามีสวนใน<br />

การแถลงการณตางๆ อยูตลอดเวลา ตอมาอีก 5 เดือน คือ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 เกิดการ<br />

รัฐประหารเงียบหรือที่เรียกวา รัฐประหารทางวิทยุขึ้นอีก จึงอาจกลาวไดวา การใชสื่อ<br />

วิทยุกระจายเสียงเพื่อเปนอํานาจตอรองทางการเมือง ไดเริ่มตนตั้งแตบัดนั้นเปนตนมา<br />

6. ยุคการจัดตั้งสถานีวิทยุในรูปแบบการคา<br />

สถานีวิทยุกระจายเสียงที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของการคาโดยจดทะเบียนในรูปของ<br />

บริษัทแหงแรกและแหงเดียวในเมืองไทย คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. รัฐบาลในสมัยนั้นคง<br />

เล็งเห็นกําไรที่จะไดจากการดําเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน จึงดําริใหมีการจัดตั้ง<br />

บริษัทไทยโทรทัศนจํากัดขึ้น โดยใหกรมโฆษณาการเปนผูถือหุนใหญ มีอธิบดีกรมโฆษณาการ<br />

เปนประธานกรรมการ โดยดําเนินการติดตั้งเครื่องสงวิทยุโทรทัศนที่บริเวณวังบางขุนพรหม แตใน<br />

ระหวางที่กําลังรอการติดตั้งเครื่องมือนี้ ทางบริษัทไทยโทรทัศนไดเริ่มการสงวิทยุกระจายเสียงเปน<br />

แบบสถานีพาณิชยกอน ตั้งแตวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2497 โดยใชเครื่องสงที่สถานีเครื่องสง<br />

วิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธโดยตรง (ในป พ.ศ.2500 บริษัทไทยโทรทัศน ไดยุบมาอยู<br />

ในความควบคุมขององคการสื่อสารมวลชนแหงประเทศไทย มีชื่อยอวา อ.ส.ม.ท.)<br />

รัฐบาลไดออกพระราชบัญญัติที่มีชื่อวา “พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ<br />

โทรทัศน พ.ศ.2498” ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2498 มาตราที่ 4 ของพระราชบัญญัตินี้ระบุผูที่ไดรับ<br />

อนุญาตใหดําเนินการบริการสงวิทยุกระจายเสียงไดแก กรมประชาสัมพันธ กรมไปรษณียโทรเลข<br />

กระทรวงกลาโหม และกระทรวง ทบวง กรม อื่นใด และนิติบุคคลที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่ง<br />

ไดแก กระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานเลขาธิการสภาผูแทนราษฎร สํานักพระราชวัง กรมตํารวจ<br />

และบริษัทไทยโทรทัศน จํากัด<br />

7. ยุคการจัดระเบียบวิทยุกระจายเสียง<br />

ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต สถานีวิทยุกระจายเสียงเกิดขึ้นเกือบรอยสถานี<br />

และจํานวนเกินครึ่งเปนสถานีวิทยุทหาร สถานีวิทยุเหลานี้ไดจัดตั้งขึ้นตามนโยบายปฏิบัติการทาง<br />

จิตวิทยา แตในทางปฏิบัติแลวสถานีวิทยุกระจายเสียงของทหารกลับเนนในเรื่องของธุรกิจการคา<br />

ซึ่งเปนเรื่องของการไดผลประโยชนโดยไมตองลงทุนลงแรงอะไรเลย เมื่อสถานีวิทยุสวนใหญ<br />

ยกเวน 4 สถานี คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทย สถานี อ.ส.สํานักพระราชวัง สถานีวิทยุ


39<br />

ศึกษา และสถานีวิทยุสองศูนยของกองบัญชาการทหารสูงสุด ดําเนินการเพื่อธุรกิจการคาซึ่งผิด<br />

จากวัตถุประสงคที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ไดกําหนดไวโดยสิ้นเชิง ทําใหเกิดปญหาแกวงการ<br />

วิทยุกระจายเสียงหลายประการ อาทิ เกิดปญหาทางดานกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่<br />

คลื่นวิทยุ เกิดปญหาเกี่ยวกับการจัดรายการที่ไมเหมาะสมและไมมีคุณคา เนื่องจากสถานีวิทยุเหลานั้น<br />

พยายามจัดรายการเพื่อเอาใจและสนองความตองการของผูอุปถัมภรายการ เกิดปญหาเกี่ยวกับการรักษา<br />

ความลับของทางราชการทหาร โดยใชวิทยุกระจายเสียงเปนเครื่องมือสงขาวไปใหฝายปฏิปกษหรือศัตรู<br />

ของประเทศ ดวยวิธีการแอบแฝงเขาไปในรายการตาง ๆ โดยวิธีการสงเปนรหัสลับผสมไปกับรายการที่<br />

สงออกอากาศ<br />

เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นบริหารประเทศตอจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ไดใชอํานาจ<br />

ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและผูบัญชาการทหารสูงสุดออกคําสั่งถึงสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

ตาง ๆ ในเครือกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยสั่งหามสถานีวิทยุเหลานั้นออกอากาศ<br />

รายการที่เขาลักษณะรายการเพลงตามคําขอ รายการสื่อสาร นัดแนะชักชวน กอใหเกิด<br />

ความสัมพันธทางชูสาว และรายการโฆษณาทางการคาหรือการโฆษณาอื่นใดที่ไมใชของทางราชการ<br />

ทางดานกระทรวงมหาดไทยก็ไดมีคําสั่งถึงหนวยงานราชการในสังกัดที่มีสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

เชน กรมตํารวจและเทศบาลนครหลวงกรุงเทพ-ธนบุรี เชนเดียวกัน แตคําสั่งของ<br />

กระทรวงมหาดไทยมีลักษณะแตกตางไปจากคําสั่งของกระทรวงกลาโหมดังกลาวแลวและมีความ<br />

เฉียบขาดยิ่งไปกวานั้นเปนอันมาก คือใหงดการโฆษณาทุกชนิดโดยสิ้นเชิง และหามจัดรายการใดๆ ที่<br />

เปนเรื่องนอกราชการ สวนสํานักนายกรัฐมนตรีไดมีคําสั่งถึงหนวยราชการในสังกัดของตนที่มี<br />

สถานีวิทยุกระจายเสียง เชน กรมประชาสัมพันธและมหาวิทยาลัยตางๆ ซึ่งแทนที่จะสั่งหาม เชน<br />

กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย กลับเปนการยืนยันถึงมติของคณะรัฐมนตรี คือหามไมให<br />

จัดตั้งสถานีวิทยุขึ้นใหม หามจัดรายการเพลงตามคําขอ หรือเขาทํานองสื่อสารชักชวนนัดแนะ<br />

กอใหเกิดความสัมพันธทางชูสาว และหามไมใหสถานีวิทยุเพิ่มกําลังเครื่องสงขึ้นอีก จากคําสั่ง<br />

ดังกลาวขางตนเห็นไดชัดวามีความขัดแยงในตัวเอง และในทางปฏิบัติแลวก็จะเกิดความลักลั่นเปน<br />

ปญหาขึ้นได โดยเฉพาะอยางยิ่งจะเปนผลใหสถานีวิทยุกระจายเสียงบางแหงยังคงออกอากาศไดตามปกติ<br />

โดยไมมีอะไรเกิดขึ้น ดวยเหตุนี้ทางรัฐบาล จึงไดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบดวยตัวแทนจาก<br />

หนวยงานที่เกี่ยวของกับกิจการวิทยุกระจายเสียง ทําหนาที่ในการรางหลักเกณฑตางๆ ในการบริหาร<br />

วิทยุกระจายเสียงออกมาเปนระเบียบที่จะใชบังคับแกสถานีวิทยุกระจายเสียงของหนวยราชการ ยกเวน<br />

สถานีวิทยุกระจายเสียงแหงประเทศไทยและสถานีวิทยุกระจายเสียงเอเชียเสรี ทั้งนี้ใหสถานี<br />

วิทยุกระจายเสียงเหลานั้นมีสิทธิตลอดจนการปฏิบัติอันเสมอภาคเหมือนกัน ระเบียบดังกลาวมีชื่อ


40<br />

เรียกวาระเบียบวาดวยวิทยุกระจายเสียงของสวนราชการ พ.ศ. 2511 หากสถานีวิทยุกระจายเสียงใด<br />

ฝาฝนใหคณะกรรมการเสนอเรื่องตอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการตอไป<br />

เนื่องดวยหลักเกณฑของระเบียบวาดวยวิทยุกระจายเสียงของสวนราชการ พ.ศ.2511 ได<br />

กําหนดไวในลักษณะที่กวาง คณะกรรมการไมสามารถทํางานไดอยางเต็มที่ เนื่องจากไมมีอํานาจ<br />

สิทธิขาดในการควบคุม ตรวจสอบและพิจารณาลงโทษ ตอมาในป พ.ศ.2516 ไดมีการนําระเบียบ<br />

ดังกลาวมาพิจารณาทบทวนหลักเกณฑใหรัดกุมและสามารถนําไปใชบังคับไดอยางมีประสิทธิภาพ<br />

ยิ่งขึ้นและออกมาเปนระเบียบใหม คือ “ระเบียบวาดวยวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2517” และเนื่องจาก<br />

ไมมีการกําหนดหลักเกณฑ ในการควบคุมเกี่ยวกับกิจการวิทยุโทรทัศนมากอน รัฐบาลในขณะนั้น<br />

คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายงานใหคณะกรรมการบริหาร<br />

วิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2517 รับไปพิจารณารางหลักเกณฑในการบริหารงานวิทยุกระจายเสียงและ<br />

วิทยุโทรทัศน ซึ่งตอมาไดออกเปนพระราชกฤษฎีกา “ระเบียบวาดวยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ<br />

โทรทัศน พ.ศ.2518” มีการแตตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกวาคณะกรรมการบริหาร<br />

วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน เรียกโดยยอวา กบว.<br />

8. ยุคองคการสื่อสารมวลชนแหงประเทศไทย<br />

บริษัท ไทยโทรทัศน จํากัด ไดเปลี่ยนฐานะเปนองคการสื่อสารมวลชนแหงประเทศ<br />

ไทย (อ.ส.ม.ท.) เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2520 เนื่องจากรัฐบาลมีความจําเปนจะตองจัดกิจการ<br />

สื่อสารมวลชนของรัฐใหมีความคลองตัว มีประสิทธิภาพ ถูกตองรวดเร็วและเปนที่เชื่อถือแก<br />

สาธารณชนตามนโยบายของรัฐบาล จึงไดออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อ.ส.ม.ท. รับมอบกิจการ<br />

ของบริษัท ไทยโทรทัศน จํากัด ที่ไดยุบเลิกกิจการไปมาดําเนินการตอ หลังจาก อ.ส.ม.ท. ดําเนิน<br />

กิจการไดเกือบ 1 ป รัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท ไดมีมติให อ.ส.ม.ท. เปนผูดูแลกิจการวิทยุ<br />

โทรทัศนทั้งหมดของราชการ รวมไปถึงสถานีโทรทัศนในสวนภูมิภาคทั้งหมด ซึ่งอยูในสังกัดของ<br />

กรมประชาสัมพันธ และใหกรมประชาสัมพันธ ดูแลกิจการดานวิทยุกระจายเสียงทั้งหมดของทาง<br />

ราชการ รวมถึงสถานีวิทยุ ท.ท.ท. ในขายงาน ของ อ.ส.ม.ท. ดวย อยางไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลง<br />

ครั้งนี้ประสบกับกระแสการคัดคานและคําวิพากษวิจารณจากบุคคลในวงการวิทยุกระจายเสียงและ<br />

วงการสื่อสารมวลชนอื่นๆ เมื่อเผชิญกับเสียงคัดคานและประกอบกับเกิดการเปลี่ยนแปลงคณะ<br />

รัฐบาล ในระยะเวลาตอมา ความคิดที่จะรวมอํานาจ การควบคุมวิทยุกระจายเสียงมาไวในกรม<br />

ประชาสัมพันธและรวบรวมอํานาจการควบคุมวิทยุโทรทัศนมาไวที่ อสมท. จึงหยุดชะงักไป


41<br />

สรุป<br />

จากที่กลาวมาทั้งหมดขางตนจะเห็นวาประวัติและวิวัฒนาการของวิทยุการกระจายเสียง<br />

และวิทยุโทรทัศนเริ่มตนจากการคนควาในหองทดลองโดยนักวิทยาศาสตรในทวีปยุโรป และเริ่ม<br />

พัฒนาเทคโนโลยีเรื่อยมา เริ่มตั้งแตโทรเลข โทรศัพท วิทยุโทรเลข วิทยุกระจายเสียง และวิทยุ<br />

โทรทัศน และเริ่มแพรขยายไปยังประเทศตางๆทั่วโลก สําหรับประเทศไทยนั้น สื่อวิทยุการ<br />

กระจายเสียงและวิทยุโทรทัศนก็มีการพัฒนามาหลายยุคหลายสมัย ในบทถัดไปจะกลาวโดย<br />

ละเอียดถึงโครงสรางของระบบวิทยุการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศนไทย<br />

คําถามทายบท<br />

1. เพราะเหตุใดมนุษยจึงเริ่มคิดคนและทดลองเพื่อใหไดสิ่งประดิษฐที่ชวยในการสื่อสาร<br />

ใหมีความรวดเร็วและนาเชื่อถือ<br />

2. ใหนิสิตเรียงลําดับประดิษฐกรรมการสื่อสารดานโทรคมนาคมที่มนุษยคิดคนขึ้นตั้งแต<br />

อดีตจนถึงปจจุบัน<br />

3. ผูที่มีบทบาทสําคัญในการประดิษฐโทรเลขไฟฟาคือใคร<br />

4. ใครคือผูคนพบคุณลักษณะของคลื่นวิทยุ และมีบทบาทสําคัญอยางไรตอสื่อ<br />

วิทยุกระจายเสียง<br />

5. สถานีวิทยุโทรทัศนแหงแรกของโลกคือสถานีใด เกิดขึ้นในประเทศใด<br />

6. สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาบริพัตรสุขุมพันธ กรมพระนครสวรรควรพินิต มี<br />

บทบาทอยางไรตอวงการวิทยุกระจายเสียงของไทย<br />

7. การเริ่มวางรากฐานในระบบโทรทัศนไทยเริ่มขึ้นเมื่อใด<br />

8. สถานีวิทยุกระจายเสียงแหงแรกของไทย มีชื่อวาอะไร


42<br />

เอกสารอางอิง<br />

วิภา อุตมฉันท. (2546). โลกของการกระจายเสียง จากจุดเริ่มตนสูยุคโลกาภิวัตน. กรุงเทพ :<br />

ภาพพิมพ.<br />

Heritage & Culture[Online]. (2006). Available :http://heritage.scotsman.<br />

com/ingenuity.cfm?id=659002005 [2006, August 20].<br />

Newgenevacenter[Online]. (2006). Available : http://www.newgenevacenter.org/reference/20th-<br />

1st2.htm[2006, September 1].<br />

Odyssey Maritime Discovery Center[Online]. (2006). Available :<br />

http://www.ody.org/morsecode/morsecodehistory.htm [2006, August 20].<br />

Summers, R.& Summers, H.B. (1966). Broadcasting and the Public.<br />

Belmont, California : Wadsworth.

Hurra! Ihre Datei wurde hochgeladen und ist bereit für die Veröffentlichung.

Erfolgreich gespeichert!

Leider ist etwas schief gelaufen!